Table of Contents

Categories

Recent Posts

วิธีการเลือก domain name

Domain Name คืออะไร? เลือกแบบไหนถึงจะดีนะ?

Table of Contents

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดิโอก็สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าว ดูภาพยนต์ รวมไปถึงการซื้อของในโลกออนไลน์ เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อตอบสนองความต้องการ และกระตุ้นยอดขาย ซึ่งการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขายของที่ดี การจะมีเว็บไซต์สำหรับขายของจะต้องเริ่มจากการสร้าง Domain Name ของตัวเอง สำหรับเจ้าของธุรกิจที่กำลังสงสัยว่า Domain Name หมายถึงอะไร บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ ตลอดจนสิ่งที่ควรรู้หากอยากมีชื่อโดเมนดีๆ

อธิบายความหมายของDomain กับ Domain Name (โดเมนเนม)

Domain Name (โดเมนเนม) คืออะไร? แตกต่างกับ Domain เฉยๆ หรือเปล่า?

จริงๆ แล้ว Domain และ Domain Name เป็นสิ่งเดียวกัน ไม่ได้แตกต่างกัน แต่ที่เรียกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับบริบท สำหรับ Domain และ Domain Name หมายถึง ชื่อของเว็บไซต์ ที่อยู่หลัง www. เช่น www.minimicegroup.co.th ส่วนของชื่อโดเมนคือ minimicegroup.co.th ซึ่งการมีหน้าโดเมนช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ โดยการใส่ชื่อโดเมนบนเว็บบราวเซอร์ (Web Brownser) เพื่อค้นหาผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเว็บบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมก็มีด้วยกันหลากหลายช่องทาง เช่น Google, Safari, Chrome และ Firefox เป็นต้น การมีหน้าโดเมนเป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสินค้าและบริการได้อย่างง่าย และสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 

โครงสร้างของ domain name

แล้ว Domain Name มีโครงสร้างหน้าตายังไง?

หากต้องการพูดให้เข้าใจง่าย Domain Name ก็คือ ชื่อของเว็บไซต์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเราได้ ซึ่งหน้าตาของโดเมนอาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการกำหนด แต่โครงสร้างของโดเมนมักจะมีความใกล้เคียงกัน โดยมีส่วนประกอบ ดังนี้

  • Protocol : จริงๆ แล้ว Protocol เป็นส่วนที่อยู่ก่อน Domain Name ซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภาษาแตกต่างกันสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ ซึ่งประเภทของ Protocol นั้นมีด้วยกันหลายแบบทั้ง HTTP, TCP/IP, SFTP และ ICMP เป็นต้น

  • Domain Name : ในส่วนของ Domain Name เป็นชื่อเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้น ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งตัวอักษร และตัวเลข โดยจะมีความยาวตั้งแต่ 2-46 ตัวอักษร แต่ไม่สามารถใช้สัญลักษณ์พิเศษได้ นอกจากนี้บางเว็บไซต์ Domain Name อาจจะมีชื่อย่อยๆ เพื่ออธิบายเพิ่มเติมด้วย ดังนี้

    • Subdomain
    • Second-level domain
    • Top-level domain

  • Path : สำหรับ Path บางคนอาจจะเรียกว่า Slug, Permalink หรือ URL ซึ่งเป็นส่วนต่อท้าย Domain Name เพื่อบ่งบอกว่าบทความหรือโพสต์นั้นๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร โดยจะต้องตั้งให้สั้น กระชับ ได้ใจความ และสื่อความหมาย อีกทั้งควรใส่ Keyword ลงไปด้วย เพื่อให้เข้าใจว่ากำลังพูดถึงเรื่องอะไร

ตั้งชื่อ Domain Name แบบนี้ดีแน่นอน

ด้วยความที่ Domain Name เปรียบเสมือนชื่อร้านค้าที่ติดอยู่หน้าร้าน ดังนั้นการตั้ง Domain Name จะต้องเลือกชื่อที่ดี จดจำได้ง่าย เพื่อที่ผู้ใช้บริการจะได้จดจำ และค้นหาได้อย่างสะดวก ซึ่งหลักการตั้งชื่อโดเมนให้ดี มีดังนี้

  • ชื่อโดเมนสื่อความหมาย การตั้งชื่อโดเมนที่สื่อความหมาย จะช่วยบอกได้ถึงจุดประสงค์ในการทำธุรกิจ ช่วยให้ผู้ที่ใช้งานเข้าใจได้ง่ายว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นคืออะไร หรือสะท้อนถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณนำเสนอในเว็บไซต์ ช่วยสร้างการจดจำที่ดี
  • สั้น กระชับ จำง่าย แน่นอนว่าชื่อที่มีความสั้น กระชับ จะช่วยให้สามารถเป็นที่จดจำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ หากต้องการให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักก็จะต้องเลือกชื่อที่สะกดง่าย ยิ่งชื่อโดเมนสั้นและง่ายเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะยิ่งค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ง่ายขึ้นเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงชื่อที่ยาว การใช้ชื่อโดเมนที่ยาวนอกจากจะจำได้ยากแล้ว ยังทำให้การเข้าถึงยากด้วย ซึ่งทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักได้ยาก สำหรับความยาวที่เหมาะสมนั้นอยู่ที่ 2-3 คำก็เพียงพอแล้ว แต่หากต้องการตั้งชื่อโดเมนให้ยาวก็ควรเลือกคำที่จำได้ง่ายและเป็นที่รู้จัก
  • ไม่ควรใช้คำพ้องเสียง คำพ้องเสียงเป็นคำที่เขียนต่างกันแต่อ่านเหมือนกัน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงในการนำไปตั้งชื่อโดเมน เพราะอาจทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิด จนเข้าผิดเว็บไซต์ได้
  • ใช้คำที่สะดุดหู สำหรับบางเว็บไซต์ อาจตั้งชื่อเป็นกิมมิค หรือเป็นคำพิเศษที่คิดค้นขึ้นมาเอง มีความหมายเฉพาะ หรืออาจเป็นคำที่ไม่มีความหมายแต่สะดุดหู หรือสะดุดตา เห็นแล้วจำได้
  • ตั้งชื่อตามกฏที่กำหนด การตั้งชื่อโดเมนนั้นสามารถใช้ได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร แต่ห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษต่างๆ เหล่านี้ @!#$%^&*()_+= แต่ใช้ – (Dash) เชื่อมระหว่างชื่อได้ สำหรับชื่อโดเมนนั้นสามารถยาวได้ตั้งแต่ 2-46 ตัวอักษร
  • จดทะเบียนชื่อให้เร็วที่สุด หลังจากที่ได้ชื่อโดเมนแล้ว ก็อย่าลืมจดทะเบียนชื่อให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครใช้ชื่อโดเมนซ้ำกับของเรา

ข้อดีของการตั้งชื่อ domain name ที่ดี

ชื่อ Domain Name ดีๆ มีประโยชน์ยังไงบ้าง?

การตั้งชื่อ Domain Name ที่ดีนอกจากจะช่วยให้จดจำได้ง่ายแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้

To Gain Ownership

หลังจากที่ตั้งชื่อโดเมนแล้ว สิ่งที่ควรทำให้เร็วที่สุดคือการจดทะเบียนโดเมน เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในชื่อนั้นๆ โดยที่จะไม่มีใครสามารถใช้ชื่อซ้ำกับเว็บไซต์ของเราได้

To Solidify Your Brand Identity

ประโยชน์ของการมีชื่อโดเมนดีๆ นั้นคือ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี นการมีโดเมนที่เหมือนหรือมีความคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทจะช่วยสร้างความเป็นตัวตนที่สอดคล้องกันของแบรนด์ นอกจากนี้ การเลือกใช้รูปแบบตัวอักษร และสีที่สอดคล้องกับแบรนด์ ยังช่วยตอกย้ำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย

To Establish Credibility

การมีชื่อโดเมนดีๆ นั้นยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทให้มีความน่าเชื่อถืออีกด้วย  เพราะการจดทะเบียนโดเมนนั้นจะต้องมีการตรวจสอบและดำเนินการโดยบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ และไว้วางใจได้ การมีชื่อเว็บไซต์ และชื่อบริษัทที่เป็นชื่อเดียวกันนั้นจึงจะช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกอุ่นใจในการดำเนินการต่างๆ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพและถูกต้องตามกฏหมายด้วย

To Be Memorable

การตั้งชื่อโดเมนที่สั้น กระชับ จะช่วยให้เป็นที่น่าจดจำ ถือเป็นจุดประสงค์หลักในการตั้งชื่อโดเมนที่ดีเลยก็ว่าได้ เพราะการที่โดเมนจำง่าย ผู้ใช้งานก็สามารถค้นหาได้ง่าย ซึ่งช่วยให้การเข้าใช้งานในเว็บไซต์เพิ่มขึ้น หรือเข้าใช้งานโดยตรงจุดมากขึ้นด้วย

To Stand Out Against Competitors

อีกหนึ่งประโยชน์ที่น่าสนใจในการมีชื่อโดเมนที่ดีคือช่วยให้มีความโดดเด่น และสู้กับคู่แข่งได้ง่าย เพราะชื่อโดเมนก็เป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ของแบรนด์ โดยเฉพาะหากชื่อโดเมนมีความกระชับ และสะดุดตากว่าคู่แข่ว ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานจำได้และเลือกใช้บ่อยขึ้น

To Build Authority

การสร้างโดเมนมีส่วนช่วยในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ยิ่งมีการใช้โดเมนมานาน เว็บไซต์ก็มีเวลาในการผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ อีกทั้งยังมีเวลาในการทำ Internal Links และ Backlink ซึ่งช่วยทำให้เว็บไซต์มี Search Engine Results Page (SERP) มากขึ้น ส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณสามารถสู้กับเว็บคู่แข่งได้ง่าย

การจดทะเบียน Domain Name

การจดทะเบียน Domain Name ถือเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่าย และจำเป็นต้องใช้เอกสารการประกอบเพื่อยื่นขอจดทะเบียน Domain Name สำหรับเอกสารที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเลือกนามสกุลของ Domain ซึ่งนามสกุลที่ใช้สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. นามสกุลสากล และ 2. นามสกุลตามประเทศ ดังนี้

Domain Name ที่ใช้นามสกุลสากล

สำหรับนามสกุลโดเมนสากล เป็นนามสกุลที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่อยากจะใช้ในระดับสากล ซึ่งการจดทะเบียนนามสกุลโดเมนแบบสากลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารประกอบในการจดทะเบียน และการตั้งชื่อนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อนามสกุลโดเมนให้ตรงกับประเภทธุรกิจก็ได้ สำหรับนามสกุลสากล เช่น 

  • .com คือ Commercial : เป็นนามสกุลที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย โดยจะใช้ในธุรกิจที่เกี่ยวกับบริษัทที่แสวงหากำไร
  • .net คือ Network : เกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเครือข่าย
  • .org คือ Organization : เกี่ยวกับองค์กร หรือกลุ่มบุคล
  • .info คือ Information : เกี่ยวกับการให้ข้อมูล
  • .biz  คือ Business : เกี่ยวกับธุรกิจหรือบริษัทที่แสวงหากำไร
  • .name  คือ Name : เกี่ยวกับชื่อ
  • .mobi คือ Mobile : เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
  • .eu คือ Europe : เกี่ยวกับกลุ่มประเทศยุโรป
  • .us คือ USA : เกี่ยวกับประเทศอเมริกา
  • .cn  คือ Chin : เกี่ยวกับประเทศจีน
  • .cc คือ Cocos Island : เกี่ยวกับเกาะแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย
  • .tv คือ Tuvalu : เกี่ยวกับประเทศตูวาลู
  • .asia คือ : เกี่ยวกับธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน กลุ่มคนในเอเชีย

Domain Name ที่มีนามสกุลตามประเทศ

เป็น Domain Name ที่มีนามสกุลเป็นตัวย่อของชื่อประเทศ จะเป็นตัวย่อของประเทศต่างๆ ที่จดทะเบียน Domain ในประเทศนั้นๆ ซึ่งการขอนามสกุลโดเมนตามประเทศจะต้องใช้เอกสารประกอบเพื่อยื่นจดทะเบียนด้วย ซึ่งนามสกุลตามประเทศก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป โดยจะยกตัวอย่างของประเทศไทย ซึ่งเป็น TH ดังนี้

.co.th

สำหรับนามสกุลโดเมน .co.th นั้นจะมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ

1. Domain Name ที่ใช้ชื่อองค์กร จะต้องตั้งชื่อที่มาจากชื่ององค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรในไทย หรือต่างประเทศก็ตาม

  • เอกสารสำหรับองค์กรไทย

    • หนังสือรับรองบริษัท
    • ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า)

  • เอกสารสำหรับองค์กรต่างประเทศ

    • หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ
    • หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
    • หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ โดยจะต้องมีใจความสำคัญ คือ รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน และ รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียน Domain Name

2. Domain Name ที่ใช้ชื่อการค้าในชื่อ โดยจะต้องมีารสะกดเหมือนกันทุกอย่าง

  • ต้องใช้หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ เครื่องหมายบริการ

.or.th

เป็นนามสกุลที่นิยมใช้ในหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร อย่างองค์กร หรือมูลนิธิ เป็นต้น ซึ่งต้องใช้หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือหนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นเอกสารในการจดทะเบียน แต่ในกรณีที่ไม่สามารถใช้หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือหนังสือจัดตั้งมูลนิธิได้ สามารถใช้เอกสารที่แสดงรายชื่อประธาน คณะกรรมการ จุดประสงค์ที่เด่นชัด และที่อยู่ที่แน่นอน พร้อมทั้งมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่ามีหน่วยงานนี้อยู่จริงๆ

.ac.th

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ใช้นามสกุล.ac.th มักจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันทางการศึกษา โดยจะต้องใช้หนังสือจัดตั้งโรงเรียนเป็นเอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียน Domain Name แต่ในกรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้ ทางโรงเรียนจะต้องออกหนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน เพื่อขอจดทะเบียน Domain Name พร้อมทั้งประทับตราและเซ็นต์ใบรับรองโดยผู้อำนวยการของทางโรงเรียน

.go.th

นามสกุลโดเมน .go.th เป็นนามสกุลสำหรับหน่วยงานภาครัฐไทย โดยที่ทางหน่วยงานจะต้องให้ทางผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของกระทรวงหรือกรมต้นสังกัดรับทราบ

.in.th

สำหรับการจดทะเบียนนามสกุล .in.th นั้นสามารถจดได้ทั้งแบบในนามองค์กร และในนามบุคคล ซึ่งเอกสารที่ใช้ก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนในนามองค์กร

    • หนังสือรับรองบริษัท
    • ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    • ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หนังสือรับรององค์กร/Club/Group พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

  • เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนในนามบุคคล

    • สำเนาบัตรประชาชน
    • สำเนาใบขับขี่ หรือ หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างด้าว พร้อมทั้งหลักฐานการชำระค่าบริการ

.net.th

การจดทะเบียนโดเมน แบบ .net.th นั้นเป็นการจดทะเบียนสำหรับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 รูปแบบ ตามพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ คือ การวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งต้องใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อขอจดทะเบียน

.mi.th

ในส่วนของนามสกุล .mi.th จะใช้ในการจดทะเบียนโดเมนสำหรับหน่วยงานทางทหารของไทย ซึ่งจะต้องใช้หนังสือรับรองจาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ว่าอนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรนั้นๆ จดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้นามสกุล .mi.th ได้

สรุป

ทุกคนคงได้เข้าใจกันแล้วว่า Domain Name หมายถึงอะไร ซึ่ง Domain Name มีความสำคัญต่อการสร้างแบรนด์เป็นอย่างมาก ชื่อโดเมนที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ว่าธุรกิจของคุณเกี่ยวข้องกับอะไร และทำให้สามารถจดจำแบรนด์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถช่วยปรับปรุงการจัดอันดับบน Search Engine ได้อีกด้วย ดังนั้นหากคุณมีชื่อโดเมนที่มีเอกลักษณ์และสะท้อนแบรนด์ชัดเจน แนวโน้มที่จะมีอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหาก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Domain Name (โดเมนเนม) คืออะไร?

ชื่อเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำง่าย สามารถนำไปค้นหาในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแทนการค้นด้วยเลข IP Address ได้ ตัวอย่าง www.minimice.com

ตั้งชื่อ Domain Name ยังไงดี

เลือกชื่อโดเมนที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และที่สำคัญ แนะนำว่าควรมี Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในชื่อด้วย

การจดทะเบียน Domain Name ต้องดูอะไรบ้าง

อย่างแรกเลยคือการเลือกชื่อสกุลโดเมน ซึ่งมีด้วยกันสองแบบคือชื่อสกุลสากลและชื่อสกุลตามตัวย่อประเทศ ซึ่งการจดชื่อโดเมนตามประเทศนั้นก็มีเอกสารที่ต้องใช้จดแตกต่างกัน

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง