Table of Contents

Categories

Recent Posts

Market Segmentation VS Customer Segmentation ต่างกันยังไง

Market Segmentation VS Customer Segmentation ต่างกันยังไง

Table of Contents

หากอยากทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จต้องรู้จัก Market Segmentation และ Customer Segmentation บทความนี้ Minimice group จะพาไปดูว่าทั้งสองคืออะไร แตกต่างกันยังไง หากทำแล้วจะส่งผลอะไรกับธุรกิจบ้าง ไปดูกัน

Market Segmentation คืออะไร

Market Segmentation คืออะไร

Market Segmentation คือการแบ่งส่วนทำการตลาดออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า โดยแต่ละกลุ่มจะแบ่งออกตามความต้องการ ลักษณะเฉพาะ ที่อยู่ หรือแนวคิด เพื่อวางแผนทางการตลาดของธุรกิจเหล่านั้น ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ช่วยให้เกิดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามา

Market Segmentation มีกี่ประเภท

ประเภทของ Market Segmentation มีอะไรบ้าง

เมื่อทราบกันไปแล้วว่า Market Segmentation หมายถึงการทำการตลาดแบบใด มาดูว่า Market Segmentation มีอะไรบ้าง โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

การแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยทางประชากร (Demographic)

การแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยทางประชากร หรือ Demographic segmentation คือการทำ Market Segmentation ที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด โดยทำการตลาดผ่านทางปัจจัยทางประชากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การศึกษา ชาติพันธุ์ รายได้ และอาชีพ โดยการแบ่งกลุ่มแบบนี้ทำด้วยแนวคิดที่ว่า กลุ่มลูกค้าที่มีปัจจัยทางประชากรคล้ายกัน จะมีความต้องการที่เหมือนกัน

  • ตัวอย่าง : การตลาดของครีมขจัดขน จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีความสนใจด้านความสวยความงามมากกว่ากลุ่มผู้ชาย และกลุ่มผู้หญิงที่อยู่ในวัยเด็กและวัยชรา

การแบ่งส่วนตลาดตามพื้นที่ (Geographic)

การแบ่งส่วนตลาดตามพื้นที่ เรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยทางประชากรก็ว่าได้ แต่การแบ่งส่วนตลาดตามพื้นที่จะมุ่งเน้นไปที่ที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้านั้นๆ โดยมีแนวคิดที่ว่ากลุ่มลูกค้าที่อาศัยในบริเวณพื้นที่เดียวกัน จะมีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดแบบนี้มีประโยชน์มากสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายสาขา บริษัท หรือสำนักงาน ไปยังพื้นที่ต่างๆ

  • ตัวอย่าง : การตลาดของบริษัทผลิตชุดกันฝนในประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปที่ภาคใต้มากกว่าภาคอื่นๆ เพราะภาคใต้มีฝนตกบ่อยกว่าภูมิภาคอื่นๆ

การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมผู้บริโภค (Behavior)

การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมผู้บริโภค คือการทำ Market Segmentation ที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกทางการตลาด รูปแบบการตัดสินใจและการซื้อของผู้บริโภค เพื่อแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามความสนใจในการตลาดและผลิตภัณฑ์ก่อนหน้า จากนั้นนำมาทำข้อมูลเพื่อคาดเดาพฤติกรรมการซื้อ และความสนใจของกลุ่มผู้บริโภคเหล่านั้นในอนาคต เพราะมีความเป็นไปได้ว่าความสนใจหรือความต้องการเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การทำการตลาดแบบนี้จึงช่วยให้ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการ ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  • ตัวอย่าง : การตลาดของบริษัทเบียร์ จะมุ่งเน้นทำการตลาดคราฟเบียร์ให้กลุ่มวัยรุ่น จากนั้นจะเน้นทำการตลาดเบียร์แบรนด์ต่างประเทศไปยังกลุ่มผู้ที่มีอายุมากขึ้น เพราะเห็นว่าแนวโน้มการบริโภคเบียร์จะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามอายุ และประสบการณ์การบริโภค

การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา (Psychographic)

การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา จะมุ่งเน้นไปที่การแบ่งการทำการตลาดออกตามไลฟ์สไตล์ บุคลิกภาพ และความสนใจของลูกค้า นับว่าเป็นการแบ่งส่วนตลาดที่อย่างที่สุด แต่นี้ก็นับว่าประสบผลสำเร็จที่สุด เพราะไม่ใช่แค่การแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยภายนอก แต่เป็นการการแบ่งส่วนตลาดตามความต้องการของลูกค้าจริงๆ

  • ตัวอย่าง : การตลาดของบริษัทเครื่องแต่งเพื่อการออกกำลังกาย กำหนดกลุ่มลูกค้าตามกีฬาที่สนใจ ทำให้ตอบโจทย์เป้าหมายได้มากที่สุด

Market Segmentation สำคัญยังไง

Market Segmentation สำคัญต่อการทำธุรกิจยังไง

การทำ Market Segmentation ไม่ใช่แค่การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อทำการตลาดเพิ่มยอดขายเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีต่อธุรกิจอีกมากมาย ดังนี้

ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากร

แทนที่จะใช้ทรัพยากรทางการตลาดไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์สู่ตลาดทั้งหมด การทำ Market Segmentation จะเข้ามาช่วยทำให้รู้ว่าควรโฆษณาไปที่ลูกค้าได้อย่างตรงจุด นั้นหมายถึงธุรกิจไม่จำเป็นต้องเปลืองงบทำการตลาดให้เข้าถึงทุกคน แค่เข้าถึงบางคนที่มีความสนใจ ก็เพิ่มยอดขายได้แล้ว

สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์

เมื่อมั่นใจว่าการโฆษณาจะส่งไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอย่างแน่นอน การสื่อสารผ่านทางโฆษณาก็ทำได้ง่ายขึ้น เพราะรู้แล้วว่าผู้รับสารคือใคร หากสารที่ส่งไปนั้นดีจนสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ภาพลักษณ์องค์กรในสายตาของลูกค้าก็จะดีขึ้นไปด้วย

ทำโฆษณาดิจิทัลได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น

การทำ Market Segmentation ช่วยให้วางแผนทางการทำโฆษณาผ่านทางดิจิทัลได้ง่ายมากขึ้น เพราะสามารถรู้ได้ว่ากลุ่มผู้ใช้งานดิจิทัลเหล่านั้นคือใคร อายุเท่าไร หรืออยู่ที่ไหน นั่นหมายถึงการได้ข้อมูลมาทำการตลาดนั่นเอง

สร้างลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์

ทำได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ามีความเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ ไม่ถูกแบ่งแยก นอกจากนี้ยังช่วยให้หากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ได้อีกด้วย

เพิ่มความหลากหลายทางการตลาด

การทำ Market Segmentation ทำให้ระบุข้อความที่จะส่งไปถึงลูกค้าและคู่แข่งได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าก็จะแตกต่างกันออกไป ความแตกต่างนั้นเองคือสิ่งที่ทำให้ข้อความที่จะสื่อไปหาพวกเขามีมากมายนับไม่ถ้วน การโฆษณาที่หลากหลายจะเป็นที่น่าจะจำมากกว่าหารทำโฆษณาแบบวงกว้าง

customer segment คืออะไร

Customer Segmentation คืออะไร

Customer Segmentation คือการแบ่งกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่แล้วออกตามความคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ การศึกษา ที่อยู่ พฤติกรรมการเลือกซื้อ ความสนใจ ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งแนวคิด เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการตลาดต่อไป ยิ่งกำหนดกลุ่มลูกค้าได้ละเอียดเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อการทำการตลาดเท่านั้น เพราะการทำ Customer Segmentation มีเป้าหมายหลักคือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในงบประมาณที่น้อยลงมาจากการตลาดแบบเดิม นำไปสู่การเพิ่มยอดขาย ลดงบประมาณทางการตลาด

รูปแบบของ customer segment

รูปแบบของ Customer Segmentation มีอะไรบ้าง

การทำ Customer Segmentation มี 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

Post Hoc.

