เจาะลึก LinkedIn Ads ตัวช่วยหาพาร์ทเนอร์ B2B ที่ดีที่สุดในยุค 4.0

เจาะลึก LinkedIn Ads ตัวช่วยหาพาร์ทเนอร์ B2B ที่ดีที่สุดในยุค 4.0

Table of Contents

Key Takeaway

  • LinkedIn Ads คือโฆษณาที่โปรโมตสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม LinkedIn ทำงานผ่านการสร้างแคมเปญที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามอาชีพ ตำแหน่งงาน และความสนใจ
  • ประเภทของ LinkedIn คือ Sponsored Content, Sponsored Messaging, Text Ads, Dynamic Ads มีวัตถุประสงค์หลักคือการสร้างการรับรู้ การเข้าชมเว็บไซต์ และการสร้าง Lead Generation
  • LinkedIn Ads สำคัญกับธุรกิจ B2B เพราะช่วยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นมืออาชีพ มีข้อมูลเฉพาะเจาะจง ทำให้สร้างการเชื่อมต่อและโอกาสทางธุรกิจได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

สำหรับใครที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่า LinkedIn คืออะไร และทำไมจึงเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญสำหรับทั้งบุคคลและองค์กร โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจที่ใช้ LinkedIn เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างแบรนด์ ไปดูกันว่าการทำโฆษณาบน LinkedIn หรือ LinkedIn Ads จะช่วยธุรกิจได้อย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้

มาทำความรู้จักว่า LinkedIn คืออะไรกันก่อน

มาทำความรู้จักว่า LinkedIn คืออะไรกันก่อน

LinkedIn คือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจและการสร้างเครือข่ายมืออาชีพ ช่วยให้บุคคลและองค์กรเชื่อมต่อกัน สร้างโปรไฟล์แสดงทักษะและประสบการณ์การทำงาน รวมถึงค้นหางานใหม่และติดตามข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

LinkedIn แบ่งผู้ใช้งานออกเป็นสองประเภท คือ บัญชีธรรมดาที่ใช้งานฟรี และ LinkedIn Premium สำหรับบัญชี Premium จะมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากกว่าบัญชีฟรี ผู้สนใจสามารถสมัครใช้งาน LinkedIn ได้ที่ linkedin.com โดยมีแพ็กเกจและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนี้

  • Premium Career ราคา $29.99 ต่อเดือน (ประมาณ 995 บาท)
  • Premium Business ราคา $59.99 ต่อเดือน (ประมาณ 1,990 บาทไทย)
  • Sales Navigator Pro ราคา $79.99 ต่อเดือน (ประมาณ 2,650 บาทไทย)
  • Recruiter Lite (Hiring) ราคา $119.95 ต่อเดือน (ประมาณ 3,970 บาทไทย)
LinkedIn Ads คืออะไร? ทำงานยังไง?

LinkedIn ใช้งานยังไง

เริ่มต้นใช้งาน LinkedIn สำหรับบุคคล ทำได้ดังนี้

  1. สร้างโปรไฟล์ที่ครบถ้วน รวมข้อมูลส่วนตัว ประสบการณ์ทำงาน และทักษะ เช่น ระบุชื่อและตำแหน่งปัจจุบัน เชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนเก่าเพื่อขยายเครือข่าย
  2. แชร์เนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น บทความหรือข่าวสารในสายงานของคุณ ติดตามบุคคลหรือองค์กรในอุตสาหกรรมเพื่อรับข้อมูลและอัปเดต ใช้ฟังก์ชันค้นหางานเพื่อสมัครงานที่สนใจโดยตรงผ่านแพลตฟอร์ม

สำหรับการใช้งาน LinkedIn สำหรับองค์กร ทำได้ดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยการสร้างหน้าองค์กรที่มีข้อมูลครบถ้วน เช่น ชื่อ โลโก้ และคำบรรยายบริการจากองค์กร
  2. จากนั้นแชร์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น ข่าวสารหรือบทความ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
  3. นอกจากนี้ยังสามารถใช้ฟีเจอร์โฆษณาเพื่อโปรโมตตำแหน่งงานที่เปิดรับ ตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีแชร์บทความเกี่ยวกับนวัตกรรมล่าสุดในอุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถ

การทำให้ LinkedIn Profile น่าสนใจ

การทำ LinkedIn Profile ให้มีความน่าสนใจ จะดึงดูดผู้ใช้ได้ โดยสิ่งที่ควรมีในโปรไฟล์ คือ 

  • ชื่อจริง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่าย
  • คำบรรยายเกี่ยวกับตนเอง สั้น กระชับ แสดงถึงทักษะและความเชี่ยวชาญ 
  • สร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับงานของเรา โดยใช้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ เช่น แบ่งปันความรู้หรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เมื่อมีคนติดตามหรือกดไลก์บทความ ชื่อโปรไฟล์เราจะปรากฏในหน้า feed ของผู้อื่นมากขึ้น

ทำไมพนักงาน หรือองค์กร ควรมีบัญชี LinkedIn

การใช้งาน LinkedIn มีข้อดีและโอกาสมากมายสำหรับบุคคล เช่น เชื่อมต่อกับมืออาชีพในอุตสาหกรรมเดียวกัน โปรไฟล์ที่น่าสนใจช่วยดึงดูดนายจ้าง และมีคอร์สออนไลน์จาก LinkedIn Learning ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะใหม่ๆ อีกด้วย

สำหรับองค์กร การใช้งาน LinkedIn มีข้อดีที่น่าสนใจ เช่น การสร้างแบรนด์และเพิ่มการมองเห็นในตลาด เชื่อมต่อกับลูกค้าและคู่ค้าใหม่ๆ ขยายเครือข่าย และการโฆษณาเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังสามารถสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพโดยโพสต์ตำแหน่งงานและโปรไฟล์บริษัทที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้สมัครที่เหมาะสม

LinkedIn Ads คืออะไร? ทำงานยังไง?

ในยุคปัจจุบัน การทำโฆษณามีความสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด ส่งเสริมการสร้างแบรนด์และเพิ่มยอดขายในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง

LinkedIn Ads คืออะไร?

LinkedIn Ads คือเครื่องมือโฆษณาบน LinkedIn ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือบริษัทที่สนใจบริการของคุณ กลุ่มคนที่ควรใช้ LinkedIn Ads คือธุรกิจ B2B บริษัทที่ต้องการหาลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ใหม่ และผู้ที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

หลักการทำงานของ LinkedIn Ads คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามข้อมูล เช่น ตำแหน่งงาน อุตสาหกรรม และสถานที่ จากนั้นสร้างโฆษณาในรูปแบบต่างๆ เช่น Sponsored Content, Message Ads หรือ Text Ads เพื่อแสดงโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เลือกไว้

ข้อได้เปรียบที่ทำให้ LinkedIn คือเครื่องมือการตลาดที่แบรนด์และนักการตลาดออนไลน์ไม่ควรมองข้าม มีดังนี้

  • โซเชียลมีเดียเบอร์หนึ่งสำหรับคนทำงาน แพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับมืออาชีพมากกว่า 875 ล้านคนทั่วโลกที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ
  • เจาะกลุ่มเป้าหมายตามโปรไฟล์อาชีพ มีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงจากข้อมูลอาชีพของผู้ใช้งาน 
  • Conversion Rates ที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพสูงด้วยเครื่องมือคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่ทรงพลัง ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสตอบสนองต่อโฆษณามากขึ้น
  • โอกาสการทำกำไรที่สูงขึ้น มีค่าโฆษณาขั้นต่ำอยู่ที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ประมาณ 330 บาท) ซึ่งแลกมาด้วยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคุณภาพสูงที่สามารถทำกำไรได้มากขึ้น
  • การเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับตลาด ฟีเจอร์ Matched Audiences ช่วยสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่จากข้อมูลลูกค้าเดิมและทำ Remarketing ได้ โดยสามารถละเว้นกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม

LinkedIn Ads เหมาะกับธุรกิจแบบไหน?

LinkedIn Ads เหมาะกับธุรกิจ B2B หรือองค์กรที่ต้องการเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ค้นหาพาร์ทเนอร์ หรือเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ในกลุ่มเป้าหมายที่มีความเป็นมืออาชีพ โดยธุรกิจที่ควรใช้ LinkedIn Ads ได้แก่

  • บริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS)
  • บริษัทการเงินและการลงทุน
  • บริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ
  • ธุรกิจด้านการศึกษาและการฝึกอบรม
  • บริษัทด้านการตลาดและการโฆษณา
  • ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  • บริษัทที่ดำเนินการในอุตสาหกรรมการผลิตและการจัดการซัพพลายเชน
วัตถุประสงค์ของโฆษณา LinkedIn Ads

วัตถุประสงค์ของโฆษณา LinkedIn Ads

การตั้งวัตถุประสงค์ในการใช้ LinkedIn Ads เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกำหนดทิศทางและกลยุทธ์โฆษณา วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนช่วยให้ธุรกิจระบุกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ เลือกรูปแบบการโฆษณาที่เหมาะสม และวัดผลสำเร็จของแคมเปญได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี 3 วัตถุประสงค์หลักคือ

Awareness

LinkedIn Ads เหมาะสำหรับการเพิ่มการรับรู้ตัวตนของแบรนด์ โดยเฉพาะในการหากลุ่มลูกค้าใหม่ที่ยังไม่รู้จักแบรนด์หรือธุรกิจของเรา เป้าหมายของแคมเปญนี้เน้นไปที่การสร้าง Impression และยอดวิว จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ

ตัวอย่างการใช้ LinkedIn Ads เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ ได้แก่ การสร้างแคมเปญโฆษณาที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ โดยใช้รูปภาพหรือวิดีโอที่ดึงดูดความสนใจ 

Consideration

รูปแบบแคมเปญ LinkedIn Ads ที่เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่คุ้นเคยกับแบรนด์ในระดับหนึ่ง คือขั้นตอนที่เราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับสินค้าหรือบริการมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วยตัวเลือกย่อย 3 แบบ คือ

  1. Website Visits ส่งผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์หรือ Landing Page ที่กำหนด 
  2. Engagement มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมในการกดไลก์ แชร์ หรือคอมเมนต์บนโพสต์
  3. Video Views เจาะจงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ชอบดูคอนเทนต์วิดีโอ 

ตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์ขายเสื้อผ้าจัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อส่งผู้เข้าชมไปยังหน้า Landing Page กระตุ้นการซื้อ หรือแบรนด์เครื่องสำอางโพสต์ภาพสินค้าพร้อมคำถามหรือโพล เพื่อให้ผู้ติดตามกดไลก์หรือคอมเมนต์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

Conversion

แคมเปญแบบสุดท้ายของ LinkedIn Ads มุ่งเป้าเปลี่ยนผู้สนใจให้เป็นลูกค้า โดยมีอีกตัวเลือกย่อย 3 แบบ คือ

  1. Lead Generation เหมาะสำหรับการหาผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมหรือดาวน์โหลดไฟล์
  2. Website Conversions เน้นให้คนกดดาวน์โหลด e-book สมัครสมาชิก หรือกดซื้อสินค้าจากเว็บไซต์
  3. Job Applicants โฆษณาประกาศรับสมัครงานเพื่อดึงดูดผู้สมัครที่สนใจ

ตัวอย่าง เช่น บริษัทจัดสัมมนาเกี่ยวกับทักษะดิจิทัลสามารถเสนอไฟล์คู่มือฟรีเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้สนใจเข้าร่วมงาน หรือเว็บไซต์ขายอุปกรณ์กีฬาสามารถเสนอส่วนลดพิเศษให้ผู้เข้าชมคลิกซื้อสินค้าใหม่จากหน้าเว็บไซต์

ประเภทของ LinkedIn Ads มีอะไรบ้าง? เลือกให้เหมาะกับกลยุทธ์เพื่อผลลัพธ์ที่ดี

ประเภทของ LinkedIn Ads มีอะไรบ้าง? เลือกให้เหมาะกับกลยุทธ์เพื่อผลลัพธ์ที่ดี 

การเลือกประเภทของ LinkedIn Ads ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การตลาดเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ที่ดี สามารถเลือกได้ตามประเภท ดังนี้

Sponsored Content

LinkedIn Ads ประเภทแรกคือการโฆษณาบนฟีดของกลุ่มเป้าหมาย (คล้ายกับการโฆษณาบนฟีดของเฟซบุ๊ก) โพสต์ที่ยิงออกไปจะมีคำว่า “promoted” ระบุไว้เพื่อให้ผู้ใช้รับรู้ว่านี่คือโฆษณา โดยเลือกรูปแบบของโฆษณาได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ภาพนิ่ง วิดีโอ และภาพสไลด์ (Carousel)

Sponsored Messaging

LinkedIn Ads ประเภทถัดมาคือโฆษณาที่ถูกส่งไปยังข้อความของผู้ใช้งาน โดยมีข้อควรระวังคือ LinkedIn จำกัดจำนวนครั้งที่โฆษณาจะแสดงในอินบอกซ์ของลูกค้า ทำให้ลูกค้าอาจไม่เห็นโฆษณาของเราเท่ากับการโฆษณาแบบอื่น อย่างไรก็ตาม สถิติจาก Hootsuite แสดงให้เห็นว่า 89% ของลูกค้าชอบการพูดคุยกับร้านค้าผ่านอินบ็อกซ์ แต่มีเพียง 48% ของร้านค้าที่ทำการตลาดผ่านช่องทางนี้เท่านั้น

Text Ads

LinkedIn Ads ประเภทที่สามคือโฆษณาที่ปรากฏบริเวณขวาบนของฟีด LinkedIn ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายที่สุดรองจากโฆษณาในฟีดหลัก จึงถือเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

Dynamic Ads

LinkedIn Ads ประเภทสุดท้ายคือโฆษณาที่ปรากฏเป็นป็อปอัปในช่องด้านขวาของฟีด โดยจะมีรูปโปรไฟล์ ตำแหน่งงาน และชื่อบริษัทของเจ้าของโปรไฟล์อยู่ในโฆษณาด้วย ตำแหน่งนี้เหมาะสำหรับการสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ตัวเลือกของโฆษณา LinkedIn Ads

รูปแบบโฆษณาที่หลากหลายของ LinkedIn Ads ช่วยให้นักการตลาดได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจและเป้าหมายของตนเอง โดยมีประเภทโฆษณา ดังนี้

ตัวเลือกของโฆษณา LinkedIn Ads

Carousel Ads

โฆษณา LinkedIn Ads ที่มาในรูปแบบของสไลด์สี่เหลี่ยมที่สามารถเลื่อนไปมาได้ ควรเน้นใช้รูปที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ชมให้เลื่อนดูต่อไปเรื่อยๆ รูปแบบนี้เหมาะสำหรับแคมเปญในการสร้าง Brand Awareness, Website Visits และ Engagement

Single image Ads

Single image Ads

รูปแบบของ LinkedIn Ads ที่เราคุ้นเคยที่สุด โดยมีลักษณะคล้ายโพสต์ทั่วไปแต่มีคำว่า “promoted” เพื่อบ่งบอกว่าเป็นโฆษณา รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำแคมเปญหลายประเภท เช่น Brand Awareness, Website Visits, Engagement, Website Conversion, Lead Generation และ Job Applicants

Video Ads

Video Ads

โฆษณารูปแบบวิดีโอเป็นคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจได้ดี และบอกเล่าเรื่องราวได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงเป็นรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม เหมาะสำหรับการทำ Video Views และช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ

Job Ads

Job Ads

Job Ads หรือ “Work with Us Ads” เป็นรูปแบบที่ใช้สำหรับการประกาศจ้างงาน โดยมีประสิทธิภาพสูงถึง 50 เท่าในการดึงดูดการคลิกเมื่อเปรียบเทียบกับโฆษณารับสมัครงานทั่วไป เหมาะสำหรับการใช้ในการเข้าถึงกลุ่ม Job Applicants และ Website Visits

Single job Ads

Single job Ads

LinkedIn Ads รูปแบบโพสต์หางานที่ปรากฏบนฟีดของกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด มีสถิติจาก LinkedIn ระบุว่าโพสต์นี้มีอัตราการคลิก (CTR) สูงกว่าปกติมากกว่า 25% จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการประกาศรับสมัครงาน

Lead Gen Forms

Lead Gen Forms

Lead Generation Forms เป็นโฆษณา LinkedIn Ads ที่ใช้ได้จาก Sponsored Content หรือ Message Ads เหมาะสำหรับหาลูกค้าใหม่ เช่น หากจัด Webinar สามารถสร้างปุ่ม Lead Gen Form ให้ผู้สนใจคลิก และข้อมูลโปรไฟล์จะถูกบันทึกในฐานข้อมูล เหมาะสำหรับการทำ Lead Generation ถือเป็น Lead Ads ประเภทหนึ่ง ใน LinkedIn

Text Ads

Text Ads

การโฆษณาในรูปแบบข้อความที่แสดงอยู่มุมขวาบนของฟีด เหมาะสำหรับการสร้าง Brand Awareness, Website Visits และ Website Conversions

Message Ads

Message Ads

การส่งโฆษณาเข้าสู่อินบอกซ์โดยตรง พร้อมปุ่ม CTA (Call-To-Action) ที่เลือก โดยมีสถิติว่า ลูกค้า 1 ใน 2 คนที่ได้รับข้อความมักจะอ่านข้อความที่ส่งไป เหมาะสำหรับการทำ Website Visits, Website Conversions และ Lead Generation

Conversation Ads

Conversation Ads

โฆษณาที่เป็นลักษณะของการถามตอบ โดยให้ลูกค้าเลือกสิ่งที่ต้องการ เช่น ขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือลงทะเบียน มีลักษณะคล้ายกับการโทรเข้า Call Center ที่ต้องเลือกหมายเลขตามธุรกรรมที่ต้องการ รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำโฆษณาแบบ Website Visits, Web Conversions และ Engagement

Follower Ads

Follower Ads

รูปแบบของโฆษณาบน Dynamic Ads มุ่งเน้นให้ผู้พบเห็นกดไลก์เพจของเรา เหมาะสำหรับการสร้าง Brand Awareness, Website Visits และ Engagement

Spotlight Ads

Spotlight Ads

อีกหนึ่งรูปแบบของโฆษณาบน Dynamic Ads คือการพาลูกค้าไปยังหน้าเว็บไซต์หรือ Landing Page ที่กำหนด ซึ่งเหมาะสำหรับการสร้าง Brand Awareness, Website Visits และ Lead Generation

How to ทำ LinkedIn Ads ด้วยตัวเอง แค่ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ

How to ทำ LinkedIn Ads ด้วยตัวเอง แค่ 6 ขั้นตอนง่าย ๆ

มาดูวิธีการทำ LinkedIn Ads ด้วยตัวเองใน 6 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสร้างแคมเปญโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายทางการตลาดของคุณได้อย่างรวดเร็ว โดยต้องมี Campaign Manager หากยังไม่มี สามารถสร้างบัญชีใหม่ได้ที่นี่

1. เลือกวัตถุประสงค์การทำโฆษณา

ขั้นตอนแรกคือการเลือกวัตถุประสงค์ในการโฆษณา ซึ่งมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ Awareness (การรับรู้), Consideration (การพิจารณา), และ Conversion (การเข้าร่วม) โดยแต่ละประเภทจะส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่เลือก ดังนั้นการเลือกให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

2. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นตอนที่สองคือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยมีตัวคัดกรองมากถึง 20 แบบ เช่น ความสนใจ บริษัทที่ทำงาน และตำแหน่งงาน การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับธุรกิจหรือบริการของเราจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณา และทำให้การโฆษณามีความคุ้มค่าสูงสุด

3. เลือกรูปแบบโฆษณา LinkedIn

เลือกตำแหน่งและรูปแบบโฆษณาที่ต้องการ เช่น Sponsored Content, Message Ads, Dynamic Ad หรือ Text Ads ตามที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเราสามารถทดลองยิงโฆษณาเดียวกันในหลายช่องทางเพื่อค้นหาช่องทางที่ดีที่สุดในการโปรโมตสินค้าและบริการของเรา

4. กำหนดงบประมาณและเวลาการแสงโฆษณา

การกำหนดงบประมาณที่ต้องการใช้มี 3 ประเภทหลักตามประเภทแคมเปญของ LinkedIn Ads ได้แก่ 

  • Cost Per Send (CPS) สำหรับ Message Ads ซึ่งจ่ายตามจำนวนข้อความที่ส่งเข้าอินบอกซ์ของลูกค้า 
  • Cost Per Click (CPC) จ่ายตามจำนวนคลิก มักใช้กับแคมเปญที่เน้น Conversion 
  • Cost Per Impression (CPS) จ่ายตามจำนวนครั้งที่โฆษณาถูกดู มักใช้สำหรับการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) 

นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดระยะเวลาในการส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย

5. เลือก Ad creative

ขั้นตอนในการเลือกชิ้นโฆษณาสำหรับโปรโมตในแคมเปญคือการสร้างประมาณ 4-5 ชิ้นโฆษณาที่มีลักษณะหลากหลาย เช่น ภาพนิ่ง วิดีโอ และภาพสไลด์ (Carousel) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโฆษณา โดยควรตรวจสอบว่าลูกค้าตอบสนองกับโฆษณาแบบไหนมากที่สุด เพื่อให้สามารถปรับปรุงการโฆษณาให้มีดีขึ้นได้

6. รอวัดผลและปรับปรุงโฆษณาให้ดียิ่งขึ้น

หลังจากยิงโฆษณาออกไปแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการวัดผลของแคมเปญผ่าน Campaign Manager โดยระบบจะแสดงค่าต่างๆ เช่น จำนวนคลิก จำนวนครั้งที่เข้าชม และจำนวนงบประมาณที่ใช้ เพื่อช่วยให้เราตัดสินใจว่าโฆษณาไหนได้รับการตอบรับดีที่สุดและสามารถปรับกลยุทธ์ได้ตามความเหมาะสม

จุดเด่นของ LinkedIn Ads ที่เหมาะกับธุรกิจ B2B

จุดเด่นของ LinkedIn Ads ที่เหมาะกับธุรกิจ B2B

LinkedIn Ads เป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญสำหรับแบรนด์และนักการตลาดออนไลน์ โดยเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อแบบ B2B ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

  • สร้างหน้าโปรไฟล์ให้กับธุรกิจ เพจธุรกิจบน LinkedIn ยิ่งโปรไฟล์น่าสนใจมากเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คนอยากร่วมงานกับเรามากขึ้น
  • เพิ่มการรับรู้และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ เพิ่มความน่าเชื่อถือโดยใส่ประวัติ ผลงาน และแชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในสายอาชีพ การแสดงความเชี่ยวชาญจะช่วยดึงดูดให้คนสนใจและอยากรู้จักมากขึ้น
  • เจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ ช่วยคัดกรองกลุ่มเป้าหมายผ่านสายอาชีพและประวัติการทำงาน ซึ่งแพลตฟอร์มอื่นทำไม่ได้ จึงเหมาะสำหรับบริษัทที่ต้องการสร้างเครือข่ายหรือพาร์ทเนอร์
  • สร้างยอดขายผ่านการสร้างปฎิสัมพันธ์ โปรไฟล์ LinkedIn เป็นพื้นที่สร้างยอดขายทางอ้อมผ่านคอนเทนต์คุณภาพ ดึงดูดคนเข้ามาพูดคุย ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและอาจนำไปสู่การเป็นพาร์ทเนอร์ในอนาคต
  • มีฟีเจอร์ Community เช่น Group และ Influencer เข้าร่วมกลุ่มเพื่อคอมเมนต์หรือถาม-ตอบ อาจสร้างคอนเนคชันที่ดีได้ หรือคอมเมนต์ใต้โพสต์ Influencer หากน่าสนใจอาจนำไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจในอนาคต

ข้อควรระวัง ในการใช้ LinkedIn Ads

นอกจากข้อดีที่ได้รู้ไปแล้วของ LinkedIn Ads ยังมีข้อเสียหรือข้อควรระวังในการใช้ด้วย ได้แก่ 

  • ค่าใช้จ่ายต่อคลิกที่สูงที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ 5.26 ดอลลาร์ (ประมาณ 175 บาท) 
  • ไม่มีการรายงานแบบกำหนดเอง ทำให้เราได้รับเพียงแดชบอร์ดมาตรฐานและสรุปเมื่อแคมเปญสิ้นสุดลง 
  • ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ในการกำหนดเป้าหมาย โดย LinkedIn Ads ไม่สามารถเลือกพื้นที่เฉพาะได้ เช่น รหัสไปรษณีย์

สรุป

LinkedIn คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายทางอาชีพและการเชื่อมต่อธุรกิจ โดยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างโปรไฟล์แสดงประวัติการทำงาน การศึกษา และทักษะต่างๆ ข้อดีของ LinkedIn ได้แก่ การเชื่อมต่อกับมืออาชีพในวงการเดียวกัน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาชีพ และโอกาสในการหางานหรือการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจที่มีคุณภาพสูง

ข้อดีของ LinkedIn Ads คือมีการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ทำให้เข้าถึงมืออาชีพและธุรกิจที่มีคุณภาพสูง เหมาะสำหรับแบรนด์และนักการตลาดที่ต้องการเชื่อมต่อในแบบ B2B และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือในตลาด 

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

LinkedIn คืออะไร? มีประโยชน์ยังไง?

LinkedIn คือเครือข่ายมืออาชีพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช่วยในการหางาน สร้างความสัมพันธ์ทางอาชีพ และเรียนรู้ทักษะที่จำเป็น สามารถเข้าถึง LinkedIn ได้จากเดสก์ท็อปหรือแอพบนมือถือ ซึ่งมีประโยชน์คือช่วยเชื่อมต่อกับโอกาสทางอาชีพ โดยแสดงประสบการณ์ ทักษะ และการศึกษา นอกจากนี้ยังสามารถจัดกิจกรรม เข้าร่วมกลุ่ม และโพสต์บทความหรือสื่ออื่นๆ จากโปรไฟล์ LinkedIn

การใช้งาน LinkedIn เสียค่าใช้จ่ายไหม?

การใช้งาน LinkedIn มีสมาชิกแบบ Basic ที่ฟรี เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างและเก็บโปรไฟล์มืออาชีพออนไลน์ หากอัปเกรดเป็นสมาชิกแบบ Premium จะสามารถเข้าถึงคุณสมบัติพิเศษของ LinkedIn ได้มากยิ่งขึ้น

LinkedIn Profile คือ?

Profile คือหน้าส่วนตัวที่แสดงชื่อ รูปภาพ สถานที่ ประวัติการทำงาน และการศึกษา รวมถึงสามารถสร้าง Resume หรือ CV เพื่อให้ HR ดูก่อนสัมภาษณ์งานได้

ข้อดี-ข้อเสียของ LinkedIn คืออะไร?

ข้อดีของ LinkedIn คือเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่มีประโยชน์และได้รับความรู้ ติดต่อผู้บริหารและผู้จัดการได้ง่าย ใช้เป็น Resume ออนไลน์เพื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนข้อเสียคือผู้ที่ถูกส่องโปรไฟล์จะรู้ว่ามีคนเข้ามาดู งานส่วนใหญ่ต้องใช้ภาษาอังกฤษหรือมาจากต่างประเทศ

ทำไมธุรกิจ B2B ต้องใช้ LinkedIn Ads?

LinkedIn มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านคน และรวมถึงบริษัทชั้นนำด้านธุรกิจกว่า 5,000 แห่ง นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียด โดยสามารถระบุได้ถึงบริษัท ตำแหน่งงาน ความสนใจ และประสบการณ์ในสายงานต่างๆ

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง