Table of Contents

  • ทำความรู้จัก Impression ให้มากขึ้น
  • Impression สำคัญอย่างไรต่อการทำการตลาด
  • Impression มีการทำงานอย่างไร
  • วิธีการประเมินผล Impression
  • การคำนวณ Impression
  • การโกง Impression
  • ความแตกต่างระหว่าง Impression vs Reach
  • การดู Impression ในแต่ละโซเชียลมีเดีย
  • ข้อดีของการเพิ่ม Impression
  • สรุป
  • FAQ เกี่ยวกับ Impression

Impression คืออะไร เจาะลึกตัวชี้วัดสำคัญในการทำ Digital Marketing

Table of Contents
Impression คือ ตัวชี้วัดที่เป็นยอดตัวเลขการแสดงผลทั้งหมดของโพสต์ รวมถึงยอดที่ได้รับการมองเห็นในทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง ตลอดจนการโฆษณาที่แสดงผลบนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดีย โดย Impression จะมีการวัดผล และตรวจสอบอย่างไร สามารถติดตามได้ในบทความนี้
impression คืออะไร

ทำความรู้จัก Impression ให้มากขึ้น

หากพูดถึงหนึ่งในวิธีการวัดผลของการทำ Digital Marketing ประเภทโฆษณาต่างๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมด หลายๆ คนมักพุ่งความสนใจไปที่ตัวเลข Impression เพราะเป็นจำนวนตัวเลขที่ค่อนข้างสูงจนทำให้เกิดทั้งความพึงพอใจ และเกิดเป็นข้อถกเถียงกันอยู่เสมอว่ายอด Impression จากการทำโฆษณานั้น สามารถเชื่อถือได้จริงหรือไม่ ดังนั้น ในแง่ของการทำ Digital Marketing ต้องอธิบายโดยสรุปง่ายๆ ว่า Impression Marketing คือ การแสดงผลลัพธ์ที่แบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้แก่

Served Impression

การแสดงผลลัพธ์แบบ Served Impression คือ การรับการแสดงผลเมื่อแพลตฟอร์มนั้นๆ ได้โชว์ตัวโฆษณา หรือแสดงเนื้อหาต่างๆ ของเราขึ้นมายังหน้าการใช้งานแต่ละส่วน เพียงแค่ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียเปิดหน้าที่มีเนื้อหา หรือโฆษณาของเราขึ้นมาในหนึ่งครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ได้ผ่านตาของผู้ใช้งานแล้ว หรือเป็นเนื้อหาที่ผู้ใช้งานยังไม่สามารถเข้าถึงได้จริง ยอด Impression ก็จะถูกนับเป็นหนึ่งครั้งทันที จึงทำให้ Served Impression ยังถือว่าขาดข้อมูลที่แม่นยำหลายส่วน แต่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดไปยังเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือที่ชัดเจนมากขึ้นของการแสดงผลอื่นๆ ได้

Viewable Impression

การแสดงผลลัพธ์แบบ Viewable Impression คือ การแสดงประสิทธิภาพของการทำโฆษณา หรือการใช้เนื้อหาต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้ใช้งานได้ค่อนข้างตรงกลุ่มในระดับหนึ่ง เพราะระบบจะปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากับประวัติการใช้งานต่างๆ บนเครื่องอุปกรณ์ รวมถึงบนบัญชีของผู้ใช้งานแต่ละแพลตฟอร์ม แล้วเลือกเนื้อหา หรือโฆษณาสำหรับการแสดงผลที่คาดว่าจะได้รับความสนใจอย่างตรงจุดมากที่สุดให้ปรากฏขึ้นมา แต่ Viewable Impression จะไม่มีการนับยอดผู้ใช้งานที่มองเห็น กล่าวคือ หากผู้ใช้งานมีการเลื่อนผ่านเนื้อหาโดยไม่หยุดดู เลื่อนอ่านไม่ถึงเนื้อหา หรือปิดโฆษณาก่อนที่จะแสดงผลจบ รวมถึงการโดนเครื่องมือประเภท Ads Block การแสดงผลลัพธ์แบบ Viewable Impression ก็จะไม่สามารถแสดงผลของเนื้อหา หรือโฆษณาได้เลย ซึ่งต่างจาก Served Impression ที่จะปรากฏได้ทุกส่วนบนแพลตฟอร์ม
impression สำคัญต่อการทำการตลาดอย่างไร

Impression สำคัญอย่างไรต่อการทำการตลาด

Impression Marketing คือ การแสดงจำนวนคนที่เห็นโฆษณาภายในช่องทางหนึ่งอย่างง่ายๆ ทำให้เหมาะกับแบรนด์ หรือธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม แม้ว่าตัวเลขจากค่า Impression โดยรวมนั้นอาจยังดูมากเกินไป และใช้ระบบพื้นฐานของการนับยอดที่ดูแล้วไม่ค่อยแม่นยำมากนักก็ตาม แต่การทราบจำนวนการแสดงผลที่แคมเปญโฆษณาเนื้อใดๆ ที่เราสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มต่างๆ แต่ละช่องทางนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดสร้างตัวชี้วัดทางการตลาดอื่นๆ ได้ โดยอาจกล่าวได้ว่า impression คือ ตัวเลขโดยรวมที่เป็นพื้นฐานในการต่อยอด และส่งเสริมโอกาสในการสร้างโฆษณาให้กลุ่มผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับเนื้อหา และแพลตฟอร์มอีกด้วย

Impression มีการทำงานอย่างไร

การทำงานของ Impression จะถูกนับทันทีเมื่อผู้ใช้งานเข้าไปยังหน้าโซเชียลมีเดียบนแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ได้ทำแคมเปญโฆษณา หรือเนื้อหานั้นๆ เอาไว้ โดยทุกครั้งที่มีการเข้าถึงเนื้อหานี้ได้ ยอด Impression ก็จะนับเป็นหนึ่งทันที แต่หากมีการเลื่อนผ่านมาเห็นแล้ว และเลื่อนกลับไปดูซ้ำ หรือไปกดโต้ตอบใดๆ ซ้ำอีกครั้ง ยอด Impression จะไม่เพิ่มขึ้น จนกว่าจะมีการปิดแพลตฟอร์มลง แล้วเข้ามาใช้งานอีกครั้ง ถึงจะนับ Impression ให้อีกครั้ง ดังนั้น ยิ่งมีคนเข้าใช้งานแพลตฟอร์มในช่วงที่ทำแคมเปญโฆษณา หรือเนื้อหามากเท่าไร ยอด Impression ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเช่นกัน การเลือกช่วงวัน และเวลาสำหรับแคมเปญจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ค่อนข้างสำคัญมาก เพื่อให้การทำงานของ Impression มีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิธีการประเมินผล impression

วิธีการประเมินผล Impression

วิธีการประเมินผล และแสดงยอด Impression จะถูกนับทุกครั้งที่ผู้ใช้งานเข้าสู่แพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีแคมเปญโฆษณา หรือเนื้อหาลงไว้ โดยทุกการเข้าสู่ระบบจะถูกนับทันที แต่ในการมองเห็นซ้ำโดยที่ใช้งานค้างไว้จะไม่มีการนับ Impression ซ้ำอีก แต่ทั้งนี้ การนับประเมินผลค่า Impression จะถูกนับทันทีโดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องมีการโต้ตอบกับโพสต์ หรือแม้แต่การมองเห็นบนหน้าจอแสดงผลจริงๆ ที่ยังเลื่อนไม่เจอก็ถูกนับเป็น Impression เช่นเดียวกัน จึงเหมาะกับการใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐานวัดค่าด้านจำนวนผู้ใช้งานของแพลตฟอร์มที่ลงแคมเปญไว้ตามหลักทางการทำการตลาด เพื่อต่อยอดไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม

การคำนวณ Impression

เกณฑ์การคำนวณต้นทุนแคมเปญจากค่า Impression คือ การนับแบบ CPM หรือ Cost Per Mille หรือทุกๆ การแสดงผล 1,000 ครั้ง จะนับเรทต้นทุนทันที ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะได้รับเงินเมื่อแคมเปญนั้นมี Impression ทุกๆ 1,000 โดยไม่ต้องมีการโต้ตอบใดๆ ส่วนราคาเรทราคามาตรฐานของแพลตฟอร์มเว็บไซต์ต่างประเทศหลายๆ เว็บไซต์ตอนนี้จะอยู่ที่ 5 ดอลลาร์ ต่อ 1,000 ครั้ง จึงเกิดการถกเถียงในเรื่องระบบการนับ Impression ของเหล่านักการตลาดออนไลน์อย่างต่อเนื่องว่าเป็นยอดผลลัพธ์ที่มีประโยชน์จริงหรือไม่ แต่ถ้าเป็นแคมเปญที่ต้องการทำต่อเนื่อง และผลักดันเนื้อหาของแบรนด์ Impression ก็ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญอย่างแน่นอน

การโกง Impression

ยอด Impression คือการแสดงผลที่มีการบิดเบือนได้ง่ายมาก ดังนั้น นักการตลาดจึงมีการเพิ่มเติมเครื่องมือเพื่อต่อยอดให้แคมเปญได้รับผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และคุ้มค่ากับการลงโฆษณามากขึ้น โดยอาศัยยอด Impression พื้นฐานจากทางแพลตฟอร์มนั้นๆ ทั้งนี้การโกงยอด Impression ทำได้ง่ายมาก โดยสามารถพบเห็นได้จากการใช้บอทเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ซ้ำๆ เพื่อปั๊มยอดการแสดงผลให้เพิ่มขึ้น หรือแม้แต่การรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ของผู้ใช้งานก็ทำให้ยอด Impression เพิ่มขึ้นได้แล้วเช่นกัน ซึ่งถือเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ยอด Impression ถูกหลายๆ คนเลือกที่จะมองข้ามไป
ความแตกต่างระหว่าง impression และ reach

ความแตกต่างระหว่าง Impression vs Reach

ยอดวัดการแสดงผลของแคมเปญโฆษณา หรือเนื้อหาที่ได้ปรากฏขึ้นมาบนหน้าแพลตฟอร์มของผู้ใช้งานช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ มีการใช้ยอดหลักที่เอาไว้ดูภาพรวมผลลัพธ์ คือ Impression และ Reach ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองจะอยู่ที่การมองเห็นของผู้ใช้งาน โดย Impression คือเป็นยอดการเข้าใช้งาน เข้าสู่ระบบของแพลตฟอร์มแต่ละครั้ง โดยที่ผู้ใช้งานอาจไม่ต้องเห็นตัวแคมเปญทันที แต่ Reach คือยอดที่ผู้ใช้งานหนึ่งบัญชี ที่มองเห็นแคมเปญนั้นๆ ไปหนึ่งครั้ง หากเห็นซ้ำจะไม่ถูกนับ Reach เพิ่ม กล่าวคือ Reach เป็นการอ้างอิงยอดจากบัญชีที่มองเห็นหนึ่งครั้ง ต่อหนึ่งบัญชีเท่านั้น
การดู impression ในแต่ละโซเชียลมีเดีย

การดู Impression ในแต่ละโซเชียลมีเดีย

ระบบหลังบ้านที่สำคัญมากของการทำการตลาดออนไลน์ให้กับแคมเปญโฆษณา หรือเนื้อหาต่างๆ ในแต่ละโซเชียลมีเดียมีวิธีการดู Impression ไม่เหมือนกัน โดยแต่ละแพลตฟอร์มสามารถเข้าไปตรวจสอบได้จากขั้นตอนที่ต่างกัน ดังนี้

การดู Impression ใน Facebook

ระบบหลังบ้านของการดู Impression และการตรวจสอบยอดการเข้าถึง หรือการแสดงผลลัพธ์แคมเปญต่างๆ ของ Facebook ให้เลือกที่เมนู “Creator Studio” แล้วเลือก “View Insights” ของแคมเปญเนื้อหาที่ต้องการดูผลลัพธ์ ส่วนข้อมูลที่ระบบการแสดงผลของ Facebook ประกอบไปด้วย

  • ยอดการโต้ตอบ หรือการมีส่วนร่วมกับโพสต์แคมเปญทั้งหมด ได้แก่ การกดถูกใจ (Like) การแสดงความคิดเห็น และการแชร์
  • ยอดการกด Reaction ที่แสดงความรู้สึกอื่นๆ แทนการกดถูกใจ (like)
  • ยอดการคลิกลิงก์ของเนื้อหาจากแคมเปญนั้น 
  • ยอดการถูกกดซ่อนโพสต์ (Hide Post)
  • ยอดการถูกแจ้งรายงานสแปม
  • ยอดการถูกกดยกเลิกการกดถูกใจ หรือติดตามเพจจากการเห็นโพสต์แคมเปญนี้

การดู Impression ใน Youtube

ระบบการแสดงผลลัพธ์แคมเปญโฆษณา และเนื้อหาบน YouTube ให้เลือกที่เมนู “Insight” จากคลิปที่ต้องการตรวจสอบผลลัพธ์จากการแสดงผลแบบละเอียด แล้วเลือกไปยังแท็บ “Engagement” หรือ “Reach” สำหรับดูข้อมูลทั้งหมด ดังนี้

  • ในส่วนของแท็บ Engagement จะประกอบด้วย เวลาชั่วโมงของการรับชมคลิปทั้งหมด เวลาการคงผู้ชมคลิปไว้ได้โดยเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์อัตราผู้ชมที่เข้าดูคลิปโดยเฉลี่ย จำนวนผู้ชมที่คลิกลิงก์เนื้อหาแคมเปญจากคลิปนี้ และจำนวนการยอดการกด Like หรือ Dislike
  • ในส่วนของแท็บ Reach จะประกอบด้วย ยอดรวมของ Impressions หรือการปรากฏคลิปขึ้นมาทั้งหมด ยอด Views จากผู้ชมจริง จำนวนยอดการเข้าถึงคลิปจากช่องทางต่างๆ จำนวนการค้นหาคลิปเจอผ่านคีย์เวิร์ด และจำนวนการเข้าถึงคลิปผ่านวิดีโอที่แนะนำด้วยระบบของ YouTube

ส่วนการดูจำนวนยอดการแชร์คลิป สามารถเข้าดูผ่านทางเมนู “Advanced Mode” โดยกดที่ More แล้วเลือก “Sharing Service” ก็จะทราบจำนวนแบบเรียลไทม์ทุกคลิปทันที

การดู Impression ใน Instagram

ระบบการตรวจสอบผลลัพธ์แคมเปญโฆษณา หรือการแสดงเนื้อหาบนช่องทาง Instagram จะแบ่งเป็นส่วนของเนื้อหาโพสต์หลักที่หน้าบัญชี เนื้อหาบน Stories หรือไอจีสตอรี่ และเนื้อหาจากการใช้ Reels หรือคลิปวีดีโอสั้นบนไอจี สำหรับส่วนของโพสต์หลักหน้าบัญชีให้เข้าไปที่เมนู “View Insight” จากปุ่มที่โพสต์นั้น แล้วข้อมูลจะแสดงผลลัพธ์ ดังนี้

  • ยอดการโต้ตอบกับโพสต์แคมเปญทั้งหมด ได้แก่ กดถูกใจ (Like) การแสดงความคิดเห็น การแชร์ และการกดบันทึกโพสต์ (Post Saved)
  • ยอดการคลิกลิงก์ของเนื้อหาจากแคมเปญนั้น 
  • จำนวนของยอดการกดเข้าชมหน้าหลักโปรไฟล์บัญชีแคมเปญ
  • จำนวนยอดจำนวนผู้ติดตามใหม่ที่กดมาจากเนื้อหาแคมเปญ

ในส่วนการแสดงผลลัพธ์จากโพสต์แบบ Stories หรือไอจีสตอรี่ ให้เลือกเมนูจากหน้าการดูผู้ชม Stories นั้นๆ ได้เลยจาก “View Insight” แล้วข้อมูลจะแสดงผลลัพธ์ ดังนี้

  • จำนวนยอดการตอบกลับ หรือการ Reply Stories และจำนวนการกด Reaction หรือสติกเกอร์ต่างๆ บนเนื้อหานั้น
  • จำนวนยอดการเข้าชมโปรไฟล์บัญชีจากสตอรี่นั้น
  • จำนวนการกดระบบนำทางต่างๆ (Navigation) ได้แก่ การแตะกลับไปยังสตอรี่ก่อนหน้า การแตะข้ามไปยังสตอรี่ถัดไป และการกดออกจากหน้าสตอรี่

หากใครที่ทำเนื้อหาแคมเปญแบบคลิปวีดีโอสั้นลงบน Instagram หรือที่เรียกกันว่า Reels สามารถเข้าดูผลลัพธ์ได้ที่เมนู “Creator Studio” ของหน้าหลักได้ ซึ่งจะแสดงยอดการเข้าถึง ยอด Engagement ต่างๆ แบบละเอียดได้ทุกคลิป

การดู Impression ใน Twitter หรือปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น X

ระบบการตรวจสอบผลลัพธ์แคมเปญโฆษณา หรือการแสดงเนื้อหาบนช่องทาง X สามารถดูได้ในเมนูตรงโพสต์ของทวีตนั้นได้เลย โดยจะมีบอกข้อมูลการแสดงผลสถิติต่อทวีตนั้นแบบภาพรวม ประกอบด้วย จำนวนยอดการรีทวีต (Retweet) ยอดการอ้างอิงทวีต หรือ Quote Tweet และยอดการกด Like แต่หากใครต้องการข้อมูลการแสดงผลแบบละเอียด สามารถเข้าดูผ่านทางเมนู “Twitter Analytics” ก็จะแสดงผลลัพธ์ ดังนี้

  • สถิติข้อมูลการเข้าถึงเบื้องต้น ได้แก่ จำนวนยอดการรีทวีต (Retweet) ยอดการอ้างอิงทวีต หรือ Quote Tweet และยอดการกด Like
  • จำนวนการแสดงผลที่ทวีตนั้นถูกแสดงให้ผู้อื่นเห็น หรือยอด Impressions หลัก
  • จำนวนการกดเข้าดูบัญชีโปรไฟล์จากทวีตนั้น 
  • จำนวนผู้ที่กดติดตามใหม่จากทวีตนั้น
  • จำนวนครั้งของการกดลิงค์ผ่านทวีตนั้น
  • จำนวนยอดผู้ชมที่เข้าดูสื่อวีดีโอ (Media Views)

การดู Impression ใน Tiktok

ระบบการตรวจสอบยอดการแสดงผลลัพธ์ต่างๆ บน TikTok ให้เลือกไปยังเมนู “Analytics” แล้วจะมีการแสดงผลภาพรวมทั้งหมด และผลลัพธ์ของแต่ละคลิป ดังนี้

  • ระยะเวลาของผู้ชมต่อคลิปนั้นๆ ได้แก่ เวลารวมของการดูคลิปทั้งหมด และ เวลาการดูคลิปโดยเฉลี่ย
  • ยอด Views ในการเข้าดูคลิป
  • ยอดการกดเข้าดูบัญชีโปรไฟล์ผ่านคลิปนั้น
  • จำนวนการกดโต้ตอบกับคลิปนั้น ได้แก่ การกดถูกใจ (Like) การแสดงความคิดเห็น และการแชร์
ข้อดีของการเพิ่ม impression

ข้อดีของการเพิ่ม Impression

จุดประสงค์หลักของการใช้ข้อมูลผลลัพธ์ Impression คือ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเดิมเพื่อต่อยอดให้เกิดการกลับมาซื้อ หรือใช้บริการซ้ำ ส่วนใครที่ต้องการนำข้อมูลพื้นฐานของยอด Impression ไปต่อยอดเพื่อปรับการเลือกใช้เครื่องมือในการเข้าถึงเนื้อหาแคมเปญทางการตลาดอื่นๆ ก็สามารถใช้สถิติจำนวนยอดผู้ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแต่ละช่วงเวลาจากสถิติ Impression ของเคมเปญได้เช่นกัน

สรุป

ยอด Impression และยอด Reach มีข้อดีที่แตกต่างกัน โดยจุดเด่นของ Impression คือ การต่อยอดไปสู่กลุ่มเป้าหมาย และการทำแคมเปญในระยะยาว รวมถึงสร้างโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายเดิมสามารถกลับมาซื้อสินค้า และบริการซ้ำได้ เป็นการเน้นสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด ติดตากับผู้บริโภคง่ายมากที่สุด ส่วนยอด Reach จะใช้สำหรับการหากลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ และการทำแคมเปญระยะสั้น โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแคมเปญในแต่ละครั้ง เพื่อแสดงผลลัพธ์ให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแคมเปญมากที่สุด

FAQ เกี่ยวกับ Impression

รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับ Impression ของการทำแคมเปญโฆษณาหรือเนื้อหาต่างๆ เพื่อประโยชน์ด้านการทำการตลาดออนไลน์มาตอบเพื่อให้รู้จัก Impression มากขึ้น
Impression ต่างจาก Clicks อย่างไร
Impression คือ การแสดงผลของโฆษณา หรือเนื้อหาแคมเปญผ่านหน้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ผู้ใช้งานเข้าเลื่อนไถไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะเลื่อนเจอโฆษณาพอดี เลื่อนผ่านไป หรือเลื่อนยังไม่ถึงโฆษณาก็ตาม ยอด Impression จะมีการนับครั้งต่อหนึ่งการเข้าสู่ระบบ ส่วนการ Clicks จะเป็นการโต้ตอบกับเนื้อหา ซึ่งจัดอยู่ในการเข้าถึงเนื้อหา หรือการมีส่วนร่วม เพื่อใช้ต่อยอดการวิเคราะห์ และการแสดงผลลัพธ์ของแคมเปญ
สามารถวัดผล Impression ได้อย่างไร
ยอด Impression จะถูกนับทันทีที่ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนั้นเข้าสู่ระบบมายังหน้าหลัก โดยจะเห็นตัวโฆษณาแล้ว หรือยังไม่เห็นก็ได้ ซึ่งจะนับเป็นหนึ่ง Impression ดังนั้น หากมีการเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง หรือการรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ ก็จะนับยอด Impression เป็นอีกหนึ่ง แต่ถ้าคงอยู่ในระบบไปเรื่อยๆ ก็จะไม่มีการนับเพิ่ม
Viewability Rate คืออะไร
Viewability Rate เป็นหนึ่งในรูปแบบของ Impression ที่สามารถวัดผลความสนใจของกลุ่มผู้ใช้งานได้ชัดเจนมากขึ้น โดยยอดของ Viewability Rate จะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อมีการหยุดดูเนื้อหาโฆษณานั้นในระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแต่ละแพลตฟอร์มจะกำหนด เช่น การหยุดดูตั้งแต่ 3-5 วินาทีแรก แล้วเลื่อนผ่านไปทันทีจะไม่ถูกนับ

Harit Posanakul

เราใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณบนเว็บไซต์ของเรา การเรียกดูเว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับการใช้คุกกี้ของเรา
minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services

minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services

minimice-group-logo-mobile

Our Services

small_c_popup
minimice-group-logo-mobile

Our Services

Our Services