Table of Contents

Categories

Recent Posts

Brand Identity คืออะไร? ทำยังไงให้แบรนด์เป็นที่จดจำ

Brand Identity คืออะไร? ทำยังไงให้แบรนด์เป็นที่จดจำ

Table of Contents

ไม่ว่าในธุรกิจไหนการสร้างเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ให้แก่ตัวแบรนด์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และเพื่อให้แบรนด์เป็นที่จดจำของลูกค้า การทำ Brand Identity จึงมีความจำเป็นต่อตัวธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจไหน ถ้าต้องการให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ การเรียนรู้วิธีสร้างอัตลักษณ์ให้แก่แบรนด์ จะช่วยให้ธุรกิจโดดเด่นมากขึ้น บทความนี้จึงจะมาแนะนำวิธีการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำ รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้มีความสอดคล้องทั้งเป้าหมาย และสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้บริโภคได้รับรู้

Brand Identity หรือ อัตลักษณ์ของแบรนด์คืออะไร?

Brand Identity หรือ อัตลักษณ์ของแบรนด์คืออะไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ Brand Identity กันก่อนว่ามันคืออะไร? Brand Identity คืออัตลักษณ์ หรือการสร้างตัวตนของแบรนด์ เป็นสิ่งที่ธุรกิจต่างๆ สร้างขึ้นเพื่อนำเสนอความเป็นตัวตนของแบรนด์ เป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะได้เห็น การสร้าง Brand Identity จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค

หากอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนของเรามีความแข็งแรง และสามารถสื่อสารออกไปยังผู้บริโภคเห็นได้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้บริโภคจดจำสิ่งเหล่านั้นได้ โดยเพียงแค่การเห็นโลโก้ของแบรนด์ สโลแกน แผ่นพับ นามบัตร แนวทางในการออกแบบงานโฆษณา การวางตำแหน่งของแบรนด์ ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า หรือการบริการทั้งก่อนและหลังการขาย รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ของตัวสินค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น Brand Identity หรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ที่ถูกสร้างขึ้นมา จากนั้นเมื่อผู้บริโภครับรู้ และตีความหมายออกมา หากผู้บริโภครับรู้ตรงกับที่แบรนด์ต้องการจะสื่อ นั่นหมายความว่าคุณสามารถออกแบบมาได้อย่างดีเยี่ยม

จะสร้าง Brand Identity ทั้งที เลือกใช้ให้เหมาะกับธุรกิจ

เมื่อเราได้รู้กันไปแล้วว่า Brand Identity คืออะไร ตอนนี้เรามาดูกันถึงการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ที่แตกต่างกันตามแต่ละธุรกิจ โดย Brand Identity จะแบ่งออกมาได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ดังนี้

Graphic Identity

เช่น การออกแบบโลโก้ของแบรนด์ รูปภาพประกอบ ลักษณะของตัวหนังสือ สีที่ใช้ ลวดลายต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่เห็นแล้วจะนึกถึงแบรนด์ของเราได้ จึงจำเป็นต้องมีสไตล์ที่ชัดเจน และแสดงออกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเป็นตัวสื่อสารของแบรนด์ที่จะทำให้ลูกค้าได้เห็นว่าแบรนด์นั้นก้าวไปในทิศทางไหน จุดเด่นคืออะไร หากสามารถออกแบบให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ จะทำให้ลูกค้ามองแล้วนึกถึงแบรนด์ได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของแบรนด์อะไร

Sensorial Identity

อัตลักษณ์ที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง การสัมผัส และยังรวมถึงรูปร่างลักษณะ พื้นผิวที่สัมผัส ซึ่งจะพ่วงมาด้วยคุณภาพ การทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสัมผัสนั้นๆ ไม่สามารถสัมผัสได้จากที่ไหนแล้วนอกจากที่นี่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เช่น รสชาตินี้จะต้องทานของแบรนด์นี้เท่านั้นถึงจะได้รสชาตินี้ กลิ่นนี้จะต้องเป็นน้ำหอมยี่ห้อนี้เท่านั้น เป็นการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ผ่านการจดจำจากการสัมผัสและการใช้งานต่าง ๆ

Behavioral Identity

เป็นอัตลักษณ์ที่เชื่อมโยงพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น การสร้างแอปพลิเคชันในการซื้อสินค้าให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในยุคปัจจุบัน โดยการมีช่องทางการบริโภคที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันการสั่งซื้อของออนไลน์ เป็นที่นิยมมากขึ้น ผู้คนออกไปเดินหน้าร้านน้อยลง ดังนั้นผู้บริโภคจะหันมาใช้ช่องทางที่สะดวกกว่า

Functional Identity

เป็นอัตลักษณ์ที่เน้นคุณสมบัติหรือแบรนด์เป็นหลัก เช่น รองเท้าเพื่อสุขภาพ เสื้อผ้าที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ อาหารจากผักปลอดสารพิษ เป็นต้น เพราะสินค้าและการบริการนั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงได้อย่างตรงจุดที่สุด

การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ สำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด

การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ สำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่คิด

หากแบรนด์หรือธุรกิจที่มีความสามารถในการอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างได้ จะทำให้มีแต้มต่อเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ไม่มีการสร้างอัตลักษณ์ที่ดีพอ นอกจากจะช่วยให้แบรนด์ดูโดดเด่นแล้ว ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ เป็นการมองคุณค่าทางสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี

Brand Identity คือสิ่งที่จะช่วยสร้างโอกาสในทางธุรกิจต่างๆ ช่วยเพิ่มยอดขายได้เพื่อให้แบรนด์มีความแข็งแรง และจะช่วยสร้างฐานลูกค้าที่บริโภคซ้ำ จนได้ลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์ หรือ Customer Loyalty โดยจุดนี้จะช่วยต่อยอดในการเจาะตลาดใหม่ๆ ในอนาคตได้ เพราะแบรนด์มีสิ่งที่คอยรับประกันคุณภาพ การันตีความมั่นใจได้แล้วในระดับหนึ่ง และเราก็จะได้เปรียบจากคู่แข่งเป็นอย่างมาก เพิ่มโอกาสสร้างการรับรู้ในแบรนด์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น

องค์ประกอบของ Brand Identity

Performance Marketing ทำผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

องค์ประกอบของแบรนด์ หรือ Brand Identity Prism คือแนวคิดที่คิดโดย Kapferer เป็นส่วนที่ทำให้การสร้างธุรกิจมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากชื่อแบรนด์แล้ว ก็ยังต้องมีอะไรที่ลึกกว่านั้นในการเชื่อมโยงกับลูกค้า แบรนด์ควรมีเอกลักษณที่ไม่เหมือนใคร มีความเชื่อหรือความมุ่งมั่นเป็นของตัวเอง ซึ่งองค์ประกอบของ Brand Identity เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่จะสะท้อนมุมมองของแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคด้วย โดย Brand Identity Prism จะประกอบด้วยกันทั้งหมด 6 อย่าง ดังนี้

ลูกค้าจะเห็นแบรนด์เป็นอย่างไร (Physique)

เป็นการสร้างลักษณะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ผ่านโลโก้ สี หรือรูปร่างต่างๆ เป็นพื้นฐานแรกของแบรนด์ที่จะสะท้อนให้เป็นภาพรวมของแบรนด์ว่าคืออะไร สะท้อนมุมมองของแบรนด์ว่าอยากให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้อะไรจากเรา เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องคิดพิจารณาว่าจะทำสินค้า และบริการออกมาเป็นอย่างไร

ตัวตนและบุคลิกของแบรนด์ (Brand Personality)

เป็นการกำหนดลักษณะบุคลิกภาพของแบรนด์ให้ชัดเจน ให้แบรนด์รู้ว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร เช่น ผ่านการใช้โทนเสียง ผ่านการออกแบบ การใช้ตัวอักษร ตัวหนังสือ และผ่านงานโฆษณาประเภทต่างๆ เช่น โฆษณาของแบรนด์ต้องการให้ออกมาดูสนุกสนาน การใช้ตัวหนังสือ และโทนสีในโฆษณาก็จะเน้นไปที่โทนสนุกสนาน แบรนด์ต่างๆ ควรกำหนดสิ่งเหล่านี้ให้ชัดเจน และนำมาผสมผสานกันในจุดต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพรวมของสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารออกไป ไม่ว่าจะผ่านทาง เว็บไซต์ อีเมล แอปพลิเคชัน หรือการสื่อสารในแบบอื่น ๆ

มุมมองวัฒนธรรมที่สะท้อนของแบรนด์ (Brand Culture)

วัฒนธรรมก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์ของเราเช่นกัน ทั้งการสร้างวัฒนธรรมจากภายในองค์กร รวมไปถึงนำมาจากถิ่นกำเนิดของแบรนด์ หรือสินค้ามาใช้ วัฒนธรรมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของการสะท้อนความเป็นตัวตนของแบรนด์ เช่น แบรนด์ Google ที่ได้รับให้เป็นแบรนด์ด้านเทคโนโลยีที่ดีที่สุด มีวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และความสนุกสนานในการทำงาน โดยผ่านการตกแต่งออฟฟิศให้มีสีสัน

ความสัมพันธ์ของลูกค้าและแบรนด์ (Relationship)

การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ผ่านความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับลูกค้า จะส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อแบรนด์ในระยะยาว นับว่าสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ลูกค้าคาดหวังบางสิ่งจากแบรนด์ที่นอกจากตัวสินค้าและบริการ โดยเมื่อลูกค้าได้รับนั้น จะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์พิเศษขึ้น จะทำให้ลูกค้ากลายเป็น Customer Loyalty ซึ่งการที่จะสร้างความสัมพันธ์สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการรับประกันสินค้า และการบริการหลังการขาย จะช่วยสร้างความประทับใจ และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ตัวแบรนด์ได้

ฐานลูกค้า (Customer Reflection)

การเกิดแบรนด์ เกิดจากมุมมองของลูกค้า จากการรับรู้ข้อมูล และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้สัมผัสกับแบรนด์โดยตรง สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาพสะท้อนถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้นๆ แบรนด์จะเชื่อมโยงกับสินค้า เพื่อดูว่ากลุ่มเป้าหมายนั้นคือใคร แบรนด์นั้นเป็นของคนกลุ่มไหน เช่น แบรนด์สำหรับคนรักสุขภาพ แบรนด์ที่เหมาะกับวัยรุ่น หรือเหมาะผู้ใหญ่ แบรนด์ที่เหมาะสำหรับผู้หญิง หรือผู้ชาย เป็นต้น

ลูกค้ารับรู้และซึมซับอะไรจากแบรนด์ (Customer Self Image)

แบรนด์จะต้องมีการกำหนดว่าจะสร้างภาพลักษณ์ให้กลุ่มลูกค้าซึมซับเข้าในใจได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้เกิดมุมมองที่ดีต่อแบรนด์ ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจอุดมคติของลูกค้าก่อนว่ามองเห็นตัวเองว่าเป็นอย่างไร อยากแสดงออกอย่างไร จากนั้นต้องสร้างและเชื่อมโยงให้ได้ แล้วจึงตอบสนองความต้องการผ่านทางสื่อสารและกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ตรงกับตัวตนของกลุ่มลูกค้า

อยากให้แบรนด์น่าจดจำ สร้าง Brand Identity ยังไงดี

อยากให้แบรนด์น่าจดจำ สร้าง Brand Identity ยังไงดี

การที่จะสร้างแบรนด์ธุรกิจให้แข็งแรง มีความโดดเด่น ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งสามารถสร้างได้หลายวิธี โดยจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าเอาไปปรับใช้กับธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมนั้นอย่างไร ดังนี้

วิเคราะห์อุตสาหกรรมและตลาด

เริ่มจากการวิเคราะห์ตลาด ศึกษาผู้ชม ศึกษาคู่แข่ง วิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และอุปสรรคต่างๆ (Threats) ซึ่งวิธีที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของแบรนด์มากยิ่งขึ้น

กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

อัตลักษณ์ของแบรนด์จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งเอาไว้ได้ เช่น หากสินค้าต้องการความสนุก การโฆษณาก็ควรออกแบบไปในทางที่สนุกให้ตรงกับภาพลักษณ์ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเหล่านั้น ช่องทางการสื่อสารก็ควรเชื่อมโยงกันด้วย

รู้จักลูกค้าของตนเอง

นั่นก็คือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นั่นเอง ซึ่งทำได้โดยการทำแบบสำรวจ การประชุม การสัมภาษณ์ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อให้แบรนด์เกิดความเข้าใจในการทำอัตลักษณ์ของแบรนด์ตนเองมากขึ้น

วางบุคลิกของแบรนด์และข้อความสื่อสาร

แบรนด์จะต้องมีการรับรู้ที่สอดคล้องกัน ต้องมีการผสมผสานคุณลักษณะในทุกแง่ที่เป็นไปได้ ทั้งประโยชน์ใช้สอย ราคา คุณภาพต่างๆ วัฒนธรรมของแบรนด์ โลโก้ โทนสี ทั้งหมดต้องมีความสอดคล้อง และให้ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งอาจใช้เทมเพลตที่สร้างไว้ และทำตามการออกแบบของธุรกิจ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่กลมกลืนกัน ในการใช้สื่อเองก็สำคัญ การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ การใช้ภาษาให้ตรงกับบุคลิกของแบรนด์ที่สอดคล้องกัน ทำให้ดึงบุคลิกของแบรนด์ออกมาได้ตามที่ต้องการจะสื่อสารออกไป

ตัวอย่างของ Brand Identity

ตัวอย่างของ Brand Identity

เพื่อให้ได้เห็นภาพกันชัดๆ ในการสร้าง Brand Identity ให้ประสบผลสำเร็จ เรามาดูตัวอย่างของแบรนด์ดัง 3 แบรนด์ดัง ที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของตัวสินค้า และการบริการ มาให้ศึกษากันว่าพวกเขาได้สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์กันอย่างไร ดังนี้

Starbucks

เมื่อเรามองเห็นโลโก้นางเงือกไซเรน เราจะรู้ได้ทันทีเลยว่านั่นคือ แบรนด์ Starbucks ซึ่งเป็น Physique ที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงการให้ความสำคัญถึงตัวสินค้า รสชาติกาแฟ และบรรยากาศภายในร้านที่ดูอบอุ่นสบายๆ เต็มไปด้วยสีเขียว ในด้าน Personality เน้นในเรื่องของคุณภาพ ยึดถือในธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ตอบสนองความความชอบเข้าสังคม และในส่วน Relationship นั้นมีการสร้างมิตรภาพที่ดี สร้างบรรยากาศที่สนุกนาน พูดคุยกับลูกค้าในเรื่องราวต่างๆ ที่เด่นๆ เลยคือการเขียนชื่อลูกค้าของแต่ละคนลงบนถ้วย บนแก้วที่สั่ง นอกจากนี้ในด้าน Culture มีพื้นฐานมาจากคำมั่นสัญญา รวมถึงเคารพในตัวผู้คนและสิ่งแวดล้อม และ Starbucks มี Reflection ที่เชื่อมกับไลฟ์สไตล์ของคนเข้าไว้ด้วยกัน เป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ และสถานที่สำหรับทำงานได้ ดังนั้นพอพูดถึง Self-Image ของ Starbucks จึงเป็นแบรนด์กาแฟที่เน้นคุณภาพ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน

Apple

ไม่พูดถึงไม่ได้เลยสำหรับแบรนด์นี้ Apple มีความคิดอย่างแตกต่างจากแบรนด์อื่น และมีความสร้างสรรค์ผ่านสินค้า ทั้งคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ และแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังมีโลโก้ที่โดดเด่น จดจำได้ง่าย คือภาพแอปเปิลที่ถูกกัดแหว่งไป เป็นการสร้าง Physique ที่มองเห็นได้ชัด และเป็นที่จดจำ ส่วนด้าน Personality นั้น Apple จะใช้ภาพลักษณ์ที่มีความเรียบง่าย ดูทันสมัยตลอดเวลา แถมในด้าน Relationship Apple มีการบริการที่น่าประทับใจ มีความเป็นมิตร และการบริการหลังการขาย การันตีเกี่ยวกับสินค้าที่มีความสม่ำเสมอ และมีคุณภาพ มาโดยตลอด ซึ่งในเรื่องของ Culture Apple ได้สร้างความเชื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ในส่วน Reflection ก็มีความมั่นคงมาก เพราะผู้ที่ใช่แบรนด์จะรู้สึกถึงความมีระดับที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ และพอพูดถึง Self-Image ของ Apple จะนึกถึงความเป็นแบรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่ความสนุกสนาน อิสระด้านความคิด ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษ

Ikea

ภาพลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเลยจากโทนสีที่ใช้ สีเหลือง และสีน้ำเงิน ที่ไม่ว่าใครเห็นก็จะนึกถึงแบรนด์ Ikea ซึ่งนี่ก็คือการสร้าง Physique ที่สร้างการจดจำได้ ในด้าน Personality ของ Ikea จะเน้นว่าเฟอร์นิเจอร์จะต้องเป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อมของบ้านไม่ว่าจะภายนอก หรือภายใน จะต้องมีคุณภาพ และในส่วน Relationship Ikea มีความคิดที่ว่าจะต้องให้บริการทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไร Ikea จึงตั้งราคาในระดับที่ที่คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ส่วน Culture ของ Ikea จะเติบโตจากวัฒนธรรมความคิด คือไม่ใช่แค่คิดต่าง แต่ต้องคิดใหม่ด้วย และยังเน้นการหาวิธีแก้ปัญหาที่ต้องดีกว่าเดิมอยู่เสมอ ดังนั้น Reflection ของ Ikea จึงมีความหลากหลาย และเข้าถึงผู้คนเป็นวงกว้างด้วยการตั้งราคาและคุณภาพที่ดี สุดท้าย Self-Image ของ Ikea คือการเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่เหมือนแบรนด์ไหนในโลก มีทั้งคุณภาพดีที่เข้าถึงได้ และเทคโนโลยี กระบวนการในการซื้อสินค้าที่ไม่เหมือนใครด้วย

สรุป

Brand Identity หรือ การสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ คือการสร้างตัวตนของแบรนด์ เพื่อตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจมีความโดดเด่น ให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ ลูกค้ารับรู้ถึงสิ่งที่แบรนด์ต้องการที่จะสื่อสาร ซึ่งการสร้างอัตลักษณ์เป็นประโยชน์ในทุกๆ ธุรกิจ ช่วยเพิ่มยอดขาย เพิ่มโอกาสในการเติบโต และเกิดข้อได้เปรียบกว่าคู่แข่งในตลาดได้ โดยจะประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ คือ Physique, Personality, Culture, Relationship, Reflection และ Self-Image ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้นอกจากจะทำให้แบรนด์มีเอกลักษณ์ที่น่าจดจำเป็นของตัวเองแล้ว ยังช่วยให้แบรนด์รู้ถึงทิศทางในการทำธุรกิจว่าจะไปในทางไหนอีกด้วย ซึ่งถ้าแบรนด์มีการสร้างตัวตนที่แข็งแรง ไม่ว่าเจอคู่แข่งเก่งแค่ไหน แบรนด์ก็จะยังมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ผู้คนนึกถึง ยังมีฐานลูกค้าที่เป็น Customer Loyalty และเพราะเป็นแบรนด์ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้นั่นเอง

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Brand Identity คืออะไร

Brand Identity คือการสร้างตัวตันหรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ให้โดดเด่น เป็นที่น่าจดจำ และสื่อถึงตัวสินค้าหรือบริการของแบรนด์ได้อย่างดี เพื่อให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ได้ทันทีที่รับรู้ หรือสัมผัส กับสิ่งที่เกี่ยวกับแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น โลโก้ โฆษณา สินค้า หรือบริการ

Brand Identity ช่วยเพิ่มลูกค้าได้ยังไง

ยิ่งสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ออกมาได้โดดเด่นและน่าจดจำมากเท่าไร แบรนด์ก็ยิ่งยิ่งเป็นที่จดจำและมีแต้มต่อมากกว่าธุรกิจเดียวกันในตลาดมากเท่านั้น ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นผ่านลูกค้าประจำและลูกค้าใหม่ นอกจากนี้ Brand Identity ที่ดี จะช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจในสินค้าและบริการมากขึ้นอีกด้วย

จะสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เป็นที่น่าจดจำได้ยังไง

ทำได้ด้วยการสร้างองค์ประกอบของอัตลักษณ์ของแบรนด์ทั้ง Physique, Personality, Culture, Relationship, Reflection และ Self-Image เพราะองค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยกำหนดทิศทางของแบรนด์ได้ ทำให้แบรนด์มีความโดดเด่น และความชัดเจนของตัวแบรนด์เอง ทำให้ผู้คนนึกถึงแบรนด์ได้ง่าย และไม่มีคู่แข่งทำตามได้

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง