swot analysis คืออะไร

SWOT Analysis เครื่องมือช่วยสร้างความได้เปรียบที่คนทำธุรกิจต้องรู้ !

Table of Contents

ถ้าอยากสร้างข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจต้องเรียนรู้กลยุทธ์ SWOT Analysis หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้นักธุรกิจสามารถสร้างข้อได้เปรียบในแข่งขันทางธุรกิจ โดย SWOT Analysis คือ เครื่องมือในการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคามของธุรกิจทั้งในแง่ของปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและเข้าใจว่าตอนนี้ธุรกิจที่คุณกำลังดำเนินการอยู่นั้นเป็นอย่างไร? และควรจะดำเนินต่อไปอนาคตได้อย่างไร 

โดย SWOT Analysis คือเครื่องมือสำคัญที่ทุกองค์กรต้องใช้ หากผู้ประกอบการคนไหนไม่เคยนำเอาเจ้าเครื่องมือนี้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อได้เปรียบในการแข่งขัน จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นปัญหาและข้อได้เปรียบของธุรกิจได้อย่างรอบด้าน ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้องมาเรียนรู้การใช้งาน SWOT Analysis อย่างลึกซึ้ง โดยมาดูกันว่าเราจะสามารถใช้ SWOT Analysis ได้อย่างไรบ้าง

ความหมายของ swot analysis

SWOT Analysis คืออะไร?

SWOT Analysis คือหนึ่งในครื่องมือที่สำคัญ ที่ช่วยวิเคราะห์ความสามารถ และสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของบริษัท โดยวิเคราะห์ 4 ปัจจัยสำคัญทางธุรกิจที่มีผลต่อการก้าวหน้าของธุรกิจ ได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม โดยนำปัจจัยที่ได้มาประเมินสภาวะการตลาด เพื่อกำหนดทิศทางที่บริษัทควรดำเนินต่อไปในอนาคต 

โดย SWOT เป็นชื่อย่อมาจากคำว่า STRENGTH- WEAKNESS- OPPORTUNITIES- THREATS ซึ่งกลยุทธ์นี้ถูกคิดค้นโดย Albert Humphrey จาก Stanford Research Institute โดยมีเป้าหมายให้องค์กรหรือธุรกิจรู้ Position ของตัวเอง เพื่อนำมาแก้ไขและปรับปรุงให้เข้ากับสภาวการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน รวมถึงสามารถลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจ 

SWOT Analysis มีอะไรบ้าง ? 

โดยสำหรับปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย Strengths (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน) อาทิ บุคลากร ทรัพยากรต่างๆ ภายในองค์กร เป็นต้น

Strength

จุดแข็ง (Strength) คือ การวิเคราะห์ข้อได้เปรียบหรือความสามารถในการผลิตสินค้า และบริการที่มีคุณภาพสูง รวมถึงมีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน โดยเราต้องวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ทำให้องค์กรมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน อาทิ เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่โดยเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ โดยแบรนด์อื่นไม่มีเทคโนโลยีตัวดังกล่าว จนไปถึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรโดยเฉพาะ เป็นต้น

Weakness

จุดอ่อน (Weakness) คือ การวิเคราะห์ถึงข้อด้อยขององค์กร หรือการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่คู่แข่งสามารถทำได้ดีกว่า อาทิ ความสามารถของพนักงาน ปริมาณในการผลิต งบประมาณ รวมถึงทรัพยากรที่องค์กรไม่มีหรือขาดแคลน จนส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานยังไม่เพียงพอ ทำให้คู่แข่งขันสามารถทำได้ดีกว่า 

ปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย Opportunities (โอกาส) และ Threats (ภัยคุกคาม) โดยเราสามารถใช้ปัจจัยแวดล้อมนี้วิเคราะห์ถึงโอกาสในการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน รวมไปถึงยังสามารถป้องกันอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนี้

Opportunities

โอกาส (Opportunities) คือ การวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอก หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่องค์กรไม่สามารถควบคุมได้ แต่กลับส่งผลดีต่อการดำเนินการทางธุรกิจภายในจนทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ การแพร่ระบาดของโควิดส่งผลให้ธุรกิจ E-commerce และธุรกิจ Food Delivery เติบโตขึ้นมา ทำให้ผู้ประกอบการสร้างกำไรจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างก้าวกระโดด

Threats

ภัยคุกคาม (Threats) หรือจะเรียกว่าความเสี่ยง และอุปสรรคก็ได้ คือ การวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนทำให้สินค้าที่นำเข้าจากรัสเซียถูกแบน รวมถึงการเข้ามาของสตรีมมิ่งอย่าง Netflix ทำให้คนดูละครช่องสามลดลง ซึ่งผู้ประกอบการที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากสภาวการณ์ภายนอกต้องหาวิธีปกป้อง ปรับปรุงการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้

swot analysis สำคัญและมีประโยชน์ยังไง

SWOT Analysis สำคัญและมีประโยชน์ต่อแบรนด์หรือธุรกิจอย่างไร

เครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจอย่าง Swot Analysis คือสิ่งที่หลายๆ ธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหนทางที่ช่วยให้การดำเนินการทางธุรกิจสามารถเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีแบบแผน แม้ว่าหลายๆ องค์กรจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองนั้นรู้จักกับธุรกิจของตนเองดีแล้ว แต่ SWOT เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเราได้อย่างรอบด้าน เพื่อสร้างหนทางใหม่ให้กับธุรกิจ รวมไปถึงแก้ไขปัญหาและขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 

โดยการทำ Swot Analysis ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือให้ทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกขององค์กรเพราะในแต่ละสายงานจะมีข้อได้เปรียบ ข้อด้อย โอกาส และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเห็นภาพกว้างขององค์กรได้อย่างชัดเจน และทำให้การทำ Swot Analysis มีมิติ และ Touch on Point ได้มากขึ้น 

นอกจากนี้การทำ Swot Analysis คือสิ่งที่สำคัญและใช้ประโยชน์ได้จริง อีกทั้งช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืน เช่น

  1. สามารถจัดการปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น 
  2. สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับการดำเนินงานทางธุรกิจ 
  3. พัฒนากลยุทธ์ขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
  4. ช่วยรับมือ ป้องกัน และจัดการอุปสรรคที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ
  5. เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของตนเองอย่างลึกซึ้ง
  6. สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ

ตัวอย่างการทำ swot analysis

ตัวอย่างการวิเคราะห์ SWOT Analysis

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเข้าใจแล้วว่าSwot Analysis คืออะไร และมีหลักการในการทำงานอย่างไร? แต่อาจจะไม่ทราบถึงวิธีการนำไปใช้ที่ถูกต้อง ดังนั้น เราจึงขอยกตัวอย่างการทำ Swot Analysis โดยมีตัวอย่างจาก 2 บริษัทชั้นนำของโลก ดังนี้

Apple’s SWOT Analysis

ข้อดีของการนำ  Swot Analysis ของ Apple มาเป็นตัวอย่าง จะช่วยให้ทุกคนมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าอะไร หรือสิ่งใด? ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทยักษ์ใหญ่ติดอันดับโลก 

จุดแข็ง Strength:

  • กินส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดใหญ่ โดย Apple นับว่าเป็นเจ้าตลาดสมาร์ทโฟนตัวจริงเพราะในปี 2565 นี้ Apple สามารถสร้างยอดขายอุปกรณ์ทั้งหมดของไปได้มากกว่า 1.8 พันล้านเครื่องเลยทีเดียว 
  • เทคโนโลยีขั้นสูง ปัจจัยที่ทำให้ Apple นำหน้าคู่แข่งมาตลอดคือการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นในการดึงดูดลูกค้าที่อยู่ทุกมุมของโลกมาซื้ออุปกรณ์ของ Apple 
  • อุปกรณ์หลากหลายชนิด Apple มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่ตลอด ซึ่งนับเป็นการกระจายการลงทุน โดยการเติมช่องว่างทางการตลาดและทำให้ Apple สามารถสร้างกำไรได้หลายช่องทางจากการผลิตอุปกรณ์ประเภทต่างๆ
  • เพิ่มบริการเสริม อย่าง AppleCare, Apple Card, และ Apple TV+ ที่ทำให้ Apple สามารถสร้างรายได้เกือบ 19% การบริการเสริมดังกล่าว 
  • การออกแบบที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง นั่นคือความเรียบง่ายที่มีระดับและทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เลือกใช้ Apple 
  • ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์สินค้า เป็นความโดดเด่นของ Apple เลยทีเดียวที่มีลูกค้าที่เชื่อมั่นและภักดีต่อแบรนด์เป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้ Apple ยังเป็นผู้ใช้ Apple เสมอ ซึ่งยากที่จะเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น

จุดอ่อน Weakness:

  • โฆษณาและกิจกรรมทางการตลาดน้อย โดย Apple เป็นบริษัทที่ใช้งบโฆษณาและดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในโลกดิจิทัลค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น เป็นโอกาสให้แบรนด์สร้างรายได้ได้เพิ่มขึ้นจากการโฆษณาที่มากกว่า
  • การออกแบบที่ซ้ำซากจำเจ โดยตั้งแต่ไอโฟนรุ่นแรกผลิตจนมาถึงปัจจุบัน ไอโฟนไม่เคยปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของตัวเองเลย โดยเปลี่ยนแค่ขนาด ความหนา และปุ่มโฮม ซึ่งไม่มีลูกเล่นอื่นที่ดึงดูดให้คนซื้อมากขึ้น 
  • ราคาแพง โดยราคาของ Apple หลายคนมองว่ามีราคาที่สูงเกินจริง เมื่อเทียบกับศักยภาพที่มี จึงมีผู้ใช้จำนวนมากหนีไปซบแบรนด์คู่แข่งที่มีราคาต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน 
  • ใช้ได้เฉพาะซอตฟ์แวร์ของ Apple เท่านั้น อุปกรณ์ทั้งหมดของ Apple ไม่สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเจ้าอื่นได้เลย หากผู้ใช้ Apple จะทำให้เกิดปัญหาเมื่อต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่รองรับซอฟต์แวร์ของ Apple

โอกาส Opportunities:

  • การพัฒนา AI การพัฒนา AI หรือปัญญาประดิษฐ์ของ Apple จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด และสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้ในอนาคต 
  • ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม่เพียงส่งผลดีต่อส่งแวดล้อม ยังช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีต่อสายตาของคนทั้งโลกอีกด้วย 
  • สร้างโลกเสมือนจริง ทุกวันนี้โลก Metaverse กำลังบูมเป็นอย่างมาก ถ้า Apple สามารถนำประโยชน์จากเรื่องดังกล่าวมาใช้ได้จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมาก 
  • พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์อัจฉริยะเกิดขึ้นทุกวัน หาก Apple พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างอุปกรณ์อัจฉริยะชิ้นใหม่เกิดขึ้นบนโลกได้ ก็สามารถขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างกว่าที่มีอยู่ 
  • โลกาภิวัฒน์ แน่นอนทุกวันนี้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดนแล้ว Apple สามารถสร้างโอกาสให้ตัวเองได้การโฆษณาผลิตภัณฑ์ให้อยู่กับคนที่อยู่อีกฝากของโลก จึงเป็นการสร้างลูกค้าและปูเส้นทางให้ Apple ขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศอื่นๆ ได้

ภัยคุกคาม Threats:

  • สงครามรัสเซีย-ยูเครน สงครามที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลกหลากหลายแห่ง อย่างน้อยๆ ก็ทำให้ Apple ต้องถอนตัวออกจากประเทศสงครามทำให้รายได้ลดลง และไม่สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศดังกล่าวได้ในขณะนี้ 
  • ภาษีศุลกากร โดยสหรัฐฯ มีการกำหนดอัตราภาษีนำเข้าอะไหล่จากจีนที่สูงขึ้น จึงเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับบริษัท และทำให้ Apple ต้องขึ้นราคาอุปกรณ์ทั้งหมด 
  • การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทั้ง Google, Huawei และ Samsung ทำให้ Apple ต้องเผชิญหน้ากับช่วงเวลายากลำบากในการรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน

เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ Apple ต้องพัฒนาตัวเองให้เร็ว ถ้าช้าหรือล้าสมัย อาจทำให้ Apple รักษาตำแหน่งผู้นำไว้ไม่ได้

Tesla’s SWOT Analysis

อีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ต้องนำมาวิเคราะห์ Swot Analysis คือ Tesla’s SWOT Analysis อีกหนึ่งบริษัทชั้นนำของโลกที่นำทัพโดยอีลอน มัสก์ มาดูเบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทนี้กัน 

จุดแข็ง Strength:

  • ผู้บุกเบิกการใช้พลังงานหมุนเวียนในยนตรกรรม ชื่อของเทสลาคือผู้บุกเบิกยานยนต์ประเภทไฟฟ้า และมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียนมาใช้ค่อนข้างโดดเด่นในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • การร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ของโลก อย่าง Southeast APDA, Yes Energy ทำให้เทสลาสามารถขยายความพยายามในการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เพื่อสร้างข้อได้เปรียบการแข่งขันในตลาดโลก 
  • นวัตกรรมขั้นสูง การออกแบบของเทสลาเป็นการผสมผสานความสามารถทางวิศวกรรมและการออกแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานอย่างสูงสุด 
  • ภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง เทสลาเป็นบริษัทที่มีภาพลักษณ์ในการนำพลังงานสะอาดมาใช้ เป็นความหวังใหม่ของมวลมนุษย์ที่มีต่อแหล่งพลังงานใหม่ที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น

จุดอ่อน Weakness:

  • หาซื้อได้ยาก เพราะเทสลาเป็นบริษัทที่อยู่ในช่วงการขยายฐานลูกค้าไปยังประเทศต่างๆ ทำให้บางประเทศไม่สามารถหาซื้อรถยนต์เทสลาได้
  • ราคาแพง สำหรับรถยนต์ของเทสลาเป็นสินค้าที่มีราคาแพง อยู่ในตลาดบนจึงเป็นไปได้ยากที่จะจับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ต่ำ 
  • CEO ดังกว่าแบรนด์ ปัญหาอย่างหนึ่งของเทสลาคือ Elon Musk เนื่องจาก Elon Musk กลายเป็นภาพจำและความเชื่ิอมั่นของผู้คนจนทำให้เทสลาไม่อาจเปลี่ยนมือใช้คนอื่นในการบริหารงานแทนได้

โอกาส Opportunities:

  • เทคโนโลยีไร้คนขับ เทคโนโลยีนี้ของเทสลามีชื่อเสียงในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกสบายมากที่สุด ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในการใช้งานมากเป็นอันดับหนึ่ง 
  • รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระแสในปัจจุบันผู้คนหันมาใช้ความสนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน 
  • เทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ เทสลามีการวางแผนนำแบตเตอรี่มาใช้ภายในองค์กร จะทำให้เทสลาสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ และช่วยสร้างงานในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลก

ภัยคุกคาม Threats:

  • การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ในตอนนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งให้ความสนใจในรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียน อาทิ BMW และ Volkswagen จึงกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของเทสลาที่ต้องเชือดเฉือนกันในอุตสาหกรรมนี้ 
  • เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ แรงกดดันทางแข่งขันทำให้อุตสาหกรรมนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งสามารถสร้างข้อได้เปรียบเหนือเทสลาได้ในอนาคต

โครงสร้างพื้นฐานของหลายๆ ประเทศไม่เอื้อต่อรถยนต์ไฟฟ้า โดยอย่างในประเทศไทยและอีกหลายประเทศ สถานที่สำหรับเติมรถยนต์ไฟฟ้ามีค่อนข้างจำกัด ทำให้เทสลาไม่สามารถขยายตลาดได้ดีมากเท่าที่ควร

ข้อจำกัดของ swot analysis

ข้อจำกัดของ SWOT Analysis

แม้ว่า Swot Analysis คือเครื่องมือที่นิยมใช้กันในโลกของธุรกิจ แต่แน่ใจใช่มั้ยว่าเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แน่นอนว่าไม่ ! เพราะ Swot Analysis นั้นครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส หรือ ภัยคุกคามเท่านั้น แต่ไม่สามารถจัดการปัจจัยที่มีความคลุมเครือได้ ตัวอย่างเช่นตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทอาจเป็นได้ทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งได้ โดยอาจมีทำเลดี แต่ค่าที่แพง ดังนั้น Swot Analysis จึงเป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้

อีกทั้งยังไม่สามารถเลือกแนวทางที่ดีที่สุดหรือลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหาได้อีกด้วย เนื่องจากการวิเคราะห์ด้วย Swot Analysis คือสิ่งที่นำเอาปัจจัยทั้งสี่ด้านมาวิเคราะห์โดยให้น้ำหนักเท่ากันหมด ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทราบได้ว่าปัญหาใดควรที่จะแก้หรือป้องกันเป็นอย่างแรก และไม่มีแนวทางหรือทิศทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง 

เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อจำกัดในการทำ Swot Analysis แล้ว นับว่า Swot Analysis ก็ยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นภาพรวมของบริษัทได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันในเรื่องใดๆ ก็ตาม การที่รู้จักจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคามที่จะส่งผลกระทบกับธุรกิจนั้นย่อมเรื่องที่ดี นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายๆ องค์กรเลือกใช้ SWOT Analysis เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ว่าภาพรวมของเรานั้นมีจุดไหนที่สามารถแข่งขันได้ และส่วนไหนที่ต้องเตรียมรับมือและระมัดระวังเป็นพิเศษ และทำให้การวางแผนและกลยุทธ์ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น หากวันนี้คุณยังไม่ได้ทำ SWOT Analysis เราจึงขอแนะนำให้เริ่มทำเพราะนี่คือสิ่งที่ช่วยให้หลายๆ ธุรกิจ หลายองค์กรก้าวข้ามปัญหาต่างๆ มาแล้วมากมาย

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

ทำไมต้องทำ SWOT Analysis?

เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการประเมินแบรนด์และองค์กรไปในตัวว่ากำลังขาดสิ่งไหน หรือสิ่งไหนที่เราทำได้ดีกว่า เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาพัฒนาภาพรวม เพื่อให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันได้

SWOT Analysis ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

SWOT Analysis ประกอบด้วยองค์ประกอบใหญ่ 2 ส่วนคือปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งปัจจัยภายในเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ นั่นคือ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness) ส่วนปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ นั่นคือ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) 

SWOT analysis ควรใช้เมื่อไหร่?

  1. เมื่อมีการขยายตลาดใหม่
  2. เมื่อต้องการไอเดียหรือแนวคิดทางธุรกิจใหม่
  3. การหาโอกาสในการลงทุน หรือหากเป็นในเชิงการทำ SEO ก็จะใช้เมื่อเราทำหรือออกแบบเว็บไซต์ใหม่ เพื่อที่จะดูว่าคนที่เข้าชมเว็บเราเป็นใคร ควรใช้คีย์เวิร์ดแบบไหน และโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่งควรไปในทิศทางไหน และนำมาวางแผนการทำ SEO นั่นเอง
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง