Table of Contents

Categories

Recent Posts

XML Sitemap

XML Sitemap คืออะไร? พร้อมคู่มือสู่ความสำเร็จในการติดอันดับ SEO

Table of Contents

XML Sitemap คือการสร้างแผนผังเว็บไซต์ในรูปต้นไม้ ที่เราจะสามารถจัดเรียงหน้าหลักๆ และย่อยออกมาเพื่อให้ Search Engine หรือ Google Bot นั้นสามารถอ่านเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น และเข้าใจถึงแต่ละจุดของเว็บไซต์เราได้ ซึ่งตามมาด้วยการอ่านเว็บไซต์ที่ง่ายขึ้น

ในบทความนี้เหมาะสำหรับ SEO Specialist Mid ถึง Advanced Level ที่กำลังหาความท้าทายใหม่ๆ เพื่อเพิ่มอันดับของตัวเอง เนื่องจาก Sitemap นั้นมีความเกี่ยวข้องกับ Coding เป็นส่วนใหญ่ และต้องมีความเฉพาะที่ Google ชอบ

XML Sitemap คืออะไร?

XML Sitemap คืออะไร?

XML Sitemap หรือ Sitemap นั้นคือไฟล์ที่รวบรวมลิสต์ทุกหน้าที่สำคัญของเว็บไซต์ของเรา เหตุผลที่สำคัญนั้นเพราะว่าไฟล์ XML Sitemap นั้นเป็นเหมือนที่ๆ รวมทุกอย่างของเว็บไซต์เราให้ Search Engine หรือ Google Bot นั้นสามารถที่จะหาได้ในที่ๆ เดียว แทนที่จะเข้าไปหาในแต่ละหน้านั่นเอง

ทำไมการติดอันดับ SEO นั้นต้องใช้ Sitemap?

Sitemap นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการติดอันดับของ SEO ซึ่ง Google นั้นได้ระบุไว้เช่นนี้

“A Sitemap is a file where you provide information about the pages, videos, and other files on your site, and the relationships between them. Search engines like Google read this file to crawl your site more efficiently. A sitemap tells Google which pages and files you think are important in your site, and also provides valuable information about these files. For example, when the page was last updated and any alternate language versions of the page.

Sitemap นั้นคือไฟล์ที่ให้ข้อมูลของ หน้าเว็บไซต์ วีดิโอ และไฟล์อื่นๆ บนเว็บไซต์ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมต่อกันภายในเว็บไซต์

Search engine เหมือน Google นั้นจะสามารถ อ่านข้อมูลเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Sitemap นั้นบอกให้ Google รู้ว่าหน้าไหน หรือไฟล์ไหนที่สำคัญในเว็บไซต์ และความสำคัญของหน้านั้นๆ ซึ่งการอัปเดตนั้นจะแจ้ง Google ในส่วนนี้” – Google Search Central

การที่ Google นั้นได้ระบุมาเช่นนี้นั้นแปลว่า Sitemap นั้นสำคัญมากๆ และจริงๆ แล้วนั้นจากประสบการณ์ของ Minimice นั้น Sitemap มีอิทธิผลกับ Ranking สูงมาก และการที่มี Sitemap นั้นจะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น แก้ไขได้ไม่ยาก

ทั้งนี้การติดตั้ง Sitemap ที่ผิดนั้นก็จะส่งผลกระทบที่เสียให้กับเว็บไซต์เราได้เช่นเดียวกัน เบื้องต้นนั้นเรามีดูกันว่า ถ้าไม่มี Sitemap นั้นจะเกิดอะไรขึ้น

ข้อเสียของการไม่มี Sitemap ที่จะกระทบกับ SEO โดยตรง

จากประสบการณ์ตรงของ Minimice เองนั้น Sitemap คือเกือบทุกอย่างของการทำ SEO เลยทีเดียว ความสำคัญของ Sitemap นั้นมีอิทธิผล และกระทบกับการขึ้นอันดับของ SEO เป็นอย่างมาก

หากเราไม่มี Sitemap นั้นเราจะเสียโอกาสในส่วนนี้ไป

1. ขาดโอกาสในการขึ้นอันดับของการ Rank บน Google

2. หากมีปัญหา Index นั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้

3. Google นั้นอาจจะไม่ Index หน้าที่เราต้องการได้

4. เสียโอกาสในการขึ้นอันดับที่ดีของ Google Image, VDO, Shopping

ทั้งนี้เราจะเจอในส่วนบทความที่หน้าเว็บไซต์เล็กนั้นไม่จำเป็น หรือจำเป็นสำหรับเว็บไซต์ๆ หรือเว็บไซต์ที่มี Internal Linking ที่ดี แต่ทาง Minimice เองเราแนะนำให้มี Sitemap ทุกอัน จะปลอดภัยกว่าในทุกๆ มุม

หน้าที่ควรจะปรากฎใน Sitemap ของเรา

Sitemap นั้นสามารถใส่ได้หลากหลายมาก ทั้งนี้ Sitemap ควรจะใส่ในหน้าที่มีความสำคัญกับเว็บไซต์ของเราเท่านั้น ความสำคัญของเว็บไซต์ของเรานั้นคืออะไร? หน้าที่สำคัญนั้นแปลว่า เป็นหน้าที่เรานั้นอยากให้ติดอันดับบน Google นั้นเอง ซึ่งเราสามารถแยกประเภทได้เป็นเช่นนี้

  • Main Menu Pages – ทุกหน้าบนเมนู
  • Category Pages – หมวดสินค้า / บริการ
  • Sub Category Pages – หมวดย่อยของ สินค้า / บริการ
  • Blog Pages – หน้าทุกๆ บทความ
  • Solution Pages – บางเว็บไซต์จะมีเหมือนแยกจุดประสงค์ของบริการ

ขั้นตอนการสร้าง Sitemap ในเว็บไซต์ที่เขียนด้วย PHP และ WordPress

การสร้าง Sitemap บนเว็บไซต์นั้นเราอาจจะมองข้ามไปในหลายๆ ส่วน ทั้งนี้ถ้าคุณใช้ WordPress ก็จะง่ายขึ้นมาในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้หากเราใช้ PHP นั้นก็จะมีความยากขึ้น เรามาดูเนื้อหาในส่วนนี้กันว่าเราจะเริ่มกันด้วยวิธีใด

การสร้าง Sitemap บนเว็บไซต์ที่เขียนด้วย PHP

การสร้างบน PHP นั้นต้องใช้เครื่องมือเสริมที่เข้ามาช่วยเหลือ เรามาดูกันว่าทาง Minimice แนะนำเครื่องมือไหนเป็นหลัก

เครื่องมือ Generate Sitemap สำหรับ PHP

เครื่องมือ Generate Sitemap นั้นจะช่วยทำให้การอัปเดต หรือหากเราเพิ่มหน้าใหม่ๆ เข้ามานั้นง่ายยิ่งขึ้น และไม่ต้องปรับอะไรมาก ซึ่งเครื่องมือที่เราแนะนำรวมไปด้วย

เครื่องมือเหล่านี้จะนั้นเราสามารถใส่ชื่อเว็บไซต์เข้าไป และเครื่องมือเหล่านี้จะ Generate หน้าที่สำคัญขึ้นมาทั้งหมดให้ ทั้งนี้เราแนะนำเป็นการซื้อแบบ Pro เพื่อที่ระบบจะสามารถอัพเดท ข้อมูลเรื่อยๆ ได้ ไม่ต้องมาปวดหัวในการอัปเดตใหม่เรื่อยๆ

เครื่องมือ Generate Sitemap สำหรับ WordPress

สำหรับเว็บไซต์ที่เขียนด้วย WordPress นั้นง่ายมากๆ เพียงเรา เพิ่มในส่วน Plugin เข้าไปก็จะเรียบร้อยดีทั้งหมด Plugin ที่นิยมนั้นจะมีดังนี้

หากเราได้ติดตั้ง Plugin เหล่านี้ก็ถือว่าเรียบร้อยดีแล้ว แต่เราควรจะปรับด้วยว่าจะเอาข้อมูลไหนให้ขึ้นใน Sitemap ของเรา

สิ่งที่ควรปรับในการตั้ง Sitemap บน WordPress Plugin

สิ่งที่ควรปรับใน Yoast SEO Plugin

เราต้องการปรับการแสดงข้อมูลบน Sitemap ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดในส่วนไหน

เข้าไปใน Yoast SEO > Search Appearance – เราจะเจอหมวดหมู่ General, Content Types, Media Taxonomies , Archives, Breadcrumbs, RSS

หลักๆ นั้นเราจะเข้าไปปรับในส่วนเหล่านี้

Content Types

แต่ละหมวดบนเว็บไซต์นั้นจะไม่เหมือนกัน แต่หลักนั้นจะเราเข้ามาดูในจุดนี้

  • Post – เปิดเพื่อให้ บทความ เราสามารถขึ้นบน Sitemap ได้
  • Page – เปิดเพื่อให้หน้าหลัก เราติดบน sitemap ได้
  • Landing Pages – เป็นหน้าที่สร้างขึ้นมา แต่จะไม่ขึ้นบนเว็บไซต์ (กดปิด)

Content Types

การที่เรากดปิด หรือเปิดนั้นเราจะกดบนปุ่ม Show (types) in search results

posts

Taxonomies Types

  • Categories – หมวดหมู่ของบทความเรา (แล้วแต่ความเหมาะสม)
  • Tags – ระบบแท็กต่างๆ (แล้วแต่ความเหมาะสม)
  • Formats – รูปแบบของบทความ (แนะนำให้ปิด)

Taxonomies Types

Archives Types

  • Author archives – ชื่อผู้เขียนบทความ (แล้วแต่ความเหมาะสม แต่เราแนะนำให้ปิด)
  • Date archives – วันที่ๆลงบทความนั้นๆ (แล้วแต่ความเหมาะสม แต่เราแนะนำให้ปิด)
  • Special pages – หน้าอื่นๆ ที่จะแสดงขึ้นมาได้ (แนะนำให้ปิด)

สิ่งที่ควรปรับใน All in One SEO Plugin

  • ในระบบ All in One SEO Plugin นั้นจะคล้ายๆกันในการเปิด ปิด URL บน Sitemap

สิ่งที่ควรปรับใน All in One SEO Plugin

ให้เราเข้าไป All in one SEO > Sitemaps

Post Types

เราสามารถหยิบเลือกในสิ่งที่เราต้องการได้เลย แต่เราแนะนำให้เปิดเพียง

  • Posts – บทความต่างๆของเรา
  • Pages – หน้าที่สำคัญของเรา
  • Attachments – รูปภาพต่างๆ

Taxonomies Types

Taxonomies Types

อันนี้เราสามารถเปิดตามเหมาะสมได้เลย แต่ในกรณีนี้เราปิดหมด เนื่องจากหน้าเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นสำหรับเว็บไซต์ Minimice ของเรา

Date Archive Sitemap & Author Types

ในส่วนนี้นั้นเราจะปิด disable ทั้งหมดเนื่องจาก การติดอันดับบน Google หน้าเหล่านี้ไม่จำเป็นบนเว็บไซต์ของเรา

Additional Pages

Additional Pages

Additional Pages นั้นเราจะใส่ในกรณีที่เราส่วนสอบ Sitemap ของเราแล้ว แต่มีหน้าที่ยังขาดอยู่ หรือระบบไม่สามารถเข้าไปจับได้ เพื่อเข้าไปตรวจ Sitemap นั้นสามารถเข้าไปในหน้านี้ได้เลย

Additional Pages sitemap

หลังจากปรับเรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปปรับใน Robot.txt ด้วย

หลังจากที่เราปรับทุกอย่างเรียบร้อยหมดแล้วนั้น เราต้องเข้าไปตรวจสอบ Robot.txt ด้วยว่ามี ชุดคำสั่งเหล่านี้ในนั้นด้วยไหม


User-agent: *
Allow: /wp-admin/admin-ajax.php
Allow: /
Disallow: /wp-admin/
Sitemap: https://minimicegroup.com/sitemap.xml
Sitemap: https://minimicegroup.com/sitemap.rss

ชุดคำสั่งเหล่านี้จะใส่เพื่อการยืนยันอีกช่องทางให้กับ Google Bot ได้ทราบอีกครั้ง

วิธีการตรวจสอบ Robot.txt ใน Yoast SEO

สำหรับ Yoast SEO นั้นเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ดังนี้

Yoast SEO > Tools > File editor > robots.txt

หากไม่มีนั้น เราสามารถ copy โค้ด ก่อนหน้านี้แล้วใส่เข้าไปได้เลย

วิธีการตรวจสอบ Robot.txt ใน Yoast SEO

วิธีการตรวจสอบ Robot.txt ใน All in One SEO

สำหรับ All in One SEO นั้นก็ง่ายเพียงนิดเดียว ให้เราเข้าไปดังนี้

All in One SEO > Tools > Robot.txt Editor

อีกเช่นเดียวกัน หากเราไม่มีสามารถ copy ชุดโค้ดได้เลย

วิธีการตรวจสอบ Robot.txt ใน All in One SEO

อย่าลืม! ยืน Sitemap ใน Google Search Console ด้วยนะ

ไม่ว่าจะเราแนบ Sitemap หรือติดตั้งด้วยกรณีใดแล้วก็ดี การที่เราจะยืนยัน Sitemap ที่เราทำมานั้นต้องมีการยืนให้กับ Google Search Console ด้วยเช่นเดียวกัน เรามาดูกันว่าขั้นตอนการยืน Google Search Console นั้นด้วยวิธีไหนบ้าง

ให้เราเข้าไปที่ Google Search Console > Sitemap

หลังจากนั้นเราใส่ URL ของ Sitemap ที่เราได้ Generate ขึ้นมาใส่ช่องที่ 2 แล้วกด Submit ก็จะเรียบร้อยในส่วนของการยืน verify ในส่วนนี้

ทั้งนี้เบื้องต้นทาง Minimice เรานั้นมีบทความเกี่ยวกับ Google Search Console ที่จะอธิบายทุกมุมในเนื้อหานี้

Google Search Console คืออะไร? พร้อมแนะนำอย่างละเอียด และวิธีการดึงประสิทธภาพ GSC ออกมาให้เต็มที่

การสร้าง Sitemap นั้นอย่าพลาดในจุดนี้ด้วยนะ

  • ในส่วนของ Hreflang Attribute ในส่วน Sitemap นั้นจะชอบเจอปัญหาในเว็บไซต์หลายภาษา ให้ใช้หลักการนี้เป็นหลัก ซึ่ง Google Bot หรือ Search Engine ทั้งหมดจะสามารถที่จะอ่านได้ง่ายที่สุด

<?xml version="1.0" encoding="UTF-8"?>
<urlset xmlns="http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/0.9"
  xmlns:xhtml="http://www.w3.org/1999/xhtml">
  <url>
    <loc>https://www.example.com/english/page.html</loc>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de"
               href="https://www.example.de/deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de-ch"
               href="https://www.example.de/schweiz-deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="en"
               href="https://www.example.com/english/page.html"/>
  </url>
  <url>
    <loc>https://www.example.de/deutsch/page.html</loc>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de"
               href="https://www.example.de/deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de-ch"
               href="https://www.example.de/schweiz-deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="en"
               href="https://www.example.com/english/page.html"/>
  </url>
  <url>
    <loc>https://www.example.de/schweiz-deutsch/page.html</loc>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de"
               href="https://www.example.de/deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="de-ch"
               href="https://www.example.com/schweiz-deutsch/page.html"/>
    <xhtml:link
               rel="alternate"
               hreflang="en"
               href="https://www.example.com/english/page.html"/>
  </url>
  • Sitemap นั้นเป็น Letter sensitive และ URL sensitive มากๆ เราควรจะระวังในการใช้ ตัวอักษรใหญ่ และ / ด้วยเช่นเดียวกัน
  • เราสามารถที่จะตัดหน้าที่มีข้อมูลน้อย หรือเหล่า Archive เช่น Category post, author name, หรือ date ออกได้ หากไม่จำเป็น
  • ให้ตัดหน้าที่เราทำการ block bot ด้วย robot.txt หรือ noindex tag ไว้ด้วย เนื่องจากเราไม่อยากให้ส่ง signal ที่ปิด และเปิด ให้กับทาง Bot
  • เราควรจะคัดหน้า 404 not found ออก และทำ redirect 301 ไปหาหน้าที่เราต้องการทั้งหมด ไม่ให้เหลือไว้ ในกรณีนี้อาจจะเกิด ปัญหา crawl but no index หรือ discover but not index ได้
  • ท้ายที่สุดเราควรจะตัดหน้าที่เป็น Parameter, comments หรือ social media นอกจากหน้านั้นๆ ที่ หน้ารองรับที่เหมาะสม และเราอยากให้ติดจริงๆ

บทสรุป XML Sitemap

XML Sitemap นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำเว็บไซต์มากๆ เนื่องจากการที่ Google จะ Index หรือไม่นั้นอาจจะเป็นปัจจัยที่มาจากจุดนี้ได้ เราจึงควรจะมีเนื่องป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยสรุปได้ดังนี้

  • ควรจะติดตั้ง XML Sitemap เสมอ
  • Sitemap นั้นควรจะใส่แค่หน้าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ระวังในเว็บไซต์ที่มีหลายหน้า ควรจะใช้ format ตามที่ Google แนะนำ
  • Sitemap นั้นเป็น case และ URL sensitive ระวังให้ดีกันด้วยนะ
  • ตัดหน้าที่ไม่จำเป็นออก ส่วนใหญ่จะเป็นในส่วน Post category, author name, date, และ tag

XML Sitemap นั้นเป็นสำหรับ Mid ถึง Advanced Level SEO ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ได้ยากจนเกินไป และควรจะระวังในทุกองค์ประกอบให้ดี ทั้งนี้หากมีปัญหาตรงนี้อยู่ให้ Minimice เรา จัดการเรื่องการทำ SEO ให้สิ ให้มืออาชีพอย่างเราจัดการ และวางใจในส่วนการทำ SEO

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

XML Sitemap จำเป็นต้องใส่ไหม?

หากต้องการติดอันดับ SEO ได้ดีนั้น มีความจำเป็นต้องใส่

WordPress Plugin มีอะไรบ้าง?

Yoast SEO และ All-In-One สามารถช่วยได้มาก

XML Sitemap ต้องระวังอะไรบ้าง?

อย่าลืมเอาไปดูในส่วน Taxonomies, Date Archive, Authors, Tags, Categories ว่าเราอยากให้ index หรือไม่

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง