Table of Contents

Categories

Recent Posts

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำ Google Display Network

GDN คืออะไร? รวมสิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงโฆษณา Google Display Network

Table of Contents

เมื่อกล่าวถึงการลงโฆษณากับ Google แล้วหลายคนอาจคิดว่ามีเพียงโฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของการค้นอย่างซึ่งมีชื่อเรียกว่า SEM (Search Engine Marketing) เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ในเครือข่ายของ Google ยังมีโฆษณาอีกหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยมสำหรับนักการตลาด และผู้ใช้งานทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น Video Ads บน Youtube หรือ GDN (Google Display Network) รูปแบบการโฆษณาระดับพื้นฐานอันแสนสำคัญของ Google Ads ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีรายละเอียดต่างๆ อย่างไรบ้าง

โฆษณา GDN (Google Display Network) คืออะไร?

GDN หรือ Google Display Network ถ้าแปลเป็นไทยตรงตัวง่ายๆ ก็คือ “เครือข่ายการแสดงผลของ Google” ซึ่งลักษณะของโฆษณาประเภทนี้ก็ตรงตัวตามความหมาย เพราะโฆษณาที่เราซื้อไปในรูปแบบนี้ จะไม่ได้แสดงผลบนหน้า Google เองโดยตรง แต่จะแสดงผลเป็น Banner หรือป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่เปิดอนุมัติฟีเจอร์ GDN เอาไว้ โดยผู้ใช้งาน GDN นั้นสามารถเลือกเว็บไซต์เป้าหมายที่อยากจะให้ โฆษณาของเราไปแสดงผล หรือเลือกที่จะแสดงผลแบบสุ่มเว็บไซต์โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายก็สามารถทำได้ ทำให้การทำ GDN ที่ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าก็ต้องใช้ประสบการณ์และความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคระดับหนึ่งเช่นกัน

ซึ่งค่าใช้จ่ายของ Google Display Network นั้นจะวัดจากปริมาณผู้เห็นโฆษณา หรือปริมาณคลิกที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเราผ่าน Banner โฆษณาตามจริง  ในขณะที่การเช่า Banner โฆษณาตามปกตินั้นจะคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของ GDN โดยรวมมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการเช่าโฆษณาทั่วไป และเข้าถึงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเท่านั้น

ประโยชน์และจุดเด่นของ Google Display Network

ประโยชน์และจุดเด่นของ GDN มีอะไรบ้าง?

จุดแข็งของ GDN หากจะให้กล่าวง่ายๆ คือเป็นการลงโฆษณาที่มีอิสระ ง่ายต่อการเจาะกลุ่มเป้าหมายและเสริมสร้างการมองเห็นและจดจำแบรนด์ ทำให้กลายเป็นเป็นการลงโฆษณาที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากในหมู่นักการตลาด โดยข้อดีและประโยชน์ของการโฆษณารูปแบบนี้ยังสามารถขยายความได้อีกมากมาย ดังนี้

สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้

คุณสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่สามารถมองเห็นการโฆษณา GDN ได้ตามต้องการ ทั้งในด้านของเพศ​ อายุ พื้นที่ ความสนใจ หรืออื่นๆ และยังรวมไปถึงการกำหนด Keyword ที่ทำให้ลูกค้ามองอีกด้วย

กำหนดเว็บไซต์ที่แสดงผลได้

ในการโฆษณา GDN นั้น ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่า เลือกเว็บไซต์ด้วยตัวเอง หรือจะให้ทาง Google เป็นผู้เลือกเว็บไซต์ในการแสดงผลตามความเหมาะสม แต่ถ้าหากคุณต้องการกำหนดสถานที่แสดงผลก็ควรระวังเกี่ยวกับกลุ่มเป้าที่ที่ลึกจนเกินไป มิเช่นนั้นการโฆษณาของคุณก็อาจไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร

สามารถลงโฆษณาได้โดยที่ไม่ต้องใช้กราฟิก

เพียงแค่คุณพิมพ์ข้อความทั้งตัว Headline และ Description ลงไปบนเครื่องมือดังกล่าว ก็สามารถลงโฆษณาได้อย่างง่ายดาย เพราะว่า GDN คือ การโฆษณาที่มีรูปแบบมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งตัวแบนเนอร์ของโฆษณา GDN ก็สามารถแบ่งเป็นหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม

มีการ Remarketing

ในการยิงโฆษณา GDN ของทาง Google มีระบบที่เรียกว่า Remarketing ซึ่งเป็นการยิงแบบติดตามตัวลูกค้า โดย Google จะทำการเก็บข้อมูลลูกค้าที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์หรือมีกิจกรรมร่วมกับหน้าของเรามาก่อน แล้วยิงโฆษณาของเราไปยังพื้นที่ GDN เมื่อผู้ใช้งานคนนั้นๆ ท่องไปในเว็บไซต์ที่รองรับ เทคนิคนี้ทำให้เราสามารถกำหนด เนื้อหาของโฆษณาที่เฉพาะทางมากขึ้น เพื่อปิดการขาย

กำหนดงบประมาณได้อย่างชัดเจน

ด้วยระบบการเก็บเงินของโฆษณา Google Display Network ที่เรียกเก็บตามจำนวนที่ปรากฏ (CPM) หรือจำนวนการคลิกของโฆษณา (CPC) ทำให้คุณสามารถกำหนดงบประมาณในการทำการตลาดได้ และเมื่อมีการเก็บเงินถึงจำนวนที่คุณกำหนดแล้วนั้น ทาง Google ก็จะทำการหยุดแสดงโฆษณาดังกล่าว อีกทั้งระบบยังมีการเฉลี่ยระยะเวลาในการลงโฆษณาเพื่อให้แบนเนอร์ของคุณปรากฏในระยะเวลาที่เหมาะสมและไม่น้อยจนเกินไป แต่ข้อควรระวังคือ ถ้าหากคุณกำหนดงบประมาณที่น้อยจนเกิดไป ก็อาจทำให้ไม่มีการเข้าถึงสินค้ามาเท่าที่ควร

กำหนดโฆษณาตาม Journey ของลูกค้า

จากข้อดีทั้งหมดที่เรากล่าวมาเชื่อว่าหลายคนอาจจะจินตนาการออกแล้วว่าลูกเล่นที่ทำให้ Google Display Network แตกต่างจากโฆษณารูปแบบอื่นๆ ก็คือความสามารถในการเล่นกับจิตวิทยาของผู้บริโภค ทำให้เราสามารถวางแผนการยิงโฆษณาได้ตาม Customer Journey ของลูกค้านั่นเอง อย่างการยิง GDN หรือ SEM ทั่วไปอาจจะเน้นสร้าง Brand Awareness ไม่สามารถปิดการขายได้ แต่เรายังสามารถยิงโฆษณาที่ เจาะจงมากขึ้นเพื่อปิดการขายลูกค้าที่อาจจะอยู่ได้ Decision State ได้ด้วยการ Remarketing นั่นเอง

การกำหนดเป้าหมายโฆษณา GDN

โฆษณา GDN สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างไรบ้าง?

โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาแบบ GDN สามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้

  • Demographic การกำหนดข้อมูลของประชากร เช่น เพศ อายุ สถานะ และรายได้ทางการเงิน เป็นต้น
  • Location เลือกสถานที่ของเป้าหมายที่ต้องการให้มองเห็น เช่น การเลือกโฆษณาร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียงของลูกค้า เป็นต้น
  • Date&Time กำหนดวันและเวลาในการลงโฆษณาเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
  • Frequency การจำกัดความถี่ของโฆษณาที่คุณต้องการลง ให้มีความเหมาะสมไม่มากหรือน้อยจนเกินไป มิเช่นนั้นก็อาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหรือก่อความรำคาญได้
  • Topic Targeting เป็นการกำหนดเว็บไซต์โฆษณาที่ลงผ่านหัวข้อที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยที่ไม่สามารถเจาะจงเว็บไซต์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การลงโฆษณาเฟอร์นิเจอร์บนเว็บไซต์เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
  • Placement Targeting การเลือกเจาะจงเว็บไซต์ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณา ซึ่งทั่วไปแล้วมักจะเป็นเว็บไซต์ที่ค่อนข้างพื้นฐานและเป็นที่รู้จัก เพื่อเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ให้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
  • Keyword Contextual Targeting หรือการกำหนด Keyword ที่ต้องการให้ลูกค้าเห็นเมื่อมีการค้นหา หรือกล่าวง่ายๆ คือ เมื่อลูกค้ามีการค้นหา Keyword ที่ถูกกำหนดไว้ และเข้าไปยังเว็บไซต์นั้นๆ โฆษณาของคุณก็จะถูกทำให้ปรากฏขึ้น
  • Remarketing เป็นระบบที่ทำการยิงโฆษณาซ้ำๆ ในหน้าเว็บไซต์ที่ลูกค้าเข้าไป เก็บข้อมูล สร้าง Audience List จากนั้นจึงติดตามและยิงโฆษณาตามไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

Google Display Network มีกี่รูปแบบ

โฆษณา GDN มีกี่รูปแบบ?

การโฆษณา Google Display Network สามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ

  • Text Ads โฆษณาแบบข้อความ มีความคล้ายคลึงกับการทำโฆษณาบน Search Network โดยประกอบด้วยส่วนที่เป็นหัวเรื่อง (Headline) เนื้อหาที่เป็นข้อความสั้นๆ (Description) และ ลิงก์ URL ซึ่งข้อดีของโฆษณารูปแบบนี้คือไม่จำเป็นต้องมีภาพเพราะตัว Google จะทำการปรับขนาดให้กับโฆษณาของคุณโดยอัตโนมัติ
  • Image Ads หรือ Banner Ads โฆษณาแบบรูปภาพ อาจเป็นไฟล์นามสกุล GIF JPG หรือ PNG โดยมีทั้งส่วนรูปภาพและข้อความดึงดูดความสนใจ ซึ่งคุณสามารถปรับแต่งได้ทั้งภาพ พื้นหลัง และเค้าโครงของแบนเนอร์ ซึ่งข้อควรระวังที่สำคัญคือขนาดของไฟล์ที่ไม่ควรใหญ่กว่า 159 KB ในการสร้างไฟล์ GIF ก็ไม่ควรทำให้มีการขยับมากเกินไปจนก่อความรำคาญให้กับลูกค้า
  • Rich Media Ads โฆษณา GDN ประเภทหนึ่งที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างและขนาดไปตามอุปกรณ์ที่ใช้งานหรือการตอบโต้ของลูกค้า
  • Video Ads โฆษณาแบบวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว ได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากที่เว็บไซต์ Youtube ได้รับความนิยม ซึ่งโฆษณาประเภทนี้สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ขนาดของ Banner GDN มีขนาดใดบ้าง?

ขนาดแบนเนอร์ของ GDN มีข้อจำกัด 2 ข้อคือ ขนาดไฟล์ที่ไม่เกิน 150 KB และนามสกุลไฟล์ต้องเป็น GIF, JPG, PNG เท่านั้น

มีไฟล์ขนาดต่างๆ ให้เลือก ดังนี้

  • 200 x 200
  • 240 x 400
  • 250 x 250
  • 250 x 360
  • 300 x 250
  • 336 x 280
  • 580 x 400
  • 120 x 600
  • 160 x 600
  • 300 x 600
  • 300 x 1050
  • 468 x 60
  • 728 x 90
  • 930 x 180 
  • 970 x 90
  • 970 x 250
  • 980 x 120
  • 300 x 50
  • 320 x 50
  • 320 x 100

ขนาดที่ได้รับความนิยมมีทั้ง 5 ขนาด

  • 300 x 250
  • 240 x 400
  • 728 x 90
  • 160 x 600
  • 468 x 60

ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาแบบ GDN

ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาแบบ GDN คิดอย่างไร?

สำหรับการลง Google Ads ทั่วไปอย่าง SEM มีการคิดค่าบริการเป็นแบบรายเดือน แต่สำหรับการลงโฆษณา Google Display Network หรือที่เราเรียกว่า GDN มีการค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกได้จาก 2 รูปแบบ ดังนี้

  • CPC หรือ Cost Per Click เป็นการคิดค่าใช้จ่ายจากจำนวนการคลิกของลูกค้า
  • CPM หรือ Cost Per Impression การคิดค่าบริการตามจำนวนที่ลูกค้ามองเห็นโฆษณาของเรา

ซึ่งด้วยเงินไขการบริการที่ว่านี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดงบประมาณในการยิงโฆษณาได้ตามที่ต้องการ

สรุป

โดยสรุปแล้วการยิง GDN นั้นถือว่าเป็นกลวิธีในการสร้าแบรนดที่พลาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เกิดใหม่ หรือสำหรับแบรนดที่ต้องการเพิ่มลูกค้าในตลาด แต่อย่างที่เรากล่าวไปข้างต้น ประสบการณ์และฝีมือนั้นส่งผลโดยตรงกับการยิงโฆษณาประเภทนี้ เพื่อความคุ้มค่าของคุณเราพร้อมบริการคุณด้วยประสบการณ์ของเรา เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งาน GND อย่างที่สุด

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

GDN คืออะไร?

GDN คือ การโฆษณารูปแบบหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้ามีโอกาสเห็นสินค้าของคุณบนเว็บไซต์ต่างๆ ที่คุณต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมกับการยิงโฆษณานี้คือเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

ขนาดของ GDN ที่นิยมๆมีขนาดไหนบ้าง?

ขนาดของ GDN ที่นิยมใช้ ได้แก่

  • 300 x 250
  • 240 x 400
  • 728 x 90
  • 160 x 600
  • 468 x 60

GDN มีกี่รูปแบบ?

การโฆษณา Google Display Network มีทั้งหมด 4 รูปแบบหลักคือ Text Ads, Image Ads, Rich Media Ads และ Video Ads ซึ่งแต่ละแบบก็เหมาะสมกับการโฆษณาที่แตกต่างกัน

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง