Table of Contents

Categories

Recent Posts

Digital Marketing คืออะไร พื้นฐานสำหรับการสร้างแบรนด์ให้เติบโต

Digital Marketing คืออะไร พื้นฐานสำหรับการสร้างแบรนด์ให้เติบโต

Table of Contents

Key takeaway

  • Digital Marketing คือเครื่องมือที่นักการตลาดใช้สื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มยอดขาย ผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย
  • ประเภทของ Digital Marketing คือ Website Marketing, Content Marketing, SEO, PPC, Social Media Marketing, Affiliate Marketing, Email Marketing, Video Marketing
  • ข้อดีของ Digital Marketing คือ ช่วยสื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงลูกค้าเก่าและใหม่ง่าย ได้ข้อมูลและสถิติมาวัดผล เข้าใจกระบวนการของผลลัพธ์ และช่วยให้ใช้งบได้คุ้มค่า
  • การร่วมมือทำ Digital Marketing กับ Minimice สามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มยอดขายและสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

บทความให้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ Digital Marketing ว่าคืออะไร ทำไมถึงจำเป็นสำหรับนักการตลาดและผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจของตนผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดออนไลน์

กลยุทธ์เข้าถึงลูกค้าในยุคดิจิทัล Digital Marketing คืออะไร? 

การตลาดดิจิทัล หรือ Digital Marketing คือเครื่องมือที่นักการตลาดใช้สื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มยอดขาย ผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และแท็บเล็ต

การตลาดดิจิทัลเริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่ปี 1990 พร้อมกับการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มต่างๆ ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผู้คนเข้าถึงข้อมูลผ่านออนไลน์ ทำให้การตลาดแบบดั้งเดิมต้องปรับตัว ย้ายมาทำบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง

กลไกของ Digital Marketing ช่วยสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

กลไกของ Digital Marketing ช่วยสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

การตลาดดิจิทัลใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นแบรนด์และรู้จักธุรกิจของเรา เช่น การยิง Ads บน Google หรือการโฆษณาสินค้าบน TikTok

ซึ่งแตกต่างจาก Traditional Trade หรือการตลาดแบบเดิมคือการตลาดแบบออฟไลน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโลกออนไลน์เลย เช่น การแจกใบปลิว สื่อสิ่งพิมพ์ โฆษณาทางโทรทัศน์ หรือป้ายโฆษณาตามท้องถนน

ทำไม Digital Marketing ถึงครองโลกการตลาดยุคนี้

  • เว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจ
  • SEO ที่ช่วยปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยคำค้นหาที่เหมาะสม เพื่อให้เว็บไซต์และหน้าเว็บอันดับสูงขึ้นในผลการค้นหา
  • การตลาดผ่านอีเมล ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสารของบริษัท โปรโมตสินค้าและบริการ หรือเล่าเรื่องราวของแบรนด์ เพื่อส่งเสริมธุรกิจและเพิ่มยอดขาย
  • การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียสร้างการมีส่วนร่วมแบบสองทางกับผู้ติดตาม แชร์ข่าวสารของบริษัท และโปรโมตสินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
  • การโฆษณาดิจิทัล โดยใช้ข้อมูลผู้บริโภคเพื่อติดตามผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประชากรศาสตร์ ความสนใจ และพฤติกรรมได้มากขึ้น
Digital Marketing มีอะไรบ้าง หาแนวทางที่ใช่ให้กับธุรกิจของคุณ

Digital Marketing มีอะไรบ้าง หาแนวทางที่ใช่ให้กับธุรกิจของคุณ

กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีอะไรบ้าง? โดยส่วนใหญ่แล้วทำได้หลากหลายช่องทาง และหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และความเหมาะสม ดังนี้

1. Website Marketing

Digital Marketing แบบ Website Marketing หรือการตลาดผ่านเว็บไซต์ คือการทำการตลาดผ่านเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ เช่น โซเชียลมีเดีย เครื่องมือค้นหา บล็อก หรือสื่อวิดีโอ เพื่อเพิ่มการมองเห็นและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

  • ข้อดี เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง ต้นทุนต่ำกว่าการตลาดแบบดั้งเดิม ติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้แบบเรียลไทม์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  • ข้อจำกัด มีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนของอัลกอริธึมอาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ ลูกค้าอาจไม่ไว้วางใจข้อมูลออนไลน์ และต้องใช้เวลาในการสร้างการเข้าถึง

2. Content Marketing

Digital Marketing แบบ การตลาดแบบเนื้อหา (Content Marketing) คือกลยุทธ์การตลาดที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างสร้างสรรค์และต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์และเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มยอดขายออนไลน์ให้กับแบรนด์

  • ข้อดี สร้างการรับรู้แบรนด์ กระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ มอบข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค สร้างความน่าเชื่อถือ และช่วยเพิ่มยอดขาย
  • ข้อจำกัด การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพต้องใช้เวลา การแข่งขันสูง ผลลัพธ์ไม่เป็นตามคาดในทันที และต้นทุนสูง

3. Search Engine Optimization (SEO)

Digital Marketing แบบ SEO คือกระบวนการปรับแต่งเว็บไซต์เพื่อให้มีอันดับสูงในผลการค้นหาของ Google โดยคำนึงถึงประสบการณ์ของ User และการจัดลำดับความสำคัญต่างๆ 

  • ข้อดี ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มการเข้าชม ต้นทุนต่ำ เพิ่มยอดขาย และผลลัพธ์มีอายุยาวนานกว่าวิธีอื่น
  • ข้อจำกัด ใช้เวลานานกว่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ การแข่งขันสูง ความไม่แน่นอของอัลกอริธึม ต้องการความรู้เฉพาะ และต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาอันดับ

4. Pay-Per-Click (PPC) Advertising

Digital Marketing แบบ PPC (Pay Per Click) คือการใช้คำค้นหาที่ได้รับความนิยม เพื่อเพิ่มการมองเห็นและโปรโมตสินค้า เมื่อคำค้นหามียอดคลิกสูง จะมีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้น ผู้ลงโฆษณาจะจ่ายค่าโฆษณาตามจำนวนคลิกที่เข้าชม ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้ (Awareness) เกี่ยวกับสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง

  • ข้อดี เห็นผลลัพธ์ได้ทันที กำหนดงบประมาณและค่าใช้จ่ายได้ เลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ ติดตามและวิเคราะห์ผลได้แบบเรียลไทม์ และช่วยเพิ่มการมองเห็นและการรับรู้ได้เร็ว
  • ข้อจำกัด ค่าใช้จ่ายสูง ผลลัพธ์ไม่ยั่งยืน และหากโฆษณาไม่ตรงกับความต้องการ อาจทำให้ User รู้สึกไม่พอใจ

5. Social Media Marketing

Digital Marketing แบบ Social Media Marketing คือการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจหรือนักการตลาด เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการสร้างคอนเทนต์หลากหลายรูปแบบ เช่น บทความ วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน (Search Intent) ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการทำ SEO

  • ข้อดี สามารถเจาะจงกลุ่มลูกค้าได้ ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและการรับรู้ และต้นทุนต่ำ
  • ข้อจำกัด การเปลี่ยนแปลงอัลกอริธึมส่งผลต่อการเข้าถึงโพสต์ การแข่งขันสูง ไม่เหมาะกับทุกกลุ่มลูกค้า ต้องจัดการและตอบสนองอย่างรวดเร็ว และความคิดเห็นของผู้ใช้สามารถส่งผลกระทบต่อแบรนด์

6. Affiliate Marketing

Digital Marketing แบบ Affiliate Marketing คือการทำการตลาดให้กับธุรกิจอื่นโดยการโปรโมตสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เป้าหมายคือดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้า โดยผู้ทำการตลาดจะได้รับค่าตอบแทนจากแบรนด์ที่โปรโมต 

  • ข้อดี ไม่ต้องลงทุน ทำงานจากที่ไหนก็ได้ สร้างรายได้ต่อเนื่อง และเข้าถึงลูกค้าในตลาดที่กว้างขึ้น
  • ข้อจำกัด ควบคุมคุณภาพสินค้าไม่ได้ มีการแข่งขันมาก รายได้ไม่แน่นอน ต้องสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า และใช้เวลานานในการสร้างฐานลูกค้า

7. Email Marketing

Digital Marketing แบบ Email Marketing คือวิธีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งอีเมลไปยังกลุ่มที่สมัครรับข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องมือโฆษณาและสื่อสาร เช่น การประกาศผลิตภัณฑ์ใหม่หรือส่งข้อเสนอพิเศษ 

  • ข้อดี ต้นทุนต่ำ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย วัดผลได้ง่าย ปรับแต่งข้อความได้ และช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า
  • ข้อจำกัด ความเสี่ยงในการถูกมองว่าเป็นสแปมหากส่งอีเมลมากเกินไป ต้องมีการจัดการรายชื่อผู้รับให้เป็นปัจจุบัน และบางกลุ่มอาจไม่ใช้อีเมลหรือไม่เช็คอีเมลบ่อย

8. Video Marketing

Digital Marketing แบบ Video Marketing หรือการตลาดดิจิทัลผ่านวิดีโอ คือการใช้วิดีโอโปรโมตแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่ วางแผน สร้าง ตัดต่อ และแชร์บนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และบล็อก ซึ่งช่วยสร้างการมีส่วนร่วม เพิ่มการรับรู้แบรนด์ และเปิดโอกาสในการขาย โดยเฉพาะถ้าวิดีโอได้รับความนิยมในแพลตฟอร์มอย่าง YouTube, Facebook และ Instagram

  • ข้อดี ทำให้ข้อมูลเข้าใจง่าย ช่วยดึงดูดความสนใจและกระตุ้นการมีส่วนร่วมจากผู้ชม มักได้รับการแชร์และเข้าถึงได้มากกว่าข้อความหรือภาพ และเพิ่มโอกาสในการขาย
  • ข้อจำกัด ต้นทุนสูง การสร้างและแก้ไขวิดีโอต้องใช้เวลานาน หากวิดีโอยาวเกินไป ผู้ชมอาจเบื่อ และการแข่งขันสูง
เชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์สู่หน้าร้านด้วย Online-to-Offline Marketing

เชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์สู่หน้าร้านด้วย Online-to-Offline Marketing 

Online-to-Offline Marketing (O2O Marketing) คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่เชื่อมโยงระหว่างโลกดิจิทัลและโลกออฟไลน์ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าทำการซื้อหรือมีส่วนร่วมกับสินค้าหรือบริการในสถานที่จริง โดยมี 2 แบบหลัก ดังนี้

SMS Marketing

SMS Marketing คือการใช้ข้อความสั้น (SMS) ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน เพื่อโฆษณาและโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยมักจะส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น ข้อเสนอพิเศษ ส่วนลด โปรโมชันใหม่ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้กับลูกค้าโดยตรง 

  • ข้อดี เข้าถึงได้รวดเร็ว อัตราการตอบรับสูง ต้นทุนต่ำ และตรงกลุ่มเป้าหมาย
  • ข้อจำกัด มีจำนวนตัวอักษรที่จำกัดทำให้ไม่สามารถสื่อสารข้อมูลได้ทั้งหมด ผู้ใช้มองว่าเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัว และอัตราการยกเลิกสมัครสูง

QR Codes

การที่ลูกค้าเข้าไปซื้อของที่หน้าร้านนั้น มีถึง 55% ใช้สมาร์ตโฟนในการค้นหา เช่น ข้อมูลสินค้า เปรียบเทียบราคา และตรวจสอบโปรโมชันต่างๆ ดังนั้นการวาง QR Code ในจุดที่เห็นได้ชัดจะช่วยเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงทั้งหน้าร้านและสินค้าออนไลน์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการจับจ่ายทั้งในร้านและออนไลน์ได้มากขึ้น

  • ข้อดี ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลสินค้า โปรโมชั่น หรือเว็บไซต์ และยังสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย
  • ข้อจำกัด ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้วิธีสแกน และหากไม่มีสมาร์ตโฟนหรือแอปที่รองรับ อาจเข้าถึงข้อมูลไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยจาก QR Code ที่ถูกดัดแปลงได้อีกด้วย
4 ขั้นตอนสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล เพื่อดึงดูดลูกค้า

4 ขั้นตอนสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล เพื่อดึงดูดลูกค้า

หากต้องการทำ Digital Marketing หรือการตลาดดิจิทัล มาดูไปพร้อมกันว่ามีขั้นตอนหลักๆ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

1. ค้นหาข้อมูลและเข้าใจกลุ่มลูกค้า 

การสร้างแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพเริ่มต้นด้วยการรู้ว่าใครคือผู้ใช้งาน โดยการสร้าง Buyer Personas ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มลูกค้าในอุดมคติที่ต้องการเข้าถึง โดยช่วยให้เข้าใจคุณสมบัติและความต้องการของลูกค้าในฝัน เพื่อทำให้การตลาดของคุณตรงจุดมากขึ้น การสร้าง Buyer Personas ต้องการการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับลูกค้าเป้าหมาย เช่น พื้นที่ที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ ช่วงอายุ ระดับรายได้ อาชีพ และกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายชอบทำ เป็นต้น

2. ตั้งเป้าหมายและ KPI ของกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล

ก่อนเริ่มธุรกิจ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าใครคือลูกค้าของเรา โดยแบ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก เช่น เพิ่มยอดขาย และวัตถุประสงค์รอง เช่น เพิ่มจำนวนผู้ติดตามทาง E-mail 10 คน ซึ่งช่วยให้บรรลุเป้าหมายหลักได้ง่ายขึ้น

3. สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล

เลือกกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัลที่เหมาะกับธุรกิจโดยเริ่มจากการรู้วัตถุประสงค์ จากนั้นคำนวณว่ากลยุทธ์ไหนจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างช่องทางการตลาดดิจิทัล ได้แก่ SEO, PPC, Content Marketing, Email Marketing, Social Media Marketing และ Influencer Marketing

4. วิเคราะห์ผลลัพธ์และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ตั้งกลยุทธ์ในการวัดผลเสมอ เพื่อดูว่าธุรกิจของเราประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยใช้ KPI เป็นตัวช่วยวัดความสำเร็จของแคมเปญ ซึ่ง KPI คือสถิติที่บอกว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือเปล่า 

ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ให้มองเป็นโอกาสในการปรับโครงสร้างแคมเปญใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น และลองเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

Digital Marketing ดีอย่างไร? ทำไมถึงคุ้มค่าในการลงทุน

การทำการตลาดดิจิทัลมีประโยชน์มากมาย ดังนี้

1. การสื่อสารตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

เครื่องมือการตลาดดิจิทัลช่วยเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้แม่นยำ โดยสามารถกำหนดช่วงอายุ ความสนใจ เพศ ที่อยู่ หรือพฤติกรรม เช่น หากกลุ่มเป้าหมายคือวัยทำงาน ควรเลือกสื่อสารผ่าน Facebook หรือ Instagram ที่วัยนี้นิยมใช้สมาร์ตโฟน

2. ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเก่าและใหม่

การตลาดแบบดั้งเดิม เช่น การออกบูทประชาสัมพันธ์หรือเข้าพบลูกค้า มักต้องรอช่วงเวลาเปิดทำการ แต่การตลาดดิจิทัลสามารถสื่อสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แพลตฟอร์มออนไลน์ หรือสื่อโซเชียล ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเวลาใด

3. มีข้อมูลและสถิติที่สามารถนำมาวัดผล

การเก็บข้อมูลและการวัดประสิทธิผลทางการตลาด ทำได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรมต่างๆ ที่มีให้บริการทั้งฟรีและเสียค่าใช้จ่าย นักการตลาดดิจิทัลสามารถดึงข้อมูลที่แม่นยำมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เข้าใจกระบวนการของผลลัพธ์อย่างแม่นยำ

การทำการตลาดดิจิทัลสามารถติดตามพฤติกรรมและการกระทำของลูกค้าได้ตั้งแต่เริ่มมองเห็นจนถึงการปิดการขาย ผ่านเครื่องมือต่างๆ ออนไลน์ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้วิเคราะห์และปรับปรุงแคมเปญให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้น

5. วางแผนการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า

การทำการตลาดดิจิทัลช่วยควบคุมงบประมาณได้อย่างแม่นยำและมีต้นทุนต่ำกว่าการลงโฆษณาแบบดั้งเดิม เช่น บิลบอร์ด วิทยุ หรือโทรทัศน์ โดยมีช่องทางฟรีมากมายที่มีศักยภาพสูง หรือหากต้องการโฆษณาแบบเสียเงิน ยังช่วยปรับงบประมาณให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ได้ ทำให้การวางแผนด้านงบประมาณเป็นเรื่องง่าย

KPIs ที่สำคัญ เพื่อชี้วัดความสำเร็จของ Digital Marketing

KPIs ที่สำคัญ เพื่อชี้วัดความสำเร็จของ Digital Marketing 

การชี้วัดประสิทธิภาพของ Digital Marketing สามารถทำได้ผ่านองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้

บทความในเว็บไซต์

นักการตลาดดิจิทัลสามารถใช้ KPI เพื่อวัดจำนวนการเผยแพร่โพสต์คอนเทนต์หรือบทความต่อเดือน ซึ่งช่วยให้ติดตามความถี่และประสิทธิภาพของการสร้างเนื้อหาได้อย่างชัดเจน

อัตราการคลิก

การใช้ KPI เพื่อติดตามจำนวนการคลิกลิงก์ที่แนบในอีเมลหรือข้อความ ซึ่งช่วยในการวัดประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดที่ใช้ช่องทางเหล่านี้ได้

อัตราการแปรเปลี่ยน

KPI ช่วยวัดอัตราการแปลง (Conversion Rate) ซึ่งบอกจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ซื้อสินค้า โดยวิเคราะห์แคมเปญที่กระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า ช่วยระบุประสิทธิภาพกลยุทธ์การตลาดและทำการปรับปรุงได้ นอกจากนี้ยังแสดงผลกระทบของกิจกรรมต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย

ปริมาณการใช้งานบนโซเชียลมีเดีย

จำนวนการเข้าชมสื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงการกระทำต่างๆ เช่น กด Like, แชร์ และ Follow สามารถใช้ KPI ในการติดตามผลได้เช่นกัน ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมการมีส่วนร่วมของผู้ใช้และประสิทธิภาพของเนื้อหาที่โพสต์

ปริมาณการเข้าชมเว็บไซต์

นักการตลาดดิจิทัลสามารถใช้ KPI เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบเว็บไซต์ให้สนับสนุนการขายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในอนาคตได้อีกด้วย

AI และ AR คู่หูใหม่สำหรับการทำ Digital Marketing ในอนาคต

ความท้าทายของการตลาดดิจิทัลในอนาคตมีหลายด้านที่นักการตลาดต้องเตรียมพร้อมรับมือ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว คือ

Artificial Intelligence (AI)

Artificial Intelligence (AI) จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมการตลาดดิจิทัล โดยช่วยวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว ทำให้การทำแคมเปญแม่นยำและตรงเป้าหมายมากขึ้น แต่ก็มีความท้าทาย เช่น การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภคในการใช้ AI เพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่าในอนาคต

Augmented Reality (AR)

Augmented Reality (AR) จะเข้ามาเพิ่มประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นให้กับการตลาดดิจิทัล โดยช่วยให้ลูกค้าสามารถลองสินค้าหรือบริการในรูปแบบเสมือนจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้การเชื่อมต่อกับแบรนด์เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น แต่ก็มีความท้าทายเช่นกัน เช่น การลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี AR ที่มีคุณภาพ การทำให้ผู้บริโภคเข้าใจและใช้ AR ได้อย่างสะดวกสบาย และการสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าและดึงดูดใจเพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

สร้างความสำเร็จร่วมกันกับบริษัทเอเจนซีทางการตลาดดิจิทัล 

เพื่อให้การทำ Digital Marketing มีประสิทธิภาพสูงสุด การร่วมมือกับเอเจนซีการตลาดดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทำได้ ดังนี้

เลือกเอเจนซีทางการตลาดดิจิทัลที่เหมาะสม

  • เลือก Digital Agency ที่เข้าใจความต้องการและงบประมาณ
  • ตรวจสอบผลงานและรีวิวจากลูกค้าที่ผ่านมา
  • เลือกเอเจนซีที่มีความเป็นมิตรและมีบทบาทเหมือนเพื่อนที่ปรึกษา ไม่ใช่แค่ผู้จ้าง-ผู้ถูกจ้าง
  • เอเจนซีต้องมีที่ตั้งและข้อมูลพื้นฐานของบริษัทอย่างเปิดเผย
  • ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์และการบริการมากกว่าราคาที่ต่ำกว่า
  • วัดผลได้เป็นรูปธรรมตามระยะเวลาที่กำหนด
  • เลือกบริษัทที่อัปเดตเทรนด์ดิจิทัลอยู่เสมอ

การต่อยอดประโยชน์สูงสุดจากพันธมิตร

การต่อยอดประโยชน์สูงสุดจากพันธมิตรใน Digital Marketing คือการร่วมมือกันในการสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ และใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน เช่น โซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในตลาดให้กับทั้งสองฝ่าย การสร้างแคมเปญร่วมกันสามารถทำให้มีความสร้างสรรค์มากขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการทำตลาด

ประโยชน์จากพันธมิตรนี้จะช่วยให้การทำการตลาดดิจิทัลขององค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพิ่มการเข้าถึงลูกค้าใหม่และสร้างความน่าเชื่อถือในตลาดได้มากขึ้น

สรุป

การตลาดดิจิทัลคือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยนักการตลาดสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มยอดขาย ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การให้ความสำคัญกับการตลาดดิจิทัลจะช่วยเพิ่มผู้เข้าชมและทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ในยุคการแข่งขันที่สูงขึ้น ธุรกิจจึงควรทำการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไปพร้อมกัน เพราะหากไม่ปรับตัวตามเทคโนโลยี อาจเสี่ยงที่จะโดนทิ้งอยู่เบื้องหลัง

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

Digital Marketing มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

  • ข้อดีขอ Digital Marketing คือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด และมีการวัดผลที่ชัดเจน ทำให้ปรับกลยุทธ์ได้เร็ว อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดแบบดั้งเดิม
  • ข้อเสีย Digital Marketing คือการแข่งขันสูง ทำให้ต้องอัปเดตเทรนด์อยู่เสมอ และอาจมีความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพต้องใช้เวลาและความพยายามมาก

Digital Marketing Online คืออะไร

Digital Marketing Online คือการใช้ช่องทางดิจิทัล เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และอีเมล เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยมีเป้าหมายในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย สร้างการรับรู้ และเพิ่มยอดขาย ผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ผลได้อย่างชัดเจน

Digital Marketing มีกี่ประเภท

การตลาดดิจิทัลมีกี่ประเภท? คำตอบคือมี 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  • Social Media Marketing
  • Online Marketing
  • Mobile Marketing

Digital Marketing ต้องทำอะไรบ้าง

การตลาดดิจิทัลทำหลายอย่างเพื่อช่วยให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้ให้ผู้คนรู้ว่าแบรนด์ขายอะไรและสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้กลุ่มเป้าหมายไว้วางใจจนกลายเป็นลูกค้า และยังส่งเสริมให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำในอนาคต ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง

หัวใจหลักของ Digital Marketing คืออะไร

เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร ต้องการอะไร และใช้ช่องทางไหนในการรับสาร จากนั้นต้องเลือกช่องทางการตลาดออนไลน์ที่เหมาะสม และนำข้อมูลมาวัดผลเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง