Table of Contents

Categories

Recent Posts

webp

รู้จัก Webp คืออะไร ไฟล์ภาพจิ๋วแต่แจ๋ว คมชัด เอาใจสายคอนเทนต์

Table of Contents

หากคุณกำลังทำคอนเทนต์ลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ แล้วกำลังเจอกับปัญหาโหลดไฟล์รูปภาพนาน ภาพไม่ชัด ภาพไม่ละเอียด จนทำให้เว็บไซต์แสดงผลช้าลง งั้นมารู้จักกับไฟล์ภาพ WebP อีกหนึ่งตัวเลือกเอาใจสายคอนเทนต์ที่จะเข้ามาช่วยให้ภาพของคุณอัปโหลดไวยิ่งขึ้น ด้วยความละเอียดสุดแสนจะคมชัด ซึ่งไฟล์ภาพแบบ WebP คืออะไร และไฟล์ภาพจะเป็นยังไง รูปแบบไหน ไปดูกันเลย

webp คืออะไร

ทำความรู้จัก WebP คืออะไร

WebP คือ ไฟล์รูปแบบภาพยุคใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี 2010 โดย Google เพื่อแก้ไขปัญหารูปภาพ ที่แสดงผลหน้าเว็บไซต์ช้าลง ให้แสดงผลหน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น และทำให้ไฟล์ภาพยังคงมีคุณภาพ

แสดงผลได้ชัดเจน โดยไฟล์รูปภาพ webP จะมีวิธีการอัดไฟล์ภาพเป็น Lossy (การสูญเสียคุณภาพ) เป็นการบีบอัดแบบเสียข้อมูลบางส่วน แต่ภาพก็ยังมีความใกล้เคียงต้นฉบับ และ Lossless (ไม่มีการสูญเสียคุณภาพ) เป็นการบีบอัดข้อมูล ที่ไม่เสียข้อมูลใดๆ ทำให้ไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดยังคงต้นฉบับเดิมไว้นั่นเอง

ซึ่งการบีบอัดไฟล์นี้จะลดขนาดภาพ แต่คุณภาพของไฟล์ภาพยังเหมือนเดิม จนกลายมาเป็นคุณสมบัติเด่นของไฟล์ภาพแบบ webP ที่ทำให้การแสดงผลของไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ ยังคงคุณภาพ และหากมองดีๆ ก็จะรู้สึกว่าไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากไฟล์ JPEG หรือ PNG เลยก็ว่าได้

ข้อดีและข้อเสียของ webp

เปรียบเทียบ WebP มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

ถึงแม้ว่าไฟล์ภาพ WebP เป็นไฟล์ภาพที่ช่วยให้การแสดงผลหน้าเว็บไซต์เร็วขึ้น ลดเวลาการอัปโหลดรูปภาพ แต่การแสดงไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ ในรูปแบบไฟล์ภาพ WebP ก็มีข้อดีและข้อเสียที่ควรรู้ ดังนี้

ข้อดีของ WebP

  • ไฟล์ WebP คือ ไฟล์ภาพที่มีขนาดเล็กกว่าไฟล์ภาพอื่นๆ จึงทำให้การแสดงไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ แสดงได้เร็วกว่าไฟล์ภาพ JPEG หรือ PNG
  • รองรับการแสดงไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ได้หลากหลายขึ้น เช่น ภาพพื้นหลังโปร่งใส (Transparent) หรือภาพเคลื่อนไหว (Animation) เป็นต้น 
  • สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องอัปโหลดรูปภาพเป็นจำนวนมาก เช่น บล็อกอาหาร ท่องเที่ยว หรือภาพถ่าย ไฟล์ WebP จะเพิ่มพื้นที่แบนด์วิดท์ (Bandwidth) ทำให้เว็บไซต์แสดงเนื้อหา และรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วมากขึ้น 
  • ความเร็วที่เพิ่มขึ้นจากการอัปโหลดไฟล์ภาพ จะช่วยปรับแต่งและเพิ่มโอกาส ทำให้หน้าเว็บไซต์ติดอันดับผลการค้นหามากขึ้น 
  • ไฟล์ WebP สามารถอัปโหลดลงหน้าเว็บไซต์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องบีบอัดไฟล์รูปภาพ ใช้งานได้กับเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ เช่น Google Chrome, Mozilla Firefox, Safari และ Microsoft Edge
  • สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งแสงได้เหมือนไฟล์ PNG
  • รองรับภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนไฟล์ GIF

ข้อเสียของ WebP

  • WebP คือ ไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้งานบนอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
  • กรณีไฟล์ภาพที่มีความละเอียดสูง การบีบอัดไฟล์ภาพ WebP อาจจะทำให้คุณภาพของไฟล์ภาพบนเว็บไซต์มีคุณภาพลดลง
  • บางโปรแกรม หรือบางเครื่องมือสำหรับการแก้ไขรูปภาพ ไม่สามารถเปิดไฟล์ WebP ได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินก่อนการใช้งาน

เปรียบเทียบ webp กับไฟล์ภาพอื่น

เปรียบเทียบ WebP กับไฟล์ภาพอื่น อะไรดีกว่ากัน

หลังจากรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของ WebP ไปแล้วว่าคืออะไร คราวนี้ก็มาถึงข้อเปรียบเทียบ WebP กับไฟล์ภาพอื่นๆ ที่อัปโหลดบนเว็บไซต์ ว่าอะไรดีกว่ากัน แต่ละไฟล์เหมาะกับงานประเภทไหน ไปดูกัน

WebP VS PNG

PNG ย่อมาจาก Portable Network Graphics ไฟล์ภาพถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 1995 เป็นไฟล์รูปภาพที่นิยมใช้สำหรับการออกแบบเว็บไซต์ หรือการทำกราฟิกต่างๆ ทำให้มีประโยชน์สำหรับการทำกราฟิกอย่างมาก เพราะสามารถเลือกทำพื้นหลังรูปภาพ เป็นโปร่งใส โปร่งแสง (Transparent) หรืออาจทำพื้นหลังโปร่งใส โปร่งแสง แค่บางส่วนได้อีกด้วย และงานต่างๆ ที่เหมาะกับการบันทึกด้วยไฟล์ PNG เช่น กราฟิกบนเว็บ งานข้อความ ออกแบบแบรนด์ หรือโลโก้และภาพถ่ายคุณภาพสูง ซึ่งจะให้การแสดงไฟล์รูปภาพบนเว็บไซต์มีความคมชัดอย่างชัดเจน ข้อดี คือ เป็นไฟล์ภาพที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีการบีบอัดข้อมูล Lossless (ไม่มีการสูญเสียคุณภาพ) แต่ก็มีข้อเสีย คือ ไฟล์ที่บันทึกจะมีขนาดใหญ่กว่า และไม่รองรับไฟล์ภาพเคลื่อนไหวนั่นเอง

ข้อได้เปรียบของ WebP ที่มากกว่า PNG

  • ถึงแม้ว่า WebP และ PNG มีคุณภาพของภาพที่เท่ากัน แต่ WebP ก็มีขนาดไฟล์เล็กกว่า PNG ถึง 23%
  •  WebP รองรับไฟล์ภาพแบบเคลื่อนไหว แต่ PNG ไม่สามารถรองรับไฟล์ภาพเคลื่อนไหวได้

WebP VS JPEG

JPEG ย่อมาจาก Joint Photographic Experts Group ไฟล์ JPEG ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1992 เป็นไฟล์รูปภาพแบบมาตรฐาน ที่นิยมใช้กันอย่างมากเช่นเดียวกัน มีการบีบอัดรูปภาพแบบ Lossy (การสูญเสียคุณภาพ) แต่ก็บีบอัดไฟล์ภาพ โดยเสียความละเอียดของภาพให้น้อยมากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าไฟล์ JPEG นิยมใช้สำหรับรูปถ่าย ทำให้ไฟล์ JPEG มักเป็นไฟล์ที่อยู่ในกล้องดิจิตอล หรือสมาร์ทโฟน รวมถึงการบันทึกไฟล์รูปภาพจากหน้าเว็บไซต์ ก็จะบันทึกไฟล์เป็น JPEG ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อดีของการอัปโหลดไฟล์ภาพ JPEG บนเว็บไซต์ คือ เป็นไฟล์ที่สามารถอัปโหลดได้ทุกหน้าเว็บไซต์ แต่ข้อเสียคือ คุณภาพของไฟล์ภาพที่อัปโหลดบนเว็บไซต์อาจลดลง สูญเสียความคมชัดบางส่วน และไม่รองรับไฟล์ภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกับ PNG นั่นเอง

ข้อได้เปรียบของ WebP ที่มากกว่า JPEG

  • WebP และ JPEG มีคุณภาพของภาพที่เท่ากัน แต่ WebP มีขนาดไฟล์เล็กกว่า JPEG ประมาณ 25-35%
  • ข้อได้เปรียบของ WebP คือ รองรับไฟล์ภาพแบบเคลื่อนไหว จึงเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าไฟล์ภาพแบบ JPEG และ PNG

WebP VS AVIF

AVIF ย่อมาจาก AV1 Image File Format คือ ไฟล์รูปภาพรูปแบบใหม่ ถูกพัฒนาโดย Alliance for Open Media และเผยแพร่ในปี 2019 เป็นไฟล์ภาพที่ถูกบีบอัดทั้ง Lossy (การสูญเสียคุณภาพ) และ Lossless (ไม่มีการสูญเสียคุณภาพ) มีการบีบอัดที่คุณภาพสูง เป็นไฟล์ภาพที่สามารถบันทึกภาพได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ข้อดีของ AVIF คือ ลดการใช้พื้นที่สำหรับอัปโหลดไฟล์ภาพลงบนเว็บไซต์ ได้เหมือน WebP และบีบอัดไฟล์ขั้นสูง เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็กลง 50% แต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ ยังไม่มีโปรแกรมรองรับการบีบอัดไฟล์นี้มากเท่าที่ควร

ข้อได้เปรียบของ WebP มากกว่า AVIF

  • จุดเด่นของ WebP คือ รองรับการใช้งานทุกเบราว์เซอร์
  • WebP รองรับขนาดความละเอียดของภาพที่ใหญ่กว่า

ขั้นตอนการสร้างไฟล์ภาพ webp

ขั้นตอนการสร้างไฟล์ภาพ WebP มีอะไรบ้าง

มาถึงขั้นตอนการสร้างไฟล์ภาพ WebP ลงบนเว็บไซต์ หากต้องการสร้างไฟล์ภาพ สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมีสำหรับการสร้างไฟล์ WebP คือ โปรแกรม Adobe Photoshop เพื่อใช้สำหรับการทำงาน และส่วนสำคัญอีกอย่าง คือ การติดตั้งปลั๊กอินเสริมให้เรียบร้อย หากมีพร้อมแล้ว ก็ทำตามวิธีดังต่อไปนี้ได้เลย

  1. สร้างหรือแก้ไขภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
  2. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก File และเลือกคำสั่งบันทึกเป็น Save as
  3. ตั้งค่านามสกุลไฟล์ โดยเลือกเป็นนามสกุลไฟล์ WebP
  4. กด Save เพื่อบันทึกไฟล์งานได้เลย
  5. หากมีการติดตั้งปลั๊กอินเสริมไว้ในเครื่อง ระบบจะแสดงหน้าต่าง Plugin สามารถตั้งค่า Quality ของภาพที่ต้องการดาวน์โหลด หลังตั้งค่าเสร็จก็สามารถคลิก OK ภาพที่ได้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

แปลงไฟล์ภาพอื่นเป็นไฟล์ webp

แปลงไฟล์ WebP เป็นไฟล์อื่น ทำได้อย่างไรบ้าง

อย่างที่ได้บอกไว้ข้างต้นว่า WebP คือ ไฟล์ที่เหมาะสำหรับใช้งานบนออนไลน์เท่านั้น หากไม่มีอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถเปิดดูรูปภาพที่บันทึกไว้ได้ หากดาวน์โหลดไฟล์มาเก็บไว้ จำเป็นจะต้องแปลงเป็นไฟล์ในนามสกุลอื่นก่อน และสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการใช้โปรแกรมแปลงไฟล์ ดังนี้

  • Canva แพลตฟอร์มออกแบบกราฟิกยอดนิยม ใช้สำหรับการออกแบบ แก้ไข หรือตกแต่งภาพ ซึ่งนอกจากออกแบบแล้ว ในแพลตฟอร์มนี้ก็สามารถแปลงไฟล์ WebP ได้อีกด้วย แต่จะแปลงไฟล์ภาพให้เป็น JPEG, PNG และ PDF แค่เพียงเท่านั้น และไม่สามารถแปลงไฟล์ภาพกลับมาเป็น WebP ได้
  • Cloudconvert เว็บไซต์แปลงไฟล์ออนไลน์ ที่รองรับการแปลงไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร วิดีโอ เสียง และการแปลงไฟล์ภาพ มีข้อดี คือ แปลงไฟล์รูปภาพให้เป็นไฟล์ WebP ได้ และสามารถแปลงจากไฟล์ WebP ให้เป็นไฟล์ JPEG, PNG, และไฟล์ภาพเคลื่อนไหวอย่าง GIF ก็ได้เช่นกัน 
  • FreeConvert เว็บไซต์แปลงไฟล์ออนไลน์ที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถแปลงไฟล์พร้อมกันได้หลายไฟล์อีกด้วย รองรับการแปลงไฟล์ได้ครอบคลุม คล้ายกับเว็บไซต์ Cloudconvert แต่มีข้อจำกัด คือ รองรับขนาดไฟล์สูงสุดเพียง 1 GB ต่อ 1 ไฟล์เท่านั้น
  • IloveIMG เว็บไซต์สำหรับแปลงไฟล์ภาพ WebP ให้เป็นไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น ข้อดีคือทำได้สะดวก รวดเร็ว เนื่องจากสามารถแปลงไฟล์หลายรายการได้พร้อมกัน แต่ข้อเสียคือไม่มีตัวเลือกสำหรับการแปลงไฟล์รูปภาพให้กลายเป็นไฟล์ภาพ WebP
  • Convertio เว็บไซต์ยอดนิยมที่มีเครื่องมือรองรับการแปลงไฟล์ทุกประเภท สามารถเลือกแปลงไฟล์พร้อมกันได้หลายไฟล์ แต่มีข้อจำกัด คือ รองรับขนาดไฟล์สูงสุดเพียงแค่ 100 MB ต่อ 1 ไฟล์เท่านั้น ส่วนของการแปลงไฟล์ WebP ก็แปลงได้ทั้ง JPEG, PNG , GIF และไฟล์อื่นๆ ได้อย่างครอบคลุม และสามารถแปลงไฟล์รูปภาพให้เป็นไฟล์ WebP ได้อีกด้วย

สรุป

จะเห็นได้ว่า WebP คือไฟล์ภาพที่มีประโยชน์มากมายสำหรับสายคอนเทนต์และธุรกิจบนโลกออนไลน์ เพราะด้วยภาพที่คมชัด ขนาดไฟล์เล็ก แถมยังใช้ระยะเวลาโหลดไม่นาน ทำให้คนหันมาใช้ไฟล์ภาพ WebP กันมากยิ่งขึ้น เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ทั้งตัวผู้ทำเว็บเองและตัวผู้ใช้งาน

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ WebP

เมื่อรู้จักกับไฟล์รูปภาพแบบ WebP ว่าคืออะไรกันไปแล้ว บทความนี้ยังได้รวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับไฟล์ WebP พร้อมคำตอบมาไขข้อสงสัย จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. WebP ทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ไหม?

WebP สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ เช่นเดียวกับไฟล์ GIF ไฟล์ WebP สามารถรองรับการบีบอัดไฟล์ข้อมูล โดยไม่เสียข้อมูล และไม่เสียคุณภาพของข้อมูล อีกทั้ง WebP ก็รองรับเฉดสีได้มากกว่าไฟล์ GIF อีกด้วย จึงทำให้ WebP เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการแสดงไฟล์ภาพเคลื่อนไหวบนเว็บไซต์

2. WebP ส่งผลดีกับการทำ SEO ไหม?

ไฟล์ WebP ส่งผลดีต่อการทำ SEO มาก เพราะการใช้ไฟล์ WebP สำหรับการแสดงไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ จะทำให้หน้าเว็บไซต์ทำงานเร็วขึ้น รูปภาพโหลดเร็วขึ้นกว่าไฟล์รูปภาพปกติอย่างไฟล์ JPEG, PNG หรือ GIF ซึ่งการใช้ไฟล์ภาพแบบ WebP จะส่งผลให้การหาเว็บไซต์ของเราจะติดอยู่อันดับต้นๆ ในการค้นหา จึงทำให้ WebP เป็นไฟล์ที่นิยมใช้สำหรับการอัปโหลดไฟล์ภาพบนเว็บไซต์สำหรับการทำ SEO นั่นเอง

3. ทำไมไฟล์ WebP จึงขนาดเล็กกว่าไฟล์อื่น?

เมื่อไฟล์ WebP เล็กกว่าไฟล์อื่น จะทำให้การแสดงผลไฟล์ภาพบนเว็บไซต์เร็วขึ้น หน้าเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น ทำให้สะดวกต่อผู้เข้าใช้งาน ถึงแม้ว่าไฟล์ภาพ WebP จะเล็กกว่า JPEG ถึง 25-35% แต่เมื่อเทียบกันแล้ว ไฟล์ภาพ WebP ก็ยังมีคุณภาพสูง และมีความคมชัดที่ไม่ต่างกันมาก

4. ไฟล์ภาพแบบ WebP กับ PNG แบบไหนดีกว่ากัน?

ถึงแม้ว่า WebP จะมีขนาดไฟล์เล็กกว่า PNG ถึง 23% แต่ไฟล์ภาพแบบ WebP ก็ยังรองรับการแสดงผลไฟล์ภาพบนเว็บไซต์ คุณภาพเฉดสี และรองรับคุณภาพของภาพได้ดีไม่แพ้ไฟล์ภาพแบบ PNG เลย

5. WebP มีขนาดใหญ่สุดเท่าไร?

สำหรับขนาดใหญ่สุดของไฟล์ภาพแบบ WebP คือ ขนาด 16383 x 16383 px.

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง