Table of Contents

Categories

Recent Posts

ab testing

ทำความรู้จัก AB Testing เทคนิคสำคัญสำหรับการทำตลาดออนไลน์

Table of Contents

ในยุคปัจจุบันที่การทำตลาดออนไลน์สามารถทำเองได้ทุกคน แม้จะไม่มีพนักงานช่วยทำตลาดออนไลน์ คุณก็สามารถทำเองได้ เพราะปัจจุบันการทำการตลาดบนช่องทางออนไลน์เต็มไปด้วยความสะดวกสบาย และง่ายต่อการเข้าถึง

วันนี้ Minimice มีหนึ่งเครื่องมือจะมาแนะนำ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายมากยิ่งขึ้น เครื่องมือนี้มีชื่อว่า ab testing เครื่องมือชิ้นสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน เพราะเครื่องมือนี้จะทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบเพื่อหาสิ่งที่ดี และเหมาะสมที่สุดที่ลูกค้าต้องการได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างการหา Content คุณภาพ เป็นต้น และหากใครที่ยังไม่เคยทำมาก่อน เราจะมาทำความรู้จักเครื่องมือชนิดนี้กันให้มากขึ้น หากคุณเข้าใจเทคนิคและวิธีการนี้ คุณจะสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ของการทดสอบในการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายได้ในแบบที่คุณอาจคิดไม่ถึง

ab testing คืออะไร

AB Testing คืออะไร

AB Testing คือการทดสอบระหว่าง 2 สิ่งเพื่อประเมินคุณภาพ โดยมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างของปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น การทดสอบหน้าเว็บไซต์ 2 เว็บ ด้วยการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม และประเมินการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ด้วยการทดสอบในระยะเวลาที่กำหนด วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถบอกได้ว่าสองสิ่งที่เปรียบเทียบนั้น สิ่งใดดีกว่า สิ่งใดได้ผลดีกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อการวางแผนการตลาดในระยะยาวอีกด้วย

ab testing สำคัญอย่างไร

AB Testing สำคัญอย่างไรต่อการทำธุรกิจออนไลน์

การทำ AB Testing นอกจากจะใช้ดูรูปแบบเนื้อหา คอนเทนต์ และเปรียบเทียบระหว่างสองสิ่งแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่โดดเด่นไม่แพ้กันคือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ ยกตัวอย่างกรณีที่ยอดขายตก เราสามารถใช้กระบวนการดังกล่าวทดสอบเพื่อปรับปรุงและพัฒนาสื่อ หากลุ่มเป้าหมายใหม่ หรือแม้กระทั่งกำหนดทิศทางสินค้าและบริการใหม่ตามกระแสได้เลย ดังนั้นกระบวนการนี้จึงสำคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจ

ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและเห็นผลจริง

ข้อดีของการทำ AB Testing ที่ชัดเจนคือเรื่องของระยะเวลา ปกติแล้วการทดสอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจใช้เวลากว่า 1 เดือน หรือมากกว่านั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุด แต่สำหรับกระบวนการนี้ ไม่จำเป็นต้องรอนานขนาดนั้น คุณสามารถกำหนดระยะเวลาได้เลย โดยการกำหนดขอบเขตดังกล่าวจะมีความยืดหยุ่นสูงตั้งแต่ 10 นาที ไปจนถึงข้ามวัน ทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูลได้ทันเวลา และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ลดอัตราการตีกลับ (Bounce Rate)

การทำ AB Testing จุดสำคัญคือเรื่องของเนื้อหา เมื่อใดก็ตามที่เนื้อหาไม่มีคุณภาพ Bounce Rate ก็จะสูง ดังนั้นแล้ว หากคุณต้องการลดเปอร์เซ็นของ Bounce Rate บนหน้าเว็บไซต์ลง คุณต้องทำ AB Testing เพื่อควบคุมคุณภาพของคอนเทนต์

เพิ่มผลตอบแทน (ROI) จากการเข้าชมเว็บไซต์

หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มผลตอบแทน สิ่งสำคัญคือเนื้อหาและรูปแบบบนสื่อออนไลน์ของคุณต้องมีคุณภาพ เพราะการจะเกิด ROI ต้องมาจากการที่ Content ตอบโจทย์ลูกค้า และให้ประสบการณ์ที่ดีต่อการเข้าชม การทำ ab testing จะช่วยให้คุณนั้นสามารถวางแผนการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ได้ ที่สำคัญยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการทำการตลาดแบบลองผิดลองถูกอีกด้วย

แก้ปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

หลายครั้งที่คุณอาจเห็นถึงปัญหามากมายที่เกี่ยวกับการเข้าถึง และยอดตัวเลขที่ไม่เป็นไปตามเป้า แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าแท้จริงแล้วปัญหาเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไรกันแน่ ดังนั้นเพื่อไม่ให้การแก้ปัญหาผิดจุด พลาดเป้า ขอแนะนำให้ทำการทดสอบด้วย AB Testing ในแต่ละส่วนที่สงสัย เพื่อให้ชัดเจน และเห็นภาพมากพอจนสามารถปรับได้อย่างตรงจุด

ลดความเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์

หลายครั้งเมื่อเกิดปัญหา ก็มักจะมีการแก้ไขแปลกๆ ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อย่างการที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า ROI น้อย ก็เลือกที่จะสร้างเว็บไซต์ใหม่ เพื่อหวังว่าคุณภาพจะกลับมาดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงคุณไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเลย เพราะคุณสามารถหาสาเหตุของปัญหาได้ด้วยการใช้เครื่องมือ AB Testing นอกจากคุณจะเห็นปัญหาที่แท้จริงแล้ว ยังช่วยให้คุณไม่ต้องทำการตลาดด้วยการลงเงินเกินความจำเป็นอีกด้วย

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน

การปรับคุณภาพของเนื้อหา หรือทดสอบ AB Testing สิ่งสำคัญอยู่ที่การวางแผนและการออกแบบสื่อ เพราะสิ่งเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าอยู่เสมอ ดังนั้นในการออกแบบหรือทดสอบ อย่าลืมที่จะเก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ใช้งานโดยตรง เพราะการดูตัวเลขอาจไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ในแง่มุมของธุรกิจและการตลาด การส่งเสริมให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมก็ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

ab testing ทดสอบอะไรได้บ้าง

AB Testing ทดสอบอะไรได้บ้าง

หากคุณเริ่มสนใจและอยากที่จะทำ AB Testing เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ของคุณ คุณจะสามารถทดสอบอะไรบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้บ้าง และจะเป็นประโยชน์อย่างไรกับการทำการตลาดของคุณไปดูกันเลย

ทดสอบเนื้อหา

การใช้ AB Testing ทดสอบเนื้อหาคือหัวใจหลักของการทำเว็บไซต์ เพราะผู้คนจะเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราได้ ต้องมีปัญหาอยู่ และกำลังหาวิธีแก้ไขด้วยสินค้าและบริการ หากลูกค้าเข้ามาในหน้าเว็บไซต์ของเรา เราสามารถเช็คคุณภาพเปรียบเทียบ ได้จาก Bounce Rate จะสะท้อนถึงคุณภาพของเนื้อหาที่คนสนใจที่สุดได้

ทดสอบปุ่ม CTA (Call-to-Action)

การทดสอบ Call-to-Action คือการทดสอบกลุ่มคำที่ใช้ในการสั่ง หรือกำกับให้คนทำสิ่งนั้นหลังดูข้อมูลจบ เช่น สั่งซื้อที่, ติดตามเว็บไซต์ของเรา เป็นต้น โดยลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีความรู้สึกกับประเภทของ Call-to-Action ที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแล้วการทดสอบ AB Testing จึงจะเป็นการทดสอบสองกลุ่มคำเพื่อหารูปแบบคำที่ส่งผลต่อการสร้างยอดขายได้ดีที่สุด

ทดสอบรูปแบบของเว็บไซต์

การทำ AB Testing ทดสอบรูปแบบเว็บไซต์เพื่อดูว่า UX/UI ที่ออกแบบมาสอดคล้องต่อการใช้งานหรือไม่ โดยการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบเว็บไซต์ 2 รูปแบบ เปรียบเทียบคุณภาพการดู และการเข้าถึง รวมไปถึงระยะเวลาที่อยู่ในเพจ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้า

ทดสอบพฤติกรรมการค้นหา

หากคุณอยากรู้ว่าลูกค้าสนใจสิ่งที่อยู่ในเว็บไซต์แค่ไหน ขอแนะนำให้คุณทดสอบ AB Testing ดูพฤติกรรมของลูกค้าที่อยู่บนหน้าเว็บไซต์ 2 เว็บ คุณสามารถวัดผลได้จากช่วงเวลา และการคลิกของลูกค้า หากอยู่บนหน้าเว็บไซต์นาน และมีการคลิกลิงค์ภายในหลายคลิก ก็อาจสะท้อนให้เห็นได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวน่าสนใจ และยังดูได้ด้วยว่าสิ่งที่ลูกค้าค้นหาเกี่ยวกับอะไร หากทั้ง 2 เว็บที่ทดสอบออกมามีลักษณะเดียวกัน ก็ถือได้ว่าลูกค้ามีความสนใจและเป็นข้อมูลที่สำคัญในการนำไปออกแบบแผนการตลาดต่อไป

ทดสอบการโฆษณาใน Social media

การทำ AB Testing เพื่อทดสอบโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ถือเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะทำได้ง่าย และไม่ซับซ้อน รูปแบบการวิเคราะห์ค่อนข้างตรง ซึ่งวิธีการทดสอบคือการนำสื่อ 2 รูปแบบที่มีความแตกต่างกัน ตั้งกลุ่มเป้าหมายต่างกัน แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน เพื่อทดสอบว่าสื่อรูปแบบใดจะส่งผลต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวค่อนข้างมีความยืดหยุ่นในการปรับ ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีร้านค้าและทำธุรกิจบนโซเชียลมีเดีย

ประเภทในการทำ ab testing

ประเภทในการทำ AB Testing

การทำ AB Testing จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบในเชิงเทคนิค ซึ่งส่งผลต่อวัตถุประสงค์ของการทำ AB Testing โดยตรง ดังนั้นคุณควรทำความเข้าใจรูปแบบ และวิธีการ รวมถึงลักษณะเฉพาะก่อน เพื่อให้การเก็บข้อมูลวัดผลของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. การทดสอบแบบคลาสสิก (Classic A/B Test)

การทดสอบ AB Testing แบบคลาสสิค คือรูปแบบการทดสอบที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงมีวัตถุประสงค์ตรงตัวคือการทดสอบ 2 สิ่งเพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุดในภาพรวม

2. การทดสอบแบบแยกส่วน (Split Test)

หากคุณต้องการทดสอบ AB Testing แบบมีตัวแปรที่มากกว่า 1 อย่าง การทดสอบแบบแยกส่วนจะเหมาะกว่าแบบคลาสสิค เพราะคุณสามารถแยกส่วนการทดสอบออกจากกันได้ เช่น การแยกเว็บไซต์ การแยกดีไซน์เฉพาะจุด เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยให้เราสามารถเก็บข้อมูลได้ลึกมากยิ่งขึ้น

3. การทดสอบแบบหลายตัวแปร (Multivariate or MVT Test)

หากต้องการที่จะวัดตัวแปรมากกว่า 1 อย่างบนหน้าเว็บไซต์เดียวพร้อมๆ กันในครั้งเดียว การทดสอบแบบหลายตัวแปรคือสิ่งที่คุณต้องทำ แต่การใช้วิธีนี้จะมีความซับซ้อนสูงกว่าทั้ง 2 แบบ และใช้สมมติฐานที่มากกว่าแบบทั่วไป วิธีการทำ AB Testing นี้จึงนิยมใช้แค่ในธุรกิจที่ต้องการทำการตลาดขั้นสูงเท่านั้น

ab testing กับการทำ seo

AB Testing กับการทำ SEO

คุณอาจได้ยินว่า AB Testing จากโซเชียลมีเดียได้ผลลัพธ์ดี และเหมาะกับการนำไปเป็นเครื่องมือทดสอบคุณภาพต่างๆ แต่รู้หรือไม่ว่าการทำ AB Testing ไม่ได้จำกัดแค่โซเชียลมีเดีย เพราะหลายธุรกิจเริ่มหันมาทำกระบวนการเดียวกันบนหน้าเว็บไซต์ของ Google และผลลัพธ์ก็เป็นที่น่าพอใจพอสมควร ส่งผลให้หลายเว็บไซต์ที่มีการทำ SEO ติดอันดับ การทดสอบนี้ จึงควรมีการปรับแต่งและหาข้อมูลที่ดีที่สุด เพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าและเป็นสิ่งที่ Google อยากเห็นมากที่สุดจากเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  • การทำให้ Google เข้าใจผิดว่ากำลังพยายามทำหน้าเว็บซ้ำหรือมีเนื้อหาที่คล้ายกัน
  • ใช้ Canonical Tags เพื่อเป็นการบอก Search Engine ให้รู้ว่า URL ที่อยู่ภายใต้ Tag นี้คือหน้าหลักของเว็บไซต์ เพื่อป้องกันการนำเสนอข้อมูลเว็บผิดหน้า และป้องกันการเกิดข้อมูลซ้ำ เพราะหากเราไม่ใช้งาน Tag นี้ Algorithm ของ Google อาจจะไม่รู้ว่าหน้าเว็บไหนที่เราต้องการให้นำไปจัดอันดับใน Index 
  • ปรับการใช้ redirect 302 แทน redirect 301 เพราะว่าเราต้องการให้หน้านั้นเป็นหน้าทดสอบ A/B Testing เท่านั้น ไม่ใช่หน้าหลักหรือหน้าถาวร
  • หลังจากที่เราทำการทดสอบ A/B Testing จนได้ข้อมูลเพียงพอและผลลัพธ์ที่พอใจแล้ว ให้ทำการหยุดทดสอบ และปรับรูปแบบของหน้าให้เป็นไปตามที่ต้องการทันที

สรุป

การทำ AB Testing ทำได้ทั้งบนโซเชียลมีเดีย และเว็บไซต์ เป็นการทดสอบทางการตลาดเพื่อวัดความน่าสนใจ และคุณภาพของคอนเทนต์ รวมไปถึงความต้องการของลูกค้า การทดสอบนี้จะช่วยให้ธุรกิจชองคุณนำเสนอข้อมูล และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ในหลายมิติ ดังนั้นหากใครที่กำลังวางแผนทำธุรกิจออนไลน์เปิดเว็บไซต์ และอยากให้เพจขึ้นอันดับต้นๆ ของ Google อย่าลืมศึกษาเรื่องนี้กันไว้ด้วย

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำ AB Testing

ควรเริ่มทำ ab testing ตอนไหน?

กำหนดวัตถุประสงค์ในการทำ ab testing ให้ชัดเจน เพื่อให้การกำหนดตัวแปรสอดคล้องและวัดผลได้

การทำ ab testing มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

  1. ออกแบบสื่อ และข้อมูลที่จะทดสอบ
  2. กำหนดวัตถุประสงค์
  3. กำหนดตัวแปร
  4. ทำการทดสอบ ab testing
  5. เก็บข้อมูล
  6. นำข้อมูลไปวิเคราะห์และปรับปรุง

ตัวอย่างการทำ ab testing

การทำ ab testing สามารถทำได้หลายรูปแบขึ้นอยู่กับวัตุประสงค์ โดยคุณสามารถทำได้การทดสอบ Headline, Call-to-action หรือทดสอบเพื่อเปรียบเทียบการเข้าชมระหว่างสองเว็บไซต์ก็สามารถทำได้

การทดสอบ ab testing ในไหนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด?

การทำ ab testing ปันจุบันได้รับความนิยมในหลายแพลตฟอร์มโดยเฉพาะกับเว็บไซต์ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับการเข้าถึงมากที่สุด และมีโอกาสสร้างการติดตาม สร้างยอดขายได้มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

เครื่องมือในการทำ ab testing มีอะไรบ้าง?

ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้ในการทำ ab testing มีค่อนข้างหลากหลาย โดยบางตัวอาจมาจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการเองยกตัวอย่างเช่น Meta, Optimizely, Omniconvert เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิมยมอย่างมาก และเข้าถึงได้ง่ายคือ Google Optimize เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย และมีความสามารถสูง ครอบคลุมการใช้งานทุกรูปแบบ

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง