Table of Contents

Categories

Recent Posts

วางแผนการทำธุรกิจด้วย Business Model Canvas

Business Model Canvas คืออะไร? สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำธุรกิจของตัวเอง

Table of Contents

การทำธุรกิจหรือลงทุนทำอะไรสักอย่างแบบไม่มีการวางแผน ก็เหมือนไปอยู่กลางดงของศัตรูที่ถือหอกพร้อมจะทิ่มแทงเชือดเฉือดให้สิ้นคาสนามรบ หากไม่อยากเป็นแบบนั้นเราควรมีการวางแผนก่อนทำธุรกิจ เพื่อให้รู้ตัวเองว่าจะเริ่มต้นจากจุดไหน องค์ประกอบที่ต้องมีควรมีอะไรบ้าง จุดอ่อนจุดแข็งและสิ่งที่เรายังขาด เพื่อให้สามารถมองภาพรวมทั้งหมดออกก่อนที่จะลงมือทำธุรกิจแบบจริงจัง ซึ่งเครื่องมือที่จะมาช่วยเรานั่นก็คือ BMC หรือ Business Model Canvas นั่นเอง

การวางแผนด้วย Business Model Canvas คือหัวใจในการวางแผนธุรกิจรูปแบบใหม่กันเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ได้สนใจแต่โมเดลธุรกิจเท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับความสำเร็จ และเป้าหมายของแบรนด์อีกด้วย นักธุรกิจคนไหนที่ไม่อยากพลาดกับข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับ Business Model Canvas คืออะไร, มีองค์ประกอบอะไรบ้าง หรือมีธุรกิจใดบ้างที่ใช้ Business Model Canvas Template ไปติดตามกันได้ในบทความชิ้นนี้เลย

Business Model Canvas คืออะไร

Business Model Canvas คืออะไร?

Business Model Canvas คือเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจผ่านองค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 9 เช่น จุดขาย, กลุ่มลูกค้า, ช่องทางการขาย หรือกิจกรรมหลักของธุรกิจ ซึ่งมีแบบฟอร์มที่สามารถอธิบายแผน Business Model Canvas ไว้ในกระดาษแผ่นเดียว ที่เรียกว่า Business Model Canvas Template ด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้เห็นภาพรวมขององค์กรได้ง่าย พร้อมพลิกแพลงแก้เกมได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือการพัฒนาต่อยอดองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

Business model canvas กับ Business plan ต่างกันอย่างไร

Business Model Canvas กับ Business Plan ต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าจะต้องมีคนกำลังสงสัยว่าแผนธุรกิจของ Business Model Canvas แตกต่างจาก Business Plan ที่หลายคนรู้จักกันไหม และแตกต่างกันอย่างไร ในเนื้อหาส่วนนี้จะแจกแจงความแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบให้เห็นกันแบบประเด็นต่อประเด็น

  • ประเด็นที่ 1 Business Model Canvas: แผนอธิบายแต่ละส่วนของธุรกิจ vs Business Plan: แผนระยะยาวของธุรกิจ ด้วยรูปแบบของ Business Model Canvas ที่จะมุ่งเน้นไปที่การมองเห็นภาพรวมของธุรกิจเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุด ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนเพื่อให้ทุกอย่างไปในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่ใช่สำหรับ Business Plan ที่เน้นเส้นทางการเติบโต และการดำเนินของธุรกิจในอีก 3 ปี, 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้า 
  • ประเด็นที่ 2 Business Model Canvas: ไม่ได้เน้นเรื่องงบการเงิน vs Business Plan: มองภาพงบการเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยหลัก แผนที่ Business Model Canvas เป็นลักษณะของการลงรายละเอียดแต่ละส่วนของธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสารทั้งภายใน และภายนอกองค์กร จึงไม่ได้เชื่อมโยงกับเรื่องงบการเงินมากเท่ากับ Business Plan ที่เป็นการลงรายละเอียดในหลายๆ ส่วนที่มีความกว้างและเกี่ยวข้องในระยะยาว รวมถึงลงลึกในแง่ของงบประมาณด้วย 
  • ประเด็นที่ 3 Business Model Canvas: ใช้เวลาในการระดมไอเดียไม่นาน vs Business Plan: ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากหลายภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนภาพรวมเป็นรายปีของ Business Plan จำเป็นต้องกำหนดทิศทางต่างๆ และลงลึกถึงกลยุทธ์ที่ต้องใช้ ทำให้การวางแผนแบบ  Business Plan ใช้ระยะเวลานานกว่ามาก เมื่อเทียบกับ Business Model Canvas ที่จะเน้นรูปแบบการระดมความคิดกับเพื่อนร่วมงาน นี่เป็นการค้นหาปัญหา, ร่วมกันเสนอวิธีแก้ไข และหาทางต่อยอดพัฒนาแบรนด์ไปอีกระดับผ่านกระดาษแผ่นเดียวที่มี Business Model Canvas Template เป็นไกด์ไลน์
  • ประเด็นที่ 4 Business Model Canvas: โฟกัสคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ vs Business Plan: โฟกัสมุมมองของเจ้าของกิจการ สิ่งที่ทั้ง 2 แผนให้ความสำคัญก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรูปแบบของ Business Model Canvas โฟกัสไปที่ความคุ้มค่า และคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับจากการบริการ หรือสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำในภายหลัง  แต่ในแง่ของ Business Plan จะพุ่งความสนใจไปที่แบรนด์จะได้รับอะไร และเกิดคุณค่ากับแบรนด์ในทิศทางใดบ้างเป็นหลัก 
  • ประเด็นที่ 5 Business Model Canvas: ช่วยในการเริ่มต้นกิจการ vs Business Plan: ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ หากถามว่าต้องเลือกทำเฉพาะแผนใดแผนหนึ่งหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เพราะนักธุรกิจจำเป็นต้องทำทั้ง 2 แผน เนื่องจากแต่ละแผนการตลาดจะส่งเสริมกันในระยะยาว เนื่องจากรูปแบบ  Business Model Canvas เน้นไปที่ช่วงแรกเริ่มของการทำธุรกิจ แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวคือ Business Plan

องค์ประกอบของ Business Model Canvas

องค์ประกอบของ Business Model Canvas

เมื่อช่วงต้นได้มีการพูดถึงองค์ประกอบของ Business Model Canvas ว่ามีอยู่ทั้งหมด 9 อย่างด้วยกัน ซึ่งในส่วนนี้จะมาลงรายละเอียดของการทำแผน Business Model Cannvas กันว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมกันแล้วไปติดตามกันต่อได้เลย ดังนี้

  • จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions)

ตัวอย่าง: สินค้าจากวัสดุธรรมชาติ, มีบริการหลังการขาย, ใส่ใจการคืนประโยชน์ให้กับสังคม

  • กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments)

ตัวอย่าง: กลุ่มพนักงานออฟฟิศ, กลุ่มแม่บ้าน, กลุ่มแม่ และลูก 

  • ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels)

ตัวอย่าง: Shopee, Lazada, สื่อ Social Media 

  • วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships)

ตัวอย่าง: มีระบบบัตรสมาชิก, บริการหลังการขาย 

  • ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams)

ตัวอย่าง: ช่องทางรายได้ขายส่งจากคู่แม่ค้า, มีตัวแทนที่ขายราคาปลีก 

  • ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources)

ตัวอย่าง: สื่อโฆษณา, สินค้า, พนักงาน 

  • กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities)

ตัวอย่าง: เพิ่มมาตรฐานสินค้า, ระบบเครือข่าย หรือตัวแทน 

  • คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners)

ตัวอย่าง: บริษัทนำเข้าสินค้า, ตัวแทนขายส่ง, โรงงานผลิตสินค้า

  • รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure)

ตัวอย่าง: ต้นทุนสินค้าที่สั่งผลิตขึ้นมาเอง, เงินเดือนพนักงาน, ค่าส่ง

How เราจะมีวิธีการทำธุรกิจอย่างไร

“How = อย่างไร?” นี่จะเป็นคำถามเพื่อให้นักธุรกิจมองเห็นลู่ทางในการเริ่มต้นทำธุรกิจ รวมถึงวิธีการดำเนินธุรกิจให้อยู่ต่อได้อย่างไร เช่น จะหาลูกค้าใหม่อย่างไร, จะสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทางการตลาดอย่างไร หรือจะหาแหล่งรายได้ก้อนใหม่อย่างไร ซึ่งคำถามเหล่านี้จะช่วยในการไกด์ไลน์ให้ผู้ประกอบการได้องค์ประกอบของการทำแผน Business Model Canvas ทั้ง 3 ส่วน ดังนี้

Key Partners

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): ในหลายธุรกิจที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ หรือจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์ในการดูแล หรือประสานงานเพื่อให้เกิดความลื่นไหลในการทำธุรกิจมากที่สุด ข้อดีของการมีพาร์ทเนอร์คือ การกระจายความเสี่ยง และประหยัดระยะเวลาในการทำงานมากขึ้น

Key Activities

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities): กิจกรรมที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้ดีขึ้น โดยจะต้องอ้างอิงถึงพื้นฐานของธุรกิจว่ามีลักษณะใด ตัวอย่าง ธุรกิจขายอาหารคลีน จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อกระชับมิตรระหว่างลูกค้า และแบรนด์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

Key Resources

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources): ทรัพยากรที่สำคัญกับองค์กร และทำให้แบรนด์ขับเคลื่อนต่อเนื่องไปได้ ในที่นี้จะสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท ได้แก่ 1.ทรัพยากรที่มีอยู่ และ 2.ทรัพยากรที่ต้องมี ซึ่งผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า และให้ความสำคัญกับทรัพยากรตามลำดับความสำคัญ

What เราทำอะไร

“What = อะไร?” อะไรที่แบรนด์ของผู้ประกอบทำอยู่, สินค้าของแบรนด์มีคุณค่าในชิงอะไรบ้าง และอะไรคืองานบริการหลักของแบรนด์ คำถามเหล่านี้จะช่วยในการแจกแจงข้อดี และจุดขายของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Value Proposition

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions): ส่วนนี้ผู้ประกอบการจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าอะไรคือจุดเด่น, คุณค่าของสินค้า หรือบริการของทางแบรนด์คืออะไร และตอบโจทย์กับปัญหาของกลุ่มลูกค้าจริงหรือไม่ นี่เป็นช่องว่างใหญ่ที่หากเติมช่องว่างนี้ได้ และแข็งแรงมากพอก็จะทำให้ธุรกิจของผู้ประกอบการก้าวหน้าไปได้อย่างดีเยี่ยม

Who ใครจะใช้สินค้าเรา

“Who = ใคร?” เป็นคำถามที่จัดว่าสำคัญมากที่สุดก็ว่าได้ หากมีสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะนำไปขายใคร ก็ไม่อาจจะแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นเงินได้ คำถามในส่วนนี้จะช่วยในการต่อยอดในส่วนของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น ใครเป็นลูกค้าของแบรนด์, ลูกค้าจะเจอสินค้าได้จากช่องทางไหน หรือกลุ่มเป้าหมายมีลักษณะการเสพสื่อช่องทางใด เป็นต้น

Customer Relationship

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships): หลายแบรนด์มองข้ามการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด เพราะหากแบรนด์สามารถใกล้ชิดกับลูกค้าได้มากพอจะทำให้ลูกค้ารู้สึกสนิทใจกับแบรนด์ ก่อให้เกิดการซื้อซ้ำ และการบอกต่อ (Word of mouth) นั่นเอง

Customer Segment

กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments): สิ่งที่จะทำให้แบรนด์ขายออกหรือไม่คือสิ่งนี้ นักธุรกิจต้องตอบคำถามนี้ให้ชัดเจนว่าลูกค้าของแบรนด์คือใคร โดยที่หัวข้อนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยๆ อีกคือ 1.ลูกค้ากลุ่ม Mass หรือ 2.ลูกค้ากลุ่ม Niche นี่เป็นทางเลือกที่ต้องการความชัดเจน และจะส่งผลต่อการสื่อสารของแบรนด์อีกด้วย

Channel

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels): การที่นักธุรกิจจะรู้ได้ว่าควรสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางใด นักธุรกิจจะต้องเข้าใจพฤติกรรมในการเสพสื่อของลูกค้าเสียก่อน จึงจะเลือกช่องทางในการขายได้อย่างเหมาะสม และเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสื่อแต่ละประเภทมีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป

Money

“Money = เงิน” นี่อาจเป็นเนื้อหาเพียงส่วนเดียวที่ไม่ใช่คำถาม แต่ก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รู้ว่าผลลัพธ์ของการทำธุรกิจเป็นไปในทิศทางใด, มีค่าใช้จ่ายที่สมดุลกันหรือไม่ และมีแหล่งรายได้อื่นที่เติบโตจากธุรกิจหลักบ้างไหม โดยจะอ้างอิงจากองค์ประกอบ 2 ส่วนสุดท้ายของ Business Model Canvas ดังนี้

Cost Structure

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure): ทุกธุรกิจล้วนมีต้นทุนที่ต้องจัดการกันไป ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1.ต้นทุนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ตัวอย่าง ค่าน้ำ, ค่าไฟ หรือค่าจ้างพนักงาน และ 2.ต้นทุนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ ตัวอย่าง ค่าโฆษณา, ค่าจ้างพรีเซนเตอร์ หรืองบในการลงข่าวประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

Revenue Streams

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams): ช่องทางในการสร้างรายได้ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าวิธีการสร้างรายได้มาจากการขายสินค้าเพียงเท่านั้น แต่ในความจริงแล้วในหนึ่งธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากอื่นๆ ได้อีกหลายช่องทาง ตัวอย่าง ค่าบริการ, ค่าเช่า หรือจะเป็นค่าอนุญาตลิขสิทธิ์

ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Business Model Canvas มาใช้และได้ผลดี

เมื่อคุณได้เข้าใจภาพรวมของการวางแผนธุรกิจแบบ  Business Model Canvas ทั้งในแง่ของการทำความรู้จักว่า Business Model Canvas คืออะไร และ Business Model Canvas มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ในส่วนนี้จะพาทุกคนมาเจาะลึกกับกรณีศึกษาของแบรนด์ที่นำ Business Model Canvas มาปรับใช้ จะมีตัวอย่างของแบรนด์อะไรบ้าง ไปติดตามเนื้อหาที่นำมาฝากกันได้เลย

Google กับตัวอย่าง Business Model Canvas

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Google

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับ Search Engine อย่าง Google แน่นอน นี่เป็นดั่งคลังความรู้ของคนทั่วโลก เพียงแค่ค้นหาคำที่ต้องการ ข้อมูลจากทุกสารทิศจะพรั่งพรูเข้ามาปรากฏอยู่ที่หน้าจอของคุณ หากจะเจาะรูปแบบแผนธุรกิจของ Google อาจจะต้องเรียกว่าเป็นแผนแบบซ่อนเร้น เนื่องจากไม่ได้มีเพียงแค่ผู้ใช้บริการเท่านั้นที่ซื้อบริการของ Google 

วิธีที่ Google ให้บริการจะเหมือนกันกับพวกบริษัท สายธุรกิจการสื่อสาร ที่ได้รับเงินจากค่าโฆษณาด้วยนั้นเอง หลายบริษัทจ่ายเงินให้กับ Google เพื่อดันหน้าเว็บไซต์ของตนให้ปรากฎเป็นอันดับต้นๆ ด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุมการค้นหาบนโลกโซเชียลมากถึง 90% รวมเป็นจำนวนครั้งได้มากกว่า 80 พันล้านครั้งต่อปี

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Google

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

ผู้ใช้งาน หรือ Users และนักโฆษณา สิ่งแรกที่อาจจะต้องทำความเข้าใจก่อนคือ รูปแบบธุรกิจของ Google นั้นเป็นแบบระบบลูกค้าหลายด้าน (Multi-sided platform) หมายถึงการตลาดที่มีกลุ่มลูกค้ามากกว่า 2 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่สินค้า หรือ Google ที่ทำหน้าที่เป็น Search engine สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายนั้นได้อย่างลงตัว 

 อีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ที่เกี่ยวข้องกับ Google คือ กลุ่ม Content Producers หรือผู้ที่ทำคอนเทนท์ออกมาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งในรูปแบบเจ้าของเว็บไซต์, บล็อกเกอร์, เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ ที่รวมถึงยูทูปเบอร์ด้วย ซึ่งเนื้อหาของพวกเขาเหล่านี้จะขึ้นปรากฏในหน้าค้นหาของ Google อีกทั้งในหน้าเนื้อหาของผู้ผลิตคอนเทนท์จะยังพื้นที่แทรกโฆษณาของ Google อีกด้วย ทำให้นี่เป็นอีกหนึ่งพาร์ทเนอร์ที่สำคัญของ Google เลยก็ว่าได้ 

 กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

การรวบรวมข้อมูล และสถิติในการค้นหา, การค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ, การพัฒนารูปแบบการค้นหาข้อมูลที่ง่าย และมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ความน่าสนใจในประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลของ Google คือในการค้นหาแต่ละครั้ง คาดว่าสามารถปรากฏผลลัพธ์หน้าเว็บไซต์มากถึง 8 พันล้านเว็บไซต์ ซึ่งจะจัดเรียงลำดับของแต่ละเว็บไซต์ตามความเหมาะสมกับคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้งานใช้ในการค้นหา เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด 

 ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ทรัพยากรที่เป็นดั่งหัวใจหลักของ Google คือการเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และสิทธิบัตร รวมถึงการพัฒนาอัลกอริธึมการค้นหา และ Googlebot ที่จะคอยทำหน้าที่ตรวจสอบคอนเทนท์อยู่เสมอๆ Google ตั้งใจที่จะเป็นผู้นำ และสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านเทคโนโลยีระดับโลก เพื่อผลักดันแบรนด์ และระบบปฏิบัติการมือถืออย่าง Android ให้เป็นระบบชั้นนำแบบไร้ที่ติ

 จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

จุดแข็งที่ชัดเจน และแข็งแรงมากที่สุดสำหรับ Google คือการเป็นเครื่องมือในการค้นหาที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ฟรี ด้วยเครื่องมือนี้จะทำให้ทั้งผู้ใช้งานที่ต้องการค้นหาสินค้า หรือสิ่งที่ต้องการได้เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วพิมพ์คีย์เวิร์ดเท่านั้นเอง ใช้งานง่าย ค้นหาไว และที่สำคัญคือ ใช้งานได้ทุกเมื่อ หากคุณมีอินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สักอย่าง โลกทั้งใบก็อยู่ในมือคุณแล้ว 

 วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

ถึงแม้รูปแบบบริการของ Google จะเป็นการให้ผู้ใช้งานเข้ามาค้นหาด้วยตัวเอง แต่สิ่งที่ทางแบรนด์ให้ความสำคัญ และหวังให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการเข้าใช้บริการคือ ความรวดเร็ว และการรับสารที่ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

ด้วยลักษณะงานบริการของ Google ทำให้มีกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักโฆษณาที่ต้องการโปรโมตสินค้าของตน เพื่อให้เกิดทั้ง Brand Awareness หรือยอดขายที่สูงขึ้น, ผู้ผลิตคอนเทนท์ ที่ต้องการเพิ่มฐานผู้สนใจในเนื้อหาของตัวเอง หรือผู้ใช้งานที่ต้องการค้นหาสิ่งของ หรือตอบสนองความต้องการบางอย่างบนโลกออนไลน์ และเลือกใช้ Google เป็นเครื่องมือในการค้นหา นี่ก็เป็นการสนับสนุน และเข้าข่าสนใจในธุรกิจของ Google แล้ว 

 ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

แน่นอนว่า Google มีหลากหลายช่องทางภายใต้เครือข่ายของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Android, Chrome, Maps, และ Gmail 

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

Research and development, Traffic Acquisition Costs (TAC), Sales and marketing, Data centers, General, administrative, and legal operations

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

Free, Cost-Per-Click, Advertising, Percentage of app sales and subscriptions, Sales of products and services, Subscriptions from YouTube, Monthly/annual fees or per-usage fees

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Netflix

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Netflix

รูปแบบในการทำธุรกิจของ Netflix ถือว่ามีความเป็นลูกผสมระหว่าง การสมัครสมาชิก และบริการแบบเหมาๆ (All You Can Eat business models) หากจะทำความเข้าใจลักษณะการทำธุรกิจอาจจะต้องเข้าใจบริบท และการเติบโตของผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายนี้ให้ดีกันเสียก่อน 

ที่นี่ไม่ได้เติบโตก้าวแรกมาจากแผนการเป็นสตรีมมิ่ง แต่เกิดมาจากจุดเริ่มต้นอย่างการเป็นร้านเช่าดีวีดีที่ส่งให้บริการผ่านไปรษณีย์ จนสามารถเติบโตแบบก้าวกระโดด และกลายเป็นผู้บุกเบิกในเส้นทางการเป็นสตรีมมิ่งผ่านระบบออนไลน์แทน แน่นอนว่าความสำเร็จนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะโชค หรือความบังเอิญ แต่มีการวางแผน และเทคนิคที่หลายแบรนด์น่าจะนำไปต่อยอดได้ดีทีเดียว 

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Netflix

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

Netflix มีเครือข่ายที่กว้างขวางอย่างมาก โดยเฉพาะกับลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์ หรือซีรี่ย์ของ Netflix ที่ต้องมีการเจรจากันของช่อง TV, ผู้ผลิตสื่อ หรือแม้กระทั่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง Wii, X-Box, PlayStation และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการให้ Netflix เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของพวกเขาเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน 

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

สิ่งที่ Netflix ตั้งใจไม่ได้เพียงแต่การเป็นพื้นที่สตรีมมิ่งเพื่อผู้ชมเพียงเท่านั้น เพราะ Netflix ต้องการสร้างสรรค์ Original Contents ที่ดีที่สุดให้กับเหล่าผู้ชม และสิ่งที่กำลังเป็นที่น่าจับตามองในตอนนี้คือ การปรับกลยุทธ์ทางด้านราคา และการเพิ่มโฆษณา ซึ่งน่าติดตามว่า Netflix กำลังมีแผนรักษาฐานลูกค้าอย่างไรให้แบรนด์เองก็ได้รับ benefit ไปด้วยในเวลาเดียวกัน 

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกจากเว็บไซต์ และแอปที่ถือเป็นทรัพยากรหลักของ Netflix แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อไม่แพ้กันก็คือ ทรัพยากรบุคคลของทางค่าย เพราะมีการบุกเบิกเส้นทางสายอาชีพที่เติบโตเร็วอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Software developers, The content library, The recommendation algorithm, Filmmakers และ Producers, The brand, และ The studios โดยทุกคน และทุกองค์ประกอบนี้ได้ถูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับผลงานสุดสร้างสรรค์ของ Netflix ในอนาคต 

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

Access to a huge catalog of products, On-demand streaming, with 24/7 access (without ads!), Offering personalized lists, Original and high-definition content

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

บริบทในการให้บริการของ Netflix ค่อนข้างเป็นมิตรอย่างมากกับผู้ใช้ เพราะ Netflix ให้อิสระในการตั้งค่า และมีพื้นที่ให้ผู้ใช้บริการได้เป็นตัวเองอย่างที่สุด เพื่อที่จะจับคู่ content ที่เข้ากับผู้ใช้งานให้ได้ลงตัว นอกจากนี้ผู้ใช้บริการหลายคนมีการเชื่อมต่อช่องทางโซเชียลส่วนตัวเข้ากับ Netflix ทำให้ทางค่ายสามารถอัปเดต และแจ้งเตือนในส่วนของรายการซีรี่ย์มาใหม่ หรือหนังร้อนที่อยากแนะนำให้ผู้ใช้บริการได้รู้แบบทันสถานการณ์ 

กลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

จริง ๆ แล้วความน่าสนใจของ Netflix คือการขาย content ให้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มคน ด้วยเนื้อหาที่สามารถไหลลื่น และมีระบบ AI ที่จับพฤติกรรมความชื่นชอบส่วนบุคคล ทำให้ทุกครั้งที่ผู้เข้าใช้บริการ Netflix ได้เจอกับเนื้อหาที่ใกล้เคียง หรือชื่นชอบได้โดยง่าย ทุกอย่างเป็นการอุดรูรั่วของทางค่ายที่ได้ผ่านการคิดมาหมดแล้ว 

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

แน่นอนว่านี่เป็นอีกกรณีที่เลือกใช้ช่องทางของตัวเองไม่ว่าจะเป็นแอป หรือเว็บไซต์ในการโฆษณา แต่ Netflix มองเห็นโอกาสในการแพร่ขยายเสียงของตัวเองในรูปแบบอื่นๆ ผสมผสานกันไปอีกด้วย ทั้งในช่องทางออฟไลน์ และออนไลน์ เพื่อให้เกิดการบอกต่อที่เป็นวิธีการแบ่งปันเรื่องราวของผู้ใช้จริงในกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ 

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

Producing movies, series, and other new content, Purchasing content and rights, Providing recommendations through artificial intelligence, Data centers for streaming content, Research, patents, and software development

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

ค่าสมัครสมาชิกกับ Netflix

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Starbuck

วิเคราะห์ตัวอย่างการทำ Business Model Canvas ของ Starbucks

ประวัติความเป็นมาของแบรนด์กาแฟยอดนิยมอย่าง Starbucks อาจจะเป็นที่คุ้นเคยสำหรับแฟนแบรนด์นี้กันอยู่บ้างแล้ว เรื่องราวของนักศึกษาชาย 3 คนจาก University of San Francisco ที่ได้พบเข้ากับ Alfred Peet ชายผู้ที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาล Alfred ได้สอนให้พวกเขาลองคั่วกาแฟ และนี่ก็เป็นประกายไฟที่ทำให้เกิดแบรนด์กาแฟที่หลายคนหลงรักในตอนนี้ Starbucks 

อย่างไรก็ดีเส้นทางการเติบโตของแบรนด์เดินทางมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1971 จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจในช่วงแรกของแบรนด์กาแฟนี้คือ Mission ของแบรนด์ที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจ และหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยการถือคอนเซปที่ว่า one person, one cup, and one neighborhood at a time แต่ใครจะรู้ว่าด้วยมิชชันที่ถูกวางเป็นรากฐานอย่างชัดเจน ได้กลายเป็นเสน่ห์ และทำให้แบรนด์กาแฟอย่าง Starbucks แตกต่าง และมีคุณค่าในแก้วกาแฟแบบที่ไม่มีแบรนด์ใดคัดลอกได้ 

เจาะแผน Business Model Canvas ของ Starbucks

คู่ค้าหลักของธุรกิจ (Key Partners): 

ผู้จัดหาวัตถุดิบจากทั่วโลก, ผู้ผลิตกาแฟจากหลายประเทศ, บริษัทในการนำเข้า, ส่งออก และกระจายสินค้าเพื่อไปส่งยังสาขาต่างๆ ของ Starbucks เนื่องจากรูปแบบของธุรกิจมีลักษณะเป็นแฟรนไชส์ ทำให้ต้องมีการจัดส่งวัตถุดิบ และอุปกรณ์จากทางแบรนด์ 

กิจกรรมหลักของธุรกิจ (Key Activities):  

การพัฒนาต่อยอดสินค้า, งานบริการลูกค้าทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์, การทำการตลาด, การทำสื่อเพื่อโปรโมตสินค้าเดิม และสินค้าใหม่, การคิดค้นเมนูใหม่ๆ, รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆ 

ทรัพยากรหลักของธุรกิจ (Key Resources):  

ทรัพยากรบุคคล, ชาวสวนมืออาชีพที่เก็บเกี่ยวกาแฟคุณภาพสูง, นักพัฒนาสินค้าทั้งรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และเมนูของทางแบรนด์ และหน้าร้านแต่ละสาขาที่เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของแบรนด์ 

จุดแข็งของธุรกิจ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Value Propositions):  

ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้ Starbucks  ประสบความสำเร็จ และมาไกลได้ขนาดนี้ก็เพราะการต่อยอดของทั้งเมนู และบรรจุภัณฑ์ ที่รวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทางแบรนด์ภูมิใจนำเสนอ และทำให้แบรนด์กาแฟในมุมมองของผู้ซื้อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

คุณภาพของรสชาติ, ความหลากหลาย และการสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการ นอกจากการได้ดื่มด่ำกับรสชาติของกาแฟ หรือเครื่องดื่มจากทางร้านแล้ว ยังได้สัมผัสกับบรรยากาศของร้านที่ทำให้นี่เป็นดั่งมนต์สะกดที่ทำให้หลายคนติดใจ และกลายเป็นลูกค้าประจำไปกันแบบไม่รู้ตัว 

วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Customer Relationships):  

เชื่อว่าใครที่เป็นลูกค้าของแบรนด์ Starbucks จะรู้ซึ้ง และเข้าใจดีเลยว่าเสน่ห์ของแบรนด์อาจจะไม่ได้อยู่แค่รสชาติของเครื่องดื่มแต่เพียงอย่างเดียว เพราะพนักงานที่นอกจากจะชงเครื่องดื่มให้กับลูกค้าแล้ว ด้านงานบริการที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดยิ่งเพิ่มความรู้สึกสนิทใจ และใกล้ชิดจนทำให้ลูกค้าสบายใจ และอยากเข้ามาใช้บริการอีกอย่างต่อเนื่อง 

กลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่สนใจในธุรกิจ (Customer Segments):   

กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ Starbucks คือลูกค้ากลุ่ม mass หรือตลาดที่มีลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ใครก็ตามที่ต้องการกาแฟคุณภาพชั้นเลิศ เท่ากับเป็นลูกค้าของแบรนด์ Starbucks ทั้งหมด 

ช่องทางในการขาย และติดต่อลูกค้า (Channels):  

ร้านกาแฟ, ร้านขายของชำ, ร้านค้าปลีก, บัตรสมาชิก, ฝ่ายบริการลูกค้า, Starbucks apps และ สื่อ Social Media

รายจ่าย หรือต้นทุน (Cost Structure):  

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และการดำเนินธุรกิจ, การตลาด, การจัดส่งสินค้า, อุปกรณ์ และค่าสิ่งอำนวยความสะดวก

ช่องทางสร้างรายได้ของธุรกิจ (Revenue Streams):

เครื่องดื่ม (โดยเฉพาะกาแฟ), อาหารอื่น ๆ ที่แบรนด์จำหน่าย, ค่าลิขสิทธิ์ และใบอนุญาต, สินค้าของแบรนด์  เป็นต้น

สรุป

หวังว่านักธุรกิจที่อ่านมาถึงจุดนี้จะเข้าใจ และเห็นความสำคัญของอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางแผนธุรกิจอย่าง Business Model Canvas กันอย่างเต็มอิ่ม การวางโมเดลนี้เหมาะมากสำหรับใครที่กำลังตั้งใจจะเริ่มทำธุรกิจ เพราะนี่เป็นเครื่องมือในการสร้างโมเดลธุรกิจที่เห็นได้ทั้งภาพรวม และรายละเอียดขององค์ประกอบพื้นฐานที่แบรนด์จำเป็นต้องมี เมื่อรากฐานแข็งแรงมั่นคง การพัฒนาต่อยอดก็เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล ให้แบรนด์พร้อมเติบโตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

ข้อดีของ Business Model Canvas

  1. ทำให้เข้าใจธุรกิจของเราในภาพรวม ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
  2. ช่วยให้ค้นพบรายละเอียดเล็กน้อยที่อาจจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ
  3. กำหนดเป้าหมายในการทำธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Business model canvas หรือ Business plan แบบไหนดีกว่ากัน

แผนธุรกิจหรือ business plan เป็นเหมือนเอกสารการเขียนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ แนวทางและวิธีการหาเงินทุน รวมทั้งเป้าหมายของการเริ่มต้นธุรกิจหรือบริษัท แต่ Business model canvas เป็นสิ่งที่อธิบายความคิด แบบแผน แนวทางการทำธุรกิจที่อ้างอิงจากภายในและภายนอก ทำให้เห็นภาพรวมชัดขึ้นบนหน้ากระดาษก่อนลงมือทำธุรกิจ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสร้าง Business Model Canvas

  1. ใครคือ key partners ของธุรกิจ
  2. คุณตั้งใจจะทำอะไร
  3. ใครคือกลุ่มลูกค้าที่คุณจะขายสินค้าหรือบริการให้ แยกให้ชัดเจน
  4. ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ
  5. สิ่งที่ต้องทำก่อนเริ่มธุรกิจ
  6. ลูกค้าจะซื้อคุณได้ที่ช่องทางไหน และช่องทางไหนจะเป็นช่องทางการขายหลักของคุณ

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง