Table of Contents

Categories

Recent Posts

วิธีสร้าง brand awearness

คนทำธุรกิจต้องรู้ สร้าง Brand Awareness ยังไงให้ลูกค้าจำคุณได้

Table of Contents

ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ แต่ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ และนี่เป็นเรื่องจริง สิ่งหนึ่งที่ทำให้สองนักธุรกิจมีเส้นทางในการเติบโตที่แตกต่างกันได้อย่างสุดขั้วคือ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักหรือ Brand Awareness ซึ่งในบทความ นี้จะพาทุกคนที่กำลังอยากเป็นนักธุรกิจ หรือเป็นเจ้าของกิจการไปแล้ว ทำความรู้จักกันแบบเจาะลึกกับ Brand Awareness ว่าคืออะไร? และทำไมถึงสำคัญมากในการนำ Brand Awareness มาเป็น กลยุทธ์ ในการพัฒนา และต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสำเร็จมากที่สุด

Brand Awareness คืออะไร? อยากให้แบรนด์เป็นที่จดจำได้ต้องรู้

Brand Awareness คือการสร้างชื่อเสียงให้กับธุรกิจ หรือแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วกัน โดยทันทีที่ลูกค้าเห็นโลโก้, คู่สี, ตัวอักษร หรือทันทีที่นึกถึงสินค้าประเภทหนึ่งขึ้นมา จะต้องนึกถึงแบรนด์นี้เท่านั้น หากธุรกิจใดสามารถขึ้นมาเป็น Top-of-Mind หรือการขึ้นมาเป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภคได้ มีโอกาสสูงมากทีเดียวที่แบรนด์จะปิดการขายจากลูกค้ากลุ่มนี้ได้โดยไม่ยากนัก เพราะลูกค้ามักจะเลือกซื้อ และใช้บริการจากแบรนด์ที่มีความคุ้นเคยมากที่สุดก่อนเสมอ

จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลายแบรนด์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ถึงได้ต้องการสร้าง Brand Awareness ผ่านกลยุทธ์ต่างๆ และยอมเสียเงินหลายล้าน เพื่อสร้างการจดจำของแบรนด์ให้ได้มากที่สุด แต่เทคนิคง่ายๆ ที่ทุกแบรนด์อยากสร้าง Brand Awareness ควรคำนึงถึง คือ 2 องค์ประกอบนี้

การกำหนด Brand Identity

Brand Identity

Brand Identity คืออัตลักษณ์และตัวตนของแบรนด์ ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจว่าสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์คือชื่อแบรนด์และโลโก้เพียงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะสี ตัวอักษร เนื้อหาที่นำเสนอ รูปร่าง รูปแบบของสินค้า การบริการ และอื่นๆ อีกมาก เรียกได้ว่าแทบจะทั้งหมดของความเป็นแบรนด์ ล้วนเล่าเรื่องและบ่งบอกความเป็นเนื้อแท้ของแบรนด์ออกมาให้ลูกค้าเกิด Brand Awareness นั่นแปลว่าทุกสิ่งที่แบรนด์ทำเป็นมากกว่าการขายสินค้า หรือบริการ แต่กำลังขายประสบการณ์ที่ผู้ใช้บริการจะจดจำแบรนด์ไปในตัวด้วย

ตัวอย่าง Starbucks

การใช้โลโก้และสีเขียวของแบรนด์ พร้อมกับคุมโทนสีแนวธรรมชาติในการสื่อสารคอนเทนต์ บรรจุภัณฑ์ บัตรสมาชิก และอื่นๆ เพื่อให้ลูกค้าสัมผัสได้ว่าแบรนด์ไม่ได้ขายเพียงแค่กาแฟ แต่ยังร่วมช่วย และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลก ในการแสดงออก และรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นกิจกรรมของแบรนด์จะถูกล้อไปกับภาพจำ และความรู้สึกร่วมกับลูกค้า เพื่อให้เกิด Brand Awareness นี่เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ดูเหมือนง่าย แต่กว่า Starbucks จะได้ใจลูกค้า และกลายเป็นร้านกาแฟชื่อดังที่คุ้นเคยกับผู้คนในตอนนี้ก็ใช้ระยะเวลานานเช่นเดียวกัน

Brand Associate

Brand Associate คือการจดจำ และนึกถึงแบรนด์ได้ภายในใจจากสิ่งเร้าบางอย่าง หรือการเชื่อมโยงบางสิ่งเข้าหาแบรนด์ได้ในทันที ซึ่งหากอธิบายให้ง่ายขึ้นคือ การพบเห็นสินค้าประเภทรองเท้ากีฬา จะต้องนึกถึงแบรนด์ A ทันที หรือเวลาเจอกิจกรรมรณรงค์เรื่องการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ต้องนึกถึงแบรนด์ B เป็นต้น

ซึ่งการเชื่อมโยงประสบการณ์ของแบรนด์กับลูกค้านี้มีหลากหลายวิธีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับคุณสมบัติของสินค้า, ประโยชน์ที่ได้รับจากแบรนด์, ทัศนคติของพรีเซ็นเตอร์ และความสนใจที่ทางแบรนด์โฟกัส หากแบรนด์สามารถหาจุดร่วมได้ และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ก็จะถือว่าเป็นขั้นบันไดในการเสริมกลยุทธ์สร้าง Brand Awareness เช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง IKEA

เมื่อผู้คนนึกถึงเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาประหยัด และมีโปรโมชันในการลดราคาสินค้าอยู่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี IKEA จะต้องเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เข้ามาในความคิดของหลายคนแน่นอน นี่เป็นตัวอย่างการแบรนด์ที่เชื่อมโยงลูกค้าไว้กับคุณสมบัติของแบรนด์

ต่อให้จะมีคู่แข่งที่พยายามขายเฟอร์นิเจอร์ในราคาประหยัด และจัดกิจกรรมลดแลกแจกแถมกันอย่างยิ่งใหญ่ แต่ถ้าทำสื่อในการโฆษณาออกมาไม่ดีเท่าที่ควร มีโอกาสที่ลูกค้าอาจจะเข้าใจผิด และเป็นการโปรโมตแบรนด์คู่แข่งได้ในทางอ้อม

ประเภทของ brand awearness ในการทำ seo

ประเภทของการรับรู้ Brand Awareness

หากเจาะลงรายละเอียดของการสร้าง Brand Awareness จะพบว่าจริงๆ แล้วยังมีเรื่องของระดับความเข้มข้นในการรับรู้แบรนด์แบ่งออกอีก 4 ประเภท ดังนี้

Brand Recall

Brand Recall คือการรับรู้ของแบรนด์ได้โดยผ่านหมวดหมู่ของสินค้า นี่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และแข็งแรง เพราะโดยปกติแล้วลูกค้าจะนึกถึงหมวดหมู่ที่ต้องการ และตามมาด้วยชื่อของแบรนด์ประมาณ 3-7 ชื่อโดยอัตโนมัติ ความสามารถในการเชื่อมโยงการรับรู้ของแบรนด์ และลูกค้าในระดับนี้ มักเกิดมาจากการใช้งานจริงของลูกค้า, ความภักดีในแบรนด์ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์

ตัวอย่าง Salz

เมื่อมีลูกค้าต้องการซื้อยาสีฟันสูตรเกลือ คาดว่าหลายคนจะต้องมีแบรนด์ Salz โผล่เข้ามาในความคิดไม่มากก็น้อย เพราะด้วยโฆษณาในลักษณะการตอกย้ำในฐานะของยาสีฟันสูตรเกลือที่ดีที่สุด ผ่านโฆษณาที่เข้าใจง่าย, อารมณ์ขัน และที่สำคัญคือความแปลกใหม่ ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกคุ้นเคยกับแบรนด์ไปโดยปริยาย

Brand Recognition

Brand Recognition คือการจดจำแบรนด์ที่มีความเหนือชั้นมากกว่าเดิม ลูกค้าจะสามารถจดจำแบรนด์ได้ทันที เมื่อมีการพูดถึงหมวดหมู่นั้นๆ หรือในทางกลับกันเมื่อลูกค้าเห็นสินค้าจะต้องนึกถึงหมวดหมู่ และประเภทสินค้าให้ได้ด้วย หรือในอีกทางคือเมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ลูกค้านึกถึงหรือเกิดความเชื่อมโยงสิ่งกระตุ้นนั้นกับแบรนด์ แล้วทำให้เกิดการจำได้ จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ในสายตาลูกค้านั้น สามารถแยกแยะสินค้าออกจากแบรนด์อื่นได้ จากการศึกษาพบว่าแบรนด์ที่ทำให้ลูกค้าจดจำได้มากกว่า มีโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า

ตัวอย่าง Lactasoy

คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักกับสโลแกนของนมถั่วเหลืองคุณภาพสูงแบรนด์นี้ Lactasoy ด้วยสโลแกนที่ติดหูมากๆ อย่าง แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร ซึ่งเป็นการสร้างการจดจำผ่านเพลงโฆษณา และสร้างลูปวนซ้ำไปมา ทำให้ลูกค้าจดจำทั้งราคา และปริมาณของนมกล่องแบรนด์นี้ได้อย่างแม่นยำ

Top-of-mind Awareness

Top -of-mind Awareness คือการผลักดันการจดจำแบรนด์เพื่อขึ้นเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้า ความน่าสนใจของความเข้มข้นในการจดจำแบรนด์ระดับนี้คือ ความยากในการแข่งขัน เพราะหากพูดถึงหมวดสินค้าประเภทหนึ่งขึ้นมา แบรนด์มากมายเข้ามาในความคิดของลูกค้า แต่มีแค่แบรนด์เดียวที่จะเป็นที่หนึ่งในใจของผู้ซื้อ

หากแบรนด์สามารถที่จะผลักดันตัวเองให้มาถึงจุด Top-of-mind Awareness ได้ มีโอกาสสูงมากที่ผู้ซื้อจะเลือกใช้บริการ หรือซื้อสินค้าจากแบรนด์ เพราะการขึ้นเป็นที่หนึ่งได้ในความคิดของลูกค้า เท่ากับต้องผ่านการด้านคุณสมบัติ ราคา และอื่นๆ มาแล้วเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง น้ำดื่มยันฮี

มีหลายคนที่ชื่นชอบการดื่มน้ำแร่วิตามิน และแน่นอนว่าตลาดน้ำแร่ผสมวิตามินในปัจจุบัน มีอัตราการแข่งขันทางด้านการตลาดสูงมาก แต่เมื่อลูกค้าต้องการซื้อน้ำแร่ ตัวเลือกแรกๆ ของหลายคนกลับเป็น น้ำดื่มยันฮี เนื่องจากเป็นแบรนด์จากโรงพยาบาลที่คุ้นเคย และบ้างเคยมีประสบการณ์ร่วม พร้อมกับราคาที่ยังเข้าถึงได้ ทำให้การมาของน้ำแร่วิตามินของบันฮีได้เปรียบมากกว่าน้ำแร่ผสมวิตามินแบรนด์อื่น

Brand Dominance

Brand Dominance คือการยึดครองหมวดหมู่ของสินค้า หากมีลูกค้านึกถึงประเภทของสินค้าหนึ่งขึ้นมาได้ และแบรนด์ได้กลายเป็นภาพจำของหมวดหมู่นั้นได้ จัดได้ว่าเป็นความสำเร็จที่อยู่ในฝันของนักธุรกิจทุกคน

ตัวอย่าง Coca Cola

หากพูดถึงแบรนด์น้ำอัดลม ตลาดนี้มีอัตราการแข่งขันกันที่ดุเดือดมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความน่าสนใจคือ เมื่อทุกคนในตลาดต้องการซื้อน้ำอัดลม มักจะมีปรากฏการณ์ที่ดึงดูดให้เหล่านักการตลาดต้องตื่นเต้น เมื่อลูกค้าจำนวนมากพูดว่า “ต้องการโค้ก (โคคา โคล่า) 1 กระป๋อง” แทนที่จะพูดว่า “ต้องการน้ำอัดลม 1 กระป๋อง”

Brand Awareness สำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง?

หากมองในมุมของนักธุรกิจ การสร้าง Brand Awareness เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากลยุทธ์ในการสร้างรายได้ หรือการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเลย เพราะยิ่งลูกค้ารับรู้แบรนด์ได้ดีมากขึ้น รู้สึกคุ้นเคยก็ยิ่งมีโอกาสในการเลือกสินค้าจากแบรนด์มากขึ้นไปตามๆ กัน

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จัก และเป็นที่จดจำของลูกค้าได้แล้ว ความไว้ใจในการเข้าใช้บริการ หรือการเปิดใจยอมรับจะถูกทวีคูณเพิ่มขึ้น ทำให้แบรนด์มีโอกาสในการเติบโตที่หลากหลายไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประเภทสินค้า การเพิ่มราคาสินค้า หรือแม้แต่การเพิ่มมูลค่าของแบรนด์เองก็ด้วย

สุดท้ายเมื่อธุรกิจมี Brand Awareness ที่กว้างขวางมากพอ โอกาสที่สินค้าของแบรนด์จะเข้ายึดพื้นที่ทางการตลาดที่มีอยู่อย่างจำกัด และกลายเป็นภาพจำของสินค้าในหมวดนั้นๆ ได้ก็ไม่เกินจริง เมื่อสินค้าขึ้นเป็น Brand Dominance ก็แปลว่า โอกาสในการเข้าถึง และถูกเลือกก็มีมากกว่าสินค้า หรือบริการจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

วิธีการสร้าง brand awearness ให้ได้ผลตอบรับที่ดี

สร้าง Brand Awareness ให้ได้ผลดี ทำยังไงได้บ้าง

คาดว่านักธุรกิจหลายคนจะเห็นข้อดี และอยากสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจ หรือแบรนด์ของตัวเองกันขึ้นมาบ้างแล้ว แต่จะเริ่มยังไง ด้วยวิธีไหน จริงๆ แล้วการสร้าง Brand Awareness มีขั้นตอน และทำได้ง่ายๆ ดังนี้

วางแผนและกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

การริเริ่มทำสิ่งใดควรเริ่มจากการวางแผน เพื่อให้ผู้ทำธุรกิจเห็นภาพรวม พร้อมกำหนดทิศทางของแบรนด์ให้ชัดเจน และครอบคลุมเสียก่อน โดยวิธีแรกเริ่มคือการตั้งคำถามกับตัวเอง เพื่อทำให้แบรนด์มีรากฐานที่มั่นคง พร้อมสำหรับการสร้าง Brand Awareness

คำถามสำหรับผู้ทำธุรกิจ

  • เป้าหมายของแบรนด์คืออะไร?
  • ตั้งใจจะทำสินค้าอะไร? ประเภทไหน?
  • กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์คือใคร?
  • ให้บริการ หรือขายสินค้าผ่านช่องทางไหน?

หากว่าผู้ทำธุรกิจยังไม่รู้จักบริการ หรือสินค้าของตัวเองดีพอ การสื่อสารเพื่อสร้าง Brand Awareness ก็มีความเป็นไปได้ต่ำที่จะสำเร็จ เพราะด้วยรูปแบบในการสื่อสารที่คลุมเครือ เพราะฉะนั้นแล้วผู้เริ่มต้นทำธุรกิจควรเข้าใจ และเห็นภาพธุรกิจของตัวเองให้ได้มากที่สุด

รู้จักกลุ่มเป้าหมาย

สิ่งที่จะทำให้แบรนด์ได้เปรียบ และสามารถปิดการขายได้ดีที่สุดคือ การทำความเข้าใจ และรู้จักกับกลุ่มเป้าหมายในทุกมิติ หากแบรนด์เข้าใจตัวตนของตัวเองดีแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเจาะลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งถ้าได้เจอ Pain Point หรือปัญหาของลูกค้าที่ไม่ชอบ หรือใช้ชีวิตลำบาก และสินค้าของแบรนด์สามารถเข้าไปตอบโจทย์ได้ นี่จะเป็นโอกาสทางการตลาดที่ทุกแบรนด์ใฝ่ฝัน

เมื่อวิเคราะห์และเจอกับ Pain Point ที่แบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับปัญหา และเป็นทางออกที่ตอบโจทย์แล้ว ผลักดันให้เกิดคอนเทนต์แนว User-generated content หรือเนื้อหาผู้ใช้จริงรีวิวความประทับใจในการลองใช้สินค้าหรือบริการผ่านสื่อของตัวเอง

เพราะจะสังเกตได้ว่าการเลือกใช้บริการ หรือการซื้อสินค้าในปัจจุบัน ผู้ซื้อมักจะค้นหารีวิวเพื่อดูว่าสินค้าสามารถตอบโจทย์ Pain Point ของตัวเองได้หรือไม่ ก่อนทำการซื้อสินค้ามาใช้งาน การทำให้เกิดคอนเทนต์รีวิวบนโซเชียลได้จะถือว่าเป็นประโยชน์มากกว่าการทำการตลาดเสียอีก

นำเสนอจุดเด่นของแบรนด์ออกมา

สิ่งที่น่าสังเกตของกลุ่มผู้บริโภคในทุกวันนี้คือ ลูกค้าไม่ได้ใส่ใจเพียงแค่ราคา ความคุ้มค่า หรือคุณภาพของสินค้าเพียงเท่านั้น ลูกค้ายังมีความสนใจ และอยากเห็นจุดยืนของแบรนด์ (Brand Value) อีกด้วย ซึ่งการแสดงจุดยืนของแบรนด์นั้น สามารถแสดงออกผ่านเชิงการตลาดได้ทั้งผ่านสื่อหลักของแบรนด์ และการปรับวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อล้อไปกับวิสัยทัศน์ของแบรนด์ได้อีกด้วย นี่จะเป็นการสร้างจุดยืนของแบรนด์ที่ชัดเจนและระยะยาว

 เมื่อลูกค้าเข้าถึงจุดยืนของแบรนด์ จะทำให้รู้สึกร่วมกับแบรนด์ ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะสนับสนุน ทันทีที่ได้มีประสบการณ์ร่วมกัน และเกิดความรู้สึกดีทั้งจากสินค้างานบริการที่ได้รับ อีกทั้งรู้สึกทำประโยชน์ผ่านจุดยืนของแบรนด์ จะทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้เกิด Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งนี่จะเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ และสร้างรากฐานของลูกค้าที่ซื่อสัตย์ต่อแบรนด์ได้ในที่สุด

เครื่องมือในการสร้าง Brand Awareness

เครื่องมือการสร้าง Brand Awareness ที่กำลังมาแรงในประเทศไทย

ความสะดวกสบายของนักการตลาดในทุกวันนี้คือ มีเครื่องมือการตลาดหลากหลาย และแน่นอนว่ามีเครื่องมือสำหรับการสร้าง Brand Awareness เพื่อปรับใช้กับกลยุทธ์ทางด้านการสื่อสาร และสร้างการจดจำ ในเนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการมัดรวมทุกอุปกรณ์ เครื่องมือที่ช่วยในการเสริมการรับรู้ของแบรนด์ต่อผู้บริโภค จะมีอะไรบ้างไปติดตามกันต่อได้เลย

Facebook

จุดเด่นของ Facebook

  • การสร้างชุมชนคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน จากฟังก์ชัน Group ทำให้แบรนด์สามารถเข้าไปแนะนำ หรือสื่อสารผ่านการรีวิว โดยมั่นใจได้ว่ากลุ่มคนที่สื่อสารจะเป็นกลุ่มเป้าหมายแน่นอน ที่สำคัญคือแบรนด์สามารถสร้าง Group ของตัวเองเพื่อสร้าง Community ได้อีกด้วย
  • ผลิตคอนเทนต์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, วิดีโอ, รีล, โพล และอื่นๆ อีกมาก จัดได้ว่าเป็นสื่อที่มีความหลากหลายสูง
  • ตลาด Facebook มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย เรียกได้ว่ามีตั้งแต่วัยเด็กจนไปถึงวัยชรา ซึ่งมีความหลากหลายสูงมากๆ

Instagram

จุดเด่นของ Instagram

  • เน้นการถ่ายทอดให้กลุ่มเป้าหมายเห็นภาพ และไลฟ์สไตล์ของแบรนด์
  • สร้างความใกล้ชิดให้ลูกค้ากับแบรนด์รู้สึกเหมือนเป็นเพื่อนกันได้ เนื่องจากฟังก์ชัน IG Story ที่สามารถทำคอนเทนต์ได้ทั้งภาพ และวิดีโอ พร้อมโพล เพื่อให้ลูกค้า direct ตอบกลับมาได้เอง
  • ลูกค้าสามารถช่วยกระจายชื่อเสียงของแบรนด์ผ่านการแชร์รูป หรือวิดีโอ Story ของแบรนด์ไปยังสื่อของตัวเอง แน่นอนว่านี่จะเป็นการเพิ่ม engage แบบ organic ได้ดีทีเดียว

Twitter

จุดเด่นของ  Twitter

  • เป็นสื่อที่เหมาะกับการเล่นกับคอนเทนต์ Real-time หากทางแบรนด์สามารถจับเนื้อหาได้เร็วพอ ก็จะทำให้แบรนด์ได้กระแสจากคอนเทนต์ไปเต็มๆ
  • สร้างการเข้าถึงของแบรนด์ได้ง่ายมาก เพียงแค่ใช้ # ก็สามารถที่จะปูทางให้กลุ่มเป้าหมายพบเห็นคอนเทนต์ของแบรนด์ได้แล้ว
  • Twitter เป็นสื่อที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนอักษร หรือขนาดภาพ ด้วยข้อความที่สั้น ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยคุณสมบัติ หรือประโยชน์ของสินค้าได้เลย

LinkedIn

จุดเด่นของ  LinkedIn

  • สร้าง Community ขององค์กร โดยสามารถทำเป็นช่องทางในการติดตามผู้บริหารไปจนถึงพนักงานทุกคนได้ผ่านช่องทางเดียว
  • หากแบรนด์ต้องการเพิ่มความเป็นมืออาชีพและดูทางการ LinkedIn ถือเป็นสื่อทีเหมาะมาก
  • สื่อนี้จะเป็นการเพิ่มวงโคจรของแบรนด์ได้กว้างขวางมาก และกลุ่มเป้าหมายในสื่อประเภทนี้จะมีความชัดเจน และจริงจังสูง

Tiktok

จุดเด่นของ  Tiktok

  • สื่อที่ปลดล็อกทุกความสร้างสรรค์ แบรนด์สามารถเข้าถึงกับกลุ่มเป้าหมายผ่านคอนเทนต์ที่หลากหลายได้
  • แบรนด์สามารถใช้ฟังก์ชัน Duet เพื่อใช้สื่อสารกับแบรนด์อื่น หรือกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างเทรนด์เองได้ด้วย
  • เป็นอีกสื่อที่สามารถใช้ #(hashtag) เป็นประตูปูทางเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้อย่างง่ายๆ

Content Marketing

จุดเด่นของ  Content Marketing

  • การยกระดับคอนเทนต์ให้น่าส่งต่อจะให้ผลดีเกินคาด เพราะลูกค้าไม่ได้กำลังแค่แชร์สิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่ยังเป็นการเพิ่มการเข้าถึงของแบรนด์ไปในตัวด้วย
  • คอนเทนต์ที่ดีและสร้างสรรค์จะทำให้ลูกค้าเห็นถึงตัวตนของแบรนด์ และทำให้เกิดอัตลักษณ์ของแบรนด์ไปในที่สุด
  • คอนเทนต์แนวนี้มักจะถูกใช้งานกันอยู่บ่อยครั้งใน Facebook เพราะพื้นที่สื่อใน Facebook เหมาะกับการแชร์ด้วยเนื้อหา และภาพ รวมถึงวิดีโอ ทำให้แบรนด์สามารถสร้างสื่อได้ตามต้องการ

SEO

จุดเด่นของ  SEO

  • เพิ่มการเข้าถึงโดยดึงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นสิ่งเชื่อมระหว่างปัญหาของลูกค้าและสินค้าของแบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกตอบโจทย์ และเห็นถึงสาเหตุที่ต้องซื้อหรือใช้บริการ
  • SEO ในที่นี้ ยังรวมไปถึงการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของลูกค้า หรือภาษาที่ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์ให้ทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกัน
  • จากการสร้างคีย์เวิร์ดจาก Pain Point และภาษาที่เลือกใช้ในสื่อต่างๆ ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ง่าย และดีมากยิ่งขึ้น

PPC

จุดเด่นของ  PPC : Pay Per Click

  • วิธีนี้เป็นการใช้เงินแก้ปัญหา โดยจะเป็นการจ่ายเงินต่อคลิก เพื่อให้เว็บไซต์ของแบรนด์ขึ้นเป็นหน้าแรกๆ ของกูเกิล
  • วิธีนี้มักจะส่งผลดีกับแบรนด์แค่ในช่วงปั้นแบรนด์แรกๆ เท่านั้น มักไม่ใช่แผนในระยะยาว เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย
  • จากการศึกษาอีกทางออกในการดันเว็บไซต์ของนักธุรกิจ จะใช้วิธี SEO เพื่อให้เนื้อหาของบทความ คำอธิบายในเว็บไซต์ และอื่นๆ เป็นตัวดันเว็บไซต์ให้ติดอันดับของกูเกิลแทน เนื่องจากจะได้ผลระยะยาวมากกว่า

PR

จุดเด่นของ  PR

  • วิธีนี้จะทำให้ความรู้สึกเป็นมิตรกับลูกค้าได้ดีกว่าการทำการตลาด
  • PR เป็นการสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวของธุรกิจที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้วิธีนี้ผู้รับสารไม่รู้สึกว่าเป็นการยัดเยียดเนื้อหาจนเกินไป
  • วิธีในการทำ PR มีหลากหลาย ผู้ทำธุรกิจสามารถเลือกวิธีที่เหมาะกับแบรนด์ได้เต็มที่ เช่น การทำคอนเทนต์ จัดกิจกรรมพิเศษ จัดการประกวด หรือกิจกรรม CSR

Email Marketing

การทำ Email Marketing คือ การส่ง Email มอบคอนเทนต์ความรู้ รวมถึงโปรโมชันไปหากลุ่มเป้าหมายโดยตรง ทำให้ลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนจากธุรกิจของเราบ่อยๆ จนจำได้และเชื่อถือเรามากขึ้นนั่นเอง 

จุดเด่นของ  Email Marketing

  • เป็นการส่งมอบความรู้ เรื่องราวของแบรนด์ หรือโปรโมชันของสินค้าให้กับฐานลูกค้าทั้งเก่า และใหม่
  • วิธีนี้เป็นการเชื่อมโยงลูกค้ากับแบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยความถี่ที่เหมาะสม
  • วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นความทรงจำของลูกค้ากับแบรนด์ได้ต่อเนื่อง

การทำ Email Marketing คือ การส่ง Email มอบคอนเทนต์ความรู้ รวมถึงโปรโมชันไปหากลุ่มเป้าหมายโดยตรง ทำให้ลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนจากธุรกิจของเราบ่อยๆ จนจำได้และเชื่อถือเรามากขึ้นนั่นเอง 

จุดเด่นของ  Email Marketing

  • เป็นการส่งมอบความรู้ เรื่องราวของแบรนด์ หรือโปรโมชันของสินค้าให้กับฐานลูกค้าทั้งเก่า และใหม่
  • วิธีนี้เป็นการเชื่อมโยงลูกค้ากับแบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน ด้วยความถี่ที่เหมาะสม
  • วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นความทรงจำของลูกค้ากับแบรนด์ได้ต่อเนื่อง

VDO

การนำเสนอแบรนด์ผ่านวิดีโอโดยเน้นนำเสนอเอกลักษณ์และสิ่งที่สะท้อนความเป็นแบรนด์ภายในภาพเคลื่อนไหวแบบสั้นๆ อย่างแตกต่างจากคู่แข่งจะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายจำคุณได้ รวมถึงยังเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะกลายมาเป็นลูกค้าได้อีกด้วย

จุดเด่นของ  VDO

  • วิธีนี้จะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้ดี เนื่องจากมีองค์ประกอบในการประกอบร่างเป็น 1 คลิปค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น ภาพ ตัวอักษร นักแสดง และอื่นๆ
  • ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับรูปแบบการทำคอนเทนต์แบบเดิม หรือประเภทอื่น ตัวอย่าง คลิปโฆษณาประกันชีวิตของ ไทยประกันชีวิต ที่มักจะออกมาในแนวตลก เข้าถึงง่าย ทำให้มักจะเป็นกระแสทุกครั้งที่มีการปล่อยคลิปวิดีโอออกมา และทำให้เมื่อคนนึกถึงประกันชีวิต ไทยประกันชีวิตจะเป็นตัวเลือกแรกที่เข้ามาในความคิดใครหลายคน

การสร้าง Brand Awareness แบบ Cross Channel

อีกหนึ่งในการสร้าง Brand Awareness ได้เป็นอย่างดีคือการ Cross Channel คือการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันในหลายช่องทาง วิธีนี้จะเป็นการยกระดับการสื่อสารขึ้นไปอีก 1 ขั้น ตั้ง Key message เดียวที่ต้องการให้เป็นที่จดจำ และสื่อสารออกไปตามสไตล์ของแต่ละช่องทาง จะยิ่งเป็นการสร้างภาพจำ และเพิ่มอัตลักษณ์ของแบรนด์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะสื่อแต่ละประเภทจะมีความโดดเด่นในด้านของตัวเอง

หากกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจกระจายไปในหลายสื่อ วิธีนี้จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะไม่ว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์จะไปอยู่ในแพลตฟอร์มใดก็ตาม จะเจอสินค้าของแบรนด์ด้วยภาษา และการสื่อสารตามสไตล์สื่อนั้นๆ จะยิ่งตอกย้ำความเป็นแบรนด์จาก Key Message ได้ง่ายกว่าการเลือกใช้สื่อเพียงประเภทเดียว ตัวอย่าง Dek-D ที่เป็นเว็บไซต์แนะแนววัยรุ่น รากฐานของ Dek-D เป็นการสร้างเว็บไซต์ และมีบล็อกให้เป็นชุมชนของวัยรุ่น แต่เมื่อสื่อประเภทอื่นเริ่มมีอิทธิพล ก็จะมีการขยายวิธีการสื่อสารล้อไปกับสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเพจ มี Twitter มีเปิดช่อง TikTok และอื่นๆ โดยที่สื่อตั้งต้นอย่างเว็บไซต์ก็ยังคงได้รับการดูแล และเป็นศูนย์รวมของทุกแพลตฟอร์ม

การสร้าง Brand Awareness สำหรับธุรกิจแบบ B2B และ B2C

การสร้าง Brand Awareness สำคัญกับทุกประเภทธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของ B2B หรือ B2C ถ้าแบรนด์ได้ขึ้นเป็น Top-of-Mind ของกลุ่มเป้าหมายได้ การเลือกซื้อสินค้า หรือเข้าใช้บริการก็จะหนีไม่พ้นจากแบรนด์แรกๆ ที่เข้ามาในความคิด

ธุรกิจ B2B

แนวทางการสร้าง Brand Awareness ของธุรกิจแนว B2B (ฺBusiness to Business) คือการสร้างความเชื่อมั่นในฐานะของผู้เชี่ยวชาญ โดยที่แนวทางคอนเทนต์ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ที่แนวเนื้อหาขององค์กรเท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างความเชื่อถือได้จากคอนเทนต์แนว Report ได้เพิ่มเติม

ธุรกิจ B2C

สำหรับ ‍B2C ที่มาจาก Business-to-Customer โดยเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภคโดยตรง การสร้าง Brand Awareness ในธุรกิจประเภทนี้ ควรเน้นไปที่การสร้าง value ของสินค้าในระยะแรก บอกกลุ่มเป้าหมายย้ำไปมาว่าธุรกิจของแบรนด์คืออะไร? ขายอะไร? และแก้ไขปัญหา Pain Point อย่างไร? ระยะถัดมาจึงค่อยเสริมคอนเทนต์โปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดขาย

การวัด Brand Awareness ในเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)

เมื่อแบรนด์สร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้ามาได้สักระยะ สิ่งที่ควรทำประกอบกันไปคือการวัดผลว่ามีความคืบหน้า และควรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง? เพื่อให้ผลลัพธ์ได้ดีมากกว่าที่เป็นอยู่ วิธีนี้จะเป็นการวัดเชิงปริมาณ โดยอาศัยตัวแปรต่างๆ มาวัดเป็นคะแนนในแต่ละแคมเปญ

Social Engagement

ไลก์ แชร์ และคอมเม้นท์ในแต่ละโพสต์ วิธีนี้ถือเป็นข้อสังเกตแรกที่เห็นได้ชัดเจนว่าแบรนด์และลูกค้ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด ใกล้ชิดกันหรือไม่

Direct Traffic

วิธีนี้จะเป็นการตรวจสอบหลังบ้านผ่าน Google Analytics เพื่อดูจำนวนผู้คนที่ค้นหา URL เว็บไซต์ของแบรนด์มากน้อยเพียงใด ซึ่งควรเปรียบเทียบกับปริมาณของคนที่เข้าผ่านคำค้นหาจาก Google และคลิกผ่าน Link ในสื่อออนไลน์ประเภทอื่นๆ ด้วย

Brand Query

นี่จะเป็นการตรวจสอบจำนวนค้นหาชื่อแบรนด์ผ่าน Google ว่าในช่วงระยะที่ผ่านมามีผู้คนที่ค้นหาสินค้าหรือแบรนด์มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ดีการใช้เครื่องมืออย่าง Google Analytics ถือว่าแม่นยำ และครอบคลุมได้ดีที่สุด

การวัดผล Brand Awareness

การวัด Brand Awareness ในเชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis)

อีกหนึ่งวิธีในการวัดว่าแคมเปญที่ผ่านมาประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในการสร้าง Brand Awareness ได้จริงหรือไม่ ผ่านตัวแปรที่อ้างอิงได้เพื่อวัดผลเชิงคุณภาพ และคุณภาพของคอนเทนต์ที่ทำไป

Google Alerts

Google Alerts เป็นเครื่องมือจาก Google ที่จะช่วยในการวัดผลว่าผู้คนในโซเชียลพูดถึงแบรนด์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะมีการจับคีย์เวิร์ด และค้นหาไปบนโซเชียลในหลากหลายแพลตฟอร์ม

Hashtag

ผู้ทำธุรกิจสามารถที่จะค้นหา # ของสินค้า หรือแบรนด์ได้เลย และสังเกตการพูดถึงของแบรนด์ได้แบบ Real Time ผ่านสื่อต่างๆ โดยส่วนมากการค้นหา และติดตาม # จะมีความนิยมในสื่อประเภท Twitter

แบบสอบถาม

เป็นวิธีดั้งเดิมที่หลายคนรู้จักกันดี โดยในการสร้างแบบสอบถามนี้ ผู้จัดทำสามารถที่จะใส่คำถามที่ต้องการอยากรู้ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแนะนำ และเล่าถึงความรู้สึกต่อแบรนด์ได้

บทสรุปเกี่ยวกับ Brand Awareness

การสร้าง Brand Awareness มีความสำคัญอย่างมากในการเติบโตและความมั่นคงของแบรนด์ หากแบรนด์เป็นที่จดจำ และเข้าไปอยู่ในความคิดของกลุ่มเป้าหมายได้ นี่จะเป็นการเบิกทางให้กับโอกาสใหม่ๆ ของแบรนด์อย่างที่ไม่คาดคิด แต่การจะสร้าง Brand Awareness ได้นั้นก็ไม่ใช่ทั้งเรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องยากในเวลาเดียวกัน หากมีการวางแผนที่ครอบคลุม รู้จักจุดแข็งสินค้าอย่างดี หมั่นปรับปรุงเนื้อหา และเว็บไซต์ให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ โอกาสที่แบรนด์จะถูกจดจำได้ง่ายขึ้น และสร้างยอดขายกลับมาก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Brand Awareness คืออะไร

Brand Awareness เป็นการสร้างรับรู้ของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายของเรา ผ่านการสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ เพื่อให้เกิดการจดจำได้และดึงดูดให้เกิดความสนใจในสินค้าและบริการเรา

Brand Awareness สำคัญกับการทำธุรกิจอย่างไร

การสร้าง Brand Awareness ที่ดีทำให้คนรับรู้ว่าแบรนด์เรามีความน่าเชื่อถือ มั่นใจได้ และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ ไปถึงการเพิ่มโอกาสในการขายทางธุรกิจที่มากยิ่งขึ้น

เราจะสร้าง Brand Awareness ได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

ก่อนอื่นคือเราต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายและจุดแข็งของแบรนด์เราก่อน โดยสามารถสร้าง Brand Awareness ได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านการทำคอนเทนต์เนื้อหาที่ดี การนำเสนอผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความของ Minimice เลย

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง