Table of Contents

Categories

Recent Posts

Search Intent ตัวช่วยในการทำบทความให้ตรงตามเจตนาของผู้ค้นหา

Search Intent คืออะไร ตัวช่วยสำคัญ มัดใจผู้ใช้ให้อยู่หมัดด้วย SEO

Table of Contents

ในบทความก่อนหน้า เราได้พูดถึงเคล็ดลับการเขียนบทความ SEO ให้ติดอันดับบนหน้าแรกของ Google กันไปแล้ว หลายคนคงพอจำกันได้ว่า Search Intent ถือเป็นตัวยืนพื้นในการคิดคอนเทนต์ขึ้นมาสักหนึ่งตัว ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญในการทำ SEO ให้โดนใจ User ปังแบบฉุดไม่อยู่

ในบทความนี้ Minimice จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Search Intent ตัวช่วยที่จะทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกจุดมากยิ่งขึ้น รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันเลย

Search Intent คืออะไร

Search Intent คืออะไร

Search Intent คือ ‘เจตนา’ หรือก็คือ ‘ความต้องการ’ ในการค้นหาข้อมูลต่างๆ บน Search Engine อย่าง Google หรือ Bing ฯลฯ มีอีกชื่อว่า User Intent ซึ่งแปลแบบตรงตัวได้ว่า เจตนา(ในการค้นหา)ของผู้ใช้งาน

เราสามารถรู้จัก Search Intent ได้จาก Search Query ซึ่งก็คือคำ กลุ่มคำ หรืออาจเป็นประโยค (ส่วนใหญ่เป็นคำถาม) ที่ผู้ใช้งานพิมพ์เข้ามาที่ Search Box ของ Search Engine เรามักคุ้นเคยกับอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Keyword

หลักการทำงานของ Google กับ Search Intent

หลักการทำงานของ Google กับ Search Intent

การทำงานของ Search Intent จะถูกนับและนำมาพิจารณาตั้งแต่การที่มี User สักคนหนึ่งพิมพ์อะไรก็ตามลงมาบนช่องค้นหาของ Search Engine ซึ่งทาง Google เองจะมี Google Bot หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ Spider ที่คอยเข้าไปสอดส่อง หรือ Crawl ตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเข้ามาไว้ในฐานข้อมูล หรือที่เรียกกันว่า Index ข้อมูลนั่นเอง

หลังจากนั้น Machine Learning ของ Google จะเรียนรู้ว่าแต่ละ Search Query ที่ถูกค้นหาเข้ามา User มีความชอบ หรือต้องการคอนเทนต์แบบไหน และแสดงผลจริงออกมาตามนั้น

Search Intent สำคัญอย่างไร

ในทุกๆ การอัปเดตของ Google Algorithm มักชี้ให้เห็นว่า ความสำคัญของ Search Intent ล้วนมาจาก Audience Based หรือความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก จึงไม่แปลกที่ยิ่งเราเข้าใจ Search Intent มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งสามารถผลิตเนื้อหาได้ตรงใจผู้ใช้งานได้มากเท่านั้น โอกาสในการติดอันดับที่ดียิ่งมีมากขึ้นอีกไม่รู้เท่าไหร่!

สรุปง่ายๆ ก็คือสำคัญมาก! และอย่างที่บอกไปในตอนต้นว่า Search Intent มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ Search Query หรือ Keyword ที่เราใช้สำหรับวางแผนในการทำ SEO ดังนั้น เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า Search Intent มีอะไรบ้าง และแต่ละแบบเหมาะกับคอนเทนต์แบบไหน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของ User มากที่สุด และเพื่อให้ Google มองเห็นว่าคอนเทนต์ของเราสมควรที่จะอยู่เป็นอันดับต้นๆ ของ SERP ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมาก ดังนี้

  • มีส่วนช่วยในการสร้าง Brand Awareness แบบออร์แกนิก
  • เมื่อ User เห็นคอนเทนต์บ่อยๆ จะช่วยให้เกิด Consideration หรือการนำข้อมูลมาพิจารณา 
  • สุดท้าย อาจนำไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เราต้องการทำการขาย หรือ Conversion ได้

ประเภทของ search intent

Search Intent Types มีอะไรบ้าง ?

การมีคอนเทนต์ที่สดใหม่ อัดแน่นไปด้วยคุณภาพ สามารถนำคุณและแบรนด์ขึ้นสู่หน้า 1 ของ Google ได้ก็จริง แต่ถ้าอยากอยู่อย่างมั่นคงต่อไป ก็ควรให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของ User ให้ได้ 

เบื้องต้น เราสามารถทำความเข้าใจกับ 4 ประเภทของ Search Intent ได้โดยง่าย ดังนี้

Informational Search Intent

User ต้องการเนื้อหาที่ให้ ‘ข้อมูล’ โดยอาจเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป หรืออาจเป็นข้อมูลจำเพาะเจาะจงบางอย่าง มักมีคำเหล่านี้ประกอบการค้นหา เช่น ทำไม, อะไร, อย่างไร, วิธีการ ฯลฯ

ตัวอย่าง

  • ปีหน้าหยุดวันไหนบ้าง
  • วิธีกำจัดกลิ่นท่อ
  • ทำคาเนเล่ยังไง
  • อะไรกินแล้วไม่อ้วนบ้าง

ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้

  • บทความหน้าให้ความรู้ทั่วไป
  • บทความหน้าสินค้า หรือบริการ
  • คลิปวิดีโอ

Navigational Search Intent

User มีการรับรู้แบรนด์อยู่บ้างแล้ว และต้องการ ‘ไปยัง’ แบรนด์นั้นๆ ผ่านการค้นหาที่ Search Box ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์เฉยๆ หรือต้องการไปยังสถานที่จริง มักมีคำค้นหาที่เป็นชื่อแบรนด์โดยตรง

ตัวอย่าง

  • Youtube ช่อง ABC
  • Ubersuggest Neil Patel
  • Facebook Login
  • Minimice Group

ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้

  • หน้า Homepage
  • หน้า Contact หรือส่วนที่มีข้อมูลการเดินทาง

Commercial Search Intent

User กำลังอยู่ในขั้น ‘เตรียมตัวซื้อ’ สินค้า หรือ บริการบางอย่าง และต้องการค้นหาข้อมูลที่จะสามารถ ‘ช่วยให้ตัดสินใจได้’ คำค้นหามักประกอบไปด้วย รีวิว, ที่ดีที่สุด, 10 อันดับ… เป็นต้น

ตัวอย่าง

  • รีวิว Product A
  • ร้านอาหาร B อร่อยไหม
  • 10 อันดับโรงแรมเขาใหญ่ที่วิวสวยที่สุด
  • ทำตาที่ไหนดี

ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้

  • บทความรีวิว หรือคู่มือการเลือกซื้อ
  • อาจมีเป็นแบบรูปภาพ หรือวิดีโอได้ด้วยสำหรับสินค้าหรือบริการบางอย่าง

Transactional Search Intent

User มีความต้องการที่จะ “ทำ” หรือ “ซื้อ” สินค้า หรือ บริการนั้นๆ แล้ว โดยมีกลุ่มคำที่เป็นตัวบ่งบอก ได้แก่ ซื้อ, ลดราคา, ราคาพิเศษ, ส่งด่วน, จอง, ราคา เป็นต้น

ตัวอย่าง

  • จอง iPhone 14
  • โปรย้ายค่ายเบอร์เดิม TrueMove
  • รองเท้า A รุ่น B ลดราคา
  • วิธีเดินทางไปเชียงใหม่

ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้

  • บทความหน้าสินค้า หรือบริการ
  • หรือบางธุรกิจอาจต้องเป็นหน้าที่เขียนเพื่อให้ข้อมูลความรู้ แล้วจึงสอดแทรกการขาย เช่น ธุรกิจที่อยู่ในหมวด YMYL อย่างคลินิกเสริมความงาม โรงพยาบาล หรือการเงินการลงทุน เป็นต้น

แน่นอนว่าหลายๆ คำเราอาจพอมองด้วยตาเปล่าแล้วสามารถตัดสินใจได้เลยว่า Search Intent แบบนี้ ควรทำคอนเทนต์แบบไหน แต่เราแนะนำให้ทุกๆ การค้นหาคีย์เวิร์ด ต้องนำไปตรวจสอบที่หน้า SERP เสมอทุกครั้ง และทุกตัวถ้าเป็นไปได้ เนื่องจากอาจไม่ได้มีการนำเสนอแค่วิธีเดียวเสมอไป

ประเภทของ search intent

Minimice ขอแนะนำ อยากทำคอนเทนต์ให้ตรง Search Intent ต้องดูอะไรบ้าง

สิ่งที่เราต้องรู้และจำให้ได้ขึ้นใจก่อนเริ่มลงลึกกันก็คือ ไม่ว่าจะทำอะไร คุณต้องตอบโจทย์ทั้ง 2 อย่างนี้ให้ได้ 

  • Satisfy Brand: การทำคอนเทนต์ต้องตอบสนองความต้องการอยาก ‘ขาย’ ของแบรนด์ให้ได้
  • Satisfy Users: การทำเช่นนั้นได้ ต้องรู้จัก ‘ความต้องการของกลุ่มลูกค้า’ และตอบสนองให้ได้ด้วย

สิ่งสำคัญที่เราจะย้ำกันเองอยู่เสมอก่อนเริ่มทำ Keyword Research หรือเริ่มทำคอนเทนต์ก็คือ

“ต้องเช็กดู Search Intent บน SERP ก่อนทุกครั้งนะ!”

เพราะถ้าไม่ทำอย่างนั้นแล้ว เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าควรเขียนไปในทิศทางไหนถึงจะแข่งขันได้ และให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ค้นหา

เราจะลองยกตัวอย่าง หากเราทำธุรกิจเกี่ยวกับหนังสือ

เมื่อมี User ค้นหาคำว่า “ร้านหนังสือ”

การแสดงผลบนหน้า SERP จะมีมาให้เลือกเข้าชมหลากหลายเว็บไซต์และรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งที่ตั้งของร้านหนังสือใกล้ๆ, เว็บไซต์ของร้านหนังสือใหญ่ๆ สักสองสามเจ้า ตลอดจนถึงบทความแนะนำหรือรีวิวร้านหนังสือหลากหลายร้าน ฯลฯ

ตัวอย่างหลักการทำงานของ Search Intent ผ่านการค้นหาบน Google

และตรงการแสดงผลนั้นแหละ เราถึงพอจะเห็น Search Intent ที่ชัดเจน โดยเมื่ออิงจากคำค้นหาคำว่า “ร้านหนังสือ” ซึ่งเป็นคำที่กว้าง ‘ไม่มีความต้องการที่แน่ชัด’ ผลการค้นหาจึงออกมาไม่แน่นอน

ถึงจะทำให้การทำคอนเทนต์เป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำออกมาไม่ได้ หรือแข่งขันไม่ได้เลย แต่ถ้าอยากให้เกิด CTR (Click Through Rate) หรือ อัตราการกดคลิกเข้ามายังเว็บไซต์เมื่อเกิดการมองเห็น) ในปริมาณที่น่าพอใจแล้วละก็ เราแนะนำให้คุณทำตาม Steps ง่ายๆ ที่ทีมเราใช้แล้วได้ผล ดังนี้

1. ตรวจสอบ Direction ที่สามารถติดอันดับต้นๆ ได้

ทุกๆ ครั้งหลังจากได้ Keyword มา สิ่งแรกที่เราต้องทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว คือ การเข้าไปท่องเว็บไซต์ว่าในหัวข้อทำนองเดียวกันนั้น คนอื่นเขาทำอะไรกันอยู่บ้าง และตอนนั้นเองนั่นที่คุณควรจะศึกษาภาพรวมในหน้าแรกให้ดีว่า ‘การแสดงผลแบบไหน’ ดูเหมาะสมมากที่สุด และมีแนวโน้มที่จะตอบโจทย์ User มากที่สุด (หรือหากต้องการลงลึก สามารถเข้าไปตรวจสอบเพิ่มเติมกับ Ahrefs Keyword Explorer แล้วเลือกดู SERP Position History ได้ด้วยนะ)

โดยเราแนะนำให้ตรวจสอบเชิงวิเคราะห์ควบคู่กับหลัก 3C ดังนี้

ตรวจสอบรูปแบบของคอนเทนต์

หลังจากนำ Keyword ไปตรวจสอบบน SERP แล้ว เราต้องแยกให้ได้ว่าภายใต้คำๆ นั้น Google อยากเห็นคอนเทนต์แบบไหน เช่น Blog Post เลยไหม หรือจริงๆ ต้องเป็นหน้า Product / Service Page ที่เป็นแนว eCommerce สามารถ Lead ผู้ใช้งานให้เกิด Activity หรือ Conversion ได้เลย หรือต้องการแบบวิดีโอ เป็นต้น เพราะหากตัดสินใจทำคอนเทนต์รูปแบบอื่นนอกไปจากส่วนที่ Google นำมาแสดงผลแล้ว อาจไม่สามารถแข่งขันได้เลย

มุมมองของคอนเทนต์

ในส่วนนี้จะเป็นการวัดกันที่เนื้อหาข้างในแล้วว่าเน้น ‘การเล่าเรื่อง’ แบบใด ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามในประเด็นที่สงสัย การให้ความรู้ สอนแบบ How to หรือเป็นการรีวิว

นอกจากการเล่าเรื่องแล้ว เรายังต้องวิเคราะห์ด้วยว่า คอนเทนต์ของเรามีกลุ่มเป้าหมายแบบไหน เป็น Beginner หรือเปล่า หรือถึงขั้น Expert แล้ว เพราะการเล่าเรื่องและมุมมองของคนอ่านส่งผลต่อ Search Intent โดยตรง และถ้าไม่ทำตามก็เหมือนว่าเรากำลังเดินผิดทางนั่นเอง

2. Keyword Difficulty

อีกหนึ่งสิ่งที่ได้จากการตรวจสอบ Search Intent บน SERP นั่นคือความยากง่ายในการแข่งขันในมุมมองของเนื้อหาและคู่แข่งที่ปรากฎอยู่บนหน้านั้นๆ บาง Industry ทาง Google จะให้ค่าความแข็งแกร่งของเว็บไซต์ และให้ความน่าเชื่อถือมากกว่า Industry อื่นๆ ซึ่งมักเกิดกับกลุ่ม YMYL (Your Money, Your Life)

ตัวอย่างเช่น เมื่อมี User ค้นข้อมูลเกี่ยวกับ “ออฟฟิศซินโดรมรักษาอย่างไร” ทาง Google จะเน้นแสดงผลเนื้อหาที่มาจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาล มากกว่าเว็บไซต์ของธุรกิจเพื่อสุขภาพอื่นๆ เช่น กลุ่มธุรกิจนวด หรือ กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Ergonomy นั่นเอง

3. หา Keyword ข้างเคียง มาเติมในเนื้อหาเพื่อความหลากหลาย ไม่จำเจ

การที่คอนเทนต์ของเรามีคีย์เวิร์ดอื่นนอกเหนือจากคีย์เวิร์ดหลักของเรา หรือที่เรียกว่า Additional Keyword แล้ว ทำให้เนื้อหาของเรามีความโดดเด่นและมิติที่กลมมากขึ้น ทั้งยังสามารถตอบรับกับ User Intent ในคำข้างเคียงกันได้อีกด้วย

โดยเราสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงนำ Keyword หลักของเราไป Expand ที่ Keyword Research Tools ของทาง Google เช่น Minimice จะใช้ Google Keyword Planner หรือ จะใช้ Third Party Tools อย่าง Ahrefs หรือ MOZ ก็ได้

ภาพตัวอย่างการใช้ AlsoAsked.com

แต่ถ้าไม่อยากใช้เครื่องมือที่ต้องลงทะเบียน ก็สามารถลองหยิบชุด ‘คำถามที่พบบ่อย’ อื่นๆ ที่เวลาเราพิมพ์ค้นหาอะไรไปสักอย่างจะขึ้นแนะนำให้ หรือเข้าไปดูเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ Also Ask ได้นะ แต่สุดท้ายแล้ว ห้ามลืมเด็ดขนาดว่าเนื้อหาที่เราจะทำ ‘ต้องเขียนดี เนื้อหาครบถ้วน และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานจริงๆ’

สรุป

การที่เราปรับปรุงคอนเทนต์ของเราให้ตรงกับ User Search Intent ได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่เนื้อหาของเราจะไปเตะตาของกลุ่มเป้าหมายยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น การศึกษา Search Intent จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้คุณได้พบกับเป้าหมายที่ตรงกลุ่ม อีกทั้งการทำคอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์แบรนด์ของเรา สร้างประสบการณ์ดีๆ ให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย

สำหรับใครที่เริ่มต้นทำ SEO ด้วยตัวเองก็อย่าลืมนำไปใช้แล้วกลับมาฟีดแบคเราด้วยนะว่าได้ผลขนาดไหน! แต่หากใครที่มีธุรกิจแล้วอยากให้ผู้เชี่ยวชาญคอยซัพพอร์ต ทาง Minimice เราก็พร้อมและยินดี ติดต่อเราได้เลย!

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Search Intent คืออะไร?

Search Intent คือ จุดประสงค์ในการค้นหาบน Search Engine ของผู้ใช้งาน เป็นสิ่งที่บอกเราได้ว่าจริงๆ แล้วผู้ใช้งานกำลังต้องการอะไรหรือมีปัญหาอะไรอยู่

Search Intent สำคัญอย่างไร

การที่เรารู้ Search Intent ของผู้ใช้งานช่วยให้เราวางแผนออกแบบคอนเทนต์ของเราให้ตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสดึงกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องมายังเว็บไซต์ของเราได้อีกด้วย

ประเภทของ Search Intent

มีด้วยกัน 4 ประเภทคือ Informational, Navigational, Transactional และ Commercial สามารถอ่านตัวอย่าง keyword ของแต่ละประเภทเพื่อเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นได้ที่บทความของ Minimice เลย

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง