Key Takeaway
- GDN คือการแสดงโฆษณาในรูปแบบแบนเนอร์ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่อนุญาตให้ Google แสดงโฆษณาได้ แทนที่จะปรากฏบนหน้า Google โดยตรง ผู้ใช้งานสามารถเลือกเว็บไซต์เป้าหมายเอง หรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ระบบสุ่มแสดงผล
- การโฆษณาบน Google Display Network มีทั้ง Text Ads ที่เน้นข้อความกระชับและปรับขนาดอัตโนมัติ Image Ads หรือ Banner ที่ใช้ภาพและข้อความดึงดูดใจ Rich Media Ads ที่ปรับเปลี่ยนตามอุปกรณ์และการโต้ตอบ และ Video Ads รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงบนแพลตฟอร์มอย่าง YouTube ด้วยศักยภาพในการดึงดูดความสนใจอย่างดี
- เทคนิคทำ Optimize Ads GDN ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การใช้ขนาดภาพที่ Google กำหนด สร้างภาพให้มีคุณภาพสูงและช่วยดึงดูดความสนใจ เขียนข้อความตามแบบ Google หัวข้อต้องยาว แต่ชัดเจนด้วย และอย่าลืมเพิ่มคำอธิบายเสริมหัวข้อ
- ประโยชน์ของ GDN คือสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ กำหนดเว็บไซต์ที่แสดงผลได้ ลงโฆษณาได้โดยที่ไม่ต้องใช้กราฟิก มีการ Remarketing กำหนดงบประมาณได้ชัดเจน และสามารถกำหนดโฆษณาตาม Journey ของลูกค้าได้
เมื่อพูดถึงการลงโฆษณากับ Google แล้ว หลายคนอาจคิดว่ามีเพียงโฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าแรกของการค้นหา หรือ SEM (Search Engine Marketing) เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเครือข่ายของ Google ยังมีโฆษณาอีกหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยมสำหรับนักการตลาด และผู้ใช้งานทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็น Video Ads บน Youtube หรือ GDN (Google Display Network) รูปแบบการโฆษณาระดับพื้นฐานที่แสนสำคัญของ Google Ads ที่เราจะพูดถึงในวันนี้ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีรายละเอียดต่างๆ อย่างไรบ้าง

โฆษณา GDN (Google Display Network) คืออะไร?
GDN หรือ Google Display Network ถ้าแปลเป็นไทยตรงตัวง่ายๆ ก็คือ “เครือข่ายการแสดงผลของ Google” ลักษณะของโฆษณาประเภทนี้ก็ตรงตัวตามความหมาย เพราะจะไม่ได้แสดงผลบนหน้า Google เองโดยตรง แต่จะแสดงผลเป็น Banner หรือป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่เปิดอนุมัติฟีเจอร์ GDN เอาไว้แทน โดยผู้ใช้งาน GDN สามารถเลือกเว็บไซต์เป้าหมายที่อยากจะให้โฆษณาของเราไปแสดงผล หรือเลือกแสดงผลแบบสุ่มเว็บไซต์แล้วกำหนดกลุ่มเป้าหมายก็ได้ ทั้งนี้การทำให้ GDN ได้ผลลัพธ์คุ้มค่าก็ต้องใช้ประสบการณ์และความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคระดับหนึ่งเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายของ Google Display Network นั้นวัดจากปริมาณผู้เห็นโฆษณา หรือปริมาณคลิกที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเราผ่าน Banner โฆษณาตามจริง ในขณะที่การเช่า Banner โฆษณาตามปกตินั้นจะคิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของ GDN มีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการเช่าโฆษณาทั่วไป และเข้าถึงเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเท่านั้น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกได้จาก 2 รูปแบบ ดังนี้
- CPC หรือ Cost Per Click การคิดค่าใช้จ่ายจากจำนวนการคลิกของลูกค้า
- CPM หรือ Cost Per Impression การคิดค่าบริการตามจำนวนที่ลูกค้ามองเห็นโฆษณาของเรา
ซึ่งด้วยเงื่อนไขการบริการที่ว่านี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดงบประมาณในการยิงโฆษณาได้ตามที่ต้องการ

ความแตกต่างระหว่าง GDN กับ Google Ads
ความแตกต่างหลักระหว่าง Google Display Network (GDN) และเครือข่ายการค้นหาของ Google Search Network (GSN) ที่เป็นส่วนสำคัญของ Google Ads อยู่ที่ตำแหน่งที่โฆษณาปรากฏ โดย GSN คือชุดของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาของ Google เมื่อผู้ใช้งานค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ของคุณ โฆษณา GSN จะปรากฏในผลการค้นหาของ Google และเว็บไซต์พันธมิตรที่ให้บริการการค้นหาได้
ในทางตรงกันข้าม GDN จะแสดงโฆษณาเมื่อผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และวิดีโอที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการค้นหาที่กำลังดำเนินการอยู่ ผู้ใช้งานอาจไม่ได้กำลังมองหาสิ่งที่คุณนำเสนอในขณะนั้น นอกจากนี้ บน GSN ผู้ลงโฆษณามุ่งเป้าไปที่ Keyword ในขณะที่บน GDN ผู้ลงโฆษณาจะมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเป้าหมาย ความสนใจ และเว็บไซต์มากกว่า
โดยทั่วไปแล้ว GSN จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความตั้งใจสูงกว่า ในขณะที่ GDN มักจะเหมาะสำหรับการสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์ เพื่อทำการตลาดซ้ำ (Remarketing) ไปยังผู้ใช้ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์หรือโฆษณาของคุณ

GDN ไม่ได้มีแค่แบนเนอร์! เปิดโลกรูปแบบโฆษณาที่อาจไม่เคยรู้
การโฆษณา Google Display Network สามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
- Text Ads โฆษณาแบบข้อความ คล้ายกับการทำโฆษณาบน Search Network ประกอบด้วยหัวเรื่อง (Headline) เนื้อหาที่เป็นข้อความสั้นๆ (Description) และลิงก์ URL ข้อดีของโฆษณารูปแบบนี้คือไม่จำเป็นต้องมีภาพเพราะตัว Google จะปรับขนาดให้กับโฆษณาของคุณโดยอัตโนมัติ
- Image Ads หรือ Banner Ads โฆษณาแบบรูปภาพ อาจเป็นไฟล์นามสกุล GIF, JPG หรือ PNG โดยมีทั้งส่วนรูปภาพและข้อความดึงดูดความสนใจ สามารถปรับแต่งได้ทั้งภาพ พื้นหลัง และเค้าโครงของแบนเนอร์ ขนาดไฟล์ไม่ควรใหญ่กว่า 159 KB ในการสร้างไฟล์ GIF ก็ไม่ควรทำให้ขยับมากเกินไปจนก่อความรำคาญให้กับลูกค้า
- Rich Media Ads โฆษณา GDN ประเภทหนึ่งที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างและขนาดไปตามอุปกรณ์ที่ใช้งานหรือการตอบโต้ของลูกค้า
- Video Ads โฆษณาแบบวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว ได้รับความสนใจมากขึ้นหลังจากที่เว็บไซต์ Youtube ได้รับความนิยม ซึ่งโฆษณาประเภทนี้สามารถดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

โฆษณา GDN กำหนดเป้าหมายได้อย่างไร?
โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาแบบ GDN สามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้
- Demographic การกำหนดข้อมูลของประชากร เช่น เพศ อายุ สถานะ และรายได้ทางการเงิน เป็นต้น
- Location เลือกสถานที่ของเป้าหมายที่ต้องการให้มองเห็น เช่น การเลือกโฆษณาร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียงของลูกค้า เป็นต้น
- Date & Time กำหนดวันและเวลาในการลงโฆษณาเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
- Frequency การจำกัดความถี่ของโฆษณาที่คุณต้องการให้ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะอาจทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหรือก่อความรำคาญได้
- Topic Targeting เป็นการกำหนดเว็บไซต์โฆษณาที่ลงผ่านหัวข้อที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยที่ไม่สามารถเจาะจงเว็บไซต์ได้ ยกตัวอย่างเช่น การลงโฆษณาเฟอร์นิเจอร์บนเว็บไซต์เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
- Placement Targeting การเลือกเจาะจงเว็บไซต์ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณา ซึ่งทั่วไปแล้วมักจะเป็นเว็บไซต์ที่ค่อนข้างพื้นฐานและเป็นที่รู้จัก เพื่อเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ให้มากขึ้น
- Keyword Contextual Targeting หรือการกำหนด Keyword ที่ต้องการให้ลูกค้าเห็นเมื่อมีการค้นหา เมื่อลูกค้าค้นหา Keyword ที่ถูกกำหนดไว้ และเข้าไปยังเว็บไซต์นั้นๆ โฆษณาของคุณจะถูกทำให้ปรากฏขึ้น
- Remarketing เป็นระบบที่ทำการยิงโฆษณาซ้ำๆ ในหน้าเว็บไซต์ที่ลูกค้าเข้าไป เก็บข้อมูล สร้าง Audience List จากนั้นจึงติดตามและยิงโฆษณาตามไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

มัดรวม! ขนาดของ Banner GDN
มาดูกันว่า Banner บน GDN มีขนาดไหนบ้าง และแต่ละขนาดเหมาะกับการใช้งานแบบใด เพื่อให้คุณเลือกใช้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด!
Square
ขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส (Square) เช่น 250 x 250 เหมาะสำหรับพื้นที่โฆษณาขนาดเล็กถึงปานกลาง มักพบได้ในแถบด้านข้าง (Sidebar) หรือแทรกอยู่ในเนื้อหา (In-content) ข้อดีคือมีความกะทัดรัดจึงเหมาะกับพื้นที่จำกัด ไม่รบกวนเนื้อหาหลักมากนัก มีความหลากหลายจึงสามารถปรับใช้ได้กับเลย์เอาต์ที่หลากหลาย ในส่วนของการมองเห็น ถึงแม้จะมีขนาดไม่ใหญ่ แต่ก็สามารถดึงดูดสายตาได้ดีหากออกแบบให้น่าสนใจ
Leaderboard
ขนาดแนวนอนยาว (Leaderboard) เช่น 728 x 90 มักปรากฏที่ส่วนหัว (Header) หรือส่วนท้าย (Footer) ของเว็บไซต์ ข้อดีคือการมองเห็นสูง เพราะตำแหน่งด้านบนและด้านล่างทำให้เห็นได้ง่ายเมื่อผู้ใช้งานเปิดหน้าเว็บ ส่วนพื้นที่ข้อความก็มีพื้นที่เพียงพอสำหรับใส่ข้อความและโลโก้ได้ชัดเจน ทั้งนี้ยังเป็นขนาดและรูปแบบที่ผู้ใช้งานคุ้นเคย ทำให้ไม่รู้สึกแปลกตา
Mobile
ขนาด Mobile เป็นขนาดที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น 300 x 250 (Medium Rectangle) และ 320 x 50 (Mobile Leaderboard) เหมาะสำหรับการแสดงบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ข้อดีคือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบนมือถือ ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานที่ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้โดยเฉพาะ มีการปรับให้เหมาะสมกับหน้าจอขนาดเล็ก ขนาดได้รับการออกแบบมาให้พอดีกับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โอกาสในการแสดงผลสูง ทั้งนี้ ผู้คนใช้งานในปัจจุบันมักจับโทรศัพท์มือถือตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสที่โฆษณาจะถูกเห็นมากขึ้น
GDN กับตัวอย่างจริง ที่สร้างยอดขายถล่มทลาย!
เพื่อให้เห็นภาพการทำ GDN มากขึ้น มาดูตัวอย่างจริงที่สร้างยอดขายแบบถล่มทลายมาแล้ว!

เทคนิคทำ Optimize Ads GDN ให้มีประสิทธิภาพ
ต่อไปเป็นเทคนิคทำ Optimize Ads GDN ให้มีประสิทธิภาพ
1. ใช้ขนาดภาพตาม Google กำหนด
คุณสามารถอัปโหลดรูปภาพได้สูงสุด 15 รูปในสามอัตราส่วนภาพ ทั้งแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส แนวนอน และแนวตั้ง นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรูปภาพจากคลังภาพสต๊อกฟรีของ Google ได้ หากเลือกรูปภาพจากคลังสต๊อก Google จะช่วยให้กำหนดอัตราส่วนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้นด้วย
2. สร้างภาพคุณภาพสูง ดึงดูดความสนใจ
เลือกใช้ภาพคุณภาพสูง หลีกเลี่ยงภาพที่เบลอ มีฟิลเตอร์มากเกินไป กลับหัว หรือมีขอบ ควรใช้ภาพเดี่ยวๆ แทนภาพตัดปะ ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการเป็นจุดเด่น แสดงฉากที่เป็นสถานที่จริงด้วยเงาและแสงที่เป็นธรรมชาติ รวมถึงใช้โลโก้ที่มีพื้นหลังโปร่งใสหรือสีขาว สิ่งที่ไม่ควรทำคือวางโลโก้ทับบนรูปภาพโดยตรง หรือวางข้อความ กราฟิกอื่นๆ หรือวางปุ่มต่างๆ ทับบนรูปภาพ และใช้โลโก้ที่มีพื้นหลังสีสันสดใส
3. เขียนข้อความตามแบบ Google
ควรบอกผู้ใช้ว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น “ชำระด้วยบัตรเครดิต” ระบุข้อเสนอให้ชัดเจน เช่น “จัดส่งฟรีในวันถัดไป” ทำให้เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจ เช่น “รองเท้าวิ่งราคาพิเศษ” รวมถึงทำให้หัวข้อสั้นๆ ทั้งหมดให้มีความยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษรเพื่อป้องกันการตัดคำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแต่ละส่วน ทั้งหัวข้อ คำอธิบาย รูปภาพ และอื่นๆ มีความแตกต่างกัน และไม่ควรลงท้ายหัวข้อสั้นๆ ด้วยเครื่องหมายวรรคตอน ใช้ข้อความซ้ำกันทั้งในหัวข้อและคำอธิบาย ใช้ชื่อธุรกิจเป็นหัวข้อ หรือใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
4. หัวข้อต้องยาว ชัดเจน น่าสนใจ
สร้างหัวข้อขนาดยาวที่อธิบายคุณค่าของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณในลักษณะที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ ควรเขียนหัวข้อที่สื่อความหมายได้ด้วยตัวเอง เพราะ Google อาจแสดงหัวข้อนี้โดยไม่มีคำอธิบายประกอบ และหัวข้อต้องมีความยาวไม่เกิน 90 ตัวอักษรเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดคำ แต่ไม่ควรใส่เครื่องหมายวรรคตอนที่ส่วนท้ายของหัวข้อ ใช้ข้อความซ้ำจากหัวข้อสั้นๆ ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หรือใช้ข้อความที่เน้นการคลิกมากเกินไป
5. เพิ่มคำอธิบายเสริมหัวข้อ
Google จะแสดงคำอธิบายควบคู่ไปกับหัวข้อสั้นๆ เท่านั้น ไม่ใช่หัวข้อขนาดยาว เขียนคำอธิบายเพื่อเสริมหัวข้อสั้นๆ โดยควรทำให้ข้อความอ่านและเข้าใจง่าย ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะที่ต้นประโยคและคำนามเฉพาะ (Sentence Case) ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม อธิบายคุณค่าที่นำเสนอให้ชัดเจน และคำอธิบายต้องมีความยาวไม่เกิน 90 ตัวอักษรเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดคำ แต่ไม่ควรใช้ข้อความทั่วไปที่ไม่เจาะจง ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หรือใช้ข้อความที่เน้นการคลิกมากเกินไป

GDN อนาคตของการโฆษณาออนไลน์ที่วัดผลได้จริง
จุดแข็งของ GDN คือเป็นการลงโฆษณาที่มีอิสระ ง่ายต่อการเจาะกลุ่มเป้าหมายและเสริมสร้างการมองเห็นและจดจำแบรนด์ ทำให้กลายเป็นการลงโฆษณาที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากในหมู่นักการตลาด โดยข้อดีและประโยชน์ของการโฆษณารูปแบบนี้ยังสามารถขยายความได้อีกมากมาย ดังนี้
เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้
คุณสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าที่สามารถมองเห็นการโฆษณา GDN ได้ตามต้องการ ทั้งในด้านของเพศ อายุ พื้นที่ ความสนใจ หรืออื่นๆ และยังรวมไปถึงการกำหนด Keyword ที่ทำให้ลูกค้ามองอีกด้วย
กำหนดเว็บไซต์ที่แสดงผลได้
ในการโฆษณา GDN ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกเว็บไซต์ด้วยตัวเอง หรือจะให้ Google เป็นผู้เลือกเว็บไซต์ในการแสดงผลตามความเหมาะสม ถ้าหากคุณต้องการกำหนดสถานที่แสดงผลก็ควรระวังเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่ลึกจนเกินไป เพราะการโฆษณาของคุณอาจไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
ลงโฆษณาได้แบบไม่ต้องใช้กราฟิก
เพียงแค่คุณพิมพ์ข้อความทั้งตัว Headline และ Description ลงไปบนเครื่องมือดังกล่าว ก็สามารถลงโฆษณาได้อย่างง่ายดาย เพราะว่า GDN คือการโฆษณาที่มีรูปแบบมาตรฐานอยู่แล้ว ซึ่งตัวแบนเนอร์ของโฆษณา GDN ก็สามารถแบ่งเป็นหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
มีการ Remarketing
ในการยิงโฆษณา GDN ของทาง Google มีระบบที่เรียกว่า Remarketing ซึ่งเป็นการยิงแบบติดตามตัวลูกค้า โดย Google จะเก็บข้อมูลลูกค้าที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์หรือมีกิจกรรมร่วมกับหน้าของเรามาก่อน แล้วยิงโฆษณาของเราไปยังพื้นที่ GDN เมื่อผู้ใช้งานคนนั้นๆ ท่องไปในเว็บไซต์ที่รองรับ เทคนิคนี้ทำให้เราสามารถกำหนดเนื้อหาของโฆษณาที่เฉพาะทางมากขึ้นเพื่อปิดการขาย
กำหนดงบประมาณได้ชัดเจน
ด้วยระบบการเก็บเงินของโฆษณา Google Display Network ที่เรียกเก็บตามจำนวนที่ปรากฏ (CPM) หรือจำนวนการคลิกของโฆษณา (CPC) ทำให้คุณสามารถกำหนดงบประมาณในการทำการตลาดได้ และเมื่อมีการเก็บเงินถึงจำนวนที่กำหนดแล้ว ทาง Google ก็จะหยุดแสดงโฆษณาดังกล่าว อีกทั้งระบบยังมีการเฉลี่ยระยะเวลาในการลงโฆษณาเพื่อให้แบนเนอร์ของคุณปรากฏในระยะเวลาที่เหมาะสมและไม่น้อยจนเกินไป แต่ข้อควรระวังคือ หากคุณกำหนดงบประมาณที่น้อยเกินไปอาจทำให้ไม่มีการเข้าถึงสินค้ามากเท่าที่ควร
กำหนดโฆษณาตาม Journey ของลูกค้า
จากข้อดีทั้งหมดที่กล่าวมาเชื่อว่าหลายคนอาจจะจินตนาการออกแล้วว่าลูกเล่นที่ทำให้ Google Display Network แตกต่างจากโฆษณารูปแบบอื่นๆ ก็คือความสามารถในการเล่นกับจิตวิทยาของผู้ใช้งาน ทำให้เราสามารถวางแผนการยิงโฆษณาได้ตาม Customer Journey ของลูกค้านั่นเอง
อย่างการยิง GDN หรือ SEM ทั่วไปอาจจะเน้นสร้าง Brand Awareness ไม่สามารถปิดการขายได้ แต่เรายังสามารถยิงโฆษณาที่เจาะจงมากขึ้นเพื่อปิดการขายลูกค้าที่อาจจะอยู่ได้ Decision State ได้ด้วยการ Remarketing นั่นเอง
สรุป
โดยสรุปแล้วการยิง GDN นั้นถือว่าเป็นกลวิธีในการสร้างแบรนด์ที่พลาดไม่ได้เลย! ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เกิดใหม่ หรือสำหรับแบรนด์ที่ต้องการเพิ่มลูกค้าในตลาด แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ประสบการณ์และฝีมือนั้นส่งผลโดยตรงกับการยิงโฆษณาประเภทนี้ เพื่อความคุ้มค่าของคุณเราพร้อมบริการคุณด้วยประสบการณ์ของเรา Minimicegroup รับทำโฆษณา GDN เพื่อความคุ้มค่าในการใช้งาน GND อย่างที่สุด
FAQ – คำถามที่พบบ่อย
Responsive Ads คืออะไร?
Responsive Ads หรือ RSA ช่วยให้คุณสร้างโฆษณาเดียว แต่ใส่หัวข้อได้มากถึง 15 แบบ และคำอธิบาย 4 แบบ จากนั้นระบบจะสลับปรับเปลี่ยนส่วนผสมที่ดีที่สุด (3 หัวข้อ 2 คำอธิบาย) ให้เองโดยอัตโนมัติ แม้จะไม่บังคับให้ใส่ครบทุกช่อง แต่การใส่ข้อมูลให้มากและหลากหลายจะช่วยให้ Google เรียนรู้และแสดงโฆษณาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น Google ยังมีระบบให้คะแนนคุณภาพของหัวข้อ (Poor, Good, Excellent) เพื่อช่วยให้คุณปรับปรุงข้อความโฆษณาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Display Ads YouTube คืออะไร?
Display Ads บน YouTube คือโฆษณาในรูปแบบของภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวที่สามารถคลิกได้ โดยมักจะปรากฏอยู่บริเวณด้านขวาบนของวิดีโอแนะนำ (Sidebar) บนหน้าเว็บไซต์ YouTube เมื่อผู้ใช้งานเข้าชมผ่านคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเท่านั้น
ตำแหน่งนี้ถือเป็นจุดที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่ผู้ใช้งานมักจะมองหาเนื้อหาวิดีโอใหม่ๆ นอกจากนี้ โฆษณาในตำแหน่งนี้ยังถูกออกแบบมาให้ไม่รบกวนประสบการณ์การรับชมวิดีโอหลักของผู้ใช้อีกด้วย