Niche Market คืออะไร? ในโลกของการตลาด กลุ่มธุรกิจรายใหญ่ หรือกลุ่มทุนหนา มักมีโอกาสถือครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากกว่ากลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การสั่งผลิตสินค้าจำนวนมากทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ จึงกำหนดราคาขายถูกลงได้ เป็นต้น ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ รายย่อย หรือมีเงินทุนไม่มาก การลงแข่งขันในตลาดใหญ่ที่มีการแข่งขันดุเดือดอาจยังไม่เหมาะสม การทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Marketing จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก บทความนี้จะพาไปรู้จักว่า Niche Market คืออะไร พร้อมทั้งคำแนะนำทำอย่างไรให้การทำ Niche Marketing ของธุรกิจประสบความสำเร็จ และครองใจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
ทำความรู้จักกับ Niche Market คืออะไร
Niche Market คือ ตลาดเฉพาะกลุ่ม เป็นส่วนหนึ่งของตลาดขนาดใหญ่ (Mass Market) ลูกค้ากลุ่มนี้มักมีความต้องการสินค้า หรือบริการที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า Mass Market โดยการทำการตลาดสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มนี้จะเรียกว่า Niche Marketing ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจถือครองส่วนแบ่งทางการตลาดส่วนหนึ่งจากตลาดใหญ่ โดยไม่ต้องลงแข่งขันกับกลุ่มธุรกิจรายใหญ่นั่นเอง
ลักษณะของ Niche Market เป็นอย่างไร
Niche Market คือ ตลาดขนาดเล็กที่ลูกค้ามีความต้องการสินค้า หรือบริการแบบเฉพาะเจาะจง โดยลูกค้ากลุ่มนี้มักเชื่อว่าสินค้า หรือบริการนั้นๆ สามารถช่วยแก้ไขปัญหา ตอบสนองความต้องการ มีความจำเป็น และมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต จึงไม่ลังเลที่จะซื้อในทันทีที่ต้องการ เช่น แม้ว่ามีโรงแรมเปิดให้บริการจำนวนมาก แต่โรงแรมที่เปิดให้สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ด้วย ก็สามารถตอบสนองความต้องการของคนรักสัตว์ที่ต้องการพาสัตว์เลี้ยงตัวโปรดเดินทางด้วยได้ดีกว่า หรือธุรกิจการผลิต และจัดจำหน่ายเสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ มักตอบโจทย์ความต้องการของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงหลังคลอดที่ต้องการสวมใส่เสื้อผ้าที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับคุณแม่ เป็นต้น
ความสำคัญของ Niche Market
Niche Market คือ ตลาดที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากการที่ลูกค้ากลุ่มนี้มีขนาดเล็ก และมีความต้องการเฉพาะเจาะจง จึงมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อย มีกำไรต่อหน่วยสูง มีต้นทุนในการทำการตลาดที่ต่ำ อีกทั้งการที่คู่แข่งน้อย จึงไม่มีการขายตัดราคา และที่สำคัญคือลูกค้ามีความสนใจ และต้องการสินค้า หรือบริการนั้นๆ อยู่แล้ว จึงมักตัดสินใจซื้อทันทีโดยไม่ต้องเปรียบเทียบราคาก่อน
ก่อนทำ Niche Marketing ต้องแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน
การที่ลูกค้าในกลุ่ม Niche Market มีขนาดเล็ก จึงทำให้ระบุเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ธุรกิจสามารถสื่อสารสินค้า หรือบริการให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก แต่ก่อนเริ่มต้นวางแผนกลยุทธ์การตลาด ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถออกแบบ และวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ตามข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
- ข้อมูลทางจิตวิทยา (ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม)
- ฐานข้อมูลประชากร (อายุ ระดับรายได้ เพศ ระดับการศึกษา)
- ระดับคุณภาพ (พรีเมียม ปานกลาง สูง)
- ราคา (สูง ส่วนลด ขายส่ง)
กลยุทธ์การตลาดแบบ Niche Marketing
การทำ Niche Marketing ให้เข้าถึง Niche Market มีกลยุทธ์ในการทำดังนี้
1. วิเคราะห์ตลาด และกลุ่มลูกค้าอย่างถี่ถ้วน
การทำการตลาดแบบ Niche Marketing จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ตลาดอย่างถี่ถ้วน เพื่อสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม Niche Market ได้อย่างตรงจุด โดยมีขั้นตอนดังนี้
- Competitor Analysis เป็นการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งทางตรง และทางอ้อม เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน รวมถึงโอกาสในการแข่งขัน แล้วนำเอาข้อมูลมาวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
- Develop Buyer Personas เป็นการกำหนด หรือสร้างต้นแบบที่เป็นตัวแทนของคนที่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ เพื่อให้การวางแผนการตลาดได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- Social Listening Tools เป็นการใช้งานเครื่องมือที่ช่วยรับฟัง Feedback จากลูกค้าผ่านการ Monitor ดูความเคลื่อนไหวทางสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น TikTok, Instagram, Facebook ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การใช้ Hashtag หัวข้อสนทนาโต้ตอบกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงสินค้า หรือบริการ ตลอดจนการออกแบบแคมเปญการตลาดให้มีประสิทธิภาพ
2. รู้กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่ง
วิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดของคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกัน โดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อได้เปรียบ เพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ และพัฒนาจุดขายโดยการสร้างความโดดเด่น และแตกต่าง
ตัวอย่างกลยุทธ์
- การทำ Content Marketing สื่อสารข้อความ รูปภาพ หรือวีดีโอที่ตรงกับพฤติกรรม และความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์
- การทำ SEO และ SEM โดยเลือกใช้ Keyword ที่เหมาะสม หากต้องการทำให้มีประสิทธิภาพ และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ลองมองหามืออาชีพด้านการทำ Digital Markerting อย่าง Minimice Group ที่พร้อมให้คำแนะนำ และช่วยเหลือแบรนด์ หรือธุรกิจในการทำ SEO และ SEM การันตีผลลัพธ์ภายใน 90 วัน โดยมีทีมงานมืออาชีพ มาเป็นตัวช่วยทำให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วได้
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่ง โดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าด้วยการบริการที่ดีและจริงใจ ควบคู่ไปพร้อมกับการทำ CRM ที่ดี เพื่อรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ นอกจากเพิ่มความภักดีต่อแบรนด์แล้ว ยังทำให้เกิดการบอกปากต่อปาก ส่งผลให้ธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างการทำ CRM
- การทำ Customer Personas เป็นการเก็บรายละเอียดข้อมูลของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ละเอียดมากที่สุด เช่น อายุ เพศ ภูมิลำเนา การศึกษา ศาสนา ความชอบ หรือความสนใจ ยิ่งข้อมูลมีความละเอียดเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแม่นยำ และสามารถสื่อสารไปถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สร้าง Customer Journey เพื่อดูเส้นทางการซื้อสินค้า หรือบริการของลูกค้า พร้อมทั้งมอบหมายบุคลากรในทีมให้คอยดูแล และมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดตลอดเส้นทางการซื้อสินค้า หรือบริการ
เลือกช่องทาง และสื่อให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
มองหาช่องทางในการสื่อสาร และสร้างการรับรู้แบรนด์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างตรงจุด โดยเมื่อจัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าว่าเป็นใคร และใช้งานสื่อประเภทใดแล้ว จึงทำการสื่อสารแคมเปญการตลาดผ่านทางช่องทางที่กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ใช้งาน
ตัวอย่างการเลือกสื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายวัยทำงาน และวัยรุ่น ส่วนใหญ่ท่องโลกออนไลน์ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควรสื่อสารผ่านทางแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ
- กลุ่มลูกค้าสูงวัย การสื่อสารผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ ถือว่าเหมาะสม และยังได้ผลดีอยู่
พยายามสร้าง Brand Loyalty แก่ลูกค้า
หัวใจสำคัญของ Niche Market คือ การสร้าง Brand Loyalty หรือความภักดีต่อแบรนด์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และให้ผลในระยะยาว โดยการเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี สร้างความเชื่อมั่น ช่วยแก้ไขปัญหาด้วยการให้บริการที่ดีเยี่ยม การพัฒนาคุณภาพของสินค้า และการทำ CRM
เมื่อลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในแบรนด์ก็จะเกิดการซื้อซ้ำโดยไม่เปลี่ยนใจไปซื้อกับแบรนด์อื่นที่ขายสินค้าลักษณะเดียวกัน เกิดการสนับสนุนในทุกๆ กิจกรรมของแบรนด์ และยังเป็น Brand Ambrassador ให้กับธุรกิจ โดยการบอกปากต่อปาก และชักชวนให้คนอื่นมาซื้อสินค้า หรือบริการอีกด้วย ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นยอดขาย และลดต้นทุนทางด้านการตลาดได้ในระยะยาว
ตัวอย่างการสร้าง Brand Loyalty
- เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี โดยการให้ความสำคัญด้านการบริการในทุกเส้นทางการซื้อสินค้า หรือบริการตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และการให้บริการหลังการขาย
- ฟังเสียงของลูกค้า โดยเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแบรนด์ แล้วนำเอามาพัฒนาปรับปรุง ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วม และเกิดความประทับใจ
พัฒนาและปรับปรุงบริการหรือสินค้าให้เป็นที่ต้องการอยู่เสมอ
ธุรกิจต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงสินค้า หรือบริการให้ทันตามเทรนด์อยู่เสมอ และไม่หยุดอยู่กับที่ เพื่อตอบสนองความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างทันท่วงที
โดย Niche Product คือ สินค้า หรือบริการเฉพาะกลุ่ม เป็นกลุ่มที่น่าจับตามอง และเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน เพราะมีโอกาสในการขยายตัวได้ดี หลายธุรกิจจึงมีการพัฒนาสินค้า และบริการกลุ่มนี้กันมากขึ้น
ตัวอย่างการพัฒนาสินค้าของ Niche Product
- การพัฒนาเก้าอี้นั่งที่ออกแบบให้รองรับสรีระได้ดีมากยิ่งขึ้น สำหรับเกมเมอร์ที่ต้องใช้ชั่วโมงในการนั่งเล่นเกมนานๆ ทำให้สามารถนั่งเล่นได้นานขึ้นโดยลดผลกระทบที่มีต่อร่างกาย
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบบออร์แกนิก โดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่ไม่ชอบการใช้สารเคมี และรักษ์โลก
- การทำประกันสัตว์เลี้ยง ตอบโจทย์กลุ่มคนรักสัตว์ที่ต้องการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงแสนรัก
ความแตกต่างระหว่าง Niche Market กับ Mass Market
Mass Market คือ ตลาดใหญ่ที่ผลิตสินค้า หรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไป ไม่สามารถระบุกลุ่มลูกค้าได้ชัดเจน ส่วนตลาด Niche Market คือ ส่วนหนึ่งของตลาดใหญ่ ที่ผลิตสินค้า และบริการแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม สามารถกำหนด และเลือกกลุ่มเป้าหมายลูกค้าได้ชัดเจน โดยทั้งสองตลาดมีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันดังนี้
ข้อดีและข้อเสีย ของตลาด Mass Market
ข้อดี
- มีกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ จึงเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเป็นวงกว้าง
- มีโอกาสในการปิดการขายได้เร็ว และง่ายกว่า
- ธุรกิจมีโอกาสขยาย และเติบโตได้ง่ายกว่า
ข้อเสีย
- การแข่งขันสูง และต้องแข่งขันกับธุรกิจรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง
- โอกาสในการขยายตัวของธุรกิจช้า หากสินค้าไม่มีจุดเด่น หรือความแตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่มีมากมายในท้องตลาด
- วางกลยุทธ์ทางการตลาดค่อนข้างยาก เพราะมีสินค้าแบบเดียวกันในตลาดอยู่ก่อนแล้ว
ข้อดีและข้อเสีย ของตลาดแบบ Niche Market
ข้อดี
- เนื่องจากเป็นสินค้าสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จึงมีคู่แข่งทางการตลาดน้อย
- วิเคราะห์ และคาดเดากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ง่าย เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความสนใจที่คล้ายกัน
- สร้างการรับรู้ของแบรนด์ได้ง่าย และตรงจุดกว่า เนื่องจากขนาดของกลุ่มลูกค้าที่ไม่ใหญ่มาก
ข้อเสีย
- ธุจกิจเติบโตช้า เนื่องจากกลุ่มลูกค้ามีขนาดเล็ก กำลังซื้อจึงจำกัด
- เป้าหมายเล็ก ต้องเล็งให้โดน จึงต้องวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้ละเอียดรอบคอบ หากไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า โอกาสประสบความสำเร็จก็มีน้อย
ประโยชน์ของการตลาดแบบ Niche Marketing
Niche Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ธุรกิจเข้าใจในความต้องการสินค้า หรือบริการที่เฉพาะเจาะจงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และสามารถสื่อสารออกไปหากลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยการทำการตลาดแบบ Niche Marketing มีประโยชน์ต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
- เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์ การที่กลุ่มลูกค้ามีขนาดเล็ก จึงช่วยให้การสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าระหว่างแบรนด์ และลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ มักกลายมาเป็นผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ และกลับมาซื้อซ้ำอีกจนกลายเป็นลูกค้าประจำ
- คู่แข่งในธุรกิจลดลง ยิ่งสินค้า หรือบริการของธุรกิจมีจุดขายที่โดดเด่น มีความแตกต่างจากคู่แข่ง และมีความเฉพาะเจาะจงมากเพียงใด คู่แข่งทางการตลาดก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้น
- ควบคุมงบประมาณได้ง่ายขึ้น เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าของโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่างๆ ทำให้แบรนด์ หรือธุรกิจเรียนรู้ความต้องการ และพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และรวดเร็ว ทำให้ควบคุมการใช้งบประมาณในการทำการตลาดได้ดี และไม่สูญเปล่า
สรุป
Niche Market คือ ตลาดเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มลูกค้าขนาดเล็ก และระบุกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน เพราะลูกค้ามีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง มีต้นทุนในการทำการตลาดที่ต่ำ แต่มีกำไรต่อหน่วยสูง อีกทั้งยังมีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อย ทำให้ไม่มีการขายตัดราคา เพราะลูกค้ามีความสนใจ และต้องการสินค้า หรือบริการนั้นๆ อยู่แล้ว จึงมักตัดสินใจซื้อทันทีโดยไม่ต้องเปรียบเทียบราคาก่อน
FAQ – คำถามที่พบบ่อย
ต้องระวังปัญหาอะไรบ้างเมื่อทำการตลาดใน Niche Market
ก่อนทำการตลาดแบบ Niche Marketing ต้องวิเคราะห์ตลาด Niche Market ที่เหมาะสม ไม่จำเพาะเจาะจงมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ได้ลูกค้ากลุ่มเล็กมาก จนไม่สามารถขยายธุรกิจได้
ต้องใช้ช่องทางการตลาดใดบ้างในการเข้าสู่ Niche Market
สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่ม Niche Market ได้ทั้งช่องทางแบบออนไลน์ เช่น Facebook มักมีการสร้างกลุ่มของผู้คนที่มีความสนใจที่เหมือนกัน ที่ตรงกับธุรกิจของเรา เช่น กลุ่มสาวพลัสไซส์ กลุ่มคนรักการเดินป่า หรือ โปรโมตสินค้าแบบออฟไลน์ เช่น ซื้อพื้นที่ติดป้ายโฆษณาในร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นต้น
ทำไมควรปรับกลยุทธ์ตลาดให้เหมาะสมกับ Niche Market
เนื่องจาก Niche Market คือ กลุ่มลูกค้าขนาดเล็กที่มีความต้องการแบบเฉพาะเจาะจง ไม่เหมือน Mass Market จึงต้องมีการวิเคราะห์ตลาดให้รอบคอบ และปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสม การทำการตลาดจึงจะมีประสิทธิภาพ
ทำไมถึงต้องเน้น Niche Market ในการทำธุรกิจ
เพราะ Niche Market มีคู่แข่งขันทางการตลาดน้อย มีกำไรต่อหน่วยสูง ไม่มีการขายตัดราคา มีต้นทุนในการทำการตลาดที่ต่ำ ลูกค้ามีความสนใจ และต้องการสินค้าและบริการอยู่แล้ว จึงมักตัดสินใจซื้อทันทีโดยไม่ต้องเปรียบเทียบราคาก่อน จึงมีโอกาสที่ธุรกิจมีการเติบโตได้ดี