คือรูปแบบการทำ Customer Segmentation ที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด ทำได้ด้วยการทำวิจัยวัตถุประสงค์ทางการตลาดย้อนหลังการซื้อขาย เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ตามความต้องการ ลักษณะลูกค้า รวมไปถึงพื้นที่อาศัย

แบ่งกลุ่มลูกค้าตามความต้องการ (Needs-based)

คือรูปแบบการแบ่ง Customer Segmentation ตามการใช้งานผลิตภัณฑ์ ตรวจสอบว่าลูกค้าใช้งานผลิตภัณฑ์บ่อยแค่ไหน นำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร เพื่อทำการตลาดให้ตอบโจทย์จุดประสงค์เหล่านั้น

การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามมูลค่า (Value-based)

คือรูปแบบการแบ่ง Customer Segmentation ตามมูลค่าที่ลูกค้าให้ธุรกิจ โดยแบ่งว่าทำเงินจากกลุ่มลูกค้าไหนได้มากกว่ากัน กลุ่มลูกค้าไหนทำเงินได้น้อยก็จะเน้นการตลาดไปที่พวกเขา เพื่อให้ทำเงินได้มากขึ้น

customer segment สำคัญยังไง

Customer Segmentation สำคัญต่อการทำธุรกิจยังไง

การทำ Customer Segmentation ไม่ใช้แค่การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อทำการตลาดเท่านั้น แต่ยังมีข้อดีอีกมากมายที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ ดังนี้

ช่วยรักษาฐานลูกค้า

ลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการมาก่อนแล้ว มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแบรนด์อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ นอกจากนี้ยังมีช่องทางส่วนตัวอย่างอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ให้ทำการติดต่อทำโฆษณาเรื่อยๆ เพื่อให้ลูกค้ากลับมาอีกด้วย

ช่วยให้แข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้

ผู้ค้ารายใหญ่ ยิ่งมีลูกค้าเยอะก็จะยิ่งทำ Customer Segmentation ได้ยาก ดังนั้นการทำ Customer Segmentation จึงเป็นแต้มต่อของธุรกิจเล็กๆ หากทำได้ดี ก็จะช่วยเพิ่มลูกค้า ทำให้ธุรกิจสู้กับผู้ค้ารายใหญ่ไหว

ช่วยตั้งราคาและโปรโมชันที่เหมาะสม

การทำ Customer Segmentation ทำให้รู้ว่าลูกค้าคือกลุ่มคนประเภทไหน ราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม และโปรโมชันแบบไหนที่จะทำให้พวกเขาหันมาซื้อสินค้าและบริการ

สร้างลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์

การแบ่งกลุ่มลูกค้าผ่านการทำ Customer Segmentation ช่วยให้สามารถจัดโปรโมชัน หรือแนะนำสินค้าให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเดิมได้ จนกลายมาเป็นกลุ่มที่ภักดีต่อแบรนด์ หรือเลือกใช้แบรนด์เราซ้ำๆ

ทำการตลาดได้อย่างตรงจุด

การทำ Customer Segmentation ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการทำการตลาดให้คนที่ไม่สนใจสินค้า หรือไม่มีแผนจะซื้อสินค้า ช่วยให้ธุรกิจสามารถตีวงการทำการตลาดให้แคบลงมา ประหยัดงบประมาณ เพิ่มกลุ่มลูกค้าได้อยากตรงจุด

ข้อแตกต่างระหว่าง Market Segmentation VS Customer Segmentation

Market Segmentation ใช้ในการดูตลาดเป้าหมายโดยรวม เป็นการแบ่งกลุ่มตามผิวเผิน ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เน้นใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ผ่านการรับรู้ถึงแบรนด์ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อยากเข้าถึงและฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่

ในทางกลับกัน การทำ Customer Segmentation ช่วยให้เข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมได้ดีขึ้น เพราะเป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าตามข้อมูลที่มีอยู่ ใช้เพื่อปรับปรุงการทำการตลาดให้ตรงกับกลุ่มผู้ซื้อแบบเฉพาะกลุ่ม

สรุปคือ Customer Segmentation สามารถเข้าถึงคนทั่วไปได้มากกว่าเพราะคำนึงถึงการตลาดทั้งหมด หากต้องการลูกค้าใหม่ๆ รักษาลูกค้าเก่าๆ ควรทำ Market Segmentation แต่หากอยากรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้อย่างเดียว แล้วหาลูกค้าใหม่ๆ ผ่านการบอกกล่าวของลูกค้าเก่า ก็ควรทำ Customer Segmentation

ตัวอย่างการทำ Market Segmentation VS Customer Segmentation

ตัวอย่างการทำ Market Segmentation VS Customer Segmentation

หากยังไม่เห็นภาพว่าทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร Minimice ได้นำตัวอย่างมาให้ดูเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าสำหรับกีฬา ทำ Market Segmentation โดยใช้วิธีสำรวจจากปัจจัยทางประชากร เช่น เพศ อายุ และปัจจัยทางพื้นที่ ว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านั้นอยู่ใกล้สถานที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาไหม จากนั้นทำการตลาดไปหาพวกเขา เพื่อหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ

ในขณะเดียวกัน ก็ทำ Customer Segmentation ผ่านกลุ่มลูกค้าเดิมว่ามีลูกค้าเพศอะไร อายุเท่าไร ผ่าน Post Hoc. และแบ่งว่าลูกค้าเหล่านั้นมาซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าทางการกีฬาบ่อยแค่ไหน เพื่อทำการตลาดให้ลูกค้ารับรู้ว่ามีสินค้าใหม่กำลังจะมา

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้ง Market Segmentation และ Customer Segmentation แม้จะแตกต่างกันด้านการหาข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ แต่ก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสำเร็จทางการขายทั้งสิ้น

สรุป

สรุปได้ว่า Market Segmentation และ Customer Segmentation คือการแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อการแบ่งกลุ่มการตลาด ต่างกันที่กลุ่มข้อมูลและกลุ่มเป้าหมายของการทำการตลาด แต่ล้วนแล้วแต่เป็นการทำเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จทางการตลาดทั้งสิ้น ดังนั้นหากธุรกิจสามารถทำได้ทั้งสองอย่าง จะเป็นผลดีอย่างมากในการทำการตลาด

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Market Segmentation และ Customer Segmentation

เมื่อรู้จักกับ Market Segmentation และ Customer Segmentation พร้อมข้อแตกต่างไปแล้ว บทความนี้ Minimice ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. Market Segmentation และ Customer Segmentation อะไรสำคัญกว่ากัน

สำคัญทั้งสอง เพราะ Market Segmentation มุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ แต่ Customer Segmentation เน้นไปที่ฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่

2. เริ่มใช้งาน Customer Segmentation เมื่อไรดี

ควรทำ Customer Segmentation หลังจากที่มีฐานลูกค้าพอสมควร และได้ข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าจนเข้าใจมากขึ้นแล้ว เพื่อให้การตลาดที่ส่งไปหาพวกเขานั้นตอบโจทย์จริงๆ

3. ทำไมต้องทำ Market Segmentation และ Customer Segmentation

เพื่อช่วยแบ่งกลุ่มลูกค้าออกมาอย่างเหมาะสม ประหยัดงบประมาณในการทำการตลาด และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้อย่างจรงจุด

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง