Table of Contents

Categories

Recent Posts

4 ขั้นตอนในการ แก้ปัญหา Google Index ผิดหน้า ที่ใช้ได้จริง

4 ขั้นตอนในการ แก้ปัญหา Google Index ผิดหน้า ที่ใช้ได้จริง!

Table of Contents

แน่นอนว่าเป้าหมายของ SEO Specialist ทุกคน คือ การดันอันดับของเว็บไซต์ให้ติดที่ 1 ให้ได้ แต่ทั้งนี้การจะติดอันดับ 1 นั้นเป็นการเดินทางที่ยาวไกล และต้องเจอปัญหาหลากหลายอย่าง หนึ่งในปัญหายอดฮิตที่นักการตลาด SEO เจอนั้นคือปัญหาในการ Index ของ Google นั่นเอง เนื่องจาก Google มี Algorithm ที่แข็งแรง ชัดเจน และตาม % ส่วนใหญ่ของตลาด พร้อมปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตอบโจทย์คนค้นหามากที่สุด

“การติดอันดับ 1 แต่ Google จับผิดหน้านั้นทำให้ Conversion ของเราลดลงมากกว่า 80%”​


ในบทความนี้เหมาะสำหรับ SEO Specialist ที่มีพื้นฐาน Beginner Level และ Advanced Level มาในระดับนึง เราจะเจาะลึกถึงปัญหายอดฮิตกันว่า “ Google Index ผิดหน้า เราจะแก้ปัญหานี้ยังไง “ โดยทีม Minimice Group จะพาคุณเจาะลึกถึงต้อนตอของปัญหา รวมถึงให้คำแนะนำ วิธีการแก้ไขปัญหา และสิ่งที่เราทำกันใน Agency เช่นเดียวกัน

ใน Minimice นั้นเราจะเริ่มต้นด้วย Analysis Stage, Preparation Stage และตามมาด้วย Action Stage โดย Analysis Stage นั้นเป็นการวิเคราะห์หาปัญหาที่คุณเจอ ซึ้งปัญหานั้นมีเพียง 1 อย่าง แต่วิธีการแก้ไขได้นั้นมีหลากหลายวิธีมาก การวิเคราะห์สุขภาพเว็บไซต์ของคุณเป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะมาคัดกรอกกันในวันนี้

ขั้นตอนที่ 1: [ Analysis Stage ] ตรวจสอบ Keyword บนหน้าเว็บไซต์เราก่อนว่ามีคำ Index คำทับซ้อน กันหรือไม่

เราเริ่ม Analysis Stage ด้วยการหยิบเลือก Keyword ที่มีการทับซ้อนกัน นั่นเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นจุดแรกที่เราจะเริ่มวิเคราะห์กัน 

การทับซ้อนของ Keyword นั้นไม่ว่า Beginner level และ Advance Level ก็อาจจะพบเจอปัญหานี้ได้เช่นเดียวกัน แต่รู้หรือไม่ว่า แค่การสร้าง Content Pillar ตั้งแต่วันแรกของการเริ่มทำ SEO นั้นจะช่วยแก้ไขปัญหา และยังทำให้การเลือก Keyword ถูกต้อง และเหมาะสำหรับหน้านั้นๆได้

ตรวจสอบด้วยการเช็ค บน Google หน้าที่ Index อยู่ และหน้าที่ยังไม่ได้ทำการ Index

เราเริ่มด้วย Keyword เจ้าปัญหาของเรากัน เราขออนุญาติ ยกตัวอย่าง SCAsset ในคำว่า “ คอนโด รัชโยธิน “ 

ในกรณีนี้เรายกตัวอย่างว่า SCAsset ไม่ต้องการให้ติดหน้า “โครงการ” แต่ต้องการ ให้หน้ารวมทุกโครงการที่ SC Asset ต้องการมีในพื้นที่ รัชโยธิน” ติดแทน

ตัวอย่าง search intent ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ตัวอย่าง Search Intent ของ SCAsset

การจับคำ “ คอนโด รัชโยธิน “ นั้น Google เข้าไปจับหน้าโครงการ Centric Ratchayothin ซึ้ง Google ตัดสินใจให้ SCAsset นั้นอยู่ที่ หน้าที่ 2 ของ Google แทนที่จะขึ้นหน้า 1 ของ Google นั้นเอง 

เราต้องมาดูกันก่อนว่า SC Asset นั้นมี หน้ารวมโครงการ อยู่ในเว็บไซต์แล้วหรือยังโดยการค้นหาบน search

Command –  site: (URL Domain)   

ตัวอย่าง: Command  – site: https://www.scasset.com

เรามาดูกันว่า command นี้ใช้ในกรณีนี้ยังไง

ใช้คำสั่ง site: (Domain URL) “Keyword“ เพื่อหาหน้าที่มีการจับอยู่ ณ ปัจจุบัน

การค้นหา site: (URL Domain) เป็นการค้นหาทุกหน้าบนเว็บไซต์ของเราว่า Google ตัดสินใจ Index หน้าเพจไหนในเว็บไซต์ของเรา บน Search Engine ของ Google บ้างนั่นเอง

เช็ค URL ที่ Google ได้ Index ด้วยคำสั่ง site:

ตัวอย่างคำสั่ง Site:

การใช้ Command นี้จะแสดงทุก URL ที่ Google ได้ Index ในเว็บไซต์ของเรา แต่เราจะหา “คอนโด รัชโยธิน” ยังไงล่ะ? เราต้องเพิ่ม Command เพื่อลงลึกเข้าไปโดยการใช้ Command ควบคู่เพื่อ Narrow Search นั่นเอง

Command –  site: (URL Domain) “( Keyword )”

ตัวอย่าง: Command  – site:https://www.scasset.com “คอนโด รัชโยธิน”

เช็ค URL ที่ Google ได้ Index ด้วยคำสั่ง site:

ตัวอย่างคำสั่ง Site:Domain URL “Keyword”

Command นี้จะ Narrow หรือแสดงเฉพาะคำที่เราต้องการหาในเว็บไซต์ ด้วยการดึงข้อมูล Keyword ที่สามารถจะขึ้นอันดับได้ การจัดเรียงอันดับใน Command นี้จะส่งผลถึง Signal ที่ Google จะจับหน้านั้นด้วยเช่นเดียวกัน

ปัญหาที่ SC Asset เจอ ณ ปัจจุบันนั้นคือ หน้าที่ Index มี Mix Signal ของ Keyword ที่เราต้องการ Google เลยตัดสินใจ ขึ้นอันดับหลักๆนั้นหน้านี้ด้วย การขึ้นหน้าที่ Signal และ SEO Strength สูงที่สุดขึ้นมา โดยวิธีการแก้ไขนั้นจะอยู่ใน Action Stage นั้นเอง

ตรวจสอบ Search Intent – หน้าที่คุณต้องการให้ติด อาจจะไม่ตรงกับที่ผู้คนต้องการ

อันดับต่อไปนั้นเราต้องมาดูถึง Search Intent ของ Keyword นั้นๆ ว่าคนส่วนใหญ่ที่ค้นหาคำนี้นั้นต้องการที่จะหาอะไร โดยการ search keyword บน Google นั้นเอง และมาดูว่า หน้า 1 นั้น URL และ Intent ของคู่แข่งติดอันดับเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ตรวจสอบ Search Intent

หากดูจากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Search Intent ที่ผู้คนต้องการนั้น เกี่ยวกับ ภาพรวมของโครงการคอนโด ในพื้นที่ รัชโยธิน นั้นเอง การที่ SCAsset Index ผิดหน้านั้นทำให้ SCAsset ไม่สามารถที่จะขึ้นหน้า 1 ได้ ไม่ว่าจะดันหน้าปัจจุบันมากขนาดไหนก็ตาม เพราะ Google นั้นจะ Signal ภาพรวมที่คนค้นหาชอบส่วนใหญ่ชอบเท่านั้น

เตรียมการตรวจสอบเว็บไซต์ด้วย technical seo

ขั้นตอนที่ 2: [ Preparation Stage ] ตรวจสอบ Technical SEO ที่อาจจะเป็นปัจจัยในการจับผิดหน้า

จากที่เราได้มองภาพการ Index ผิด ชัดเจนขึ้นแล้วนั้น ใน Preparation Stage เป็นขั้นตอนต่อไปที่ SEO Specialist ทุกคนต้องตีโจทย์ให้แตก เพื่อที่จะสามารถ Signal Google ให้นำมาจับหน้านั้นๆ โดยเราจะลงลึกมาถึง Technical SEO ที่ต้องตรวจสอบก่อนจะไปถึง Action Stage ที่ตรงจุดได้

Technical SEO เบื้องต้น

1. Meta Tag มีการระบุ Keyword ที่เราต้องการไหม

Meta Tag เป็นสิ่งที่เราต้องมาดูเป็นอันดับแรกเลยนั่นเอง ว่าเว็บไซต์เรามี Meta Tag ที่ทำให้ Google สามารถ Signal ไปหาหรือไม่ โดยใน Meta Tag นั้นต้องระบุ Keyword ที่เราต้องการให้ติดอันดับทุกครั้ง แต่ไม่มากจนเกินไป และไม่ยาวจนเกินไป

โดย Minimice ได้มี Free Tools ให้คุณทดสอบด้วยการวัดขนาด Pixel ของความยาว

https://minimicegroup.com/free-tools/serp-checker/

เครื่องมือทดสอบบ meta tag

2. Heading Tag หรือ Nesting Structure มีในส่วนการ Keyword อยู่หรือไป

การเพิ่ม Signal ในการจับหน้าในการติดอันดับของ Google ต่อไปนั้น คือ Heading Tag หรือ Nesting Structure  หรือเหล่า H1 H2 H3 H4 ของการจัดโครงหน้า On-page ที่ดี จะเพิ่มโอกาศให้หน้านั้นๆสามารถติดอันดับ และ Index ในหน้าที่ถูกต้องได้

ตัวอย่างการตรวจสอบ heading tag

การระบุ H1

การระบุ H2

Technical SEO เชิงลึก

1. ตรวจสอบ Sitemap ว่ามีหน้าที่เราต้องการอยู่ภายในไหม?

หากเราลงมาใน Technical SEO เชิงลึก เราต้องมาประเมิน Sitemap เป็นอย่างแรก ว่าหน้าที่เราต้องการที่จะ Index นั้นอยู่ใน Sitemap ของเราหรือไม่ โดยการใช้เครื่องมือ Google Search Console ที่เราได้ติดตั้งไว้ตอนแรก

การเข้าไปดูใน Google Search Console ว่าเรา Submit Sitemap ด้วย URL อะไรไป และใช้ Command ในการดู Sitemap ของเรา

Command – (URL Domain)/(URL Sitemap)

ตัวอย่าง: minimicegroup.com/sitemap.xml

และตรวจสอบว่าหน้าที่เราต้องการนั้น อยู่ใน URL นั้นๆ หรือไม่

2. ตรวจสอบ Canonical ว่าจับถูกหน้าไหม?

Canonical มีส่วนสำคัญในการระบุหน้าที่เราต้องการ โดยเราเป็นคนเลือกเองว่าเราอยากให้ SEO Strength ของหน้านั้นไปหา หน้าอื่น หรือหน้าของเราเอง โดยการตรวจสอบ Source Code บนหน้าที่เรามีปัญหาในการ Index

<link rel=”canonical” href=”https://minimicegroup.com/seo/” />

หรือสามารถตรวจสอบง่ายๆ โดยการใช้ SEOQuake ในการระบุ Canonical

การใช้ SEOQuake ในการระบุ Canonical

https://www.seoquake.com/index.html

3. Schema ได้ทำการระบุตรงจุดไหม?

การใช้ Schema เข้ามาในเว็บไซต์นั้น เป็นอีกหนึ่ง Signal ที่ดีในการแจ้ง Google ถึงหน้าที่เราต้องการให้จับได้ การใส่ Schema นั้นมีหลากหลายรูปแบบ คุณควรทำการเลือก Schema ที่แม่นยำ และถูกต้องในแต่ละหน้าของธุรกิจคุณ การตรวจสอบนั้นสามารถใช้เครื่องมือ 2 อย่างง่ายๆ ซึ่งก็คือ Google Search Console และ Rich Snippet Test

rich snippet test สำหรับตรวจสอบ schema

ตัวอย่าง Schema ที่ระบุ Search console

Enhancements จะเป็น Snippet ที่เรามีอยู่บนเว็บไซต์เรา

rich result test สำหรับระบุจุด cannonical

ตัวอย่าง Schema ที่ระบุน Search console

หรือการใช้ Rich Result Test ที่ Google ได้มีในการตรวจสอบ

https://search.google.com/test/rich-results

4. Robot.txt ไม่ได้บล็อก หน้านั้นอยู่ใช่ไหม?

Robot.txt เป็นอีก Signal ที่เราควรระวังในการใช้งาน โดย Robot นั้นจะ Block การ Index ของหน้าที่เราต้องการให้ติดได้ และควรใช้งานอย่างระมัดระวัง โดยสามารถใช้ Command นี้ในการดู

Command – (URL Domain)/robot.txt

ตัวอย่าง – minimicegroup.com/robot.txt

user-agent:*
Allow: /wp-admin/admin-ajax.php
Allow: /

Sitemap: https://minimicegroup.com/sitemap.xml
Sitemap: https://minimicegroup.com/sitemap.rss

ตัวอย่าง Robot.txt ที่ไม่ได้ Block การ Index

5. Noindex Tag ไม่ได้ระบุอยู่ใช่ไหม?

การตรวจสอบ Noindex Tag เป็นอีกช่องทางที่ต้องตรวจสอบ เพื่อทำการวิเคราะห์หน้าที่เราต้องการจับว่า มีการระบุ Noindex นั้นหน้านั้นๆหรือไม่ ควรใช้เครื่องมือนี้อย่างระวัง หากต้องการใช้ควรปรึกษา SEO Specialist ที่มี Advance Level เท่านั้น

ตัวอย่าง Beautrium Site Structure

6. .hTaccess ไม่ได้มีการบล็อกในส่วนไหนใช่ไหม?

อีกจุดหนึงที่ควรคำนึงถึงนั้นคือ .htaccess นั้นเองที่เราควรระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการกำหนดค่าโดยยึดตรงไปที่เซิฟเวอร์ และส่งผลกระทบกับ SEO โดยตรง เราจะตรวจสอบโดยการที่ไม่มี command ไหนใน .htaccess ที่ระบุถึง Noindex บนเว็บไซต์เรา ควรใช้เครื่องมีนี้อย่างระวัง หากต้องการใช้ควรปรึกษา SEO Specialist ที่มี Advance Level เท่านั้น

# BEGIN WordPress
# The directives (lines) between "BEGIN WordPress" and "END WordPress" are
# dynamically generated, and should only be modified via WordPress filters.
# Any changes to the directives between these markers will be overwritten.
<IfModule mod_rewrite.c>
    RewriteEngine ON
    RewriteBase /sujith/wordpress/
    RewriteRule ^index\.php$ - [L]
    RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-f
    RewriteCond %{REQUEST_FILENAME} !-d
    RewriteRule . /sujith/wordpress/index.php [L]
    </IfModule>

    # END WordPress

ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบใน Google Search Console ในปัญหาการ Crawl

Preparation Stage ต่อไปนั้นเรามาดูถึงปัญหาในการ Crawl ของ Google โดยใช้เครื่องมือ Google Search Console เพื่อระบุถึงปัญหา และแก้ไขให้ตรงจุดนั้นเอง

ในหน้า Excluded มีหน้าที่เราต้องการให้ Index อยู่ภายในนั้นไหม?

ในหน้า Excluded ของ Google Search Console นั้นเป็นจุดหนึงที่เราสามารถดูพฤติกรรมการ Crawl ของ Google บนเว็บไซต์เรา และเข้าใจถึงสาเหตุการไม่ Index ถูกหน้าของเราได้

เรามาเจาะลึกถึง Signal ในการ Crawl ของ Google และปัญหาที่เราเจอ พร้อมวิธีการแก้ไขกัน ดังนี้

1. Crawled – Currently not indexed หรือไม่?

Crawled – Currently not index เป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายคนเจอ และต้องใช้เวลาในการค่อยๆ แก้ไขปัญหาจุดนี้ หากให้สรุปง่ายๆก็คือ Google เจอ URL ของเราแล้ว แต่ตัดสินใจว่า URL ไม่มีคุณภาพพอ Google จึงมองข้ามไป และตัดสินใจไม่หยิบ URL นั้นขึ้นมา Index 

โดยวิธีการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาในส่วนนี้นั้นสามารถดูได้ในบทความนี้  

Crawled – Currently not index 

2. Blocked by robots.txt ไหม?

Block by robot.txt นั้นเชื่อมโยงมาจาก Robot.txt ที่ได้ระบุก่อนหน้านี้นั่นเอง หากใช้อย่างถูกวิธีจะเกิดประโยช์มาก และหากใช้ผิดจะทำให้ไม่สามารถ Index ได้เลย

3. Excluded by ‘noindex’ tag หรือไม่?

Noindex tag นั้นต้องระวังอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่นั้นเราไม่แนะนำให้ใช้ แต่หากจำเป็นนั้นสามารถใช้ได้โดยการปรึกษา SEO Specialist ที่เราได้แจ้งไว้ก่อนหน้านี้นั่นเอง

4. Discovered – Currently not indexed หรือเปล่า?

Discovered – Currently not indexed นั้นคล้ายกับ Crawled – currently not index แต่เป็น Signal ที่รุนแรงกว่าโดย signal นี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด โดย Google เห็นว่ามีเนื้อหาที่มีความใกล้เคียงกันมากจนเกินไป ทำให้ Google ไม่ตัดสินใจ Index นั่นเอง

5. Duplicate, Google chose different canonical than user หรือไม่?

Duplicate, Google chose different canonical than user แปลว่า Canonical ที่เราตั้งขึ้นมานั้น Google คิดเห็นว่าไม่เหมาะสม โดยมี Referring page ที่มาอ้างอิงถึง url ที่เราไม่ต้องการ ซึ้งสามารถแก้ไขได้

รูปที่ระบุข้างบนนั้นเป็น ตัวอย่าง ที่เราได้ Mockup ขึ้นมาบนเว็บไซต์ของ Minimice เอง โดยการกด inspect URL นั้นก็จะเจอตัวปัญหา และเราสามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดาย อันนี้เป็นหนึ่งในปัญหาของ / ลงท้ายที่สามารถแก้ไขได้ ไม่ยากนั้นเอง

โดยวิธีการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาในส่วนนี้นั้นสามารถดูได้ในบทความนี้

Duplicate, Google chose different canonical than user

ซึ่งทีม Minimice ได้เจอปัญหา และนำวิธีการแก้ไขจากประสบการณ์ของเรามาแบ่งปันไว้ คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้เลย!

ปัญหานี้เป็น Mockup ของทางทีม Minimice เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ทาง Minimice ได้ทำการเพิ่ม URL path ใหม่ ขึ้นมา โดย Canonical นั้น Google ยังเห็นเป็น URL path เก่าอยู่

การแก้ไข:

เราจะสังเกตในส่วน referring page มาจากอีกหน้าที่มี Internal linking ไปหาหน้าเก่าอยู่ Google จึง Declare Canonical ไปหาหน้าเก่านั่นเอง วิธีที่แก้ไข คือ แก้ไข Internal linking ที่มาหาหน้าเก่า ไปหาหน้าใหม่ แล้วทำการกด Request Indexing อีกครั้ง ก็จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

โดยวิธีการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาในส่วนนี้ สามารถดูได้ในบทความนี้

Duplicate, submitted URL not selected as canonical

ซึ่งทีม Minimice ได้เจอปัญหา และนำวิธีการแก้ไขจากประสบการณ์ของเรามาแบ่งปันไว้ คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้เลย!

ขั้นตอนที่ 4 : [ Action Stage ] หากขั้นตอน 1 – 3 นั้นไม่ได้มีปัญหาในส่วนนี้ แปลว่า Google ตัดสินใจ Index ทั้ง 2 หน้า ทำให้เกิดการ Index ผิดหน้า วิธีการ Action นั้นมีดังนี้

ทางเลือกที่ 1 : ทำการ Re-optimize หน้าที่คุณติดอยู่แล้ว และส่ง Signal ไปให้เต็มที่

ทางเลือกแรกในการ Action นั้นเราต้องเลือกหน้าที่เราต้องการที่จะทำให้ติดอันดับได้ โดยเราทำการ Re-Optimize หน้านั้นให้เกิด Signal ที่แข็งแรงไปหาหน้าที่เราต้องการโดย

  • เพิ่มข้อมูลเนื้อหาภายในหน้านั้นๆ ให้เกิน 1,500 คำ ขึ้นไป
  • ระบุ Heading Tag ให้ทุกๆ หัวข้อที่เพิ่มขึ้นมาใหม่
  • แก้ไข Meta Tag ให้ตรงกับ Keyword ของเรา
  • เพิ่ม Schema ให้กับหน้านั้นๆ ส่วนมากชอบเพิ่มในส่วน FAQ เข้าไป
  • เพิ่มเนื้อหาที่น่าสนใจ หลีกเลี่ยงการทำเป็น Wall of Text ในหน้านั้น
  • เพิ่ม External link signal และ Internal link signal หาหน้านี้

ทางเลือกที่ 2 : ทำการ Down-grade หน้าที่คุณไม่ต้องการ

ทางเลือกที่สอง ที่ทาง Minimice แนะนำนั้นคือการ Down-grade SEO On-page ของหน้าที่เราไม่ต้องการ หรือหน้าที่ Index อยู่นั้นเอง การทำควบคู่กับวิธีแรกจะทรงผลให้เร็วยิ่งขึ้น  หลักการนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีการทำกัน แต่ทาง Minimice ได้ทดสอบ และสำเร็จมาแล้ว โดยการ Action ดั่งนี้

  • นำ Keyword ออกจาก Meta tag
  • นำ Keyword ออกจาก heading ทั้งหมด
  • ลดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต่อหน้านั้นลง นำแต่เนื้อๆเข้ามา (หากเราต้องใช้หน้านั้น)
  • นำ Schema ออกเฉพาะหน้านั้น หรือมีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  • ย้าย Internal Link ทั้งหมดออก
  • ปิด External link ทั้งหมด

ทางเลือกที่ 3: หากเราต้องการหน้านั้นอยู่ แต่ไม่อยากให้ติดอันดับ

ทางเลือกที่สามนั้น หากเราไม่ต้องการหน้านั้นเลย แต่อยากให้มีหน้านั้นอยู่ ควรจะทำตามนี้

canonical google index ผิดหน้า
  • Canonical หน้าที่เราไม่ต้องการ ไปหาหน้าที่เราต้องการได้เลย

google index ผิดหน้า noindex tag
  • ติด Noindex tag ลงหน้านั้นเสริม เพื่อให้ Signal ดับไป (กรณีนี้ส่วนมากใช้สำหรับ Landing Page (Sale Page) ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถยิง SEM ได้อยู่)

หากทุกทางไม่สามารถช่วยได้เลย: ลบหน้าที่ไม่ต้องการทิ้ง และ Redirect 301 ไปหาหน้าที่ต้องการเลย!

ทางเลือกที่สี่ นั้นเป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราไม่ค่อยแนะนำเท่าไร แต่สามารถจบปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน โดยการลบ URL นั้นออกจากหลังบ้าน และต้องมีการทำ Redirect 301 มาหาหน้าที่เราต้องการได้เลย ในกรณีที่เราไม่ต้องการแล้ว

หากเราต้องการหน้านั้นอยู่ ลบหน้านั้นออกไป ทิ้งไว้ประมาณ 7 – 14 วัน พร้อมสร้างหน้าใหม่ขึ้นมา โดยตั้งคำนึงถึงจุดนี้

  • เปลี่ยน URL ใหม่ ( ยังคง 301 อยู่ )
  • สร้าง Content ที่ต้องการเข้าไป แต่ไม่ควรซ้ำกับที่เราเคยสร้างมา

ควรใช้วิธีอย่างระมัดระวังมากๆ เราไม่อยากส่ง Mix Signal ให้กับ Google แล้วกลับไปจับหน้า C อีกครั้ง จะทำให้ส่งผลเสียมากๆกับเว็บไซต์ในส่วนของ Ranking และ Traffic เราอาจจะโดนเล็งในทิศทางไม่ดีกับ Google

บทสรุป ปัญหาการ Index ผิดหน้า

การ Index ผิดหน้านั้นสามารถเกิดขึ้นได้สำหรับนักการตลาด SEO ไม่ว่าจะเป็น Beginner หรือ Advance Level ก็ตาม ทั้งนี้ข้อแตกต่างระหว่าง Beginner กับ Advanced Level นั้นคือการตีโจทย์ปัญหาให้แตก และแก้ไขอย่างถูกจุด ปัญหาการ Index ผิดหน้าสามารถเป็นเรื่องเล็กได้ หากเราประมวลผล และวิเคราะห์ปัญหานั้นๆได้ โดยเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้

  • Analysis Stage – วิเคราะห์ปัญหาอย่างถี่ถ้วน
  • Preparation Stage – ดูข้อมูลเชิง Technical ว่าเราผิดพลาดตรงจุดไหน
  • Action Stage – ทำการแก้ไขปัญหาจากสิ่งที่เราวิเคราะห์ออกมา

เนื่องด้วยปัญหา Index นั้นอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ ทั้งนี้หากต้องการความช่วยเหลือในส่วนนี้ทางทีม Minimice เราพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถติดต่อเราได้เลยที่บริการ SEO ของเรา

ยิ่งถ้าคุณเขียน Meta Tag ได้ดึงดูดใจและตอบโจทย์ User มากท่าไหร่ โอกาสที่พวกเขาจะคลิกเข้ามาใน Website ของคุณก็ยิ่งมากเท่านั้น!


FAQ – คำถามที่พบบ่อย

ถ้าเจอปัญหา Index ต้องเริ่มยังไง?

เราต้องศึกษาคู่แข่งก่อน, วิเคราะห์สถานการณ์เว็บไซต์เรา, ดำเนินการหาช่องทางที่ดีที่สุด

แก้ไขปัญหา Index ด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

Reoptimize Content นั้นๆให้ดียิ่งขึ้น, Downgrade หน้าไม่ต้องการ, ใช้ canonical ในการช่วย, ทำ 301 redirect ไปหาหน้าที่ต้องการ, หรือสุดท้ายแล้ว ลบหน้านั้นทิ้งได้เลย และสร้างใหม่

Categories

Recent Posts

Picture of Earth
Earth
Success is the sum of small efforts
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง