Table of Contents

  • CMS คืออะไร?
  • CMS ทำงานยังไง?
  • ประเภทของ CMS
  • ข้อดีของการใช้ CMS ในการสร้างเว็บไซต์
  • CMS ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีจุดเด่นอย่างไร?
  • อยากสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS ต้องทำยังไงบ้าง?
  • FAQ
การจัดการเว็บไซต์ด้วย cms คืออะไร

อยากทำเว็บต้องรู้ CMS (Content Management System) คืออะไร

Table of Contents

การทำเว็บไซต์ ถือว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทุกๆ องค์กร โดยบางองค์กรอาจจะจ้างมืออาชีพมาช่วยสร้างเว็บไซต์ให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม และมีหน้าตาที่ดูดี แต่ว่าบางองค์กรที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการจะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาด้วยตัวเอง บอกเลยว่าการสร้างเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องอยากอย่างที่คิด และถ้าหากเรามีซอฟต์แวร์ดีๆ ก็จะทำให้การทำเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว 

 ซอฟต์แวร์ที่กล่าวมานั้น คือ  CMS หรือที่ย่อมาจาก Content Management System เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้เพื่อบริหาร และสร้างเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมมาก่อนก็สามารถสร้างเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาได้ ดังนั้น ในบทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้แบบเจาะลึกว่า CMS คืออะไร และมีการทำงานอย่างไร รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของระบบนี้แบบละเอียด

CMS คืออะไร?

CMS หรือ Content Management System คือ ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาช่วยบริหาร และจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย โดยเริ่มตั้งแต่การแก้ไข การจัดรูปแบบ การออกแบบ และการลบข้อมูลบนเว็บไซต์ จึงให้ช่วยเกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน อีกทั้งช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development)  และการจัดการ (Management) ทั้งระยะเวลา ทรัพยากรมนุษย์ รวมไปถึงประหยัดต้นทุนในการสร้าง และดูแลเว็บไซต์อีกด้วย

 โดยส่วนใหญ่มักจะนำเอาภาษาสคริปต์ (Script Lanquages) มาใช้เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานในรูปแบบอัตโนมัติ อาทิ PHP, Perl, ASP หรือ Python โดย CMS มีองค์ประกอบการจัดการเว็บไซต์อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ดังนี้

  • เครื่องมือการจัดการเนื้อหา (Content Management Application: CMA) 
  • เครื่องมือจัดการข้อมูลของเนื้อหา (Meta content Management Application: MMA) 
  • เครื่องมือการนำเสนอเนื้อหา (Content Delivery Application: CDA) 

 โดยลักษณะเด่นของ CMS คือ การทำงานในส่วนของ Administration panel หรือเมนูการควบคุมระบบ ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของฟังก์ชันการนำเสนอบทความ, Web Directory, การนำเสนอข่าวสารต่างๆ, รายงานสภาพอากาศ, ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจประเภทต่างๆ และอื่นๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเว็บไซต์ เพื่อช่วยในการจัดการส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์เป็นไปได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ซึ่งมีการนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในหลายๆ อุตสาหกรรม ดังนี้

  • หน่วยงานของรัฐ เช่น งานข่าวสารข้อมูล การนำเสนองานขององค์กร และงานประชาสัมพันธ์
  • หน่วยงานเอกชน หรือธุรกิจองค์การต่างๆ เช่น ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร การท่องเที่ยว ธุรกิจ SME ฯลฯ 
  • สถาบันการศึกษา 
  • เว็บไซต์ Intranet Web Site สำหรับใช้ในองค์กร 
  • โปรแกรมลิขสิทธิ์ 
  • การสร้างเว็บไซต์เพื่อนำมาใช้ส่วนตัว 
CMS ทำงานยังไง

CMS ทำงานยังไง?

ในส่วนของการทำงานของ CMS  จะมีแถบเมนูสำหรับควบคุมการบริหารจัดการการทำงานส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ โดยเน้นการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ จึงทำให้ผู้ดูแล หรือแอดมินสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา ทั้งเพิ่มเติมเนื้อหา ดัดแปลง หรือแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ขึ้น 

 ซึ่งในส่วนของ CMS website คือ ระบบที่ได้แยกการทำงานในส่วนของเนื้อหา (Content) และการออกแบบ (Design) ออกจากกัน สำหรับในส่วนของเนื้อหา (Content) ข้อมูลได้ถูกจัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลหรือไฟล์ และในส่วนของการการออกแบบ (Design) ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ใน Templates หรือ Themes  เมื่อทั้งสองส่วนทำงานร่วมกันจะประกอบไปด้วย Sidebar, Main menu, Title bar เป็นต้น 

โดยการทำงานของ CMS จะมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้ 

  1. Templates หรือ Theme คือ รูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์ ทั้งสีสัน ที่จะสอดคล้องไปกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ 
  2. ภาษาสคริปต์ (Script Lanquages) เป็นภาษาที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดภายในเว็บไซต์ 
  3. ฐานข้อมูล (Database) เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของเว็บไซต์ 

 อีกทั้งยังมีองค์ประกอบในการทำงานของ Content Management System หรือ CMS อยู่ 3 องค์ประกอบหลัก ที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันถึงจะทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนี้

  • เครื่องมือการจัดการเนื้อหา (Content Management Application: CMA) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บเพจทุกชนิด โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างเนื้อหา การเก็บรักษา การแก้ไข การลบข้อมูล จนไปถึงการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งทำงานตามลำดับงาน (Workflow) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องภาษาสคริปต์ (Script Lanquages) สามารถสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถมีผู้ดูแลเว็บไซต์พร้อมกันหลายคนได้ 
  • เครื่องมือจัดการข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent Management Application: MMA) หรือการทำงานในส่วนของข้อมูลของเนื้อหา (Metacontent) ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายว่า “Content” ถูกสร้างโดยใคร เมื่อไหร่ และถูกจัดเก็บไว้ที่ใด เป็นต้น 

เครื่องมือการนำเสนอเนื้อหา (Content Delivery Application: CDA) คือ การทำงานในส่วนของการดึงเนื้อมาที่ถูกจัดเก็บเอาไว้ออกมา และจัดเรียงลงไปใหม่ในหน้าเว็บเพจ การทำ CDA มักจะยุ่งยากในตอนที่ติดตั้ง และตอนกำหนดรูปแบบการแสดงผลเท่านั้น หลังจากนั้นจะปล่อยให้ CDA ทำงานตามกระบวนการ แต่เนื้อหาภายในผู้ดูแลสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างยืดหยุ่น โดยไม่กระทบเนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์

ประเภทของ cms

ประเภทของ CMS

หลังจากที่ทุกคนรู้แล้วว่า CMS คืออะไร และมีการทำงานอย่างไร ต่อไปนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักประเภทของ CMS ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ดังนี้

Coupled CMS

สำหรับ coupled CMS จะคล้ายๆ แบบ CMS แบบดั้งเดิม เพราะการทำงานในส่วนของหลังบ้านจะสามารถเชื่อมต่อและแก้ไขข้อมูล และเผยแพร่เนื้อหาไปยังหน้าบ้านของเว็บไซต์ โดยจะต้องทำงานร่วมกันกับ Web Hosting ถึงจะทำให้ Coupled CMS ทำงานต่อไปได้ รวมถึงจำเป็นต้องอัปเดตซอฟต์แวร์อยู่เสมอ ซึ่งตัวอย่างของ Coupled CMS ก็คือการทำ WordPress นั่นเอง

SaaS CMS

สำหรับ SaaS CMS เป็นโซลูชันแบบ end-to-end ซึ่ง Hosting จะอยู่บนคลาวด์ จึงไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งเว็บโฮสติ้ง จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเว็บไซต์ จัดการเนื้อหา และเผยแพร่เนื้อหาผ่านทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว

Decoupled CMS

สำหรับ Decoupled CMS เป็นประเภทของการทำเว็บไซต์ที่ส่วนของหน้าเผยแพร่เว็บไซต์แยกออกจากการทำงานในส่วนของหลังบ้าน โดยการส่งข้อมูลถึงกันระหว่างส่วนหน้า และส่วนหลังบ้านต้องทำผ่าน Application Programming Interface (API) ข้อดีของการเว็บไซต์ประเภทนี้ คือ การทำงานที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เพราะเราสามารถแบ่งเนื้อหาหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาในส่วนหน้าบ้านโดยที่ยังสามารถรักษาโครงสร้างเดิมของส่วนหลังบ้านเอาไว้ได้

Headless CMS

สำหรับ Headless CMS เป็นการทำงานเฉพาะส่วนของ back-end system ที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล และส่วนของการจัดเก็บเนื้อหา จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่า Decoupled CMS แต่ก็ต้องทำงานมากขึ้น เพราะจำเป็นต้องใช้นักออกแบบเพื่อดีไซน์ส่วนหน้าของเว็บไซต์

ข้อดีของ CMS

ข้อดีของการใช้ CMS ในการสร้างเว็บไซต์

บอกได้เลยว่าข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมระบบ CMS มีมากมายหลายประการเลยทีเดียว โดยสามารถสรุปมาเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้

  • คนทั่วไปสามารถใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน Coding ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้ รวมถึงลดความยุ่งยากในการเขียนโค้ด จึงสามารถเน้นการพัฒนาเนื้อหาได้อย่างเต็มที่
  • ใช้งานได้สะดวก เนื่องจากหน้าตาของ CMS ที่ถูกแบบมาเอื้อต่อผู้ใช้งาน จึงทำให้ผู้ใช้ได้ง่ายไม่ต่างจากซอฟต์แวร์ตัวอื่น อีกทั้งยังมี template และ theme ให้เลือกมากมาย 
  • ง่ายต่อการจัดการเว็บไซต์ ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างสรรค์เนื้อหาที่ง่ายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถลบ แก้ไข หรือการย้ายเนื้อหาที่ยังไม่ถูกเผยแพร่ก็สามารถทำได้ง่าย และสามารถตั้งแต่เวลาในการเผยแพร่เนื้อหาอีกด้วย 
  • มีส่วนเสริมที่ช่วยในการทำงานได้อย่างหลากหลาย โดยส่วนเสริมบางตัวสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • จัดการสร้างและดูแลเว็บไซต์ได้ง่ายๆ โดยสร้าง หรือดูแลผ่านเว็บเบราเซอร์ ทำให้ผู้ดูแลสามารถทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลเนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลาได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว 
  • อนุญาตให้เข้าใช้งานได้หลายคน ทำให้สามารถจัดการเนื้อหาได้พร้อมกัน รวมถึงร่วมกันทำงานในส่วนต่างๆ ได้อย่างมีระบบทำให้การทำเว็บไซต์ รวมถึงการจัดการเนื้อหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
CMS ยอดนิยมสำหรับคนทำเว็บไซต์

CMS ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีจุดเด่นอย่างไร?

ในปัจจุบัน CMS มีทั้งแบบฟรีและแบบมีค่าใช้จ่าย แต่ CMS website ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้

CMS ทั่วไป

สำหรับ CMS website แบบทั่วไปที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้

WordPress (PHP)

WordPress เป็น CMS platforms ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน และเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่คิดจะทำเว็บไซต์ขึ้นมา โดย 43% ของเว็บไซต์ทั่วโลกเป็น WordPress เนื่องจากสามารถสร้างได้ง่าย ควบคุมการทำงานของเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ ไม่ต้องเขียนโปรแกรม มีการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังสามารถสร้างเว็บไซต์ได้โดยตรงเพียงแค่ติดตั้งโฮสติ้งเพียงครั้งเดียว รวมถึงสามารถติดตั้ง Plug-in และ Theme ได้อย่างอิสระ โดย WordPress นั้นสร้างมาจากภาษา PHP หากต้องการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมจำเป็นต้องใช้ภาษาดังกล่าว หรือสามารถติดตั้ง Plugins ชื่อ PHP Code snippets เพื่อเขียนโค้ดลงไป

Drupal (PHP)

สำหรับ Drupal เป็นอีก CMS platforms ที่สร้างขึ้นด้วยภาษา PHP อีกเช่นกัน โดย CMS platforms ก็มีผู้ใช้งานมากมายนับล้านคน รวมไปถึง Government of Australia, Harvard, The Economist, BBC, Cisco, Twitter เป็นต้น โดย Drupal เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรี เพราะอยู่ภายใต้ภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะ โดยมีข้อดีคือสามารถเพิ่มหรือจัดการเนื้อหาได้เองแบบที่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างสูงและมีตัวเลือกให้เลือกใช้ได้อย่างมากมาย เข้าถึงง่าย อีกทั้งยังสามารถสร้าง Content เนื้อหาที่มีความซับซ้อน ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ในระดับง่ายไปจนถึงเว็บไซต์ระดับ Enterprise โดยรองรับทั้ง PC, Mobile และ Tablet

Joomla (PHP)

Joomla เป็น CMS website ที่เป็นแบบ Open Source ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี สามารถพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ PHP และฐานข้อมูล MySQL ข้อดีของการใช้ Joomla คือ สามารถจัดการข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว สามารถติดตั้งง่าย ควบคุมหน้าตาของเว็บด้วย Templates รองรับการทำงานหลายๆ คนพร้อมกัน รวมถึงมีผู้พัฒนาภาษาไทยอย่างเป็นทางการ และยังสามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมได้

Wix (PHP)

Wix เป็น  CMS website  ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากระบบคลาวด์ สามารถกำหนด และสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้อย่างง่ายดาย เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อมือใหม่โดยเฉพาะ เพราะสามารถใช้งานได้ทันที และมีหน้าตาไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังสามารถเลือก Templates ได้มากกว่า 500 แบบ รวมถึงสามารถโหลดเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว มีโปรแกรมสามารถแก้ไขเนื้อหาบนมือถือ จึงจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย แถมยังสะดวกทุกที่ทุกเวลา

CMS สาย e-commerce

นอกจาก CMS website แบบทั่วไป ยังมี CMS สาย e-commerce ที่ช่วยสนับสนุนการขายได้มากขึ้น สำหรับการขายสินค้าในรูปแบบออนไลน์โดยเฉพาะ โดยมี CMS สาย e-commerce ที่ได้รับความนิยม ดังนี้

Magento (PHP)

Magento เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ตัวแรกที่เราอยากแนะนำ เพราะมีฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้สามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่การจัดหมวดหมู่สินค้า การอัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง ระบบชำระเงิน การจัดส่ง การเปรียบเทียบสินค้า, Whistlist, การรีวิวสินค้า, Multiple Shipping และโปรโมชันมาให้ผู้ใช้บริการเรียบร้อยแล้ว ข้อดีของ Magento คือ สามารถดีไซน์หน้าร้านได้อย่างอิสระ แต่ว่ามีข้อจำกัด คือ ต้องมีการเขียนโค้ดขึ้นมาเพิ่มเติม ดังนั้น ถ้าอยากให้หน้าร้านโดดเด่นสวยงาม Magento ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว

WooCommerce (PHP)

WooCommerce ไม่ใช่ CMS website แต่เป็น Plug-In สำหรับขายสินค้าที่ใช่ใน WordPress จึงใช้ภาษา PHP เหมือนกับ WordPress โดย WooCommerce ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยจุดเด่น คือ ค่อนข้างสะดวกในการใช้งาน ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ทันที ซึ่งมีฟังชันก์ที่จำเป็นเกี่ยวกับการขายสินค้าอยู่มากมาย อาทิ ระบบตะกร้าสั่งซื้อสินค้า ระบบการคำนวณภาษี ระบบการคำนวณส่วนลด ระบบคำนวณอัตราค่าขนส่ง รองรับการชำระเงินรูปแบบต่างๆ และอื่นๆ อีกมายมายที่เอื้อให้ผู้ใช้งานใช้งานได้ง่ายที่สุด

Shopify (PHP)

Shopify เป็นอีก CMS website  แบบ E-Commerce online platform ที่นิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าอยู่ในวงการนี้มากว่า 10 ปี อีกทั้งยังเป็น web framework แรกๆ ที่รองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีข้อดี คือ สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเว็บโฮสติ้ง รวมถึงรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิต และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

BigCommerce (PHP)

BigCommerce เป็นอีก CMS platforms ชั้นนำที่เหมาะกับนำใช้งานเกี่ยวกับการขายเป็นอย่างมาก และค่อนข้างครบวงจร อีกทั้งยังเหมาะสำหรับมือใหม่เป็นอย่างมาก โดยจุดเด่น คือ มีความปลอดภัยในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และมีการสำรองข้อมูลของคุณเอาไว้โดยเฉพาะ

OpenCart (PHP)

OpenCart เป็น CMS website แบบ Open Source ที่พัฒนาเว็บไซต์ขึ้นโดยใช้ PHP เป็นอีกหนึ่งโซลูชันที่ดีสำหรับร้านค้าออนไลน์ เพราะสามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่มีค่าใช้ง่าย สามารถติดตั้งบน Apache และ Nginx รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ อีกทั้งยังมีฟังก์ชันด้านการขายของออนไลน์อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินหลายวิธี ส่วนลด และคูปอง การติดตาม และวิธีการจัดส่ง แถมยังรองรับทั้งอุปกรณ์ทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมถึงสมาร์ททีวีก็สามารถเข้าถึงได้เช่นกัน

อยากสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS ต้องทำยังไงบ้าง?

หลังจากที่ทุกคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็คงมีความคิดที่จะสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS เป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร โดยขั้นตอนง่ายๆ ในการสร้างเว็บไซต์ด้วย CMS มีดังนี้

  1. จดโดเมน และเช่าโฮสต์ 
  2. ติดตั้งระบบ CMS ลงบนเซิร์ฟเวอร์ 
  3. ตั้งค่าระบบ และกำหนดเนื้อหาการทำงานของเว็บไซต์ 
  4. ปรับแต่งหน้าเว็บตามที่ชอบ
  5. เขียนเนื้อหาลงบนเว็บไซต์ 
  6. เผยแพร่เว็บไซต์ 

เพียงแค่ทำตาม 6 ขั้นตอนง่ายๆ ทุกคนก็พร้อมที่จะสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้แล้ว

CMS หรือโปรแกรม Content Management System ช่วยให้การสร้างเว็บไซต์ที่สะดวกรวดเร็วเป็นอย่างมาก  โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการเขียนโค้ดก็สามารถจัดการดูแลเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง จนลืมปัญหาจากการ Coding ไปได้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น CMS ยังมีหลากหลายแบบที่มีจุดเด่นแตกต่างกันให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของธุรกิจของเราอีกด้วยทั้ง CMS แบบทั่วไปจนไปถึง CMS เพื่อการขาย ถ้าหากคุณอยากเริ่มสร้างเว็บของตัวเอง การเลือกใช้ CMS เป็นตัวช่วยก็ถือว่าตอบโจทย์มากๆ และยังช่วยให้การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องที่ง่ายดายมากยิ่งขึ้น

ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ cms

FAQ - คำถามที่พบบ่อย

CMS คืออะไร

CMS หรือ Content Management System คือ ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป ที่ช่วยในการลดทรัพยากรทั้งในด้านเวลา และทุน ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการสร้างเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น

ข้อดีของการใช้ CMS ในการสร้างเว็บไซต์

การใช้ CMS ลดปัญหาความยุ่งยากในการเขียนโค้ด จึงทำให้สามารถมุ่งเน้นในการพัฒนาเนื้อหาได้อย่างเต็มที่ การแก้ไขหน้าตาของเว็บไซต์สามารถทำได้ง่าย สามารถจัดการสร้าง และดูแลเว็บไซต์ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บเบราเซอร์

CMS ที่นิยมใช้มีอะไรบ้าง

CMS มีให้เลือกใช้ด้วยกันหลายเจ้า ต่างมีรูปแบบเฉพาะตัวที่รองรับทั้งธุรกิจทั่วไป และธุรกิจที่เป็น e-commerce โดย CMS ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เช่น WordPress Drupal WooCommerce OpenCart หรือ BigCommerce เป็นต้น ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจ

Harit Posanakul

อยากทำเว็บต้องรู้ CMS (Content Management System) คืออะไร
เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณบนเว็บไซต์ของเรา การเรียกดูเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา

เราหวังว่า SEO ทุกคน ได้ความรู้ในบทความนี้นะครับ

ต้องการให้ Minimice Group ช่วย คุณได้ Organic Traffic มหาศาล

minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services

minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services

minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services