สำหรับยุคดิจิทัลในปัจจุบันนี้ มีการใช้ข้อมูลต่างๆ เป็นจำนวนมากเพื่อขับเคลื่อนการทำการตลาด ถือเป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กรต่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะ First Party Data ที่มีความสำคัญสำหรับการทำธุรกิจและนักการตลาด เพราะการรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจะสามารถนำไปพัฒนา และปรับปรุงกลยุทธ์การตลาด บทความนี้จะพาไปดูว่า First Party Data คืออะไร มีองค์ประกอบ ข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง พร้อมความสำคัญของ First Party Data กับธุรกิจและการตลาดยุคดิจิทัลที่ควรรู้
ทำความรู้จัก First Party Data คืออะไร
First Party Data คือ ข้อมูลจากช่องทางต่างๆ ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ที่ทางองค์กรหรือบริษัทได้เก็บรวบรวมเอาไว้ อย่างเช่น ข้อมูลบนเว็บไซต์ขององค์กรหรือบริษัท การเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์หรือแบบสำรวจ ข้อมูลลูกค้าจากแอปพลิเคชัน ข้อมูลจากการบริการหลังการขาย และข้อมูลจากการเข้าระบบบัญชีของผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็น First Party Data ทั้งหมด เป็นข้อมูลที่เชื่อมโยงกับองค์กรหรือบริษัทโดยตรง ทำให้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพและแม่นยำ
องค์ประกอบสำคัญของ First Party Data
องค์ประกอบสำคัญของ First Party Data แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ข้อมูลพื้นฐาน
เป็นข้อมูลทั่วไป ที่ทางองค์กร หรือบริษัทสามารถเก็บรวบรวมได้จากผู้ใช้งาน ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่มีการลงทะเบียนบนเว็บไซต์หรือบนแอปพลิเคชัน เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อหรืออีเมล
ข้อมูลความชอบความสนใจ
เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากความสนใจ ความชอบหรือพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ลูกค้าสนใจสินค้าแบบไหนหรือสินค้าประเภทใด และลูกค้านั้นมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร ดังนั้น ข้อมูลทั่วไปที่ทางองค์กรหรือบริษัทสามารถเก็บรวบรวมได้แล้ว ข้อมูลประเภทนี้ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่เก็บรวบรวมแล้วสามารถนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดได้
ความสำคัญของ First Party Data กับการตลาดยุคดิจิทัล
แน่นอนว่าในยุคดิจิทัลนี้ การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลต่างๆ นั้นมีความสำคัญที่จะช่วยให้การทำธุรกิจเติบโต สามารถปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้ดีขึ้นได้ ซึ่ง First Party Data มีความสำคัญต่อธุรกิจและการตลาด ดังนี้
ได้รับข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจากลูกค้าโดยตรง
การได้รับข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจากลูกค้าโดยตรง เป็น First Party Data ที่ได้รับจากกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานโดยทางองค์กรหรือบริษัทเก็บรวบรวมเองโดยตรง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้า เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ทางองค์กรหรือบริษัทเป็นผู้เก็บรวบรวมเอง ทำให้ข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ
เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แม่นยำ ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานโดยตรง จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และสามารถตอบโจทย์แบรนด์ได้ เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยวิเคราะห์ถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งาน เพื่อนำไปปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้ดี มีประสิทธิภาพ จนสามารถโน้มน้าวใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าอีกครั้งได้
เพิ่มความได้เปรียบทางการตลาด จากการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ
ข้อมูลรูปประเภท First Party Data ไม่เพียงแต่จะช่วยวิเคราะห์ถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยให้สินค้า และบริการโดดเด่นเพิ่มขึ้น เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด อีกทั้งยังสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและบริการอีกด้วย โดยทางองค์กรหรือบริษัทต้องวิเคราะห์ เปรียบเทียบสินค้าและบริการทางการตลาด ซึ่งอะไรที่เป็นจุดแข็งของทางองค์กร ก็ให้พัฒนาจุดนั้นให้โดนเด่นก้าวหน้าขึ้นไป ส่วนอะไรที่เป็นจุดอ่อนก็จะได้เรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น
ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ กับลูกค้าได้ดีมากขึ้น
การนำ First Data Party มาทำการตลาดแบบ Personalization จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้าให้ดีมากขึ้น เมื่อเราได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความชอบ ความสนใจ ความต้องการของลูกค้า ก็ถือเป็นการดูแล เอาใจใส่ลูกค้า สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้ด้วย
ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดในอนาคตได้
การที่องค์กรหรือบริษัทมีการเก็บรวบรวม First Data Party เองโดยตรง ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดการทำธุรกิจในอนาคตได้ด้วยฐานข้อมูลเหล่านั้นที่ได้เก็บรวบรวมไว้
ช่องทางการเก็บข้อมูล First Party Data
สำหรับเก็บข้อมูล First Party Data สามารถเก็บข้อมูลได้ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
เก็บข้อมูลโดยตรงจากกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้า
เก็บข้อมูลโดยตรงจากกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า เป็นวิธีทีที่หลายๆ องค์กรหรือบริษัทต่างนิยมกันเป็นอย่างมาก โดยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าผ่านการใช้งาน Cookies บนเว็บไซต์ หรือผ่านการสมัครสมาชิกบนแอปพลิเคชัน
ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลประเภทส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน เช่น รหัสผ่าน ชื่อผู้ใช้งาน และรวมถึงการกรอกข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิประโยชน์หรือการกรอกข้อมูลเพื่อทดลองใช้บริการอีกด้วย เมื่อได้ข้อมูลโดยตรงจากกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้าแล้ว จะทำให้องค์กรหรือบริษัทเข้าใจถึงความชอบ ความต้องการประเภทสินค้าของลูกค้าได้
เก็บข้อมูลผ่านระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
การเก็บข้อมูลผ่านระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) จะช่วยทำให้ทางองค์กรหรือบริษัทเห็นพฤติกรรมการซื้อและการใช้จ่ายของลูกค้า โดยการเก็บข้อมูล First Party Data ผ่านการสะสมแต้ม การสมัครสมาชิก ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับการเก็บข้อมูลที่เห็นได้โดยทั่วไป หรืออาจจะเป็นการเก็บข้อมูลผ่านระบบขายหน้าร้านหรือระบบ Point of Sale System รวมถึงการเก็บข้อมูลการบริการหลังการขายผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบบสำรวจหรือทาง Chat Inbox ก็ถือเป็นการเก็บข้อมูลผ่านระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ด้วยเช่นกัน
วิธีวางแผนเพื่อเก็บข้อมูล First Party Data
วิธีวางแผนเพื่อเก็บข้อมูล First Party Data เพื่อนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาด มีดังนี้
กำหนดเป้าหมายในการใช้งาน First Party Data ของธุรกิจ
การกำหนดเป้าหมายในการใช้งาน First Party Data ของธุรกิจ เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการในการใช้ข้อมูล จากนั้นทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า โดยให้คำนึงความเพียงพอและความครบถ้วนของข้อมูลเหล่านั้น เพื่อให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถ้าหากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าน้อยเกินไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเก็บรวบรวมเพิ่มเติม เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งการเก็บข้อมูลนี้จะต้องให้เป็นไปตาม PDPA คือ การขออนุญาตในการใช้งานข้อมูลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
รวบรวมข้อมูล First Party Data เข้าด้วยกัน
หลังจากที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทุกช่องทางแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ ทางโทรศัพท์มือถือ หรือช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ต่างๆ และข้อมูลเหล่านั้นมีความครบถ้วนและเพียงต่อการวิเคราะห์แล้ว ให้รวบรวมข้อมูล First Party Data เข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นถึงพฤติกรรมทั้งก่อนและหลังการเลือกซื้อสินค้าหรือการเลือกใช้บริการของลูกค้า
วิเคราะห์ข้อมูล First Party Data เพื่อนำไปใช้งาน
การวิเคราะห์ข้อมูล First Party Data เพื่อนำไปใช้งานนั้น ให้นำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาทำการแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น ความต้องการ ความชอบ ความสนใจหรือพฤติกรรม ข้อมูลส่วนตัว (เพศ ที่อยู่ ช่วงอายุ) โดยข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกถึงความแตกต่าง และภาพของกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจน หลังจากนั้นให้ทำการวิเคราะห์แบบเฉพาะเจาะจง (Personalized) ทุกกลุ่มที่ได้มีการวิเคราะห์และแบ่งเป็นกลุ่มไว้
ใช้งานข้อมูล First Party Data และหาผลลัพธ์
สำหรับวิธีวางแผนเพื่อเก็บข้อมูล First Party Data ข้อสุดท้าย คือการนำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาทำการแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์แล้ว ให้นำไปใช้งานกับกลยุทธ์การตลาด และเชื่อมโยงกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ให้เหมาะสม ต่อจากนั้นให้ทางองค์กรหรือบริษัทวัดค่าของผลลัพธ์จากการนำไปใช้งานจริง เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุง พัฒนาและต่อยอดทางธุรกิจหรือนำมาแก้ไขในครั้งต่อไปสำหรับการเก็บรวบรวม First Party Data
ข้อดีและข้อจำกัดของการใช้ First Party Data
การเก็บรวบรวม First Party Data เพื่อขับเคลื่อนในการทำการตลาดนั้น มีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
ข้อดีของ First Party Data
- ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ทราบถึงการเข้าชมเว็บไซต์ พฤติกรรมการซื้อและการใช้บริการ ความประทับใจหรือความชื่นชอบของกลุ่มเป้าหมายได้
- ทำให้นักการตลาดหรือนักธุรกิจและองค์กรต่างๆ เข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นใคร
- ทางองค์กรหรือบริษัทสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ลูกค้าของแบรนด์ เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึก ความนิยมของกลุ่มเป้าหมายได้
- ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้นั้น สามารถนำไปสร้างกิจกรรม ส่งเสริมการซื้อสินค้าและการใช้บริการในครั้งต่อไปได้
- สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ วางแผนในการทำการตลาดหรือการทำธุรกิจแบบเฉพาะเจาะจงของกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายในทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการตอบโจทย์ที่ดีที่สุด
ข้อจำกัดของ First Party Data
- ข้อมูลที่เห็นรวบรวมมาได้นั้นอาจจะไม่ครอบคลุม ไม่แม่นยำ หรือถูกต้องแบบ 100%
- ข้อมูลเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามเทรนด์ ตามกระแส ตามความนิยม ซึ่งต้องคอยติดตามข่าวหรือโซเชียลต่างๆ เพื่ออัปเดตข้อมูลให้ทันอยู่เสมอ
- เป็นข้อมูลที่ทางองค์กรหรือบริษัทเก็บรวบรวมเอง จึงมีข้อจำกัดทางด้านปริมาณ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการสะสมและจัดเก็บ
- ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายบางส่วน มีความกังวลในการให้ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่เพียงพอได้
สรุป
First Party Data คือ ข้อมูลจากช่องทางต่างๆ ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ที่ทางองค์กรหรือบริษัทได้เก็บรวบรวมเอาไว้ มีความสำคัญสำหรับการทำธุรกิจและนักการตลาด เพราะการรวบรวมข้อมูลจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจะสามารถนำไปพัฒนา และปรับปรุงกลยุทธ์การทำการตลาดในยุคดิจิทัลได้ ซึ่งข้อมูลรูปประเภท First Party Data ไม่เพียงแต่จะช่วยวิเคราะห์ถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยให้สินค้าและบริการมีความโดดเด่นเพิ่มขึ้น เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและบริการ
อีกทั้งยังสามารถนำผลลัพธ์จากการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการนำไปใช้งานมาปรับปรุง พัฒนาและต่อยอดทางธุรกิจและการตลาดหรือนำมาแก้ไขในครั้งต่อไปสำหรับการเก็บรวบรวม First Party Data เพื่อความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนของธุรกิจ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ First Party Data (Q&A)
สำหรับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ First Party Data มาหาคำตอบกันได้ในส่วนนี้เลย
First Party Data สำคัญอย่างไรกับการทำการตลาดยุคดิจิทัล
First Party Data เป็นข้อมูลจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายโดยตรง สามารถเชื่อถือได้ มีส่วนช่วยให้องค์กรหรือบริษัทสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การสร้างความโดดเด่นให้สินค้าและบริการ หรือพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด
ความแตกต่างของ First Party Data, Second Party Data, และ Third Party Data
First Party Data เป็นข้อมูลที่ทางองค์กรหรือบริษัทเป็นผู้รวบรวมจากช่องทางต่างๆ โดยตรง ส่วน Second Party Data เป็น First Party Data ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนจากผู้อื่น ซึ่งอาจจะทำข้อตกลงการซื้อขายหรือข้อตกลงอย่างอื่น และ Third Party Data เป็นข้อมูลที่ได้มาจากภายนอก เช่น บริษัทหรือองค์กรอื่นๆ และมีการซื้อขายข้อมูลกันเพื่อนำไปพัฒนา ปรับใช้และต่อยอดทางการตลาดและธุรกิจ
First Party Data เหมาะกับการใช้ในธุรกิจใดบ้าง
First Party Data เหมาะกับการใช้ในธุรกิจได้ทุกประเภท เพราะ First Party Data สามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือการใช้บริการ ความชื่นชอบ ความต้องการหรือความประทับใจของลูกค้า เพื่อเป็นการปรับปรุง และต่อยอดสำหรับการทำธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางการตลาดได้ดี