Table of Contents

Categories

Recent Posts

วางแผนการทำธุรกิจด้วย Business Model Canvas

Business Model Canvas คืออะไร? สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำธุรกิจของตัวเอง

Table of Contents

การทำธุรกิจหรือลงทุนทำอะไรสักอย่างแบบไม่มีการวางแผน ก็เหมือนไปอยู่กลางดงของศัตรูที่ถือหอกพร้อมจะทิ่มแทงเชือดเฉือดให้สิ้นคาสนามรบ หากไม่อยากเป็นแบบนั้นเราควรมีการวางแผนก่อนทำธุรกิจ เพื่อให้รู้ตัวเองว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน องค์ประกอบที่ต้องมีควรมีอะไรบ้าง จุดอ่อนจุดแข็งและสิ่งที่เรายังขาด เพื่อให้สามารถมองภาพรวมทั้งหมดออกก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจแบบจริงจัง ซึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยเรานั่นก็คือ BMC หรือ Business Model Canvas นั่นเอง

การวางแผนด้วย Business Model Canvas คือหัวใจในการวางแผนธุรกิจรูปแบบใหม่กันเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ได้สนใจแต่โมเดลธุรกิจเท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับความสำเร็จ และเป้าหมายของแบรนด์อีกด้วย นักธุรกิจคนไหนที่ไม่อยากพลาดกับข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับ Business Model Canvas คืออะไร, มีองค์ประกอบอะไรบ้าง หรือมีธุรกิจใดบ้างที่ใช้ Business Model Canvas Template ไปติดตามกันได้ในบทความชิ้นนี้เลย

Business Model Canvas คืออะไร

Business Model Canvas คืออะไร?

Business Model Canvas คือเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจผ่านองค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 9 เช่น จุดขาย, กลุ่มลูกค้า, ช่องทางการขาย หรือกิจกรรมหลักของธุรกิจ ซึ่งมีแบบฟอร์มที่สามารถอธิบายแผน Business Model Canvas ไว้ในกระดาษแผ่นเดียว ที่เรียกว่า Business Model Canvas Template ด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้เห็นภาพรวมขององค์กรได้ง่าย พร้อมพลิกแพลงแก้เกมได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือการพัฒนาต่อยอดองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Business model canvas กับ Business plan ต่างกันอย่างไร

Business Model Canvas กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าจะต้องมีคนกำลังสงสัยว่าแผนธุรกิจของ Business Model Canvas แตกต่างจาก Business Plan ที่หลายคนรู้จักกันไหม และแตกต่างกันอย่างไร ในเนื้อหาส่วนนี้จะแจกแจงความแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบให้เห็นกันแบบประเด็นต่อประเด็น

  • ประเด็นที่ 1 Business Model Canvas: แผนอธิบายแต่ละส่วนของธุรกิจ vs Business Plan: แผนระยะยาวของธุรกิจ ด้วยรูปแบบของ Business Model Canvas ที่จะมุ่งเน้นไปที่การมองเห็นภาพรวมของธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนเพื่อให้ทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่ใช่สำหรับ Business Plan ที่เน้นเส้นทางการเติบโต และการดำเนินของธุรกิจในอีก 3 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า 
  • ประเด็นที่ 2 Business Model Canvas: ไม่ได้เน้นเรื่องงบการเงิน vs Business Plan: มองภาพงบการเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก แผนที่ Business Model Canvas เป็นลักษณะของการลงรายละเอียดแต่ละส่วนของธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสารทั้งภายใน และภายนอกองค์กร จึงไม่ได้เชื่อมโยงกับเรื่องงบการเงินมากเท่ากับ Business Plan ที่เป็นการลงรายละเอียดในหลายๆ ส่วนที่มีความกว้างและเกี่ยวข้องในระยะยาว รวมถึงลงลึกในแง่ของงบประมาณด้วย 
  • ประเด็นที่ 3 Business Model Canvas: ใช้เวลาในการระดมไอเดียไม่นาน vs Business Plan: ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากหลายภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนภาพรวมเป็นรายปีของ Business Plan จำเป็นต้องกำหนดทิศทางต่างๆ และลงลึกถึงกลยุทธ์ที่ต้องใช้ ทำให้การวางแผนแบบ  Business Plan ใช้ระยะเวลานานกว่ามาก เมื่อเทียบกับ Business Model Canvas ที่จะเน้นรูปแบบการระดมความคิดกับเพื่อนร่วมงาน นี่เป็นการค้นหาปัญหา, ร่วมกันเสนอวิธีแก้ไข และหาทางต่อยอดพัฒนาแบรนด์ไปอีกระดับผ่านกระดาษแผ่นเดียวที่มี Business Model Canvas Template เป็นไกด์ไลน์
  • ประเด็นที่ 4 Business Model Canvas: โฟกัสคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ vs Business Plan: โฟกัสมุมมองของเจ้าของกิจการ สิ่งที่ทั้ง 2 แผนให้ความสำคัญก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรูปแบบของ Business Model Canvas โฟกัสไปที่ความคุ้มค่า และคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับจากการบริการ หรือสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำในภายหลัง  แต่ในแง่ของ Business Plan จะพุ่งความสนใจไปที่แบรนด์จะได้รับอะไร และเกิดคุณค่ากับแบรนด์ในทิศทางใดบ้างเป็นหลัก 
  • ประเด็นที่ 5 Business Model Canvas: ช่วยในการเริ่มต้นกิจการ vs Business Plan: ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หากถามว่าต้องเลือกทำเฉพาะแผนใดแผนหนึ่งหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เพราะนักธุรกิจจำเป็นต้องทำทั้ง 2 แผน เนื่องจากแต่ละแผนการตลาดจะส่งเสริมกันในระยะยาว เนื่องจากรูปแบบ  Business Model Canvas เน้นไปที่ช่วงแรกเริ่มของการทำธุรกิจ แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวคือ Business Plan

องค์ประกอบของ Business Model Canvas

องค์ประกอบของ Business Model Canvas

เมื่อช่วงต้นได้มีการพูดถึงองค์ประกอบของ Business Model Canvas ว่ามีอยู่ทั้งหมด 9 อย่างด้วยกัน ซึ่งในส่วนนี้จะมาลงรายละเอียดของการทำแผน Business Model Cannvas กันว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมกันแล้วไปติดตามกันต่อได้เลย ดังนี้

  • จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions)

ตัวอย่าง: สินค้าจากวัสดุธรรมชาติ, มีบริการหลังการขาย, ใส่ใจการคืนประโยชน์ให้กับสังคม

  • กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments)

ตัวอย่าง: กลุ่มพนักงานออฟฟิศ, กลุ่มแม่บ้าน, กลุ่มแม่ และลูก 

  • ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels)

ตัวอย่าง: Shopee, Lazada, สื่อ Social Media 

  • วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships)

ตัวอย่าง: มีระบบบัตรสมาชิก, บริการหลังการขาย 

  • ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams)

ตัวอย่าง: ช่องทางรายได้ขายส่งจากคู่แม่ค้า, มีตัวแทนที่ขายราคาปลีก 

  • ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources)

ตัวอย่าง: สื่อโฆษณา, สินค้า, พนักงาน 

  • กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities)

ตัวอย่าง: เพิ่มมาตรฐานสินค้า, ระบบเครือข่าย หรือตัวแทน 

  • คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners)

ตัวอย่าง: บริษัทนำเข้าสินค้า, ตัวแทนขายส่ง, โรงงานผลิตสินค้า

  • รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure)

ตัวอย่าง: ต้นทุนสินค้าที่สั่งผลิตขึ้นมาเอง, เงินเดือนพนักงาน, ค่าส่ง

How เราจะมีวิธีการทำธุรกิจอย่างไร

“How = อย่างไร?” นี่จะเป็นคำถามเพื่อให้นักธุรกิจมองเห็นลู่ทางในการเริ่มต้นทำธุรกิจ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจให้อยู่ต่อได้อย่างไร เช่น จะหาลูกค้าใหม่อย่างไร, จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดอย่างไร หรือจะหาแหล่งรายได้ก้อนใหม่อย่างไร ซึ่งคำถามเหล่านี้จะช่วยในการไกด์ไลน์ให้ผู้ประกอบการได้องค์ประกอบของการทำแผน Business Model Canvas ทั้ง 3 ส่วน ดังนี้

Key Partners

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): ในหลายธุรกิจที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ หรือจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์ในการดูแล หรือประสานงานเพื่อให้เกิดความลื่นไหลในการทำธุรกิจมากที่สุด ข้อดีของการมีพาร์ทเนอร์คือ การกระจายความเสี่ยง และประหยัดระยะเวลาในการทำงานมากขึ้น

Key Activities

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities): กิจกรรมที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้ดีขึ้น โดยจะต้องอ้างอิงถึงพื้นฐานของธุรกิจว่ามีลักษณะใด ตัวอย่าง ธุรกิจขายอาหารคลีน จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อกระชับมิตรระหว่างลูกค้า และแบรนด์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

Key Resources

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources): ทรัพยากรที่สำคัญกับองค์กร และทำให้แบรนด์ขับเคลื่อนต่อเนื่องไปได้ ในที่นี้จะสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ 1.ทรัพยากรที่มีอยู่ และ 2.ทรัพยากรที่ต้องมี ซึ่งผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า และให้ความสำคัญกับทรัพยากรตามลำดับความสำคัญ

What เราทำอะไร

“What = อะไร?” อะไรที่แบรนด์ของผู้ประกอบทำอยู่, สินค้าของแบรนด์มีคุณค่าในชิงอะไรบ้าง และอะไรคืองานบริการหลักของแบรนด์ คำถามเหล่านี้จะช่วยในการแจกแจงข้อดี และจุดขายของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Value Proposition

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions): ส่วนนี้ผู้ประกอบการจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าอะไรคือจุดเด่น, คุณค่าของสินค้า หรือบริการของทางแบรนด์คืออะไร และตอบโจทย์กับปัญหาของกลุ่มลูกค้าจริงหรือไม่ นี่เป็นช่องว่างใหญ่ที่หากเติมช่องว่างนี้ได้ และแข็งแรงมากพอก็จะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการก้าวหน้าไปได้อย่างดีเยี่ยม

Who ใครจะใช้สินค้าเรา

“Who = ใคร?” เป็นคำถามที่จัดว่าสำคัญมากที่สุดก็ว่าได้ หากมีสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะนำไปขายใคร ก็ไม่อาจจะแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินได้ คำถามในส่วนนี้จะช่วยในการต่อยอดในส่วนของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น ใครเป็นลูกค้าของแบรนด์, ลูกค้าจะเจอสินค้าได้จากช่องทางไหน หรือกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะการเสพสื่อช่องทางใด เป็นต้น

Customer Relationship

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships): หลายแบรนด์มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด เพราะหากแบรนด์สามารถใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากพอจะทำให้ลูกค้ารู้สึกสนิทใจกับแบรนด์ ก่อให้เกิดการซื้อซ้ำ และการบอกต่อ (Word of mouth) นั่นเอง

Customer Segment

กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments): สิ่งที่จะทำให้แบรนด์ขายออกหรือไม่คือสิ่งนี้ นักธุรกิจต้องตอบคำถามนี้ให้ชัดเจนว่าลูกค้าของแบรนด์คือใคร โดยที่หัวข้อนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยๆ อีกคือ 1.ลูกค้ากลุ่ม Mass หรือ 2.ลูกค้ากลุ่ม Niche นี่เป็นทางเลือกที่ต้องการความชัดเจน และจะส่งผลต่อการสื่อสารของแบรนด์อีกด้วย

Channel

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels): การที่นักธุรกิจจะรู้ได้ว่าควรสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางใด นักธุรกิจจะต้องเข้าใจพฤติกรรมในการเสพสื่อของลูกค้าเสียก่อน จึงจะเลือกช่องทางในการขายได้อย่างเหมาะสม และเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสื่อแต่ละประเภทมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป

Money

“Money = เงิน” นี่อาจเป็นเนื้อหาเพียงส่วนเดียวที่ไม่ใช่คำถาม แต่ก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รู้ว่าผลลัพธ์ของการทำธุรกิจเป็นไปในทิศทางใด, มีค่าใช้จ่ายที่สมดุลกันหรือไม่ และมีแหล่งรายได้อื่นที่เติบโตจากธุรกิจหลักบ้างไหม โดยจะอ้างอิงจากองค์ประกอบ 2 ส่วนสุดท้ายของ Business Model Canvas ดังนี้

Cost Structure

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure): ทุกธุรกิจล้วนมีต้นทุนที่ต้องจัดการกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ต้นทุนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ตัวอย่าง ค่าน้ำ, ค่าไฟ หรือค่าจ้างพนักงาน และ 2.ต้นทุนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ ตัวอย่าง ค่าโฆษณา, ค่าจ้างพรีเซนเตอร์ หรืองบในการลงข่าวประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

Revenue Streams

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams): ช่องทางในการสร้างรายได้ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าวิธีการสร้างรายได้มาจากการขายสินค้าเพียงเท่านั้น แต่ในความจริงแล้วในหนึ่งธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากอื่นๆ ได้อีกหลายช่องทาง ตัวอย่าง ค่าบริการ, ค่าเช่า หรือจะเป็นค่าอนุญาตลิขสิทธิ์

ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Business Model Canvas มาใช้และได้ผลดี

เมื่อคุณได้เข้าใจภาพรวมของการวางแผนธุรกิจแบบ  Business Model Canvas ทั้งในแง่ของการทำความรู้จักว่า Business Model Canvas คืออะไร และ Business Model Canvas มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในส่วนนี้จะพาทุกคนมาเจาะลึกกับกรณีศึกษาของแบรนด์ที่นำ Business Model Canvas มาปรับใช้ จะมีตัวอย่างของแบรนด์อะไรบ้าง ไปติดตามเนื้อหาที่นำมาฝากกันได้เลย

Google กับตัวอย่าง Business Model Canvas

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Google

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับ Search Engine อย่าง Google แน่นอน นี่เป็นดั่งคลังความรู้ของคนทั่วโลก เพียงแค่ค้นหาคำที่ต้องการ ข้อมูลจากทุกสารทิศจะพรั่งพรูเข้ามาปรากฏอยู่ที่หน้าจอของคุณ หากจะเจาะรูปแบบแผนธุรกิจของ Google อาจจะต้องเรียกว่าเป็นแผนแบบซ่อนเร้น เนื่องจากไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ใช้บริการเท่านั้นที่ซื้อบริการของ Google 

วิธีที่ Google ให้บริการจะเหมือนกันกับพวกบริษัท สายธุรกิจการสื่อสาร ที่ได้รับเงินจากค่าโฆษณาด้วยนั้นเอง หลายบริษัทจ่ายเงินให้กับ Google เพื่อดันหน้าเว็บไซต์ของตนให้ปรากฎเป็นอันดับต้นๆ ด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมการค้นหาบนโลกโซเชียลมากถึง 90% รวมเป็นจำนวนครั้งได้มากกว่า 80 พันล้านครั้งต่อปี

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Google

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

ผู้ใช้งาน หรือ Users และนักโฆษณา สิ่งแรกที่อาจจะต้องทำความเข้าใจก่อนคือ รูปแบบธุรกิจของ Google นั้นเป็นแบบระบบลูกค้าหลายด้าน (Multi-sided platform) หมายถึงการตลาดที่มีกลุ่มลูกค้ามากกว่า 2 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่สินค้า หรือ Google ที่ทำหน้าที่เป็น Search engine สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายนั้นได้อย่างลงตัว 

 อีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Google คือ กลุ่ม Content Producers หรือผู้ที่ทำคอนเทนท์ออกมาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งในรูปแบบเจ้าของเว็บไซต์, บล็อกเกอร์, เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ที่รวมถึงยูทูปเบอร์ด้วย ซึ่งเนื้อหาของพวกเขาเหล่านี้จะขึ้นปรากฏในหน้าค้นหาของ Google อีกทั้งในหน้าเนื้อหาของผู้ผลิตคอนเทนท์จะยังพื้นที่แทรกโฆษณาของ Google อีกด้วย ทำให้นี่เป็นอีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ที่สำคัญของ Google เลยก็ว่าได้ 

 กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

การรวบรวมข้อมูล และสถิติในการค้นหา, การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ, การพัฒนารูปแบบการค้นหาข้อมูลที่ง่าย และมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ความน่าสนใจในประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Google คือในการค้นหาแต่ละครั้ง คาดว่าสามารถปรากฏผลลัพธ์หน้าเว็บไซต์มากถึง 8 พันล้านเว็บไซต์ ซึ่งจะจัดเรียงลำดับของแต่ละเว็บไซต์ตามความเหมาะสมกับคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้งานใช้ในการค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด 

 ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ทรัพยากรที่เป็นดั่งหัวใจหลักของ Google คือการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิบัตร รวมถึงการพัฒนาอัลกอริธึมการค้นหา และ Googlebot ที่จะคอยทำหน้าที่ตรวจสอบคอนเทนท์อยู่เสมอๆ Google ตั้งใจที่จะเป็นผู้นำ และสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อผลักดันแบรนด์ และระบบปฏิบัติการมือถืออย่าง Android ให้เป็นระบบชั้นนำแบบไร้ที่ติ

 จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

จุดแข็งที่ชัดเจน และแข็งแรงมากที่สุดสำหรับ Google คือการเป็นเครื่องมือในการค้นหาที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ฟรี ด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้ทั้งผู้ใช้งานที่ต้องการค้นหาสินค้า หรือสิ่งที่ต้องการได้เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วพิมพ์คีย์เวิร์ดเท่านั้นเอง ใช้งานง่าย ค้นหาไว และที่สำคัญคือ ใช้งานได้ทุกเมื่อ หากคุณมีอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สักอย่าง โลกทั้งใบก็อยู่ในมือคุณแล้ว 

 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

ถึงแม้รูปแบบบริการของ Google จะเป็นการให้ผู้ใช้งานเข้ามาค้นหาด้วยตัวเอง แต่สิ่งที่ทางแบรนด์ให้ความสำคัญ และหวังให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการเข้าใช้บริการคือ ความรวดเร็ว และการรับสารที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

ด้วยลักษณะงานบริการของ Google ทำให้มีกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักโฆษณาที่ต้องการโปรโมตสินค้าของตน เพื่อให้เกิดทั้ง Brand Awareness หรือยอดขายที่สูงขึ้น, ผู้ผลิตคอนเทนท์ ที่ต้องการเพิ่มฐานผู้สนใจในเนื้อหาของตัวเอง หรือผู้ใช้งานที่ต้องการค้นหาสิ่งของ หรือตอบสนองความต้องการบางอย่างบนโลกออนไลน์ และเลือกใช้ Google เป็นเครื่องมือในการค้นหา นี่ก็เป็นการสนับสนุน และเข้าข่าสนใจในธุรกิจของ Google แล้ว 

 ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

แน่นอนว่า Google มีหลากหลายช่องทางภายใต้เครือข่ายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Android, Chrome, Maps, และ Gmail 

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

Research and development, Traffic Acquisition Costs (TAC), Sales and marketing, Data centers, General, administrative, and legal operations

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

Free, Cost-Per-Click, Advertising, Percentage of app sales and subscriptions, Sales of products and services, Subscriptions from YouTube, Monthly/annual fees or per-usage fees

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Netflix

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Netflix

รูปแบบในการทำธุรกิจของ Netflix ถือว่ามีความเป็นลูกผสมระหว่าง การสมัครสมาชิก และบริการแบบเหมาๆ (All You Can Eat business models) หากจะทำความเข้าใจลักษณะการทำธุรกิจอาจจะต้องเข้าใจบริบท และการเติบโตของผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายนี้ให้ดีกันเสียก่อน 

ที่นี่ไม่ได้เติบโตก้าวแรกมาจากแผนการเป็นสตรีมมิ่ง แต่เกิดมาจากจุดเริ่มต้นอย่างการเป็นร้านเช่าดีวีดีที่ส่งให้บริการผ่านไปรษณีย์ จนสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด และกลายเป็นผู้บุกเบิกในเส้นทางการเป็นสตรีมมิ่งผ่านระบบออนไลน์แทน แน่นอนว่าความสำเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะโชค หรือความบังเอิญ แต่มีการวางแผน และเทคนิคที่หลายแบรนด์น่าจะนำไปต่อยอดได้ดีทีเดียว 

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Netflix

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

Netflix มีเครือข่ายที่กว้างขวางอย่างมาก โดยเฉพาะกับลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ หรือซีรี่ย์ของ Netflix ที่ต้องมีการเจรจากันของช่อง TV, ผู้ผลิตสื่อ หรือแม้กระทั่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Wii, X-Box, PlayStation และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการให้ Netflix เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของพวกเขาเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน 

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

สิ่งที่ Netflix ตั้งใจไม่ได้เพียงแต่การเป็นพื้นที่สตรีมมิ่งเพื่อผู้ชมเพียงเท่านั้น เพราะ Netflix ต้องการสร้างสรรค์ Original Contents ที่ดีที่สุดให้กับเหล่าผู้ชม และสิ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองในตอนนี้คือ การปรับกลยุทธ์ทางด้านราคา และการเพิ่มโฆษณา ซึ่งน่าติดตามว่า Netflix กำลังมีแผนรักษาฐานลูกค้าอย่างไรให้แบรนด์เองก็ได้รับ benefit ไปด้วยในเวลาเดียวกัน 

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากเว็บไซต์ และแอปที่ถือเป็นทรัพยากรหลักของ Netflix แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กันก็คือ ทรัพยากรบุคคลของทางค่าย เพราะมีการบุกเบิกเส้นทางสายอาชีพที่เติบโตเร็วอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Software developers, The content library, The recommendation algorithm, Filmmakers และ Producers, The brand, และ The studios โดยทุกคน และทุกองค์ประกอบนี้ได้ถูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับผลงานสุดสร้างสรรค์ของ Netflix ในอนาคต 

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

Access to a huge catalog of products, On-demand streaming, with 24/7 access (without ads!), Offering personalized lists, Original and high-definition content

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

บริบทในการให้บริการของ Netflix ค่อนข้างเป็นมิตรอย่างมากกับผู้ใช้ เพราะ Netflix ให้อิสระในการตั้งค่า และมีพื้นที่ให้ผู้ใช้บริการได้เป็นตัวเองอย่างที่สุด เพื่อที่จะจับคู่ content ที่เข้ากับผู้ใช้งานให้ได้ลงตัว นอกจากนี้ผู้ใช้บริการหลายคนมีการเชื่อมต่อช่องทางโซเชียลส่วนตัวเข้ากับ Netflix ทำให้ทางค่ายสามารถอัปเดต และแจ้งเตือนในส่วนของรายการซีรี่ย์มาใหม่ หรือหนังร้อนที่อยากแนะนำให้ผู้ใช้บริการได้รู้แบบทันสถานการณ์ 

กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

จริง ๆ แล้วความน่าสนใจของ Netflix คือการขาย content ให้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มคน ด้วยเนื้อหาที่สามารถไหลลื่น และมีระบบ AI ที่จับพฤติกรรมความชื่นชอบส่วนบุคคล ทำให้ทุกครั้งที่ผู้เข้าใช้บริการ Netflix ได้เจอกับเนื้อหาที่ใกล้เคียง หรือชื่นชอบได้โดยง่าย ทุกอย่างเป็นการอุดรูรั่วของทางค่ายที่ได้ผ่านการคิดมาหมดแล้ว 

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

แน่นอนว่านี่เป็นอีกกรณีที่เลือกใช้ช่องทางของตัวเองไม่ว่าจะเป็นแอป หรือเว็บไซต์ในการโฆษณา แต่ Netflix มองเห็นโอกาสในการแพร่ขยายเสียงของตัวเองในรูปแบบอื่นๆ ผสมผสานกันไปอีกด้วย ทั้งในช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ เพื่อให้เกิดการบอกต่อที่เป็นวิธีการแบ่งปันเรื่องราวของผู้ใช้จริงในกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ 

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

Producing movies, series, and other new content, Purchasing content and rights, Providing recommendations through artificial intelligence, Data centers for streaming content, Research, patents, and software development

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

ค่าสมัครสมาชิกกับ Netflix

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Starbuck

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Starbucks

ประวัติความเป็นมาของแบรนด์กาแฟยอดนิยมอย่าง Starbucks อาจจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับแฟนแบรนด์นี้กันอยู่บ้างแล้ว เรื่องราวของนักศึกษาชาย 3 คนจาก University of San Francisco ที่ได้พบเข้ากับ Alfred Peet ชายผู้ที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล Alfred ได้สอนให้พวกเขาลองคั่วกาแฟ และนี่ก็เป็นประกายไฟที่ทำให้เกิดแบรนด์กาแฟที่หลายคนหลงรักในตอนนี้ Starbucks 

อย่างไรก็ดีเส้นทางการเติบโตของแบรนด์เดินทางมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1971 จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจในช่วงแรกของแบรนด์กาแฟนี้คือ Mission ของแบรนด์ที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจ และหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยการถือคอนเซปที่ว่า one person, one cup, and one neighborhood at a time แต่ใครจะรู้ว่าด้วยมิชชันที่ถูกวางเป็นรากฐานอย่างชัดเจน ได้กลายเป็นเสน่ห์ และทำให้แบรนด์กาแฟอย่าง Starbucks แตกต่าง และมีคุณค่าในแก้วกาแฟแบบที่ไม่มีแบรนด์ใดคัดลอกได้ 

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Starbucks

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

ผู้จัดหาวัตถุดิบจากทั่วโลก, ผู้ผลิตกาแฟจากหลายประเทศ, บริษัทในการนำเข้า, ส่งออก และกระจายสินค้าเพื่อไปส่งยังสาขาต่างๆ ของ Starbucks เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจมีลักษณะเป็นแฟรนไชส์ ทำให้ต้องมีการจัดส่งวัตถุดิบ และอุปกรณ์จากทางแบรนด์ 

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

การพัฒนาต่อยอดสินค้า, งานบริการลูกค้าทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์, การทำการตลาด, การทำสื่อเพื่อโปรโมตสินค้าเดิม และสินค้าใหม่, การคิดค้นเมนูใหม่ๆ, รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ 

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ทรัพยากรบุคคล, ชาวสวนมืออาชีพที่เก็บเกี่ยวกาแฟคุณภาพสูง, นักพัฒนาสินค้าทั้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และเมนูของทางแบรนด์ และหน้าร้านแต่ละสาขาที่เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของแบรนด์ 

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ Starbucks  ประสบความสำเร็จ และมาไกลได้ขนาดนี้ก็เพราะการต่อยอดของทั้งเมนู และบรรจุภัณฑ์ ที่รวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทางแบรนด์ภูมิใจนำเสนอ และทำให้แบรนด์กาแฟในมุมมองของผู้ซื้อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

คุณภาพของรสชาติ, ความหลากหลาย และการสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการ นอกจากการได้ดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟ หรือเครื่องดื่มจากทางร้านแล้ว ยังได้สัมผัสกับบรรยากาศของร้านที่ทำให้นี่เป็นดั่งมนต์สะกดที่ทำให้หลายคนติดใจ และกลายเป็นลูกค้าประจำไปกันแบบไม่รู้ตัว 

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

เชื่อว่าใครที่เป็นลูกค้าของแบรนด์ Starbucks จะรู้ซึ้ง และเข้าใจดีเลยว่าเสน่ห์ของแบรนด์อาจจะไม่ได้อยู่แค่รสชาติของเครื่องดื่มแต่เพียงอย่างเดียว เพราะพนักงานที่นอกจากจะชงเครื่องดื่มให้กับลูกค้าแล้ว ด้านงานบริการที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดยิ่งเพิ่มความรู้สึกสนิทใจ และใกล้ชิดจนทำให้ลูกค้าสบายใจ และอยากเข้ามาใช้บริการอีกอย่างต่อเนื่อง 

กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ Starbucks คือลูกค้ากลุ่ม mass หรือตลาดที่มีลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ใครก็ตามที่ต้องการกาแฟคุณภาพชั้นเลิศ เท่ากับเป็นลูกค้าของแบรนด์ Starbucks ทั้งหมด 

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

ร้านกาแฟ, ร้านขายของชำ, ร้านค้าปลีก, บัตรสมาชิก, ฝ่ายบริการลูกค้า, Starbucks apps และ สื่อ Social Media

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และการดำเนินธุรกิจ, การตลาด, การจัดส่งสินค้า, อุปกรณ์ และค่าสิ่งอำนวยความสะดวก

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

เครื่องดื่ม (โดยเฉพาะกาแฟ), อาหารอื่น ๆ ที่แบรนด์จำหน่าย, ค่าลิขสิทธิ์ และใบอนุญาต, สินค้าของแบรนด์  เป็นต้น

สรุป

หวังว่านักธุรกิจที่อ่านมาถึงจุดนี้จะเข้าใจ และเห็นความสำคัญของอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจอย่าง Business Model Canvas กันอย่างเต็มอิ่ม การวางโมเดลนี้เหมาะมากสำหรับใครที่กำลังตั้งใจจะเริ่มทำธุรกิจ เพราะนี่เป็นเครื่องมือในการสร้างโมเดลธุรกิจที่เห็นได้ทั้งภาพรวม และรายละเอียดขององค์ประกอบพื้นฐานที่แบรนด์จำเป็นต้องมี เมื่อรากฐานแข็งแรงมั่นคง การพัฒนาต่อยอดก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล ให้แบรนด์พร้อมเติบโตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

ข้อดีของ Business Model Canvas

  1. ทำให้เข้าใจธุรกิจของเราในภาพรวม ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
  2. ช่วยให้ค้นพบรายละเอียดเล็กน้อยที่อาจจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ
  3. กำหนดเป้าหมายในการทำธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Business model canvas หรือ Business plan แบบไหนดีกว่ากัน

แผนธุรกิจหรือ business plan เป็นเหมือนเอกสารการเขียนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ แนวทางและวิธีการหาเงินทุน รวมทั้งเป้าหมายของการเริ่มต้นธุรกิจหรือบริษัท แต่ Business model canvas เป็นสิ่งที่อธิบายความคิด แบบแผน แนวทางการทำธุรกิจที่อ้างอิงจากภายในและภายนอก ทำให้เห็นภาพรวมชัดขึ้นบนหน้ากระดาษก่อนลงมือทำธุรกิจ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสร้าง Business Model Canvas

  1. ใครคือ key partners ของธุรกิจ
  2. คุณตั้งใจจะทำอะไร
  3. ใครคือกลุ่มลูกค้าที่คุณจะขายสินค้าหรือบริการให้ แยกให้ชัดเจน
  4. ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ
  5. สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มธุรกิจ
  6. ลูกค้าจะซื้อคุณได้ที่ช่องทางไหน และช่องทางไหนจะเป็นช่องทางการขายหลักของคุณ

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง