Remarketing คืออะไร แตกต่างกับ Retargeting ไหม บทความนี้มีคำตอบ

Remarketing คืออะไร แตกต่างกับ Retargeting ไหม บทความนี้มีคำตอบ

Table of Contents

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า Remarketing แต่ยังไม่รู้ความหมาย หรืออาจจะสับสนกับคำว่า Retargeting ซึ่งแท้จริงแล้ว Remarketing ถือเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจที่สำคัญในทางการตลาด เนื่องจากลูกค้ามักจะใช้เวลาในการเลือกและตัดสินใจ ไม่ได้ทำการซื้อในทันที กลยุทธ์ Remarketing นั้นจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการได้เร็วขึ้น บทความนี้เลยจะพาไปรู้จักกับ Remarketing ให้มากขึ้น ว่า Remarketing คืออะไร ทำไมถึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ รวมถึงแนวทางในการทำ Remarketing ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

Remarketing คืออะไร

Remarketing คืออะไร

Remarketing คือ กลยุทธ์อย่างหนึ่งในการทำการตลาด เป็นการทำการตลาดซ้ำไปยังกลุ่มคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์หรือเคยพบเห็นธุรกิจผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง โดยหากมีบุคคลเคยเข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ไปโดยที่มาทำอะไร Remarketing ก็จะทำการเก็บข้อมูลของบุคคลนั้นแล้วจัดการส่งโฆษณาของธุรกิจไปปรากฎบนหน้าเว็บไซต์อื่นที่เขากำลังเข้า เพราะก่อนการตัดสินใจซื้อ ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าส่วนใหญ่จะค้นหาบทความรีวิวทางออนไลน์ การส่งโฆษณาไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นจะช่วยดึงดูดให้ผู้ที่เคยมาเยี่ยมชมเว็บไซต์มีโอกาสเป็นลูกค้ามากยิ่งขึ้น และกระตุ้นความสนใจให้กลับมาที่เว็บไซต์อีกครั้งแล้วตัดสินใจซื้อสินค้าตามเป้าหมาย ซึ่งนอกจากการส่งโฆษณาแล้ว ยังมีการใช้ Email Marketing ส่งอีเมลแจ้งเตือนให้กลับมาซื้อสินค้าที่พวกเขาสนใจด้วยเช่นกัน

ความสำคัญของ Remarketing

ความสำคัญของ Remarketing

การทำ Remarketing มีความสำคัญทางการตลาดหลายประการ มาดูกันว่าความสำคัญหลักๆ มีอะไรบ้าง

ส่วนสำคัญของการตลาดดิจิทัล

เส้นทางการเป็นลูกค้านั้นเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าจำนวนมากจึงมักจะมีการสืบค้นทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลของแบรนด์ ข้อมูลของสินค้าผ่าน Google บทความรีวิวสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าได้ทำความรู้จักกับแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น และเก็บข้อมูลไว้ประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจทำการซื้อ

ทำให้ผู้ซื้อจดจำแบรนด์

Remarketing จะทำให้ข้อมูลต่างๆ จุดเด่นของสินค้า หรือโค้ดโปรโมชันส่วนลด ไปปรากฏในหน้าเว็บไซต์และแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ผู้ซื้อกำลังใช้งานอยู่ ซึ่งนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ซื้อพิจารณาแบรนด์ต่อไปแล้ว ยังทำให้ผู้ซื้อจดจำแบรนด์ของเราได้อีกด้วย เพราะเมื่อผู้ซื้อตัดสินใจซื้อสินค้าแล้ว แบรนด์เราก็จะอยู่ในใจเป็นอันดับแรก

ช่วยในเรื่องการรับรู้ถึงแบรนด์ การพิจารณา และความภักดี

ไม่ใช่แค่การซื้อขายเท่านั้น Remarketing ยังช่วยให้ผู้ซื้อได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ เช่น แบรนด์ของเราเป็นธุรกิจสินค้าอุปกรณ์ไอที แล้วมีผู้ซื้อเข้าเว็บไซต์มาอ่านบทความให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หากบทความนั้นมีประโยชน์และให้ข้อมูลถูกต้อง ถึงแม้ผู้ซื้ออาจจะยังไม่ได้มีแผนซื้อคอมพิวเตอร์ในตอนนี้ แต่ผู้ซื้อก็เกิดความประทับใจกับแบรนด์ของเรา การส่งโฆษณาไปแสดงในหน้าเว็บไซต์อื่นจะกระตุ้นเตือนผู้ซื้อให้นึกถึงแบรนด์ของเราเป็นแบรนด์แรก และอาจกระตุ้นให้กลับมาอ่านบทความเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ของแบรนด์อีกครั้ง

6 ประเภทของ Remarketing

6 ประเภทของ Remarketing

การทำ Remarketing มีหลายประเภท แต่ละธุรกิจสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดย Remarketing ที่นิยมใช้กันมีดังนี้

1. Display Remarketing

ประเภท Remarketing นี้พบเห็นได้บ่อยที่สุด เป็นโฆษณาที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ภายนอก เพื่อเตือนผู้ซื้อให้นึกถึงสินค้าที่สนใจและกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ โดย Display Remarketing มักทำงานในรูปแบบจ่ายต่อคลิก (PPC) ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายของผู้ซื้อให้เหมาะสมและปรับปรุงกระบวนการซื้อ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับกลยุทธ์ Remarketing ประเภทนี้

2. Search Remarketing

จ่ายที่ปรากฏบนหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา เช่น Google Ads โดยผู้ซื้อที่เคยเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราจะเห็นโฆษณาในผลการค้นหาได้ เมื่อใช้คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยดึงดูดการคลิกสูง เพราะปรากฏอยู่ในตำแหน่งบนสุดเหนือผลการค้นหาทั่วไป

3. Video Remarketing

Video Remarketing คือโฆษณาที่อยู่ในรูปแบบวิดีโอ โฆษณานี้มักแสดงก่อนเข้าหรือแสดงระหว่างคลิปวิดีโออื่นๆ บนแพลตฟอร์มการสตรีม เช่น YouTube ซึ่ง Remarketing ประเภทนี้สร้างการมีส่วนร่วมได้มากกว่าโฆษณาแบบข้อความหรือรูปภาพ เมื่อผู้ซื้อพบโฆษณานี้จะได้รับการแจ้งเตือนถึงความสนใจในสินค้าและกระตุ้นให้เกิดการคลิกผ่านโฆษณาเพื่อทำการซื้อ

4. Social Media Remarketing

Social Media Remarketing คือการส่งโฆษณาหลากหลายรูปแบบติดตามผู้ที่เคยเข้าชมสินค้าบนเว็บไซต์ของเราไปยังที่ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอย่างโซเชียลมีเดีย แน่นอนว่า Facebook เป็นหนึ่งในโซเชียลที่มักมีการใช้ Remarketing มากที่สุด โดยส่วนใหญ่ Facebook Remarketing จะเป็นโพสต์ที่ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ การโฆษณานี้จึงช่วยปรับปรุงการมีส่วนร่วมได้ แม้อาจจะไม่นำไปสู่การซื้อขายโดยตรง แต่ก็ช่วยให้ผู้คนได้รู้ถึงตัวตนของแบรนด์เราบนโซเชียลมีเดียในระยะยาว

5. Email Remarketing

อีเมล เป็นอีกวิธีในการทำ Remarketing โดยกำหนดเป้าหมายจากผู้เยี่ยมชมที่ได้ลงทะเบียนอีเมลไว้กับเว็บไซต์ของแบรนด์เรา เราจะสามารถส่งโปรโมชันและแจ้งเตือนความจำผ่านอีเมลไปยังผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าที่สมัครรับข้อมูล ซึ่ง Email Remarketing จะส่งอีเมลให้กับทั้งผู้ที่แสดงความสนใจสินค้าแต่ยังไม่ทำการซื้อและผู้ที่ซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว เพื่อกระตุ้นให้ทำการซื้อให้เสร็จสิ้น รวมถึงมีการแนะนำสินค้าใหม่เพิ่มเติมที่พวกเขาอาจสนใจ

6. Offline Remarketing

Remarketing ที่ผ่านมาเป็นประเภทออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องมี Remarketing แบบออฟไลน์ด้วยเช่นกัน โดยธุรกิจต่างๆ อาจใช้แพลตฟอร์มออฟไลน์ในการโฆษณา เช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์ การโฆษณาทางโทรศัพท์ รวมถึงป้ายโฆษณาต่างๆ ที่ปรากฏตามข้างเส้นทาง Remarketing ประเภทนี้อาจไม่ทำให้เกิดการซื้อขาย แต่ก็ช่วยให้เกิดการรับรู้ถึงธุรกิจของเราได้

อยากทำ Remarketing แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ลองดูวิธีนี้สิ

อยากทำ Remarketing แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ลองดูวิธีนี้สิ

กลยุทธ์ Remarketing มีบทบาทอย่างมากในทางการตลาด หลายคนก็อยากเริ่มทำ Remarketing กันบ้างแล้ว ไปดูกันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

สร้างแผน กำหนดเป้าหมาย

เริ่มการวางแผนจากการกำหนดหน้าเว็บไซต์ที่จะติดตามการเคลื่อนไหวของผู้เยี่ยมชม เมื่อกำหนดแล้วเราก็จะรู้ข้อมูลของผู้เยี่ยมชมและสามารถเลือกใช้ประเภท Remarketing ที่เหมาะสมได้ เช่น กำหนดการติดตามไว้ที่หน้าเว็บไซต์รายละเอียดของสินค้าและหน้าตะกร้าสินค้า นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาสร้างโฆษณาโดยมุ่งเน้นไปที่สินค้าที่ผู้เยี่ยมชมสนใจ แล้วทำการส่งโฆษณาติดตามไปยังเว็บไซต์ภายนอก

เสนอข้อเสนอสุดพิเศษ

พิจารณาว่าควรเสนอข้อตกลงพิเศษแบบใดให้กับผู้เยี่ยมชมที่เรากำหนดเป็นเป้าหมายของการทำ Remarketing ทั้งนี้เพื่อดึงดูดให้พวกเขากลับมาที่เว็บไซต์ของเราอีกครั้ง แล้วดำเนินการซื้อให้เสร็จสิ้นเรียบร้อย โดยอาจเสนอเป็นคูปองส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์จากการซื้อ การจัดส่งฟรี หรือโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อซ้ำ

ตั้งไทม์ไลน์

หากตัดสินใจได้แล้วว่าจะใช้ Remarketing ประเภทใด ขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดระยะเวลาและจำนวนครั้งที่จะแสดงโฆษณาต่อกลุ่มเป้าหมายของการ Remarketing ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะหากโฆษณาปรากฏขึ้นบ่อยครั้งหรือนานเกินไป อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเบื่อหน่ายและได้ผลตรงข้ามกับสิ่งที่ต้องการ

กำหนดเป้าหมายผู้เข้าชม

การทำ Remarketing ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ยังไม่ได้ทำการซื้อเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการกำหนดเป้าหมายผู้เยี่ยมชมที่ทำการซื้อตั้งแต่เข้าชมเว็บไซต์ในครั้งแรกด้วยเช่นกัน ซึ่งจุดประสงค์ของการทำ Remarketing ในกรณีนี้ คือการดึงดูดผู้เยี่ยมชมที่เคยทำการซื้อขายให้กลับมาที่เว็บไซต์อีกครั้ง จนซื้อซ้ำกลายเป็นลูกค้าประจำ

ตรวจสอบและวิเคราะห์ผลลัพธ์

หลังส่งโฆษณาออกไปแล้ว ควรติดตามอัตราการคลิกผ่านของจำนวนผู้เยี่ยมชมที่กลับมาเว็บไซต์ รวมถึงติดตามอัตราการซื้อขายที่เกิดขึ้นหลังทำการ Remarketing จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และวัดประสิทธิภาพของการทำ Remarketing ใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาปรับปรุงและพัฒนาแผนทางการตลาด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

Remarketing ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

Remarketing ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

นอกเหนือจากเว็บไซต์ภายนอกแล้ว ยังมีหลายแพลตฟอร์มที่สามารถทำ Remarketing ได้ โดยมี 2 แพลตฟอร์มใหญ่ๆ ที่นิยมใช้กัน คือ

Facebook Remarketing

Facebook Remarketing คือ การทำโฆษณาซ้ำบน Facebook เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้รู้จักหรือมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจของเราผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เข้าชมเว็บไซต์ เข้าหน้าเพจ Facebook กดไลก์โพสต์ Facebook เป็นต้น 

โดยสิ่งสำคัญของการทำ Facebook Remarketing คือ การสร้าง Custom Audience หรือกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง เพื่อไว้เป็นฐานข้อมูลในการส่งโฆษณา ซึ่งสามารถสร้างได้จากข้อมูลธุรกิจในระบบของ Facebook หรือนำเข้าข้อมูลจากนอก Facebook เช่น รายชื่อลูกค้า ผู้ใช้งานเว็บไซต์ เป็นต้น แล้วระบบซอฟต์แวร์จะสร้าง Cookie หรือ Pixel เพื่อส่งโฆษณาไปปรากฏให้กลุ่มเป้าหมายเห็นซ้ำๆ เป็นการตอกย้ำกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาซื้อสินค้าให้ได้

Google Remarketing

การทำ Google Remarketing คือ การส่งโฆษณาติดตามกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ตัดสินใจซื้อสินค้า แต่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์ หรือดูวิดีโอของธุรกิจเราบน YouTube มาก่อนแล้ว การส่งโฆษณานี้จะทำให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็นโฆษณาตามเว็บไซต์พันธมิตรต่างๆ ของ Google เช่น Gmail YouTube Blogger เป็นต้น ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้โฆษณาไปปรากฏบนเว็บไซต์ประเภทไหนบ้าง การทำ Google Remarketing นอกจากจะกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายกลับมาซื้อสินค้า ยังสามารถสร้างการรับรู้ให้มีคนเห็นได้เป็นจำนวนมากและดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อีกด้วย

Remarketing VS Retargeting สองคำนี้ต่างกันยังไง

Remarketing VS Retargeting สองคำนี้ต่างกันยังไง

Remarketing และ Retargeting มีจุดประสงค์เหมือนกัน คือ กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายกับธุรกิจ แต่ก็มีความแตกต่างกันที่ Remarketing จะเก็บข้อมูลของผู้เยี่ยมชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก่อนจะนำไปทำการส่งโฆษณา ส่วน Retargeting คือ การส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยติดตามจากข้อมูล Cookie หรือประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ ที่เก็บไว้ในเบราว์เซอร์ของกลุ่มเป้าหมาย หรือกล่าวง่ายๆ คือ Remarketing เป็นคำอธิบายที่ครอบคลุมกระบวนการกำหนดเป้าหมาย ส่วน Retargeting เป็นส่วนย่อยของ Remarketing อีกที

สรุป

Remarketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุด เป็นการส่งโฆษณาไปแสดงที่เว็บไซต์ต่างๆ ต่อผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของธุรกิจแล้วออกไปโดยไม่ได้ซื้อ การทำ Remarketing จะช่วยเพิ่มโอกาสการขายให้กับธุรกิจ เข้าถึงผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า และทำให้ผู้คนได้รับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์ได้มากขึ้น โดยประเภทยอดนิยมของ Remarketing คือ Display Remarketing และ Social Media Remarketing ซึ่งแพลตฟอร์มโซเขียลมีเดียอย่าง Facebook ก็มีการทำ Facebook Remarketing ด้วยเช่นกัน

รวบรวมคำถามที่เกี่ยวข้องกับ Remarketing มาตอบ เพื่อคลายข้อสงสัย จะได้รู้จักกับ Rematketing มากขึ้น

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

รวบรวมคำถามที่เกี่ยวข้องกับ Remarketing มาตอบ เพื่อคลายข้อสงสัย จะได้รู้จักกับ Rematketing มากขึ้น

ทำไม Facebook Remarketing จึงคุ้มค่า คุ้มเวลา

แม้ว่าจะไม่มีธุรกิจใดทุ่มเงินให้กับโฆษณาบน Facebook มากขนาดนั้น แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าที่จะทดลองเพื่อนำไปสู่การเข้าชมผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้โอกาสในการขายที่หายไปได้กลับมายังธุรกิจของคุณ เนื่องจากทุกคนที่เกี่ยวข้องอาจมีแนวโน้มที่จะได้รับ Facebook Remarketing ที่โฆษณาไป

เมื่อไรที่ควรทำ Remarketing

คุณสามารถมุ่งเน้นแคมเปญ Remarketing ของคุณตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการเรียกใช้แคมเปญ Remarketing เฉพาะผู้เข้าชมที่เข้ามายังบางหน้า เช่น หน้าผลิตภัณฑ์เฉพาะ หรือเฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณในช่วงเวลาหนึ่งของวันหรือปี (เช่น ในช่วงลดราคาพิเศษ) ซึ่งขึ้นอยู่กับกลยุทธ์โดยรวมของธุรกิจ

Cookie คืออะไร

คุกกี้คือไฟล์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่สามารถใช้เพื่อระบุข้อมูลต่างๆ เช่น ตำแหน่งที่ตั้งและพฤติกรรมการท่องเว็บ โดยเว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถติดตามคุกกี้เพื่อทำความเข้าใจการเดินทางของลูกค้าได้

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง