หากจะกล่าวถึงเบื้องหลังความสำเร็จของเว็บไซต์ทั้งหลายที่ทำยอดขายได้อย่างถล่มทลาย นอกจากตัวสินค้า โปรโมชั่น และกลยุทธ์การตลาดจะดีแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคงหนีไม่พ้น อาชีพ SEO Specialist ที่ช่วยผลักดันให้ทุกแคมเปญการทำ Search Marketing สำเร็จได้ เพราะการทำ Search Engine Marketing ไม่ใช่แค่มีเว็บไซต์แล้วนำสินค้ามาขาย แต่ต้องมีคนที่เข้าใจธรรมชาติของการทำ SEO (Search Engine Optimization) ที่เป็นศาสตร์ของการผลักดันเว็บไซต์ให้ติดอันดับการค้นหาเป็นอันดับแรกๆ ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google, Youtube, Yandex และอื่นๆ เป็นอย่างดี ยิ่งบริษัทของคุณมีพนักงานหรือให้บริการเอเจนซี่การตลาดที่เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO เก่งๆ เข้ามาช่วยมากเท่าไหร่ ยอดขายและความมั่นคงทางธุรกิจก็มีเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกแบรนด์ที่มีหากต้องการเติบโต และเป็นที่จดจำของลูกค้า จะหันมาทำ SEO กัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องมาทำความรู้จักว่า อาชีพ SEO Specialist คืออะไร ทำอะไรบ้าง และสำหรับคนที่สนใจอยากทำงานในตำแหน่ง SEO Specialist ต้องเริ่มต้นอย่างไร ไปอ่านกันได้ในบทความนี้เลย
ตำแหน่ง SEO Specialist คืออะไร ทำไมจึงเป็นที่ต้องการตัว
SEO Specialist คือ ผู้เชี่ยวชาญในการปรับปรุงและเสริมประสิทธิภาพในการเข้าถึงเว็บไซต์ให้ค้นหาได้ง่ายมากขึ้นผ่าน Seach Engine ตัวอย่างที่จะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนคือ เมื่อมีคนค้นหาสินค้า A ด้วยคำค้นหาบางอย่าง (หรือที่เราเรียกกันว่าคีย์เวิร์ดนั่นแหละ) ผ่าน Google และเว็บไซต์ B เด้งขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ นี่คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนาและปรับแต่งเว็บไซต์จาก SEO Specialist
หากพูดถึงความนิยมของอาชีพ SEO Specialist ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นที่นิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยหากเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำ SEO มาอย่างยาวนานและมีความเชี่ยวชาญ ก็ยิ่งมีคุณค่าพร้อมที่จะเรียกเงินเดือนได้ค่อนข้างสูง เพราะอาชีพนี้เป็นการเปิดทางให้เหล่าลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายมากขึ้นผ่านการปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยคีย์เวิร์ดที่ลูกค้ามักเลือกใช้ในการค้นหาสินค้า ถ้าลูกค้าเห็น หรือเข้าถึงแบรนด์ได้ก่อน ก็มีโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะเลือกสินค้าของแบรนด์นั้นก่อนเช่นกัน
มาดูกันว่า SEO Specialist ทำอะไรบ้างในทุกๆ วัน
จากที่กล่าวมาเชื่อว่าหลายคนจะมีความเข้าใจว่า SEO Specialist คือ คนที่นำคีย์เวิร์ดมาเขียนบทความ หรือทำคอนเทนต์ให้กับเว็บไซต์ เพิ่ม Traffic จากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อเข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้นๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว SEO Specialist ยังมีหน้าที่อื่น และสิ่งที่ต้องทำประกอบร่วมด้วย ถ้าอยากรู้กันแล้วว่า SEO Specialist จะต้องทำอะไรบ้างในหนึ่งวัน ไปติดตามกันต่อได้เลย ดังนี้
1. Keywords Research ช่วยหาคำที่เหมาะกับเว็บไซต์และตอบ Intent ลูกค้า
จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ SEO Specialist จะต้องค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword Research) ให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจ โดยคีย์เวิร์ดจะมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ Generic Keyword, On Core Keyword และ Longtail Keyword ซึ่งเครื่องมือที่ SEO Specialist มักจะใช้สำหรับการค้นหาคีย์เวิร์ดได้แก่ Google Keyword Planner, Google Trends, Ubersuggest หรือ Social Listening Tools เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เป็นที่นิยม ใช้งานง่าย และครอบคลุมในการค้นหาคีย์เวิร์ดได้เป็นอย่างดี
2. On-page Optimization ปรับปรุงหน้าเพจเพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดี
ตรวจสอบ On-page หรือปัจจัยภายในให้เข้าใจภาพรวมและเห็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุงซึ่งเกิดขึ้นบน On-page หรือหน้าเว็บไซต์เสียก่อน เพราะ SEO Specialist จำเป็นที่จะต้องใช้คีย์เวิร์ดเขียนคอนเทนต์เพื่อสนับสนุนคอนเทนต์ และภาพรวมของเว็บไซต์ เพราะ SEO Specialist จะไม่ทำให้คีย์เวิร์ดที่จำเป็นของแบรนด์กระจุกอยู่ที่คอนเทนต์ใดคอนเทนต์หนึ่งแน่นอน เพื่อให้หน้าเว็บไซต์มีความเป็นธรรมชาติ และตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ รวมไปถึงช่วยปรับโครงสร้างและส่วนต่างๆ ให้ดีต่อผู้ใช้และปัจจัยการจัดอันดับของ Google ไม่ว่าจะเป็น Meta Tag หรือ Site Structure และอื่นๆ เป็นต้น
3. Off-page หรือ Link Building เพิ่มพลังและความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์และคีเวิร์ด
4. Content Audit ปรับปรุงบทความที่มีคุณค่าให้แก่ผู้อ่าน
ขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบ และวัดคุณภาพของคอนเทนต์ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ทั้งหมด ผ่านเครื่องมือ Google Analytics, Google Search Console, Screaming Frog หรือ Ahrefs ที่ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาของเว็บไซต์ก็เพื่อปรับปรุงเนื้อหาคอนเทนต์ทั้งหมดให้ไปในทิศทางที่ควร หรืออัปเดตคอนเทนต์ให้เกิดความสดใหม่ รวมถึงปรับเนื้อหาภาพรวมของคอมเทนต์ให้เหมาะสมกับเทรนด์ในปัจจุบัน
5. Technical Audit พัฒนาเว็บไซต์ให้น่าใช้และง่ายต่อผู้เข้าชม
ก่อนที่จะเริ่มทำ SEO จริงจัง นี่จะเป็นการตรวจสอบภาพรวมในทุกอย่างและทุกมิติก่อนที่จะวางแผน และเริ่มต้นการปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยศาสตร์ของ SEO ตามวิธีของ SEO Specialist สิ่งที่ตรวจสอบพื้นฐานได้แก่ On-page SEO, Off-page SEO, Sitemap, URL, Perfomance และ Broken Links เป็นต้น
6. รายงาน วิเคราะห์และปรับปรุงผลการทำ SEO
สุดท้ายคือ การสรุป และดูภาพรวมของเว็บไซต์ที่ได้รับโจทย์มา พร้อมกับวางเป้าหมายในการผลักดันเว็บไซต์ด้วยการวาง KPI โดยอาจจะเป็นรายเดือน หรือไตรมาสก็ได้ตามแผนการตลาด สิ่งนี้จะช่วยทำให้ SEO Specialist เห็นถึงพัฒนาการ และความผิดพลาดที่จำเป็นต้องพลิกแพลง และหาแพลนใหม่ในการแก้เกมในแต่ละสถานการณ์ เพราะการทำ SEO ที่ดีคือการติดตามผลลัพธ์อยู่เสมอ
ค่าตอบแทนของ SEO Specialist ดีไหมเมื่อเทียบกับตำแหน่งงาน Digital Marketing อื่นๆ
มาถึงเนื้อหาที่คาดว่าหลายคนน่าจะอยากรู้ และชวนให้ติดตามกันมาจนถึงจุดนี้นั้นก็คือ SEO Specialist เงินเดือนดีไหม เมื่อเปรียบกับสายงาน Digital Marketing ดีกว่าหรือไม่ และรายได้ SEO Specialist ในไทยกับต่างประเทศแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาส่วนนี้ได้รวบรวมมาไว้ทั้งหมดแล้ว
หากพูดถึงเงินเดือนของ SEO Specialist เรียกได้ว่าค่อนข้างมีความกว้างมาก โดยตามที่สำรวจในเว็บไซต์หางานจะมีการให้เรทเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 – 100,000 กันเลยทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบกับเรทเงินเดือน SEO Specialist ในต่างประเทศที่มีรายได้ต่อปีอยู่ราว ๆ $4,782 หรือแปลงเป็นเงินบาทจะเท่ากับ 181,405.17 บาทต่อเดือนกันเลยทีเดียว
ถ้ามองต่อในสายงานเดียวกันอย่าง Digital Marketing ที่จะประกอบไปด้วย Media Planner, Digital Marketing Analyst และ Digital Marketing Manager
Media Planner
ประสบการณ์ 1-5 ปี เงินเดือนประมาณ 30,000-40,000 บาท
ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนประมาณ 50,000-80,000 บาท
Digital Marketing Analyst
ประสบการณ์ 1-5 ปี เงินเดือนประมาณ 25,000-45,000 บาท
ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนประมาณ 50,000-85,000 บาท
Digital Marketing Manager
ประสบการณ์ 1-5 ปี เงินเดือนประมาณ 40,000-60,000 บาท
ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนประมาณ 65,000-100,000 บาท
จะสังเกตได้ว่าเรทเงินเดือนของ SEO Specialist ต่อให้ไม่ได้เป็นระดับ Manager ก็มีโอกาสได้รับเรทเงินที่เทียบเท่ากับเรทของระดับ Senior ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอายุในการทำงานเทียบเท่า หรืออาจจะมากกว่าระดับ Manager ของบางสายงานด้วยซ้ำ
งานท้าทายขนาดนี้ ถ้าอยากเริ่มต้นอาชีพ SEO Specialist ทำยังไงนะ?
สำหรับผู้อ่านคนใดที่เกิดสนใจ และอยากจะลองหาวิธีเริ่มต้นสำหรับการเป็น SEO Specialist ไม่ใช่เรื่องที่ยากและไกลเกินตัวแต่อย่างใด อาจจะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และริเริ่มได้เลยทันที โดยเนื้อหาส่วนนี้ได้รวบรวมแนวทางในการเป็น SEO Specialist ไว้ครอบคลุมสำหรับผู้สนใจให้ได้ลองสำรวจตัวเอง และลงมือทำเพื่อฝึกฝนพร้อมก้าวเข้าสู่เส้นทางของการทำ SEO
1. หาแหล่งความรู้
แรกเริ่มคือการหาความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO จาก SEO Specialist เพื่อให้เห็นถึงลำดับ และขั้นตอนที่เป็นสไตล์ในการทำงานที่แตกต่างกัน ถึงแม้รูปแบบในการทำ SEO จะมีลำดับ และสิ่งที่ต้องใส่ใจตามเนื้อหาข้างต้น แต่การศึกษาจากประสบการณ์ของผู้ลงมือจะมีหลายสิ่งที่ให้ผู้ศึกษาเก็บเป็นบทเรียน และประสบการณ์ให้ได้เดินตาม โดยหนึ่งในคลังความรู้เกี่ยวกับ SEO นี้คือที่ Minimice ของเรานั่นเอง ที่มี SEO Specialist หลายท่านมาหมุนเวียนแบ่งปันประสบการณ์ และแชร์เทคนิคให้แบบไม่มีกั๊ก
2. ลงมือทำและเก็บผลงานด้าน SEO
เมื่อศึกษา และเข้าใจขั้นตอนการทำ SEO แล้ว สิ่งที่จะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจกลไกและวิธีการทำ SEO จริงๆ คือการลงมือทำ เริ่มจากการทดลองเปิดเว็บไซต์ และทำคอนเทนต์ที่ใช้หลักการ SEO เพื่อดันให้หน้าเว็บไซต์นั้นติดอันดับแรกให้ได้มากที่สุด นี่จะเป็นการพิสูจน์ที่ดีเลยว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปนั้นเข้าใจจริงหรือไม่ พร้อมกับการมีผลงานเชิงประจักษ์ไว้ประดับพอร์ตอีกด้วย
3.เตรียมทักษะให้พร้อมรอบด้าน
การจะเป็น SEO Specialist ไม่ใช่ว่าจะมีความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO เพียงเท่านั้น แล้วจะสามารถเป็น SEO Specialist ที่ดีได้ เพราะการทำงานจริงในสายงานนี้นั้น ยังจำเป็นที่จะต้องมี Hard Skills และ Soft Skills ร่วมด้วย เพื่อให้ใครก็ตามที่สนใจอยากที่จะเป็น SEO Specialist มีความพร้อมในทุกด้านทั้งด้านความรู้ในสายงาน ทักษะเฉพาะทาง และทักษะจิตวิทยา และสังคม ซึ่งในส่วนนี้ได้รวบรวมทักษะที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเป็น SEO Specialist มาไว้ให้เป็นที่เรียบร้อย
Hard Skills
- ทักษะในการหาข้อมูล: ข้อมูลในที่นี่คือคีย์เวิร์ดผ่านการใช้เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการเจาะลึกคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งใช้งานเพื่อหาความได้เปรียบให้กับแบรนด์
- ทักษะภาษา Programming: เช่น HTML หรือ CSS ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ SEO Specialist ควรที่จะรู้ไว้ในเบื้องต้น เพื่อให้สามารถติดตามงาน หรือประสานงานกับทีมที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น Website Developer ได้ไม่ติดขัด
- ทักษะในการใช้เครื่องมือเฉพาะ: เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิเศษจำนวนมหาศาลในการทำ Keyword Research ไปจนการตรวจสอบด้านอื่นๆ หากได้ลองเสริมความรู้ส่วนนี้เข้าไป รับรองว่าจะช่วยให้คุณหางานและทำงานได้ง่ายขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
- ทักษะในการเขียน: จัดได้ว่าเป็นหน้าที่หลักของการทำ SEO ที่ไม่ใช่แค่การแทรกคีย์เวิร์ดในบทความ หรือคอนเทนต์ แต่ต้องผลิตงานที่กระจายคีย์เวิร์ดอย่างเป็นธรรมชาติให้ได้ บางที่ ตำแหน่ง SEO Specialist อาจไม่จำเป็นต้องเขียนหรือคิดคอนเทนต์ขึ้นมาด้วยตัวเอง แต่เมื่อมีความรู้ส่วนนี้ไว้ก่อนแล้ว ย่อมเพิ่มโอดาสที่มากกว่า และความเข้าใจที่มากขึ้นด้วยนั่นเอง
- ทักษะที่ใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน: สรุป และวิเคราะห์ว่าชิ้นงานที่ทำลงไป ไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน เพื่อหาวิธีการพัฒนา และปรับปรุงให้ผลงานไปได้ไกลมากที่สุด โดยอาจเตรียมตัวผ่านการเข้าเรียนได้ตามหลากหลายแพลต์ฟอร์มออนไลน์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค่อยๆ เรียนรู้วิธีการทำ SEO หรืออื่นๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องจาก Case Study ต่างๆ ที่มีการยกขึ้นมา
- ทักษะในการใส่ใจรายละเอียด: คุณสมบัติที่ขาดไม่ได้สำหรับ SEO Specialist ที่ต้องรอบคอบ และใส่ใจในทุกรายละเอียดที่อาจจะเป็นตัวแปรในการเพิ่ม Engagement ให้กับเว็บไซต์ได้ ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญมากๆ ที่จะทำให้การทำงานเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ไปตลอดจนไม่เกิดข้อผิดพลาดเลยนั่นเอง
Soft skills
- ทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคล: ถึงแม้ตำแหน่งนี้จะสามารถทำงานเป็นปัจเจกทั้งในการทำงานแบบ In-House หรือ Freelance แต่ SEO Specialist ก็ยังจำเป็นที่จะต้องรับ Feedback และพูดคุยกับนายจ้าง หรือส่วนงานต่างๆ
- ทักษะการมองภาพรวม: ก่อนที่ผู้ทำ SEO จะเริ่มลงมือ SEO Specialist จะต้องมองเห็นภาพรวมที่เป็นทั้งจุดเด่น และจุดด้อย เพื่อใช้สำหรับการวางแผน และการลงมือทำ SEO ก่อน
- ทักษะในการพึ่งพาตัวเอง: พื้นฐานของลักษณะงานที่เน้นการลงมือกับเทคโนโลยีเป็นหลัก ทำให้ทักษะการพึ่งพาตัวเองจึงสำคัญมาก เพราะเมื่อเราไม่สามารถผลักดันตัวเองให้มีความกระตือรือร้น หรือค้นหาความรู้ใหม่ๆ ได้ตลอดเวลาแล้วล่ะก็ อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้แน่นอน
- ทักษะในการเอาตัวรอด: งานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจำเป็นที่จะต้องไวและก้าวทันพร้อมที่จะก้าวหน้านำเทคโนโลยี ผู้ที่จะเป็น SEO Specialist จึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ นาทีนี้ ถ้าไม่เรียนรู้ที่จะเอาตัวและงานให้รอด ก็จะอยู่ยากแน่ๆ
SEO Specialist กับความก้าวหน้าในสายงานการตลาดดิจิทัล
Marketing Technology คือเครื่องมือ และระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อส่งเสริมการทำ Marketing โดยจะเป็นตัวช่วยในการวางแผน, ดำเนิน และวัดผลของแคมเปญการตลาด ซึ่งจะมีอีกชื่อเรียกที่เหล่านักการตลาดมักเรียกกันคือ MarTech
Marketing Technology for Social media
เส้นทางการเติบโตของ SEO Specialist จัดได้ว่าเป็นอีกเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจกันอย่างมาก รองลงมาจากเรื่องของเงินเดือน และยังมีความคลุมเครือสูง เนื่องจากอาชีพ SEO Specialist นั้นสามารถต่อยอดได้หลายสาย แต่ในส่วนนี้จะขอเจาะไปที่สาย Digital Marketing ว่าจาก SEO Specialist สามารถไปต่อในทิศทางใดได้บ้าง
- SEO Specialist: เส้นทางแรกเริ่มของวงการ SEO ช่วงเงินเดือนกว้าง และสามารถเติบโตได้จากประสบการณ์ และผลงาน
- SEO Analyst: ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และใช้เครื่องมือ Google Analytics ฯลฯ เพื่อปรับใช้ในการวางแผนการตลาดดิจิทัล
- SEO Manager: ผู้จัดการที่ต้องมีความเข้าใจ และเห็นภาพรวมของทั้งแคมเปญ เพื่อต่อยอด และผลักดันให้สำเร็จตามเป้าหมาย
- SEO Director: ผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำ SEO เป็นผู้กำหนด KPI และคอยทำ Report ผลงานแต่ละเดือน หรือไตรมาส เพื่อประเมินความสามารถในการทำ SEO และหาแผนแก้เกมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
การจะหา SEO Specialist ที่มีคุณภาพ มาช่วยทำงาน หาจากที่ไหน หายากไหมนะ?
นักธุรกิจหรือใครที่กำลังมองเห็นประโยชน์และความสำคัญของการทำ SEO นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดธุรกิจและสายอาชีพได้ดีในระยะยาวมากๆ แต่การจะทำ SEO นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะของ SEO Specialist ที่มีประสบการณ์ และมากความสามารถ ที่ Minimice เรามีทีม Specialist ที่พร้อมซัพพอร์ตทุกความต้องการของธุรกิจคุณ นอกจากนี้ เรายังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่น่าสนใจและตอบโจทย์ทุกธุรกิจได้อย่างลงตัว ติดต่อเข้ามาได้เลยที่ info@minimicegroup.com หรือคลิกเลยที่นี่ เพื่อติดต่อเรา !
หรือถ้านักอ่านคนไหนอ่านมาถึงตรงนี้และสนใจจะเป็น SEO Specialist และร่วมงานกับเรา อย่าช้าที่จะลองเรียนรู้ และทำความเข้าใจศาสตร์ของ SEO Specialist พร้อมทั้งสมัครได้เลยวันนี้ ที่ hr@minimicegroup.com เพื่อให้ทั้งแบรนด์ และผู้อ่านก้าวนำเหนือทุกเทรนด์การตลาด
FAQ – คำถามที่พบบ่อย
อยากเป็น SEO specialist เริ่มศึกษาได้ที่ไหน
แหล่งความรู้เกี่ยวกัย SEO มีเยอะมากทั้งไทยและต่างประเทศ หากเป็นผู้เริ่มต้นสามารถเข้าไปอ่านที่ Blog ของ Minimice ฟรีได้เลย หรือของต่างประเทศก็จะเป็น hubspot, semrush, Neil Patels, Moz เป็นต้น
จะหาประสบการณ์การทำ SEO ได้จากที่ไหน?
ขั้นตอนที่ง่ายที่สุดคือเริ่มต้นทำเว็บไซต์ของตัวเอง จากนั้นลองหาคีเวิร์ดและวางแผนการทำคอนเทนต์ลงเว็บไซต์ จากนั้นลองฝึกติดตามและวัดผลด้วย Search console, Google Analytics
ความท้าทายระหว่าง In-house และ Digital Agency Seo specialist
ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งเดียวกัน แต่บอกได้เลยว่าความท้าทายของการเป็น SEO agency นั้นมากกว่า in-house มาก เพราะเอเจนซี่ต้องบริหารจัดการงานให้กับลูกค้าหลากหลายธุรกิจ และเมื่อลูกค้าจ่ายเงินกับเรามาแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของเอเจนซี่ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นและยอดขายที่เพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าได้ (ซึ่ง Minimice เราเป็นแบบนั้น)
ในยุคที่ Ai เข้ามามีบทบาทในการทำการตลาดออนไลน์ SEO specialist จะโดนผลกระทบไหม
งาน SEO เป็นงานที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้งานดีขึ้น จึงหมดกังวลกับการถูก digital disruption ไปได้เลย เพราะ SEO specialist เก่งๆส่วนใหญ่ต้องติดตามข่าวสารด้านเทคโนโลยีและ Google update เป็นประจำเพื่อพัฒนาทักษะอยู่เสมอ