Table of Contents

Categories

Recent Posts

core web vitals

Core Web Vitals คืออะไร? ทำไมจึงสำคัญต่อการจัดอันดับของ Google

Table of Contents

ตั้งแต่กลางปี 2020 ทาง Google ได้ออกมาประกาศอย่างจริงจังว่าจะมีการสนับบสนุนเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานของ User มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และในปี 2021 นั้นเองที่ Core Web Vitals ถูกนำออกมาเป็นมาตรฐานการจัดอันดับเว็บไซต์จนถึงทุกวันนี้!

ในบทความนี้ ทาง Minimice Group จะพานักการตลาดออนไลน์มือใหม่ทุกท่าน ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญ หรือตั้งแต่ Specialist ไปจนกระทั่งเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังมองหาช่องทางปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดีขึ้นเพื่อสร้างยอดขายที่มากขึ้น ให้มารู้จักกับ Core Web Vitals ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับการทำเว็บไซต์ การตลาดออนไลน์ และ SEO พร้อมทั้งเจาะลึกวิธีการปรับปรุงให้ได้ผลกัน

ก่อนไปต่อ มารู้จักก่อนว่า Core Web Vitals คืออะไร?

Core Web Vitals คือ ความเร็ว (Speed) ในการตอบสนอง (Responsive) และความเสถียร (Stability) ของเว็บไซต์ นอกจากนี้ Core Web Vitals ยังเป็นสัญญาณและตัวช่วยสำคัญสำหรับ UX (User Experience) หรือประสบการณ์การใช้งานที่ดีของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ที่ทาง Google ใช้พิจารณาและส่งผลโดยตรงในการจัดอันดับเว็บไซต์ (Ranking Factor) ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมองเห็นและอัตราการติดหน้าแรกของ Google อีกด้วย

ความสำคัญของ Core Web Vitals

ความสำคัญของ Core Web Vitals ต่อการทำ SEO

สืบเนื่องมาจากการที่ Core Web Vitals เป็นตัวแปรสำคัญที่ Google ใช้ประกอบการคัดเลือกและจัดอันดับบน SERPs แน่นอนว่าต้องช่วยส่งเสริมให้กับการทำ SEO ของเว็บไซต์ไปด้วย

เพราะจะมีประโยชน์อะไร หากเนื้อหาบนหน้าเว็บดี มีประโยชน์ ตอบสนองต่อ Search Intent ของผู้ค้นหาจริง, Heading ถูกจัดเรียงตาม SEO Structure, รูปภาพประกอบสวยงาม แถมแนบวิดีโอประกอบเนื้อหามาอีก แต่หน้าเว็บโหลดไม่ยอมเสร็จสักที!

LCP, FID, CLS 3 องค์ประกอบของ Core Web Vitals ที่ Google มองว่ามีผลต่อการจัดอันดับ

Core Web Vitals สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เว็บไซต์เป็นที่จดจำเชิงบวกหาก User ได้รับประสบการณ์ที่ดี (ในทำนองเดียวกัน หากไม่ดี ก็จะกลายเป็นลบ จนก่อให้เกิด Bouce Rate และร้ายที่สุดคือไม่กลับเข้ามาเว็บไซต์ของเราอีกเลย!)

หลัก ๆ สิ่งสำคัญที่ Google ต้องการให้เว็บไซต์แต่ละเว็บมี และเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนของ Core Web Vitals มี 3 ส่วน ได้แก่

  • เว็บไซต์ของคุณมีเวลาโหลดหน้าแต่ละหน้าที่นานเกินไปหรือเปล่า ?
    ถ้าเข้ามาหน้าเว็บตั้งนานแล้ว แต่ไม่มีอะไรขึ้นมาสักทีก็ไม่ไหวปะ
  • เว็บไซต์ของคุณตอบสนองได้ดีหรือเปล่า ?
    คลิกแล้วไม่ยอมไปต่อ คนรอมันท้อนะ
  • เว็บไซต์ของคุณเสถียรหรือเปล่า?
    ไม่ใช่จะกดอะไร ปุ่มก็เลื่อนหายไปต่อหน้าต่อตาล่ะ

และจากมาตรการเหล่านี้ จะมีรายละเอียดอะไรบ้างเรามาเจาะลึกแบบ Exclusive กันเลยดีกว่า!

core web vitals lcp คือ

Largest Contentful Paint (LCP) คืออะไร

Largest Contentful Paint (LCP) คือ ค่าชี้วัดที่ได้จากเวลาที่ User เข้ามาหน้านั้นๆ แล้ว ‘รอ’ จนเห็นคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุดบนหน้า

ปัจจัยที่ส่งผลให้ LCP ช้า

ส่วนที่ใหญ่หรือหนักที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ มักเป็นส่วนที่กินพื้นที่ของหน้าในจังหวะโหลดนั้น ๆ มากที่สุด เช่น รูปภาพ วิดีโอ ภาพพื้นหลัง ไปจนถึงพวกกล่องของข้อความ และตารางต่าง ๆ ยิ่งถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่มาก (มักนับเป็น KB ) เวลาที่กว่าจะแสดงผลก็จะมากตามไปด้วย

ค่าความเร็วการโหลดของ LCP ที่ Google จัดว่าเด็ด

ในส่วนความเร็วของการโหลดแต่ละหน้า ที่ทาง Google แนะนำสำหรับการวัด Largest Content Paint หรือ LCP คือ

  • ดีที่สุด จะใช้เวลาในการโหลดเพียง 0 – 2.5 วินาที
  • ควรปรับปรุง จะใช้เวลาในการโหลด 2.5 – 4 วินาที
  • แย่ จะใช้เวลาในการโลหดนานถึง 4 วินาทีขึ้นไป

แนวทางปรับปรุง LCP ให้ดีขึ้น ตอบโจทย์ผู้ใช้ โดนใจ Google

ในเบื้องต้น วิธีการช่วยให้ LCP มีค่าคะแนนที่ดี สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ปรับลดขนาดไฟล์รูปภาพ หรือสื่อต่าง ๆ ก่อนอัปโหลดลงเว็บไซต์ โดยหลังทำรูปภาพแต่ละภาพเสร็จ ก็สามารถเซฟไฟล์เป็นสกุล WebP ได้เลย เนื่องจากมีขนาดที่เบากว่าไฟล์รูปแบบอื่นมากถึง 30% แต่หากไม่มีความชำนาญ หรือไม่อยากเสียเวลาล่ะก็ ยังมีอีกหลายเว็บไซต์ที่คุณสามารถนำไฟล์ไปอัปโหลดและแปลงออกมาให้ได้ โดยขนาดที่เราแนะนำจะอยู่ที่ราว ๆ 20 – 80 KB (ทั้งนี้ ความกว้าง ความยาว ความคมชัด ก็ต้องอยู่ที่ความเหมาะสมด้วยล่ะ)
  • หาก Advance ขึ้นมาหน่อย เราก็จะแนะนำให้ลองปรับ Responsive Image ที่โค้ดดูก็ได้เช่นกัน โดยกำหนดที่ Source Element ของรูปภาพ เพื่อช่วยให้การแสดงผลผ่านหน้าจอขนาดที่ต่างกัน ก็มีความลื่นไหลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการค้นหาผ่านมือถือ เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านมาในปี 2022 พบว่า กว่า 60 % ของ Traffic มาจากเข้าชมผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั่นเอง

core web vitals fid คือ

First Input Delay (FID) คืออะไร

First Input Delay (FID) คือ ค่าชี้วัดที่ได้จากเวลาที่หน้านั้น ๆ ใช้ ’ตอบสนอง’ เมื่อ User ทำกิจกรรมบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการคลิกปุ่ม กดเรียกคำสั่งต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการ Scroll Down ตลอดจน Zoom In – Zoom Out บนหน้านั้นครั้งแรก

ในหน้าทั่ว ๆ ไปก็อาจเป็นปัญหาที่พอรับได้ แต่หากเป็นหน้าที่ต้องให้ User  ทำกิจกรรมอย่างเช่น การ Log in หรือมีการ Register แล้วละก็ การที่เว็บไซต์ของคุณตอบสนองช้าอาจเรียกได้ว่าเป็นหายนะเลยทีเดียว!

ปัจจัยที่ส่งผลให้ FID ช้า

การจะเจาะจงให้ชัดเจนไปเลยว่าอะไรที่ส่งผลให้ค่า FID ช้า เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะบางครั้งอาจเกิดได้จากปัจจัยภายนอก เช่น อินเตอร์เน็ตของ User ไม่เสถียร ไปจนถึงเครื่องมือที่ User ใช้งานไม่เสถียรซะเอง

โดยข้อมูล หรือ Data ต่าง ๆ จะถูกนำมาคำนวนเฉพาะ Field แต่ละตัวเท่านั้น ไม่สามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายในที่ไม่ควรมองข้ามซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้การตอบสนองของ FID ช้า ได้แก่ PlugIn ไม่อัปเดต ตลอดจนมีการเปิดใช้ที่มากเกินไป หรืออาจมาจากการที่ JavaScript ต่างๆ บนเว็บไซต์ประมวลผลช้า เป็นต้น

ค่าความเร็วการโหลดของ FID ที่ Google จัดว่าเด็ด

ในส่วนความเร็วของการโหลดแต่ละหน้า ที่ทาง Google แนะนำสำหรับการวัด First input Delay หรือ FID คือ

  • ดีที่สุด จะใช้เวลาในการโหลดเพียง 0 – 0.1 วินาที
  • ควรปรับปรุง จะใช้เวลาในการโหลด 0.1 – 0.3 วินาที
  • แย่ จะใช้เวลาในการโลหดนานถึง 3 วินาทีขึ้นไป

แนวทางการปรับปรุง FID ให้ดีขึ้น ตอบโจทย์ผู้ใช้ โดนใจ Google

หากพอจะจำได้คร่าว ๆ อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่าสิ่งที่ทำให้ FID แสดงผลได้ช้าเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง วิธีแก้ปัญหาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามนี้เลย!

  • ปรับหรือลดขนาดของ JavaScript ไปตลอดจนถึงการลบ Script ที่ไม่จำเป็นออกจากเว็บไซต์ เพราะการที่เจ้า JavaScript ตัวใหญ่ ๆ จะใช้เวลาโหลดนาน หรือต้องคอยโหลดเจ้าตัวที่ไม่ได้ใช้แล้ว ก็อาจไปกินเวลาอื่น ๆ ที่ User กำลังเรียกใช้บนหน้าเว็บไซต์ได้
  • ลบ PlugIn ที่ไม่จำเป็นทิ้งไป โดยเฉพาะจำพวก Script ที่เป็น Third-Party ทั้งหลาย เพราะในส่วนนี้ หากมีมากเกินไป ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรในการโหลดได้

Cumulative Layout Shift (CLS) คือ

Cumulative Layout Shift (CLS) คืออะไร

Cumulative Layout Shift (CLS) คือ ค่าชี้วัดที่ได้จาก ‘ความเสถียร’ ของ Layout ในหน้านั้น ๆ ระหว่างการเข้าชมของ User โดยแต่ละส่วนของหน้าไม่ควรเด้งไปมาระหว่างการโหลด ตรงนี้สามารถรวมไปถึงหน้าที่การดีไซน์ของ Element ต่าง ๆ อยู่ติดกันจนเกินไป หรือฟอนต์กับบาง Element มีขนาดใหญ่หรือเล็กจนเกินไปก็ได้เช่นกัน ลองคิดว่าตัวของคุณเองเป็น User ที่กำลังคลิกปุ่มบนหน้าเพื่อจะไปต่อ แต่จอกลับเปลี่ยน Layout เป็นปุ่มกดออก หรือปุ่มใกล้กันมากจนกดผิดดูสิ! คงทำเราหงุดหงิดน่าดู

ปัจจัยที่ส่งผลให้ CLS ช้า

การเปลี่ยนแปลงของ Layout จะถูกนับเมื่อ Element ในหน้านั้น ๆ มีการเปลี่ยนตำแหน่งไปจากจุดแรกเริ่มที่ปรากฎขึ้น ดังนั้น ปัจจัยสำคัญ ๆ ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนของ Layout และส่งผลให้คะแนน CLS ของเราต่ำก็คือการดีไซน์ตลอดจนการใส่ Element ต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักพบปัญหาได้จากพวก Banner โฆษณา, คลิปวิดีโอ, ฟอนต์ที่ไม่ใช่พวกฟอนต์พื้นฐานทั่วไป ตลอดจนการที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตการวางคอนเทนต์ และกลุ่มที่มีการกำหนดการแสดงผลแบบ Dynamic (พวกที่เคลื่อนไปตามการเลื่อนหน้าของ User)

ค่าความเร็วการโหลดของ CLS ที่ Google จัดว่าเด็ด

ในส่วนความเร็วของการโหลดแต่ละหน้า ที่ทาง Google แนะนำสำหรับการวัด Commulative Layout Shift หรือ CLS คือ

  • ดีที่สุด จะใช้เวลาในการโหลดเพียง 0 – 0.1 วินาที
  • ควรปรับปรุง จะใช้เวลาในการโหลด 0.1 – 0.25 วินาที
  • แย่ จะใช้เวลาในการโลหดนานถึง 0.25 วินาทีขึ้นไป

ค่าความเร็วการโหลดของ CLS ที่ Google จัดว่าเด็ด

ในส่วนความเร็วของการโหลดแต่ละหน้า ที่ทาง Google แนะนำสำหรับการวัด Commulative Layout Shift หรือ CLS คือ

  • ดีที่สุด จะใช้เวลาในการโหลดเพียง 0 – 0.1 วินาที
  • ควรปรับปรุง จะใช้เวลาในการโหลด 0.1 – 0.25 วินาที
  • แย่ จะใช้เวลาในการโลหดนานถึง 0.25 วินาทีขึ้นไป

แนวทางการปรับปรุง CLS ให้ดีขึ้น ตอบโจทย์ผู้ใช้ โดนใจ Google

หากอยากปรับปรุงคะแนนในส่วนของ CLS ให้ดียิ่งขึ้น ลองทำตามสิ่งเหล่านี้ดู

  • กำหนดขอบเขตการจัดวาง Element แต่ละส่วนให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Text Box หรือ Layout ของรูปภาพ ฯลฯ โดยอาจลองใช้ CSS Aspect Ratio เป็นตัวช่วย เพื่อเป็นการบอกระบบว่าในพื้นที่นั้น ๆ ได้ถูกจองไว้ให้กับ Element แต่ละตัวอย่างชัดเจนแล้ว เวลาระบบทำการดึงข้อมูลขึ้นมาจะได้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทับซ้อนซึ่งจะทำให้ระหว่างที่รอโหลดหน้าเว็บไม่เลื่อนไปมา
  • ทำ Responsive Design เพื่อให้คุณสามารถมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่บนหน้าจอแบบไหน หน้าเว็บของคุณก็สามารถเข้ากันได้และการแสดงผลมีความเสถียรกับทุก ๆ อุปกรณ์ 
  • ลดการใช้ Third-Party Page Element เพราะ Element บางตัวอาจส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการโหลดของหน้าเว็บได้
  • ทำ Responsive Image ให้ทุก ๆ Device แสดงผลได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากจอแสดงผลของแต่ละเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรือจอคอมพิวเตอร์ ล้วนมีความแตกต่างกันอยู่ การทำให้ภาพเข้ากันได้กับทุก ๆ ขนาดการแสดงผลจึงเป็นสิ่งจำเป็น ไม่เช่นนั้นแล้ว การแสดงผลอาจมีการผิดเพี้ยนและใช้เวลานานกว่าที่ Layout หน้านั้น ๆ จะโหลดเสร็จเรียบร้อยและเสถียร

หากลองทุกวิถีทางแล้วยังไม่สามารถปรับคะแนนในแต่ละส่วนให้ดีขึ้นได้ บางทีปัญหาอาจจะซับซ้อนกว่านั้น หรือไปอยู่ในจุดที่คุณเองมองไม่เห็น ตรงนี้เราแนะนำให้ปรึกษากับ Website Developer ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยปรับก็จะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจาก LCP, FID, CLS

ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมาแล้วเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีส่วนยิบย่อยอื่น ๆ ที่ชี้วัดความเร็วของการตอบสนองหน้าเว็บไซต์ และ User Experience ได้แก่

First Contentful Paint

First Contentful Paint (FCP) จะเป็นตัววัดเวลาที่ Browser ใช้ในการเรนเดอร์ DOM Element (Document Object Model) หรือก็คือโครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ ที่หน้าเว็บเรามี โดยมักอยู่ในรูปแบบของ HTML โดยเวลาที่วัดค่าจะเป็น ดังนี้

  • ดีที่สุด 0 – 2 วินาที 
  • ควรปรับปรุง 2 – 4 วินาที
  • แย่ 4 วินาทีขึ้นไป

Speed Index

Speed Index (SI) จะแสดงระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่เนื้อหาต่าง ๆ  ในเว็บไซต์ปรากฎให้ User เห็น โดยเวลาที่วัดค่าจะเป็นดังนี้

  • ดีที่สุด 0 – 4.3 วินาที 
  • ควรปรับปรุง 4.4 – 5.8 วินาที 
  • แย่ 5.8 วินาทีขึ้นไป

Time to Interactive

Time to Interactive (TTI) ชี้ให้เห็นถึงเวลาที่ใช้ในการโหลดหน้าแต่ละหน้า จนกว่าหน้านั้นจะสามารถใช้งานได้สมบูรณ์ คือไม่ว่า User จะคลิกอะไรก็ควรไปต่อได้ โดยเวลาที่วัดค่าจะเป็น ดังนี้

  • ดีที่สุด 0 – 3.8 วินาที
  • ควรปรับปรุง 3.9 – 7.3 วินาที
  • แย่ 7.3 วินาทีขึ้นไป

Total Blocking Time

Total Blocking Time (TBT) เป็นตัววัดที่ช่วยให้เรารู้ว่าเกิดความล่าช้าอย่างไรบ้างเมื่อ User มีการ Input ข้อมูลหรือความต้องการบางอย่างเข้ามา และบอกว่ามี Java Script ไม่จำเป็นตัวไหนบ้างที่ทำให้การโหลดเกิดความล่าช้า โดยเวลาที่วัดค่าจะเป็น ดังนี้

  • ดีที่สุด 0 – 0.3 วินาที
  • ควรปรับปรุง 0.3 – 0.6 วินาที
  • แย่ 0.6 วินาทีขึ้นไป

Page Performance Scores

Page Performance Scores

Page Performance Scores เป็นเมตริกสำคัญตัวแรกที่เราใช้บ่อย ๆ เนื่องจาก Page Performance Score นี้เป็นเมตริกเดียวที่รวมเมตริกทุกอย่าง และแสดงผลให้เราเห็นภาพรวมของเว็บไซต์หรือหน้าแต่ละหน้า ในรูปแบบของคะแนน ยิ่งคะแนนสูงก็ถือว่าหน้านั้นๆ มีคุณภาพสูงไปด้วย ดังนี้

  • ดีที่สุด 90 – 100 คะแนน
  • ควรปรับปรุง 50 – 89 คะแนน
  • แย่ 0 – 49 คะแนน

เราใช้เครื่องมืออะไรในการตรวจสอบ Core Web Vitals

การตรวจสอบค่าคะแนนของ Core Web Vitals สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยทาง Minimice จะมาแนะนำการใช้เครื่องมือฟรี 2 ตัวของ Google ที่ทางเราเองก็ใช้อยู่เป็นประจำ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย!

เครื่องมือที่ 1 : ตรวจค่า Core Web Vitals ด้วย Google Search Console

Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำ SEO ตัวหลักของทาง Google ซึ่งเปิดให้ทุกคนที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้สร้างและเข้ามาใช้งานกันฟรี ๆ วิธีการจะดู Core Web Vitals ผ่านทาง Goolgle Search Console นั้น ใน 5 ขั้นตอนง่าย ๆ

Step 1 เข้าไปที่รีพอร์ต Core Web Vitals ใน Google Search Console

เมื่อเรามีบัญชี Google Search Console เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปที่ Core Web Vitals ที่อยู่ตรงแถบเครื่องมือด้านซ้าย ภายใต้ Experience รีพอร์ต

ตรงนี้ เราจะเห็นรายงานปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Mobile และ Desktop

Step 2 ดูปัญหาที่มีการแจ้งในรีพอร์ต

หากต้องการดูปัญหาที่เกิดขึ้น ตามตัวอย่างจากภาพบน เราจะเห็นว่าส่วนที่ต้องเข้าไปดูเป็นหลัก คือ ส่วนของ Mobile ที่มี ULR บางส่วนที่สามารถปรับให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นให้กดไปที่ Open Report ในส่วนของ Mobile

ปัญหา lcp

จากภาพจะเห็นว่ามีปัญหา LCP จากข้อมูลที่แสดงมีทั้งหมด 45 URL ที่มีปัญหา และเมื่อเรากดเข้าไปดูเพิ่มเติมตรง LCP issue: longer than 2.5s (mobile) เราก็จะพบว่าทั้ง 45 หน้านั้นมีหน้าไหนบ้าง

เช็คค่า core web vitals จาก google search console

URL ทั้งหมดที่ถูกจัดกลุ่มรวมกัน ส่วนใหญ่แล้วจะมีปัญหาเดียวกัน บางครั้งหากวิเคราะห์แล้วว่ามีปัญหาตรงไหน การแก้ครั้งเดียวก็สามารถแก้ไขทุกหน้าได้

Step 3 วิเคราะห์แบบลึกลงอีกขั้นด้วย PageSpeed Insights

เมื่ออยากลงลึกถึงปัญหาให้ตรงจุดมากขึ้น เราสามารถกดจาก URL เฉพาะหน้า เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาแต่ละหน้าได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยกดต่อไปที่ Developer Resource PageSpeed Insights

page

หลังจากนั้น ทาง Google Search Console เองจะพาเราไปยังหน้า PageSpeed Insights

ตรวจสอบ core web vitals gsc

ในหน้า PageSpeed Insight นี้เอง เราจะรู้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข และหากกด Drop down ลงมา ก็จะปรากฎข้อมูลเพิ่มเติม และส่วนที่ต้องการปรับปรุงไว้อย่างชัดเจน

Step 4 ลงมือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

เมื่อเรารู้แล้วว่ามีปัญหาเกิดขึ้นที่ตรงไหนและเพราะอะไรบ้าง ก็ถึงเวลาลงมือปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละปัญหาก็มีสาเหตุต่างกัน การรับมือจึงต่างกันไป เบื้องต้นลองทำตามขั้นตอนที่เราให้ไว้ก่อน หรือหากเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน หรือยากเกินตัวเรา ก็จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

Step 5 Validate the issues in the Search Console

ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อมีการแก้ไขหน้าที่มีปัญหาเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเอา URL ที่ถูกแก้ไขนั้นไป Validate Fix กันใน Google Search Console ด้วยนะ เพื่อให้ทาง Google ตามเก็บข้อมูลที่แก้ไขใหม่

validate issue in google search console

ซึ่งสามารถเอา Naked URL วางไปเฉย ๆ แล้วกด VALIDATE FIX ได้เลย

ทั้งนี้ หากเรา Validate Fix ไป 28 วันแล้ว แต่หน้านั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ ก็อาจเกิดมาจากจำนวน User ที่เข้ามาหน้านั้นน้อยเกินไป หรือให้เรามาลองรีวิวหน้านั้นดูใหม่อีกครั้งเผื่อมีการปรับแก้ที่ไม่สมบูรณ์

ตรวจค่า core web vitals ด้วย google page speed insights

เครื่องมือที่ 2 : ตรวจค่า Core Web Vitals ด้วย Google PageSpeed Insights

เครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเราจัดการกับ Core Web Vitals ได้ง่าย ๆ ซึ่งจะช่วยลดเวลาจากการเข้าไปหา URL กับทาง Google Search Console หากเรามีหน้าที่ต้องการตรวจสอบความเร็วแล้ว สามารถนำ URL ไปวางได้ในนี้เลย https://pagespeed.web.dev/

เช็คค่า core web vitals ด้วย google page speed insights

เมื่อผลออกมา เราก็สามารถทำตาม Step 3 ที่ให้ตัว PageSpeed Insights ช่วยวิเคราะห์ และนำไปปรับปรุงหน้าเว็บของเราได้เลย

นอกจากเครื่องมือ 2 ตัวนี้แล้ว หากต้องการจะดูค่าคะแนน Core Web Vitals ยังสามารถดูได้เพิ่มเติมจากเครื่องมือ Google Lighthouse, Web Vitals Chrome Extension, PageSpeed Compare และอีกมากมาย ที่เปิดให้ใช้ทั้งแบบฟรี และเสียค่าบริการ

สรุป

Core Web Vitals เป็นส่วนสำคัญมากสำหรับการทำ SEO เพราะเป็นตัวชี้วัดและบ่งบอกถึงสิ่งที่เราจำเป็นต้องจัดการ เพื่อให้เว็บไซต์อยู่ในความเรียบร้อยและทำงานได้อย่างรวดเร็วทันใจผู้ท่องเว็บ ค่าต่าง ๆ ที่เราได้พูดถึงไปทั้งหมด จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและปรับปรุงเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น การมองเห็นกับการจัดอันดับก็จะตามมาด้วย และถ้าเว็บไซต์เราเร็ว แรง และดี User ก็มีความสุข Google เองที่ให้ความสำคัญกับ User Experience อยู่แล้ว ก็จะยิ่งให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ของเราด้วยเช่นกัน !

หากใครที่สนใจเรียนรู้การทำ SEO เพิ่มเติม ทาง Minimice ของเรายังมีบทความ SEO อีกมากมายให้คุณได้เรียนรู้ที่ MINIMICE JOURNAL – SEO BLOG คลังความรู้ SEO ที่จะช่วยให้การทำ SEO ของคุณง่ายและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Core Web Vitals คืออะไร?

Core Web Vitals คือเมตริกที่ใช้ในการวัดประสบการณ์เพื่อปรับปรุงการเข้าใช้งานเว็บไซต์ให้ดีขึ้น ซึ่งกูเกิลเริ่มใช้ปัจจัยนี้ในการจัดอันดับเมื่อกลางปี 2021 ที่ผ่านมา ซึ่ง Core Web Vitals มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักคือ Largest Contentful Paint, First Input Delay และ Cumulative Layout Shift

LCP, FID, CL ใน Core Web Vitals หมายถึงอะไร?

Largest Contentful Paint (LCP) คือ ค่าที่บ่งบอกว่าเว็บของเรานั้นโหลดหรือตอบสนองได้รวดเร็วหรือไม่

Cumulative Layout Shift (CLS) คือ สิ่งที่บ่งบอกว่าปุ่มหรือ element ต่างๆในเว็บของเรามีการเลื่อนหรือกระตุกหรือไม่เมื่อกดเข้าไป

First Input Delay (FID) คือ ค่าที่บ่งบอกว่าเว็บไซต์ของเราโหลดหรือตอบสนองได้เร็วแค่ไหนเมื่อมีการกระทำหรือเกิด action อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น

ทำไม Core Web Vitals ถึงสำคัญต่อ SEO?

การที่กูเกิลเริ่มให้ความสำคัญกับ User Experience มากขึ้น และส่งผลต่อการจัดอันดับอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การปรับเว็บไซต์ให้ตรงหลัก Core Web Vitals จึงมีความสำคัญต่อ SEO อย่างมาก

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง