การทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน มีการนำสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาใช้เป็นแพลตฟอร์มในการโฆษณาสินค้าต่างๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น สะดวกต่อการขายสินค้า หากใช้แพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Facebook จะมีสิ่งที่เรียกว่า Collaborative Ads หรือ CPAS คือฟีเจอร์ที่ทำแคมเปญโฆษณากับเว็บไซต์ E-Commerce เพื่อเพิ่มอัตรา Conversion เพิ่มยอดขาย และสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับ CPAS ว่าคืออะไร มีความสำคัญ หลักการทำงาน และมีประโยชน์อย่างไรต่อการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบัน
ทำความรู้จัก CPAS คืออะไร
CPAS ย่อมาจาก Collaborative Performance Advertising Solution หรือที่ Facebook ใช้ชื่อว่า Collaborative Ads โดย CPAS คือการโฆษณารูปแบบของ Dynamic Ads ซึ่งตัวโฆษณาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าได้ตลอดเวลา ซึ่งธุรกิจที่สามารถทำโฆษณาแบบนี้ได้ จะต้องผ่านการพิจารณาจาก Facebook ก่อนว่าสินค้ามีความน่าเชื่อถือมากเพียงใด อีกทั้งจะต้องมีการขายอยู่ในช่องทางอีคอมเมิร์ซด้วย
โดย CPAS มีระบบที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าว่ามักจะเลือกชมหรือค้นหาสินค้าและบริการใดบนเว็บไซต์บ้าง จากนั้น CPAS จะแสดงผลโฆษณาแบบอัตโนมัติ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Facebook ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่ทำการลงสินค้าอยู่บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopee, Lazada, Top Market สามารถสร้างแคมเปญโฆษณาให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าของตัวเอง จากนั้นทำการจ่ายค่าโฆษณาสินค้าเพื่อให้ลูกค้าได้เข้าชมเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ของอีคอมเมิร์ซเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การซื้อขายสินค้าในที่สุด
เรียกได้ว่า CPAS หรือ CPAS Ads เป็นโฆษณาที่มีระบบการทำงานโดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างเจ้าของธุรกิจกับเว็บไซต์แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการให้สินค้าเป็นที่รู้จักและถูกมองเห็น จากนั้นจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น ได้ผลประโยชน์กันทั้ง 2 ฝ่าย
หลักการทำงานของ Collaborative Ads
โดยหลักการทำงานของ Collaborative Ads หรือ CPAS คือ การที่ฝั่งผู้ค้าปลีกในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทาง Facebook อย่างเช่น Shopee, Lazada, JD Central, Power Buy ได้สร้างแค็ตตาล็อกต่างๆ ในการจัดหมวดหมู่สินค้าแยกออกแต่ละแบรนด์ไว้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นเจ้าของธุรกิจจะใช้แค็ตตาล็อกจากฝั่งมาร์เก็ตเพลสดังกล่าวไปตั้งกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจและมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ จากนั้นจึงจะทำการยิงโฆษณาได้ในทันที โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องห่วงเรื่องการจัดการแค็ตตาล็อกเพราะทางแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้จัดการให้แบบพร้อมใช้งานเรียบร้อย
ซึ่งการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS คือ การที่เจ้าของธุรกิจสามารถเซตกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เอง โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการยิงโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้านั้นๆ หรือ Re-Targeting ไปยังกลุ่มคนที่เคยเข้ามาดูสินค้าและมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้า ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะใช้แค็ตตาล็อกที่ฝั่งมาร์เก็ตเพลสส่งมาให้ทำการโฆษณาแบบไดนามิก หากเจ้าของธุรกิจเซตกลุ่มเป้าหมายและทำการยิงโฆษณาเรียบร้อยแล้ว ตัวโฆษณาแบบ Collaborative Ads จะปรากฎไปหากลุ่มเป้าหมายที่คุณเซตไว้ทันที เมื่อมีผู้ใช้งานกดเข้าไปในโฆษณา Facebook ระบบจะส่งลิงก์ไปยังมาร์เก็ตเพลสที่ตั้งค่าไว้ โดยไม่ต้องออกจากหน้า Facebook อย่างเช่น Shopee, Lazada
Collaborative Ads เหมาะกับธุรกิจแบบไหนบ้าง
การทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือจากช่องทางอีคอมเมิร์ซต่างๆ ที่ได้ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับทาง Facebook เพื่อตรวจสอบสินค้าที่ทำการลงขายว่าผิดนโยบายของทาง Facebook หรือไม่ เป็นสินค้าประเภทไหน มีความน่าเชื่อถือ และแบรนด์เป็นที่รู้จักหรือไม่ รวมถึงต้องมีการดำเนินการขอแค็ตตาล็อกของสินค้ามาเพื่อใช้ในการทำแคมเปญโฆษณาสินค้าอีกด้วย
โดยในขั้นตอนดังกล่าวมีความซับซ้อนและยุ่งยากเพราะต้องทำงานกับมาร์เก็ตเพลสโดยตรง ดังนั้นธุรกิจหรือแบรนด์ที่ต้องการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS มักเป็นธุรกิจที่ไม่มีช่องทางอีคอมเมิร์ซของตัวเอง แต่ว่าตัวสินค้านั้นมีขายอยู่ในช่องทางมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee, Lazada อยู่ก่อนแล้ว มีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มยอดขาย สร้างรายได้และทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมักจะมีทีม Marketing In House ที่มีประสบการณ์ในด้านนี้คอยดูแลให้ หรืออาจจะมีการจ้าง Digital Agency ที่มีความเชี่ยวชาญให้เป็นผู้ดูแลดำเนินการเรื่องราวต่างๆ
ธุรกิจที่เหมาะกับการโฆษณาแบบ Collaborative Ads จะต้องเป็นธุรกิจหรือแบรนด์ใหญ่เป็นที่รู้จักพอสมควรและมีร้านค้าอยู่ในมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee, Lazada ก่อน อีกทั้งยังต้องมีกำลังในการจ้าง Digital Agency หรือทีม Marketing In House
เหตุผลที่ทำไมธุรกิจยุคนี้ต้องทำโฆษณาแบบ CPAS
กลยุทธ์การทำโฆษณารูปแบบใหม่อย่าง CPAS หรือ Collaborative Ads จาก Facebook เป็นตัวช่วยสร้างยอดขายให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปัจจุบันได้มากเลยทีเดียว ในส่วนของวิธีการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าก็ไม่มีอะไรซับซ้อน ด้วยการเก็บข้อมูลเชิงลึกของ Collaborative Ads จาก Facebook ที่ติดตามความต้องการของลูกค้าในการค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการในหน้าเว็บไซต์ จึงทำให้โฆษณาสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ตรงเป้าหมายมากขึ้น ทำให้เกิดการซื้อขายได้ง่ายมากขึ้น และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจยุคนี้ควรหันมาใส่ใจในการทำ CPAS ดังนี้
ช่วยเพิ่มมูลค่า หรือยอดขายให้กับธุรกิจ
การทำโฆษณาแบบ CPAS หรือ Collaborative Ads จะช่วยเพิ่มมูลค่า หรือยอดขายให้กับธุรกิจได้มากขึ้น เพราะโฆษณาแบบนี้สามารถตั้งค่าให้ไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจสินค้าหรือมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าได้
จึงทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและแบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการขายและสามารถปิดการขายได้เร็วขึ้น เพราะการที่ลูกค้ากดเข้าชมสินค้าบนโฆษณา CPAS หรือ Collaborative Ads บน Facebook ระบบจะทำการเชื่อมโยงลูกค้าไปยังหน้าร้านบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee หรือ Lazada ได้ในทันทีโดยไม่ต้องออกจาก Facebook
ทำให้การ Retargeting มีประสิทธิภาพ
ข้อดีของการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS คือการเปิดโอกาสให้กับเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ยิงโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายที่ใกล้จะได้เป็นลูกค้าของธุรกิจนั้นได้มากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น คนที่เคยกดเข้ามาดูสินค้า คนที่กดสินค้าใส่ลงในตะกร้าแต่ยังไม่ได้ชำระเงิน ซึ่งถือเป็นการช่วย Retargeting ในกลุ่มเป้าหมายที่ใกล้จะกลายเป็นลูกค้าจริงๆ
โดยเจ้าของธุรกิจสามารถใช้ Collaborative Ads ทำแคมเปญโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายตามช่วงเวลาได้ เช่น การยิงโฆษณาไปยังกลุ่มคนที่เคยกดเพิ่มสินค้าลงตะกร้าเมื่อช่วง 3 เดือนก่อนได้ ซึ่งวิธีการนี้มีโอกาสในการปิดการขายได้สูง
สร้าง Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียออนไลน์อันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้น Facebook เพราะฉะนั้นการทำโฆษณาในรูปแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วตรงกลุ่ม สามารถสร้างยอดขายได้และที่สำคัญยังมีส่วนช่วยในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะการที่มีผู้คนเห็นโฆษณาของสินค้าและบริการ ณ ขณะนี้ถือเป็นการสร้างโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านั้นกลายมาเป็นลูกค้าได้อนาคต
นำเอาค่า ROAS มาวัดผล เพื่อประโยชน์ทางการตลาดได้
การนำค่า ROAS หรือ Return On Ads Spend มาวัดผล คือ การนำเอาอัตราที่สามารถชี้วัดได้ว่า ธุรกิจนี้ได้ยอดขายจากการโฆษณามากน้อยเท่าไรในแต่ละวัน โดยการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads นั้นสามารถวัดผลเชิงลึกอย่าง Conversion ว่ามียอดขายเท่าไร คนกดสินค้าลงในตะกร้าแล้วกี่คน ทำให้สามารถรู้ได้ว่าการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads คุ้มค่าหรือไม่ และค่า ROAS สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางปรับปรุงการทำการตลาดในแคมเปญต่อไปได้
วิธีสร้างโฆษณาแบบ CPAS ใน Facebook แบบเบื้องต้น
มาถึงตรงนี้หากมีใครที่อยากลองเริ่มสร้างโฆษณาในรูปแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS สามารถทำได้เบื้องต้น โดยวิธีการสร้าง CPAS ใน Facebook มีวิธีการดังนี้
ตั้งค่าเริ่มต้นใน Facebook Business Manager
เปิดบัญชี Facebook Business Manager ทำการตั้งค่าด้วยการใส่ข้อมูลบริษัทให้ครบถ้วน เช่น ที่อยู่ ลิงก์เว็บไซต์ อีเมล ชื่อบัญชี เป็นต้น และที่สำคัญสำหรับการทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS ต้องสร้างบัญชีโฆษณาแคมเปญใหม่โดยเฉพาะ
ขอแค็ตตาล็อกสินค้าจากพาร์ทเนอร์
กดปุ่มกำหนดพาร์ทเนอร์จากนั้นใส่ ID ของพาร์ทเนอร์และส่งอีเมลยืนยันว่าขอเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับการทำ Collaborative Ads กับมาร์เก็ตเพลสนั้นๆ และต้องการขอแค็ตตาล็อกสินค้าในการทำโฆษณา CPAS ใน Facebook จากนั้นรอประมาณ 3-7 วัน จะได้รับแค็ตตาล็อกสินค้าที่แชร์มาทาง Business Accounts
เริ่มต้นการสร้างโฆษณาแบบ CPAS
เมื่อได้แค็ตตาล็อกจากพาร์ทเนอร์แล้ว เข้าไปการจัดการแค็ตตาล็อกเพื่อแบ่งหมวดหมู่สินค้าแต่ละประเภท จากนั้นเริ่มยิงโฆษณาบน Facebook ซึ่งโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS ต้องตั้งวัตถุประสงค์แบบ Sale จากนั้นใส่สินค้าที่จะทำโฆษณา ใส่กลุ่มเป้าหมายและใส่งบประมาณ รวมไปถึงหน้าตาและแคปชันโฆษณาการตั้งค่าโฆษณาทั้งหมด จากนั้นทำการยิงโฆษณาได้เลย
กำหนดการตั้งค่าเพื่อดูผลลัพธ์การทำโฆษณา
ท้ายสุดหลังจากทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads หรือ CPAS ได้เผยแพร่ไปแล้ว ให้กำหนดตั้งค่าเพื่อดูผลลัพธ์หลังจากการทำโฆษณา ว่าได้รับการตอบกลับอย่างไรบ้าง โดยสามารถดูค่า ROAS เพื่อใช้วัดผลได้ ซึ่งการตั้งค่าให้ Facebook Business Accounts แสดงผลลัพธ์การทำโฆษณา โดยเข้าไปที่การตั้งค่าในคอลัมน์การแสดงข้อมูลต่างๆ จากนั้นเปลี่ยนคอลัมน์เป็นกำหนดเอง และเข้าไปเลือกหน่วยวัดผลที่ต้องการทราบ
สรุป
CPAS ย่อมาจาก Collaborative Ads คือการทำโฆษณาแบบไดนามิกบน Facebook โดยสร้างแคมเปญโฆษณาสินค้าที่อยู่บนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้าตลอด โดยมีความสำคัญกับการทำธุรกิจในปัจจุบันในโลกออนไลน์ที่เชื่อมถึงกันได้หมด การทำโฆษณาแบบ Collaborative Ads เป็นการร่วมมือระหว่างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซกับแบรนด์ธุรกิจ โดยมีจุดประสงค์ตรงกันคือเพิ่มยอดขายให้กับสินค้ามากขึ้น และด้วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต การนำ CPAS เข้ามาด้วยระบบการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าอีกทั้งยังสามารถนำค่า ROAS เข้ามาช่วยวางแผนการตลาดได้เป็นอย่างดี
FAQ – คำถามที่พบบ่อย
Minimice Group ได้รวมคำถามที่คนสงสัยหรือถามเข้ามาบ่อยเกี่ยวกับ Collaborative Ads พร้อมคำตอบดังนี้
การทำ Collaborative Ads แตกต่างจาก Facebook Ads ทั่วไปอย่างไร?
การทำ Collaborative Ads แตกต่างจาก Facebook Ads ทั่วไปตรงที่แบบทั่วไปเจ้าของธุรกิจสามารถเริ่มแคมเปญและยิงโฆษณาเองได้ แต่การทำ CPAS สามารถนำทางลูกค้าไปยังหน้าคำสั่งซื้อของสินค้านั้นได้ทันทีโดยไม่ต้องออกจาก Facrbook
CPAS Shopee คืออะไร ต่างจาก CPAS Lazada หรือ CPAS Facebook อย่างไร?
CPAS คือ collaborative performance advertising solution เป็นรูปแบบการโฆษณาผ่านทางแพลตฟอร์ม Facebook โดยลักษณะจะเป็นรูปแบบโฆษณาที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้ชมตลอด เพราะฉะนั้นทั้ง 3 ตัวนั้นแตกต่างกันที่แพลตฟอร์มของการทำโฆษณา โดย CPAS Shopee คือ การที่คลิกดูโฆษณาใน Facebook แล้วผู้ชมเข้ามาที่หน้าคำสั่งซื้อสินค้าในมาร์เก็ตเพลสนี้ ไม่ต่างจาก CPAS Lazada และ CPAS Facebook คือ การทำโฆษณาในแพลตฟอร์มนี้เพื่อลิงก์ไปยังอีคอมเมิร์ซต่างๆ ตามที่เจ้าของธุรกิจได้ผูกไว้
ROAS เท่าไหร่ถึงจะดี
ในการยิงโฆษณาแบบ Collaborative Ads ควรจะมีค่า ROAS อย่างต่ำ 3.33 เท่าถึงจะคุ้มกับทุนที่เสียไป