Table of Contents

Categories

Recent Posts

on-page seo

กลยุทธ์ On-Page SEO คืออะไร มีวิธีการทำแบบไหน ให้มีประสิทธิภาพ

Table of Contents

สำหรับการทำ SEO นั้น จำเป็นต้องมีองค์ประกอบมากมาย เพื่อให้ทำได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญคือ On-Page SEO ซึ่งเป็นการปรับแต่งต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ติดอันดับการค้นหาแรกๆ ใน Google ได้

หากยังไม่รู้จักหรือเคยได้ยินเรื่อง On-Page SEO มาบ้าง แต่สนใจอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า On-Page SEO คืออะไร อยากใช้กลยุทธ์นี้กับเว็บไซต์ของตนเองต้องทำอย่างไร ส่วนประกอบของ On-Page SEO มีอะไรบ้าง ไปจนถึงทำแบบไหนถึงจะออกมามีประสิทธิภาพที่สุด ติดตามทั้งหมดได้ในบทความนี้เลย

on-page seo คืออะไร

On-Page SEO คืออะไร

On-page SEO ที่ในบางครั้งก็มีการเรียกว่า On-Site SEO คือกระบวนการหรือวิธีปฏิบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับส่วนต่างๆ ของเนื้อหาในหน้าเว็บ เพื่อให้อันดับในการค้นหาสูงขึ้นและได้รับการเข้าชมจากการค้นหามากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหา ชื่อเรื่อง ลิงก์ภายใน (Internal Link) และ URL เป็นต้น

ทำไม On-Page SEO ถึงได้มีความสำคัญ

เมื่อเราทำ On-Page SEO แล้ว เครื่องมือค้นหาอย่าง Google จะพิจารณาคีย์เวิร์ดและสัญญาณ SEO ในหน้าอื่นๆ เพื่อตรวจสอบว่าหน้านั้นตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้งานหรือไม่ และหากเครื่องมือค้นหาตัดสินใจแล้วว่าหน้าเว็บจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ก็จะสามารถแสดงผลในผลการค้นหาที่สูงขึ้นได้

โดยอัลกอริทึมของ Google นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ Google ยังคงให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้ Google มีการแนะนำแบบเน้นไปที่ “เนื้อหาที่ให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นอันดับแรก” ความหมายก็คือ การสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานนั้นมีความสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด

ส่วนประกอบของ on-page seo

ส่วนประกอบของ On-Page SEO มีอะไรบ้าง

On-Page SEO เป็นมากกว่าการเพิ่มคีย์เวิร์ดเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ เพราะ Google จะเริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลหรือประเมินหน้าในเว็บไซต์ก่อน จากนั้นจึงทำการจัดทำดัชนีของหน้านั้น โดยมีการใช้ปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน รวมไปถึงปัจจัย On-Page SEO เพื่อกำหนดว่าหน้านั้นเกี่ยวกับอะไรและควรจัดลำดับอย่างไร หาก Google ตัดสินใจจัดทำดัชนีหน้าเว็บ ก็จะสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่าน Google Search ได้ แต่ไม่มีการรับประกันว่าทุกหน้าจะได้รับการแสดงผลในการค้นหา จึงจำเป็นต้องมีการจัดแต่งเว็บไซต์ เพื่อใช้สื่อสารกับ Google ว่าเว็บไซต์ของเรานั้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดยส่วนประกอบของ On-Page SEO ที่ควรปรับแต่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพและอันดับในการค้นหาดีขึ้นมีดังนี้

เขียนเนื้อหาให้เกี่ยวข้องและโดดเด่นไม่ซ้ำใคร

หนึ่งในส่วนประกอบของ On-Page SEO ที่มีหน้าที่สำคัญที่สุด คือการสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงให้ออกมาตรงกับความตั้งใจในการค้นหาของผู้อ่าน เริ่มต้นด้วยการค้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องและกำหนดเป้าหมายของคีย์เวิร์ด เมื่อได้คีย์เวิร์ดแล้ว จึงมาถึงเวลาที่จะสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงและเหมาะสมที่สุด 

  • นำคีย์เวิร์ดมาใช้ในเนื้อหาอย่างเป็นธรรมชาติ (หลีกเลี่ยงการพยายามใส่หรือยัดเยียดคีย์เวิร์ดในจำนวนที่เยอะเกินไป)
  • ตรวจดูให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่สร้างมานั้นตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของคีย์เวิร์ดเป้าหมาย
  • เขียนเนื้อหาในเชิงตอบคำถามอย่างเต็มที่ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่มาค้นหาข้อมูล
  • พยายามเขียนเนื้อหาให้โดดเด่นและไม่ซ้ำใคร นำเสนอข้อมูลที่คู่แข่งไม่มี
  • รวมเนื้อหาที่เป็นรูปภาพเข้าไปด้วย

วางคีย์เวิร์ดเป้าหมายอย่างมีกลยุทธ์

เมื่อมีคีย์เวิร์ดเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงเวลาวางกลยุทธ์สำหรับเนื้อหา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบของ On-Page SEO ที่สำคัญ จากที่ Google จะสแกนเนื้อหาเพื่อดูว่าในหน้านั้นๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ผู้อ่านก็จะทำเช่นเดียวกันกับ Google ดังนั้นส่วนสำคัญที่ควรใส่คีย์เวิร์ดลงไปจะมี 

  • H1 หรือหัวข้อหลัก
  • ย่อหน้าแรก
  • หัวข้อย่อย (H2, H3, H4 …)

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ Google ได้รับรู้เกี่ยวกับหัวข้อของหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงผู้ใช้งานที่จะสามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าหน้านั้นๆ ตอบโจทย์หรือตรงจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้งานหรือไม่

เพิ่มประสิทธิภาพให้กับชื่อเรื่องหรือหัวข้อ

การทำ On-Page ให้ได้ประสิทธิภาพ ชื่อเรื่องหรือหัวข้อก็มีผลมากๆ เพราะชื่อเรื่องนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโค้ด HTML ที่ระบุว่าชื่อเรื่องของเว็บไซต์คืออะไร โดยมีการแสดงชื่อในเครื่องมือค้นหา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย และแท็บเบราว์เซอร์ นอกจากนี้ชื่อเรื่องยังเป็นปัจจัยในการจัดอันดับ รวมถึงสามารถมีอิทธิพลต่อการที่ผู้ใช้งานจะตัดสินใจคลิกเว็บไซต์อีกด้วย

วิธีตั้งชื่อเรื่องให้มีประสิทธิภาพ

หากอยากให้ชื่อเรื่องให้มีประสิทธิภาพ ยังมีเคล็ดลับที่ทำตามได้ดังนี้

  • ตั้งให้สั้นเข้าไว้ โดยแนะนำให้มีชื่อเรื่องที่ยาวประมาณ 50 – 60 ตัวอักษร หรือไม่เกิน 580 px เพื่อที่ Google จะได้ไม่ตัดออก เมื่อเว็บไซต์ขึ้นหน้าค้นหา
  • ใส่คีย์เวิร์ดเป้าหมายรวมไปด้วย เพื่อให้ทั้ง Google และผู้ใช้งานได้ทราบว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
  • ทำให้เป็นเอกลักษณ์ หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อเรื่องซ้ำ เพื่อให้ Google ได้ทราบจุดประสงค์ที่ชัดเจนของเว็บไซต์ และผู้ใช้งานก็จะได้รู้ด้วยว่ากำลังคลิกเข้าไปดูอะไรบ้าง

เขียนคำอธิบายหลักให้น่าสนใจ

คำอธิบายหลัก (Meta Describtion) ก็เป็นอีกส่วนประกอบของ On-Page SEO ที่ขาดไปไม่ได้ เป็นส่วนที่อยู่ใน HTML ใช้อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์อีกที โดยปกติแล้วจะแสดงบน SERP ภายใต้ชื่อเรื่อง แม้คำอธิบายหลักจะไม่ได้มีผลต่อการจัดอันดับของ Google โดยตรง แต่อาจเป็นหนึ่งปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ใช้งานที่กำลังคิดว่าจะคลิกหน้าเว็บของคุณหรือเลือกไปหน้าเว็บอื่น ซึ่งสิ่งนี้หมายความว่าสามารถกระตุ้นปริมาณการค้นหาได้มากขึ้นไปอีก

หากคำอธิบายหลักนี้ไม่ตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้งานหรือเนื้อหาไม่ตรงกับข้างในแล้วล่ะก็ Google อาจเลือกคำอธิบายมาแสดงบน SERP เองได้

วิธีเขียนคำอธิบายให้ตรงวัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ Google เลือกคำอธิบายหลักที่เตรียมเอาไว้ นี่จึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ควรทำ

  • คำนึงถึงอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ โดยการตัดทอนคำอธิบายหลัก หลังจากมีความยาวประมาณ 120 ตัวอักษร  หรือ 990 px
  • รวมคีย์เวิร์ดเป้าหมายเอาไว้ในคำอธิบายหลักด้วย จุดนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่าเว็บไซต์ที่เจอนั้นตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาหรือไม่ ซึ่ง Google จะทำให้คีย์เวิร์ดเป็นตัวหนา (และคำที่ใกล้เคียงกับความหมายของคีย์เวิร์ด) ที่ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้อีกด้วย ซึ่งทำให้โดดเด่นดึงสายตาและสามารถเพิ่มจำนวนคลิกได้
  • ควรเขียนคำอธิบายเป็นแบบ Active Voice กล่าวคือเป็นผู้พูดอธิบายเอง เพื่อช่วยประหยัดพื้นที่และสื่อสารข้อความของคุณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • เพิ่ม CTA (Call to Action) ให้ดึงดูดผู้ใช้งานด้วยวลี CTA เช่น ทดลองใช้ฟรี หรือ ดูข้อมูลเพิ่มเติม เป็นต้น

ใช้หัวข้อและหัวข้อย่อยเพื่อจัดโครงสร้างเว็บไซต์

เมื่อพูดถึงการทำ On-Page จะไม่พูดถึงเรื่องหัวข้อเลยก็ไม่ได้ เพราะ H1 และส่วนหัวข้อย่อยที่เหลือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถอ่านหน้าเว็บได้อย่างง่ายดาย และอนุญาตให้ Google เข้าใจลำดับเนื้อหาของเว็บอีกด้วย ดีกว่าการอ่านหน้าเว็บที่ไม่มีหัวข้อที่มีการจัดระเบียบ หัวข้อยังช่วยให้ Google เข้าใจโครงสร้างของเว็บได้ดีขึ้น และมีการพิจารณาว่าเว็บนั้นตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาของผู้ใช้งานหรือไม่ ซึ่งสามารถช่วยให้เว็บไซต์ได้มีอันดับสูงขึ้นสำหรับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง 

สามารถใช้คีย์เวิร์ดและรูปแบบต่างๆ ของคีย์เวิร์ดในส่วนของหัวข้อ เพื่อให้ Google รับรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างของหน้าเว็บและข้อมูลที่ครอบคลุม โดยการเขียนหัวข้อ ให้ใช้ H1 เป็นชื่อเรื่อง และใส่ H2 เพื่อครอบคลุมหัวข้อย่อย หากต้องการครอบคลุมเนื้อหาในรายละเอียดเพิ่มเติม ให้ใช้ H3, H4 เป็นต้น

เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ URL

Google มักแนะนำให้ใช้ URL แบบง่ายๆ ไม่ดูลึกลับ น่ากลัว หรือกล่าวได้อีกนัยคือควรใช้คำที่เกี่ยวกับเนื้อหา เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ว่าเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร ไม่ควรสุ่มเป็นตัวเลข วันที่เผยแพร่ หรือประโยคเต็ม ธีมของเว็บไซต์มักจะใช้ธีมเหล่านี้เป็นค่าเริ่มต้น ดังนั้นการอัปเดต URL ก่อนเผยแพร่จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการใช้คีย์เวิร์ดเป้าหมายใน URL เป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้แน่ใจว่า URL ที่เป็นส่วนประกอบของ On-Page SEO นั้นตรงกับหัวข้อของเนื้อหา 

  • URL ที่ไม่เป็นมิตรอาจมีลักษณะดังนี้

www.minimicegroup.co.th/folder2/2023/08/newpage-16082023.html

  • สามารถอัปเดตให้เป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นได้ดังนี้

www.minimicegroup.co.th/articles/on-page-seo.html

ใส่ลิงก์ภายใน (Internal Link)

ลิงก์ภายในคือไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) ที่พาไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์เดียวกัน เหตุผลที่ลิงก์ภายในเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ On-Page SEO มีดังนี้

  • ช่วยให้เครื่องมือค้นหาเข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์และรู้ว่าแต่ละหน้ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
  • ช่วยให้โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของ Google ได้ค้นพบและพาไปยังหน้าใหม่ๆ ได้
  • เป็นการส่งสัญญาณให้ Google ทราบว่าหน้าเว็บที่เชื่อมโยงนั้นมีค่า
  • ช่วยให้ผู้ใช้งานได้นำทางผ่านเว็บไซต์ (และเก็บไว้ในไซต์ได้นานขึ้น)

การเพิ่มลิงก์ภายในจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง เป็นสัญญาณบอกกับ Google ว่าหน้าเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน และช่วยให้ Google เข้าใจว่าหน้าต่างๆ ตรงกับความตั้งใจในการค้นหาของผู้ใช้งานหรือไม่ จึงเป็นส่วนช่วยในการจัดอันดับในการค้นหา

ใส่ลิงก์ภายนอก (External Link)

ส่วนประกอบของ On-Page SEO อีกอย่าง นอกจากลิงก์ภายในก็ยังมีลิงก์ภายนอก ซึ่งคือลิงก์ในไซต์ที่พาไปยังไซต์อื่นๆ ข้างนอก ที่ลิงก์ภายนอกมีความสำคัญเนื่องจากช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้งานและสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ได้ จากตรงนี้ก็มีการถกเถียงกันว่าลิงก์ภายนอกส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับได้หรือไม่ แต่ Google ได้กล่าวไว้ว่าการเพิ่มลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลภายนอกที่น่าเชื่อถือเป็นวิธีที่ดีในการให้คุณค่าแก่ผู้ใช้งาน และการมอบประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่ดีเสมอ จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ใส่ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ หลักการทั่วไปคือการเชื่อมโยงไปยังแหล่งที่มา แต่อาจจะใส่ลิงก์ภายนอกอื่นๆ ได้เช่นกัน

รวบรวมและปรับรูปภาพให้เหมาะสม

อีกส่วนประกอบของ On-Page SEO คือการใส่รูปภาพ โดยใส่รูปภาพในเนื้อหาไปด้วยจะช่วยเพิ่มโอกาสในการจัดอันดับใน Google Images ซึ่งคิดเป็น 22.6% ของการค้นหาทั้งหมด นี่จึงเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์ จุดเริ่มต้นที่ดีในการเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพคือการเขียนข้อความแสดงแทนที่มีคำอธิบายสำหรับรูปภาพเหล่านั้น 

Alt text (Alternative text) คือข้อความแสดงแทนที่รวมอยู่ในโค้ด HTML ที่อธิบายรูปภาพบนหน้าเว็บ มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ ใช้สำหรับซอฟต์แวร์รวบรวมข้อมูลของเครื่องมือค้นหา และ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอสามารถฟังคำอธิบายรูปภาพได้

วิธีเขียน Alt text ที่เหมาะสม

เคล็ดลับในการเขียน Alt text ที่ดีมีดังนี้

  • เขียนให้สั้นเข้าไว้ เพราะโปรแกรมอ่านหน้าจอหยุดอ่านข้อความแสดงแทนหลังจากที่มีตัวอักษรประมาณ 125 ตัว
  • รวมคีย์เวิร์ดเป้าหมายไว้ด้วย ใส่ไว้ตามบริบท อย่าพยายามสแปมคีย์เวิร์ดเป้าหมายจนเกินไป
  • อย่าเพิ่ม Alt text ในรูปภาพตกแต่ง กราฟิก เช่น ตัวแบ่งหน้าในแนวนอน แว่นขยายในแถบค้นหา ฯลฯ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมอยู่แล้ว
  • อย่าใส่ว่า “รูปของ” หรือ “ภาพของ” เพราะ Alt text บอกเป็นนัยว่ากำลังอธิบายรูปภาพอยู่ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเสียจำนวนตัวอักษรไปในวลีเหล่านี้

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของรูปภาพในเนื้อหา

นอกเหนือจากการเพิ่ม Alt text ที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมแล้ว ต่อไปนี้คือวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพรูปภาพที่เพิ่มในเนื้อหา

  • เขียนชื่อไฟล์ที่เป็นคำอธิบาย เนื่องจาก Google เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของหน้าเว็บผ่านชื่อไฟล์ คำอธิบายภาพ และอื่นๆ ยกตัวอย่างหากตั้งเป็น brown-dog.jpg จึงมีประโยชน์มากกว่าชื่อทั่วไปอย่าง IMG201.jpg
  • ในการบีบอัดรูปภาพ ให้ใช้ตัวเลือกที่เป็นการบีบอัดรูปภาพฟรี เพื่อบีบอัดรูปภาพให้โหลดได้รสดเร็วขึ้น และยังสามารถใช้การโหลดแบบขี้เกียจ ซึ่งจะบอกให้เว็บเบราว์เซอร์รอโหลดรูปภาพก่อน จนกว่าผู้ใช้งานจะเลื่อนไปดูที่รูปภาพนั้นๆ

เครื่องมือช่วยเช็ค on-page seo

เครื่องมือช่วยเช็ก On-Page SEO

การจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของ Google ไม่ใช่แค่สตรีมตามอย่างง่ายดาย เพราะยังมีงานมากมายที่ต้องดำเนินการ แต่ยังดีที่มีเครื่องมือตรวจสอบ SEO ในหน้าเว็บที่จะคอยช่วยเหลือ โดยมีเครื่องมือดังนี้

  • SEO Tools: สามารถทดลองใช้งานฟรีได้จากเว็บไซต์ เช่น Ahrefs และ Semrush เรียกใช้การตรวจสอบที่ครอบคลุมบนเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบ On-Page SEO, Off-Page SEO และทางเทคนิค สิ่งเหล่านี้ดีที่สุดสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ที่รู้ว่าควรมองหาอะไรและจะอ่านผลลัพธ์อย่างไร
  • WordPress Plugins: เครื่องมือที่ชื่อว่า Yoast ซึ่งจะให้คะแนนและคำแนะนำเกี่ยวกับความสามารถในการอ่านและการกำหนดคีย์เวิร์ดเป้าหมายสำหรับเนื้อหา
  • Website Graders: เครื่องมือเหล่านี้เป็นมิตรกับผู้ที่เริ่มต้นใช้งานมากขึ้น เครื่องมือให้คะแนนเว็บไซต์ฟรีของ LOCALiQ จัดทำรายงาน โดยอธิบายว่าผลลัพธ์มีความหมายอย่างไรและจัดลำดับความสำคัญของรายการดำเนินการให้
  • SERP Snippet Checker: เป็นเครื่องตรวจสอบคำในการตั้งชื่อเรื่องหรือคำอธิบายหลักให้ไม่เกิน คำ หรือ Pixel ที่ Google กำหนด ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เปิดให้ใช้ฟรีของทาง Minimice group

วิธีการประเมิน on-page seo

วิธีการประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ On-Page SEO

เมื่อทราบข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ On-Page SEO แล้ว สามารถประเมินประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ โดยสามารถใช้เครื่องมือเพื่อตรวจสอบเว็บไซต์หรือดูหน้าแยกต่างหากด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับความต้องการ หากเลือกที่จะดูด้วยตนเองก็สามารถใช้เกณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพ On-Page SEO ได้ โดยมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

  • ยังใช้คีย์เวิร์ดในทุกๆ หน้าหรือไม่ คีย์เวิร์ดเหล่านี้ทำให้มีผู้เข้าชมหรือไม่ 
  • ได้มีการเชื่อมโยงหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์เข้าด้วยกันหรือไม่ นี่อาจเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เข้าชมเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยการคลิกเพียงเดียวหรือสองครั้ง
  • เว็บไซต์ของคุณโหลดเร็วหรือไม่ หรือบางหน้าอาจใช้เวลาในการโหลดนาน หากประสบปัญหาแบบนี้ ให้ค้นหาว่าปัญหาอยู่ที่ใด เว็บไซต์ที่โหลดช้าเป็นสิ่งที่ผู้เข้าชมทั้งคนและบอทไม่ชอบเอาเสียเลย
  • เว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาใหม่หรือไม่ อยู่มานานเป็นเวลากว่าหนึ่งหรือสองปีแล้วหรือเปล่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือยังคงเกี่ยวข้องอยู่ไหม

ประโยชน์ของการทำ on-page seo

ประโยชน์ของ On-Page SEO

On-Page SEO ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการทำ SEO หากทำอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ จะมีประโยชน์มากมายหลายประการ ทั้งกับคนและ Search Algorithm โดยมีประโยชน์ทั้งหมดดังนี้

ประโยชน์ต่อคน

การทำ On-page SEO แล้วออกมาดีและมีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาคำตอบได้เร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การตั้งชื่อเรื่อง คำอธิบายหลักที่อยู่ใต้ลิงก์ในหน้าการค้นหา จะทำให้ผู้ใช้งานรู้ว่าเว็บอาจจะมีคำตอบที่ตามหาหรือมีข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ส่วนเนื้อหาในเว็บไซต์ เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และอื่นๆ ก็เปรียบเสมือนคำตอบที่เว็บไว้ใช้ตอบคำถามให้กับคนที่ค้นหาข้อมูล ซึ่งจะใช่คำตอบที่ตามหาหรือคำตอบที่ให้จะมอบคุณค่า ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานได้ตามจุดประสงค์มากเท่าไรนั้น ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อหาแล้ว

ประโยชน์ต่อ Search Algorithm

มาต่อกันที่ประโยชน์ของ On-Page SEO ต่อ Search Algorithm ปกติแล้ว Google มักมองหาความเกี่ยวข้องและคุณภาพ เพื่อเลือกเว็บไซต์ที่จะสามารถตอบคำถามให้กับผู้ใช้งานได้ดีที่สุด โดยมีการปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงกับสิ่งที่คนค้นหา ในจุดต่างๆ ตั้งแต่ใน ชื่อเว็บ คำอธิบายเว็บ และลิงก์ที่ปรากฏบนหน้าการค้นหา หรือตรงส่วนประกอบอื่นๆ ที่ Search bot จะค้นหาเจอและเข้าใจได้ง่าย

นอกจากนี้ ยังรวมถึงคุณภาพและรูปแบบในการนำเสนอคอนเทนต์ ซึ่งหน้าเว็บควรที่จะเป็นมิตร ผู้ใช้งานควรอ่านเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย เพราะตรงนี้เป็นอีกสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ซึ่ง Search bot จะตีความจากตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่ใช้บนหน้าเพจ จำนวนหน้าที่ไปต่อในเว็บโดเมนเดียวกัน เป็นต้น

สรุป

On-Page SEO คือการเพิ่มประสิทธิภาพส่วนต่างๆ ของเนื้อหาในหน้าเว็บ เช่น เนื้อหา ชื่อเรื่อง ลิงก์ภายใน (Internal Link) และ URL เป็นต้น เพื่อให้อันดับในการค้นหาสูงขึ้น โดยควรใส่ใจไปกับแต่ละส่วนประกอบของ On-Page SEO เพราะเมื่อทำออกมาได้ดีแล้ว จะสามารถส่งผลดีได้ทั้งต่อคนคือผู้ใช้งานและต่อ Search Algorithm ซึ่งโดยรวมแล้วหากเว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาต้นๆ ด้วยเนื้อหาที่มีคุณภาพ จะทำให้ผู้ใช้งานถึงพอใจ Google มองว่าเว็บไซต์มีข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเรามีการเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น ก็อาจจะทำให้ธุรกิจมีคนสนใจ จนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากการทำ On-Page SEO ตรงนี้ได้ 

โดยผู้เริ่มต้นธุรกิจคนไหนกำลังสนใจที่จะเพิ่มอันดับในหน้าการค้นหาของ Google อยู่ แต่ยังไม่เข้าใจในบางส่วนประกอบของ On-Page SEO ก็สามารถใช้บริการหรือปรึกษาในการทำ On-Page  SEO กับทาง Minimice Group ได้ ด้วยประสบการณ์การทำ SEO ผ่านทีมผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ให้เราช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้เว็บไซต์กลับมาปรากฏอยู่ที่หน้าแรกของการค้นหาและมีคนเข้ามาอ่านบทความที่ทำไว้  เห็นผลลัพธ์ได้ด้วยการเติบโตของยอดขาย ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับการทำ on-page seo

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ On-Page SEO (FAQ)

 Minimice Group ได้รวมคำถามที่คนสงสัยหรือถามเข้ามาบ่อยเกี่ยวกับ On-Page SEO พร้อมคำตอบดังนี้

ทุกหน้าเว็บจำเป็นต้องมี On-Page SEO หรือเปล่า

ไม่จำเป็นที่ทุกหน้าเว็บจะต้องมี On-Page SEO อาจทำเฉพาะบางหน้าเว็บที่ต้องการให้ผู้ค้นหาได้เห็นก็พอ ให้เน้นการทำ On-Page SEO ไปกับหน้าเว็บที่มีสิ่งที่สามารถทำมูลค่าสูงสุดต่อธุรกิจ

หน้าเว็บที่ยาวเกินไปส่งผลเสียต่อ On-Page SEO ใช่ไหม

Google ไม่ได้มีค่ากำหนดสำหรับความยาวของหน้าเว็บ เพียงเตรียมเนื้อหาเอาไว้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ในการค้นหาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอยู่เสมอจะดีกว่า

การยัดเยียดคีย์เวิร์ดคืออะไร

เป็นการใช้คีย์เวิร์ดเป้าหมายมากเกินไปในเนื้อหาของหน้าเว็บ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอันดับสำหรับคำหลักนั้น ทาง Google ถือว่าเป็นเทคนิคสแปม อาจนำไปสู่ผลเสียได้ จากที่อยากให้อยู่หน้าแรกอันดับต้นๆ อาจจะไปอยู่ที่หน้าอื่นๆ แทน

นานแค่ไหนกว่า Google จะจัดอันดับให้กับเว็บ

Google สามารถจัดอันดับหน้าเว็บโดยใช้เวลาเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ หรือเดือน จากปัจจัยหลายอย่างที่เข้ามาเป็นตัวกำหนดระยะเวลาที่ SEO จะทำงาน รวมถึงความนิยมของเนื้อหา ข้อพิจารณาด้านเทคนิค งบประมาณในการรวบรวมข้อมูล และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง สำหรับเนื้อหาใหม่ ต้องมีเทคนิค SEO ที่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การจัดอันดับเร็วขึ้น

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง