Table of Contents

Categories

Recent Posts

Sitemap คืออะไร จัดระเบียบเว็บไซต์อย่างไร ให้ติดอันดับหน้าการค้นหา

Sitemap คืออะไร จัดระเบียบเว็บไซต์อย่างไร ให้ติดอันดับหน้าการค้นหา

Table of Contents

ก่อนที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง สิ่งที่ควรวางแผนก่อนก็คือ การทำ Sitemap ซึ่ง หรือแผนผังเว็บไซต์ เพราะจะช่วยให้เว็บไซต์ดูมีระบบระเบียบแล้วยังมีส่วนช่วยให้เว็บไซต์เราติดอันดับการค้นหาได้ด้วย บทความนี้ทาง Minimice Group จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า Sitemap คืออะไร ใช้อย่างไร พร้อมบอกขั้นตอนการทำ Sitemap อย่างละเอียด เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณมียอดผู้เข้าชมสูงขึ้น และติดอันดับหน้าแรกๆ ของการค้นหา

ทำความรู้จัก Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์ คืออะไร

ทำความรู้จัก Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์ คืออะไร

Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ เป็นการสร้างแผนผังเพื่ออธิบายโครงสร้างของเว็บไซต์ว่ามีหัวข้ออะไร รวมถึงมีรายละเอียดเนื้อหาอย่างไรบ้าง ซึ่งเปรียบเสมือนหน้าสารบัญของหนังสือเล่มหนึ่ง โดย Sitemap คือ เคล็ดลับอย่างหนึ่งของการจัดทำเว็บไซต์ที่ช่วยให้ผู้จัดทำเว็บมองเห็นแบบเลย์เอาท์เสมือนจริง ก่อนทำการเปิดใช้งานเว็บไซต์อย่างเป็นทางการนั่นเอง

Sitemap สำคัญกับเว็บไซต์ และ SEO อย่างไร

Sitemap สำคัญกับเว็บไซต์ และ SEO อย่างไร

การทำ Sitemap นั้น นับว่าเป็นการวางแผนก่อนสร้างเว็บไซต์ที่ดี โดยหากมี Sitemap ที่ดีมีคุณภาพก็จะช่วยผลักดันทั้งยอดเข้าชมเว็บไซต์ คุณภาพของเว็บ รวมถึงส่งผลดีต่อ SEO อีกด้วย ซึ่งการทำ Sitemap นั้นส่งผลดีกับตัวเว็บไซต์ ดังนี้

  • ช่วยวางแผนผัง ให้การทำงานเป็นระเบียบ มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น
  • เปิดมุมมองภาพรวม ทำให้เห็นรูปร่างเว็บไซต์ก่อนสร้างเสร็จ ทำให้การสื่อสารระหว่างทีมออกแบบเว็บไซต์ และทีมผู้สร้างเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่น
  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 
  • ช่วยให้ BOT ของระบบ Search Engine ทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกมากขึ้น
  • Sitemap ที่ดี จะทำให้ BOT ทำงานได้ดี ซึ่งมีผลต่อการทำ SEO  โดยจะช่วยดันเว็บไซต์ของคุณให้ติดอันดับแรกๆ ของการค้นหาได้อีกด้วย

ควรเริ่มทำ Sitemap ตั้งแต่ตอนไหน

ควรเริ่มทำ Sitemap ตั้งแต่ตอนไหน

โดยปกติแล้ว ควรเริ่มทำ Sitemap ตั้งแต่ก่อนที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง เนื่องจาก Sitemap website คือ การทำแผนผังเว็บไซต์ ที่ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของหน้าเว็บเพจ จึงควรทำก่อนที่จะเปิดเว็บไซต์

ประเภทของ Sitemap มีอะไรบ้าง

ประเภทของ Sitemap มีอะไรบ้าง

การทำแผนผังเว็บไซต์ หรือ Sitemap นั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ XML Sitemap และ HTML Sitemap

XML Sitemap

XML Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ที่มีความสำคัญกับการทำ SEO  โดยทำขึ้นเพื่อให้ระบบ Google BOT ทำการประมวลผลเว็บไซต์ โดยระบบ BOT จะเข้ามาสำรวจและเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์นี้มีกี่ URL? มีการอัปเดตครั้งล่าสุดเมื่อวันที่เท่าไร? เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง

HTML Sitemap

HTML Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์เหมือนกับ XML Sitemap เพียงแต่ HTML Sitemap เป็นแผนผังที่สร้างขึ้นแบบเป็นรูปเป็นร่าง เพื่อให้ผู้จัดทำเว็บไซต์มองเห็นภาพรวมของหน้าเว็บก่อนที่จะเปิดใช้งาน เปรียบเสมือนเป็นสารบัญของหนังสือ ที่จะมีการระบุหัวข้อหลักๆ เอาไว้ แล้ววางลิงก์ย่อยไว้ที่ด้านล่างของหัวข้อ เป็นการทำแผนผังแบบย่อที่มีการระบุหัวข้อย่อย แต่ยังไม่ต้องลงเนื้อหา ให้วางเป็นลิงก์ใต้หัวข้อไว้คร่าวๆ ก่อนนั่นเอง

ตัวอย่าง Sitemap

ตัวอย่าง Sitemap

  • XML Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ที่เน้นให้ BOT เข้ามาสำรวจข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูล โดย XML Sitemap จะมีความละเอียด ลงลึก และเน้นการระบุ URL เพื่อให้ระบบประมวลผลของคอมพิวเตอร์เข้าใจตัวเว็บไซต์

ตัวอย่าง XML Sitemap

Sitemap (แผนผังเว็บไซต์)Last Modified (วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด)
https://ชื่อเว็บไซต์.com/post-sitemap1.xml  2023-03-06 05.50-08.30
https://ชื่อเว็บไซต์.com/post-sitemap1.xml  2022-05-06 05.50-06.30
https://ชื่อเว็บไซต์.com/post-sitemap.xml2023-07-25 17.50-06.30
https://ชื่อเว็บไซต์.com/support-video-sitemap.xml2022-07-25 12.50-05.00
  • HTML Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ที่เน้นรูปร่าง เน้นทำขึ้นให้ผู้ทำเว็บ หรือมนุษย์เข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์นั่นเอง

ตัวอย่าง HTML Sitemap

Home (เมนูหลัก)

1. About Us (เกี่ยวกับแบรนด์)

  • History (ประวัติความเป็นมา)
  • Address (ที่อยู่)
  • Our staff (บุคลากร)

2. Products (ผลิตภัณฑ์)

  • Cosmetics (เครื่องสำอาง)

Sitemap จำเป็นต้องมีทุกเว็บไซต์ไหม

Sitemap จำเป็นต้องมีทุกเว็บไซต์ไหม

คำถามที่หลายๆ คนยังสงสัยกันอยู่ว่า จำเป็นต้องทำ Sitemap ทุกเว็บไซต์เลยไหม? คำตอบ คือ ไม่จำเป็นต้องทำ Sitemap ทุกเว็บไซต์เสมอไป ให้ลองพิจารณาดูว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บประเภทที่ควรทำ หรือไม่จำเป็นต้องทำ Sitemap โดยอิงจากเหตุผล ดังนี้

เว็บไซต์ที่ต้องทำ Sitemap

  • เป็นเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีข้อมูล ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ค่อนข้างเยอะ
  • เป็นเว็บไซต์เปิดใหม่ที่ยังมี External Link ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของคุณจำนวนน้อย
  • เป็นเว็บไซต์ที่มีการใช้สื่อประกอบค่อนข้างมาก เช่น มีรูป หรือวิดีโอต่างๆ หลายอันภายในเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่ไม่จำเป็นต้องทำ Sitemap

  • เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็กที่มีหน้าเว็บเพจไม่เกิน 500 หน้า
  • เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการขาย หรือที่เรียกว่า Landing Page เว็บไซต์ที่มีเพียงหน้าเดียว
  • เป็นเว็บไซต์ที่มีการทำ Internal Link อย่างเป็นระเบียบและครอบคลุมเนื้อหา ทำให้ระบบ BOT สามารถค้นหาหน้าเว็บไซต์ผ่านลิงก์เหล่านี้

วิธีสร้าง Sitemap

วิธีสร้าง Sitemap

สำหรับใครที่อยากสร้าง Sitemap ด้วยตนเอง เพื่อวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ชัดเจน เข้าถึงง่าย สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. รวบรวมหมวดหมู่ของเว็บไซต์

การกำหนดหมวดหมู่ของเว็บไซต์ เป็นการกำหนดโครงสร้างคร่าวๆ ของหน้าเว็บไซต์ว่าควรมีหัวข้ออะไรบ้าง? เช่น มีการแนะนำประวัติบริษัท แนะนำผลิตภัณฑ์ วิธีการสั่งซื้อ ช่องทางการชำระเงิน ที่อยู่และช่องทางการติดต่อบริษัท เป็นต้น

2. แยกหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบ

แยกหมวดหมู่ของเว็บไซต์ดูว่าหัวข้อไหน สามารถรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันได้บ้าง ยกตัวอย่าง เช่น หมวดหมู่เรื่องช่องทางการติดต่อ ให้นำหัวข้อประวัติความเป็นมา มารวมกับหัวข้อช่องทางการติดต่อบริษัท

3. สร้างโครงสร้าง และลำดับความสำคัญ

วางโครงสร้างและจัดลำดับความสำคัญของหมวดหมู่ เป็นการกำหนดลำดับเพื่อให้สามารถมองเห็นภาพรวมของเว็บไซต์ และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ควรมีหน้าเว็บไซต์หลัก และมีแถบเมนูหลักให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูเนื้อหาภายในเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ

4. วางแผนสร้างคอนเทนต์

วางแผนสร้างเนื้อหาย่อยของแต่ละหัวข้อ แผนผังเว็บไซต์แบบดั้งเดิมมักระบุเพียงข้อมูลของหัวข้อใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่การลงรายละเอียดลึกถึงเนื้อหาในหัวข้อย่อย จะช่วยให้เห็นภาพรวมของแผนผังเว็บไซต์ได้ดีขึ้น ละเอียดขึ้นกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น กำหนดหัวข้อหลัก คือ ช่องทางการติดต่อ ให้เพิ่มเนื้อหาในส่วนของหัวข้อย่อยเข้าไป ได้แก่ ช่องทางการติดต่อออนไลน์, ที่อยู่บริษัท เป็นต้น

5. เพิ่มเนื้อหาคอนเทนต์คร่าวๆ

การเพิ่มเนื้อหาในเว็บไซต์ ควรนำเสนอข้อมูลที่ตรงกับวัตถุประสงค์ ตรงกับเป้าหมายของกลุ่มลูกค้า ให้ลองร่างคอนเทนต์ วางหัวข้อของบทความที่น่าสนใจไว้หลายๆ อันก่อน โดยเน้นการใช้คีย์เวิร์ดสำคัญที่ติดอันดับคำค้นหา แล้วค่อยเขียนคอนเทนต์ตัวเต็มภายหลัง

6. ใส่รูปภาพตัวอย่าง

เว็บไซต์ที่ดีไม่ควรมีแต่ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว ให้ใส่รูปภาพประกอบด้วย แนะนำให้ลองหารูปตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเว็บเพจ แล้วนำมาวางคร่าวๆ ก่อน เพื่อให้เห็นภาพเลย์เอาท์ที่ชัดเจนขึ้น

7. ร่างเลย์เอาท์ของหน้าเว็บเพจ

ร่างแบบเลย์เอาท์ของหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ เป็นการทำโครงสร้างให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา เมื่อได้ลองวางแผนรูปร่างเว็บไซต์แล้ว ให้ตรวจสอบดูว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณได้นำเสนอข้อมูลครบทุกหัวข้อหรือไม่ โดยหน้าเว็บไซต์ที่ดีควรมีแถบเมนูหลักเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้สะดวก และยังทำให้ BOT เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ได้ดีขึ้นอีกด้วย

8. ส่งต่อให้ทีมาจัดการ

เมื่อได้ร่างแบบเลย์เอาท์เรียบร้อยแล้ว ให้ส่งแผนผังไปให้ทีมผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างหน้าเว็บไซต์ขึ้นมา ควรตรวจสอบข้อมูล รายละเอียดของตัวเว็บไซต์อีกครั้ง ก่อนทำการเปิดใช้งานเว็บไซต์ของคุณเอง

สร้าง Sitemap ใน WordPress ง่ายๆ ด้วย Yoast SEO

สร้าง Sitemap ใน WordPress ง่ายๆ ด้วย Yoast SEO

เมื่อได้รู้จักการวางแผนการสร้าง Sitemap เรียบร้อยแล้ว สามารถลองสร้าง Sitemap ของตนเองผ่าน WordPress ด้วย Yoast Sitemap กันได้เลย โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้

1. ติดตั้ง Yoast SEO ใน WordPress เพื่อสร้าง Sitemap

  • เปิด WordPress แล้วเลือก plugins แล้วค้นหา Yoast SEO
  • กดปุ่ม install และเลือก activate เพื่อให้ Yoast SEO พร้อมใช้งานกับเว็บไซต์ของคุณ 
  • Yoast SEO นอกจากจะเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อหัวข้อ คำอธิบายเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ Optimize เว็บไซต์ให้เหมาะสมกับการทำ SEO แล้ว เมื่อมีการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ ทางตัว Yoast SEO จะทำการเพิ่ม XML Sitemap โดยอัตโนมัติอีกด้วย

2. เมื่อร่างแผนผังเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว ให้ส่ง Sitemap ให้ทาง Google search console เพื่อให้ Google BOT มาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ โดยทำตามขั้นตอน ดังนี้

  • สมัครสมาชิกให้เรียบร้อยก่อนเข้าใช้งาน Google search console 
  • กดไปที่ Index แล้วเลือกหัวข้อ Sitemap 
  • จากนั้นทำการคัดลอก URL ของ Sitemap เว็บไซต์มาวาง และกดปุ่ม submit โดยหากส่งสำเร็จจะมีสถานะขึ้นว่า Success ในหน้า Submitted Sitemaps

สรุป

สรุปง่ายๆ ว่า Sitemap คือ การทำแผนผังเว็บไซต์ เป็นการวางโครงสร้างของหน้าเว็บไซต์ให้ผู้เข้าใช้งานสามารถใช้งานได้ตามสะดวก เมื่อมีแผนผังเว็บไซต์ที่ดี จะช่วยให้ระบบ Google BOT ประมวลผลได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการทำ SEO ทำเว็บไซต์ของคุณติดอันดับแรกๆ ของการค้นหา และหากใครที่สนใจอยากสร้างเว็บไซต์ของตนเอง หรือกำลังหาทีมผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลหน้าเว็บไซต์ของคุณให้ติดอันดับต้นๆ ของการค้นหา สามารถปรึกษาทีม Minimice Group ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO โดยตรง ที่พร้อมช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าใช้งาน และผลักดันให้มียอดขายที่สูงขึ้น

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Sitemap

คำถามที่มักพบบ่อยเกี่ยวกับการทำ Sitemap หรือแผนผังเว็บไซต์นั้นมีอะไรบ้าง? ทาง Minimice Group ได้รวบรวมคำถามที่ทุกคนสงสัย พร้อมตอบคำถามอย่างละเอียด เข้าใจง่ายมาให้แล้ว

รวจสอบได้ยังไงว่าเว็บไซต์มี Sitemap

สำหรับการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณมี Sitemap หรือไม่ หากใช้ WordPress สามารถตรวจสอบได้ ดังนี้

  • พิมพ์ https://ชื่อเว็บไซต์/sitemap.xml 
  • แต่หากเว็บไซต์ของคุณมี Yoast SEO อยู่ด้วยจะเห็นว่า URL ของเว็บไซต์จะมีคำว่า ‘Index’ เพิ่มเข้ามาเป็น https://ชื่อเว็บ/sitemap_index.xml และจะมีข้อมูลของ Sitemap_index.xml ที่รวบรวม Sitemap แต่ละรายการที่เคยทำเอาไว้ขึ้นมา

สามารถอัปเดต Sitemap ได้ไหม

สามารถอัปเดต Sitemap เองได้เลย เพียงแค่ต้องหมั่นอัปเดต XML Sitemap ด้วยตนเองเรื่อยๆ เพื่อให้ระบบ BOT เข้าใจว่าเว็บไซต์ยังคงมีการอัปเดตข้อมูลอยู่

Sitemap จะช่วยให้แรงก์ใน Google เพิ่มขึ้นไหม

Sitemap ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาหน้าแรกๆ ได้จริง แต่ต้องมีการทำแผนผังเว็บไซต์ที่ดีมีคุณภาพที่ทำให้ Google BOT เข้าใจข้อมูลของเว็บไซต์ของคุณให้ได้ก่อน

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง