ด้วยโลกที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทำให้ในปัจจุบันการสร้างธุรกิจต่างๆ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ซึ่งการสร้างเว็บไซต์ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถ้าหากคุณต้องการที่จะสร้างหน้าเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ การวางโครงสร้างเว็บไซต์ก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่ออันดับบนหน้าการค้นหา หรือ SEO เพราะหน้าตาของเว็บไซต์เปรียบเสมือนมงกุฎที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ซึ่งโครงสร้างที่ว่านี้ ก็มีชื่อเรียกสากลว่า ‘Site Structure’ และถ้าหากคุณสงสัยว่ามันคืออะไร ใช้งานอย่างไร บทความนี้ก็มีคำตอบให้อย่างแน่นอน!
Site Structure คืออะไร
Site Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น สามารถมองเห็นเป็นแผนผังของลิงก์ต่างๆ ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้อัลกอริทึมของ Google สามารถเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นและส่งให้ต่อการจัดอันดับ SEO โดยตัว Site Structure จะมีการแสดงผลทั้งหมด 2 ส่วนดังนี้
- เกี่ยวกับอะไร – คือส่วนที่แสดงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อและประเด็นต่างๆ บนเว็บไซต์
- เชื่อมโยงอย่างไร – ส่วนที่แสดงถึงการเชื่อมโยงของเว็บไซต์ว่ามีระบบอย่างไร ผู้ชมสามารถเข้าชมหน้าไหนต่อได้บ้าง
ตัวอย่างโครงสร้างเว็บไซต์
Site Structure สำคัญยังไง
เหตุผลที่โครงสร้างเว็บไซต์มีความสำคัญ แบ่งเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้แก่
สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้เข้าใช้
เว็บไซต์ที่มีคุณภาพคือ เว็บไซต์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้งาน โดยจะต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย มีความสะดวกรวดเร็ว มีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้งานได้อย่างเข้าใจ เห็นได้จากการวิจัยจากต่างประเทศพบว่า เว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์อันดีให้แก่ผู้เข้าใช้งานจะสามารถเพิ่มค่าอัตราการซื้อ-ขายได้มากถึง 400% และ Site Structure ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานพึงพอใจ
สามารถจัดการข้อมูลได้ง่าย
การจัดบ้านทำให้คุณหาของได้ง่ายขึ้น การมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีก็จะทำให้การจัดการข้อมูลภายในหน้าเว็บสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น
- ทำให้เห็นถึงหัวข้อทั้งหมด และสามารถจัดกลุ่มเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้สะดวกมากขึ้น
- ทำให้เห็นภาพการใช้งานของผู้เข้าชม ว่ามีการคลิกเข้าไปอย่างไร และมีความสะดวกสบายหรือไม่
- สามารถขยายเว็บไซต์ได้ง่ายและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพราะรับรู้ถึงเนื้อหาและการเชื่อมโยงของเว็บไซต์อย่างชัดเจน
ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพในการทำ SEO
เมื่อเว็บไซต์ของคุณมีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพมากพอ ก็จะส่งผลดีต่อ SEO หรือการจัดอันดับบนหน้าเว็บไซต์ Google เพราะกระบวนการแรกของการทำ SEO คือ Google จะสำรวจและทำความเข้าใจเว็บไซต์ของคุณว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ซึ่งตัวโครงสร้างเว็บไซต์ก็จะทำหน้าที่ในการนำทางสำหรับการสำรวจเว็บไซต์
Site Structure มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
Site Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้
Linear Structure โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง
Linear Structure หรือโครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง คือรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีการแสดงหัวข้อของเว็บไซต์เป็นลำดับทีละขั้น บางครั้งถูกเรียกว่า Sequential Structure หรือโครงสร้างแบบตามลำดับ มีการเรียงหัวข้อไปในทางเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการการสื่อสารอย่างเป็นขั้นตอน เช่น การสร้างหน้า Home การสร้างคอร์สเรียนออนไลน์ หรือการสร้าง ebook เป็นต้น
Hierarchical Structure โครงสร้างเว็บแบบต้นไม้
Hierarchical Structure หรือโครงสร้างเว็บแบบต้นไม้ เป็นโครงสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากในการทำธุรกิจ มีรูปร่างแผนผังที่คล้ายต้นไม้จึงมักถูกเรียกว่า Tree Structure โดยข้อดีของโครงสร้างรูปแบบนี้คือ มีการจัดแบ่งหัวข้อเป็นหมวดหมู่ทำให้เข้าใจง่าย เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 100 หน้า
Web Linked Structure โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ
Web Linked Structure หรือโครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ เป็นโครงสร้างที่ไม่มีรูปแบบตายตัวด้วยหลักการที่ว่า ทุกเว็บเพจจะต้องสามารถเข้าถึงกันได้ หรือก็คือไม่ว่าผู้ใช้งานจะเข้าชมหน้าเว็บใดก็จะต้องสามารถเข้าสู่หน้าอื่นๆ ได้นั่นเอง โดยธุรกิจที่เหมาะกับการใช้งานโครงสร้างรูปแบบนี้คือ เว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 10 หน้าและมีจุดประสงค์เพื่อเน้นให้ลูกค้ากลับมาใช้งานเว็บไซต์
Hybrid Structure โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม
Hybrid Structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม เป็นโครงสร้างที่ประยุกต์รูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยที่ใช้โครงสร้างแบบต้นไม้เป็นหลัก หลังจากนั้นจึงเสริมการเชื่อมโยงรูปแบบอื่นๆ ตามความจุดประสงค์และเหมาะสมของเนื้อหา
ซึ่งในการสร้างเว็บไซต์ด้วยโครงสร้างรูปแบบใดๆ ผู้สร้างต้องคำนึงอยู่เสมอว่าหน้าเพจที่อยู่สูงที่สุดก็จะมีโอกาสที่สามารถสร้างการเข้าถึงได้มากกว่าหน้าเพจที่อยู่ด้านล่าง และมีโอกาสที่จะสร้าง Website Traffic ได้เยอะกว่าเช่นเดียวกัน
Site Structure ที่ดีมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ถ้าหากคุณต้องการสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบของ Site Structure ที่ดีด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 6 ส่วน ดังนี้
URL structure
โครงสร้าง URL นับเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้าง Site Structure อีกทั้งยังมีผลต่อการทำ SEO ไม่ว่าจะเป็น เครื่องหมายทับต่อท้าย HTTPS หรือการเปลี่ยนเส้นทางของเว็บไซต์
Categories
การจัดหมวดหมู่ให้กับเว็บไซต์ นอกจากจะช่วยให้ผู้เข้าชมมีประสบการณ์ที่ดีต่อเว็บไซต์แล้ว ยังมีส่วนช่วยในอำนวยความสะดวกเมื่อผู้สร้างแก้ไขเว็บไซต์ ลดจำนวนหน้าเพจที่ไม่มีผู้ดูแล และรวมไปถึงช่วยในการเชื่อมโยงเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ
Navigation (menus)
เมนูเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ ซึ่งมีหน้าที่ในการนำทางผู้ใช้เพื่อสามารถไปยังหน้าเว็บเพจที่ต้องการได้สะดวกง่ายดาย และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจของ Google ในการจัดอันดับอีกด้วย
Internal links
Internal links หรือลิงก์ภายในเว็บไซต์ มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ และการมีองค์ประกอบนี้ก็จะทำให้มี Traffic ภายในเว็บไซต์ของคุณ อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้ Google มองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ และส่งผลให้การทำ SEO ง่ายมากขึ้น
Breadcrumbs
Breadcrumbs เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการนำทางเว็บไซต์ผู้ใช้งานสามารถรู้ถึงตำแหน่งที่ตั้งของเว็บไซต์ที่อยู่ ว่าอยู่ลึกแค่ไหน เชื่อมต่อกับหมวดหมู่ใด ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจการเชื่อมโยง และใช้งานเว็บไซต์ได้ง่ายดาย
Sitemap & Existing pages
แผนผังเว็บไซต์เปรียบเสมือนสารบัญของหน้าเว็บเพจ ที่ทำหน้าที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดูได้ว่าบนเว็บไซต์มีหัวข้อและเนื้อหาอะไรบ้าง มีลำดับชั้นอย่างไร ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำ SEO เพราะอัลกอริทึมของ Google จะเข้าใจเว็บไซต์ได้มากขึ้นเช่นกัน
อยากออกแบบ Site Structure เริ่มจากไหนดี
ถ้าหากคุณต้องการออกแบบ Site Structure ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์ที่ดี และส่งผลดีต่อการทำ SEO สามารถทำตามข้อตอนต่อไปนี้ได้
กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
ขั้นตอนแรกคือ การกำหนดจุดประสงค์ของการสร้างเว็บไซต์ให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ต้องการขายสินค้าและบริการ ต้องการสื่อสารบางอย่างไปยังกลุ่มเป้าหมาย หรือต้องการแค่บอกเล่าเรื่องราว ซึ่งการมีเป้าหมายเว็บไซต์ที่ชัดเจนก็จะให้คุณสามารถกำหนดเนื้อหาและทิศทางของเว็บไซต์ได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้เนื้อหามีความเป็นระเบียบ และทำให้ผู้สร้างรู้ขอบเขตของเนื้อหาในเว็บไซต์
รู้จักเป้าหมายที่ใช่ มีชัยไปกว่าครึ่ง
การศึกษากลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนสำคัญของการทำการตลาด รวมไปถึงการสร้าง Site Structure เพราะจะทำให้คุณสามารถออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานเป็นอย่างดี โดยคุณควรศึกษาทั้งข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการ และจุดประสงค์ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
เชื่อมโยงแต่ละหน้าเข้าด้วยกัน เพื่อประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นของผู้ใช้
ปิดท้ายด้วยการเชื่อมโยงหน้าต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณด้วยการใส่ Internal Link เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน เพราะการใส่ลิงก์ภายในเว็บไซต์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าชมหน้าเว็บได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้ถึงการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของหน้าต่างๆ ภายในเว็บไซต์ และยังช่วยเพิ่ม Traffic ภายในเว็บไซต์ โดยการใส่ Internal Link มีหลักการ 2 อย่างคือ
- เข้าถึงง่าย มีความสะดวกและรวดเร็ว ในการเข้าชมเว็บไซต์ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน และทำให้อัลกอริทึมของ Google เข้าใจง่าย
- จัดหมวดหมู่เป็นระเบียบ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์ทราบถึงเนื้อหา สามารถค้นหาข้อมูลภายในหน้าเว็บได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว ไม่เสียเวลา และไม่หลงประเด็นที่ต้องการค้นหา
สรุป
โครงสร้างเว็บไซต์ เป็นส่วนสำคัญในการออกแบบเว็บไซต์ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าถึงง่าย สร้างประสบการณ์ที่ดี และยังอำนวยความสะดวกให้กับอัลกอริทึมของทาง Google สามารถเก็บข้อมูลเว็บไซต์ จนส่งผลให้การทำ SEO มีความง่ายดาย ดังนั้นการออกแบบ Site Structure ที่เป็นระเบียบและเข้าใจง่ายจึงเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเว็บไซต์ของคุณเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
FAQ – คำถามที่พบบ่อย
Site Structure คืออะไร
Site Structure คือแผนผังหรือแผนที่ของเว็บไซต์ที่มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงเนื้อหาและความเชื่อมโยงของเว็บไซต์
Site Structure มีกี่รูปแบบ
มีด้วยกัน 4 รูปแบบ ได้แก่
1. Linear Structure โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง
2. Hierarchical Structure โครงสร้างเว็บแบบต้นไม้
3. Web Linked Structure โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ
4. Hybrid Structure โครงสร้างเว็บไซต์แบบผสม
ทำ Site Structure ดีต่อ SEO ยังไง
การมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะส่งผลดีต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานเพราะมีการใช้งานที่เป็นระเบียบ ง่ายดาย สามารถเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ได้ว่า เกี่ยวกับอะไร มีข้อมูลอะไร และเชื่อมโยงกันอย่างไร อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับการเก็บข้อมูลของอัลกอริทึม Google และส่งผลดีต่อการจัดอันดับ SEO