Table of Contents

Categories

Recent Posts

conversion rate

รู้จัก Conversion Rate Optimization ตัวช่วยความสำเร็จของการทำโฆษณา

Table of Contents

การตลาดออนไลน์ คือ เรื่องที่ธุรกิจควรให้ความสำคัญ หากต้องการสร้างรายได้ เพราะในยุคปัจจุบัน โลกออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน ความต้องการทำสิ่งต่างๆ เช่น การทำธุรกรรม การซื้อ การขาย การค้นหาอะไร ก็สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แต่การตลาดออนไลน์นั้นมีข้อแตกต่าง ที่ไม่เหมือนกับการทำการตลาดทั่วไปที่แม้คุณจะสามารถทำได้อย่างสะดวก จากที่ไหน เวลาใดก็ได้ ไม่เหมือนกับการตลาดทั่วไปที่มีข้อจำกัดบางอย่าง แต่คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการตลาดออนไลน์ที่คุณทุ่มเม็ดเงินลงไป โฆษณาที่คุณโพสต์ บทความที่คุณประชาสัมพันธ์ จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ จึงต้องอาศัยตัวชี้วัดสำคัญอย่าง Conversion Rate มาเป็นตัวช่วยนั่นเอง

แม้ในการตลาดออนไลน์มักจะมีการพูดถึงการทำ SEO หรือ Search Engine Optimize อยู่เป็นประจำ แต่ Conversion Rate คือ สิ่งหนึ่งที่มีประโยชน์ไม่แพ้กัน หากคุณต้องการเสริมสร้างการตลาดออนไลน์ของธุรกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้สามารถโดดเด่นเหนือคู่แข่งและสร้างรายได้ที่มากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจของคุณนั้นเติบโตอย่างมั่นคงในยุคที่เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของทุกคนไปจากเดิม ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ดีอยู่แล้วคงจะรู้ว่า Conversion Rate คืออะไร แต่สำหรับใครที่ยังไม่เข้าใจในความหมายของ Conversion Rate วันนี้บทความของเราจะช่วยให้คุณรู้จัก Conversion Rate ได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถนำวิธีการทำ Conversion Rate Optimization หรือ CRO ไปประยุกต์ใช้กับแผนการตลาดออนไลน์ของคุณได้อย่างเหมาะสม

conversion rate คืออะไร

ทำความรู้จัก Conversion Rate คืออะไร

การเข้าถึงลูกค้าในช่องทางปกตินั้นมักจะมีพนักงานขาย หรือ พนักงานประชาสัมพันธ์คอยให้บริการช่วยเหลือ และแนะนำลูกค้าอยู่ในทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอน เพื่อให้ลูกค้าได้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ ซึ่งการเข้าถึงลูกค้าในช่องทางออนไลน์มีความต่างกัน โดยลูกค้าจะต้องผ่านทุกกระบวนการด้วยตัวเอง ทำให้คุณไม่สามารถคอยอำนวยความสะดวก หรือให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้ หากมีอุปสรรคใดติดขัดขึ้นมา ซึ่งอุปสรรคบางอย่าง อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณพลาดการสร้างรายได้จากลูกค้าดังกล่าว เช่น เว็บไซต์ของคุณมีขั้นตอนยุ่งยากเกินไปในการกรอกข้อมูล ไม่มีช่องทางชำระเงินที่สะดวกกับลูกค้า หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ปรากฏบนเว็บไซต์ไม่น่าสนใจมากพอ ทำให้ลูกค้าล้มเลิกความตั้งใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนั้นจึงทำให้มี Conversion Rate มาเป็นตัวช่วยเพื่อดูว่าขั้นตอนไหน หรือสาเหตุอะไรที่อาจจะทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์หรือโฆษณาของคุณตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ เพื่อที่คุณจะได้นำไปปรับปรุง พัฒนาอย่างเหมาะสมต่อไป

Conversion นั้นโดยปกติจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นอีกสิ่งหนึ่ง แต่สำหรับในเชิง Digital Marketing จะหมายถึง การที่ลูกค้าให้ความร่วมมือในกิจกรรมหรือการกระทำบางอย่างที่คุณกำหนดเอาไว้ เช่น คุณต้องการให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิกเว็บไซต์ คุณต้องการให้ลูกค้ากดรับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หรือแม้กระทั่งคุณต้องการให้ลูกค้ากดจ่ายเงินสั่งซื้อสินค้าในตะกร้า หรือบริการที่ลูกค้าเลือกเอาไว้ให้เสร็จสิ้น เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มักจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณ ดังนั้น

Conversion Rate คือ อัตราส่วนระหว่างยอดกิจกรรมที่คุณกำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งที่ลูกค้าต่างๆ แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของธุรกิจ หรือโฆษณาที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีจำนวนคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณถึง 100 ครั้ง แต่มีคนตัดสินใจกรอกข้อมูลสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์อยู่ 5 คน Conversion Rate ดังกล่าวจะอยู่ที่ 0.05 หรือ 5% แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีคนเข้ามากดรับชมโฆษณาสินค้าหรือบริการ 10 ครั้ง แต่มีคนตัดสินใจกรอกข้อมูลเพื่อขอรายละเอียดถึง 5 คน Conversion Rate นี้จะอยู่ที่ 0.5 หรือ 50% กันเลยทีเดียว Conversion Rate จะช่วยทำให้คุณรู้ว่า ลูกค้าให้ความร่วมมือกับกิจกรรมทางการตลาดที่คุณกำหนดเอาไว้มากแค่ไหน กิจกรรมทางการตลาดที่มี Conversion Rate สูงๆ ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจ เพราะนั่นอาจจะหมายถึงโอกาสที่มากขึ้นสำหรับธุรกิจในการสร้างรายได้หรือยอดขาย ในขณะที่กิจกรรมใดๆ ถ้ามี Conversion Rate ที่ต่ำ นอกจากจะหมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลแล้ว ยังอาจจะเป็นการสิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่าย ทรัพยากร และเวลาไปโดยใช่เหตุด้วยเช่นกัน

เข้าใจ Conversion Rate ให้ครบทุกแง่มุม อ่านเพิ่มได้ที่ Conversion Rate คืออะไร? ทำไมนักการตลาดออนไลน์ไม่ควรพลาด 

conversion rate ถึงจะดี

Conversion Rate เท่าไรจึงจะดี

Conversion Rate เท่าไรจึงจะดี คือสิ่งที่หลายคนจะต้องเกิดความสงสัย โดยปกติแล้ว Conversion Rate ที่เหมาะสม มักจะอยู่ที่ 2% – 5% สามารถใช้เพื่อเป็นหน่วยวัด สำหรับธุรกิจทั่วไป ทั้งนี้ต้องขอบอกก่อนว่า Conversion Rate เองอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม ความเฉพาะกลุ่ม เป้าหมาย และช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ หรือไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิต ดังนั้น Conversion Rate ที่ดีและเหมาะสมสำหรับธุรกิจในแต่ละประเภทอาจจะไม่เท่ากันด้วยเช่นกัน Conversion Rate เท่านี้อาจจะเพียงพอสำหรับธุรกิจบางอย่าง แต่ต่ำเกินไปสำหรับธุรกิจประเภทอื่นๆ ก็ได้ ดังนั้นคุณจึงควรประเมินดูให้ดีว่า Conversion Rate สำหรับกิจกรรมทางการตลาดที่คุณวางแผนและกำหนดเอาไว้เป็นอย่างไร ต่ำกว่าเป้าหมาย หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มหรือไม่ หากว่า Conversion Rate ที่ได้ออกมานั้นไม่ถึงเป้าหมาย ก็อาจจะถึงเวลาที่คุณจะต้องทำการพัฒนาและแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยเพิ่ม Conversion Rate ให้สูงขึ้นตามที่คุณกำหนดเอาไว้ ทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

วิธีการคิด conversion rate

วิธีการคิด Conversion Rate คิดอย่างไร

อย่างที่ได้เกริ่นกันไปแล้วว่า Conversion Rate คือ ตัวชี้วัดที่จะทำให้คุณเห็นได้ว่า กิจกรรมทางการตลาดที่คุณวางแผนเอาไว้นั้น สามารถประสบผลสำเร็จได้มากมายแค่ไหน ซึ่งสามารถกำหนดเป็นสูตรคำนวณได้ง่ายๆ ดังนี้

Conversion Rate = Total number of conversions / Total number of sessions * 100

โดย Total number of conversions คือ จำนวนครั้งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้นได้ทำในสิ่งที่คุณกำหนดเอาไว้จนสำเร็จ ส่วน Total number of sessions คือปริมาณหรือจำนวนครั้งที่มีการเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือโฆษณาที่คุณใช้เป็นพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารให้เกิดกิจกรรมทางการตลาดดังกล่าวนั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการให้ลูกค้าลงทะเบียนเพื่อสมัครสมาชิกของเว็บไซต์ ซึ่งเมื่อสำรวจผลลัพธ์ที่ได้ มีลูกค้า 20 คน ที่ลงทะเบียนสมัครสมาชิกจากจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทั้งหมด 1000 คน จะทำให้คุณสามารถสรุป Conversion Rate ของกิจกรรมนี้อยู่ที่ 2% หรือตัวอย่างที่ 2 หากในจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ทั้งหมด 100 คน มีจำนวนผู้เข้ามาเยี่ยมชมที่ตัดสินใจจ่ายเงินซื้อสินค้าผ่านช่องทางเว็บไซต์ของคุณอยู่ที่ 5 คน ก็จะทำให้ได้ Conversion Rate อยู่ที่ 5% ซึ่งจากสูตรคำนวณ Conversion Rate อาจจะทำให้คุณเผลอสรุปไปเองว่า คุณสามารถลดจำนวนคนที่เข้ามาเยี่ยมชมลง เพื่อให้ได้ Conversion Rate ที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะการลดจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมก็อาจจะทำให้โอกาสที่คุณจะมียอด Engagement จากกิจกรรมทางการตลาดน้อยลงไปด้วย เพราะฉะนั้น หากคุณต้องการเพิ่ม Conversion Rate ให้สูงขึ้น จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับเทคนิคที่เรียกว่า Conversion Rate Optimization (CRO) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนา Conversion Rate ให้สูงขึ้นอย่างเหมาะสม

conversion rate optimization คืออะไร

ไขข้อข้องใจ Conversion Rate Optimization (CRO) คืออะไร

เมื่อรู้จักกับ Conversion Rate แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องทำความรู้จักกับเทคนิคที่จะช่วยเพิ่ม Conversion Rate ให้สูงขึ้นอย่าง CRO หรือชื่อเต็มว่า Conversion Rate Optimization คือ สิ่งที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณนั้นมี Conversion Rate ที่ดีขึ้น เปลี่ยนจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้กลายเป็นผู้ที่จะช่วยให้คุณสามารถทะลุเป้าหมายในสิ่งที่วางแผนเอาไว้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย เนื่องจากงบประมาณทางด้านการตลาดออนไลน์นั้น จำเป็นต้องมีการใช้งานอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และไม่ให้มีความสิ้นเปลือง มิเช่นนั้นต่อให้การตลาดออนไลน์ของคุณจะสามารถสร้างรายได้มากมายแค่ไหน แต่หาก Conversion Rate ที่ได้ออกมานั้นไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป ก็ไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณนั้นทำกำไรได้ด้วยเช่นกัน

เหตุผลที่ต้องทำ conversion rate

6 เหตุผล ทำไมต้องทำ Conversion Rate Optimization (CRO)

การตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน มักจะให้ความสำคัญกับ SEO เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้องขอบอกเลยว่า ถึงแม้ว่า Conversion Rate Optimization หรือ CRO จะเป็นเครื่องมือ หรือเทคนิคทางการตลาด ที่คล้ายกับ SEO ก็ตาม แต่ก็มีวิธีการใช้งาน มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งผู้ทำธุรกิจยุคใหม่ควรจะรู้และเข้าใจ เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

การนำ Conversion Rate Optimization มาใช้งานนั้นจะให้ประโยชน์มากแค่ไหน ต้องขอบอกเลยว่า นี่จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าจดจำ และมีภาพความประทับใจที่ดีต่อเว็บไซต์ของคุณได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเราจะรวบรวม 6 เหตุผล ว่าทำไมคุณจึงควรทำ Conversion Rate Optimization (CRO)

1. ช่วยให้รู้จักกับลูกค้ามากขึ้น

การทำ Conversion Rate Optimization นั้นจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องทำความเข้าใจกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คุณควรออกแบบเว็บไซต์ด้วยมุมมองที่มาจากฝั่งของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย คอยจินตนาการว่าจะมีอะไรที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ และให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามต้องการ และมีเหตุผล หรืออุปสรรคใดที่จะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณนั้นเกิดการปฏิเสธ ต่อต้าน หรือไม่พอใจการใช้งานระบบต่างๆ หรือเว็บไซต์ของคุณ ดังนั้น Conversion Rate Optimization (CRO) คือ สิ่งที่จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในทุกมิติได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน

การทำ Conversion Rate Optimization ให้ถูกใจ และสร้างความประทับใจ ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้น มีความจำเป็นอย่างมากที่คุณควรจะพยายามมองภาพรวมของการใช้งานในมุมของ User ให้มากที่สุด มองให้ครอบคลุมทุกมิติ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรมีการทดลองใช้งานจริง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเห็นภาพรวมต่างๆ ได้ชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้คุณออกแบบทั้งเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งสินค้าหรือบริการได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย

2. ช่วยเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ (UX)

UX หรือ User Experience ซึ่งหมายถึง ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการทำ Conversion Rate Optimization เพราะจุดประสงค์ที่คุณเลือกใช้ CRO ก็เพื่อช่วยให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้งาน จะมีภาพความประทับใจที่ดี มีประสบการณ์ที่น่าชื่นชม ซึ่งจะยิ่งช่วยดึงดูดให้ผู้ใช้งานนั้น กลับมาใช้งานซ้ำๆ หรือตัดสินใจอัพเกรดมากขึ้น ด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการ หลังสิ้นสุดการใช้งานในแต่ละครั้ง และอย่างที่เราเน้นย้ำมาโดยตลอด หากต้องการให้เกิด User Experience ที่ดี ก็ควรจะพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด รับรองได้เลยว่า หากคุณสามารถเลือกใช้ Conversion Rate Optimization ได้อย่างเหมาะสม และเต็มประสิทธิภาพ ก็ย่อมช่วยให้สามารถเกิด UX ที่ดีได้โดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนที่ใช้เม็ดเงินมากมายอีกด้วย

3. เพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้งานของลูกค้า

แน่นอนว่าหากผู้ใช้งานมีความประทับใจ หรือมีความพึงพอใจ จากประสบการณ์ที่ได้ใช้งานเว็บไซต์ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้งานของลูกค้า และหากมีการใช้งานซ้ำๆ ก็สามารถเปลี่ยนลูกค้าดังกล่าวให้กลายเป็น ลูกค้าที่มี Loyalty สูง พร้อมจะให้ความสนใจในสิ่งใหม่ๆ ที่ธุรกิจของคุณนำเสนออยู่เสมอ โดยการทำ Conversion Rate Optimization นั้น ย่อมทำให้คุณสามารถออกแบบเว็บไซต์ให้ง่ายต่อการใช้งาน กำจัดอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะทำให้ผู้ใช้งานนั้นไม่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น

สำหรับคนที่รู้และเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจ ก็ย่อมจะเห็นความสำคัญว่าทำไมการเปลี่ยนลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ให้กลายเป็นลูกค้าที่มีความภักดีต่อบริษัทสูง หรือมี Loyalty สูง ถึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจนั้นสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคงมากขึ้นนั่นเอง

4. ช่วยวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์

การทำ Conversion Rate Optimization เองยังช่วยให้คุณนั้นสามารถวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์ของผู้ใช้งานต่างๆ ได้ว่ามีส่วนไหนที่สร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน หรือมีจุดบกพร่องใดๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานล้มเลิกการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวกลางคัน เช่น มีรายละเอียดให้ต้องกรอกมากจนเกินไป จึงทำให้กดยกเลิกไม่สมัครสมาชิก หรือ เมื่อกดเลือกสินค้าเข้าตะกร้าแล้ว ไม่พบช่องทางจ่ายเงินที่ถูกใจ จึงตัดสินใจไม่ซื้อสินค้า หรือปล่อยสินค้าดังกล่าวให้ค้างอยู่ในตะกร้า เพื่อจะได้ช่วยให้คุณสามารถปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ ให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานมากขึ้น

นอกจากนี้การทำเว็บไซต์นั้นจะต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จะต้องเกิดขึ้น การทำ Conversion Rate Optimization เอง จะช่วยให้คุณมองเห็นได้มากขึ้นว่าส่วนไหนในเว็บไซต์นั้นมีประโยชน์ ควรจะรักษาเอาไว้ และส่วนไหนที่ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหว หรือน่าดึงดูดใจ ที่ควรจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือควรยกเลิกไปเลย หาก Converstion Rate ดังกล่าวนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

5. ช่วยลดต้นทุน

Conversion Rate Optimization ยังช่วยให้คุณนั้นสามารถบริหารค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนในส่วนของการตลาดออนไลน์โดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้นทุนโดยส่วนใหญ่ที่มักจะหมดไปกับการดึงดูดเพื่อเพิ่มปริมาณการเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้สูงขึ้น เช่น การยิงโฆษณาตาม Social Media ต่างๆ การให้ Influencer ชื่อดังช่วยโปรโมต เป็นต้น โดย Conversion Rate Optimization จะช่วยเปลี่ยนจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้กลายเป็นยอดขายหรือรายได้ที่ธุรกิจของคุณจะได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การจะช่วยให้คุณสามารถใช้เงินลงทุนในส่วนนี้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ยังคงต้องอาศัยความเข้าใจทั้งในธุรกิจของคุณ และต้องเข้าใจลูกค้าของคุณเองด้วย ว่าต้องการแบบไหน เช่น หากคุณเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ E-Commerce แน่นอนว่า Conversion Rate ของธุรกิจดังกล่าว มักเกี่ยวกับการทำให้ผู้ใช้งานนั้นเข้ามาเยี่ยมชมหน้าร้านออนไลน์ของคุณให้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการทำ Conversion Rate Optimization ในกรณีนี้ จะพยายามพัฒนาให้ร้านค้าออนไลน์ของคุณนั้น สามารถใช้งานได้ง่าย มีการจัดแยกหมวดหมู่สินค้าอย่างชัดเจน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงสินค้า หรือบริการที่ตัวเองต้องการได้ง่ายขึ้น

ยิ่งคุณสามารถออกแบบเว็บไซต์หรือเว็บเพจโดยคำนึงถึง UX หรือ User Experience ได้มากแค่ไหน ก็จะยิ่งทำให้เงินลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่ามากขึ้นด้วยเช่นกัน

6. ช่วยเพิ่มชื่อเสียงให้กับแบรนด์

เมื่อคุณใช้เทคนิค Conversion Rate Optimization อย่างเหมาะสม ก็ย่อมทำให้เว็บไซต์ของคุณมี User Experience ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดี และมีความประทับใจ จึงกลับมาใช้งานซ้ำ ซึ่งถือเป็นผลดี เพราะจะเป็นการเพิ่มยอดการเยี่ยมชมเว็บไซต์ให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังมีโอกาสอย่างมากที่ผู้ใช้งานดังกล่าวจะเริ่มแนะนำสินค้าหรือบริการจากธุรกิจของคุณให้กับคนรอบข้าง ส่งผลทำให้มีการแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น ซึ่งนั่นยิ่งช่วยให้แบรนด์ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เริ่มทำ conversion rate optimization

เริ่มทำ Conversion Rate Optimization (CRO) ได้อย่างไร

การทำ Conversion Rate Optimization เอง ก็มีขั้นตอน แบบแผนที่จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น ต่างก็มีความสำคัญ ไม่ควรละเลยขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไป เพราะอาจจะทำให้การทำ Conversion Rate Optimization ของคุณนั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่คุณต้องจ่าย

1. ขั้นตอนการหาสาเหตุ (Research)

ขั้นตอนแรกสุดของการทำ Conversion Rate Optimization คือ การหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้คุณไม่สามารถประสบผลสำเร็จจากการวางแผนกิจกรรมทางการตลาดดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลลูกค้า การทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า หรือการจูงใจให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการกับคุณอีกครั้ง เป็นต้น เมื่อได้สาเหตุของปัญหา ก็ต้องกำหนดสิ่งที่คุณจะต้องทำการทดลองแก้ไข เนื่องจาก Conversion Rate Optimization คือการทำการทดสอบในทุกกระบวนการจากมุมมองของผู้ใช้งาน และเมื่อได้ครบทั้งสาเหตุของปัญหาและสิ่งที่จะทำการทดลองแล้ว ก็ต้องกำหนด KPI หรือตัวชี้วัดให้ชัดเจน เพื่อที่คุณจะได้ค้นพบแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ไขหรือพัฒนา ตัวอย่างของขั้นตอนการหาสาเหตุ คุณต้องการให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนเป็นสมาชิก แต่กลับพบว่า มีช่องกรอกข้อมูลที่มากเกินไปถึงทำให้ลูกค้าล้มเลิกความตั้งใจที่จะลงทะเบียน ส่งผลให้คุณมียอดผู้สมัครสมาชิกน้อยลงกว่าที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ทำให้ได้ Conversion Rate จากกิจกรรมดังกล่าวไม่ถึงเกณฑ์

2. ขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน (Hypothesis)

จริงๆ แล้วการทำ Conversion Rate Optimization ก็มีความคล้ายคลึงกับการทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่จะต้องมีการตั้งสมมติฐาน เพื่อทำการทดสอบให้ได้ผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หากคุณเลือกตัดสินใจ เปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงบางสิ่งบางอย่าง ที่คุณเชื่อว่าจะทำให้มี Conversion Rate ที่สูงขึ้นได้ การตั้งสมมติฐานจะช่วยให้คุณมีทิศทาง และรู้ว่าจะต้องทำการทดสอบไปในแนวทางใดได้ ทำให้คุณสามารถได้ผลลัพธ์ที่ตรงจุด โดยที่ไม่ต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นคุณจะต้องให้ความสำคัญกับการตั้งสมมติฐานให้เหมาะสมสำหรับการทำ Conversion Rate Optimization มากๆ

ตัวอย่างของการตั้งสมมติฐานสำหรับการทำ Conversion Rate Optimization (CRO) : เมื่อพบว่า การกรอกข้อมูลที่มากเกินไป ทำให้ลูกค้าล้มเลิกความตั้งใจในการสมัครสมาชิก คุณอาจจะลองตั้งสมมติฐานว่า ให้ลดการเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็นบางอย่างออกไป หรือทำให้ลูกค้าลงทะเบียนข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ไปก่อน เช่น ชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ ส่วนข้อมูลด้านอื่นๆ ให้ลองใช้คะแนนสะสมจูงใจ ให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลัง หลังจากที่สามารถสมัครสมาชิกโดยเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ Conversion Rate ที่สูงขึ้น

3. ขั้นตอนการลองทำ A/B Testing

ในขั้นตอนที่ 3 ของการทำ Conversion Rate Optimization คือ การทำ A/B Testing ซึ่งหมายถึงการทำการทดสอบ โดยการเปลี่ยนตัวแปรบางอย่าง เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนา ไปตามสิ่งที่คุณตั้งสมมติฐานเอาไว้ได้หรือไม่ แต่การเปลี่ยนแปลงตัวแปรนั้น ควรจะเปลี่ยนแค่ครั้งละ 1 ตัวแปรเท่านั้น เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำการทดสอบ


ตัวอย่างของการทำ A/B Testing : ทำการทดสอบขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครสมาชิกออกเป็น 2 แบบ แบบแรก ให้เป็นการสมัครสมาชิกด้วยการกรอกข้อมูลแบบปกติให้ครบถ้วนทุกข้อมูลที่คุณต้องการ แบบที่สอง ให้เปลี่ยนการสมัครสมาชิกเหลือแค่การกรอกข้อมูล แค่ชื่อ นามสกุล และเบอร์โทร แล้วให้เปรียบเทียบผลลัพธ์ของ Conversion Rate ที่เกิดขึ้น สำหรับทั้ง 2 การทดสอบ เพื่อดูว่าจะสามารถเพิ่ม Conversion Rate ได้มากขึ้นแค่ไหน

4. ขั้นตอนการวิเคราะห์ผล (Analyze)

เมื่อได้ผลลัพธ์จากการทดสอบทุกขั้นตอนตามข้างต้นของ Conversion Rate Optimization แล้ว ก็ถึงขั้นตอนสุดท้าย คือการนำผลลัพธ์ที่ได้มาสรุปผล และทำการวิเคราะห์ เพื่อดูว่าการตั้งสมมติฐานของคุณ ถูกต้องหรือไม่ เมื่อเปลี่ยนแล้ว ช่วยให้ Conversion Rate เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงได้มากแค่ไหน เพื่อจะได้ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม สำหรับการเปลี่ยน และปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับ User Experience หรือ UX มากขึ้น

ตัวอย่างของการวิเคราะห์ผล : จากการทดสอบลดขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครสมาชิกลง ค้นพบว่ามีผู้ที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ และทำการสมัครสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิม 5% หรือ Conversion Rate สูงขึ้นเป็น 10% ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการลงทะเบียนสมัครสมาชิกเพื่อเพิ่มยอด Engagement ให้กับเว็บไซต์ได้มากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้เลยว่าการทำการตลาดในปัจจุบันที่ใช้ช่องทางออนไลน์เป็นพื้นที่หลัก จะต้องอาศัย Conversion Rate เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นการทำ Conversion Rate Optimization จึงเป็นเทคนิคที่ไม่ควรมองข้าม หากคุณต้องการเพิ่มยอดผู้ใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้สูงขึ้น เนื่องจากยอดผู้ใช้งานเหล่านี้มีโอกาสอย่างมากที่จะกลายมาเป็นลูกค้าที่สร้างยอดขายหรือรายได้ให้กับธุรกิจของคุณ

ส่วนธุรกิจไหนที่ควรจะทำ Convers Rate Optimization (CRO) บ้าง ต้องขอตอบว่าทุกธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์ในการขายสินค้า หรือนำเสนอบริการ ไม่ว่าจะผ่านทางเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อย่างที่เราได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้นว่าการขายของออนไลน์นั้น ไม่ได้มีพนักงานขาย หรือพนักงานแนะนำสินค้ามากระตุ้นเพื่อเพิ่มความอยากซื้อสินค้า อยากสมัครสมาชิก ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ Conversion Rate Optimization มาทำหน้าที่เหมือนพนักงานขาย ที่จะช่วยปรับปรุงยอด Conversion Rate ให้สูงขึ้นตามที่คุณต้องการได้

FAQ คำถามที่พบบ่อย

หลังจากที่ทาง Minimice ได้แนะนำเกี่ยวกับ Conversion Rate และวิธีการทำ Conversion Rate Optimization (CRO) กันไปแล้ว Minimice ก็ยังได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่ถูกถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ Conversion Rate มาตอบให้คุณหายสงสัยกันทีละข้อ เชื่อว่าจะช่วยให้คุณเข้าใจและเห็นภาพเกี่ยวกับ Conversion Rate มากขึ้น

1. Conversion Rate Optimization (CRO) ต่างจากการทำ SEO ยังไง

ในวงการ Digital Marketing มักจะมีคำที่ใช้กันบ่อยๆ อย่าง SEO ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่า การทำ Digital Marketing มีแค่ SEO เพียงอย่างเดียวก็พอ ซึ่งความจริงแล้ว ก็ต้องอาศัย CRO หรือ Conversion Rate Optimization ด้วยเช่นกัน โดย SEO หรือ Search Engine Optimization จะเน้นที่การค้นหาเป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาอยู่ในลำดับต้นๆ หรือหน้าแรก เพื่อทำให้มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์สูงขึ้น ส่วน CRO หรือ Conversion Rate Optimization จะเน้นให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้กระทำบางอย่างที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการสมัครสมาชิก การลงทะเบียนรับข่าวสาร หรือการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์

2. เป้าหมายหลักของการทำ Conversion Rate Optimization (CRO) คืออะไร

เป้าหมายหลักของการทำ Conversion Rate Optimization ก็เพื่อให้เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ของคุณนั้นมี Conversion Rate ที่สูงขึ้น ซึ่งหมายถึง Engagement ที่มากขึ้นจากผู้ใช้งานผ่านกิจกรรมทางการตลาดที่คุณวางแผนและตั้งเป้าหมายเอาไว้ เช่น ต้องการให้มีคนสมัครสมาชิกเว็บไซต์มากๆ ต้องการให้มีคนซื้อสินค้าผ่านช่องทางเว็บไซต์ของคุณเพิ่มขึ้น เป็นต้น

3. เครื่องมือในการทำ Conversion Rate Optimization (CRO) มีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้มีเครื่องมือ Conversion Rate Optimization หลายรูปแบบให้เลือกใช้มากขึ้น โดยสามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ต่างๆ มีให้เลือกทั้งแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน และงบประมาณ แบบเสียค่าใช้จ่ายอาจจะช่วยให้คุณมีฟังก์ชันเพิ่มเติมที่จะทำให้การทำ Conversion Rate Optimization ของคุณ มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ตัวอย่าง เครื่องมือ Conversion Rate Optimization หรือ CRO ที่ได้รับความนิยม ได้แก่

  • Google Analytics เป็นเครื่องมือ Web Analytics Tool แบบเต็มรูปแบบ และมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการประเมิน Traffic หรือปริมาณของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และที่พิเศษไปกว่านั้น ยังสามารถเจาะลึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และผู้ใช้งานเว็บไซต์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Conversion Rate Optimization หรือ CRO ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือดังกล่าว โดยให้สามารถใช้งานได้แบบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในขณะเดียวกันก็มีแบบพรีเมียมในชื่อ Google Analytics 360 ซึ่งจะมีฟังก์ชันการใช้งานมากขึ้น ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์อย่างเจาะลึกกว่าเดิม 
  • UsabilityHub.com เป็น Conversion Rate Optimization ที่จะใช้ประสบการณ์การใช้งานของ User ที่ใช้งานจริงๆ โดยมีทั้งความเห็น หรือการรีวิวของ User ต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณนำมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมิน ทำให้ใช้ CRO ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย UsabilityHub.com จะมีฟังก์ชันสำคัญอย่าง การสำรวจความเห็นของผู้ใช้งาน การทดสอบ First-click หรือการคลิกครั้งแรก การทดสอบแบบ Five-second tests หรือการใช้งานใน 5 วินาที ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจมุมมองของผู้ใช้งานได้ดีขึ้น โดยเว็บไซต์นี้มีทั้งแบบฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย แบบ $89 ต่อเดือน สำหรับแผนพื้นฐาน แบบ $199 ต่อเดือน สำหรับแผนพิเศษ และยังมีให้เลือกจ่ายเงินเพื่อเลือกใช้ฟังก์ชันบางอย่าง
  • Hotjar.com เป็น Conversion Rate Optimization ที่จะเน้นการเจาะลึกพฤติกรรมของผู้ใช้งาน โดยจะพยายามทำให้คุณสามารถมองหา pain point ของผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุดว่าอะไรคืออุปสรรค หรือปัญหา ที่ทำให้ผู้ใช้งานล้มเลิก หรือไม่สนใจที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมทางการตลาดที่คุณวางแผนเอาไว้ ที่สำคัญยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่จะให้คุณสามารถรับรู้ผลตอบรับ ความเห็นและรีวิวของผู้ใช้งานได้อีกด้วย 
  • Userfeel.com เป็นเครื่องมือที่จะเน้น UX หรือ User Experience โดยเฉพาะ ซึ่งการใช้เครื่องมือนี้ จะทำให้คุณสามารถออกแบบ และดีไซน์เว็บไซต์ให้สอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้งานได้มากขึ้น ซึ่งจุดเด่นอีกอย่างคือ ทางเว็บไซต์นี้จะมีฐานผู้ช่วยทดสอบการใช้งานในหลากหลายภาษา ไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว และสามารถทำการทดสอบการใช้งานได้โดยที่ไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์แต่เพียงอย่างใด ถือเป็นเครื่องมือ Conversion Rate Optimization ที่มีความสะดวกเป็นอย่างมาก ในส่วนของราคาค่าใช้จ่ายนั้นจะคิดเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการทดสอบต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชันบางอย่างที่ไม่ต้องการเพิ่มมาด้วย ซึ่งทำให้คุณไม่ต้องเหมาจ่ายเป็นสมาชิก โดยการทดสอบแต่ละ session จะเริ่มต้นที่ $30 จนถึง $180

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง