Keyword Research คืออะไร พร้อมกลยุทธ์ทำให้เว็บติดหน้าแรก

Keyword Research คืออะไร พร้อมกลยุทธ์ทำให้เว็บติดหน้าแรก

Table of Contents

เชื่อว่าสําหรับคนที่กําลังจะทําเว็บไซต์ หรืออยากให้เว็บไซต์ของตัวเองติดอันดับหน้าแรกของ Google คงจะต้องอยากรู้ว่า Keyword Research นั้นคืออะไร และมีวิธีการทําอย่างไร ซึ่ง Keyword Research นี้ นอกจากจะเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากในการแข่งขันกับเว็บไซต์คู่แข่งแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ได้อีกด้วย 

โดยในบทความนี้ทาง Minimice จะพามารู้จักกับ Keyword Research ว่าคืออะไร สำคัญอย่างไรกับการทำ SEO พร้อมเทคนิคทำเว็บติดหน้าแรก ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

ทำความรู้จัก Keyword Research คืออะไร

ทำความรู้จัก Keyword Research คืออะไร

Keyword Research คือ การหาคําค้นหาที่ผู้ใช้งานพิมพ์เข้ามาที่ Search Engine (เครื่องมือที่ใช้ในการค้นหา) อย่าง Google หรือ Youtube เพื่อค้นหาข้อมูล สินค้า หรือบริการ โดยการใช้ Keyword ต่างๆ นั่นเอง ซึ่ง Keyword Research นี้ จะทำให้รู้ว่าผู้ใช้งาน Search Engine กําลังพิมพ์คําหรือวลีใดเข้ามา และต้องการหาอะไร ซึ่งจะช่วยให้สามารถนํา keywords เหล่านั้นมาประกอบใช้ในเนื้อหาของ Website เพื่อให้ Search Engine แสดง Content ให้ตรงกับคําค้นหาของผู้ใช้งานได้มากที่สุด ทําให้เพิ่มโอกาสที่ Content จะมียอดเข้าชม และดึงดูด Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการค้นหาคำบางคำใน Google ว่า ขนมหวานน่ากิน
Keyword ในที่นี้ก็คือ ขนมหวาน และ Search Engine ที่ใช้ค้นหา ก็คือเว็บไซต์ Google นั่นเอง

Keyword Research มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Keyword Research มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Keyword Research มีความสําคัญอย่างมากต่อการทำธุรกิจ เพราะจะช่วยให้เข้าใจถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และสร้าง Content ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งหลักๆ แล้ว Keyword Research สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1. คีย์เวิร์ดตั้งต้น (Seed Keywords)

Seed Keywords คือคําค้นหาหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือเว็บไซต์ เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ที่จะช่วยให้มีไอเดียในการคิดคีย์เวิร์ดอื่นๆ เพิ่มเติมได้

ตัวอย่างเช่น ถ้ามีร้านขายเสื้อผ้า คําว่า เสื้อผ้า ก็อาจเป็น Seed Keyword ตัวหนึ่งที่สามารถนําไปขยายความเพิ่ม โดยสามารถหา Seed Keywords ได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 

  1. กําหนดหัวข้อหลักของเว็บไซต์ เช่น ขายอาหารสุนัข
  2. ระบุคําหลักที่สื่อถึงหัวข้อหลัก เช่น อาหารสุนัข อาหารสัตว์เลี้ยง
  3. ใช้ Google Keyword Planner ช่วยแนะนําคําที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
  4. ตรวจสอบยอดการค้นหาของคําเหล่านั้น คัดเลือกคําที่มียอดค้นหาสูงๆ
  5. นําคําที่เลือกมาเป็น Seed Keywords หลักของเว็บไซต์

2. คีย์เวิร์ดจากกจุดประสงค์ในการค้นหา (Keywords by search intent)

Keywords by search intent เป็นการแบ่งคีย์เวิร์ดตามเจตนาหรือวัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาผลลัพธ์ที่ผู้ใช้ต้องการ โดยสามารถแบ่ง Keyword ที่ได้จากจุดประสงค์ในการค้นหาได้ดังนี้

  • การหาข้อมูล: คําค้นหาเช่น วิธีทําข้าวผัด หรือ ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา เป็นต้น
  • การนําทาง: คําค้นหาเช่น ทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
  • การตรวจสอบสินค้าหรือบริการ: คําค้นหาเช่น รีวิวโรงแรมในพัทยา หรือ ตั๋วคอนเสิร์ตราคาเท่าไร? เป็นต้น
  • การซื้อขาย: คําค้นหาเช่น ซื้อรองเท้าผ้าใบ หรือ ขายคอนโด สาทร เป็นต้น

สามารถหาคีย์เวิร์ดแบบนี้ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. กําหนดจุดประสงค์หลักในการค้นหาของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ต้องการซื้อสินค้า ต้องการหาข้อมูล เป็นต้น
  2. ใช้เครื่องมือช่วยค้นหา Keyword อย่าง Ubersuggest โดยเลือกหัวข้อ Keyword Idea ตาม Search Intent
  3. พิจารณา Keyword Suggestions ที่แสดง เลือกคําที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กําหนดไว้
  4. ตรวจสอบยอดค้นหาของคีย์เวิร์ดนั้นๆ ด้วย Google Keyword Planner
  5. เลือกคําที่มียอดค้นหาที่เหมาะสมและตรงจุดมาใช้งาน

ซึ่งการแบ่งประเภทของคีย์เวิร์ดแบบนี้ จะช่วยให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ และสร้างเนื้อหาให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น

3. คีย์เวิร์ดแบบหางยาว (Long-tail Keywords)

Long-tail keyword คือ คําค้นหาที่มีคำต่อจากคำหลักนั่นเอง เช่น วิธีทําสลัดผักรวมมิตรให้อร่อย หรือ ร้านขายกระเป๋าผ้าใบแบรนด์เนมราคาถูก ซึ่งคีย์เวิร์ดประเภทนี้ส่วนมากจะมีคนใช้น้อย และมีการแข่งขันต่ํากว่าคีย์เวิร์ดสั้นๆ แต่ก็สามารถดึงดูดผู้ใช้ที่กําลังมองหาเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงได้ดีเช่นกัน

โดยสามารถหาคีย์เวิร์ดหางยาวได้ด้วยเครื่องมือ Ubersuggest ตามขั้นตอน ดังนี้ 

  1. เปิดเว็บ Ubersuggest เลือก Keyword Ideas แล้วพิมพ์คีย์เวิร์ดหลักที่ต้องการลงไป เช่น การตลาดออนไลน์
  2. Ubersuggest จะแสดงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องออกมา จากนั้นก็เลือกคีย์เวิร์ดที่ดูน่าสนใจตามที่ต้องการ
  3. คลิกที่คีย์เวิร์ดนั้นๆ Ubersuggest จะหา Keyword Ideas อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มมาให้อีก
  4. เลือก Keyword Ideas ที่ดูแล้วตอบโจทย์มากที่สุด เช่น การตลาดออนไลน์ในเฟซบุ๊ก
  5. ตรวจสอบยอดการค้นหา โดยเลือกเฉพาะคําที่มีคนค้นหาบ่อยจริงๆ

4. คีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันต่ำ (Low-competition Keywords)

คีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันต่ํา (Low-competition keywords) เป็นคําค้นหาที่ไม่ค่อยมีใครใช้ หรือมีเว็บไซต์น้อยรายที่ใช้คํานั้นๆ 

ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า สอนทําขนมปังอบกรอบง่ายๆ จะมีการแข่งขันต่ํากว่า คำว่า สอนทําขนมปัง เพราะเป็น Keyword ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า

โดยสามารถหาคีย์เวิร์ดเช่นนี้ได้โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบ Keyword Difficulty เช่น Ahrefs หรือ SEMrush ซึ่งจะบอกค่าความยากง่ายในการแข่งขันให้ได้เลือก ดังนี้

  1. พิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการวิเคราะห์ลงในช่อง Keyword Difficulty ของเว็บไซต์ SEMrush
  2. SEMrush จะแสดงค่า Keyword Difficulty หรือความยากง่ายในการแข่งขัน ยิ่งตัวเลขต่ําจะยิ่งมีการแข่งขันไม่ยากนัก
  3. เลือกคีย์เวิร์ดที่มีค่าต่ําๆ ประมาณ 0-20 ไว้ใช้งาน

5. คีย์เวิร์ดเฉพาะกลุ่ม (Niche Keywords)

Niche keyword คือ คําค้นหาที่เจาะจงลงไปในกลุ่มย่อยๆ นั่นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าขายอุปกรณ์ตกแต่งสวน คีย์เวิร์ดอย่าง รดน้ําต้นไม้ด้วยระบบอัตโนมัติ จะเป็น Niche มากกว่าคำว่า รดน้ําต้นไม้ เพราะมีความเจาะจงลงไปมากกว่า

โดยสามารถหาคีย์เวิร์ดได้โดยการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า แล้วคิดคําค้นหาที่เฉพาะสําหรับกลุ่มนั้นๆ ออกมา ซึ่งมักจะมีการแข่งขันน้อยกว่าคําที่ดูกว้างๆ โดยมีขั้นตอนการหาคีย์เวิร์ด ดังนี้

  1. กําหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น วัยรุ่นที่ชอบแต่งหน้า
  2. เลือกใช้คําค้นหาที่กลุ่มนั้นอาจจะใช้ เช่น แต่งหน้าสไตล์เกาหลี สอนแต่งหน้าออกงาน
  3. ตรวจสอบยอดการค้นหาว่าคนค้นหามากน้อยแค่ไหน
  4. เลือกคําที่มีการค้นหาบ่อยๆ แต่ไม่มากจนเกินไปมาใช้เป็นคีย์เวิร์ด

หากปรับใช้กับเครื่องมืออย่าง Ubersuggest, Keyword Tool หรือ Google Keyword Planner ก็จะช่วยให้มีข้อมูลยอดการค้นหา และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกมากมายเลย

6. คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับแบรนด์ (Branded and unbranded Keywords)

Brand Keyword คือ คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับคําค้นหาที่มีชื่อแบรนด์หรือบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้อง

ยกตัวอย่างเช่น คำว่า โทรศัพท์ไอโฟน จะเป็นคำที่เกี่ยวกับแบรนด์ (Branded) ส่วนคำว่า โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ จะเป็นคำที่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง (UnBranded)

ซึ่งความจริงแล้ว ควรหาคีย์เวิร์ดทั้งที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์และไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์มาใช้ เพราะจะช่วยเพิ่มความหลากหลายในการค้นหามากขึ้น

โดยขั้นตอนง่ายๆ ในการหาคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับแบรนด์ มีดังนี้

  1. กําหนดชื่อแบรนด์ที่ต้องการหาคีย์เวิร์ด เช่น กำหนดว่าเป็นแบรนด์ ABZ
  2. หาคีย์เวิร์ดแบรนด์ ชื่อแบรนด์ ชื่อผลิตภัณฑ์ โมเดล เช่นคำว่า ถุงกระดาษ 
  3. หาคีย์เวิร์ดที่ไม่เกี่ยวกับแบรนด์ อย่างหมวดหมู่สินค้า ประโยชน์ของการใช้งาน เช่นคำว่า อเนกประสงค์
  4. เมื่อได้ครบทั้งคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์และไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์แล้ว ก็เลือกประกอบคำคีย์เวิร์ดที่ต้องการ เช่น ABZ ถุงกระดาษอเนกประสงค์
  5. ตรวจสอบยอดการค้นหา (ใน Ubersuggest หรือในเว็บไซต์อื่นๆ ที่ให้บริการ) เลือกเฉพาะคําที่มีคนค้นหาจริงๆ
  6. คัดเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมมาใช้งาน

7. คีย์เวิร์ดของคู่แข่ง (Competitors’ Keywords)

คีย์เวิร์ดของคู่แข่งก็คือ คําค้นหาหลักที่คู่แข่งใช้เพื่อให้เว็บไซต์ถูกค้นหา

ยกตัวอย่างเช่น หากทําเว็บไซต์ขายกาแฟ และต้องการรู้ว่าเว็บไซต์อื่นๆ ใช้คําอะไรในการดึงดูดลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายบ้าง ซึ่งวิธีการหาคีย์เวิร์ดของคู่แข่ง มีขั้นตอนดังนี้

  1. กำหนดคู่แข่งหลักว่าเป็นเว็บไซต์ไหน เช่น เว็บไซต์ ABZ
  2. ดูคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งใช้ ซึ่งตรวจสอบได้จากเครื่องมือ SEMrush เพื่อดู Keyword ที่คู่แข่งใช้ใน Organic Search หรือเครื่องมือ Ahrefs ที่ใช้หาคําค้นยอดนิยมที่คู่แข่งใช้ โดยดูจาก Backlink ของเว็บไซต์คู่แข่งก็ได้เช่นกัน
  3. นําคีย์เวิร์ดมาวิเคราะห์เพื่อหาไอเดียของคำที่เหมาะสมกับเว็บไซต์
  4. คัดเลือกคีย์เวิร์ดที่ต้องการนําไปใช้

8. คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรอง (Primary and secondary keywords)

คีย์เวิร์ดหลัก คือ คําค้นหาหลักที่ตรงกับเนื้อหาหลักมากที่สุด และเป็นคําที่มีคนค้นหามากที่สุด

ส่วนคีย์เวิร์ดรอง จะเป็นคําที่เกี่ยวข้อง และเป็นคําเฉพาะที่ลงลึกไปถึงเนื้อหา เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนค้นพบเว็บไซต์ได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นร้านขายกาแฟ คําว่า กาแฟ ก็คือคีย์เวิร์ดหลัก

ส่วนคีย์เวิร์ดรอง ก็คือคําที่เกี่ยวข้อง เช่น เมล็ดกาแฟ วิธีชงกาแฟ และถ้วยชาม เป็นต้น 

ซึ่งวิธีการหาคีย์เวิร์ดหลัก และคีย์เวิร์ดรองสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ 

  1. เริ่มจากกําหนด Primary Keyword ตามธุรกิจหลัก
  2. จากนั้นก็ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Google Keyword Planner ช่วยแนะนําคําที่เกี่ยวข้องมาเป็น Secondary Keywords ต่อไป

การมีทั้งคีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดรองจะช่วยให้ครอบคลุมคําค้นหาที่หลากหลาย และเพิ่มโอกาสในการเข้าชมได้มากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

องค์ประกอบของ Keyword Research ที่ควรคำนึง

องค์ประกอบของ Keyword Research ที่ควรคำนึง

Keyword Research ช่วยให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ และมีความสำคัญต่อการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยองค์ประกอบของ Keyword Research มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

ความเกี่ยวข้องกัน (Relevance)

ความเกี่ยวข้องกัน (Relevance) ของคีย์เวิร์ดกับเนื้อหาเว็บไซต์นั้นสําคัญมาก เพราะสามารถบอกได้ว่า คีย์เวิร์ดตัวนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องกันมากแค่ไหนกับธุรกิจหรือเว็บไซต์ ถ้าไม่มีความเกี่ยวข้องเลยก็ไม่ควรนำมาใช้ เพราะอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์การค้นหาของผู้ใช้งานได้

ความน่าเชื่อถือ (Authority)

ความน่าเชื่อถือ (Authority) ของเว็บไซต์ก็สําคัญด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น เว็บไซต์ที่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เขียนเนื้อหา หรือมี Backlink ดีๆ จากเว็บไซต์อื่น Google ก็จะให้น้ําหนักมากกว่าเว็บไซต์ทั่วไป ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยเรื่องการทำ SEO ได้อย่างดีเลยทีเดียว

จำนวนการค้นหา (Volume)

จำนวนการค้นหา (Volume) ของคีย์เวิร์ดก็สําคัญอีกเช่นกัน เพราะจะช่วยบอกให้รู้ว่าคนสนใจคํานั้นๆ มากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อยเกินไปก็อาจจะไม่คุ้มที่จะนํามาใช้ แต่ถ้ามากเกินไปก็อาจมีการแข่งขันสูง ดังนั้นจึงต้องหาจุดที่พอเหมาะพอดี แบบที่มี Volume ไม่น้อยจนเกินไป และไม่มากจนทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงอีกด้วย

Keyword Research สำคัญกับการทำ SEO อย่างไร

Keyword Research สำคัญกับการทำ SEO อย่างไร

Keyword Research นอกจากจะช่วยให้รู้ถึงความต้องการของผู้ใช้ โดยการหาคําที่ผู้ใช้กําลังค้นหาอยู่จริงๆ แล้ว ยังมีความสำคัญกับการทำ SEO โดยมีความหมายเพิ่มเติมอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนี้

ช่วยทำความเข้าใจจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้

Keyword Research จะช่วยให้รู้ว่าผู้ใช้งานกําลังมองหาอะไรบ้าง เพื่อนำมาปรับใช้กับเนื้อหาและการตลาดออนไลน์ให้ตรงจุด ทําให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

ช่วยทำความเข้าใจกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์ออนไลน์

จากการวิเคราะห์ Keyword ที่ผู้ใช้งานค้นหา จะช่วยให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น เพื่อนําไปพัฒนาเนื้อหาและกลยุทธ์การตลาดให้ตรงใจและดึงดูดใจผู้อ่านได้ดีที่สุดนั่นเอง

ช่วยเพิ่มยอดขาย

การวิเคราะห์ Keyword ทําให้รู้ถึงความสนใจและพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถนําไปพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายได้

ช่วยระบุเทรนด์ใหม่ๆ ในตลาด

จากคีย์เวิร์ดที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้น จะช่วยให้ธุรกิจรับรู้ถึงเทรนด์ใหม่ๆ ในตลาด หรือความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งช่วยให้สามารถปรับกลยุทธ์ให้ทันสมัยได้อยู่เสมอ

ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ บนตลาดออนไลน์

การวิเคราะห์ Keyword ทําให้เห็นช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่มีใครเคยได้ทำ ช่วยให้ธุรกิจให้ได้โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและเติมเต็มความต้องการของลูกค้าได้

ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์

การใช้คําหลักที่ผู้ใช้งานกําลังค้นหา จะช่วยให้แบรนด์และเนื้อหาปรากฏในหน้าผลการค้นหา สร้างการจดจําและการรับรู้ให้กับแบรนด์ได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

ช่วยวางแผนคอนเทนต์ในระยะยาว

ข้อมูล Keyword Research จะช่วยให้วางแผนกลยุทธ์ และทิศทางการสร้างเนื้อหาในระยะยาว ซึ่งจะเชื่อมโยงกับความต้องการของตลาดได้นั่นเอง

ทำ Keyword Research อย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ

ทำ Keyword Research อย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ

การทํา Keyword Research เป็นสิ่งที่สําคัญมากๆ สําหรับการทําเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ และประสบความสําเร็จ โดยสามารถทําตามขั้นตอนง่ายๆ ได้ ดังนี้

1. สร้างลิสต์รวบรวม Keyword

เริ่มต้นด้วยการสร้างลิสต์เพื่อรวบรวมคําหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตัวเอง โดยอาจมาจากการสังเกตคําที่ลูกค้าใช้ค้นหา หรือสร้างทีมที่ช่วยแชร์ไอเดียดีๆ ซึ่งลิสต์รายชื่อนี้ควรมีจํานวนพอเพียง แบบที่ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

2. แบ่งกลุ่ม Keyword ตามหัวข้อ

แบ่งกลุ่มคําค้นหาออกเป็นหมวดหมู่ เช่น หมวดสินค้า หมวดบริการ หรือหมวดแคมเปญ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการวางแผนกลยุทธ์

3. อย่าลืมพิจารณาจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้

นอกจากคําค้นหาแล้ว อย่าลืมว่าจะต้องพิจารณาด้วยว่าแต่ละคํานั้น ผู้ใช้มีเป้าหมายในการค้นหาอย่างไร เช่น ผู้ใช้ต้องการซื้อสินค้า หาข้อมูล หรือแค่อยากรู้จักแบรนด์ เป็นต้น

4. หาไอเดียจาก Related Search

Related Search เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ Google ใช้แนะนําคําค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคําหลักที่กําลังค้นหา เพื่อที่จะได้ไอเดียในการสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เนื้อหาน่าสนใจ แตกต่าง และสร้างประโยชน์ให้กับผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อค้นหาคำว่า ตลาดหลักทรัพย์ ตรงส่วน Related Search จะแสดงคําค้นอย่างเช่นคำว่า ดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์ หุ้นไทย หรือข่าวตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นคําที่ผู้คนมักจะค้นหาต่อจากคําหลักนั่นเอง

5. ใช้เครื่องมือค้นหา Keyword Research ที่ถนัด

Keyword Research ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สําคัญของการทํา SEO เพราะจะช่วยให้รู้ว่าคนกำลังค้นหาอะไรบ้าง และช่วยให้สามารถนำคำเหล่านั้นมาใช้เป็นคีย์เวิร์ดสําหรับเว็บไซต์ได้

โดยเครื่องมือที่แนะนําสําหรับ Keyword Research มีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

  • Google Keyword Plan: เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ช่วยแสดงปริมาณการค้นหา
  • SEMrush: ใช้สำหรับดู Keyword คู่แข่ง ปริมาณการค้นหา หรือความยากง่ายในการแข่งขัน
  • Ubersuggest: ใช้เพื่อหาคําแนะนําจากคีย์เวิร์ดหลัก สามารถใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • Answer the Public: ช่วยแสดงคําถามและคําตอบที่เกี่ยวข้อง
  • Google Trends: ใช้สำหรับดูสถิติการค้นหาคําต่างๆ

สรุป

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ Keyword Research ไปแล้ว คราวนี้ถึงเวลาที่ต้องเริ่มต้นค้นหา Keyword Research ด้วยตัวเองเพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นแล้ว อย่าลืมว่าควรเลือก Keyword ที่มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ และมี Volume ที่เหมาะสมกับแบรนด์ ไม่ต่ำเกินไปและไม่สูงเกินไป เพื่อให้สามารถเข้าไปลงแข่งขัน และมีโอกาสชนะคู่แข่ง จนทำให้การค้นหาขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ได้

หากกำลังสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก แต่ยังไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญทางด้าน SEO ไว้ใจให้ Minimice เป็นตัวเลือกในการทำการตลาดของคุณได้เลย เพราะที่นี่ได้รวบรวมผู้ที่มีความรู้ด้านการทำการตลาดออนไลน์ การันตีด้วยรางวัลระดับโลก และลูกค้าที่เป็นธุรกิจชั้นนำจากทั่วประเทศ

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Keyword Research

เมื่อได้ทำความรู้จักกับ Keyword Research ไปแล้ว ทาง Minimice จึงได้รวบรวมเอาคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Keyword Research มาตอบคำถาม และไขข้อข้องใจให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น ดังนี้

1. จัดการทำ Keyword Research ได้อย่างไร?

การจัดการทํา Keyword Research สามารถทําได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

  • กําหนดวัตถุประสงค์หลักของเว็บไซต์ให้ชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการหาคําหลักที่เกี่ยวข้อง
  • ใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Google Keyword Planner หรือ Ubersuggest ในการหา Keyword Ideas
  • จัดทํารายการ Keyword ที่เกี่ยวข้องให้เป็นหมวดหมู่ เช่น คีย์เวิร์ดหลัก คีย์เวิร์ดรอง และคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันต่ํา เป็นต้น
  • คัดเลือก Keyword จากรายการตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากยอดค้นหาและ Volume ที่คนใช้

2. กฎ 80/20 ในการทำ Long-tail Keywords คืออะไร?

กฎ 80/20 ในการทํา Long-tail Keywords คือ แนวคิดที่แนะนําให้ใช้ Long-tail Keywords ประมาณ 80% และ Short-tail Keywords ประมาณ 20%

เหตุผลที่แนะนําให้เน้น Long-tail Keywords คือ

  • มีการแข่งขันต่ํา 
  • เป็นคําที่ผู้ใช้งานใช้ในการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง จึงตรงกับความต้องการมากกว่า 
  • ช่วยเพิ่มอัตราการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ได้ดี เพราะเป็นคําที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ

กฎ 80/20 จึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้ SEO มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น

3. ยิ่งการแข่งขันน้อย ค่าใช้จ่ายในการทำ Keyword ก็น้อย จริงไหม?

ในกรณีของ Long tail Keyword ยิ่งการแข่งขันน้อย ค่าใช้จ่ายในการทำคีย์เวิร์ดก็จะยิ่งน้อย เพราะเป็นคีย์เวิร์ดที่การแข่งขันในตลาดน้อย จึงทำให้ค่าใช้จ่ายบน Google Ads โดยรวมน้อยกว่า Keyword ทั่วๆ ไป

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง