Table of Contents

Categories

Recent Posts

Subscription Model คือธุรกิจอะไร ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ?

Subscription Model คือธุรกิจอะไร ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ?

Table of Contents

มารู้จัก Subscription Model คืออะไร

มารู้จัก Subscription Model คืออะไร

หากจะพูดถึงธุรกิจ Subscription Model หลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นโมเดลที่เหล่าธุรกิจสตรีมมิงนิยมนำมาใช้กัน และบอกได้เลยว่าสามารถสร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้ธุรกิจต่างๆ สร้างยอด Subscriber ได้มากกว่า 100 ล้านคนกันเลยทีเดียว

ธุรกิจ Subscription Model คือธุรกิจการบริการเพื่อให้ผู้ใช้สมัครสมาชิก และเลือกแผนการจ่ายค่าบริการ ทั้งในรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เพื่อสร้างฐานลูกค้าให้เป็นผู้ใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมาชิกผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ธุรกิจ Subscription Model  ยังสร้างความสะดวกสบายในการใช้บริการ เพราะแค่สมัครสมาชิกก็ได้รับสิทธิประโยชน์มากมายโดยไม่ต้องเสียเวลาในการเข้าถึงสินค้าหรือบริการเลย และที่สำคัญคือธุรกิจจะได้รับข้อมูลต่างๆ ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นความนิยมของสินค้า หรือกลุ่มลูกค้า เพื่อที่ธุรกิจจะได้นำข้อมูลส่วนนี้มาวิเคราะห์ และพัฒนาธุรกิจได้ในครั้งต่อๆ ไป

Subscription Model ทำงานอย่างไร

ในธุรกิจ Subscription Model นั้นจะมีรูปแบบการทำงานคือ ลูกค้าจะต้องสมัครสมาชิก และสมาชิกผู้ใช้งานก็จะถูกเรียกเก็บเงินตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยสามารถเลือกระยะเวลาได้เลยตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือไปจนถึงแบบรายปี แต่ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถต่ออายุ หรือยกเลิกการใช้งานได้ตลอดเวลาอีกด้วย

โดยธุรกิจแบบ Subscription Model นั้นเสมือนการทำสัญญาระหว่างกัน หากครบกำหนดตามที่สัญญากำหนดไว้ ผู้ใช้งานก็จำเป็นต้องเสียค่าบริการตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญานั้นๆ จากนั้นผู้ให้บริการก็ต้องให้สร้างสิทธิประโยชน์ให้ผู้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการผิดสัญญา แต่ข้อดีคือสัญญาฉบับนี้สามารถต่ออายุ หรือยกเลือกได้ตามความต้องการเลย

ขั้นตอนในการทำ Subscription Model

ขั้นตอนในการทำ Subscription Model

หากสนใจอยากทำ Subscription Model เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้อย่างก้าวกระโดด มาดูการสร้าง Subscription Model กันว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ดังนี้

1. พิจารณาประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับ

การทำธุรกิจคือการทำกำไร จึงควรพิจารณาก่อนว่าสินค้า หรือบริการนั้นเหมาะสมที่จะนำมาทำเป็นธุรกิจ Subscription Model ได้หรือไม่ และลูกค้าจำเป็นต้องเข้าถึงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ หากสามารถตอบได้แล้วว่าจะได้รับผลประโยชน์แน่นอน ก็ไปต่อกันได้เลย

2. ตั้งเป้าหมายสำหรับธุรกิจ

การตั้งเป้าหมายสำคัญมากในการทำธุรกิจ และการทำธุรกิจ Subscription Model นั้นจำเป็นต้องพิจารณาก่อนว่าเป้าหมายเป็นอย่างไร ต้องการดึงดูดลูกค้าประเภทไหน กลุ่มลูกค้าเหมาะที่จะทำระบบสมาชิกแบบรายวัน รายเดือน หรือรายปี เพื่อที่จะให้บริการลูกค้าประเภทนั้นๆ และสามารถเพิ่มยอดขายได้นั่นเอง

3. เลือกกลยุทธ์ในการกำหนดราคา

ตามมาด้วยการกำหนดราคาเพื่อสร้างกลยุทธ์ทำการตลาด การทำธุรกิจ Subscription Model นั้นมีข้อดีคือสามารถนำคำแนะนำของลูกค้ามาปรับใช้ได้ ดังนั้น ในช่วงแรกๆ อาจจะมีการสร้างแพ็กเกจเดียวก่อน จากนั้นก็นนำคำติชมเพิ่มเติมจากลูกค้ามาปรับใช้ เพื่อนำมาสร้างแพ็กเกจใหม่ๆ และราคาที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

4. มีการเริ่มต้นการใช้งานที่ง่าย

ออกแบบการใช้งานเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ใช้งาน และอำนวยความสะดวกตั้งแต่การสมัครแพ็กเกจไปจนถึงการใช้งานที่มีวิธีการให้มีความเรียบง่ายมากที่สุด เพื่อไม่ให้มีความซับซ้อนมากนัก เพราะผู้ใช้งานนั้นมีหลากหลาย การเข้าถึงได้ง่ายจึงสามารถสร้างความดึงดูดใจคนที่จะมาใช้งานได้

5. สร้างประสบการณ์ใช้งานที่ไม่มีสะดุด

ควรทำเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและเสถียร เพื่อประสบการณ์ใช้งานที่ดี ไม่มีสะดุด ทำให้ลูกค้าอยากต่อสมาชิกไปเรื่อยๆ นอกจากนี้ ควรปรับปรุงแก้ไขระบบให้สดใหม่อยู่เสมอ แต่ไม่ควรเปลี่ยนแปลงครั้งละเยอะๆ เพราะจะทำให้ลูกค้าสับสน และรู้สึกว่าใช้งานยาก

6. เรียกเก็บเงินให้ง่ายและสะดวก

นอกจากความสะดวกสบายในการใช้งานแล้ว ขั้นตอนการจ่ายเงินที่ไม่ซับซ้อนก็ช่วยให้ผู้ใช้งานต้องการต่ออายุในการใช้งานนานขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อระบบการเรียกเก็บเงินช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน ก็จะสามารถประหยัดเวลา และสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้มากขึ้นไปอีก

ประโยชน์ของ Subscription Model

ประโยชน์ของ Subscription Model

มีเหตุผลที่ธุรกิจแนว Subscription Model นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เพราะมีประโยชน์ต่อธุรกิจหลายอย่าง ดังนี้

ช่วยคาดเดารายได้

รูปแบบธุรกิจแบบนี้สามารถคาดเดารายได้ที่องค์กรจะได้รับอย่างแม่นยำ เพราะผู้ใช้งานมักจะมีการจ่ายเงินในทุกๆ วันครบกำหนดการใช้งาน ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ตามรูปแบบแพ็กเกจที่เลือกไว้ ตราบใดที่ไม่มีการยกเลิกการใช้งานไปก่อน การทำ Subscription Model จึงมีช่วยให้วางแผนงบประมาณ และกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง

เข้าถึงง่าย

การเข้าถึงง่ายเป็นจุดเด่นที่ช่วยให้ธุรกิจแนว Subscription Model ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินในการสมัครเป็นสมาชิก หรือการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนไหนก็มีความสะดวกสบายด้วยกันทั้งสิ้น เพราะผู้ใช้งานแทบจะไม่ต้องออกแรงอะไรเลย

เพิ่มโอกาสทางการตลาด

ลักษณะธุรกิจประเภทนี้จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ไม่ว่าจะผ่านแคมเปญต่างๆ หรือจดหมายข่าวรายเดือน ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับข้อมูลของลูกค้า และสามารถนำไปปรับเป็นกลยุทธ์การตลาดให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถคิดกลยุทธ์ได้อย่างเฉพาะกลุ่มลูกค้ามากขึ้นด้วย

จัดการกระแสเงินสดได้ดีขึ้น

นอกจากจะสามารถคาดคะเนรายได้ที่คาดว่าจะได้รับแล้ว ธุรกิจประเภท Subscription Model ยังให้ความมั่นคงของกระแสเงินสดได้อีกด้วย เพราะเป็นระบบที่มีการชำระเงินเป็นงวดๆ แบบอัตโนมัติ และเมื่อกระแสเงินสดมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง องค์กรจะได้รับความปลอดภัย และความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นนั่นเอง

ช่วยให้ธุรกิจการเติบโต

เมื่อองค์กรสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผูัใช้งานได้เป็นอย่างดี และมีความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจมากพอ องค์กรก็จะสามารถเติบโตขึ้นได้ด้วยแรงสนับสนุนจากผู้ใช้งาน และคนที่กำลังสนใจสมัครใช้บริการ นอกจากนี้ เมื่อองค์กรได้รับความสนใจมากขึ้น การใช้กลยุทธ์ในการปรับแพ็กเกจก็จะยิ่งช่วยกระตุ้นการเติบโตขององค์กรมากยิ่งขึ้นไปอีก

ตัวอย่างธุรกิจ Subscription Model ที่น่าสนใจ

ตัวอย่างธุรกิจ Subscription Model ที่น่าสนใจ

ธุรกิจประเภท Subscription Model นั้นมีหลากหลายบริการที่น่าสนใจ โดยตัวอย่างธุรกิจตามประเภทของสินค้าและบริการที่น่าสนใจ ดังนี้

Streaming Service

ธุรกิจแบบ Streaming เป็นธุรกิจหลักๆ ที่เน้นทำ Subscription Model เพื่ออำนวยความสะดวก และยังคงรักษาฐานลูกค้าเดิมให้ได้มากที่สุด ซึ่งธุรกิจ Streaming ที่น่าสนใจ มีดังนี้

Netflix

Netflix เว็บสตรีมมิงเจ้าดังที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เนื่องจากสร้างจุดเด่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีเลยทีเดียว เพราะทั้งหนัง ซีรีส์ หรือสารคดีก็มีความน่าสนใจ อัปเดตเทรนด์ตลอดเวลา และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ไม่รู้จะดูอะไรดี 

นอกจากนี้ ระบบการสมัครสมาชิกก็มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และซับซ้อนมาก พร้อมระบบการจ่ายเงิน ทั้งแบบรายเดือน และรายปี โดยราคาค่าสมาชิกหลังจากทดลองใช้ฟรี 1 เดือนนั้นขึ้นอยู่กับแผนที่เลือก ได้แก่ Mobile Plan, Basic Plan, Standard Plan และ Premium Plan ซึ่งมีค่าบริการอยู่ที่ประมาณ 99-419 บาท ทำให้ Netflix สามารถเพิ่มรายได้ และมีเวลาที่จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนการบริการที่ดียิ่งขึ้น

VIU

ด้วยกระแสเกาหลีที่มาแรงแซงทางโค้ง หากใครเป็นสาวกซีรีส์เกาหลี คงไม่มีใครไม่รู้จัก VIU เว็บสตรีมมิงที่ครองใจคนเอเชียหลายๆ คน ด้วยคอนเทนต์ที่เน้นซีรีส์ และรายการวาไรตี้เกาหลีเป็นหลัก ทำให้ได้รับความสนใจไม่แพ้เว็บสตรีมมิงเจ้าอื่นๆ เลย 

นอกจากในส่วนของเนื้อหาที่เข้าถึงได้ง่าย และหลากหลายแล้ว ยังมีระบบที่ใช้งานง่าย และมีรูปแบบแพ็กเกจที่น่าสนใจไม่น้อย ตั้งแต่การใช้บริการแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายไปจนถึงการจ่ายรายวัน รายสัปดาห์ และรายปี ทำให้สามารถสร้างทางเลือกให้กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นไปอีก

WeTV

หาก VIU ถือครองตลาดซีรีส์เกาหลีได้ WeTV ก็สามารถครองใจคอซีรีส์จีนได้เช่นกัน ด้วยความเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้เป็นที่น่าสนใจว่า เหตุใด WeTV จึงได้รับความสนใจอย่างล้นหลามขนาดนี้? อาจตอบได้ว่ากลยุทธ์ที่ทาง WeTV ใช้สามารถสร้างความสำเร็จได้มากขนาดนี้คือ 3X ตั้งแต่ Expansion ที่มุ่งเน้นความหลากหลายของคอนเทนต์ เพื่อกลุ่มคนหลากหลายกลุ่ม หรือ Extra Experience ที่ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานให้มีความราบรื่น และครบครันมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคือ Exclusivity ที่สร้างความดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานมากขึ้นไปอีก เพราะสามารถผลิตคอนเทนต์ และนำมาฉายภายใน WeTV ที่แรกและที่เดียว 

เรียกได้ว่ากลยุทธ์เหล่านี้สร้างภาพจำ และทำให้สร้างฐานผู้ใช้งานให้มีมากขึ้น นอกจากนี้ กลยุทธ์ที่มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจ คือการรับฟังความต้องการของลูกค้า เพราะเมื่อธุรกิจสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดี นำมาปรับใช้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงไหน ก็จะยิ่งเพิ่มผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

Software Service

การทำ Subscription Model ในรูปแบบของธุรกิจ Software สามารถสร้างความยืดหยุ่นกว่าการซื้อขาดแบบเสียเงินก้อนใหญ่ทีเดียวจบ ซึ่งธุรกิจ Software ที่น่าสนใจ มีดังนี้

Adobe

Adobe ประกอบไปด้วยแอปพลิเคชันการตัดต่อวิดีโอ การออกแบบกราฟิก และการพัฒนาเว็บ ได้แก่ Photoshop, Illustrator, Premiere Pro และ InDesign สามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรได้จากค่าบริการการสมัครสมาชิก ใบอนุญาต หรือการโฆษณา

ธุรกิจของ Adobe เน้นการบริการแบบเสียค่าสมาชิกแบบรายเดือน หรือรายปีเพื่อเข้าถึงบริการต่างๆ และสามารถใช้ฟีเจอร์ที่น่าสนใจได้หลากหลายตามราคาแพ็กเกจที่เลือกซื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกตั้งแต่แผนส่วนบุคคล แผนการศึกษา หรือแผนธุรกิจ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

SEMrush

SEMrush เครื่องมือวิเคราะห์การตลาด และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเชิงลึก มีจุดเด่นการใช้งานตั้งแต่งานด้าน SEO ที่สามารถวิเคราะห์คีย์เวิร์ดจากคู่แข่งทั้ง 5 โดเมน และนำมาสร้างกลยุทธ์เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยปรับ Content ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และยังช่วยวางแผนการทำ Google Ads อีกด้วย

SEMrush อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมาก เพราะประกอบไปด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่น่าสนใจ และที่สำคัญคือสามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่อาจจะมีข้อจำกัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าไม่สามารถรับข้อจำกัดที่กำหนดได้ ก็อาจจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปีก็ได้เช่นกัน

Content Subscriptions

การทำ Subscription Model ในรูปแบบ Content Subscription นั้นคล้ายกับธุรกิจแบบ Streaming Service เพราะมีจุดประสงค์เพื่อให้ลูกค้าสมัครไปนานๆ และเพื่อสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากขึ้น

Meb

มีคำกล่าวที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัด” แต่ก็ไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป เพราะโลกที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ทำให้อะไรๆ ก็สะดวกสบายไปหมด ดูตัวอย่างได้จาก Meb หรือ Mobile e-books เว็บไซต์อีบุ๊กชื่อดังที่เริ่มต้นมาแบบไม่ได้มีต้นทุนมากมาย แต่กลับเติบโตได้อย่างคาดไม่คิด เพราะสามารถช่วยให้หลายๆ คนอ่านหนังสือได้ทุกที่ และทุกเวลา 

นอกจาก Content ที่หลากหลาย และความสะดวกต่อการอ่านแล้ว Meb ยังมีค่าบริการถูกกว่าการซื้อหนังสือจริงๆ เพราะมักจะมีโปรโมชันส่วนลดอยู่ตลอดเวลา ทำให้การอ่านในรูปแบบอีบุ๊คสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมให้การอ่านสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

Playstation Now

Playstation ก็มีการปรับธุรกิจ และสามารถสร้างมิติใหม่ให้กับการเล่นเกมแบบ Subscription มากยิ่งขึ้น โดยมีเกมให้เลือกเล่นมากกว่า 650 เกมตามความต้องการ ไม่ว่าจะเกมรูปแบบไหนก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยค่าบริการต่อเดือนอยู่ตั้งแต่ราคา 356-2,135 บาทต่อปี ซึ่งหลังจากทำ Subscription Model นั้น มีผู้สมัครเพิ่มขึ้นถึง 40% ใน 6 เดือนแรกเลยทีเดียว

เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจ Subscription Model ประสบความสำเร็จ

เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจ Subscription Model ประสบความสำเร็จ

ระบบ Subscription Model หรือระบบสมาชิกอาจมีมาตั้งแต่ยุคที่ยังรับนิตยสารรายเดือนอยู่ แต่ปัจจุบันองค์กรชั้นนำได้มีการนำรูปแบบธุรกิจ Subscription Model มาใช้อีกครั้ง จนเรียกได้ว่าเป็นโมเดลการทำธุรกิจแห่งยุคอนาคตกันเลยทีเดียว  โดยเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจ Subscription Model ประสบความสำเร็จ มีด้วยกันหลักๆ ดังนี้

มีความเสี่ยงต่ำและความมั่นคงสูง

ช่วยคาดการณ์ล่วงหน้าได้ง่ายว่าจะวางแผน และใช้กลยุทธ์อะไรต่อไป เพราะลูกค้าก็จ่ายค่าบริการเป็นประจำอยู่แล้ว และควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น เพราะกะปริมาณสินค้าได้จากสมาชิกที่มีอยู่ ทำให้ต้นทุนถูกลง และไม่ต้องลงทุนเกินความจำเป็น เนื่องจากสามารถนำข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาปรับใช้ และผลิตสินค้า หรือบริการตามทิศทางนั้นๆ จึงทำให้ลดความเสี่ยง และสร้างความมั่นคงให้มากขึ้นได้

ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า

ลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะต้องการเช่ามากกว่าซื้อไปเลย เพราะไม่อยากเป็นเจ้าของ การทำ Subscription Model จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลงได้ เช่น Netflix ที่ต้องจ่ายแค่เดือนละร้อยกว่าบาท แต่ได้รับความบันเทิงกลับมามากมาย หรือ Adobe เองก็เปลี่ยนมาให้บริการแบบรายเดือนแทนการซื้อโปรแกรม นอกจากนี้ ลูกค้ายังมีทางเลือกมากขึ้น สามารถเลือกแพ็กเกจได้ตามการใช้งาน ใช้น้อยก็จ่ายน้อย หรือจะใช้มากก็จ่ายมาก ไม่ต้องจ่ายเกินความจำเป็น

ผูกพันระยะยาวกับลูกค้า

องค์กรจะต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยู่กับเรานานที่สุด เพื่อให้เกิดกลุ่มลูกค้าประจำ การทำธุรกิจจึงต้องเน้นการบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงโฟกัสไปที่คุณภาพของสินค้าด้วย เพื่อที่จะให้องค์กรมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าได้

สรุป

Subscription Model คือ การทำธุรกิจที่เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันองค์กรต่างๆ ก็ได้รับประโยชน์จากการทำธุรกิจแบบ Subscription Model เช่นเดียวกัน เพราะสามารถนำข้อมูลของลูกค้าเฉพาะกลุ่มไปวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ งบประมาณ และแผนการตลาด ด้วยจุดมุ่งหมายสู่การเป็นที่ 1 ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า และมีลูกค้าประจำมากที่สุด

ทาง Minimice Group เองก็บริการรับทำ SEO สำหรับธุรกิจที่เริ่มทำ Subscription Model แล้วอยากติดอันดับแรกๆ ในหน้าค้นหาของ Google และมีการวิเคราะห์แผนให้เหมาะกับธุรกิจของคุณอีกด้วย

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Subscription Model

เมื่อได้รู้จักกับธุรกิจ Subscription Model ไปแล้วว่าคืออะไร พร้อมทั้งข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย บทความนี้ยังได้รวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อย พร้อมคำตอบมาไขข้อข้องใจให้กระจ่าง ดังนี้

ธุรกิจไหนที่นำระบบ Subscription Model มาใช้อีกบ้าง?

  • Apple Fitness+ ธุรกิจด้านสุขภาพจาก Apple
  • Rent The Runway บริการเช่าเสื้อผ้าออนไลน์
  • KINTO บริการเช่ารถในระยะยาวจาก TOYOTA
  • NESCAFÉ บริการเครื่องชงกาแฟรายเดือน
  • FlyLine ระบบสมาชิกเกี่ยวกับธุรกิจสายการบิน

รูปแบบของ Subscription Model มีอะไรอีกบ้าง?

  • Replenishment ช่วยให้ผู้บริโภคไม่ต้องออกไปซื้อสินค้าข้างนอก
  • Box/Curation มอบประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น กล่องสุ่ม (Surprise Box)
  • Access มอบสิทธิพิเศษให้แค่สมาชิกโดยเฉพาะ

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง