Table of Contents

Categories

Recent Posts

วิธีสร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่ง โดดเด่น และน่าจดจำ

ทำความรู้จัก Brand Identity คืออะไร พร้อมวิธีสร้างแบรนด์ให้น่าจดจำ

Table of Contents

KEY TAKEAWAYS

  • Brand Identity คืออัตลักษณ์ของแบรนด์ ที่สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอตัวตนของแบรนด์ เป็นส่วนแรกที่ลูกค้าจะได้เห็น อาจอยู่ในรูปแบบโลโก้แบรนด์ สโลแกน หรือการบริการ เป็นต้น
  • Brand Identity มีส่วนช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจำความต่างของแบรนด์ได้ ช่วยกำหนดทิศทางการออกแบบงาน Artwork จะได้มีจุดยืนชัดเจน รวมถึงช่วยเพิ่มยอดขายได้
  • สร้าง Brand Identity ทำได้โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ตลาด กำหนดกลุ่มเป้าหมาย วางบุคลิกแบรนด์ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย สื่อสารให้ตรงจุด และตรวจสอบผลลัพธ์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะในทางที่ดีหรือไม่ดี โดยการนำข้อมูลส่วนนี้มาพัฒนาแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น

การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำ ถือเป็นโจทย์ยากในการทำการตลาด เพราะถึงแม้แบรนด์ของคุณจะผลิตของคุณภาพมากเท่าไร แต่ถ้าคนไม่รู้จักเลยก็เปล่าประโยชน์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และให้แบรนด์เป็นที่จดจำของลูกค้า การทำ Brand Identity จึงมีความจำเป็นต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจไหน ถ้าต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ การเรียนรู้วิธีสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์ จะช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นมากขึ้น

Brand Identity คืออัตลักษณ์ของแบรนด์ ที่สร้างมาเพื่อนำเสนอตัวตนของแบรนด์ ไปทำความรู้จัก Brand Identity เพิ่มเติม พร้อมตัวอย่างการสร้างแบรนด์ที่น่าสนใจในบทความนี้ เพื่อให้แบรนด์ของคุณสามารถสื่อสารความตั้งใจออกไปสู่สาธารณชนได้อย่างตามที่มุ่งหวัง

Brand Identity อัตลักษณ์ของแบรนด์ คืออะไร

Brand Identity อัตลักษณ์ของแบรนด์ คืออะไร

Brand Identity คืออัตลักษณ์ของแบรนด์ เป็นสิ่งที่ธุรกิจต่างๆ สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอตัวตนของแบรนด์ เป็นด่านแรกที่ลูกค้าจะได้เห็น ซึ่งบางครั้งก็ถือเป็นภาพลักษณ์ของแบรนด์เลย การสร้าง Brand Identity จึงจำเป็นต้องทำให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างแบรนด์และลูกค้า เพื่อที่จะได้สื่อสารความเป็นแบรนด์ได้อย่างลงตัว

โดย Brand Identity มักอยู่ในรูปแบบชื่อแบรนด์ โลโก้ สโลแกน แผ่นพับ นามบัตร แนวทางการออกแบบงานโฆษณา การวางตำแหน่งของแบรนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้า หรือการบริการทั้งก่อน และหลังการขาย รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของตัวสินค้า 

ซึ่ง Brand Identity ที่แข็งแกร่งจะสามารถสื่อสารความเป็นแบรนด์ได้ ชนิดที่ว่าแค่เห็นแวบเดียว ก็นึกถึงแบรนด์นั้นๆ ได้เลย

Brand Identity VS. Brand Image 

อย่างที่รู้กันไปแล้วว่า Brand Identity คืออัตลักษณ์ของแบรนด์ ที่ถูกแสดงออกมาในรูปแบบภาพจำของสินค้า โลโก้ รูปลักษณ์ โทนสี ฟอนต์ เป็นต้น ตัวอย่าง

Brand Identity แบรนด์ที่แสดงส่วนนี้อย่างชัดเจนคือ Coca-Cola ที่มีโทนสีเป็นสีแดง ฟอนต์โค้งมน มีบุคลิกภาพเป็นแบรนด์ที่ดูสนุกสนาน มีความสดชื่น มีความสุข และมีการแบ่งปัน เน้นสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าราวกับเป็นคู่หูคู่ใจ พร้อมที่จะสานความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวหรือเพื่อนฝูง เป็นการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับแต่ละวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

Brand Image คือภาพลักษณ์ของแบรนด์ เป็นความรู้สึกที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ ซึ่งเป็นการสะท้อนได้อย่างดีว่าในสายตาของลูกค้า แบรนด์นั้นๆ มีภาพลักษณ์เป็นอย่างไร โดยเกิดจากการรับรู้จากประสบการณ์การใช้สินค้า ไม่ว่าจะมาจากการรับรู้ถึงคุณภาพ หรือการบริการ 

ตัวอย่าง Brand Image เช่น แบรนด์อย่าง Nike ที่มีจุดยืนของแบรนด์ด้วยสโลแกนสุดคลาสสิกอย่าง ‘just do it’ ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ เพื่อให้ลูกค้ามีแนวคิดที่จะท้าทายความสามารถของตัวเอง และเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง เป็นแบรนด์ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้บรรลุเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ เป็นต้น

เลือกสร้าง Brand Identity อย่างไร ให้ธุรกิจปังๆ

เลือกสร้าง Brand Identity อย่างไร ให้ธุรกิจปังๆ

เมื่อได้รู้กันไปแล้วว่า Brand Identity คืออะไร ต่อไปเรามาดูประเภทของการสร้างแบรนด์กันดีกว่า โดย Brand Identity จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

1. Graphic Identity

Graphic Identity จะอยู่ในรูปแบบของการออกแบบโลโก้ รูปภาพประกอบ ลักษณะของฟอนต์ สีที่ใช้ ลวดลายต่างๆ เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่เห็นแล้วจะนึกถึงแบรนด์ของเราได้ จึงจำเป็นต้องมีสไตล์ที่ชัดเจน และแสดงออกอย่างสม่ำเสมอ 

2. Sensorial Identity

Sensorial Identity จะอยู่ในรูปแบบของอัตลักษณ์ที่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง การสัมผัส และยังรวมถึงรูปร่างลักษณะ พื้นผิวที่สัมผัส ซึ่งจะพ่วงมาด้วยคุณภาพ การทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสัมผัสนั้นๆ ไม่สามารถสัมผัสได้จากที่ไหนอีกแล้วนอกจากที่นี่ 

เช่น รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหาร และสัมผัสที่ไม่เหมือนใครของแบรนด์เสื้อผ้า รวมถึงกลิ่นน้ำหอมที่สื่อถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ เป็นต้น

3. Behavioral Identity

Behavioral Identity จะอยู่ในรูปแบบของอัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของลูกค้า เช่น การสร้างแอปพลิเคชันซื้อสินค้า เพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในยุคปัจจุบัน การมีช่องทางการบริโภคที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น

4. Functional Identity

Functional Identity จะอยู่ในรูปแบบของอัตลักษณ์ ที่เน้นตัวแบรนด์หรือคุณสมบัติของสินค้าเป็นหลัก เช่น รองเท้าเพื่อสุขภาพ รองเท้ากีฬา เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ อาหารจากผักปลอดสารพิษ เป็นต้น 

เพราะสินค้า และการบริการนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่มีความต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

Brand Identity สำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด!

Brand Identity สำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด!

เพราะความแข็งแกร่งของ Brand Identity สามารถสร้างแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำได้ มาดูความสำคัญของ Brand Identity ที่ทุกธุรกิจไม่ควรมองข้าม

  • ช่วยสร้างแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายจดจำได้: การสร้างอัตลักษณ์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำโลโก้แบรนด์ สี บรรจุภัณฑ์ ที่มีความโดดเด่น และแตกต่างได้เสมอ
  • ช่วยกำหนดทิศทางของแบรนด์ให้โดดเด่น: การสร้าง Brand Identity ที่สื่อถึงตัวตนของแบรนด์ได้จะช่วยให้แบรนด์รับรู้ว่าควรกำหนดทิศทางของแบรนด์ในอนาคตอย่างไร หรืออยากเจาะกลุ่มตลาดแบบไหน
  • ช่วยกำหนดทิศทางการออกแบบ: งาน Artwork ที่ควรทำให้ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ลักษณะฟอนต์ สี หรือรูปภาพ เพราะหากไม่มีจุดยืนอย่างชัดเจน อาจทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ยากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มยอดขายได้: เมื่อสร้างอัตลักษณ์ได้อย่างแข็งแกร่งแล้ว ลูกค้าก็จะจดจำแบรนด์ได้ จนเกิดการซื้อซ้ำ เกิดความเชื่อใจในตัวแบรนด์ เกิดความภักดีต่อแบรนด์ (Customer Loyalty

ตัวอย่างเช่น แบรนด์อย่าง Volvo ที่มีความปลอดภัยเป็นแกนหลักของ Brand Identity Volvo มีการคิดค้นนวัตกรรมด้านความปลอดภัย เช่น เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด พร้อมมีโลโก้ ที่เป็นสัญลักษณ์วงกลมพร้อมลูกศรชี้ขึ้น ที่สื่อถึงความแข็งแกร่ง และความก้าวหน้า มีการออกแบบที่เรียบง่าย สะอาดตา และทันสมัย เป็นต้น

องค์ประกอบสำคัญของ Brand Identity

องค์ประกอบสำคัญของ Brand Identity

องค์ประกอบของ Brand Identity เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จ และช่วยสะท้อนมุมมองของแบรนด์ไปสู่ลูกค้าด้วย โดย Brand Identity นั้นมีองค์ประกอบสำคัญทั้งหมด 6 แบบ ดังนี้

1. ลักษณะของแบรนด์ (Physique)

ลักษณะของแบรนด์ เป็นการสร้างลักษณะภายนอก ที่สามารถมองเห็นได้ผ่านรูปแบบโลโก้ สี หรือรูปร่างต่างๆ โดยเป็นพื้นฐานแรกของแบรนด์ ที่จะสะท้อนให้เป็นภาพรวมของแบรนด์ว่าคืออะไร สะท้อนมุมมองของแบรนด์ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้อะไรจากแบรนด์บ้าง เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องพิจารณาว่าจะทำสินค้า และบริการออกมาเป็นอย่างไร

2. ตัวตนของแบรนด์ (Brand Personality)

ตัวตนของแบรนด์ เป็นการกำหนดลักษณะบุคลิกภาพของแบรนด์ให้ชัดเจน ให้รู้ว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร เช่น ผ่านการใช้โทนเสียง การออกแบบ ตัวอักษร และผ่านงานโฆษณาประเภทต่างๆ อย่างโฆษณาของแบรนด์ ที่ต้องการให้ออกมาดูสนุกสนาน การใช้ตัวหนังสือ และโทนสีในโฆษณา ก็จะเน้นไปที่โทนสนุกสนาน แบรนด์ต่างๆ

ควรกำหนดสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจน และนำมาผสมผสานกันในจุดต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพรวมของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารออกไป ไม่ว่าจะผ่านทางเว็บไซต์ อีเมล แอปพลิเคชัน หรือการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ

3. วัฒนธรรมของแบรนด์ (Brand Culture)

วัฒนธรรมของแบรนด์ ก็ถือเป็นสิ่งสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์เช่นกัน ทั้งการสร้างวัฒนธรรมจากภายในองค์กร รวมไปถึงนำมาจากถิ่นกำเนิดของแบรนด์ หรือสินค้ามาใช้

เช่น แบรนด์ Google ที่ได้รับให้เป็นแบรนด์ด้านเทคโนโลยีที่ดีที่สุด มีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และความสนุกสนานในการทำงาน เป็นต้น

4. ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ (Relationship)

การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ผ่านความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า จะส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อแบรนด์ในระยะยาว ซึ่งนับว่าสิ่งจำเป็น เพราะลูกค้าคาดหวังบางสิ่งจากแบรนด์ นอกจากตัวสินค้าและบริการ เมื่อลูกค้าได้รับความพิเศษส่วนนี้ จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์ให้ความใส่ใจ จึงเกิดความภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น 

5. ฐานลูกค้า (Customer Reflection)

การกำเนิดของแบรนด์ เกิดจากมุมมองของลูกค้าผ่านการรับรู้ข้อมูลและประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อได้สัมผัสกับแบรนด์โดยตรง สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาพสะท้อนถึงกลุ่มลูกค้านั้นๆ แบรนด์จะเชื่อมโยงกับสินค้า เพื่อดูว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นคือใคร 

เช่น แบรนด์สำหรับคนรักสุขภาพ แบรนด์ที่เหมาะกับวัยรุ่น หรือเหมาะผู้ใหญ่ แบรนด์ที่เหมาะสำหรับผู้หญิง หรือผู้ชาย เป็นต้น

6. ภาพลักษณ์แบรนด์ที่ลูกค้ารับรู้ (Customer Self Image)

แบรนด์จะต้องกำหนดว่าจะสร้างภาพลักษณ์ให้กลุ่มลูกค้ารับรู้ได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้เกิดมุมมองที่ดีต่อแบรนด์ ดังนั้น จึงต้องทำความเข้าใจอุดมคติของลูกค้าก่อนว่า มองเห็นตัวเองเป็นอย่างไร อยากแสดงออกอย่างไร 

จากนั้นต้องสร้างภาพลักษณ์และเชื่อมโยงให้ได้ โดยการตอบสนองความต้องการผ่านการสื่อสารและกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับตัวตนของกลุ่มลูกค้า

วิธีสร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่ง โดดเด่น และน่าจดจำ

วิธีสร้าง Brand Identity ให้แข็งแกร่ง โดดเด่น และน่าจดจำ

การที่จะสร้างแบรนด์ธุรกิจให้แข็งแกร่ง โดดเด่น และน่าจดจำ รวมถึงการสร้างให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าเอาไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นอย่างไร ดังนี้

วิเคราะห์แบรนด์และตลาด

เริ่มจากการวิเคราะห์ตลาด ศึกษาผู้ชม ศึกษาคู่แข่ง วิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรคต่างๆ (Threats) 

ซึ่งวิธีเหล่านี้ จะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของแบรนด์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้แบรนด์เข้าใจศักยภาพของตัวเอง สามารถกำหนดเป้าหมายและสร้างกลยุทธ์ได้ในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม : SWOT Analysis เครื่องมือช่วยสร้างความได้เปรียบที่คนทำธุรกิจต้องรู้

กำหนดเป้าหมายของแบรนด์

อัตลักษณ์ของแบรนด์ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งเอาไว้ได้ เช่น หากสินค้าต้องการเน้นความสนุก การโฆษณาก็ควรออกแบบไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ตรงกับภาพลักษณ์ และดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น อีกทั้ง ช่องทางการสื่อสารก็ควรเชื่อมโยงกันด้วยเช่นกัน

รู้จักลูกค้าของตัวเอง

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก คือการรู้จักลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ซึ่งทำได้โดยการทำแบบสำรวจ การประชุม การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง เพื่อให้แบรนด์เกิดความเข้าใจในการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ตัวเองมากยิ่งขึ้น

วางบุคลิกแบรนด์และสิ่งที่ต้องการจะสื่อ

แบรนด์จะต้องมีการรับรู้ที่เชื่อมโยงกัน ต้องมีการผสมผสานคุณลักษณะในทุกแง่ที่เป็นไปได้ ทั้งประโยชน์ใช้สอย ราคา คุณภาพต่างๆ วัฒนธรรมของแบรนด์ โลโก้ โทนสี ทั้งหมดต้องมีความสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 

ซึ่งอาจใช้เทมเพลตที่สร้างไว้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่แลดูกลมกลืนกัน ทั้งนี้ การใช้สื่อเองก็สำคัญ ควรสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ใช้ภาษาให้ตรงกับบุคลิกของแบรนด์ เพื่อที่จะได้ดึงบุคลิกของแบรนด์ออกมาได้ตามที่ต้องการจะสื่อสารออกไปนั่นเอง

หมั่นตรวจสอบและวัดผลอย่างต่อเนื่อง

สุดท้ายนี้ คือการหมั่นตรวจสอบและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Meta Business Suite, Google Analytics หรือการทำแบบสำรวจ เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาแบรนด์ให้ดี และทันกระแสโลกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดได้อีกด้วย

ตัวอย่างการทำ Brand Identity จากแบรนด์ดังที่น่าสนใจ

ตัวอย่างการทำ Brand Identity จากแบรนด์ดังที่น่าสนใจ

เพื่อให้ได้เห็นภาพการสร้าง Brand Identity กันชัดๆ เรามาดูตัวอย่างของ 4 แบรนด์ดัง ที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของตัวสินค้า และการบริการ ลองมาศึกษากันว่าพวกเขาสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์กันอย่างไร ดังนี้

ตัวอย่างการทำ Brand Identity Starbucks

Starbucks

เมื่อเรามองเห็นโลโก้นางเงือกไซเรน เราจะรู้ได้ทันทีเลยว่านั่นคือแบรนด์ Starbucks แล้วแบรนด์นี้มีการสร้าง Brand Identity อย่างไร ไปดูกัน!

  • Physique ที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงการให้ความสำคัญถึงตัวสินค้า รสชาติกาแฟ และบรรยากาศภายในร้าน ที่เต็มไปด้วยสีเขียว ดูอบอุ่น เมื่อเข้าไปในร้านแล้วรู้สึกสบายๆ  
  • Personality เน้นในเรื่องของคุณภาพ ยึดถือในธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ตอบสนองความความชอบเข้าสังคม Relationship นั้นมีการสร้างมิตรภาพที่ดี สร้างบรรยากาศที่สนุกนาน พูดคุยกับลูกค้าในเรื่องราวต่างๆ ที่เด่นๆ เลยคือการเขียนชื่อลูกค้าแต่ละคนลงบนแก้ว 
  • Culture มีพื้นฐานมาจากคำมั่นสัญญา รวมถึงเคารพในตัวผู้คน และสิ่งแวดล้อม
  • Reflection ที่เชื่อมกับไลฟ์สไตล์ของคนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ และสถานที่สำหรับทำงานได้ 
  • Self-Image ของ Starbucks จึงเป็นแบรนด์กาแฟที่เน้นคุณภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างการทำ Brand Identity - Apple

Apple

ไม่พูดถึงไม่ได้เลยสำหรับแบรนด์ Apple ที่มีแนวคิดแตกต่างจากแบรนด์อื่น มาพร้อมกับแนวคิดอันสร้างสรรค์ที่สามารถสื่อออกมาได้ผ่านสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ หรือแท็บเล็ต แล้วแบรนด์นี้มีการสร้าง Brand Identity อย่างไร? ไปดู 

  • Physique มีโลโก้ที่โดดเด่น จดจำได้ง่าย อย่างภาพแอปเปิลที่ถูกกัดแหว่งไป เป็นการสร้างแบรนด์ที่มองเห็นได้ชัด และเป็นที่จดจำมาก
  • Personality ทาง Apple จะใช้ภาพลักษณ์ที่มีความเรียบง่าย ดูทันสมัยตลอดเวลา 
  • Relationship ทาง Apple มีการบริการที่น่าประทับใจ เป็นมิตร และการบริการหลังการขายที่ดี การันตีเกี่ยวกับสินค้า ที่มีคุณภาพมาโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอ  
  • Culture ทาง Apple ได้สร้างความเชื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า 
  • Reflection ก็มีความมั่นคงมาก เพราะผู้ที่ใช้แบรนด์นี้ จะรู้สึกถึงความมีระดับที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ 
  • Self-Image ของ Apple จะนึกถึงความเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีความสนุกสนาน อิสระด้านความคิด ลูกค้าจะรู้สึกพิเศษ เพราะเป็นแบรนด์ที่แตกต่าง คนอื่นเลียนแบบยาก
ตัวอย่างการทำ Brand Identity - IKEA

IKEA

แบรนด์ดังอย่าง IKEA มีการสร้าง Brand Identity อย่างไร? ไปดูพร้อมๆ กันเลย! 

  • Physique สำหรับแบรนด์ IKEA ภาพลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเลย คือโทนสีที่ใช้จะเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงิน ที่ไม่ว่าใครเห็นก็จะนึกถึงแบรนด์ IKEA ได้เลย 
  • Personality ของ IKEA จะเน้นว่าเฟอร์นิเจอร์จะต้องมีคุณภาพ และเป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อมของบ้าน ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน
  • Relationship ของ IKEA จะมีความคิดที่ว่า ต้องให้บริการทุกคนอย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไร IKEA จึงตั้งราคาในระดับที่คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ 
  • Culture ของ IKEA จะเติบโตจากวัฒนธรรมความคิด คือไม่ใช่แค่การคิดต่าง แต่ต้องคิดใหม่ด้วย และยังเน้นการหาวิธีแก้ปัญหาที่ต้องดีกว่าเดิมอยู่เสมอ 
  • Reflection ของ IKEA มีความหลากหลาย และเข้าถึงผู้คนเป็นวงกว้าง ด้วยการตั้งราคาที่สมเหตุผลกับคุณภาพที่ดี 
  • Self-Image ของ IKEA คือการเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่เหมือนแบรนด์ไหนในโลก เพราะทั้งคุณภาพสินค้าดีแต่เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงเทคโนโลยีและกระบวนการในการซื้อสินค้าที่ไม่เหมือนใคร ด้วยการเดินไปหยิบของในโกดังด้วยตัวเอง 
ตัวอย่างการทำ Brand Identity - Facebook

Facebook

Facebook ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความรู้สึกของการมีส่วนร่วม และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลก เป็นแพลตฟอร์มที่ทันสมัยและเข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน มาดูการสร้าง Brand Identity ของแบรนด์นี้กัน!

  • Physique โลโก้ตัวอักษร “F” สีขาวบนพื้นสีฟ้า การออกแบบนั้นเรียบง่าย สะอาดตา มีสีฟ้าเป็นสีหลักของแบรนด์ ไอคอน และปุ่มต่างๆ นั้นเป็นเอกลักษณ์ เช่น ปุ่ม Like
  • Personality มีความทันสมัย เข้าถึงง่าย และมีนวัตกรรมการเชื่อมโยง และสร้างการมีส่วนร่วม ที่เปิดกว้าง เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถสื่อสารกันได้
  • Relationship สร้างการเชื่อมต่อระหว่างผู้คนทั่วโลก เพื่อที่จะได้แบ่งปันประสบการณ์ และความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
  • Culture มาพร้อมกับสโลแกน “Move Fast and Break Things” (เคลื่อนที่เร็วและทำลายกฎเก่า) ส่งเสริมนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลง เน้นการเชื่อมต่อโลกให้ใกล้กันมากขึ้น มีวัฒนธรรมการทำงานแบบเปิดกว้าง และร่วมมือกัน
  • Reflection สะท้อนภาพของคนรุ่นใหม่ที่เชื่อมต่อกับโลก แสดงถึงความหลากหลายของผู้ใช้ทั่วโลก นำเสนอภาพของการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ และการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
  • Self-Image ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลก และรู้สึกว่าตัวเองสามารถแสดงความเป็นตัวเอง และความคิดเห็นได้อย่างเสรี

สรุป

Brand Identity หรือการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ คือการสร้างตัวตนของแบรนด์ เพื่อตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความโดดเด่น ให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ ลูกค้ารับรู้ถึงสิ่งที่แบรนด์ต้องการที่จะสื่อสาร ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์เป็นประโยชน์ในทุกๆ ธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย เพิ่มโอกาสในการเติบโต และเกิดข้อได้เปรียบกว่าคู่แข่งในตลาดได้ 

โดยจะประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 

  • Physique
  • Personality
  • Culture
  • Relationship
  • Reflection 
  • Self-Image 

นอกจากจะทำให้แบรนด์มีเอกลักษณ์ที่น่าจดจำเป็นของตัวเองแล้ว ยังช่วยให้แบรนด์รู้ถึงทิศทางในการทำธุรกิจว่าจะไปในทางไหนอีกด้วย ซึ่งหากแบรนด์มีการสร้างตัวตนที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเจอคู่แข่งมากมายแค่ไหน ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่เสมอ และผู้คนก็ยังนึกถึงอยู่เสมอ ทำให้ยังมีฐานลูกค้าที่เป็น Customer Loyalty เพราะเป็นแบรนด์ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้นั่นเอง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Brand Identity (FAQ)

สร้างแบรนด์อย่างไรให้ติดตลาดนาน ไม่มีร่วง?

  • สร้างจุดขายให้แบรนด์ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน ชูจุดเด่นของแบรนด์ให้ได้ เพื่อนำมาเป็นจุดขาย ที่ใครก็เลียนแบบได้ยาก
  • อย่าลืมทำการตลาด ถ้าอยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก อย่าลืมทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ สร้างพื้นที่ในสื่อ หมั่นทำโฆษณา เพื่อให้สินค้าผ่านฟีดลูกค้าบ่อยๆ
  • พัฒาตัวเองอยู่เสมอ เพราะโลกไม่เคยหยุดนิ่ง กระแส หรือเทรนด์ใหม่ๆ ยังคงมีมาให้เห็นอยู่เสมอ อย่าลืมใส่ใจคุณภาพของสินค้า และบริการ เพื่อสร้างฐานลูกค้า และเพิ่มยอดขายให้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ

Brand Image ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

  • การจดจำแบรนด์ ลูกค้าสามารถจดจำโลโก้ของแบรนด์ได้ดี
  • การรับรู้แบรนด์ ลูกค้ารับรู้ได้ว่าแบรนด์ของคุณมีคุณสมบัติอย่างไร
  • สัญลักษณ์ของแบรนด์ ลูกค้าจำบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ได้
  • แนวคิดของแบรนด์ ลูกค้าจดจำสโลแกน หรือแนวคิดของแบรนด์ได้
  • ชื่อเสียงของแบรนด์ สินค้าดี เกิดการบอกต่อ จนแบรนด์มีชื่อเสียง
  • คุณภาพของแบรนด์ สินค้ามีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
  • ประสบการณ์ต่อของแบรนด์ ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ จึงเกิดการจดจำในทางที่ดี
  • เรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ ลูกค้าจะจดจำได้ว่าแบรนด์มีที่มาอย่างไร
  • สถานะทางสังคม ลูกค้าส่วนใหญ่ชอบสินค้าที่สื่อถึงตัวตนและสถานะ เช่น ความหรูหรา ทันสมัย
  • แบรนด์ทันเทรนด์ใหม่ๆ ลูกค้าชอบแบรนด์ที่ปรับตัวให้ทันเทรนด์ใหม่ๆ ให้ดูทันสมัยอยู่เสมอ 
  • ความสัมพันธ์ที่ดีของแบรนด์กับลูกค้า ความสัมพันธ์ที่ดีสร้างฐานลูกค้าได้ เพราะจะเกิดความเชื่อใจ
  • ความจริงใจของแบรนด์ ความจริงใจในความใส่ใจ และการแก้ปัญหาเป็นส่วนสำคัญ

Brand Identity ช่วยเพิ่มลูกค้าได้อย่างไร?

ยิ่งสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ออกมาได้โดดเด่นและจดจำได้ง่ายเท่าไร แบรนด์ก็จะยิ่งเป็นที่จดจำและมีแต้มต่อมากกว่าธุรกิจเดียวกันในตลาดมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นผ่านลูกค้าประจำและลูกค้าใหม่ นอกจากนี้ Brand Identity ที่ดี จะช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจในสินค้าและบริการมากขึ้นอีกด้วย

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง