คำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเว็บไซต์ ด้วย google search console

Google Search Console คืออะไร? พร้อมแนะนำและวิธีดึงประสิทธิภาพ

Table of Contents

หลายคนคงเคยได้ยิน Google Search Console (GSC) อยู่บ่อยครั้ง แต่เครื่องมือนี้ใช้อะไรได้บ้างละ? แล้วทำไม SEO Specialist ทุกคนมักคุ้นตา และจับใช้เครื่องมือนี้อยู่ตลอด ไม่ว่าจะในสถานการณ์ที่ดี หรือแย่ ก็จะยกเครื่องมือนี้ขึ้นมาใช้อยู่สม่ำเสมอ

วันนี้ Minimice จะแนะนำเครื่องมือ Google Search Console อย่างละเอียด พร้อมกับวิธีการดึงประสิทธิภาพของ tool ตัวนี้ออกมาอย่างสูงสุด

ในบทความนี้เหมาะสำหรับ SEO Specialist มือใหม่ และสำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ด้าน SEO เนื่องจาก Google Search Console เป็นเครื่องมือเบื้องต้น แลประจำสำหรับการทำ SEO ตั้งแต่ Beginner จนถีง Advance Level

เรามารู้จักกับ Google Search Console ว่าคืออะไร? ชุดข้อมูลสำคัญที่สามารถวิเคราะห์ได้ และวิธีการเริ่มต้นการใช้งาน GSC

Google Search Console เป็นเครื่องมือการทำ SEO ที่นำเสนอข้อมูลมากมายภายในเว็บไซต์นั้นๆ เราสามารถระบุ Keyword ที่คนค้นหามาจากช่องทาง Organic และวิเคราะห์ได้ว่าคนที่คนมานั้นเข้ามาหน้าไหน ไปจนถึงจำนวน Search, Click, และ Impression ที่เราได้รับ

ยิ่งไปกว่านั้น Google Search Console ยังสามารถช่วยวิเคราะห์ปัญหาด้าน Technical ต่างๆ และปัญการ Index พร้อมกับระบบการแจ้งเตือนในอีเมลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อีกด้วย!

เรามาดูกันว่าสิ่งที่ Google Search Console สามารถใช้งานได้เบื้องต้นมีอะไรบ้าง:

  • ยืนยันเว็บไซต์กับ Google และการวิเคราะห์การ Crawl ของ Google
  • หาปัญหาในการ Index พร้อมกับการขอ Re-index ใหม่อีกครั้งในหน้าที่เราได้อัพเดท
  • เปิดชุดข้อมูลการเข้าถึงจากช่องทาง Organic Traffic ไม่ว่าจะเป็นการ Click, Impression, keyword ที่เข้ามา และอื่นๆอีกมากมาย
  • แจ้งเตือนปัญหาที่ Google เจอในการ Index, spam, หรือปัญหาต่างๆของเว็บไซต์
  • แสดงเว็บไซต์ที่ลิงค์มาหาเว็บไซต์เรา
  • แสดงปัญหาด้าน Core Web Vital, AMP, Mobile usability, และ Feature อื่นๆอีกมากมาย

เราจะเจอชุดข้อมูลอะไรบ้างจากการใช้งาน Google Search Console?

ใน Part แรกนี้เราจะแนะนำชุดข้อมูลเบื้องต้นที่ Google Search Console จะแสดง และข้อมูลที่ใช้งานง่ายที่สุด

ข้อมูลด้าน Performance

ข้อมูลด้าน Performance ใน google search console

ข้อมูล Performance ใน GSC

Google Search Console จะแสดงชุดข้อมูล Performance ทั้งหมดที่มาจาก Organic Search หรือจากช่องทาง SEO เราจะสามารถดูได้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ Click, Impression, CTR (Click Through Rate), หรือ Average Position ได้ ซึ้งเราจะอธิบายเพิ่มเติมในบทความนี้ หรือ สามารถกดลิงค์นี้ได้เลย

ข้อมูลด้าน Coverage

ข้อมูลด้าน Coverage ใน google search console

ข้อมูล Index Coverage Report

ในส่วน Coverage Report นั้นจะรวมไปด้วยหน้าเว็บไซต์ที่ Google ได้ทำการ Crawl หรือทางเราได้ Submit ให้ Google ได้ทำการ Index พร้อมกับหน้าที่เรา Block ด้วย Robot.txt, Redirect, Noindex tag, 404 not found, ปัญหา Canonical, หน้าที่ไม่มีปัญหา และ หน้าที่เกิดการ Duplicate ของเนื้อหาบนเว็บไซต์เรา

ข้อมูลด้าน Experience

ข้อมูลด้าน experience ใน google search console

ข้อมูล Experience Report

ในส่วน Experience นั้นคือภาพรวมของเว็บไซต์เรา หากผู้คนเข้ามาในเว็บไซต์ หรือง่ายๆก็คือ User Experience ไม่ว่าจะเป็นในส่วน Core Web Vital, Mobile View, หรือในส่วน HTTPS เองก็ดี

ข้อมูลอื่นที่ GSC สามารถแสดงได้

นอกจากข้อมูล 3 ชุดหลักๆแล้วนั้นเราสามารถเข้าไปดูสถานการณ์ Crawl ในทุกๆวันได้, การยืนข้อมูล sitemap, การถอน URL ออก หรือ URL Removals, ปัญหาด้าน Security Issue, Manual actions และ links ต่างๆ

ใน Google Search Console นั้นยังสามารถทำอะไรได้อีกมากมาย ในบทความนี้เราจะลงลึกไปในทุกข้อมูลที่ GSC สามารถทำได้ ทั้งนี้เดียวเรามาดูกันก่อนว่า เราจะสมัคร Google Search Console ยังไง

ขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งาน Google Search Console?

ขั้นตอนแรกในการเริ่มการใช้งานนั้นเราต้องเชื่อมต่อ Domain กับ Google Search Console กันก่อน เรามาดูขั้นตอนการเชื่อมต่อ GSC กัน

ขั้นตอนที่ 1: เชื่อมกับ Google Search Console

เริ่มต้นติดตั้ง google search console property

ในส่วนแรกนั้นเราจะมี 2 ทางเลือกให้เชื่อมกับ GSC เราสามารถเชื่อมกับ Domain โดยตรง หรือจาก URL หลัก

ความแตกต่างระหว่างการเชื่อมแบบ Domain และ URL Prefix

การเชื่อมกับ Domain: การเชื่อม กับ Domain นั้นเราจะสามารถเชื่อมชุดข้อมูลของ Domain ทั้งหมดที่เรามี รวมไปถึง Subdomain ทั้งหมด และ HTTP/HTTPS ลิงค์ทั้งหมดภายใน Domain ของเรา 

การเชื่อมกับ URL Prefix: การเชื่อมกับ URL Prefix นั้นจะทำให้เราเชื่อมกับ Domain ที่เราต้องการเท่านั้น

เราแนะนำการเชื่อมด้วย URL Prefix เนื่องจากเป็นวิธีที่เชื่อมต่อได้ง่ายที่สุด และไม่ต้องปวดหัวกับการตั้งค่า DNS ใน Hosting

ข้อควรระวังในการใส่ URL ลงไปใน URL Prefix

  • https://example.com และ http://example.com – ทาง Google จะถือว่าเป็นคนละ URL กัน
  • www.example.com และ example.com – ทาง Google จะถือว่าเป็นคนละ URL เช่นเดียวกัน

เราควรจะระวังในการเชื่อม URL ในส่วนนี้เนื่องจากทั้ง 2 กรณีนั้นสามารถเกิดการผิดพลาดได้ง่ายๆ และชุดข้อมูลที่เราใช้นั้นจะผิดทั้งหมด หากเราตั้งค่าตรงนี้ผิดตั้งแต่ต้น

คำถามที่จะเจอบ่อยนั้น คือนั้นส่วน www.example.com และ example.com เราจะแยกแยะยังไงละ?

ข้อควรระวังในการใส่ URL ลงไปใน URL Prefix

เรากดเข้า Browser และกดค้นหาเว็บไซต์ของเรา หลังจากนั้นเรา Double-click ตรง URL ตรง Browser ทาง Browser จะแสดงว่าเว็บไซต์เราเป็น www. หรือ ไม่มี www. ได้ง่ายๆ

ขั้นตอนที่ 2: Website Verification

การเชื่อมต่อแบบ Domain Verification

Domain Verification ใน search console

การเชื่อมต่อด้วย Domain Verification นั้นเราจะต้อง Access เข้า Hosting ที่เราได้สมัครไว้ > เข้าไปใน Domain ของเรา > copy เนื้อหาที่ Google ให้มา > และ Paste ลงไปใน DNS Configuration > หลังจากนั้นเราสามารถกด verify ก็จะสามารถเชื่อมต่อได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การเชื่อมต่อแบบ URL Prefix

การ Verification ด้วย url prefix

เราจะแนะนำการยืนยันด้วย URL Prefix มากกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อได้ง่าย และรวดเร็วกว่า โดย URL Prefix นั้นมีให้เลือกได้หลากหลายวิธี แล้วแต่ว่าเรานั้นจะสะดวกในการเชื่อมต่อด้วยวิธีไหน

การเชื่อมต่อแบบ URL Prefix

การเชื่อมต่อแบบ URL Prefix stepที่ 2

ด้วยวิธี HTML File นั้นเราสามารถ Download file ออกมา แล้วนำเข้าไปใส่ใน FTP ของเว็บไซต์ได้เลย ซึ้งเราจะแนะนำให้ใส่ในไฟล์ Index

Verify ด้วย HTML Tag

การ Verify ด้วย HTML Tag

การ verify ด้วย HTML Tag นั้นเราสามารถ copy ชุด code ที่ได้รับมา และใส่ในส่วนของ ได้เลย

Verify ด้วย Google Analytics

หากเว็บไซต์เราได้ติดตั้ง Google Analytics เรียบร้อยแล้วนั้น เราสามารถกด verify ได้ง่ายๆเลย ทั้งนี้เราควรจะใช้อีเมล์เดียวกันเท่านั้นที่เป็น Admin Access เท่านั้น

Verify ด้วย Google Tag Manager ( เราชอบใช้วิธีนี้มากที่สุด )

การ Verify ด้วย Google Tag Manager

Verify ด้วย Google Tag Manager นั้นก็เป็นวิธีหนึ่งที่เราแนะนำมากที่สุด เนื่องจากการติด Google Tag Manager ชุดเดียวในเว็บไซต์นั้น ทาง Minimice สามารถที่จะเชื่อม GA และ ติด Conversion tracking หรือเครื่องมืออื่นๆได้ โดยให้ลูกค้า Access แค่ครั้งเดียวเท่านั้น

Verify ด้วย Domain Provider ( ไม่แนะนำมากที่สุด )

Verify ด้วย Domain Provider นั้นจะคล้ายๆกับ การเชื่อมต่อด้วย Domain และเราไม่ค่อยแนะนำเท่าไร เนื่องจากเป็นวิธีที่ยากในการติดตั้ง

เจาะลึก Google Search Console ว่าเราจะสามารถดูอะไรได้บ้าง และใช้งานแต่ละเครื่องมือได้อย่างไรบ้าง?

 ในส่วนนี้เราจะค่อยๆเจาะลึกลงไปใน Google Search Console ทีละหัวข้อกันว่าสามารถใช้อะไรได้บ้าง และข้อมูลในแต่ละหัวข้อว่า สามารถทำอะไรได้บ้างนั้นเอง ในส่วนแรกนั้นเราจะเข้ามาดูในส่วนของ Perfomance ว่า GSC สามารถดูในส่วนไหนได้บ้างในชุดข้อมูลนี้

Performance ใน Google Search Console คืออะไร? พร้อมอธิบาย Metrics ต่างๆ

metric และเมนูแสดง performance ใน google search console

ในส่วนของ Tab Performance นั้นจะแสดงถึงชุดข้อมูลของเว็บไซต์เราในเชิง Organic นั้นเท่า โดยเราสามารถวิเคราะห์การเข้ามาของ SEO ในเว็บไซต์เราได้ว่าเป็นยังไงบ้าง และตีโจทย์เพิ่มเติมเพื่อปรับปรุง และพัฒนาในส่วนนี้ต่อได้

Metrics ในหน้าต่าง Performance คืออะไรบ้าง?

metric ที่แสดงใน google search console
Impression คืออะไร?

Impression คือจำนวนครั้งที่ผู้คนเห็นเว็บไซต์เรา ไม่ว่าจะเป็นหน้าไหนก็ตาม แปลว่า หากเรามี Keyword ที่ติดหน้า 1 อยู่นั้น ในวันมีผู้คนเข้ามา 100 ครั้ง – Impression ของเราจะขึ้น 100 Impression โดยที่คนไปต้องเลื่อนลงมาเจอหน้าเราก็ตาม

Click คืออะไร?

Click คือจำนวนครั้งที่ผู้คนคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ของเราเท่านั้น โดยชุดข้อมูลนี้จะไม่รวม Paid Traffic แต่เป็น Organic Traffic เท่านั้น

Click Through Rate (CTR) คืออะไร?

Click Through Rate คือ จำนวนครั้งที่คนเห็น หาร กับ คนที่คลิกเข้ามา ชุดข้อมูลนี้จะแสดงเป็นจำนวน %

Impression / Click = % Click Through Rate

ข้อมูลนี้จะแสดงถึงความน่าดึงดูดของคำโฆษณาของเราได้ โดยหาก % ของ Click through rate มากขึ้นนั้นแปลว่า เว็บไซต์ของเรานั้นน่าสนใจมาก และมีโอกาศปิดการขายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยได้

Average Position คืออะไร?

Average Position – อันดับโดยประมาณของทั้งเว็บไซต์เราที่คนคลิก และค้นหาเจอเว็บไซต์เรา

หาก หน้าบริการ SEO ของ Minimice นั้นมี 2 Keyword ที่ติดอันดับ

รับทำ SEO –  อยู่อันดับ 2

SEO – อยู่อันดับ 4

Average Position ของเว็บไซต์ Minimice จะอยู่ที่ 3 หากเราไม่มี keyword ไหนที่ติดอันดับอีกเลย

หมวดหมู่ Queries คืออะไร?

หมวดหมู่ (Queries) ใน google search console

หมวดหมู่ Queries คือ Keyword ที่คนพิมพ์เข้ามาใน Google และเราแสดงเว็บไซต์เราไม่ว่าจะ Click หรือ Impression เราก็จะเห็นว่าผู้คนพิมพ์เข้ามาด้วยคำว่าอะไรบ้าง

หมวดหมู่ Countries คืออะไร?

หมวดหมู่ Countries ใน google search console

หมวดหมู่ Countries จะแสดงถึงผู้คนที่คลิกเข้ามาหาเว็บไซต์เรานั้นมาจากประเทศอะไรบ้าง (โดยเราคาดการณ์ว่าชุดข้อมูลนี้มาจากตอนที่เราสมัคร Gmail)

หมวดหมู่ Devices คืออะไร?

ข้อมูล devices ที่จัดเก็บและแสดงโดย search console

หมวดหมู่ Devices จะแสดงอุปกรณ์ที่คนค้นหา และคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา รวมไปด้วย Mobile, Desktop, Tablet

หมวดหมู่ Search Appearance คืออะไร?

Search Appearance เพื่อดูผู้ใช้มาจากช่องทางไหนใน

หมวดหมู่ Search Appearance จะแสดงถึง คนคลิกเข้ามาจากช่องทางไหนบ้างจาก Schema หรือ Snippet ที่เราขึ้นอันดับอยู่ ในกรณีนี้นั้นจะมี Good Page Experience, Rich Results, Video, Web light results

หมวดหมู่ Dates คืออะไร?

ดู clickและ impression ระบุวันใน date quries

หมวดหมู่ Dates จะแสดงจำนวนคนคลิก และจำนวนคนเห็นในแต่ละวัน

ระบบ Filter ใน Google Search Console

ระบบ Filter ใน Google Search Console

ในระบบ Google Search Console นั้นสามารถแสดงได้หลากหลายข้อมูล โดยการ Filter นั้นจะช่วยเหลือเราได้ในหลายๆด้าน เพื่อที่จะปรับปรุงให้ดีได้ยิ่งขึ้น

Search Type

filter แบบ Search Type ใน search console

Search Type จะแสดงได้หลายรูปแบบ: Web, Image, Video, และ News ใน Minimice เรานั้นชอบใช้ Web เท่านั้นเนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว Web จะเป็นชุดข้อมูลที่เข้ามามากที่สุด แต่เราก็สามารถดูการเข้าถึงเว็บไซต์เราได้จาก Google Image, Google Videos, Google News ด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้แต่ละช่องทางก็จะมีการค้นหาที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์แล้วแต่ ประเภทไป เราก็สามารถ Compare หรือเปรียบเทียมระหว่างช่องได้ง่ายด้วยเช่นเดียวกัน

Date Range

filter ระบุตามวันและเวลาใน search console

GSC นั้นให้เราสามารถดูได้สูงสุดถึง 16 เดือนเลยทีเดียว และสามารถดูเป็นแบบ Custom เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างได้อีกด้วย และเราก็จะสามารถ Compare เพิ่มเติมใน Data Set นี้ด้วย

Index Coverage Report คืออะไร? และแสดงผลอะไรให้เราดูได้บ้าง

Index Coverage Report ใน search console คืออะไร

Index Coverage Report จะแสดงถึงหน้าที่ได้รับการ Index และหน้าที่มีปัญหาในการ Index ของเว็บไซต์เรา ซึ้งเราจะเจอได้ในหลากหลายกรณี Index Coverage Report นั้นเป็นหน้าที่สำคัญมากๆ สำหรับ SEO Specialist เพราะหน้าต่างนี้จะแสดงทุกหน้าที่เกิดปัญหาอยู่ พร้อมระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละหน้า เพื่อที่เราจะแก้ไขได้ตรงจุด และตอบโจทย์ที่ Google ต้องการได้

Index Coverage Report จะแยกเป็น 3 หมวดหลักดั่งนี้

  1. Error: หน้าที่เกิดปัญหา และทำให้ไม่สามารถ Index ได้
  2. Valid: หน้าที่ได้รับการ Index เรียบร้อย ไม่ว่าจะอยู่ใน Sitemap หรือ ไม่อยู่ก็ตาม 
  3. Excluded: หน้าที่ไม่ได้รับการ Index เนื่องจากปัญหาที่ระบุไว้

ใน 3 หมวดหมู่หลักนี้ ที่สำคัญที่สุดจะเป็น Excluded หรือในส่วนที่เรามีปัญหาอยู่ โดย Google จะระบุอย่างละเอียดถึงปัญหานี้ พร้อมกับแสดงทุก URL ที่เกิดขึ้น

หมวดหมู่ Excluded มีอะไรบ้าง? และแต่ละอันหมายความว่ายังไง?

exclude ใน search คืออะไรและเกิดจากสาเตุไหนได้บ้าง
Page with Redirect (Low Priority)

แสดงถึงหน้าที่ได้รับการ Redirect ออกไปจากคำสั่งที่ทาง developer ได้จัดทำมาภายในเว็บไซต์ ส่วนมากจะไม่ค่อยใช้ปัญหาหนัก เนื่องจากเราเป็นคนระบุเอง หากเราเข้าไปดูแล้ว เจอว่าลิงค์นี้ไม่ถูกต้องนั้น เราสามารถแจ้ง Website Developer เพื่อเอาออกได้ทันที

Not Found 404 (Low Priority)

Not Found 404 แปลว่าเรามีหน้าที่ไม่มีข้อมูลใดๆอยู่ และผู้คนสามารถค้นหาเราเจอได้ Google จะไม่ชอบให้มีหน้าที่เป็นทางตัน เนื่องจากจะทำให้ User Experience เสียได้ ในกรณีนี้เราสามารถแก้ไขได้โดยการทำ redirect 301 ไปที่หน้า Homepage หรือหน้าที่เกี่ยวข้องได้ง่ายๆ ก็จะสามารถแก้ไขจุดนี้ได้

Crawled – Currently Not Index (High Priority)

Crawled – Currently Not Index แปลว่า Google ได้ทำการ Crawl หน้านี้แล้ว แต่ยังไม่คิดว่าจะ Index หน้านี้ โดยวิธีการแก้ไขปัญหาทาง Minimice ได้มีบทความนี้ และสามารถกดที่ลิงค์ได้เลย

Duplicate, submitted URL not selected as canonical (Mid Priority)

Duplicate, submitted URL not selected as canonical แปลว่าหน้าที่ได้ระบุนั้นยังไม่ได้ระบุ Canonical เข้าไป

Excluded by ‘noindex’ tag (Low Priority)

Excluded by ‘noindex’ tag แปลว่าหน้านี้นั้นทาง Website Developer ได้ตั้งไว้ว่าไม่อยากจะ index หน้านี้ หากภายในนี้เป้นหน้าที่เราต้องการจะ index สามารถเอา tag นี้ออกได้เลย

Discovered – currently not indexed (High Priority)

Discovered – currently not indexed นั้นแปลว่าหน้าที่ระบุได้ Google เจอเป็นที่เรียบร้อย แต่ตัดสินใจจะไม่ index เนื่องจากเป็นหน้าที่ไม่มีคุณภาพ ทาง Minimice ได้ระบุปัญหานี้บทความ และวิธีการแก้ไข

Alternate page with proper canonical tag (Low Priority)

Alternate page with proper canonical tag แปลว่าเรามีหน้าที่คล้ายกัน และทำการ canonical ไปหาหน้านั้นเรียบร้อย เราจึงไม่ต้องทำอะไรกับในส่วนนี้

Duplicate, Google chose different canonical than user (High Priority)

Duplicate, Google chose different canonical than user นั้นหมายถึงหน้าที่เรา Canonical นั้นไม่เหมาะสม และ Google เลือกที่จะ Canonical อีกหน้านึงแทน เนื่องจากหน้านั้นเหมาะสมกว่า

Blocked due to access forbidden 403 (Mid Priority)

Blocked due to access forbidden 403 เป็นปัญหาที่เกิดจาก Server ที่ไม่สามารถเข้าถึงหน้านั้นๆได้ จะสามารถเกิดขึ้นได้จาก robot.txt, noindex tag ได้ด้วยเช่นเดียวกัน หรืออาจจะจาก Server ที่ Block การเข้าถึงของหน้านี้อยู่นั้นเอง

การยื่น Sitemap ด้วย Google Search Console

วิธียืนยัน sitemap ใน search console

ในหน้า Sitemap นี้นั้น หากเราได้ Generate sitemap เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เราสามารถระบุ URL เข้าไปข้างในได้เลย และทำการส่ง Submit หากทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อย ระบบจะขึ้น Status: Success ก็เป็นอันเรียบร้อยดี

หมวดหมู่ Removal คืออะไร และจะใช้งานอย่างไร

Removal ใน search console คืออะไร

ในหมวดหมู่ Removal นั้นเราจะแนะนำการใช้งานสำหรับ SEO Specialist ระดับ Advanced เท่านั้น เนื่องจากในส่วน Temporary Removal จะทำให้หน้าที่ index อยู่หายไปได้เลย และเราสามารถระบุเวลาที่จะให้หลุด Index ได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ได้ระบุไว้ หรือทั้ง Domain เลยก็ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ควรจะใช้งานอย่างระวัง

หมวดหมู่ Experience คืออะไร? และเราจะใช้ประโยชน์หน้านี้ได้อย่างไร?

การใช้ข้อมูล experience ใน search console

ในหมวดหมู่ Experience นั้นทาง Google จะแสดงถึง User Experience บบนเว็บไซต์ที่ Google ต้องการจะให้เป็น โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆดั่งนี้

Page Experience คืออะไร?

Page Experience จะระบุถึงหน้าที่ได้ผ่านเกณ์จาก Google เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีในส่วน Core Web Vital, Mobile Usability, และ HTTPS ในการระบุด้วย Good Experience หรือหน้านั้นๆได้ผ่านเกณ์ของ Google ในเชิง UX/UI และ HTTPS ที่ใช้งานได้ง่าย

Core Web Vital คืออะไร?

Core Web Vital เป็นระบบใหม่ที่ Google ได้ตั้งในปี 2021 เพื่อให้คำนึงถึงการโหลดเร็วของหน้าเว็บไซต์ โดย Google ต้องการให้โหลดต่ำกว่า 3 วินาที ถึงจะผ่านเกณ์นี้ และเกณ์นี้เป็นสิ่งสำคัญมากๆในการ Rank อันดับในปัจจุบันด้วยเช่นเดียวกัน

Mobile Usability คืออะไร?

Mobile Usability จะเป็น UX/UI ที่ Google เข้ามาช่วยดูให้ Mobile นั้นสามารถอ่านง่ายที่สุด โดยส่วนมาก Google จะช่วย detect ว่ามีคำไหนที่ตกขอบ หรือ font ที่เล็กจนอ่านไม่ออกเป็นต้น ทำให้เป็นอีกเครื่องมือนึงที่ทำให้เรารู้ว่าหน้าไหนมีปัญหาในการใช้งานจาก มือถือ ทางทีมจะสามารถแก้ไขตามหน้านั้นๆได้เลย โดยที่ไม่ต้องค้นหาทีละหน้าได้

ท้ายที่สุดแล้ว Google ได้พูดถึง ความสำคัญของการเขียน Content ที่ดีก็ยังคงเป็นจุดสำคัญใน Ranking Factor มากกว่า Page Experience แต่ทั้งนี้ถ้า Content ที่ดีมากๆ แต่ Page Experience ที่แย่ก็ยังคงสามารถที่จะ Rank ได้อยู่ดี สุดท้ายแล้วนั้นหากเราให้ความใส่ใจในทั้ง 2 Factor นี้ไม่ช้าก็เร็ว อันดับของเราก็จะสามารถขึ้นที่ 1 ได้ ถ้าเราสู้ Content คู่แข่งของเราได้เราก็ไม่ต้องกลัวเรื่องใด

หมวดหมู่ Enhance Reports คืออะไร? ทำไมแต่ละเว็บไซต์ถึงแสดงผลไม่เหมือนกัน?

Enhance Reports คืออะไร

Enhancement Report นั้นจะคล้ายๆกับ Index Coverage Report มาก เนื่องจากหมวดหมู่นี้นั้นจะแสดงถึงปัญหาแต่ละหน้าที่เราได้ใส่ Enhancement เพิ่มเข้าไป แต่ Enhancement ในบริบทของ Google คืออะไร?

Enhancement นั้นหมายถึง ส่วนเสริมที่เราได้ใส่ลงไปในเว็บไซต์ของเรา หรือที่เรียกกันในวงการก็คือ Schema Markup   

Enhancement Report นั้นจะแสดงผลแตกต่างกันไปในทุกๆเว็บไซต์เนื่องจาก Schema Markup นั้นมีหลากหลาย และรองรับในแต่ละเว็บไซต์ไม่เหมือนกัน การแสดงผลที่จะเหมือนกันได้นั้นส่วนใหญ่เราจะเห็นเป็น Breadcrumb, Sitelinks Searchbox, หรือ FAQ ที่สามารถจะใส่ได้ในทุกๆเว็บไซต์ 

ข้อดีทาง Enhancement Report นั้นคือ เราสามารถเข้าไปดูถึง Error ในแต่ละหน้าได้ว่า Schema ที่เราใส่ไปนั้นเกิดปัญหา หรือเปล่า และเราจะแก้ไขยังไงได้บ้าง ในส่วนที่ดีกว่านั้นอีกก็คือ หากเราแก้ไขเสร็จแล้วนั้น เราสามารถที่จะ Validate Fix และทำให้ Schema ที่ไม่แสดงอยู่นั้น สามารถแสดงได้ภายในวันเดียวได้เลย ทำให้การแก้ไขปัญหานั้นไม่ต้องรอการ Crawl ที่อาจจะใช้เวลาได้

หมวดหมู่ Manual Actions คืออะไร? หากเรามี Ticker นี้ขึ้นมา ทำไมเราต้องแก้ในทันที

Manual Action Report นั้นจะแสดงขึ้นมาต่อเมื่อเราทำผิดกฎ Google อย่างร้ายแรง และไม่ได้ทำตาม Webmaster Quality Guidelines ที่เข้มงวดของ Google นั้นแปลว่า หากเราละเลยจุดนี้ไว้นาน เว็บไซต์เราสามารถที่จะโดน Ban ได้ทันที ในส่วนนี้นั้นทางทีม Minimice จึงแนะนำให้รีบแก้ไขในทันที

Violation ของ Manual Action Report เป็นยังไงบ้าง?

Violation ของ Manual Action Report นั้นส่วนมากจะเจอในการทำ SEO แบบสายเทาที่เคยนิยมใช้งานกันในอดีตมาก ซึ่งรวมไปด้วย

  • Keywords ที่แอบแฝงในเว็บไซต์ (ทำเป็นสี Background)
  • เครือค่าย Link Schemas
  • ใส่ Structure Data ที่ในรูปแบบยัดเยียดให้แสดงผล
  • Footer Spam Link ที่ยัดเยียดมากจนเกินไปในรูปแบบผิดธรรมชาติ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ทางทีมเคยเจอปัญหานี้มาแล้ว)
  • Outbound Link ที่ไม่ธรรมชาติ หรือมากจนเกินความเป็นจริง
  • Link เข้ามา หรือเว็บไซต์ที่โดน Hack มาปรากฎในเว็บไซต์เรา

หากได้รับอีเมล์จาก Google เรื่อง Manual Action นั้นเราควรจะรีบทำการแก้ไขในทันที ทั้งนี้ Google ก็จะแจ้งถึงสาเหตุที่เจอ และลิงค์ไหนที่เป็นปัญหาด้วยเช่นเดียวกัน และ Google นั้นใจดีมาก หากเรารีบทำการแก้ไขนั้น Google จะมองเราในแง่ดีทันที และไม่ทำการ Penalize เว็บไซต์เราต่อได้ ข้อดีอีกจุดนั้นคือ หากเราแก้ไขแล้วนั้น เราสามารถกด Request Review และแก้ไขได้ภายในวันเดียวได้เลย

ถึงจุดนี้แล้ว เราได้เรียนรู้ถึงระบบ Google Search Console กันเรียบร้อย! เรามาดู 8 วิธีเบื้องต้น ในการดึงประสิทธิภาพข้อมูลของ Google Search Console กัน!

  1. วิเคราะห์ “Page” ที่ได้รับ Traffic มากที่สุด และดึง Additional Keyword ให้ Rank มากยิ่งขึ้น
  2. วิเคราะห์ “Queries” และ “CTR” เพื่อดึง % ของ CTR ให้เยอะที่สุด
  3. หา “Page” ที่ได้รับ Traffic น้อยที่สุด และมากที่สุด
  4. วิเคราะห์ “Page” ที่ไม่ได้รับการ Index และได้รับการ Index
  5. ตรวจสอบ Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์เรา
  6. “Page” ไหนที่ได้รับ Backlink มากที่สุด และน้อยที่สุด
  7. “Page” ไหนที่ Internal Link เข้ามามากที่สุด และน้อยที่สุด
  8. ตรวจสอบ Ranking ที่เพิ่มขึ้น และลดลงของเว็บไซต์เรา 
  9. ตรวจสอบ Core Web Vital เพื่อปรับแต่งหน้านั้นให้ดียิ่งขึ้น

วิเคราะห์ “Page” ที่ได้รับ Traffic มากที่สุด และดึง Additional Keyword ให้ Rank มากยิ่งขึ้น

  1. เข้าไป Performance
  2. กด “Page” ที่อยู่ใกล้ Queries
  3. ตั้ง “Data Range” ประมาณ 12 เดือน (จะเป็นตัวเลขที่สามารถวิเคราะห์ได้ที่ดีสุด, สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม)
  4. กดปุ่ม Sort – Click จากมาก ไปน้อย
  5. คลิกไปหน้าที่ได้รับ Click มากที่สุด
  6. Filter จะแสดง URL ที่เราคลิกเข้ามา
  7. เลื่อนไปที่ Queries
  8. เราจะเห็นชุด Keyword ที่ได้รับ Traffic เข้ามาในหน้านี้มาที่สุด

เราขอยกตัวอย่างลูกค้าที่น่ารัก และร่วมงานกันมานานของ Minimice – KDMS Hospital

พอเราเข้ามาเจอหน้าตานี้แล้วนั้น จะเห็นได้เลยว่า Queries ของเรานั้นมีอะไรบ้าง และ Traffic ที่เข้ามา มาจาก Queries อันไหนบ้าง

สิ่งที่เราสามารถวิเคาะห์ และได้ประโยชณ์จากชุดข้อมูลนี้

เราจะสามารถ เพิ่ม Traffic นี้เข้ามาได้อีกเป็นจำนวนมหาศาล ถ้าใน Top 20 Queries ที่เข้ามาในหน้านี้ของเรานั้นติดอันดับ 1 ทั้งหมด เรามาลองดูกันว่า ปกติแล้วนั้นทาง Minimice เราจะเพิ่ม Traffic ยังไงให้สูงที่สุด

เราจะเห็นได้ว่า Traffic ที่เข้ามามากที่สุดนั้นคือ “กระดูกลั่นบ่อย” ซึ้งอยู่ในอันดับ 1 ณ ปัจจุบัน

ถ้าเรามาดูในส่วน Keyword “กระดูกก๊อบแก๊บ” และ “กระดูกลั่นเกิดจากอะไร” ที่ได้รับ Traffic มาเยอะเช่นเดียวกัน แต่เราจะเห็นได้ว่าเราอยู่อันดับ 2 มาตลอด หากเราต้องการเพิ่ม Traffic ได้อย่างรวดเร็วนั้น เราเพียงแค่ปรับ Content ให้ชู Keyword นี้ขึ้นมา หรือเราใส่ Backlink เพิ่มเติมในคำเหล่านี้ เราจะสามารถ เพิ่ม Traffic ได้อย่างต่ำ (ในคำนั้น) 40% ได้ในทันที เพราะ Top 1 นั้น Search Volume จะต่างกันกับ Top 2 เป็นจำนวนมาก

วิเคราะห์ “Queries” และ “CTR” เพื่อดึง % ของ CTR ให้เยอะที่สุด

  1. เข้าไป Performance
  2. กดหมวดหมู่ “Queries”
  3. ตั้ง “Data Range” ประมาณ 12 เดือน (จะเป็นตัวเลขที่สามารถวิเคราะห์ได้ที่ดีสุด, สามารถปรับได้ตามความเหมาะสม)
  4. กดปุ่ม “Average CTR”
  5. กด Sort – CTR จากมากไปน้อย
  6. เลื่อนหา Queries ที่เรายังไม่ติดอันดับ 1
  7. กดเข้าไปใน Queries

วิเคราะห์ “Queries” และ “CTR” เพื่อดึง % ของ CTR ให้เยอะที่สุด

การดูชุดข้อมูลด้วยวิธีนี้นั้น เราจะวิเคราะห์อะไรได้?

“ เราจะเห็น Queries ไหนที่เข้าได้รับการสนใจจากผู้คนมากที่สุด ด้วยจำนวน CTR ที่เข้ามา หากเราวิเคาะห์ดีๆนั้นเราสามารถเจอ Queries ขุมทรัพย์ ที่จะทำให้ Bounce Rate เราตกลงได้อย่างมาก และสามารถยก Ranking ภาพรวมของเว็บไซต์เราได้ทั้งหมด “

ในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่าง “เจ็บข้อมือฝั่งนิ้วก้อย” ที่ Ranking เรายังไม่ถึงอันดับ 1 แต่ CTR นั้นเราจะเห็นได้เลยว่าอยู่ที่ 55.9% ซึ้งเป็นจำนวนที่เยอะมากๆ ถึงเว็บไซต์เราจะยังไม่อยู่ใน Ranking ที่ดีก็ตาม วิธีที่เราจะทำนั้นก็คือการเพิ่มหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับ Keyword นี้เข้าไป และทำการเพิ่มจำนวน Backlink เข้ามาหา Keyword นี้ตามเพื่อจะยกระดับเว็บไซต์ภาพเราได้ง่ายๆ โดนคำเหล่านี้จะดึงภาพรวม Stat เว็บไซต์ได้ดีมากๆ

หา “Page” ที่ได้รับ Traffic น้อยที่สุด และมากที่สุด

ดู Page ที่ได้รับ Traffic มากที่สุด

  1. เข้าไป Performance
  2. กดหมวดหมู่ “Pages”
  3. ตั้ง “Data Range” ประมาณ 28 วัน ( เราต้องการดูชุดข้อมูลล่าสุด เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพปัจจุบัน )
  4. กดปุ่ม “Average Position”
  5. กด Sort – Position จากมากไปน้อย

ดู Page ที่ได้รับ Traffic น้อยที่สุด

  1. เข้าไป Performance
  2. กดหมวดหมู่ “Pages”
  3. ตั้ง “Data Range” ประมาณ 28 วัน ( เราต้องการดูชุดข้อมูลล่าสุด เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพปัจจุบัน )
  4. กดปุ่ม “Average Position”
  5. กด Sort – Position จากน้อยไปมาก

สิ่งที่เราสามารถวิเคาะห์ และได้ประโยชณ์จากชุดข้อมูลนี้

การทำในรูปแบบนี้เราจะดูถึงหน้าที่ได้รับ Traffic เข้ามามากที่สุด และน้อยที่สุด พร้อมกับ Average Position ในแต่ละ URL การดูควบคู่กับ Average Position นั้นเราจะสามารถวิเคราะห์ถึงจุดที่เราอ่อนที่สุดในแต่ละหน้า และเราจะสามารถปรับหน้ายังไงเพื่อให้ดึงภาพรวม Average Position ขึ้นมาได้ หรือค้นหาโอกาศที่เราจะสามารถดึง Traffic ในหน้าที่อ่อนแอ ที่สุด หรือหน้าที่แข็งแรงที่สุดของเราได้

วิเคราะห์ “Page” ที่ไม่ได้รับการ Index และได้รับการ Index

วิธีดู Page ที่ได้รับการ index และ no-index

หน้าที่ได้รับการ Index

  1. เข้าไป Index Coverage Report
  2. กด “Valid Pages”

หน้าที่ไม่ได้รับการ Index

  1. เข้าไป Index Coverage Report
  2. กด “Excluded”

ประเภทและสาเหตุที่ page เกิด no-ondex

ในหน้านี้ เราจะเห็นหน้าที่เราไม่ได้รับการ Index ทั้งหมด พร้อมกับปัญหาที่ได้ชี้แจงมาจาก Google เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Minimice เรานั้นได้รวบรวมปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขทีละจุดไว้ให้ ในบทความนี้ของเรา

4 ขั้นตอนในการ แก้ปัญหา Google Index ผิดหน้า ที่ใช้ได้จริง! | MNM

ตรวจสอบ Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์เรา

  1. เข้าไปที่ Links
  2. เปิด Top Linked sites
  3. กดที่ More

เราจะเห็น Backlink ทั้งหมดที่เว็บไซต์นี้ได้รับมา จากมุมมอง Google ที่ได้ทำการ Index ลิงค์เหล่านั้นเรียบร้อย ถามว่าเราจะดูหน้านี้ไปทำไม? เราจะสามารถวิเคราะห์ Backlink ที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเราได้ หากเราสังเกตเห็น Backlink ที่แปลกหน้า เราสามารถที่จะ Disavowed Backlink เหล่านั้นออกไปได้ และอีกข้อดีนึงคือ หากเรา Disavowed เรียบร้อยแล้วนั้น เราจะสามารถดูจากหน้านี้ได้ว่า Google ได้ถอน URL เหล่านั้นออกไปแล้วหรือยัง

“Page” ไหนที่ได้รับ Backlink มากที่สุด และน้อยที่สุด

  1. เข้าไปที่ Links
  2. เปิด Top Linked pages
  3. กดที่ More
  4. Sort มากไปน้อย หรือ น้อยไปมาก

การที่เราเข้าไปดูหน้านี้นั้นเราจะสามารถดูถึง Backlink ที่เข้ามาหน้าไหนมากที่สุด หากเราทำการจ้างบริการ Backlink เราจะสามารถดูได้ว่า Backlink นั้นได้รับการ Index จริงๆหรือเปล่า หรือ Backlink ที่เข้ามานั้นควรค่าแก่คุณภาพ หรือไม่ หากทุก Backlink ที่ได้จ้างไปไม่ได้รับการ Index เราสามารถชี้แจงผู้ให้บริการได้เลย เนื่องจาก Backlink นั้นคือทรัพย์สินของคุณ

“Page” ไหนที่ Internal Link เข้ามามากที่สุด และน้อยที่สุด

  1. เข้าไปที่ Links
  2. เปิด Internal Links
  3. กดที่ More
  4. Sort มากไปน้อย หรือ น้อยไปมาก

เราสามารถเข้าไปดู Internal Linking ภายในเว็บไซต์แต่ละหน้าของเราได้จากตรงนี้ แต่ทำไมเราถึงต้องดู Internal Link ละ? Internal Link เป็นหนึ่งใน Ranking Factor ได้ดี หากเราใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น หน้านั้นๆสามารถขึ้นอันได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ Backlink น้อยที่สุดได้

“Page” ไหนที่ Internal Link เข้ามามากที่สุด และน้อยที่สุด

  1. เข้าไป Performance
  2. กดหมวดหมู่ “Queries
  3. ตั้ง “Data Range” ประมาณ 28 วัน (เราต้องการดูชุดข้อมูลล่าสุด เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพปัจจุบัน) และ กด Compare
  4. เลือกชุดข้อมูลที่เราต้องการ และกด “Apply”

ในการ Compare Average Position นั้นเราสามารถดูได้ถึง Queries ไหนที่เรามีตำแหน่งเพิ่มขึ้นมากที่สุด ผลบวก แปลว่าอันดับดีขึ้น ผลลบ แปลว่าอันดับแย่ลง

ข้อดีของการใช้ชุดข้อมูลนี้นั้นคือ เราสามารถดูได้ว่า Queries ไหนที่กำลังขยับขึ้นในเว็บไซต์เรา เราสามารถดึงคำเหล่านี้ขึ้นมาเพิ่มอันดับได้ง่ายมาก เนื่องจาก Momentum ของคำเหล่านี้กำลังดี ทำให้หากเราเน้น Keyword เหล่านี้เราสามารถวิ่งไปกับการขึ้นอันดับโดยธรรมชาติ ทำให้เราสามารถเติบโต Keyword เราได้เร็วยิ่งขึ้น

ตรวจสอบ Core Web Vital เพื่อปรับแต่งหน้านั้นให้ดียิ่งขึ้น

  1. เข้าไป Core Web Vital
  2. เลือก Open Report ของ Mobile หรือ Desktop

Core Web Vital เราเป็นจุดสำคัญมากในการ Rank อันดับของเว็บไซต์เรา เพราะเหตุนั้นเอง Google ก็ได้แสดง Report ที่เกิดขึ้น และแสดงแต่ละ URL ที่เว็บไซต์เรามีปัญหาอยู่ทั้งหมด ทางทีมจะได้ทำการแก้ไขในทุกๆจุดนี้เพื่อทำให้เว็บไซต์เราเร็วยิ่งขึ้น และพัฒนาอันดับเราได้อีกมากมาย

บทสรุป Google Search Console เครื่องมือมหัศจรรย์ของเหล่า SEO

Google Search Console หรือ GSC นั้นเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้กันได้ไม่ว่าคุณจะเป็น Beginner หรือ Advanced Level เองก็ตาม GSC นั้นมีประโยชณ์มากๆสำหรับนักการตลาด SEO 

ในวันนี้ทีม Minimice หวังว่าผู้อ่านทุกคนจะได้รับความรู้ที่เจาะลึก และสามารถดึงประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลของ GSC ได้ ไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้น หากใครที่อยากเป็นนักการตลาด SEO อย่างเต็มตัว สามารถเข้าไปดูเนื้อหาดีๆได้ที่ Minimice Journal เพื่อรับข่าวสาร และ Technical SEO ดีๆได้ทุกเมื่อ

FAQ

Google Search Console คืออะไร?

Google Search Console เป็นเครื่องมือการทำ SEO ที่นำเสนอข้อมูลมากมายภายในเว็บไซต์นั้นๆ เราสามารถระบุ keyword ที่คนค้นหามาจากช่องทาง Organic และวิเคราะห์ได้ว่าคนที่คนมานั้นเข้ามาหน้าไหน ไปจนถึงจำนวน Search, Click, และ Impression ที่เราได้รับ

Google Search Console สามารถใช้งานได้เบื้องต้นมีอะไรบ้าง

  • ยืนยันเว็บไซต์กับ Google และการวิเคราะห์การ crawl ของ Google
  • หาปัญหาในการ Index พร้อมกับการขอ Re-index ใหม่อีกครั้งในหน้าที่เราได้อัพเดท
  • เปิดชุดข้อมูลการเข้าถึงจากช่องทาง Organic Traffic ไม่ว่าจะเป็นการ Click, Impression, keyword ที่เข้ามา และอื่นๆอีกมากมาย
  • แจ้งเตือนปัญหาที่ Google เจอในการ Index, spam, หรือปัญหาต่างๆของเว็บไซต์
  • แสดงเว็บไซต์ที่ลิงค์มาหาเว็บไซต์เรา
  • แสดงปัญหาด้าน Core Web Vital, AMP, Mobile usability, และ feature อื่นๆอีกมากมาย 
ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง