Table of Contents

Categories

Recent Posts

รวมความรู้เกี่ยวกับ digital marketing สำหรับผู้เริ่มต้นและคนทำธุรกิจ

Digital Marketing คืออะไร? สำคัญแค่ไหน ก่อนลงสนามจริงปี 2023

Table of Contents

ในปัจจุบันอาจเรียกว่าเป็นยุคทองของตลาดออนไลน์ก็ว่าได้ เพราะผู้คนเลือกซื้อสินค้า และใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ทำให้เหล่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องกระโดดเข้าสู่ตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง และหาหนทางเพิ่มยอดขายโดยใช้หลัก Digital Marketing ที่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า Digital Marketing คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง และรวมถึงองค์ประกอบในการทำการตลาดออนไลน์ให้สำเร็จ ในบทความชิ้นนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักการตลาดออนไลน์ 2023 ในทุกมิติกัน

Digital Marketing vs Online Marketing แตกต่างกันอย่างไร?

Digital Marketing คือ การทำการตลาดผ่านสื่อ Multi Media โดยไม่จำกัดอุปกรณ์ หรือช่องทางว่าต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เพียงแค่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านดิจิทัล ถือว่าเป็นการตลาดดิจิทัลทั้งหมด ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพกันมากยิ่งขึ้น เช่น การโฆษณาซีรี่ย์เข้าใหม่ของ Netflix ที่มีการแจ้งเตือนผ่านแอปฯ การโฆษณาผ่านยูทูป หรือเป็นการโฆษณาบนบิลบอร์ดที่เราเห็นได้ทั่วๆ ไป เป็นต้น

แต่ Online Marketing คือ หนึ่งในวิธีของการทำ Digital Marketing ที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักนั่นเอง นักการตลาดหลายคนอาจจะรู้จักกันอีกชื่อคือ Internet Marketing ตัวอย่างของ การตลาดออนไลน์ ได้แก่ SEO (Search Engine Optimization), PPC (Pay Per Click) หรือ การใช้สื่อ Social media เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ Tiktok แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ที่นักการตลาดหลายคนชี้ว่านี่เป็นเครื่องมือชั้นเลิศในการตลาดออนไลน์ 2023 นี้

ทำไม Digital marketing ถึงสำคัญต่อธุรกิจ

เนื่องด้วยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เกิด Digital Marketing ซึ่งวิธีนี้ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และขยายฐานลูกค้าได้กว้างกว่าเดิม แต่แน่นอนว่าก็มีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน 


ถึงแม้รูปแบบการตลาดออนไลน์ 2023 จะเต็มไปด้วยข้อดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย หากคุณกำลังวางแผนธุรกิจ และตั้งใจทำ Digital Marketing คุณควรจะต้องรู้ทั้งข้อดี และข้อเสียของ Digital Marketing เสียก่อน

ข้อดีของ Digital marketing

เนื่องด้วยพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้เกิด Digital Marketing ซึ่งวิธีนี้ทำให้แบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และขยายฐานลูกค้าได้กว้างกว่าเดิม แต่แน่นอนว่าก็มีความท้าทายใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน 

ถึงแม้รูปแบบการตลาดออนไลน์ 2023 จะเต็มไปด้วยข้อดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย หากคุณกำลังวางแผนธุรกิจ และตั้งใจทำ Digital Marketing คุณควรจะต้องรู้ทั้งข้อดี และข้อเสียของ Digital Marketing เสียก่อน

1. สร้าง Brand Awearness ได้ไวและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่า

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน มีเครื่องมือทางการตลาดใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ตลอดจนแอปพลิเคชัน ที่ช่วยให้แบรนด์สร้าง Brand Awareness ได้ไว และกว้างขวางได้รอบโลกภายใต้งบที่ไม่สูง แต่สามารถสร้างยอดขายได้หลายเท่าตัว

2. ต้นทุนในการทำการตลาดต่ำกว่าการตลาดแบบเดิม

ในการทำ Digital Marketing คือหนึ่งในตัวแปรที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จของแคมเปญได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และใช้งบน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดแบบเดิมๆ

3. สร้างการมีส่วมร่วมได้โดยตรงกับผู้บริโภค

แบรนด์สามารถใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย และทำกิจกรรมผ่านคอนเทนท์เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ (Customer Engagement) ได้อีกด้วย

4. ติดตามและวัดผลได้

ด้วยลักษณะการทำงานของเว็บไซต์ และเครื่องมือในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าบนสื่อออนไลน์จะช่วยทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง สำหรับการสร้างแคมเปญที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

5. ทำกำไรและสร้าง Conversion Rate ได้ดีกว่า

การทำการตลาดดิจิทัลสามารถช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้มากกว่า เนื่องจากแทบทุกแพลตฟอร์มออนไลน์สามารถให้ข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ ตลอดจนพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อพัฒนากลุยุทธ์ทางธุรกิจที่จะนำมาซึ่ง Conversion Rate และกำไรได้นั่นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก Startupbonsai.com ปี 2022 การทำการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสินค้าได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว พร้อมทั้งสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่าแพลตฟอร์มรูปแบบอื่น โดยมี Conversion Rate เฉลี่ยประมาณ 2.35% ซึ่งนับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี (ระหว่าง 2% – 5%) ในขณะแพลตฟอร์มอื่น อย่าง Facebook Ads จะมี Conversion Rate เฉลี่ยอยู่ที่ 9.21%

แต่ทั้งนี้จะต้องดูควบคู่กันด้วยนะว่าแพลตฟอร์มแบบไหนเหมาะสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดแบบไหน หรือกลุ่มลูกค้าแบบใดมากกว่า เพราะทุกรูปแบบต่างก็มีข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบแตกต่างกันไปนั่นเอง

ข้อเสียของ Digital marketing

เมื่อได้กล่าวถึงข้อดีของการทำ Digital Marketing กันไปแล้ว เรามาลองชั่งน้ำหนักกันดูบ้างดีกว่าว่า หากตัดสินใจทำ Digital Marketing แล้ว จะมีข้อเสีย หรือข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

1. มีคู่แข่งจำนวนมาก

เมื่อแบรนด์เข้าถึงผู้คนทั่วโลกด้วย Digital Marketing คุณจะพบกับคู่แข่งมากมายทั่วโลกด้วยเช่นเดียวกัน นี่จะเป็นความท้าทายใหม่ของแบรนด์ที่จะทำอย่างไรให้แตกต่างเพื่อฟาดฟันกับแบรนด์คู่แข่งจากรอบโลก และสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายบนโลกออนไลน์ให้ได้ด้วย

2. ต้องมีความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญ

เนื่องจากอุปกรณ์การตลาดออนไลน์, แพลตฟอร์ม และเทรนด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ นี่จึงเป็นสิ่งที่คุณต้องอัปเดตตัวเองอยู่ตลอด เพื่อให้เท่าทันทุกสถานการณ์ และสามารถปรับเปลี่ยนให้กลยุทธ์ของคุณสดใหม่และดีพร้อม!

3. ความกังวลใจด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานในโลกดิจิตอล

มีข้อบังคับทางกฎหมายหลายข้อทีเดียวที่เกี่ยวกับการรวบรวม และการใช้ข้อมูลของลูกค้าเพื่อใช้ในการตลาดดิจิทัล คุณควรใส่ใจ และทำตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกับเรื่องความเป็นส่วนตัว และการปกป้องข้อมูลของลูกค้า ซึ่งจากการอัปเดต PDPA ล่าสุดนี้ก็ส่งผลกระทบต่อการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยล่ะ!

ก่อนทำ Digital Marketing อย่าลืมนึกถึงกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทต่อการตัดสินใจซื้อ

หากเจาะลึกลงถึงพฤติกรรมของลูกค้า จะพบว่าอีกหนึ่งตัวแปรที่น่าสนใจคือ กลุ่มอ้างอิง ที่มีบทบาทในการตัดสินใจซื้อ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทัศนคติ, ความคิดเห็น และค่านิยมของผู้ซื้อ ถ้ากลุ่มอ้างอิงนี้แนะนำ หรือเลือกใช้สินค้าประเภทใด มีโอกาสสูงทีเดียวที่บุคคลที่ตาม หรือสนใจในกลุ่มอ้างอิงจะมีแนวโน้มซื้อตาม หรือเลือกบริการในลักษณะเดียวกัน ตัวอย่าง อินฟลูรีวิว หรือพรีเซนเตอร์ที่มาแนะนำสินค้า เป็นต้น

Digital Marketing Channel คืออะไร เราสามารถทำการตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

เมื่อเข้าใจภาพรวมของ Digital Marketing กันแล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องทำความรู้จักกันคือ มีช่องทางทำการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Channel) อะไรบ้างที่สามารถทำการตลาดออนไลน์ได้ ซึ่งในเนื้อหาส่วนนี้ได้รวบรวมมาไว้ 6 ช่องทางด้วยกัน ดังนี้

ช่องทางที่ 1: PPC หรือ Paid Search

PPC หรือ Pay Per Click หรือ Paid Search คือการทำโฆษณาบน Search Engine หรือที่หลายคนรู้จักกันอย่าง Google เพื่อดันให้หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ขึ้นไปอยู่เป็นอันดับต้นๆ ผ่านการทำ Google Ads (ชื่อเดิม Google AdWords) ตลอดจนการทำโฆษณาผ่านเครือข่ายของทาง Google อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์พันธมิตรและยูทูป ยิ่งมีผู้คนเห็นมาก ก็ยิ่งมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

ความน่าสนใจในช่องทางนี้คือ การซื้อโฆษณาบน Google จะมีลักษณะแบบประมูลซื้อ ซึ่งจะเป็นการประมูลคีย์เวิร์ดที่ต้องการ เมื่อลูกค้าค้นหาคำคีย์เวิร์ดที่ทำการประมูลไว้ เว็บไซต์ของเรานั้นจะขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ วิธีนี้คือการซื้อเพื่อดันเว็บไซต์ แตกต่างจากการทำ SEO ที่เป็นเทคนิคดันเว็บไซต์แบบออแกนิก ที่แม้ไม่ต้องลงทุนเป็นเม็ดเงิน แต่จำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาและเทคนิครอบด้านในการแข่งขัน

ช่องทางที่ 2: SEO

SEO หรือ Search Engine Optimization คือเทคนิคในการดันเว็บไซต์โดยอาศัยการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ด้วยองค์ประกอบต่างๆ วิธีนี้จะให้ความยั่งยืนมากกว่าวิธีการประมูลคีย์เวิร์ด หรือทำแคมเปญโฆษณากับทาง Google

ศาสตร์ของการทำ SEO จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากในการตลาดออนไลน์ 2022 เพราะไม่มีค่าใช้จ่าย และยังได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ เมื่อมีการปรับเว็บไซต์ตามหลัก SEO แล้วเว็บไซต์จะค่อย ๆ ขยับอันดับขึ้นไปหน้าแรกๆ ได้เองและยังดึงดูดผู้สนใจในคอนเทนต์ สร้าง Engagement ได้แบบ Organic ไปในตัว แบบไม่ต้องเสียค่าโฆษณาอีกด้วย

ช่องทางที่ 3: Content Marketing

Content Marketing คือการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ วิธีนี้มีความลื่นไหลในการสื่อสารอย่างมาก เพราะแบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมการขาย สื่อสารกับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย หรือสร้างความน่าเชื่อถือก็ยังได้ 

การทำ Content Marketing มีหลากหลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นบทความ ข้อความโฆษณา เกม วิดีโอสั้น วิดีโอยาว หรือแม้แต่รูปภาพล้อเลียน (Meme) ก็จัดเป็น Content Marketing เช่นเดียวกัน

ช่องทางที่ 4: Social Media Marketing and Advertising

Social Media Marketing คือช่องทางสื่อโซเชียล ที่สำหรับแบรนด์ หรือธุรกิจในปัจจุบันจะพลาดกันไม่ได้ เพราะยิ่งสำหรับคนไทยเองที่มีค่าเฉลี่ยในการใช้โซเชียลมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน นี่เป็นช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และยังมีโอกาสปิดการขายได้แบบง่ายๆ อีกด้วย 

วัตถุประสงค์หลักของการทำ Social Media Marketing มักจะทำไว้เพื่อสร้างแบรนด์ดิ่งให้ชัดเจน ขยายการรับรู้ของแบรนด์ ตลอดจนสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ช่องทางหลักๆ ที่หลายแบรนด์เลือกใช้ได้แก่

  • Facebook สื่อหลักที่หลายคนรู้จักกันดี มักใช้ในการทำคอนเทนต์รูป, ข้อความ และวิดีโอสั้น/ยาว
  • Line สื่อในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เน้นการใช้รูป และข้อความเพื่อบอกรายละเอียดเชิงลึก
  • Instagram สื่อที่มีความโดดเด่นเรื่องของรูปภาพเป็นหลัก รองลงมาด้วยวิดีโอแบบสั้น 
  • Twitter สื่อที่มีความไวมากที่สุด เน้นข้อความแบบสั้น อ่านง่าย เข้าใจได้เร็ว 
  • TikTok สื่อน้องใหม่มาแรงรูปแบบวิดีโอสั้น ที่สามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้สุดโต่ง
  • YouTube สื่อหลักอีกประเภท เน้นรูปแบบวิดีโอยาวที่มีข้อมูลเยอะ 
  • Pantip สื่อประเภทบอร์ด เน้นการสื่อสารแบบข้อความ และรูป ให้ความรู้สึกใกล้ชิดระดับบุคคล 
  • Blockdit สื่อน้องใหม่อีกประเภท เน้นข้อความ และรูปประกอบเล็กน้อย พื้นที่สาระ เหมาะกับการแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ที่มีประโยชน์ 
  • LinkedIn สื่อที่มุ่งเน้นกลุ่มคน และ connection เพื่อส่งเสริมความน่าเชื่อถือระดับองค์กร 
  • Clubhouse สื่อประเภทคลับ พื้นที่อิสระของคนรุ่นใหม่ ที่กล้าคิด กล้าถาม และกล้าแสดงออกถึงจุดยืนของตัวเอง

ช่องทางที่ 5: Email Marketing

E-mail Marketing คือรูปแบบการตลาดแบบคลาสสิก แต่กลับยังให้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าช่องทางอื่นเลย โดยเฉพาะกับธุรกิจประเภท B2B (Business to Business) การตลาดลักษณะนี้ยิ่งไม่ควรละเลยเสียด้วยซ้ำ!

ส่วนมากรูปแบบการตลาดนี้เหมาะกับการแจ้งเตือนข่าวสารสำคัญของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชัน บทความที่อยากนำเสนอ เปิดตัวสินค้าใหม่ หรือกิจกรรมที่อยากให้ลูกค้ามีส่วนร่วม การทำ E-mail Marketing จะเป็นการกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายได้ดีทีเดียว

ช่องทางที่ 6: Affiliate Marketing

Affiliate Marketing คือรูปแบบการแบ่งปันเรื่องราวของสินค้าผ่านบุคคลที่ 3 หากมีผู้สนใจ และกดสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของผู้โปรโมต ผู้โปรโมตจะได้รับค่าคอมมิชชันไปด้วย 

ด้วยวิธีนี้จะเป็นการเปิดตลาดใหม่ๆ ให้กับทางแบรนด์ และยังเป็นการสร้าง Brand Awareness ให้กับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม กลยุทธ์นี้ถือว่าสร้างประโยชน์ให้กับแบรนด์ได้หลายทางอย่างเห็นได้ชัด

การทำ Digital Marketing ต้องมีกลยุทธ์ แนะนำกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์

หากพูดถึงการทำ DIgital Marketing แน่นอนว่ามีทางลัด และเทคนิคสำหรับการริเริ่มลองลงมือการตลาดออนไลน์อยู่ โดยจะแบ่งขั้นตอนในการวางกลยุทธ์ออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.การวางแผน (Plan)

ทุกความสำเร็จของการตลาดดิจิทัลเกิดมาจากการวางแผนด้วยกันทั้งนั้น คุณควรเริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดที่มีเสียก่อนว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำ Digital Marketing หรือไม่ ถ้าหากพบให้พัฒนา และต่อยอดจากข้อมูลที่มี พร้อมกับกำหนดเป้าหมายระยะสั้น – ยาว, วัตถุประสงค์ และ KPI

2.การเข้าถึง (Reach)

วิเคราะห์ปัญหาในการเข้าถึงของลูกค้ากับหน้าเว็บไซต์ หรือสื่อช่องทางหลักของตัวเอง หาหนทางในการนำสื่อหน้าบ้านให้ขยายออกไปให้ได้มากที่สุด และใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องอย่างการทำ SEO เพื่อผลักดันให้หน้าเว็บไซต์เป็นอันดับต้นๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงของกลุ่มเป้าหมาย

3.การตัดสินใจ (Act)

เมื่อลูกค้าพบเว็บไซต์หน้าบ้านของคุณแล้ว เพิ่มความสะดวกในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าให้กับกลุ่มเป้าหมายให้ตัดสินใจให้ได้ง่ายมากที่สุด ตัวอย่าง มีข้อความบรรยายสรรพคุณ, มีวิดีโอการใช้งาน หรือแสดงตัวเลือกที่ใกล้เคียง เป็นต้น

4.การปิดดีล (Convert)

ขั้นตอนการชำระสินค้า ปิดดีลระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ คุณควรจะสร้างแรงจูงใจในการปิดดีลให้ได้เร็วที่สุด โดยการแสดงโปรโมชัน หรือจุดเด่นของแต่ละสินค้าให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้เร็ว และรู้สึกคุ้มค่าที่จะได้รับสินค้านี้เข้าไปอยู่ในชีวิต

5.การมีส่วนร่วม (Engage)

สุดท้ายให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการมีส่วนร่วมในการบอกต่อ หรือแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ จากสินค้าที่ซื้อไป เพื่อเป็นการสร้าง Brand Awareness และเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ตัวอย่าง การรีวิวของผู้ใช้จริง, การให้คะแนนสินค้า หรือการเชิญชวนเพื่อนให้มาใช้บริการต่อด้วยรหัส Referral code

Marketing Technology สิ่งที่จะมาช่วยส่งเสริมให้การทำตลาดออนไลน์ของคุณดียิ่งขึ้น

Marketing Technology คือเครื่องมือ และระบบที่ถูกพัฒนามาเพื่อส่งเสริมการทำ Marketing โดยจะเป็นตัวช่วยในการวางแผน, ดำเนิน และวัดผลของแคมเปญการตลาด ซึ่งจะมีอีกชื่อเรียกที่เหล่านักการตลาดมักเรียกกันคือ MarTech

Marketing Technology for Social media

Marketing Technology มีส่วนช่วยอย่างมากสำหรับการทำแคมเปญบนสื่อโซเชียล เพราะ MarTech จัดได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วยในการบรรลุเป้าหมายทางการตลาด ในหลายบริษัทมีการใช้เครื่องมือนี้และปรับแต่งตามความต้องการเพื่อให้แคมเปญมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้ถูกเรียกว่า ‘social media stack’ หรือ ‘MarTech stack’

Marketing Technology for Paid media

MarTech ได้เข้ามาจัดการกับปัญหาทางด้านการตลาดดิจิทัลได้ดีทีเดียว ยิ่งในกรณีที่แบรนด์มีการใช้ Paid media ซอฟต์แวร์นี้จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น, คุ้มค่ามากขึ้น, เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม และที่สำคัญทำให้ผลลัพธ์ที่จะออกมานำหน้าคู่แข่งทางการตลาดได้แน่นอน

Marketing Technology for SEO

การผสานเทคโนโลยีนี้จะยิ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีประสิทธิภาพ และโดดเด่นมากกว่าเดิม MarTech จะทำให้คอนเทนต์ SEO เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น, เพิ่มโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะมีส่วนร่วมกับเนื้อหามากขึ้น และสามารถวัดผลการตอบรับของการทำ SEO แต่ละครั้ง เพื่อนำไปพัฒนา และต่อยอดเพิ่มเติมได้อีก

สิ่งที่ถูกเข้าใจผิดในการทำ Digital Marketing

สิ่งที่คนทั่วไปมักเข้าใจผิดในการทำ Digital Marketing มีอะไรบ้าง?

เชื่อว่ามาถึงจุดนี้ผู้อ่านจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Digital Marketing ขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่ถึงอย่างนั้นคาดว่ายังมีภาพจำที่ทั้งผู้อ่าน และหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ Digital Marketing ซึ่งในเนื้อหาส่วนนี้ได้รวบรวมไว้มากถึง 10 ข้อ จะมีอะไรบ้างที่คนมักเข้าใจผิด ไปติดตามกันได้เลย

1. SEO ทำง่ายเหมือนปอกกล้วย

ความจริงแล้ว SEO เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยทั้งความชำนาญ และประสบการณ์ว่าต้องมีคีย์เวิร์ดใดผสมกันแล้วจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

2. ความคิดเห็นเชิงลบ ต้องไม่ดีเสมอ

คำรีวิวเชิงลบ คือข้อเท็จจริงที่สามารถเปลี่ยนเป็นคำแนะนำในการปรับปรุงให้ผลลัพธ์ดีขึ้นได้แบบก้าวกระโดด

3. สื่อโซเชียลช่องทางเดียวก็พอแล้ว

สื่อแต่ละประเภทมีกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานอยู่เสมอ การมีสื่อหลากหลายช่องทางจึงเป็นเรื่องดี และปลอดภัยมากที่สุดในฐานะแบรนด์

4. ไม่มีพื้นที่สำหรับ Digital Marketing ในองค์กร

ในความเป็นจริงแล้ว Digital Marketing สำคัญมากยิ่งสำหรับแบรนด์ใหญ่ๆ เพราะนี่จะเป็นการสร้าง Brand Awareness และจะยิ่งส่งผลดีถ้าหากได้รวมเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจอื่นๆ

5. เว็บไซต์ที่ดี ต้องมีเนื้อหาเยอะ

สิ่งที่ควรรักษาคือคุณภาพของเนื้อหา ไม่ใช่ปริมาณของเนื้อหา

6. มีเว็บไซต์ของตัวเอง = เพียงพอแล้ว

เว็บไซต์เป็นขั้นตอนแรกของแบรนด์ แต่ไม่ใช่ขั้นตอนเดียว คุณควรให้ความสำคัญกับการต่อยอด, การรังสรรค์เนื้อหา และขยายแพลตฟอร์ม

7. ความสำเร็จของกลยุทธ์ Digital Marketing คือมีผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก

 ผู้ชมเข้ามามาก แต่ไม่ได้มีการการันตีว่าทุกคนเป็นกลุ่มลูกค้าของคุณ สิ่งที่ควรโฟกัสคือ การดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาที่เว็บไซต์ต่างหาก

8. Digital Marketing เป็น Social Media Marketing

การตลาดออนไลน์ หรือ Social Media เป็นหนึ่งใน Digital Marketing เพราะทุกอย่างที่เป็นการสื่อสารแบบดิจิทัลคือภาพรวมใหญ่ของ Digital Marketing

9. ธุรกิจเล็กเท่านั้น ที่จะทำ Digital Marketing

จุดเด่นของ Digital Marketing คือการขยายฐานลูกค้า และรักษากลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะธุรกิจเล็ก-ใหญ่ ต่างก็ต้องการสิ่งนี้ด้วยกันทั้งนั้น

10. Email Marketing ไม่ได้ผล

การตลาดแบบ E-mail อาจจะไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างฐานลูกค้า แต่สิ่งที่ E-mail Marketing ทำได้ดีคือ การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิด และทำให้ฐานลูกค้าแน่นแฟ้นกับแบรนด์ได้ดีกว่ารูปแบบการตลาดอื่นๆ

เทรนด์ Digital Marketing ในปี 2023

เทรนด์ Digital Marketing ที่กำลังจะมา ในปี 2022-23 รู้ก่อนยิ่งได้เปรียบ

คาดว่าจะต้องเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของหลายคน เพราะสิ่งที่เหล่านักการตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเป็นการตลาดออนไลน์ที่ดีที่สุดในปี 2023 คือ E-mail Marketing เนื่องจากนักการตลาด 89% เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้ผ่านอีเมล ทำให้นี่เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองของปี 2023 ยิ่งไปกว่านั้นเกือบทุกคนมีบัญชีอีเมล ทำให้แบรนด์สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด และทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนพิเศษในเวลาเดียวกันได้อย่างลงตัว

สรุปความรู้การทำ Digital Marketing

Digital Marketing คือตัวแปรสำคัญในยุคนี้ก็ไม่ผิด หากธุรกิจใดที่กำลังมองหาช่องทางในการเติบโต และวางเป้าหมายในการสร้างยอดที่สูงขึ้น การริเริ่มการตลาดออนไลน์ในปี 2022 จะช่วยสานฝัน และทำให้เป้าหมายของคุณบรรลุได้แน่ นอกจากการตลาดออนไลน์จะช่วยในการขายสินค้าออนไลน์แล้ว ยังเป็นช่องทางในการสร้างการรับรู้แบรนด์, ประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า ธุรกิจไหนที่ยังไม่ได้เริ่มรุกตลาดดิจิทัล ตอนนี้ยังไม่สาย ต่อให้เริ่มช้า แต่ถ้าเริ่มทำอย่างจริงจัง ผลลัพธ์การันตีว่าดีแน่นอน

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

ช่องทางการตลาดออนไลน์ไหนที่เหมาะที่สุดสำหรับธุรกิจ

ทุกช่องทางสามารนำมาใช้ในการของธุรกิจได้ หนึ่งธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้การสื่อสารเพียงช่องทางเดียว เพียงแต่ต้องรู้ถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละช่องทาง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้และวางแผนในการทำการตลาดออนไลน์ให้ธุรกิจต่อไป

ธุรกิจ B2B จำเป็นต้องทำการตลาดออนไลน์หรือไม่

จำเป็น เพราะ Digital Marketing นั้นไม่ได้มาเพื่อส่งเสริมธุรกิจ B2C เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายช่องทางที่มาช่วยส่งเสริมธุรกิจ B2B ไม่ว่าจะเป็น e-mail marketing, SEO หรือ Linkedin ที่เหมาะอย่างมากในการหาพาร์ทเนอร์ที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจได้

ทำการตลาดออนไลน์อย่างเดียว และเลิกสนใจ offline marketing ไปเลยได้ไหม

ถึงแม้เทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้เข้ามาออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น แต่บางสินค้าหรือบริการยังมีพฤติกรรมของลูกค้าที่รับรู้จากสื่อออนไลน์ แต่เข้าไปทำการซื้อขายที่หน้าร้าน เพราะฉะนั้นการทำการตลาดแบบ omni channel เพื่อส่งสารให้ลูกค้ารับรู้แบบไร้รอยต่องระหว่าง online และ offline จึงเป็นความคิดที่ดีเหมือนกันน่ะ

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง