Engagement Rate คืออะไร ตัวชี้วัดการตลาดออนไลน์ มีเท่าไรถึงจะดี?

Engagement Rate คืออะไร ตัวชี้วัดการตลาดออนไลน์ มีเท่าไรถึงจะดี?

Table of Contents

KEY TAKEAWAYS

  • Engagement Rate คือ อัตราการมีส่วนร่วม ที่ User มีต่อเนื้อหา หรือแคมเปญโฆษณาที่ได้สื่อสารออกไป โดยพิจารณาจากการกดไลก์ กดแชร์ การแสดงความคิดเห็น การมี Reaction การส่งข้อความ หรืออีเมล การกดคลิก Internal Link การเลื่อนอ่านข้อมูล การกดเข้าชมวิดีโอ หรือการใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์
  • สร้าง Engagement Rate บนเว็บไซต์ได้โดยการตรวจสอบความเร็วของเว็บไซต์ ตรวจสอบปัญหาทางเทคนิคของ SEO ตรวจสอบองค์ประกอบ On-Page ของ SEO ปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับสมาร์ตโฟน และให้ความสำคัญกับ Internal Link เป็นต้น
  • สร้าง Engagement Rate ฝั่งโซเชียลได้โดยการโพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ ใช้ภาพ หรือวิดีโอคุณภาพดี ติดตามกระแสเทรนด์อยู่เสมอ สร้างจุดเด่น และรักษาเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองเอาไว้ สร้างเนื้อหาให้น่าสนใจ และคอนเทนต์ต้องกระชับ ไม่ซ้ำใคร เป็นต้น

เชื่อว่านักการตลาดดิจิทัลต้องรู้จัก หรือเคยใช้งาน Google Universal Analytics ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อวางแผนการตลาด รวมทั้งสร้างแคมเปญโฆษณาและเนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างแน่นอน ในปัจจุบัน Google ได้มีการอัปเดตเวอร์ชันใหม่เป็น Google Analytics 4 (GA4) ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

โดย GA4 สามารถแสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าได้ชัดเจน และละเอียดรอบด้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลดีอย่างมากต่อการทำการตลาดออนไลน์ โดยเฉพาะการทำแคมเปญโฆษณา และสร้างคอนเทนต์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นโดยอัตราการมีส่วนร่วม (Engagement Rate) หรือการมีปฏิสัมพันธ์ของ User ที่มีต่อเนื้อหา เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ใน GA4  โดนจะมีบทบาทสำคัญต่อการทำการตลาดออนไลน์อย่างไร มีความน่าสนใจ และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้ได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้ว

Engagement Rate คืออะไร?

Engagement Rate คืออะไร?

Engagement Rate คือ อัตราการมีส่วนร่วม หรือมีปฏิสัมพันธ์ของ User ที่มีต่อเนื้อหา หรือแคมเปญโฆษณาที่เราสื่อสารออกไป โดยคำนวณจากทุกกิจกรรมการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกดไลก์ กดแชร์ การแสดงความคิดเห็น การมี Reaction การส่งข้อความ หรืออีเมล การกดคลิก Internal link การเลื่อนอ่านข้อมูล การกดเข้าไปดูวิดีโอ หรือแม้แต่การไม่ทำกิจกรรมใดๆ แต่ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ที่นานพอก็ได้เช่นกัน

ความสำคัญของ Engagement Rate

ความสำคัญของ Engagement Rate

Engagement Rate เป็นตัวชี้วัดว่าเนื้อหา และโฆษณาที่สื่อสารออกไปนั้นได้รับความสนใจ และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด โดยยิ่งมีค่า Engagement Rate สูง ยิ่งแสดงให้เห็นว่าเนื้อหานั้นมีความน่าสนใจ ตรงกับความต้องการ สร้างประโยชน์ และมีคุณค่า User จึงเกิดการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ ขึ้น 

ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ เกิดการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้คน เกิดการบอกต่อ หรือเพิ่มการมองเห็นมากขึ้นผ่านการแชร์ จนเกิด Conversion จากผู้ชมกลายมาเป็นลูกค้า เกิดการซื้อสินค้า หรือบริการ ส่งผลให้ธุรกิจมีการเติบโตมากขึ้นในที่สุด

ซึ่ง Engagement Rate สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

Engagement Rate Website

Engagement Rate ของเว็บไซต์ เป็นตัวชี้วัดระดับการมีส่วนร่วมของ User บนเว็บไซต์ มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเข้าใจได้ว่าลูกค้ามีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเว็บไซต์ดีเพียงใด และให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญว่า ส่วนไหนของเว็บไซต์ทำงานได้ดี และส่วนไหนจำเป็นต้องมีการปรับปรุง นอกจากนี้ ยังช่วยให้แบรนด์อีคอมเมิร์ซเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม และความชอบของลูกค้า ซึ่งสามารถช่วยแนะนำกลยุทธ์การตลาดได้อีกด้วย

Engagement Rate Social

สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีการลงโฆษณา จะสามารถเข้าถึงข้อมูล Engagement Rate ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น อัตราการมีส่วนร่วมของ Facebook ที่สามารถคำนวณได้โดยการหารการมีส่วนร่วม (การถูกใจ การคลิก การแชร์) สำหรับโพสต์ หรือโฆษณาด้วยจำนวนการแสดงผล ในส่วนนี้จะช่วยให้เข้าใจได้ว่า โพสต์บนโซเชียลมีเดียของคุณทำงานได้ดีเพียงใด และถูกใจผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้ามากน้อยแค่ไหน

Engagement Rate เว็บไซต์ใน GA4

Engagement Rate เว็บไซต์ ใน GA4

สำหรับคนที่อัปเดตเป็น GA4 แล้วจะเห็นว่า ส่วนของ Bounce Rate (อัตราที่ User เข้ามาในเว็บไซต์แล้วปิดหน้าต่าง หรือกดกลับไปทันที) ซึ่งเคยมีอยู่ใน Universal Analytics เวอร์ชันเดิมนั้นจะไม่มีแล้วใน GA4 

โดยใน Google Analytics 4 หรือ GA4 เวอร์ชันใหม่นี้ ได้มีการเปลี่ยนจาก Bounce Rate เป็น Engagement Rate แทน ซึ่งจะมีเพิ่มเติมในส่วนของ 

  • Engagement Session คือ จำนวนเซสชันที่กินเวลานานกว่า 10 วินาที หรือมีการดูข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างน้อย 2 หน้า
  • Engagement Session per user คือ ค่าเฉลี่ยของจำนวน Engagement Session ต่อ User ในช่วงเวลาที่เลือก

การคำนวณ Engagement บนเว็บไซต์

การคำนวณ Engagement บนเว็บไซต์ สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตร

Engagement Rate = (Engaged Sessions / Total Sessions) * 100

  • Engagement Session คือ จำนวนการมีส่วนร่วมทั้งหมด
  • Total Session คือ จำนวน Session ทั้งหมด

ข้อดี ได้ค่าที่แม่นยำ เพราะเป็นจำนวน User ที่เข้ามีส่วนร่วมในเว็บไซต์จริง

การวิเคราะห์ Engagement ใน GA4

หากต้องการวิเคราะห์ Engagement ใน GA4 จะมีขั้นตอนในการเริ่มต้นการวิเคราะห์ ดังนี้

  1. เข้าไปที่ GA4 และไปที่ Reports ในเมนูด้านซ้ายมือ
  2. เลือก Acquisition เลือกในส่วนของ Traffic acquisition หรือ User acquisition 
  3. จะปรากฎข้อมูลในส่วน Engagement Rate ในสรุปรายงาน เพื่อทำความเข้าใจอัตราการมีส่วนร่วมของ User โดยรวมของเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น
  4. ใช้กราฟ User Engagement เพื่อระบุแนวโน้มของอัตราการมีส่วนร่วมในช่วงเวลาหนึ่ง และพิจารณารูปแบบ หรือความผันผวน
  5. แบ่งกลุ่มข้อมูลอัตราการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ Source/Medium หรือ Device Category เพื่อทำความเข้าใจว่า แหล่งที่มาของการเข้าชม และอุปกรณ์ต่างๆ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของ User อย่างไร

ด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุง และพัฒนากลยุทธ์ ที่จะกำหนดเป้าหมาย เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของ User และเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์โดยรวมนั่นเอง

การเพิ่ม Engagement Rate เว็บไซต์ ให้มีประสิทธิภาพ

การเพิ่ม Engagement Rate เว็บไซต์ ให้มีประสิทธิภาพ

หากต้องการเพิ่มค่าของ Engagement Rate ให้ดีขึ้น สามารถทำได้ด้วยการทำ SEO ให้มีคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตรวจสอบความรวดเร็วของเว็บไซต์

ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ User เข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้เร็วขึ้น หากเปิดหน้าเว็บไซต์มาแล้วใช้เวลาโหลดเข้านานมาก อาจทำให้ User ออกจากเว็บไซต์ทันที และกดเข้าไปชมเว็บไซต์อื่นๆ แทน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ Search Algorithm เข้าใจได้ว่าเว็บไซต์ของเรานั้นไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือไม่มีประโยชน์ ทำให้การทำ SEO ได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ดี

ตรวจสอบปัญหาทางเทคนิคของ SEO

ควรมีการตรวจสอบ และแก้ไขในส่วนของ Response Code ทั้ง Temporary Redirection หรือ Server Error อย่างสม่ำเสมอ หาก User เปิดเข้ามาเจอไม่เจอเนื้อหา แต่เป็น 404 Not Found อาจส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ได้

ตรวจสอบองค์ประกอบของ On-Page SEO

ตรวจสอบ และปรับแต่งองค์ประกอบของ On-Page SEO ให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม และสะดวกต่อการใช้งาน เช่นพัฒนาคุณภาพของบทความ การเลือกใช้ Keyword ชื่อเว็บเพจบนหน้า Google (SEO Title) การใส่ Heading Tag เพื่อให้ง่ายต่อการลำดับความสำคัญของเนื้อหา เป็นต้น

ปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใช้งานในสมาร์ตโฟน

ในยุคสมัยที่มีผู้คนเข้าใช้งานเว็บไซต์ผ่านทางสมาร์ตโฟนมากขึ้น เว็บไซต์จึงควรแสดงผลบนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนได้อย่างเหมาะสม โดยต้องตรวจสอบว่าสามารถใช้งานได้ดีเมื่อเปิดใช้งานผ่านมือถือหรือไม่ เช่น ตัวอักษรไม่เล็กจนเกินไป หรือตัวป๊อปอัพใหญ่เกินไปจนบังเนื้อหา เป็นต้น

อย่าลืมให้ความสำคัญกับ Internal Link

การเพิ่ม Internal link ไปยังบทความอื่นๆ จะช่วยให้ User ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์นานขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ลิงก์บทความนี้ต้องจัดให้มีความเกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับบทความนั้นๆ ด้วย ยิ่งเป็นลิงก์ที่มีประโยชน์มากเท่าไรก็ยิ่งดึงดูดให้ User ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของเรานานมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นการช่วยให้ผลลัพธ์ของการทำ SEO ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

Engagement Rate ฝั่งโซเชียล

Engagement Rate ฝั่งโซเชียล

อัตราการมีส่วนร่วมของฝั่งโซเชียล คือจำนวนการถูกใจ ความคิดเห็น การแชร์ และการโต้ตอบ หารด้วยจำนวนผู้ติดตามบนเพจ สิ่งนี้จะช่วยให้ได้รู้ว่าแต่ละโพสต์ได้รับการปฏิสัมพันธ์มากน้อยแค่ไหน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงเท่าไร คุณก็จะมีโอกาสมีส่วนร่วมกับโพสต์ในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งอัตราการมีส่วนร่วมสูงเท่าไร คุณก็จะมีโอกาสดึงดูดลูกค้าใหม่ และทำให้แบรนด์แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น 

การคำนวณ Engagement จากโซเชียล

การคำนวณ Engagement จาก Ads หรือ Campaign โฆษณา ทำได้โดยใช้สูตร 

Engagement Rate = (Total Engagement / Total Reach) * 100

  • Total Engagement คือ จำนวนครั้งของการมีส่วนร่วมทั้งหมด เช่น Reaction, Like, Shares
  • Total Reach คือ จำนวนครั้งของการมองเห็นโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม : ความแตกต่างระหว่าง Impression vs Reach vs View

ข้อดี เหมาะกับคอนเทนต์แบบจ่ายเงินเพื่อเพิ่มยอดการมองเห็น และต้องการวัดประสิทธิผลของแคมเปญโดยอาศัยพื้นฐานของจำนวนการมองเห็น

ข้อเสีย ค่าที่ได้จากการคำนวณ ใช้จำนวนครั้งของการมองเห็น ซึ่งมักให้ค่าที่ต่ำกว่าการคำนวณแบบ ERR และ ER เพราะค่า Reach และ Impression มักมีจำนวนที่ไม่สอดคล้องกัน

วิธีเพิ่ม Engagement Rate บนโซเชียล ให้น่าสนใจ ถูกใจผู้ชม

วิธีเพิ่ม Engagement Rate บนโซเชียล ให้น่าสนใจ ถูกใจผู้ชม

ในปัจจุบัน การสร้างคอนเทนต์ มีการแข่งขันกันสูงมาก และเพื่อสร้างยอด Engagement พร้อมดึงความสนใจให้คนอื่นๆ สนใจคอนเทนต์ของคุณ มาดูเทคนิคแต่ละข้อกัน!

  1. อัปเดตคอนเทนต์สม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 โพสต่อสัปดาห์ เพราะหากจะสร้างการรับรู้แบรนด์ จำเป็นต้องมีความสม่ำเสมอในการสร้างคอนเทนต์ เพื่อที่จะเพิ่มการมองเห็น สร้างจุดเด่น ให้ User สามารถมองเห็น และผันตัวมาเป็นลูกค้าของคุณได้
  2. ใช้ภาพและวิดีโอคุณภาพดี เพราะรูปภาพ หรือวิดีโอ เป็นส่วนแรกที่ User ให้ความสนใจ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการสร้างคอนเทนต์ การทำภาพ หรือวิดีโอให้มีคุณภาพ ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะสามารถดึงดูด User ได้
  3. ตามเทรนด์อยู่เสมอ เพราะผู้คนมักไหลไปตามเทรนด์ และเทรนด์ใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา การอัปเดตคอนเทนต์ตามเทรนด์ ก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะสามารถเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ได้ดี 
  4. รักษาเอกลักษณ์ของตัวเองไว้ แม้การติดตามกระแสนิยมจะเป็นการช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การสร้างคอนเทนต์โดยยึดเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองไว้ ก็เป็นเทคนิคอีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะทำให้คุณอยู่บนเส้นทางนี้ได้อย่างยาวนาน เพราะหากคุณมีความโดดเด่นที่แตกต่าง ใครก็ลอกเลียนแบบไม่ได้ ความสนใจก็จะตกมาอยู่ที่แบรนด์ของคุณนั่นเอง
  5. สร้างเนื้อหาให้น่าสนใจ เพราะหากคอนเทนต์ของคุณเป็นอะไรที่ลอกของคนอื่นมา หรือเป็นคอนเทนต์ที่ทำให้ User ต้องอดทนอ่าน จะยิ่งทำให้แบรนด์ไม่เป็นที่น่าสนใจ การมีศิลปะการเล่าเรื่องจึงสำคัญ เพราะหากการเล่าเรื่องของคุณเข้าถึงความรู้สึกของ User ได้ การตัดสินใจซื้อก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย 
  6. เนื้อหากระชับ ไม่ซ้ำใคร เพราะไม่มีใครอยากเสพคอนเทนต์ยาวๆ และไม่มีความโดดเด่นมากพอ เช่น คอนเทนต์แนววิชาการ หากเขียนโดยไม่คำนึงถึงผู้อ่าน ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหานั้นดูเหมือนหนังสือสอบ แต่ถ้าย่อยเนื้อหาส่วนยากๆ ให้มีความน่าสนใจขึ้นมาได้ ก็จะยิ่งให้ User สนใจแบรนด์ของคุณมากขึ้น

Engagement Rate ไม่ใช่แค่มี แต่ต้องดีด้วย

ค่าเฉลี่ยของ Engagement Rate ที่ดีบนโซเชียลมีเดีย ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 1-5% ในขณะที่บนเว็บไซต์ ควรมีค่าอยู่ระหว่าง 60-70% ทั้งนี้การประเมินว่า Engagement Rate ดีหรือไม่ต้องเอาปัจจัยหลายอย่างมาพิจารณาด้วย 

เช่น เป้าหมายของแคมเปญที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มต่างๆ ลักษณะของสินค้า และบริการ ประเภทของกลุ่มธุรกิจ และ User โดยอาจวิเคราะห์ได้จากการเปรียบเทียบค่า Engagement Rate ของแคมเปญชุดเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน หรือดูค่า Engagement Rate ของแคมเปญชุดเดียวกันบนสื่อโซเชียลมีเดียที่แตกต่างกัน เป็นต้น

Engagement Rate นำไปใช้อะไรได้บ้าง

Engagement Rate นำไปใช้อะไรได้บ้าง

นักการตลาดสามารถนำเอา Engagement Rate ไปใช้ได้ ดังนี้

  • ใช้เป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกว่าเนื้อหา หรือแคมเปญโฆษณาตัวไหนที่ได้รับความสนใจจาก User โดยดูจากแคมเปญที่มี Engagement Rate สูง แสดงว่าเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น หรือขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้
  • บอกได้ว่าคอนเทนต์ หรือโฆษณาใดที่ควรได้รับการทบทวน และปรับปรุงใหม่ โดยดูจากคอนเทนต์ หรือแคมเปญที่มี Engagement Rate ต่ำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคอนเทนต์นั้นไม่มีความน่าสนใจ หรือไม่ตอบโจทย์ความต้องการ
  • Engagement Rate แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของ User ที่มีต่อสินค้า และบริการ รวมทั้งแคมเปญใหม่ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ช่วยให้เจอ User ที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แท้จริงของแบรนด์ได้

สรุป

การตลาดดิจิทัลเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่นักการตลาดใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ สร้างยอดขาย รวมถึงสร้างการเติบโตทางธุรกิจผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ซึ่งนักการตลาดต้องหันมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการตลาดดิจิทัลมีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ เพิ่มจำนวน User เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ และทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด 

ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ หากต้องการประสบความสำเร็จภายใต้การแข่งขันที่สูงในปัจจุบัน จึงต้องทำการตลาดทั้งรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย เพราะธุรกิจที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองไปตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ก็มีแต่จะถูกทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวอยู่ภายหลัง

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Engagement การตลาด

วันนี้ทาง Minimice ได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับ AI Writer หรือ AI ช่วยเขียนบทความมาตอบคำถามเพื่อให้รู้จักกับ AI Writer มากยิ่งขึ้น ดังนี้

Engagement Rate คืออะไร แตกต่างจาก Bounce Rate ยังไง?

Bounce Rate แสดงอัตราของ User ที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเราแล้วกดปิด หรืออกจากหน้าเว็บไซต์ทันที โดยไม่มีส่วนร่วมใดๆ

Engagement Rate เป็นอัตราการมีส่วนร่วม หรือมีปฏิสัมพันธ์ของ User ที่มีต่อเนื้อหา

Reach Facebook คืออะไร?

Reach Facebook คือจำนวน User ที่เห็นคอนเทนต์ทุกครั้งที่มีการโพสต์ ซึ่งตัวเลขมาจากการกด Like การคอมเมนต์ จำนวนการ Click และการตอบรับในเชิงลบ รวมถึงยอด Engagement ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของ Reach Facebook ก็จะรวมถึง Page, Post Viral, Organic Reach และ Piad Reach ด้วย

การเข้าถึงลูกค้าแบบ Organic คืออะไร?

Organic Marketing คือกลยุทธ์ทางการตลาด มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการเผยแพร่คอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้าได้อย่างธรรมชาติ มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ได้ในระยะยาว โดย User สามารถมีส่วนร่วมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น การทำ SEO การสร้างคอนเทนต์อย่างบทความ หรือวิดีโอ การทำอีเมลมาร์เก็ตติ้ง เป็นต้น

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง