Table of Contents

Categories

Recent Posts

UX Writing สร้างคำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน

UX Writing สร้างคำอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน

Table of Contents

ในทุก ๆ การออกแบบ Digital Product จำเป็นต้องมีการอธิบายคำง่ายๆ ที่เข้าใจได้ในทันที ซึ่งนั่นเราเรียกกันว่า UX Writing คือการสร้างคำ หรือประโยคสั้นๆ ให้น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์ มาดูตัวอย่างของ UX Writing กันได้ในบทความนี้

UX Writing คืออะไร

UX Writing คืออะไร

การทำ UX Writing คือ การเขียนข้อความสั้นๆ ที่เข้าถึงผู้ใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องมีการตีความอะไรให้ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องมีภาษาที่สละสลวย เน้นการเข้าถึงและสร้างความสะดวกต่อการใช้งานสำหรับกลุ่มผู้ใช้ เหมือนกับชื่อเรียกเต็มๆ ของ UX Writing นี้ก็หมายถึง User Experience Writing หรือ การเขียนสำหรับประสบการณ์ผู้ใช้งานนั่นเอง เป็นรูปแบบงานที่จะอยู่บนผลิตภัณฑ์กลุ่ม Digital ที่สามารถตอบสนองผู้ใช้งานได้ เช่น หน้าเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โปรแกรม หรือ ระบบ Digital อื่นๆ ทั้งหมด เป็นต้น

UX Writing มีความสำคัญอย่างไร

UX Writing มีความสำคัญอย่างไร

UX Writing มีความสำคัญที่เปรียบเสมือนการชี้นำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด เป็นการสื่อสารจากทางระบบหรือผลิตภัณฑ์หลักที่จะช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้ให้เข้าใจถึงขั้นตอนการใช้งานได้ง่ายมากที่สุด และสามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ได้อย่างมั่นใจทันที แม้ว่าจะเป็นประสบการณ์เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกก็ตาม ดังนั้น การทำ UX Writing คือ ตัวช่วยสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบทุกอย่างและสร้างประสบการณ์ความประทับใจดีๆ ให้ผู้ใช้งานทุกคน สามารถอธิบายความสำคัญหลักๆ ได้อย่างชัดเจน ดังนี้

สร้างประสบการณ์การใช้งานที่สะดวกมากขึ้น

การออกแบบข้อความด้วยหลักการ UX Writing จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการต่างๆ ทุกอย่างได้ทันที และเพิ่มความน่าใช้งานระบบมากขึ้น ทำให้กลุ่มลูกค้าจะอยู่กับบริการหลักได้ต่อเนื่องยาวนาน เพิ่มโอกาสได้หลากหลายช่องทางอีกด้วย

สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน

การออกแบบถ้อยคำที่เป็นประโยคสั้นๆ ให้ดูเป็นธรรมชาติ เสมือนกับว่าผู้ใช้งานได้โต้ตอบดำเนินการผ่านมนุษย์ด้วยกันนั้น ก็เป็นการสร้างความประทับใจ และการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับทาง Product และ User ยิ่งเป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากเท่าไร ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการเลือกใช้บริการต่อเนื่องมากขึ้นเช่นกัน

สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น

การสร้างข้อความแบบ UX Writing ไม่เพียงแค่เป็นการนำทางหรือการแนะนำผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังสามารถออกแบบข้อความ หรือประโยคที่เป็นระบบแจ้งเตือนให้เข้าใจได้ง่าย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้อีกด้วย เช่น เมื่อแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เกิดปัญหาอะไรบางอย่างขึ้นมา ก็สามารถใช้การแจ้งเตือนผ่านข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย และลดความกังวลสำหรับผู้ใช้งานได้ทันที

ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจให้กับผู้ใช้งานได้

การสร้างสรรค์คำที่ดี ตรงไปตรงมา แต่ก็มีความน่าสนใจด้วยหลักการเขียนออกแบบกลุ่มคำหรือข้อความ UX Writing นี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจเข้าถึงบริการต่างๆ ได้รวดเร็วมากขึ้น ยิ่งมีประโยค ข้อความ หรือการนำเสนอที่กระชับเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการโดยตรงรวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น

ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์มากขึ้น

การออกแบบตัวข้อความสำหรับ UX ยังสามารถประยุกต์ใช้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หลักได้อย่างชัดเจนและให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน สามารถประหยัดเวลาของการตัดสินใจเลือกชมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ใช้งานได้มากขึ้น สร้างโอกาสในด้านความสนใจสูงมากอีกด้วย นอกจากนี้ UX Writing ยังช่วยในเรื่องการนำเสนอภาพลักษณ์จุดเด่น ภาพจำเกี่ยวกับธีมหลัก ลักษณะสำคัญของแบรนด์ หรือผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย

ทักษะ UX Writing เหมาะกับใครบ้าง

ทักษะ UX Writing เหมาะกับใครบ้าง

UX Writing เรียกได้ว่าเป็นทักษะที่ค่อนข้างจำเป็นอย่างมากสำหรับบางอาชีพโดยตรงที่ต้องเรียนรู้ไว้ ซึ่งอาชีพที่แนะนำว่าต้องมีทักษะนี้สำหรับจัดการดำเนินงานขั้นตอนต่างๆ ต่อไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีดังนี้

UX Writer

เป็นสายอาชีพหลักโดยตรงที่ต้องคอยฝึกฝนทักษะการใช้คำ การเขียนประโยคที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งานมากที่สุด หรือเพื่อช่วยเหลือฝ่ายอื่นๆ ในการพัฒนา Digital Product ให้ดีมากยิ่งขึ้น

Developer

ไม่ว่าจะเป็นผู้พัฒนา Developer สายไหน ด้านใดก็ตาม จำเป็นต้องมีทักษะของ UX Writing ติดไว้ใช้ในการเลือกใช้คำที่เหมาะสมสำหรับหน้าเว็บไซต์และให้ผู้ใช้งานเข้าถึงระบบได้ง่ายมากที่สุด สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา

Copywriter และ Marketer

ทักษะที่ต้องใช้เพื่อคิดข้อความสั้นๆ เข้าถึงผู้ใช้งานได้ง่ายที่สุด และสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์หลัก รวมถึง เป็นชุดคำที่เหมาะสมกับรูปแบบระบบ Digital Product นั้นๆ ด้วยเช่นกัน จะต่อยอดทักษะการเขียนได้หลากหลายมากขึ้น

UX / UI Designer

อาชีพนี้ค่อนข้างต้องฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการเขียน หรือการใช้คำพอสมควร เนื่องจากสาย UX / UI Designer จะคุ้นชินกับการสื่อสารระบบการนำทางให้ผู้ใช้งานด้วยรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือการออกแบบระบบหลักมากกว่า ดังนั้น ทักษะด้าน UX Writing จึงเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ และช่วยให้การทำงานง่ายมากขึ้น

Product Manager หรือ Product Owner

เพื่อให้การนำเสนอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลัก สามารถสื่อสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย

UX Writing กับความสำคัญต่อธุรกิจ

UX Writing กับความสำคัญต่อธุรกิจ

การออกแบบข้อความหรือประโยคต่างๆ ด้วยหลักการ UX Writing มีความสำคัญต่อธุรกิจโดยตรงอย่างมาก สามารถอธิบายความสำคัญหลักได้ ดังนี้

ธุรกิจเพิ่มรายได้ และลดต้นทุน

การเขียนข้อความต่างๆ ได้เหมาะสมกับช่วงเวลาหรือโอกาสทุกอย่าง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีความต้องการโต้ตอบกับชุดเนื้อหาของผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้น ดังนั้น การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้งานกับด้านผลิตภัณฑ์จะมีข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจได้ชัดเจน สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง จึงประหยัดงบประมาณในการทำโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าเดิมหลายเท่า และยังเพิ่มโอกาสตัดสินใจเลือกใช้บริการภัณฑ์หลักได้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน

ช่วยเป็นแนวทางในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ได้

การสร้างระบบนำทางที่สะดวกต่อผู้ใช้งานผ่านการสร้างสรรค์ออกแบบประโยคแนะนำบริการต่างๆ แบบ UX Writing จะช่วยให้เกิดการโต้ตอบและการเข้าถึงทุกระบบของผู้ใช้งานและตัว Digital Product ได้มากขึ้น ทำให้ได้ทราบถึงพฤติกรรมการเลือกใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย เป็นข้อมูลเพื่อใช้พัฒนาระบบด้านต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ด้านคุณภาพก็สามารถทำได้ง่ายมากจากการออกแบบรูปประโยคจากหลักการนี้

หลักการสำคัญที่จำเป็นของอาชีพ UX Writer

หลักการสำคัญที่จำเป็นของอาชีพ UX Writer

UX Writer เป็นอาชีพที่สำคัญมากในยุคเทคโนโลยีแบบนี้ เพราะอาชีพ UX Writer จะทำหน้าที่ในการออกแบบสร้างสรรค์กลุ่มคำ หรือรูปประโยคต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจถึงระบบของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้ในทันที แม้ว่าจะไม่ใช้ผู้ใช้งานที่ชำนาญการใช้เทคโนโลยีก็จะรู้สึกถึงประสบการณ์รับบริการที่ง่าย สะดวก และไว้วางใจได้จริง

ส่วนหลักการทำงานที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอาชีพนี้ ที่ต้องมีการทำงานร่วมกับทีมผู้พัฒนา Digital Product และยังต้องเป็นตัวกลางคอยประสานเชื่อมโยงการติดต่อเข้าถึงระหว่างระบบและผู้ใช้งานผ่านหลักการทำ UX Writing ให้เหมาะสมที่สุด ต้องใช้แนวทางหลักๆ ของการทำงาน ดังนี้

Wording

อาชีพ UX Writer ต้องคำนึงถึงหลักการเกี่ยวกับ Wording เพราะเป็นประเด็นที่สำหรับอย่างมากของการเริ่มทำ UX Writing ด้วยความที่ UX Writer ต้องเป็นผู้ออกแบบคำ ประโยค และข้อความต่างๆ ให้เหมาะกับกับทั้งรูปแบบของระบบผลิตภัณฑ์ และเหมาะสมกับผู้ใช้งาน เข้าใจได้ง่าย มีใจความสำคัญที่ไม่ซับซ้อน ดังนั้น การเลือกใช้คำต่างๆ จึงเป็นหน้าที่หลักสำหรับอาชีพนี้

Empathy

สำหรับความสำคัญหลักการคำนี้ของอาชีพ UX Writer จะหมายถึง การสื่อข้อความให้ถึงผู้ใช้งาน ทั้งด้านอารมณ์ความรู้สึก การตัดสินใจ และความง่ายต่อผู้ใช้งานทุกกลุ่มเป้าหมาย หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นการพยายามมองในมุมของผู้ใช้งาน เพื่อให้ข้อความต่างๆ ที่ต้องการทำ UX Writing สื่อไปยังผู้ใช้จริงได้อย่างประทับใจทุกด้านการใช้งาน

Strategy

กลยุทธ์การทำ UX Writing นั้น จะมีการวางแผนให้เข้ากับทีมงาน ระบบ และผู้ใช้งาน เพราะทางด้านนักออกแบบข้อความ หรือ UX Writer นั้น จะต้องทราบถึงระบบและขั้นตอนการใช้งานทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่เหล่านักพัฒนาได้ออกแบบสร้างระบบไว้ แล้วจึงสร้างข้อความนำทางเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงระบบได้ง่ายที่สุด นอกจากนี้ ต้องมีการวัดและประเมินผลลัพธ์จากผู้ใช้งานจริง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาด้านต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ต่อไป

ตัวอย่าง UX Writing ที่น่าสนใจ

ตัวอย่าง UX Writing ที่น่าสนใจ

มาดูตัวอย่าง UX Writing ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความประทับใจจากการใช้งานได้เป็นอย่างดี กระตุ้นการเข้าถึงทุกระบบ ทุกบริการ และทำให้ผู้ใช้งานต้องการมีส่วนร่วมได้จากผลิตภัณฑ์ยอดนิยมต่างๆ ดังต่อไปนี้

UX Writing บน Facebook

Facebook เป็นผลิตภัณฑ์ที่เลือกออกแบบ UX Writing ให้มีความเป็นมิตรภาพ และสามารถกระตุ้นความต้องการเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ของผู้ใช้งานออกมาได้จริง รวมถึง เพิ่มความต้องการในการแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ผ่านประสบการณ์ของผู้ใช้งานโดยตรงอีกด้วย ส่วนประโยคที่เป็นชุดคำหลักอันเป็นเอกลักษณ์ของ Facebook คือ “คุณกำลังคิดอะไรอยู่ (ตามด้วยชื่อของผู้ใช้งาน)” หรือ “What’s on your mind ?” นั่นเอง

UX Writing บน Grab

เรื่องปากท้องการกินถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของทุกคน ดังนั้น Grab จึงมีการออกแบบระบบผลิตภัณฑ์ GrabFood ด้วยประโยค UX Writing ที่ว่า “สั่งอะไรดี?” ไว้ในหน้าการค้นหาหลัก รวมถึง ประโยคการแจ้งเตือนที่ว่า “คุณกำลังหิวใช่ไหม?” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเกิดความสนใจและเป็นการช่วยย้ำเตือนถึงผลิตภัณฑ์ของ Grab ได้เป็นอย่างดี

UX Writing บน Shopee

สำหรับผลิตภัณฑ์ยอดนิยมด้านการซื้อของออนไลน์อย่าง Shopee มาพร้อมประโยคเด็ดที่ดึงดูดใจผู้ใช้งานทุกคนเลยก็ว่าได้ ทั้งผู้ใช้งานรายใหม่ หรือแม้แต่ผู้ใช้งานเก่าที่เข้าใช้บริการเป็นประจำ ก็ยังคงได้รับการกระตุ้นความสนใจด้วยการออกแบบประโยคเด็ดที่ว่า “เก็บโค้ดของคุณด่วน!” ที่ใครเห็นก็ต้องลองโต้ตอบกับระบบอย่างแน่นอน รวมถึง ระบบการแจ้งเตือนที่คอยใช้ประโยคว่า “คุณลืมสินค้าไว้ในตะกร้าหรือเปล่า?” และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการออกแบบการเขียนประโยคสำหรับ UX ได้เป็นอย่างดี ดูเป็นธรรมชาติ ไม่เหมือนกับการโต้ตอบกับหุ่นยนต์

UX Writing บน Spotify

ตัวอย่างของการเลือกออกแบบข้อความของ Spotify จะเน้นที่การช่วยเหลือนำทางบริการและระบบให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด ไม่ซับซ้อน และไม่เกิดความสับสน โดยจะมีการอธิบายถึงข้อผิดพลาดในการค้นหาทุกอย่าง ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยข้อความสั้นๆ ที่กระชับและเข้าใจได้เลยทันที ตรงไปตรงมา เช่น “Couldn’t load the page” หรือ “ไม่พบรายการเพลงที่ค้นหา” และการแนะนำขั้นตอนถัดไปเช่น “Try again?” หรือ “ลองค้นหาอีกครั้ง” เป็นต้น

UX Writing บน X

ข้อความที่ชวนให้แชร์เรื่องราวสั้นๆ หรือแนะนำข้อมูลต่างๆ สำหรับความต้องการของผู้ใช้งานลงบน X (ทวิตเตอร์เดิม) ด้วยประโยคที่ว่า “What’s happening?” หรือ “เกิดอะไรขึ้นบ้าง?” จะทำให้ผู้ใช้งานสนใจอยากลงข้อมูลแบบ Real Time กันนั่นเอง

UX Writing บน Duolingo

ผลิตภัณฑ์ด้านการสอนภาษาที่มีการออกแบบ UX Writing ให้เสมือนการได้พูดคุยโต้ตอบกับมนุษย์มากกว่า AI ด้วยการให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกตัวเลือกโต้ตอบกับระบบได้ เช่น “สวัสดี! ฉันชื่อ Duo! มาสนุกกันเถอะ” แล้วให้เลือกช่องทางบัญชีว่า เข้าใช้งานทันที หรือเลือกลงทะเบียนก่อนเข้าเรียน ไปจนถึง การแนะนำประโยคเชิญชวน เช่น “คุณจะเลือกเรียนอะไรดี?” แล้วมีตัวเลือกภาษาบทเรียนให้ผู้ใช้งานได้โต้ตอบทันที

UX Writing บน Netflix

การออกแบบประโยค UX Writing ของทาง Netflix ค่อนข้างกระตุ้นยอดขายได้เป็นอย่างดี เพราะประโยคหลักมักจะเกี่ยวข้องกับการนำเสนอสิทธิพิเศษให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การให้กรอกอีเมล เพื่อทดลองใช้บริการฟรี 1 เดือน หรือจะเป็น การเข้าสู่ระบบอีกครั้งเพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดพิเศษ

ความแตกต่างระหว่าง UX Writer กับ Copywriter

ความแตกต่างระหว่าง UX Writer กับ Copywriter

อาชีพ UX Writer และ Copywriter นั้น หากดูหน้าที่การทำงานแบบภาพรวมก็ค่อนข้างคล้ายกัน แต่สำหรับ UX Writer จะเป็นการเขียนเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด มีการนำทาง การแจ้งเตือน การเขียนคำ สร้างสรรค์ประโยคของอาชีพนี้จะเน้นความกระชับและตรงไปตรงมา ไม่เน้นภาษาสละสลวย

ส่วนอาชีพ Copywriter เป็นนักเขียนที่ต้องการสร้างประโยคข้อความต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน มีการเขียนเล่าเรื่องราว หรืออธิบายรายละเอียดต่างๆ ให้เห็นภาพผ่านการอ่านมากที่สุด ส่วนมากอาชีพนี้มักเน้นทำสาย Content เป็นหลัก

สรุป

สรุปว่า UX Writing คือการสร้างสรรค์และออกแบบคำ รูปประโยค ข้อความต่างๆ ให้มีความชัดเจน สั้นและกระชับ แต่ก็ต้องเข้าถึงการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายและเข้าใจในระบบของผลิตภัณฑ์อีกด้วย ซึ่งงานรูปแบบนี้เหมาะกับสายพัฒนา Digital Product และสายทำ Online Content รวมถึงเจ้าของแบรนด์ที่ต้องการตีตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าโดยตรงด้วยตนเอง เรียกได้ว่า แค่ประโยคสั้นๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มโอกาสตัดสินใจของผู้ใช้งานได้ภายในไม่กี่วินาที ยิ่งสร้างความประทับใจและความสะดวกง่ายดายให้กับประสบการณ์กลุ่มผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ได้มากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสตีตลาด วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าได้ตรงจุด พร้อมเพิ่มยอดขาดได้มากขึ้นทันที สามารถดู

ตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับด้าน UX Writing ผ่านทางแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ผู้ใช้บริการด้านต่างๆ ที่เป็นรายใหญ่ได้มากมาย เช่น Shopee, X (ชื่อเดิมคือ Twitter), Grab, Netflix และอื่นๆ อีกมากมาย ทุกผลิตภัณฑ์ใหญ่ๆ มีการออกแบบการทำรูปประโยคให้เหมาะกับ UX อย่างแน่นอน

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ UX Writing

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำ UX Writng สำหรับคนที่สนใจนำหลักการนี้ไปใช้ต่อยอดในด้านต่างๆ ของการพัฒนา Digital Product หรือทำคอนเทนต์ออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด ทางเราจึงจะมาตอบคำถามยอดนิยมที่หลายๆ คนสงสัยกัน เพื่อให้รู้จักกับ UX Writing มากขึ้น ดังนี้

อะไรที่ทำให้ UX Writer ต่างจากนักเขียนทั่วไป?

เพราะอาชีพ UX Writer ต้องมีความเข้าใจในระบบของตัว Digital Product และต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์การพัฒนาเพื่อให้บริการของทางฝั่งทีม Developer และโปรแกรมเมอร์ รวมถึงการประสานงานเข้ากับ UX / UI Designer พร้อมๆ กับการทำหน้าที่เป็นคนคิดออกแบบคำข้อความ และประโยคทุกด้านเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจถึงมุมมอง และวิธีการของการใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างง่ายมากที่สุด เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ใช้ทุกคนนั่นเอง ซึ่งการออกแบบประโยคข้อความของอาชีพนี้ จะเน้นความง่าย ตรงไปตรงมา และเป็นประโยชน์มากที่สุด

เทคนิค UX Writing ให้น่าสนใจ และเข้าถึงได้สำหรับทุกคน

เลือกใช้ข้อความที่เป็นการนำทางสำหรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือการเลือกใช้ประโยคและกลุ่มคำที่ดูเป็นมนุษย์ มีการนำเสนอข้อความให้ผู้ใช้งานรู้สึกได้รับประสบการณ์ที่ดีต่อการเข้าใช้ผลิตภัณฑ์นั้น

UX Writing ต้องเรียนจบสายอะไร?

ทุกคนสามารถทำอาชีพ UX Writer ได้ และสามารถฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านการเขียนออกแบบข้อความด้วยหลักการ UX Writing ได้ไม่ยาก เพียงแค่ต้องเข้าใจถึงหลักการหัวใจสำคัญในการออกแบบควบคู่กับตัวผลิตภัณฑ์และมีมุมมองผู้ใช้งานจริงเท่านั้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยุ่งยากด้านเทคโนโลยีให้ง่ายยิ่งขึ้น

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง