Content Creator คืออะไร รวมข้อควรรู้ หากอยากเป็นครีเอเตอร์ดิจิทัล!

Content Creator คืออะไร รวมข้อควรรู้ หากอยากเป็นครีเอเตอร์ดิจิทัล!

Table of Contents

KEY TAKEAWAYS

  • ครีเอเตอร์ดิจิทัล คือผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่นบทความ บล็อก โพสต์ การทำรูปภาพ กราฟิก หรือตัดต่อคลิปวิดีโอต่างๆ
  • งานสายคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสายอินฟลูเอนเซอร์ สายกราฟิก สายบล็อกเกอร์ สายพอดแคสต์ หรือสายตากล้อง
  • วิธีสร้างคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ทำได้ด้วยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หาไอเดีย ทำ Content Plan สร้างคอนเทนต์ และติดตาม Performance และ KPI เพื่อพัฒนาต่อยอด
  • วิธีสร้างคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ทำได้ด้วยการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หาไอเดีย ทำ Content Plan สร้างคอนเทนต์ และติดตาม Performance และ KPI เพื่อพัฒนาต่อยอด
  • เครื่องมือในการทำ Research Content ที่หลากหลาย ทั้งแบบฟรี และเสียเงิน เช่น Google Keywords Planner, Google Trend, Soovle, Tubebuddy, และ Surfer SEO

หากพูดถึงอาชีพที่กำลังมาแรง และเป็นที่น่าจับตามองในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นอาชีพครีเอเตอร์ดิจิทัล หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) เพราะนี่คืออาชีพที่มีอิสระในการทำงาน สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างคอนเทนต์ หรือเนื้อหาประเภทต่างๆ ลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ อีกทั้งยังเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก 

บทความนี้จึงอยากพาไปสำรวจดูว่า อาชีพครีเอเตอร์ดิจิทัล คืออะไร ต้องมีทักษะใดบ้าง และต้องทำอย่างไรให้สามารถเป็นนักสร้างสรรค์คอนเทนต์มืออาชีพได้

อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คืออะไร

อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คืออะไร

ครีเอเตอร์ดิจิทัล หรืออาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คือ ผู้สร้างสรรค์เนื้อหา หรือคอนเทนต์ประเภทต่างๆ ลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มออฟไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารเนื้อหาข้อมูลให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า หรือนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการตลาดดิจิทัล โดยสามารถวัดผลความสำเร็จของคอนเทนต์ได้จากยอด Engagement, ยอด View, ยอด Like หรือยอดแชร์ต่างๆ ตามประเภทของคอนเทนต์ แต่ทั้งนี้ Content ที่ดีก็ต้องมาควบคู่กับเนื้อหาสาระที่ให้คุณค่า และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะด้วยเช่นกัน

อาชีพครีเอเตอร์ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้การเป็นครีเอเตอร์สามารถเป็นได้ง่ายๆ ใครก็สามารถทำได้ เพียงแค่ศึกษาข้อมูลของแพลตฟอร์ม และแนวทางในการทำคอนเทนต์ออนไลน์

โดยเนื้อหา หรือคอนเทนต์ที่ครีเอเตอร์ดิจิทัลทำ ก็มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ บล็อก โพสต์ การทำรูปภาพ กราฟิก หรือตัดต่อคลิปวิดีโอต่างๆ ในหัวข้อ หรือเรื่องที่พวกเขาต้องการนำเสนอตามจุดประสงค์ที่กำหนด เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มลูกค้า ผู้ติดตาม รวมถึงเพื่อดึงดูดฐานลูกค้า และผู้ติดตามใหม่ๆ 

ยกตัวอย่างจุดประสงค์ในการทำคอนเทนต์ เช่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างความบันเทิง เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ เพื่อกระตุ้นการขาย เป็นต้น

สายงานคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มีอะไรบ้าง

สายงานคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มีอะไรบ้าง

สายงานคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) คืออาชีพที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งประเภทของเนื้อหา หรือคอนเทนต์จะขึ้นอยู่กับช่องทาง หรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในการเผยแพร่ รวมไปถึงความต้องการของกลุ่มผู้ชม หรือลูกค้าว่าต้องการเสพสื่อประเภทใด เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาที่ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด โดยสายงานคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

สายอินฟลูเอนเซอร์ ผลิตคลิปวิดีโอ

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) สายอินฟลูเอนเซอร์ ผลิตคลิปวิดีโอ

ครีเอเตอร์ดิจิทัลสายอินฟลูเอนเซอร์ ผลิตคลิปวิดีโอ หรือ Video Creator คือกลุ่มของอินฟลูเอนเซอร์แบรนด์สินค้า หรือกลุ่มของนักรีวิว, บิวตี้บล็อกเกอร์, YouTuber, Live Streamer หรือ TikToker 

ซึ่งคอนเทนต์ประเภทวิดีโอจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ในรูปแบบคลิปวิดีโอทั้งขนาดสั้น และขนาดยาว โดยเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มที่เป็นวิดีโอ หรือ Video Content Platform เช่น YouTube, TikTok, Instagram Reels, หรือ Facebook Reels เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาในวิดีโอสามารถนำเสนอได้หลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความชอบ หรือความเหมาะสม เช่น

  • การถ่าย Vlog หรือ Video Blog เหมาะกับคนที่ชอบออกกล้อง ชอบเดินทางไปสถานที่ต่างๆ หรือชอบทำกิจกรรมต่างๆ เพราะเน้นการถ่ายแบบเรียลไทม์ ผสมผสานกับการตัดต่อให้เข้าถึงง่าย สนุกสนาน เน้นความบันเทิง และผ่อนคลาย
  • การทำวิดีโอ How-to เป็นเนื้อหาเพื่อให้คำแนะนำ เหมาะสำหรับคนที่มีข้อมูลความรู้ในเฉพาะด้าน และต้องการแชร์ให้คนอื่นๆ ได้รับประโยชน์ หรือได้รับแนวทางในการแก้ปัญหา
  • การ Live Stream เหมาะกับคนที่ชอบถ่ายวิดีโอแบบเรียลไทม์ หรือการแสดงสด เน้นความบันเทิง สนุกสนาน เช่น การสตรีมเกม หรือการเล่นดนตรี เป็นต้น
  • การแสดง Reality เป็นวิดีโอที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิง โดยเน้นความสมจริง และสร้างความรู้สึกร่วมได้ เช่น การทำอาหาร หรือการแสดงละคร เป็นต้น
  • การรีวิวอาหาร สถานที่ หรือสินค้า การทำวิดีโอประเภทนี้สามารถทำได้ทั้งรูปแบบของวิดีโอสั้น และวิดีโอขนาดยาว โดยเน้นการรีวิว หรือแนะนำ เพื่อกระตุ้นการซื้อขาย หรือความต้องการ
  • การให้ความรู้ การเรียนการสอน หรือการพัฒนาตนเอง เป็นคอนเทนต์วิดีโอยอดนิยม และมีประโยชน์มากๆ เหมาะกับทั้งคนที่ชอบถ่ายคลิปเล่า หรือบรรยายแบบเห็นหน้า หรืออยากอัดเสียงประกอบรูปภาพแบบพอดแคสต์ก็สามารถทำได้

สายกราฟิก ผลิตรูปภาพ

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) สายกราฟิก ผลิตรูปภาพ

ครีเอเตอร์ดิจิทัลสายกราฟิก ทำรูปภาพ เน้นอัปโหลดลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยม เช่น Facebook, Instagram, หรือเว็บไซต์ โดยคอนเทนต์ประเภทรูปภาพ หรือกราฟิกต่างๆ มักเป็นในรูปแบบของ Banner, Photo Album, Infographic ซึ่งแตกต่างกันออกไปตามเนื้อหา หรือจุดประสงค์ที่ต้องการนำเสนอ รวมไปถึงแพลตฟอร์มที่ใช้อีกด้วย 

คอนเทนต์ประเภทรูปภาพ หรือกราฟิกมีหลายรูปแบบ เช่น

  • การออกแบบเพื่อสร้างแบรนด์ (Brand Design)
  • การทำตัวอักษรหรือการทำฟอนต์ (Typeface Design)
  • การทำภาพประกอบเนื้อหา (Illustration Design)
  • การออกแบบเพื่อทำการตลาด (Marketing Design)
  • การออกแบบเพื่อการทำมีม (Memes)

โดยคอนเทนต์รูปภาพเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นการขาย หรือคอนเทนต์แบบเรียลไทม์ เพื่อติดตามกระแสของสังคม ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ต้องอาศัยกราฟิกดีไซเนอร์ในการออกแบบ Artwork หรือผลงานให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และมีความสวยงาม เพื่อให้นำเสนอเนื้อหาได้อย่างกระชับ ครบถ้วน เข้าถึงง่าย และดึงดูดผู้ชมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สายบล็อกเกอร์ ผลิตบทความ

ครีเอเตอร์ดิจิทัล Content Creator สายบล็อกเกอร์ ผลิตบทความ

ครีเอเตอร์ดิจิทัลสายบล็อกเกอร์ ผลิตบทความ เน้นสร้างคอนเทนต์ประเภทงานเขียน ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นรูปแบบของบทความในเว็บไซต์ บล็อก หรือโพสต์ในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบทความในเว็บไซต์ที่ต้องเขียนออกมาในรูปแบบ SEO Content เพื่อให้เนื้อหาบทความมีความน่าเชื่อถือ ตอบโจทย์กับ Search Engine อย่าง Google และสามารถจัดอันดับบนหน้าเสิร์ช Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ ยังมีการเขียนบล็อกที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะสามารถเขียนได้ง่าย อัปโหลดลงบนแพลตฟอร์มได้หลากหลาย เนื้อหาสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ เช่น

  • บทความเกี่ยวกับการรีวิวสินค้า
  • บทความเกี่ยวกับการแชร์ประสบการณ์ 
  • บทความเกี่ยวกับเนื้อหาแบบเฉพาะด้าน เช่น แฟชั่น การแพทย์ เรื่องลี้ลับ เป็นต้น

สำหรับนักเขียนบางคนอาจมองหาไอเดียใหม่ๆ ได้ด้วยการ ai เขียนบทความ เพื่อเป็นตัวช่วยในการผลิตงานเขียนให้ตอบโจทย์ลูกค้า และถูกรูปแบบ SEO Content ส่งเสริมประสิทธิภาพของงานให้ออกมาดียิ่งขึ้นจนติดอันดับหน้าเสิร์ชได้

สายพอดแคสต์ Podcasters

ครีเอเตอร์ดิจิทัล สายพอดแคสต์

ครีเอเตอร์ดิจิทัลสายพอดแคสต์ สร้างคอนเทนต์ประเภทรายการเสียง คล้ายกับรายการวิทยุโดยทั่วไป โดยจะเป็นโฮสต์เพื่อพูดคุยกับเหล่าแขกรับเชิญ หรือเป็นการพูดอยู่ฝ่ายเดียวก็ได้ สามารถหยิบยกเนื้อหาในการพูดคุยได้หลากหลาย เช่น

  • การพูดคุยเรื่องอาชีพ
  • การพูดคุยเรื่องอาหาร
  • การพูดคุยเรื่องเกร็ดความรู้ ความรู้ทั่วไป 
  • การพูดคุยเพื่อความบันเทิง เช่น เล่าเรื่องผี เล่าเรื่องตลก เล่าประสบการณ์

จากนั้นก็จะอัปโหลดพอดแคสต์ลงบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Spotify, Youtube ,Podbean, และ Apple Podcast

สายตากล้อง Photographers

ครีเอเตอร์ดิจิทัลสายตากล้อง บอกเล่าเรื่องราวผ่านเลนส์กล้อง สร้างผู้ติดตามได้จากการถ่ายรูปสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น

  • การถ่ายรูปวิว
  • การถ่ายรูปคน
  • การถ่ายรูปอาหาร 
  • การถ่ายรูปวิถีสัตว์ 

โดยตากล้องแต่ละคนจะนำเสนอในรูปแบบที่เป็นตัวเอง เรียกความสนใจจากกลุ่มคนดูได้จากความเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของรูปภาพ นอกจากนี้ รูปภาพเหล่านั้นยังสามารถนำมาขายเพื่อสร้างรายได้ได้อีกด้วย 

วิธีสร้างคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ดิจิทัล Content Creator ให้มีประสิทธิภาพ

วิธีสร้างคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ดิจิทัล ให้มีประสิทธิภาพ

ครีเอเตอร์ดิจิทัล มีบทบาทที่หลากหลาย ไม่เพียงแค่การเขียน การทำกราฟิก หรือการตัดต่อวิดีโอ แต่ยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่สำคัญต่อการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ โดยคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะมีวิธีการสร้างคอนเทนต์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพบ้าง ไปดูกัน

1. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของคอนเทนต์ที่จะทำ

ก่อนลงมือผลิตคอนเทนต์ในแต่ละรูปแบบ คอนเทนต์ครีเตอร์จะต้องวิเคราะห์ข้อมูล หรือกลยุทธ์ต่างๆ ที่ได้รับจากนักการตลาด เช่น 

เมื่อคอนเทนต์ครีเอเตอร์รู้ว่าธุรกิจ หรือแบรนด์มีเป้าหมาย และจุดประสงค์ในการขายอย่างไร มีกลุ่มลูกค้าเป็นใคร อายุเท่าไร หรือเพศไหน คอนเทนต์ครีเอเตอร์ก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้ว่า ควรวางแผน หรือทำคอนเทนต์ออกมาอย่างไร เผยแพร่ออกไปในช่องทางไหน ช่วงเวลาใด และต้องสื่อสารอย่างไรให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. หาไอเดียในการสร้างคอนเทนต์

การคิดหาไอเดียในการสร้างสรรค์ ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) เนื่องจากการผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ สิ่งสำคัญคือการทำอย่างไรให้คนติดตามอ่าน หรือชมเรื่องราว พร้อมกับมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการแชร์ต่อ เพื่อให้คอนเทนต์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เพื่อให้แบรนด์ หรือธุรกิจเติบโต และเป็นที่รู้จักผ่านช่องทางต่างๆ มากขึ้น 

โดยการค้นหาไอเดียต่างๆ สามารถทำได้หลายวิธี เริ่มต้นจากการคิดว่าอยากทำคอนเทนต์ที่เป็นแบบมาเร็วไปเร็ว ตามทันกระแสโลกแบบ Tropical Content หรืออยากทำคอนเทนต์แบบ Evergreen Content ที่เนื้อหาจะอยู่ได้ตลอดกาลไม่มีวันเก่า หรือหมดความนิยม 

จากนั้นสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยค้นคว้าข้อมูลในการนำมาสร้างสรรค์ไอเดียที่หลากหลาย และตรงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เช่น

  • Google Keywords Planner
  • Google Trend
  • Soovle
  • Tubebuddy
  • Surfer SEO
  • ChatGPT
  • Claude

3. วางแผนในการจัดทำคอนเทนต์ (Content Plan)

หลังจากศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลกันแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการลงมือทำ Content Plan เพื่อให้ทราบว่าควรเริ่มทำอะไรก่อน และหลัง หรือการตั้งไทม์ไลน์ให้ชัดเจน เพื่อให้งานเสร็จทันเวลา และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วคอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถสร้าง Content Plan ผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ 

Publer เครื่องมือตัวช่วยลงคอนเทนต์

Publer เครื่องมือช่วยวางแผนคอนเทนต์

แนะนำ Publer หรือแพลตฟอร์มกำหนดเวลาลงโซเชียลมีเดีย ที่สามารถเชื่อมต่อได้กับแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram, Twitter/X, TikTok, LinkedIn และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ อีกมากมาย 

โดยเราสามารถระบุได้ว่า ในช่วงเวลาหนึ่งอาทิตย์ หรือหนึ่งเดือนจะมีคอนเทนต์ไหนบ้างที่ต้องการอัปเดตบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลลัพธ์ของแต่ละโพสต์ในโซเชียลมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงคอนเทนต์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพรีวิวคอนเทนต์ แนะนำแฮชแท็ก หรือแม้แต่การสร้างลายน้ำ

4. สร้างคอนเทนต์ตามแผนที่วางไว้ และตรวจสอบก่อนเผยแพร่

เมื่อทำการวางแผนการจัดทำคอนเทนต์เสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาลงมือทำ โดยการสร้างคอนเทนต์ก็แตกต่างกันออกไปตามประเภทที่วางแผน เช่น 

  • งานเขียน ทำบน Google Doc เพราะสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายในทีม ทำให้ง่ายต่อการเขียน การตรวจสอบเนื้อหา หรือใส่ Key Messgage ให้ตรงตามที่วางแผนไว้ 
  • งานรูปภาพ ทำบน Adobe Photoshop, Adobe Lightroom, Capture One Pro หรือ Canva เพื่อตัดต่อรูปภาพให้เป็นไปตามที่ต้องการ
  • งานเสียง ทำบน Ashampoo Music Studio, Ocenaudio, FL Studio หรือ WavePad Audio Editor เพื่อตัดต่อเสียง รวมถึงใส่ดนตรีพื้นหลังเพิ่มความน่าสนใจ
  • งานวิดีโอ ทำในแอปพลิเคชันตัดต่อที่แตกต่างกันออกไปตามการทำงาน เช่น Adobe Premiere Pro หรือ Final Cut Pro เป็นต้น

โดยการตรวจสอบผลงานก่อนเผยแพร่ก็แตกต่างกันออกไปตามประเภทคอนเทนต์ เช่น งานเขียนที่โดยทั่วไปมักมีฝ่ายบรรณาธิการ เอดิเตอร์ หรือคนในทีมช่วยกันตรวจสอบของกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นคำผิด การคัดลอกเนื้อหา หรือจุดประสงค์ที่ต้องการนำเสนอ หรือหากเขียนเอง ตรวจสอบ และเผยแพร่เองก็สามารถใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อช่วยตรวจสอบได้ เช่น Grammarly (สำหรับบทความ หรือเนื้อหาภาษาอังกฤษ) หรือ ReadAwrite (สำหรับบทความ หรือเนื้อหาภาษาไทย)

5. ติดตาม Performance และ KPI

เมื่อเผยแพร่คอนเทนต์ลงไปบนแพลตฟอร์มแล้วสักระยะหนึ่ง สิ่งสำคัญคือการวัดผลว่าผลงานนั้นๆ มีประสิทธิภาพ หรือได้รับการตอบรับที่ดีมากน้อยเพียงใด เพื่อทำการวิเคราะห์ว่าผลงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่ โดยขั้นตอนการวัดผลสามารถทำได้โดยการติดตาม Performance และ KPI ผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น

  • Social Media Tools เช่น Facebook Creator Studio และ Twitter For Business 
  • Social Media Marketing Tools ต่างๆ เช่น  Fanpage Karma, Mention หรือ Keyhole เป็นต้น 

หากต้องการติดตามประสิทธิภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์ สามารถใช้ Google Analytics หรือ Google Search Console ได้เลย ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อนำเอามาทำการวิเคราะห์ปรับใช้ และพัฒนาเนื้อหาคอนเทนต์ในอนาคตได้

เครื่องมือ Research Content เพื่อการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ

เมื่อได้รู้วิธีสร้างคอนเทนต์ของครีเอเตอร์ดิจิทัล กันไปแล้ว หลายคนอาจจะยังคงสงสัยว่าจะสามารถวิเคราะห์เทรนด์เพื่อวางแผนในการทำคอนเทนต์ให้อยู่ในกระแสได้อย่างไร บทความนี้ได้รวบรวมเอาเครื่องมือ Research Content มาให้แล้ว ดังนี้

  • Google Keywords Planner: Keyword Tool เครื่องมือช่วยรีเสิร์ชหา Keyword ที่กำลังเป็นที่นิยม ได้รับความสนใจในคนหมู่มาก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานแทบจะทุกประเภท ตั้งแต่การตั้งชื่อ ไปจนถึงเนื้อหาด้านในคอนเทนต์
  • Google Trend: เครื่องมือสำหรับสำรวจความนิยมของ Keyword ที่น่าสนใจในช่วงเวลานั้นๆ โดยมีฟีเจอร์ที่เหมาะกับการวางแผนทำคอนเทนต์อย่างการระบุความนิยมในระดับจังหวัด ประเทศ รวมไปถึงระดับโลก พร้อมนำเสนอเทรนด์ยอดฮิตประจำวันที่รับรองได้ว่าจะไม่พลาดการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ ติดกระแสแน่นอน
  • Soovle: เครื่องมือช่วยสร้างสรรค์ไอเดียในการทำคอนเทนต์ เพียงแค่ใส่ Keyword ลงไป เครื่องมือนี้ก็จะช่วยแนะนำเว็บไซต์ที่มี Keyword เดียวกันถึง 15 เว็บ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดสร้างคอนเทนต์ที่แตกต่างออกไป
  • Tubebuddy: เครื่องมือค้นหา Keyword สำคัญใน Youtube เพื่อสร้างคอนเทนต์วิดีโอให้ตอบโจทย์กับความสนใจ และกระแสในช่วงเวลานั้นๆ เปิดการมองเห็นให้กับวิดีโอ สร้างผู้ติดตามและยอดเอนเกจได้อย่างดี
  • Surfer SEO: แอปพลิเคชันฟรีสำหรับ Content Creator สายถ่ายคลิปมือใหม่ที่จะช่วยให้การค้นหา Keyword ง่ายและฟรี ช่วยให้การตั้งชื่อวิดีโอลง Youtube ตอบโจทย์ความสนใจของผู้คนมากยิ่งขึ้น
  • ChatGPT: เครื่องมือ AI ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญในการหาไอเดียทำคอนเทนต์ด้วยการรวบรวมเว็บไซต์ บล็อก รูปภาพ วีดิโอ และบรอดแคสต์ที่น่าสนใจ และกำลังได้รับความนิยม พร้อมเสนอไอเดีย และสคริปต์ที่จำเป็นสำหรับการทำคอนเทนต์ เพื่อนำไปต่อยอดอย่างง่ายดาย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการรวบรวมคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ
  • Claude: เครื่องมือ AI ที่มีความคล้ายคลึงกันกับ ChatGPT สามารถนำมาใช้รวบรวมไอเดียได้ไม่แพ้กัน แต่มีจุดเด่นในแง่ของภาษาไทยที่เหมาะสม และครอบคลุมเนื้อหาแบบไทยมากกว่า เหมาะสำหรับ Content Creator ที่เน้นตีตลาดคนไทย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำ AI มาช่วยทำคอนเทนต์ได้ที่ : 11 โปรแกรม AI ช่วยเขียนบทความ เพื่อคอนเทนต์คุณภาพ ดันอันดับ SEO

Hard Skill และ Soft Skill ที่จำเป็นของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์

Hard Skill และ Soft Skill ที่จำเป็นของการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์

มาถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามกันว่า แล้วถ้าอยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการจะเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ประกอบไปด้วย Hard Skill และ Soft Skill ดังนี้

ทักษะ Hard Skill มีอะไรบ้าง

ทักษะ Hard Skill ที่จำเป็นของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มีดังนี้

  • ทักษะด้านโซเชียลมีเดีย (Social Media Skill) คือทักษะความสามารถในการใช้งาน และเข้าใจโซเชียลมีเดีย เนื่องจากอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องใกล้ชิด และทำงานอยู่กับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียตลอดเวลา
  • ทักษะการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือการค้นหา (Search Engine Optimization Skill) คือทักษะความสามารถในการเรียนรู้ และเข้าใจหลักการทำงานของระบบ Search Engine โดยเฉพาะ Google Search Engine เนื่องจากการผลิตคอนเทนต์ที่เป็นบทความเว็บไซต์ วิดีโอ หรือรูปภาพต่างๆ จำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อหา เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของหน้า Search Engine
  • ทักษะการสร้างเนื้อหา (Content Creation Skill) คือทักษะที่จำเป็นมากๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการเขียน การเล่าเรื่อง การตัดต่อวิดีโอ หรือการทำกราฟิก โดยทั่วไปแล้วทักษะเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยควรเชี่ยวชาญในเฉพาะด้าน เพื่อให้สามารถผลิตคอนเทนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือหากมีหลายๆ ทักษะก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการทำงาน
  • ทักษะการใช้โปรแกรมและเครื่องมือ (Programs and Tools Skill) คือทักษะการใช้เครื่องมือ หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สร้างสรรค์คอนเทนต์ เช่น โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ หรือการทำกราฟิก รวมไปถึงการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการตลาด
  • ทักษะการสืบค้น (Research Skill) อีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญ เนื่องจากการทำคอนเทนต์จำเป็นต้องตรวจสอบที่มาที่ไปของเนื้อหา หรือข้อมูลที่นำเสนอ เพื่อความถูกต้องของเนื้อหาที่นำมาอ้างอิง คุณภาพของผลงาน และประสิทธิภาพในการนำเสนอ

ทักษะ Soft Skill มีอะไรบ้าง

ทักษะ Soft Skill ที่จำเป็นของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) มีดังนี้

  • ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Skill) คือทักษะการสื่อสารในการทำงานกลุ่ม หรือการทำงานเป็นทีม การมีทักษะการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้การทำงานเป็นทีมมีความราบรื่น สามารถช่วยกันวางแผนงาน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ในเนื้อหาคอนเทนต์ก็จำเป็นต้องมีทักษะนี้ เพื่อให้สื่อสารออกมาได้ตรงประเด็น และเข้าใจง่าย
  • ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Skill) คือทักษะการคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ หรือการคิดนอกกรอบ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญในการทำงานคอนเทนต์ เพราะการผลิตคอนเทนต์ที่มีความสร้างสรรค์ สามารถทำให้ผู้ชม ผู้อ่าน หรือผู้ฟังอยากติดตาม อยากมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการแชร์ต่อคอนเทนต์นั้นๆ ออกไปให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
  • ทักษะการจัดการ (Organizing Skill) คือทักษะการจัดการตัวเอง และการจัดการทีมงาน เนื่องจากการทำงานคอนเทนต์แต่ละชิ้นจำเป็นต้องมีการวางแผนงาน ระยะเวลาการทำงาน และกำหนดการเผยแพร่ ทำให้ต้องมีการจัดการเวลา และบริหารการทำงานที่ดี เพื่อให้การทำงานเสร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด
  • ทักษะการเรียนรู้ (Lifelong Learning Skill) คือทักษะการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด จะช่วยให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เพื่อนำเอามาปรับปรุง และพัฒนาคอนเทนต์ต่อไปได้ในอนาคต อีกทั้งยังควรมีการติดตามข่าวสาร หรือสถานการณ์ต่างๆ ให้ทันกระแสโลก เพื่อให้สามารถสร้างคอนเทนต์ได้หลากหลายมากขึ้น
  • ทักษะการเอาใจใส่ในรายละเอียด (Detail-Oriented Skill) คือทักษะการใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ของการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือรายละเอียดของงานที่ทำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และทำให้ผลงานมีคุณภาพมากที่สุด

สรุป

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ หรือครีเอเตอร์ดิจิทัล คือ ผู้ที่สร้างสรรค์เนื้อหา หรือคอนเทนต์ประเภทต่างๆ เผยแพร่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะ

  • การเขียนบล็อก 
  • บทความเว็บไซต์ 
  • การทำกราฟิก 
  • รูปภาพ 
  • การทำบรอดแคสต์ 
  • การทำคลิปวิดีโอ

อาชีพครีเอเตอร์สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นอาชีพที่ช่วยส่งเสริมให้แบรนด์ หรือธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งใครๆ ก็สามารถทำได้ หากมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย หรือแพลตฟอร์มต่างๆ รวมไปถึงมีความเข้าใจการทำคอนเทนต์ให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

หากคุณอยากเริ่มต้นเป็นคอนเทนต์ดิจิทัล หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ก็สามารถเริ่มทำได้เลย โดยสามารถเลือกตามความถนัดของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น

  • สายบล็อกเกอร์
  • สายกราฟิก 
  • สายตัดต่อ 

จากนั้นก็ทำการศึกษาทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นในการทำงานสายอาชีพครีเอเตอร์ เพื่อเสริมทักษะ และประสิทธิภาพในการทำงานต่อไปในอนาคต

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ครีเอเตอร์ดิจิทัล หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (FAQ)

บทความนี้ได้รวมข้อสงสัยเกี่ยวกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ (Content Creator) หรือ ครีเอเตอร์ดิจิทัลมาตอบคำถามเพื่อให้ไขข้อสงสัยกันได้มากขึ้น ดังนี้

อยากเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ต้องเรียนอะไร?

ไม่ว่าจะจบสายไหนมาก็สามารถเป็น Content Creator ได้ เพราะสามารถเรียนรู้การทำงานได้จากช่องทางออนไลน์ต่างๆ การอ่านหนังสือ หรือการคลุกคลีกับงานที่ถนัดอย่างเป็นประจำ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีความใฝ่ฝันอยากทำอาชีพครีเอเตอร์ หรือ Content Creator แต่ยังอยู่ในช่วงของการเตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย สามารถเลือกเรียนคณะ หรือสาขาต่อไปนี้ เพื่อเรียนรู้พื้นฐานการเริ่มต้นเป็นนักสร้างคอนเทนต์ได้ ดังนี้

  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะสื่อสารมวลชน
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะอักษรศาสตร์

อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีรายได้เท่าไร?

รายได้จากการทำอาชีพครีเอเตอร์ หรือคอนเทนต์ครีเอเตอร์ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น ประเภทของธุรกิจ หน้าที่การทำงานที่ได้รับมอบหมาย และประสบการณ์การทำงาน โดยมีรายได้เฉลี่ย ดังนี้

  • นักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ รายได้ประมาณ 15,000 – 20,000 บาท
  • ประสบการณ์ 1-5 ปี รายได้ประมาณ 20,000 – 35,000 บาท
  • ประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป รายได้ประมาณ 35,000 บาทขึ้นไป

Content ประเภทไหนที่คนชอบที่สุด?

คอนเทนต์ที่คนชื่นชอบในปัจจุบันก็มีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบ ความสนใจ ช่วงอายุ รวมไปถึงคุณภาพของคอนเทนต์ที่นำเสนอ โดยทั่วไปแล้วคอนเทนต์ที่มักเป็นที่นิยม มีดังนี้

  • เรื่องสนุกสนาน ตลกขบขัน มีม 
  • การเล่าเรื่องย้อนอดีต ประวัติศาสตร์ 
  • การเล่าเรื่องเทรนด์ธุรกิจ เศรษฐกิจ 
  • เรื่องราวดราม่า เรื่องซุบซิบนินทา 
  • เรื่องราวที่มีความน่ารัก อบอุ่นหัวใจ 
  • ประสบการณ์ชีวิต การทำงาน การเรียน 
  • การตามกระแสคนดัง หรือดารา 
  • การถ่ายทอดสด 
  • การสร้างวิดีโอขนาดสั้น

Content Creator กับ Content Writer ต่างกันอย่างไร

Content Creator สร้างงานรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อสื่อสารกับผู้ชน หรือคนดู โดยงานเหล่านั้นได้แก่งานเขียน งานภาพ งานวิดีโอ และงานเสียง ส่วน Content Writer เป็นการสร้างงานเขียนเพื่อสื่อสารกับกลุ่มผู้อ่าน

ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า Content Writer เป็นส่วนหนึ่งของ Content Creator นั่นเอง

ครีเอเตอร์ดิจิทัลต่างจากอินฟลูเอนเซอร์อย่างไร

ต่างกันที่จุดประสงค์ของงาน โดยอินฟลูเอนเซอร์มีหน้าที่ชักจูง โน้มน้าวใจผู้ชมเพื่อกระตุ้นยอดขาย ทำให้เกิดการซื้อ-ขาย

ส่วนครีเอเตอร์ดิจิทัล จะสร้างคอนเทนต์ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างการรับรู้จากกลุ่มผู้ชม

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง