Table of Contents

Categories

Recent Posts

google pagespeed

Web Pagespeed ปรับเว็บไซต์ให้เร็วแรง ดันบทความ SEO ให้ติดอันดับ

Table of Contents

เชื่อว่าใครหลายคนคงไม่อยากเสียเวลารอหน้าเว็บไซต์ที่ใช้เวลาโหลดนานๆ เพราะอาจทำให้รู้สึกว่าเว็บไซต์ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน หรือประมวลผลล่าช้าจนทำให้ต้องกดออกจากหน้าเว็บไซต์นั้นไป ความเร็วของการโหลดเว็บไซต์จึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความรวดเร็ว ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ใช้งานเว็บไซต์ทั่วไปเพื่อค้นคว้าข้อมูล หรือเป็นเจ้าของธุรกิจที่ต้องพัฒนาเว็บไซต์การขายให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความเร็วของเว็บไซต์ หรือ Web Pagespeed ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปรับปรุง และพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ Web Pagespeed ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำ SEO รวมถึงการแสดงผลต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ วิดีโอ ไอคอน หรือตัวหนังสือ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีผลกับการจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของ Google Search Engine ทำให้ทาง Google เองได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดผล และจัดการกับปัญหาความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้เหล่านักพัฒนาสามารถปรับปรุง และแก้ไขให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์มีความรวดเร็ว และตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น

google pagespeed คืออะไร

ทำความรู้จัก Web Pagespeed คืออะไร

Web pagespeed  หรือ Page Load Time คือ ความเร็วของหน้าเพจ หรือหน้าเว็บไซต์ ตั้งแต่หน้าการโหลดเว็บไซต์ ระยะเวลาในการแสดงผลข้อมูล รวมถึงข้อมูลในแต่ละหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ กราฟิก ตัวหนังสือ ไอคอน หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ โดยข้อมูลเหล่านี้ต้องมีความรวดเร็ว และลื่นไหล เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในการทำ SEO และการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Google อีกทั้งยังช่วยสร้างประสบการณ์การเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือ User Experience ที่ดี ทำให้แบรนด์ หรือธุรกิจสามารถต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้

ทำไม Page Speed จึงมีความสำคัญกับการทำ SEO

แน่นอนว่าการจัดอันดับบนหน้าการค้นหา (Ranking) มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับการทำเว็บไซต์ เพราะการที่เว็บไซต์อยู่อันดับต้นๆ ของหน้าการค้นหา นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีโอกาสที่ผู้คนจะมองเห็น หรือเข้าถึงได้มากกว่าเว็บไซต์ที่อยู่หน้าท้ายๆ โดย Web Pagespeed หรือความเร็วของหน้าเว็บไซต์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานทั่วไป 

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ Google ได้มีการคำนึงถึงเรื่องประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานเว็บไซต์ หรือ User Experience เป็นหลัก จนได้ประกาศใช้กฎเกณฑ์ที่เรียกว่า Core Web Vitals ขึ้นมา เพื่อจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้าการค้นหา เพราะในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีใครอยากเข้าใช้งานเว็บไซต์ที่ต้องเสียเวลารอนานๆ ดังนั้น Web Pagespeed จึงมีความสำคัญอย่างมากในการทำ SEO รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสที่ดีทางธุรกิจ โดยเฉพาะการทำเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือธุรกิจ E-Commerce ต่างๆ

ปัจจัยที่มีผลต่อ google pagespeed

ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของเว็บไซต์

ปัจจัยที่มีผลต่อ Web Pagespeed มีอยู่ด้วยกันหลายประการ เริ่มต้นตั้งแต่การเขียน Code ของนักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) การจัดการแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) การอัปโหลดข้อมูลต่างๆ ลงบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ กราฟิก หรือวิดีโอลงไปในเว็บไซต์ที่ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป รวมไปถึงการออกแบบ UX/UI หรือการออกแบบหน้าเว็บไซต์ และประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ต้องให้ความสำคัญกับความสวยงาม ความรวดเร็ว ความลื่นไหล และตอบโจทย์กับการใช้งานในทุกอุปกรณ์ ทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ตโฟน

นอกจากนี้ Web Hosting และ Sever ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเร็วของเว็บไซต์เช่นเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลที่ Google ได้พัฒนาเครื่องมือในการวัดผล และปรับปรุงความเร็วเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และเพื่อจุดประสงค์ในการทำ SEO ตลอดจนการจัดอันดับเว็บไซต์ในหน้า Google Search Engine โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า Google Pagespeed Insights

Pagespeed Insights คืออะไร

Pagespeed Insights คือ เครื่องมือออนไลน์ที่พัฒนาโดย Google เพื่อนำมาใช้ในการวัดผลความเร็วของหน้าเว็บไซต์ โดยเครื่องมือนี้จะมีการให้ค่าคะแนนความเร็วของเว็บไซต์ หรือ Web Pagespeed อยู่ที่คะแนนเต็ม 100 คะแนน นอกจากคะแนนความเร็วแล้ว Pagespeed Insights ยังแสดงข้อบ่งชี้ (Indicator) และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาเชิง Techinical ในด้าน Performance ของเว็บไซต์แยกเป็นหัวข้อต่างๆ ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าส่วนไหนควรทำการปรับปรุง หรือแก้ไขเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม Pagespeed Insights เป็นเพียงหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google Search Engine เท่านั้น การที่เว็บไซต์มีค่า Web Pagespeed สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นั้นจะติดอันดับหน้าหนึ่งในทันที เพราะการที่เว็บไซต์จะติดอันดับหน้าค้นหาได้นั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เนื้อหาข้อมูลบนเว็บไซต์ การปรับแต่งคอนเทนต์บนเว็บไซต์ (Onsite Optimize) ให้มีความเหมาะสม และง่ายต่อผู้ใช้งาน รวมไปถึงการทำ Outreach หรือทำ Link Buiding เพื่อสร้างบทความ หรือคอนเทนต์คุณภาพที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เพื่อนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่นๆ เป็นต้น

ประโยชน์ของ pagespeed insight

ประโยชน์ของ Pagespeed Insights

สำหรับประโยชน์ของ Pagespeed Insights มีอยู่ 2 ด้านหลักๆ คือ ประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์ และประโยชน์ต่อผู้ทำเว็บไซต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี (User Experience) ของผู้ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่ถูกจัดให้อยู่ในหน้าแรกของการค้นหา จะต้องเป็นเว็บไซต์ที่ผ่านเกณฑ์ Core Web Vitals ที่ทาง Google กำหนดขึ้นเท่านั้น
  • ช่วยให้นักพัฒนาเว็บไซต์ให้ความใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ให้เป็นไปตามหลัก SEO โดยสามารถทำได้จากการติดตามผลการรายงานประสิทธิภาพของเว็บไซต์บน Desktop และสมาร์ตโฟน  รวมถึงคำแนะนำว่าควรปรับปรุงส่วนไหนบ้าง เพื่อพัฒนาให้เว็บไซต์ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด
  • ช่วยให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถตรวจสอบเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว โดยสามารถอ่านค่าประเมิน Performance และคำแนะนำต่างๆ ก่อนลงมือแก้ไขอย่างตรงจุดเพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพ

วิธีการใช้งาน Pagespeed Insight

การใช้งาน Pagespeed Insights สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/
  2. กรอก URL ของเว็บไซต์ลงไป แล้วกด ‘วิเคราะห์ (Analyze)’ เครื่องมือจะทำการแสดงผลข้อมูลต่างๆ ขึ้นมาทั้งเวอร์ชัน Desktop และสมาร์ตโฟน เช่น การคำนวณ Core Web Vitals ค่าคะแนนประสิทธิภาพของเว็บไซต์ พร้อมคำแนะนำในด้านของ Techinical Performance
  3. นำเอาข้อมูล และคำแนะนำมาวิเคราะห์ เพื่อทำการปรับปรุง และแก้ไขเว็บไซต์ต่อไป

การประเมินประสิทธิภาพของเว็บไซต์

การประเมิน และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์

การรายงานผลของเครื่องมือ Pagespeed Insights แบ่งออกเป็นการประเมิน และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยรายละเอียดต่างๆ มีดังนี้

การประเมิน Core Web Vitals

การประเมิน Core Web Vitals เป็นการประเมินเพื่อให้นักพัฒนาเว็บไซต์ทราบว่าเว็บไซต์ของตนผ่านหลักเกณฑ์ที่ทาง Google กำหนดหรือไม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ปัจจัย ดังนี้

Largest Contentful Paint (LCP)

คือ ค่าคะแนนที่วัดผลความเร็วของการโหลดเว็บไซต์ โดยทำการวัดผลจากการโหลดข้อมูล หรือคอนเทนต์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในหน้าเว็บไซต์นั้นๆ เช่น รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ หรือ Pop-up แบนเนอร์ต่างๆ ว่าใช้เวลาในการโหลดนานมากน้อยแค่ไหน สำหรับค่ามาตรฐานของทาง Google คือ ควรใช้เวลาในการโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที

First Input Delay (FID)

ค่าความหน่วง และความรวดเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์ เช่น มีการกระตุก หรือตอบสนองเร็วหรือไม่ การคลิก การซูมเข้า หรือซูมออกเป็นอย่างไร เป็นต้น สำหรับค่ามาตรฐานที่ทาง Google กำหนด คือ ควรมีค่า FID ในการโหลดน้อยกว่า 100 มิลลิวินาที

Cumulative Layout Shift (CLS)

ค่าคะแนนที่ใช้ประเมินความเสถียรของหน้าเว็บไซต์ เช่น ขนาดตัวหนังสือ การจัดวางหน้าเว็บไซต์ หรือ Layout  การจัดวางปุ่ม CTA สำหรับเว็บไซต์ที่มีการขายสินค้า เป็นต้น โดยค่าที่เหมาะสมควรน้อยกว่า 0.1

First Contentful Paint (FCP)

ค่าคะแนนของการโหลดหน้าเว็บไซต์ครั้งแรก จนถึงการแสดงผลเนื้อหา เช่น เค้าโครงของเว็บไซต์ ตัวหนังสือ หรือรูปภาพบางส่วนที่แสดงผลไม่ครบ หรือไม่เท่ากัน เป็นต้น สำหรับค่าที่เหมาะสมควรใช้เวลาในการโหลดหน้าเว็บไซต์อยู่ที่ 0-1,000 มิลลิวินาที

Interaction to Next Paint (INP)

การวัดผลการตอบสนองของหน้าเว็บไซต์ทั้งหมด โดย INP เป็นค่าที่ตรงข้ามกับค่า FCP ที่จะวัดผลการตอบสนองเพียงครั้งแรกที่เนื้อหาปรากฏขึ้นเท่านั้น สำหรับค่า INP ที่เหมาะสมควรอยู่ค่ำกว่า หรือเท่ากับ 200 มิลลิวินาที

Time to First Byte (TTFB)

ค่าเวลา (มีหน่วยเป็นมิลลิวินาที) ที่เบราว์เซอร์ใช้รับข้อมูลไบต์แรกจากเซิร์ฟเวอร์ โดยค่าที่เหมาะสมต้องน้อยกว่า 200 มิลลิวินาที

การวิเคราะห์ปัญหาด้านประสิทธิภาพ pagespeed

การวิเคราะห์ปัญหาด้านประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์ปัญหาด้านประสิทธิภาพของเว็บไซต์ สามารถดูได้ทั้งเวอร์ชัน Desktop และสมาร์ตโฟน โดยจะมีการแสดงผลค่าคะแนนประสิทธิภาพโดยรวมของเว็บไซต์มาให้ เมื่อเลื่อนลงไปด้านล่างจะพบกับรายงานปัญหาต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เว็บไซต์มีความล่าช้า นักพัฒนาเว็บไซต์ต้องเป็นคนนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ และทำการแก้ไขให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพต่อไป โดยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดล่าช้ามีหลายปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาทาง Techinical ยกตัวอย่างเช่น

  • ขนาดของไฟล์รูปภาพใหญ่เกินไป
  • เว็บไซต์มีเนื้อหา หรือข้อมูลที่มากจนเกินไป
  • Tag<script> ใน Coding มีปัญหา
  • ปัญหาคริปต์ภายในเว็บไซต์

นอกจากนี้ Pagespeed Insights ยังให้ค่าคะแนนของเว็บไซต์ในแต่ละหมวดหมู่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ประสิทธิภาพการทำงาน เป็นคะแนนโดยรวมของเว็บไซต์ว่าเว็บไซต์นั้นๆ ทำงานได้ดีมากแค่ไหน ในแง่ของความเร็ว และประสิทธิภาพ
  • การเข้าใช้งาน หมวดหมู่นี้จะประเมินปัจจัยต่างๆ เช่น ความง่ายในการใช้งานเว็บไซต์ ข้อความที่แสดงแทนรูปภาพ รวมถึงคอนทราสต์ของสำหรับผู้ใช้งานที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  • การปรับปรุง และพัฒนา เป็นหมวดหมู่ที่จัดว่าเว็บไซต์ของคุณดำเนินการหลักปฏับัติ เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ได้ดี และมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บสมัยใหม่ การใช้ Code ที่ได้รับการปรับปรุง และการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย
  • การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงตามหลัก SEO เป็นการพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ ที่มีผลต่อการทำ SEO เช่น ข้อมูลเนื้อหา โครงสร้างของการนำเสนอข้อมูล และการใช้งานในอุปกรณ์ที่หลากหลาย เป็นต้น

สรุป

Pagespeed Insights คือ เครื่องมือออนไลน์ที่พัฒนาโดย Google เพื่อใช้วัดผล และปรับปรุงความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญ และเป็นหัวใจหลักในการทำ SEO เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี กลยุทธ์ทางการตลาด และการทำคอนเทนต์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ต้องมีความรวดเร็ว ตอบโจทย์ และมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือ Traffic ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้มากกว่าเว็บไซต์ของคู่แข่ง โดยเฉพาะในธุรกิจประเภทเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ และการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การปรับปรุง Web Pagespeed ช่วยทำให้ Google พึงพอใจ และจัดอันดับให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นมาอันดับต้นๆ อีกทั้งยังทำให้ลูกค้า หรือผู้ใช้งานเว็บไซต์รู้สึกดีต่อการใช้งานเว็บไซต์ของคุณมากขึ้นอีกด้วย หากต้องการผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำ SEO การปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ Minimice Group พร้อมช่วยให้แบรนด์ หรือธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จได้ เพราะเราเป็นเอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญด้าน SEO เรามุ่งเน้นการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจผ่านกลยุทธ์ SEO ที่โดดเด่นจากเอเจนซี่การตลาดออนไลน์อื่นๆ ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ด้าน SEO เราพร้อมปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ

คำถามที่พบบ่อย

คะแนน Pagespeed ​​Insights ที่ดีควรอยู่ที่เท่าไร

ตามทฤษฎีแล้ว คะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ คือ 100/100 แต่จากข้อมูลของ Google คะแนนตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไปถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี คะแนน 50-89 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง และคะแนนที่ต่ำกว่า 50 ถือว่าแย่ แต่ควรทำความเข้าใจว่า การที่คะแนนมากกว่า 90 แล้ว เว็บไซต์ของคุณยังสามารถปรับแต่งได้ตลอดเวลา แต่อาจไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างมากนัก กล่าวคือ ไม่ควรให้ความใส่ใจกับตัวเลขสูงสุดมากเกินไป เพราะค่าคะแนนมาก ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์จะติดอันดับต้นๆ แต่ควรใส่ใจกับการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของ Google Core Web Vitals และหลักการทำ SEO

คะแนน Pagespeed ​​Insights ส่งผลต่อ SEO อย่างไร

Google ไม่ได้จัดอันดับเว็บไซต์ผ่าน Pagespeed ​​Insights เพียงอย่างเดียว แต่คะแนน Pagespeed ​​Insights ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำ SEO เช่น ความเร็วของหน้าเว็บไซต์ และประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์ ดังนั้น การปรับปรุงและพัฒนา Web Pagespeed ​​จะช่วยส่งผลดีต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ในระยะยาวได้

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง