Table of Contents

Categories

Recent Posts

การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำธุรกิจ

การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำธุรกิจ

Table of Contents

เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนใกล้ชิดกันมากขึ้นผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์ม และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้ทุกคนสามารถซื้อสินค้า และบริการ รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างง่ายดายผ่านทางช่องทางออนไลน์ กลุ่มธุรกิจ หรือแบรนด์จึงต้องมีการปรับตัว เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน และสร้างการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งการตลาดดิจิทัลเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทความนี้ จึงอยากพาไปรู้จักกับการตลาดดิจิทัล ประเภท ประโยชน์ รวมถึงความท้าทายในการทำการตลาดดิจิทัลในปัจจุบัน

ทำความรู้จักกับ การตลาดดิจิทัล คืออะไร

ทำความรู้จักกับ การตลาดดิจิทัล คืออะไร

การตลาดดิจิทัล เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นักการตลาดนำมาใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หรือผู้บริโภค เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ การประชาสัมพันธ์ การสร้างยอดขาย รวมถึงการสร้างการเติบโตทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ และสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีตัวกลางในการเข้าถึงเป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต เป็นต้น 

การตลาดดิจิตอลเริ่มได้รับความนิยมจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ และแพลตฟอร์มต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะปัจจุบันที่เทคโนโลยี และสื่อสมัยใหม่มีการพัฒนาไปมาก ผู้คนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้การทำการตลาดแบบดั้งเดิมได้มีการย้ายมาทำบนแพลตฟอร์ม หรือสื่อออนไลน์มากขึ้น เพื่อเข้าถึงความต้องการกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางพัฒนาสินค้า และบริการต่อไป

หลักการทำงานของการตลาดดิจิทัล

หลักการทำงานของการตลาดดิจิทัล

แม้ว่าการทำการตลาดแบบดั้งเดิมที่สื่อสารข้อมูลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ยังคงใช้ได้ผลอยู่ แต่เมื่อมีเทคโนโลยี และแพลตฟอร์มใหม่ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความคิดเห็น และความต้องการของลูกค้า เพื่อเน้นการสื่อสารระหว่างแบรนด์ กับลูกค้าแบบสองทางผ่านช่องทางดิจิทัล มากกว่าการปล่อยสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเพียงฝ่ายเดียว 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลก ทำให้หลายธุรกิจมีการปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อัปเดตเทรนด์ความต้องการของลูกค้า และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที

จุดประสงค์ในการทำ Digital Marketing

จุดประสงค์ในการทำ Digital Marketing

การทำการตลาดดิจิตอล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ เพิ่มกลุ่มลูกค้าที่มีแนวโน้มสนใจสินค้า และบริการจนผันตัวมาเป็นลูกค้าตัวจริงที่ตัดสินใจซื้อสินค้า หรือใช้บริการ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เพิ่มยอดขายสินค้า และบริการ รวมถึงช่วยเพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย และการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้า กับแบรนด์อีกด้วย

9 ประเภทของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล

9 ประเภทของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล

กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง และหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และความเหมาะสม ดังนี้

1. Website Marketing

เว็บไซต์ (Website) เปรียบเสมือนหน้าร้านเวลาขายสินค้า แน่นอนว่าแต่ละแบรนด์ย่อมต้องมีการเสนอขายสินค้า และบริการผ่านทางหน้าเว็บไซต์ แต่การมุ่งเน้นการขายเพียงอย่างเดียวเป็นวิธีที่ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปในยุคปัจจุบัน การปล่อยหน้าเว็บไซต์ให้ดูเข้าถึงยาก ขาดการดีไซน์ที่ดี หรือไม่มีความน่าสนใจ อาจทำให้ผู้คนขาดความเชื่อมั่น ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องใส่ใจเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ ให้ผู้ชมที่เข้ามารู้สึกว้าว จนใช้เวลาอยู่ที่หน้าเว็บไซต์นานพอ โดยอาจเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้มีความหลากหลายมากขึ้น และไม่มุ่งเน้นการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว เช่น อาจมีการเพิ่มเนื้อหาให้ความรู้ หรือข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการทำการตลาดด้วยเว็บไซต์ (Website Marketing) ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์แล้ว ยังทำให้ผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของการทำ SEO อีกด้วย

2. Content Marketing

การตลาดแบบเนื้อหา (Content Marketing) เป็นเทคนิคการดึงความสนใจจากกลุ่มลูกค้าด้วยการสร้างสรรค์และออกแบบเนื้อหา หรือคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจ ตอบสนองความต้องการ และช่วยแก้ปัญหาของลูกค้า โดยอาจเขียนเป็นบทความให้ความรู้  ทำอินโฟกราฟิกเก๋ๆ หรือสร้างคลิปวิดีโอสั้นๆ ทั้งนี้ การทำคอนเทนต์เพื่อสื่อสารออกไป อาจต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และประเภทของแพลตฟอร์มที่ใช้นำเสนอด้วย เมื่อใครๆ ก็รู้ว่าการใช้เทคนิคนี้เป็นวิธีการหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์ที่ดี แบรนด์ต่างๆ จึงงัดเอาคอนเทนต์มาต่อสู้กันอย่างดุเดือด ดังนั้น นักการตลาดต้องมุ่งเน้นไปที่คุณค่าของเนื้อหา โดยเน้นไปที่การออกแบบ และสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สร้างประโยชน์ ทันสมัย แปลกใหม่ ไม่ซ้ำซาก จำเจ ไม่คัดลอกผลงานจากใคร รวมถึงไม่มุ่งเน้นการขายสินค้า หรือแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้เป็นกระแสจนเกิดการบอกต่อด้วย

3. Search Engine Optimization (SEO)

Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลที่กำลังได้รับความนิยมสูง เป็นการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ให้เข้าตามหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อจัดลำดับของ Google Algorithm เพื่อทำให้กูเกิ้ลมองเห็นว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ และสร้างคุณค่าให้ผู้คน จนถูกจัดให้อยู่ในลำดับแรกๆ ของหน้าค้นหา แน่นอนว่าเมื่ออยู่ในหน้าแรกของการค้นหา โอกาสที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะมองเห็นคอนเทนต์ของแบรนด์ก็มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ซึ่งการทำ SEO สามารถทำได้ด้วยการปรับปรุงเนื้อหาให้มีคุณภาพ และการปรับปรุงพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน

4. Pay-Per-Click (PPC) Advertising

Pay-Per-Click (PPC) เป็นการทำโฆษณาบน Search Engine เช่น Google รวมทั้งบนสื่อโซเซียลมีเดีย เช่น Facebook หรือ Instragram ทำให้โฆษณาขึ้นอยู่หน้าแรกของ Google อย่างรวดเร็ว โดยจะเสียค่าใช้จ่ายเมื่อมีการคลิกเข้าไปในหน้า Landing Page ของเว็บไซต์เท่านั้น แม้ว่ามีโฆษณาแสดงขึ้นมา และเกิดการมองเห็นโฆษณานั้นๆ แต่ถ้าไม่เกิดการคลิกเข้าไป ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายต่อการคลิกได้

5. Social Media Marketing

การตลาดแบบโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) เช่น Facebook, LINE หรือน้องใหม่ที่มาแรงมากอย่าง TikTok ถือว่าเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่กำลังได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากมีคนเข้าใช้งานเป็นจำนวนมาก นักการตลาดจึงนิยมใช้ในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการ โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้า และบริการของแบรนด์ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว ทำให้ลดช่องว่างระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้ดี ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อขาย และใช้งบประมาณที่ไม่สูงมาก

6. Affiliate Marketing

Affiliate Marketing มีหลักการทำงานคล้ายกับการเป็นนายหน้า แต่เป็นการทำผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเจ้าของแบรนด์อาจใช้วิธีเปิดรับตัวแทนช่วยขายสินค้า และบริการผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ แล้วให้รายได้เป็นค่าคอมมิชชั่นเมื่อขายสินค้าได้ หรือธุรกิจขายสินค้าผ่านทางช่องทาง E-Commerce สามารถทำ Affiliate Marketing ผ่านทาง Affiliate Program ของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้นได้เลย โดยให้ผู้ที่รับทำคัดลอก Affiliate Link ไปแปะไว้ตามช่องทางต่างๆ เมื่อเกิดการซื้อสินค้าผ่านทางการกดลิงก์ ก็จะได้รับค่าตอบแทน ส่วนเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นจะขึ้นอยู่กับผู้รับทำ และเจ้าของสินค้าตกลงกัน ถือว่าเป็นการตลาดที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ดีมาก และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เป็นวงกว้าง

7. Email Marketing

การทำตลาดแบบ Email Marketing ส่วนใหญ่จะใช้ในวงการธุรกิจแบบ B2B (Budiness to Business) โดยกลุ่มลูกค้าที่ส่งอีเมลไปจึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่อาจเป็นลูกค้าเก่าที่มีการเก็บข้อมูลอีเมลไว้อยู่แล้ว หรือกลุ่มลูกค้าในแวดวงธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกัน การใช้วิธีนี้จึงค่อนข้างได้ผลเนื่องจากส่งตรงไปยังกลุ่มคนที่มีแนวโน้มว่าเป็นลูกค้าของเราจริง ส่วนมากจึงเน้นการนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษ ข่าวสาร สินค้า หรือบริการใหม่ กิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้น เป็นต้น ข้อควรระวังคือ การส่งอีเมลควรใช้หัวข้อที่เป็นทางการ และมีความน่าสนใจ ข้อความในอีเมลต้องมีคุณภาพ มีประโยชน์ เนื้อหาไม่เยิ่นเย้อ และต้องอ่านเข้าใจง่าย

8. Mobile Marketing

ยุคสมัยนี้ใครบ้างไม่มีสมาร์ตโฟน แม้แต่ผู้สูงวัยที่บ้านยังเห็นไถสมาร์ตโฟนกันอย่างช่ำชอง การทำ Mobile Marketing จึงเป็นช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพราะสามารถเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจใช้วิธีการส่ง SMS พร้อมแนบลิงก์ให้กดเข้ามายังหน้าเว็บไซด์ และแฟลตฟอร์มโซเซียลมีเดียอื่นๆ ที่เป็นหน้าธุรกิจเพื่อเพิ่ม Traffic ก็ได้

9. Video Marketing

เชื่อว่าหลายคนเวลาต้องการซื้ออะไรสักอย่างต้องเปิดดู YouTube เพื่อดูรีวิวสินค้านั้นก่อนการตัดสินใจซื้อ YouTube จึงเป็นช่องทางการทำการตลาดดิจิทัลหนึ่งที่ได้ผลดีที่สุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการเป็นอย่างมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบดูคลิปวีดีโอมากกว่าการอ่านอะไรยาวๆ จึงมีผู้ชมมากมายเข้ามาดู YouTube เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ดูรีวิวสินค้า และบริการ หรือแม้แต่เสพความบันเทิง นอกจากนี้ ยังพบว่าการสร้างวีดีโอสั้นบนแฟลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instragarm หรือแม้แต่ Tiktok ก็ให้ผลทางการตลาดได้ดีไม่แพ้กันอีกด้วย

ประโยชน์ของ Digital Marketing

ประโยชน์ของ Digital Marketing

การทำการตลาดดิจิทัลมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

การสื่อสารที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

เครื่องมือในการทำการตลาดดิจิทัล สามารถเจาะจงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงช่องทางที่เหมาะสมที่จะใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถกำหนดช่วงอายุ ความสนใจ เพศ ถิ่นที่อยู่ หรือพฤติกรรม เช่น หากกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจคือลูกค้าวัยทำงาน ควรเลือกช่องทางสื่อสารผ่านทาง Facebook หรือ Intragram ที่คนวัยนี้มักนิยมเล่นผ่านทางสมาร์ตโฟน เป็นต้น

ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่

การตลาดแบบดั้งเดิม เช่น การออกบูทประชาสัมพันธ์ หรือการเข้าพบลูกค้า อาจต้องรอช่วงเวลาเปิดทำการ แต่การทำตลาดออนไลน์นั้นแตกต่างออกไป โดยสามารถสื่อสารออกไปได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือสื่อโซเชียลต่างๆ จึงทำให้การเข้าถึงลูกค้าทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด หรือเวลาไหน

ทำให้มีข้อมูล และสถิติที่สามารถนำมาวัดผลได้

การเก็บข้อมูล และการวัดประสิทธิผลทางการตลาด สามารถทำได้อย่างง่ายผ่านโปรแกรมที่เปิดให้ใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งแบบฟรี และเสียค่าใช้จ่าย นักการตลาดดิจิทัลสามารถดึงเอาข้อมูลที่มีความแม่นยำนี้มาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการตลาดได้อย่างง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ

เข้าใจกระบวนการของผลลัพธ์อย่างแม่นยำ

การทำการตลาดดิจิตัล สามารถติดตามเส้นทางพฤติกรรม และการกระทำของลูกค้า ตั้งแต่เมื่อลูกค้าเริ่มมองเห็น เกิดการรับรู้ เกิดความสนใจ จนไปถึงการปิดการขายผ่านทางเครื่องมือต่างๆ แบบออนไลน์ ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาต่อยอดแคมเปญที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ตอบสนองความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ช่วยให้วางแผนการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า

ทุกกิจกรรม หรือแคมเปญล้วนเป็นต้นทุนที่ส่งผลต่อกำไร การลงโฆษณาบนป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ วิทยุ หรือโทรทัศน์มักมีค่าใช้จ่ายที่สูง การทำการตลาดดิจิตัลสามารถควบคุมงบประมาณการตลาดได้อย่างแม่นยำ และมีค่าการตลาดที่ต่ำ มีหลายช่องทางที่สามารถทำกิจกรรมทางการตลาดได้ฟรี และหลายแพลตฟอร์มยังฟรี และมีศักยภาพอีกด้วย หรือหากต้องการลงแคมเปญโฆษณาแบบเสียเงิน การทำการตลาดดิจิทัลยังสามารถปรับ หรือจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ได้ จึงง่ายต่อการวางแผนทางด้านงบประมาณ

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล

นักการตลาดสามารถวัดผลการทำตลาดดิจิทัล จาก KPI เพื่อตัวชี้วัดในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำการตลาดดิจิทัลให้ได้ผลมากยิ่งขึ้น ดังนี้

  • บทความในเว็บไซต์ นักการตลาดสามารถใช้ KPI เพื่อหาจำนวนการเผยแพร่โพสต์คอนเทนต์ หรือบทความต่อเดือนได้
  • อัตราการคลิก เช่นเดียวกันนักการตลาดสามารถการใช้ KPI สามารถใช้ค้นหาจำนวนการคลิกลิงก์ที่แนบไปพร้อมกับอีเมล หรือข้อความ ไปจนถึงขั้นตอนการปิดการขายได้
  • อัตราการแปรเปลี่ยน KPI สามารถบอกจำนวนการเปลี่ยนจากผู้เข้าชมเป็นผู้ซื้อสินค้าได้ โดยการวิเคราะห์ผ่านแคมเปญ หรือกิจกรรมที่กระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า และกลุ่มเป้าหมาย
  • ปริมาณการใช้งานบนโซเชียลมีเดีย จำนวนการเข้าชมสื่อโซเซียลมีเดีย รวมทั้งทุกการกระทำที่เกิดขึ้น เช่น การ Like, แชร์, Follow ก็สามารถใช้ KPI ในการติดตามผลได้เช่นกัน
  • ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์ นักการตลาดสามารถใช้ KPI เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อวิเคราะห์ และออกแบบเว็บไซต์ให้สนับสนุนการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนปรับปรุงให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้าในอนาคต

ความท้าทายของการตลาดดิจิทัลในยุคปัจจุบัน

ความท้าทายของการตลาดดิจิทัลในยุคปัจจุบัน

เมื่อทุกแบรนด์ต่างรู้ดีว่า การทำการตลาดดิจิทัลให้ผลดีต่อการสร้างธุรกิจ และเห็นผลอย่างรวดเร็ว การทำการตลาดดิจิทัลในยุคที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเช่นนี้ จึงไม่ใช่แค่ทำได้ แต่ต้องทำเป็น และต้องทำได้ดีด้วย การที่เทคโนโลยี และเทรนด์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้พฤติกรรม และความสนใจของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ไปด้วย นักการตลาดจึงต้องตื่นตัว ติดตามข่าวสาร และอัปเดตอยู่เสมอ เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ทันท่วงที อีกทั้งปัจจุบันยังต้องคำนึงถึงกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ที่มีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง และเข้ามามีบทบาทที่ท้าทายต่อนักการตลาดมากขึ้น ธุรกิจที่ต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงต้องอาศัยทักษะของนักการตลาดดิจิทัลที่มีประสบการณ์ และมีความเป็นมืออาชีพเข้ามาช่วยเสริมทัพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าสู่สนามแข่งขันได้อย่างอย่างแข็งแกร่ง

สรุป

การตลาดดิจิตอลเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นักการตลาดใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ สร้างยอดขาย รวมถึงสร้างการเติบโตทางธุรกิจผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ซึ่งนักการตลาดต้องหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการตลาดดิจิทัลมีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ เพิ่มจำนวนผู้เข้าชม เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ และทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ หากต้องการประสบความสำเร็จภายใต้การแข่งขันที่สูงในปัจจุบัน จึงต้องทำการตลาดทั้งรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย เพราะธุรกิจที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ก็มีแต่จะถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวอยู่ภายหลัง

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

การตลาดดิจิตอลคืออะไร?

การตลาดดิจิตอล เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นักการตลาดใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ สร้างยอดขาย รวมถึงสร้างการเติบโตทางธุรกิจผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ 

Search Engine Optimization (SEO) มีหลักการทำงานอย่างไร?

Search Engine Optimization (SEO) เป็นการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ให้เข้าตามหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อจัดลำดับของ Google Algorithm เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ของธุรกิจอยู่ในหน้าแรกของ Search Engine

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง