CTA คืออะไร เทคนิค Call to Action เพื่อเรียกลูกค้า เพิ่มยอดขายทันใจ

CTA คืออะไร เทคนิค Call to Action เพื่อเรียกลูกค้า เพิ่มยอดขายทันใจ

Table of Contents

เคยสงสัยกันไหมว่า CTA ที่ปรากฏในหน้าเว็บไซต์ หรือโพสต์ในโซเชียลมีเดียคืออะไรกันแน่ เพราะการทำการตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing) ในยุคปัจจุบัน สิ่งสำคัญคือการทำอย่างไรให้แบรนด์หรือธุรกิจดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและผู้ใช้บริการให้ได้มากที่สุด เพื่อดำเนินการตามจุดประสงค์หรือแผนการตลาดให้ประสบความสำเร็จ สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของ Call to Action (CTA) หรือ คำที่กระตุ้นเพื่อการส่งเสริมการขาย ดึงดูดความสนใจของลูกค้า หรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำบางอย่าง เช่น การคลิกปุ่มสมัครสมาชิก การซื้อสินค้า การกรอกแบบสอบถาม เป็นต้น 

บทความนี้ Minimice จะพาไปทำความรู้จักว่า Call to Action คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง สำคัญอย่างไรกับการทำการตลาดออนไลน์ในธุรกิจต่างๆ รวมถึงวิธีการสร้าง Call to Action ให้มีประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจในยุคดิจิทัลเพิ่มยอดขายได้ทันใจ และเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ทำความรู้จัก Call to Action คืออะไร

ทำความรู้จัก Call to Action คืออะไร

Call to Action หรือ CTA คือ ‘คำ’ หรือ ‘ประโยค’ ที่กระตุ้นการตัดสินใจ Call to Action คือ คำศัพท์ทางการตลาดที่ใช้ในแคมเปญการขาย หรือการประชาสัมพันธ์ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง และการตัดสินใจในทันที หรือเรียกว่า การปิดการขาย ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะทำให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เลือก ‘กด’ หรือ ‘คลิก’ เข้าไป เพื่อซื้อขาย รับสิทธิประโยชน์สุดพิเศษ กรอกข้อมูลเพิ่มเติม หรือเยี่ยมชมน่าเว็บไซต์ในส่วนอื่นๆ ที่ผู้ใช้งานสนใจ ถือเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน หรือลูกค้าเป้าหมาย กับแบรนด์หรือธุรกิจต่อไปได้

ตัวอย่าง Call to Action สามารถพบเจอได้บ่อยครั้งในเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ในรูปแบบข้อความโฆษณา สคริปต์การขาย โพสต์การขาย หรือข้อความบทเว็บไซต์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้าดำเนินการบางอย่างต่อไป เช่น ‘ซื้อเลย’ ‘อ่านเพิ่มเติม’ ‘เรียนรู้เพิ่มเติม’ ‘ติดต่อได้ที่นี่’ หรือ ‘สมัครเป็นสมาชิกทันที’ ซึ่งข้อความ หรือคำสั้นๆ เหล่านี้ มักเป็นในรูปแบบของปุ่ม (Button) หรือไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) เพื่อให้ง่ายต่อการคลิก โดยตัวอย่างของคำที่ใช้สำหรับ Call to Action มีดังนี้

  • ลงทะเบียน
  • ติดตาม
  • เรียนรู้เพิ่มเติม
  • อ่านเพิ่มเติม
  • เข้าร่วมกับเรา
  • แบ่งปันบนโซเชียลมีเดีย
  • ทดลองฟรี
  • ซื้อเลย
  • หยิบใส่ตะกร้า
  • เช็กเอาต์
  • เพิ่มในรายการ
  • ดาวน์โหลด

องค์ประกอบของ Call to Action มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของ Call to Action มีอะไรบ้าง

การทำ Call to Action คือ การกระตุ้นให้ผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายต้องการคลิก หรือกดเพื่อรับสิทธิประโยชน์ ซื้อสินค้า หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมตามจุดประสงค์ของ Call to Action ที่ทางแบรนด์หรือธุรกิจตั้งไว้ ดังนั้น เพื่อให้ปุ่ม CTA ดึงดูดให้ผู้ใช้งานคลิกเข้าไปได้ ต้องสร้างปุ่ม CTA ให้มีความน่าสนใจ โดยควรมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ดังนี้

  • Text หรือ Copy ที่อยู่บนปุ่มต้องมีความน่าดึงดูด โดยสามารถเลือกใช้คำที่มีความหมายสื่อไปในทางที่ว่า ‘ต้องทำ’ เช่น ‘โทร’ ‘ซื้อ’ หรือ ‘ดาวน์โหลด’ เป็นต้น รวมทั้งการใช้เทคนิคจำกัดระยะเวลาเพื่อสร้างแรงจูงใจได้ เช่น ‘เดี๋ยวนี้’ ‘วันนี้’ ‘หมดเขต..(วัน เวลา เดือน ปี)’ เป็นต้น
  • สร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ประกอบการทำ CTA เพื่อให้การทำ CTA เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่กดเข้าไปแล้ว จะได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี หรือได้รับการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่เขาต้องการ
  • ออกแบบปุ่ม CTA ให้มีความน่าสนใจ การออกแบบปุ่ม CTA ให้ดึงดูด หรือสะดุดตาตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น โดยอาจคำนึงถึงรูปทรง สี หรือฟอนต์ร่วมด้วย
  • ตำแหน่ง หรือ Layout ของ CTA การกำหนดตำแหน่งของปุ่ม CTA ก็มีความสำคัญ เนื่องจากการวาง Layout ของปุ่ม CTA ที่ดี และเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ใช้งานสังเกตเห็น และกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสนใจอยากกดมากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของ Call to Action กับการทำธุรกิจ

ความสำคัญของ Call to Action กับการทำธุรกิจ

การทำ Call to Action หรือ CTA คือสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2C, B2B หรือ E-Commerce เพราะเป็นการสร้างกลยุทธ์เพื่อช่วยแนะนำให้ผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายตลอดเส้นทาง Customer Journey ของพวกเขา โดย CTA จะช่วยไกด์แนวทางว่าผู้ใช้งานต้องทำอย่างไรต่อไปในแต่ละขั้นตอนของการเยี่ยมชมเนื้อหา ถือเป็นการสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ร่วมด้วย หากแบรนด์หรือธุรกิจไม่ทำ CTA อาจทำให้ผู้ใช้งานที่มีโอกาสจะกลายมาเป็นลูกค้าก็ลดน้อยลง เพราะไม่รู้ว่าต้องมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของคุณอย่างไร จนทำให้พวกเขาต้องหันไปใช้งานในเว็บไซต์ หรือแบรนด์อื่นๆ ที่ตอบโจทย์กว่า โดยเฉพาะคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกันกับแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ

ช่องทางในการทำ Call to Action มีอะไรบ้าง

ช่องทางในการทำ Call to Action มีอะไรบ้าง

เมื่อทราบแล้วว่าการทำ Call to Action คือสิ่งที่จำเป็นในการทำการตลาดดิจิทัล เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการกระตุ้นให้ผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับทางแบรนด์ ธุรกิจ เว็บไซต์ บล็อก หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ของคุณ จึงจำเป็นอย่างมากในการทำ CTA ไว้ในส่วนต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้

  • เว็บไซต์ (Website) การทำ CTA ให้หน้าเว็บไซต์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อผู้ใช้งานกดเข้ามาในหน้าเว็บไซต์ของคุณ จะพบกับ CTA ในส่วนต่างๆ ที่สำคัญ เช่น หน้าแรก (Home) เพื่อกระตุ้นโอกาสในการคลิก เพื่อทำการซื้อสินค้า บริการ หรือทำตามจุดประสงค์การตลาดที่ตั้งไว้ หากอยากเพิ่มความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์มากขึ้น อาจทำบล็อกเพื่อรวบรวมเนื้อหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้มากขึ้น
  • แคมเปญอีเมล (Email Campaign) การทำ CTA แทรกในเนื้อหาอีเมล เพื่อส่งไปยังอีเมลสมาชิกของแบรนด์หรือธุรกิจที่รวบรวมเอาไว้ สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหา และยังสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ CTA ที่เหมาะสม และตอบโจทย์มากที่สุด
  • โซเชียลมีเดีย (Social Media) ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย สามารถทำ CTA ได้ในโพสต์ หรือการวางโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook ที่มีปุ่ม ‘เรียนรู้เพิ่มเติม’ เพื่อให้แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ รวม CTA ของพวกเขาเอาไว้ให้ง่ายต่อการใช้งาน
  • Google การใช้ Google Ads หรือซื้อโฆษณาบน Google เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการของแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ จากนั้นให้ทำ CTA ช่องทางติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์ เพราะใน Google มีฟังก์ชันปุ่มคลิกเพื่อโทรในโฆษณาบนมือถือ สิ่งนี้จะช่วยให้ง่ายต่อการติดต่อจากลูกค้า หรือผู้ใช้งานของคุณมากขึ้น

8 วิธีการสร้าง Call to Action ให้ดี และมีประสิทธิภาพ

8 วิธีการสร้าง Call to Action ให้ดี และมีประสิทธิภาพ

วิธีการสร้าง Call to Action ที่ดีคือการกระตุ้นหรือดึงดูดให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทำตามจุดประสงค์ที่ต้องการ นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและไม่ง่ายเลยทีเดียว แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะการเพิ่ม Conversion และการมีส่วนร่วม (Engagement) ให้กับเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มในสื่อโซเชียลมีเดียของคุณให้มีความน่าสนใจ และแตกต่างจากคู่แข่ง จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก ดังนั้น การสร้าง Call to Action คือสิ่งสำคัญ แต่จะมีเทคนิคอะไรบ้างในการสร้าง Call to Action ให้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไปดูกัน

1. เข้าใจเป้าหมาย และวัตถุประสงค์หลักของแบรนด์

ขั้นตอนแรกของการทำ Call to Action คือการเข้าใจเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของแบรนด์ ว่าต้องการสร้าง Call to Action เพื่ออะไร แบรนด์หรือธุรกิจอาจกำลังมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการเข้าชมหน้าเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มยอดการขาย เพื่อเพิ่ม Conversion หรือเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะไม่ว่าเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของแบรนด์คืออะไร คำหรือข้อความที่ใช้กระตุ้นการตัดสินใจต้องสะท้อนจุดประสงค์หลักเหล่านั้นให้ออกมาอย่างชัดเจน ตัวอย่าง Call to Action ที่ใช้สร้างโอกาสในการขาย เช่น ‘ดาวน์โหลดเลย’ หรือใช้เพื่อการขายโดยตรง เช่น ‘ใส่ตะกร้า’ ‘ซื้อเลย’ เป็นต้น

2. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน

แน่นอนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละคน โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความแตกต่างกัน สิ่งที่พวกเขาเลือกใช้งานหรือสื่อที่เลือกเสพก็ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ความบันเทิง กีฬา หรือการชอปปิง ดังนั้น การสร้าง Call to Action จึงควรพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถแยกกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน และสามารถเลือกคำ หรือประโยคที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มได้

3. เลือกใช้คำ หรือประโยคอย่างชาญฉลาด

การเลือกใช้คำ หรือประโยคอย่างชาญฉลาด คือ องค์ประกอบสำคัญของการทำ CTA เพราะในส่วนนี้คุณสามารถใส่ความสร้างสรรค์ และความแตกต่างได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถเริ่มจากเทคนิคง่ายๆ เพื่อให้การสร้าง Call to Action มีคุณค่า และน่าสนใจ ดังนี้

  • เลือกคำให้ชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา การเขียน CTA ที่ดี ควรมีความชัดเจน สั้น กระชับ และตรงไปตรงมา เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครอยากอ่านข้อความที่เข้าใจยาก งุนงง หรือสับสนอย่างแน่นอน โดยคุณสามารถหลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉพาะ คำศัพท์ที่เป็นทางการ เวิ่นเว้อ หรือมีความซับซ้อน แต่ให้ใช้คำที่ระบุไปเลยว่าผู้ใช้งานต้องทำอย่างไรต่อไป ใช้ภาษาง่ายๆ ไม่คลุมเครือ เช่น ‘คลิกที่นี่’ ‘เรียนรู้เพิ่มเติม’ ‘หยิบใส่ตะกร้า’ หรือ ‘ซื้อเลย’ เป็นต้น
  • เลือกใช้คำกริยาที่เน้นถึงการกระทำ การใช้คำกริยาที่เน้นการกระทำจะช่วยดึงดูดความสนใจให้ผู้ใช้งานอยากทำตาม หรือดำเนินการต่อมากขึ้น เพราะเป็นคำที่ให้ความรู้สึกน่าสนใจ น่าติดตาม และเป็นคำที่ดูไม่เฉยเมยมากเกินไป เช่น ‘ลงทะเบียนเลย’ ‘สมัครสมาชิก’ ‘ดาวน์โหลด’ หรือ ‘แบ่งปัน’ เป็นต้น
  • เลือกใช้คำที่เป็นกลาง และครอบคลุม การทำให้ผู้อ่าน หรือผู้ชมได้รับความรู้สึกเท่าเทียม ให้เกียรติ หรือเป็นมิตรคือสิ่งสำคัญ เพราะสามารถทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วม หรือเป็นส่วนหนึ่ง โดยควรเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะกับเป้าหมายของคุณ หรือใช้คำศัพท์ที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนได้ง่าย และมีความเป็นกันเอง เช่น คุณ หรือ เรา เป็นต้น คีย์เวิร์ดคือความสุภาพ เพราะหากผู้ใช้งานเจอคำที่ให้ความรู้สึกหยาบคาย หรือไม่เป็นมิตร อาจทำให้พวกเขาไม่กลับมาสนใจแบรนด์ของคุณอีกเลย
  • เลือกใช้คำที่แสดงถึงความรู้สึกเร่งด่วน หรือแข็งขัน การใช้ข้อความที่กระตุ้นความรู้สึกเร่งด่วน หรือรวดเร็ว เป็นเทคนิคที่เล่นกับระยะเวลา หรือช่วงเวลา ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากทำ อยากได้ หรือต้องการไขว่คว้ามากขึ้น แต่ต้องระวังเรื่องของความเกินจริง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้ โดยอาจใช้วลี เช่น ‘ด่วนของมีจำกัด’ ‘โอกาสสุดท้าย’ ‘ข้อเสนอพิเศษในเวลาจำกัด’ หรือ ‘ดำเนินการทันที’ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความประทับใจและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ความกลัว เพื่อกระตุ้นปฏิกิริยาต่อผู้ชมได้ เช่น หากคุณกำลังส่งเสริมการขายในระยะเวลาจำกัด อาจทำ CTA เพื่อบอกกลุ่มเป้าหมายได้ว่า ‘การขายสิ้นสุดเที่ยงคืนนี้!’ เป็นต้น
  • เลือกใช้คำที่สร้างความรู้สึกพิเศษ ทุกคนอยากเป็นคนพิเศษ อยากเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม หรืออยากเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มักมีเป้าหมาย หรือความต้องการร่วม ดังนั้นการเลือกใช้คำหรือวลีกระตุ้นที่ทำให้พวกเขารู้สึกพิเศษได้ ก็จะช่วยสร้างความโดดเด่น และน่าสนใจ รวมไปถึงกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. สร้างความโดดเด่น และแตกต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจ

การสร้าง CTA ให้มีความโดดเด่น และแตกต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจ ช่วยกระตุ้นให้การตัดสินใจของผู้ชมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้สีที่โดดเด่นของตัวข้อความ การเลือกฟอนต์อักษรที่อ่านง่าย และมีความทันสมัย เพื่อดึงดูดสายตาของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เทคนิคการวาง Layout หรือตำแหน่งที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจได้ดี เช่น ช่วงท้ายของเนื้อหา ด้านข้าง หรือแถบด้านบนของหน้าเว็บไซต์ หากเป็นอีเมลก็ต้องมีความชัดเจน ไม่บดบังเนื้อหา และมีความโดดเด่นด้วยสี และฟอนต์ที่เหมาะสม

5. พิจารณาตำแหน่งการวาง CTA ให้เหมาะสม

ตำแหน่งการวาง CTA คือสิ่งที่สำคัญอีกเช่นกัน โดยแบรนด์ต้องคำนึงถึงธรรมชาติของการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน การเดินทางท่องเว็บไซต์ ไปจนถึงการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้ใช้งานบางคนอาจเลือกกดข้ามไปยังหน้าซื้อขาย หรือบางคนอาจเข้าชมหน้า Landing Page ก่อนเพื่อทำการอ่านเนื้อหา ดังนั้น การวาง CTA ที่ดี คือควรวางไว้แถบด้านบน และขอบด้านล่างสุด เพื่อให้ผู้ใช้งานได้อ่าน หรือเปิดเห็นผ่านตา ก่อนใช้เวลาในการตัดสินใจร่วมด้วย

6. มองเห็นชัดเจนในทุกอุปกรณ์การใช้งาน

การทำ CTA ที่ดี ต้องคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากปัจจุบันการท่องเว็บไซต์ ไม่ได้มีเพียงในเว็บเบราว์เซอร์ แต่ยังมีการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต ดังนั้น การทำ Call to Action จึงต้องปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาให้สามารถมองเห็น และใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีแก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่น และความภักดีในแบรนด์อีกด้วย

7. มีข้อเสนอที่เป็นหลักประกัน หรือแรงจูงใจ

การใช้ข้อเสนอที่เป็นหลักประกัน หรือแรงจูงใจ ถือเป็นเทคนิคที่ชาญฉลาดมากในการทำ CTA เนื่องจากผู้ใช้งาน หรือผู้บริโภคที่เข้าใช้งานในเว็บไซต์ของคุณ พวกเขาต้องการรู้เหตุผล เพื่ออธิบายว่าสิ่งที่พวกเขากำลังจะทำนั้นมีความหมาย มีคุณค่า หรือให้ประโยชน์กับตัวพวกเขาอย่างไร อะไรคือสิ่งที่คุ้มค่ากับการที่พวกเขายอมดำเนินการตามที่แบรนด์ หรือบริษัทเสนอ ดังนั้น จึงควรมีการนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่มอบให้โดยเฉพาะ เมื่อเข้าชมเว็บไซต์ หรือใช้สินค้า และบริการของทางแบรนด์ เพื่อสร้างความตื่นเต้น ความสนใจ โดยอาจใช้วิธีการเสนอสิ่งจูงใจ เช่น เงินรางวัล ตั๋วสุดพิเศษ การทดลอง หรือของขวัญ เป็นต้น

8. ควรมี Call to Action สำรองเสมอ

ในหลายครั้ง Call to Action หลัก อาจเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ของผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าบางคนอาจต้องการข้อมูลสำคัญในการซื้อสินค้า เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องออกกำลังกาย ทำให้ลูกค้าต้องการดูตัวอย่างสินค้า หรือคุณสมบัติที่มีความละเอียดมากขึ้น ดังนั้น การทำ CTA สำรองแยกเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม คู่กับ CTA หลัก ก็จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจได้ดีมากยิ่งขึ้น

6 ประโยชน์ของ Call to Action ที่ดีต่อธุรกิจ

6 ประโยชน์ของ Call to Action ที่ดีต่อธุรกิจ

การทำ Call to Action คือ องค์ประกอบสำคัญสำหรับเนื้อหาบนเว็บไซต์ และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทุกประเภท ที่เกี่ยวข้องกับการทำการตลาดดิจิทัล ซึ่งประโยชน์ของ Call to Action ที่ดีต่อธุรกิจมีดังนี้

1. ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า

การทำ CTA เปรียบเสมือนคำชี้แจ้งหรือคำสั่ง เพื่อแนะนำผู้ใช้ง่ายแบบสั้นๆ ง่าย และกระชับ ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรู้เส้นทาง Customer Journey ว่าต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปในการท่องหน้าเว็บไซต์ของคุณอย่างชัดเจน เพราะคำ หรือวลีใน CTA จะช่วยให้มีความชัดเจน สร้างความเข้าใจ และกำจัดความสับสนออกไปได้

2. ช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชม และเพิ่มยอดการขาย

การทำ CTA สามารถเพิ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจของคุณได้ด้วยคำ หรือวลีต่างๆ เช่น ‘ติดตามฉันบน Twitter’ หรือ ‘ลงทะเบียนด่วน จำนวนจำกัด’ คำเหล่านี้สามารถกระตุ้นการอยากมีส่วนร่วมได้ดี ทำให้ CTA เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างมากในการทำการตลาดดิจิทัล

3. ช่วยสร้างความหมายให้เนื้อหามากขึ้น

ปัจจุบัน ไม่ว่าธุรกิจไหนๆ ต่างก็แข่งขันกันผลิตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ ลงบนเว็บไซต์ของตัวเองในรูปแบบต่างๆ เช่น บล็อก บทความ โพสต์ วิดีโอ พอดแคสต์ ฯลฯ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง บวกกับความกดดันจากผู้ใช้งานที่คาดหวังเนื้อหาที่ตอบโจทย์ตามความต้องการมากที่สุด ทำให้การหมั่นอัปเดตเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ทางการตลาดของแบรนด์หรือธุรกิจ ก็จะช่วยให้ได้รับความสนใจ และขยายฐานผู้ใช้งาน หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น

4. ช่วยกระตุ้นช่องทางการขายสินค้าและบริการ

การทำ CTA ช่วยกระตุ้นช่องทางการขายสินค้า และบริการได้โดยตรง เนื่องจาก CTA ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี เพื่ออำนวยความสะดวก และสนับสนุนเส้นทาง Customer Journey ของผู้ซื้อ หรือผู้ใช้งานเว็บไซต์ ทำให้พวกเขาไม่ต้องคาดเดาเอง หรือสับสนว่าต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่มีปุ่ม CTA ต่างๆ ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี หรือกระตุ้นให้ผู้ใช้งานดำเนินการบางอย่าง เช่น การสมัครรับจดหมายอีเมล หรือการกดติดตามช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งการตัดสินใจของผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะนำไปสู่การซื้อขายสินค้าหรือบริการได้มากขึ้นจากช่องทางที่ CTA ได้มอบให้นั่นเอง

5. ช่วยให้ลูกค้าได้ในสิ่งที่ต้องการ

การทำ CTA เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจ ไม่ได้ส่งผลดีต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อลูกค้า เพราะกลุ่มคนที่ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ รวมถึงคนที่หาข้อมูลต่างๆ พวกเขาต้องการความช่วยเหลือ เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการบางอย่างหรือการได้รับการแก้ไขในปัญหาที่พวกเขาเจอ CTA เป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า หรือบริการของแบรนด์ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยที่พวกเขาไม่เกิดความสับสนจนเบือนหน้าหนีไปใช้งานผู้ให้บริการอื่นๆ หรือเว็บไซต์อื่นๆ ของคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน

6. ช่วยให้การทำการตลาดดิจิทัลประสบความสำเร็จ

แน่นอนว่าการทำ CTA ต้องให้ความสำคัญถึงคำ หรือวลีที่มีความแข็งแกร่ง สร้างแรงกระตุ้น หรือแรงบันดาลใจบางอย่างให้กับผู้ชม หากการทำการตลาดดิจิทัลขาดสิ่งเหล่านี้ไป ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะพลาดโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง นอกจากนี้ CTA ที่มีประสิทธิภาพยังช่วยเสริมพลังในการทำข้อความโฆษณาดิจิทัล และการโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิก (PPC) เพราะหลายครั้งคุณอาจมีโอกาสในครั้งเดียวที่จะสร้างความประทับใจ และดึงความสนใจจากลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น การสร้างพื้นฐาน CTA ให้แข็งแกร่ง ก็จะช่วยให้การทำการตลาดดิจิทัลประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลได้อย่างแน่นอน

สรุป

Call to Action หรือ CTA คือ คำ หรือวลี ที่ใช้ในการกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ใช้งาน หรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแบรนด์หรือธุรกิจ เช่น ต้องการเพิ่มยอดการมีส่วนร่วม ต้องการเพิ่มยอดขาย หรือต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า Call to Action คือกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก หากทำอย่างถูกวิธี เพราะช่วยส่งเสริมธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขาย การขยายฐานลูกค้า อีกทั้งยังช่วยสร้างคุณค่า และความหมายของแบรนด์หรือธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี

คำถามที่เกี่ยวข้องกับ Call to Action (FAQ)

คำถามที่เกี่ยวข้องกับ Call to Action (FAQ)

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ CTA หรือ Call to action กันไปแล้ว ทาง Minimice ยังรวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบเกี่ยวกับ Call to action มาช่วยไขข้อสงสัยในบางส่วนอีกด้วย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

เลือก Call to Action ให้เหมาะสมต้องทำอย่างไร

วิธีการเลือก Call to Action ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ หรือจุดประสงค์ของธุรกิจนั้นๆ ตัวอย่าง Call to Action สำหรับธุรกิจต่างๆ มีดังนี้

  • Call to Action สำหรับธุรกิจ E-Commerce เช่น ‘ช็อปเลย’ ‘สั่งด่วน’ ‘Buy now’ ‘Order now’ ‘หยิบใส่ตะกร้า’ เป็นต้น
  • Call to Action เพื่อให้ทำตามจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ‘อ่านเพิ่มเติม’ ‘คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม’ ‘Read more’ ‘Learn more’ เป็นต้น
  • Call to Action สำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ และอินฟลูเอนเซอร์ เช่น ‘ติดตาม’ ‘เป็นเพื่อนกับเราตอนนี้’ ‘Subscribe now!’ เป็นต้น
  • Call to Action สำหรับธุรกิจบริการต่างๆ เช่น ‘ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี’ ‘พูดคุยกับเรา’ ‘คลิก’ เป็นต้น
  • Call to Action สำหรับการเก็บข้อมูล เช่น ‘คลิกเพื่อรับข่าวสาร’ ‘ลงทะเบียนเพื่อรับสินค้าทดลองฟรี’ ‘ลงทะเบียนเพื่อรับจดหมายข่าว’ ‘กรอกข้อมูลเพื่อรับส่วนลด’ ‘สมัครสมาชิกเพื่อรับส่วนลดครั้งแรก 20%’ เป็นต้น

ข้อเสียของ Call to Action คืออะไร

แม้ว่า Call to Action คือ ส่งที่สร้างผลดีมากมายหลายประการ และช่วยให้การทำการตลาดดิจิทัลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การทำ CTA ก็มีข้อเสียเช่นกัน หากคอนเทนต์ หรือเนื้อหาของเว็บไซต์เต็มไปด้วย CTA ที่ไม่มีประโยชน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่มีคุณภาพ หรือสร้างความสับสนแทนที่จะดึงดูด อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความรำคาญ กดออกจากหน้าเว็บไซต์ และเกิดเป็นประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีได้ แต่ถ้าหน้าเว็บไซต์ของคุณไม่มี CTA อยู่เลย ถึงแม้คอนเทนต์ หรือเนื้อหาในเว็บไซต์จะมีคุณภาพแค่ไหน แบรนด์หรือธุรกิจของคุณก็จะไม่สามารถสร้างรายได้ หรือยอดขาย รวมถึงไม่สามารถเก็บข้อลูกค้าได้เลย

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง