Table of Contents

Categories

Recent Posts

WordPress

WordPress คืออะไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม

Table of Contents

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการพัฒนาของระบบเทคโนโลยี ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด รวดเร็ว และปัจจุบันจึงมีการใช้เว็บไซต์ในการโปรโมตสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เพราะฉะนั้น การจัดระบบเว็บไซต์ให้เป็นระบบระเบียบ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของสินค้าและบริการได้ 

แต่เมื่อพูดถึงการทำเว็บไซต์ ทุกคนต้องคิดว่าเป็นความยุ่งยาก และเป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น แต่ปัจจุบันที่มีการพัฒนาตัวช่วยในการสร้างเว็บไซต์ขึ้น เพื่อที่ผู้ประกอบการสามารถใช้ได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย บทความนี้จะพามาทำความรู้จักว่า WordPress คืออะไร มีรูปแบบอย่างไร พร้อมทั้งข้อดีว่าทำไมควรนำ WordPress มาใช้ทำเว็บไซต์

WordPress คืออะไร

ทำความรู้จัก WordPress คืออะไร?

WordPress คือ โปรแกรมในการทำเว็บไซต์อย่างง่าย ที่ออกแบบมาเพื่อให้กลุ่มคนทั่วไปได้มีโอกาสในการสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดในการสร้างให้ยุ่งยาก โดย WordPress เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้จัดการเนื้อหาประเภท Contents Management System (CMS) ที่สามารถแก้ไขบทความในเว็บไซต์ได้ เขียนด้วยภาษา PHP และเก็บข้อมูลด้วยระบบ MySQL

ส่วนประกอบหลักของ WordPress

ระบบของ WordPress จะมีส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้

  • WordPress Core ระบบซอฟต์แวร์หลักที่มีหน้าที่ในการจัดการเนื้อหาต่างๆ บนเว็บไซต์ ทั้งในส่วนของหน้าหลัก (Page) และหน้าบทความ (Post) ให้ง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
  • Theme ส่วนที่กำหนดรูปแบบของการแสดงผล ดีไซน์ และรูปแบบต่างๆ ที่จะแสดงผลบนหน้าจอในหน้าเว็บไซต์
  • Plug in เป็นตัวช่วยที่จะเพิ่มความสามารถให้กับ WordPress เช่น ระบบจัดการสินค้า เป็นต้น

WordPress ใช้ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง

WordPress ใช้ทำเว็บไซต์อะไรได้บ้าง?

WordPress สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ทุกประเภท เนื่องจากมีฟังก์ชันที่สามารถเพิ่มความสามารถให้กับเว็บไซต์ได้ตามใจ แต่โดยส่วนใหญ่มีการสร้างเว็บไซต์ประเภทใดบ้าง มาดูกัน

Blog WordPress

WordPress  เริ่มต้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเขียนบล็อก ซึ่งสามารถเผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความคิดเห็น ข่าวสาร หรือเรื่องราวส่วนตัวได้

ร้านขายของออนไลน์ประเภท E-Commerce

ด้วยปลั๊กอินเสริมที่มีอยู่แล้ว สามารถแปลงเว็บไซต์ WordPress เป็นร้านค้าออนไลน์ที่มีระบบการชำระเงิน การจัดการสินค้า และความสามารถในการติดตามสถานะ การสั่งซื้อได้อีกด้วย

เว็บไซต์ประเภทธุรกิจ

สามารถสร้างเว็บไซต์ธุรกิจเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ข้อมูลติดต่อ และแสดงความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

เว็บไซต์สมาชิก

สามารถสร้างพอร์ทัลสำหรับสมาชิกได้ เช่น การเข้าถึงเนื้อหาพิเศษหรือการเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าถึง

เว็บไซต์ฟอรัม หรือเว็บไซต์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ธุรกิจสามารถใช้ WordPress ในการสร้างเว็บไซต์สังคมเล็กๆ เพื่อให้ผู้ใช้สร้างโพสต์ แชร์เนื้อหา และเชื่อมต่อกันได้

เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์

WordPress สามารถสร้างแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ได้ โดยการแชร์เนื้อหาการศึกษา หรือสร้างคอร์สออนไลน์

รูปแบบของ WordPress

รูปแบบของ WordPress

โดยทั่วไป WordPress สามารถแบ่งประเภทได้หลักๆ คือ wordpress.com กับ wordpress.org มาดูกันว่าทั้ง 2 ประเภท ต่างกันอย่างไร

WordPress.com

WordPress ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทดลองใช้งานที่อยากจะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เนื่องจากใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีข้อจำกัดในบางส่วน เช่น ไม่สามารถนำธีมและปลั๊กอินจากภายนอกเข้ามาใช้งานได้ และตั้งค่าให้ชื่อเว็บไซต์ได้เพียงลักษณะรูปแบบซัพโดเมน เป็นต้น

แต่ถ้าหากต้องการอัปเกรดให้เว็บมีความสามารถพรีเมียมมากขึ้น สามารถทำได้โดยการชำระเงินเป็นรายปี โดยจะมีให้เลือกลูกเล่นได้หลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น เปลี่ยนธีมได้ตามใจชอบ เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และสามารถจดชื่อโดเมนเป็นของตัวเองได้ เป็นต้น

WordPress.org

WordPress ประเภทนี้สามารถใช้งานได้ฟรี และสามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างอิสระโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งในส่วนของการจัดหน้าเว็บไซต์ การใช้ธีมและปลั๊กอิน หรือการสร้างระบบจัดการร้านค้า เป็นต้น

ทั้งนี้ จะมีค่าใช้จ่ายส่วนต่าง หากต้องการจดชื่อโดเมนเป็นของตัวเอง ต้องการสร้างเว็บไซต์แต่ไม่อยากสร้างเอง หรือต้องการเช่า Hosting สำหรับเก็บข้อมูลไว้บนอินเทอร์เน็ต โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ราคาจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องการ

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ WordPress

ขั้นตอนการสร้างเว็บไซต์ใน WordPress มีอะไรบ้าง?

การสร้างเว็บไซต์ใน WordPress นั้นเป็นขั้นตอนที่สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

1. เลือกโฮสต์และติดตั้ง WordPress

  • เลือกบริการโฮสติ้ง (Web Hosting) และทำการจ่ายค่าบริการ (หากจำเป็น)
  • ติดตั้ง WordPress ผ่านแผงควบคุมของโฮสต์หรือดาวน์โหลดและอัปโหลดไฟล์ติดตั้งของ WordPress ลงในโฮสต์

2. กำหนดค่าเว็บไซต์

  • เข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บไซต์ (Admin Dashboard) โดยใช้ข้อมูลที่ได้ตั้งค่าในขั้นตอนที่ 1
  • กำหนดชื่อเว็บไซต์และคำอธิบาย
  • เลือกธีม (Theme) ที่เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ หากต้องการใช้ธีมที่แต่งแต้มในอนาคต และสามารถเลือกธีมทั่วไปในขั้นตอนนี้

3. สร้างและจัดการเนื้อหา

  • เพิ่มเนื้อหาเริ่มต้น เช่น บทความ หน้าเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ เสียง และอื่น ๆ
  • สร้างเมนูนำทาง (Navigation Menu) เพื่อช่วยในการนำทางผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

4. ปรับแต่งเว็บไซต์

  • ปรับแต่งหน้าแรก (Homepage) หรือหน้าอื่นๆ ด้วยบล็อก (Blocks) หรือหน้าเลย์เอาท์ (Page Builders) ที่มีให้ในธีมหรือใช้ปลั๊กอินเสริม
  • ปรับแต่งธีมตามความต้องการ โดยสามารถปรับเปลี่ยนสี รูปแบบเลย์เอาท์ และอื่นๆ

5. เพิ่มปลั๊กอิน (Plugins)

  • ติดตั้งและกำหนดค่าปลั๊กอินเสริมเพื่อเพิ่มฟังก์ชันเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เช่น ปลั๊กอินสำหรับการติดต่อแบบฟอร์ม การจัดการ SEO ร้านค้าออนไลน์ และอื่นๆ

6. เพิ่มเนื้อหาเพิ่มเติม

  • สร้างหน้าเพจเพิ่มเติม เช่น เกี่ยวกับเรา บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือบทความเพิ่มเติม

7. ตรวจสอบและทดสอบ

  • ทดสอบเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบการทำงานและปรับปรุงตามความต้องการ
  • ตรวจสอบความเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์

8. เผยแพร่เว็บไซต์

เมื่อเว็บไซต์พร้อมจะเผยแพร่ สามารถประกาศให้ผู้เยี่ยมชมรู้จักกับเว็บไซต์ได้

9. บำรุงรักษาและปรับปรุง

ตรวจสอบเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ แก้ไขข้อผิดพลาด ปรับปรุงเนื้อหา และสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้

การสร้างเว็บไซต์ใน WordPress มีความยืดหยุ่นสูง และสามารถปรับแต่งและขยายความสามารถของเว็บไซต์ได้ตามความต้องการของธุรกิจและผู้ใช้งาน

ทำไมต้องเลือกใช้ WordPress

ทำไมต้อง WordPress?

WordPress มีคุณสมบัติมากมายหลายประการ การันตีได้จากการที่มีผู้ใช้งานกว่า 200 ล้านเว็บไซต์ แต่จะมีข้อดีอย่างไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง มาดูกันเลย

ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

การใช้ระบบ WordPress สร้างเว็บไซต์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือเรียนภาษาคอมพิวเตอร์เลย เนื่องจากสามารถสร้างได้ด้วย Page Builder ที่เพิ่มส่วนประกอบได้ต่างๆ เช่น หัวข้อ รูปภาพ ได้เลยในโปรแกรมสำเร็จ ทั้งนี้ สำหรับการเริ่มต้นใช้งานสามารถใช้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากอยากอัปเกรดลูกเล่นให้มีมากขึ้น ก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนต่าง

ดีไซน์หลากหลายให้เลือก

ระบบ WordPress มีความโดดเด่นในการสร้างทางเลือกในการเลือกรูปแบบแสดงหน้าจอได้มากมาย โดยเฉพาะการเลือกธีม ที่สามารถเลือกได้อย่างหลากหลาย เพื่อที่จะได้เลือกและปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับเว็บไซต์นั้นๆ

มีฟังชั่นให้เลือกได้สะดวก

ระบบ WordPress มีปลั๊กอินหรือโปรแกรมส่วนเสริม เช่น ระบบ E-Commerce และระบบ Booking ให้เลือกได้จากผู้สร้างปลั๊กอินทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถเลือกสร้างระบบความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ได้อีกด้วย

อัปเดตเนื้อหาได้สะดวกรวดเร็ว

ระบบ WordPress สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ จึงทำให้สามารถอัปเดตข้อมูล หรือแก้ไขข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ระบบยังสามารถกู้คืนข้อมูลที่เผลอลบไปได้อีกด้วย

ทำ SEO ด้วย WordPress

ระบบ WordPress มีฟังก์ชันสำหรับทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยเฉพาะ เพื่อสร้างเว็บไซต์ให้ติดอันดับแรกๆ ใน Google สร้างคุณค่าและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ให้มีมากยิ่งขึ้น จึงทำให้การสร้างเว็บไซต์บน WordPress มีโอกาสเติบโตจากยอดเข้าชมมากกว่าระบบอื่นๆ

พัฒนาได้อย่างไม่สิ้นสุด

ระบบ WordPress เป็นโอเพนซอร์ซซอฟต์แวร์ (Open-source Software) ที่ได้รับอนุญาตโดย GNU General Public License (GPL) ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานใดๆ กล่าวคือ มีการเปิดให้นำไปใช้งานและพัฒนาต่อได้อย่างอิสระตามจินตนาการอันไม่สิ้นสุดของแต่ละคน จึงทำให้เป็นระบบมีการพัฒนาอยู่เสมอ

ข้อจำกัดในการใช้ WordPress

ข้อจำกัดในการใช้ WordPress

นอกจากคุณสมบัติที่มีมากมายของ WordPress แล้ว ยังมีข้อจำกัดที่อาจทำให้เกิดการชะงักต่อการใช้งาน ดังนี้

  • เรื่องความปลอดภัย ที่เมื่อมีการลงปลั๊กอินฟรี อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีแฮ็กเข้าเว็บไซต์ได้ 
  • ฟังก์ชันมีให้เลือกมากเกินไป เมื่อตัวเลือกในการสร้างเว็บไซต์มีเยอะเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดความสับสนต่อการใช้งานได้ 
  • พื้นที่ใช้งานจำกัด หากต้องการให้เว็บไซต์มีลูกเล่นเยอะ และมีข้อมูลจำนวนมาก ทำให้เว็บไซต์มีขนาดใหญ่ WordPress อาจไม่เหมาะสมต่อการใช้งานมากนัก

สรุป

WordPress มี 2 รูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสม ทั้งรูปแบบ WordPress.com ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใช้งาน แม้จะมีการใช้งานได้ฟรี แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดหลายอย่างในการเลือกลูกเล่นให้กับเว็บไซต์ และอีกรูปแบบคือ WordPress.org ที่สามารถปรับแต่งหน้าเว็บได้ตามใจชอบ และมีฟังก์ชันระบบการจัดร้านให้เลือกได้อีกด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีระบบหลังบ้าน (Dashboard) ที่อำนวยความสะดวกให้จัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้สะดวกมากขึ้น และยังเป็นเครื่องมือสำหรับใช้สร้างเว็บไซต์ให้มีคุณภาพและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยมีฟังก์ชัน ดีไซน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ช่วยให้เว็บไซต์ที่สร้างมีคุณค่า และเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลตอบรับที่ดี

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ WordPress

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ WordPress (FAQ)

ต้นทุนทำเว็บไซต์บน WordPress เริ่มต้นที่ราคาเท่าไร?

ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์เริ่มต้นที่ประมาณ 5000 บาท ซึ่งยังไม่รวมค่า Domain และ Hosting แต่ราคาก็ขึ้นอยู่กับความต้องการอื่นๆ ที่ต้องการนำมาใส่ในเว็บไซต์

ไม่เคยเขียนเว็บมาก่อน จะเริ่มใช้ WordPress ยังไงดี?

จุดเริ่มต้นของการเขียนเว็บ โดย WordPress คือการเลือกบริการโฮสต์ หากยังไม่มีโฮสต์เว็บไซต์ จะต้องเลือกบริการโฮสต์ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ เน้นความเสถียรและความรวดเร็วของเซิร์ฟเวอร์ เมื่อได้โฮสต์ของเว็บไซต์แล้ว จะได้รับข้อมูลเข้าสู่ระบบ (login credentials) เพื่อเข้าสู่ระบบผู้ดูแลเว็บไซต์

ธีมใดใน ที่ปรับแต่งได้มากที่สุด

มีธีมใน WordPress ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับแต่งได้มากมาย เช่น Astra, Divi, OceanWP, Genesis, GeneratePress เป็นต้น ซึ่งธีมเหล่านี้มีรุ่นฟรีและรุ่นเสริมที่มาพร้อมคุณสมบัติเพิ่มเติม สามารถเลือกธีมที่เหมาะสมกับความต้องการและทักษะ เรียนรู้การใช้งานจากเอกสารและคอมิวนิตี้ และทดสอบการปรับแต่งเพื่อดูว่าธีมใดที่ทำงานได้ดีที่สุดสำหรับเว็บไซต์

หากเปลี่ยนธีม จะส่งผลกับเนื้อหาหรือไม่

การเปลี่ยนธีมใน WordPress อาจส่งผลต่อเนื้อหาและรูปแบบของเว็บไซต์ได้ หากตัดสินใจเปลี่ยนธีม ควรดำเนินการสำรองข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์ รวมถึงภาพ ไฟล์ เนื้อหา และฐานข้อมูล เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหาย

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง