SEO คืออะไร

รู้ก่อนได้เปรียบ SEO คืออะไร? พร้อม 5 หัวใจสำคัญช่วยดันเว็บไซต์

Table of Contents

เชื่อว่าหลายคนที่มีธุรกิจ หรือสนใจทำการตลาดออนไลน์น่าจะเคยเห็นคำว่า SEO ผ่านตามาบ้าง และอาจสงสัยว่า SEO มันคืออะไรนะ ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ SEO และการทำ SEO เบื้องต้น รวมถึงตอบคำถามว่าทำไมต้องทำ SEO

ในบทความนี้เหมาะสำหรับ นักธุรกิจที่ต้องการขยายฐานลูกค้า, Marketing Manager ที่กำลังหาช่องทางใหม่ ๆ, และผู้ที่กำลังเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดบน Google

SEO คือ

เรามาดูกันก่อนว่า SEO คืออะไร?

SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization คือ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้ติดอันดับต้นๆ บนหน้าแสดงผลการค้นหาของเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลต่างๆ เช่น Google, Bing, Yahoo โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และเพิ่มการมองเห็นให้กับแบรนด์ ผ่านการสร้างคอนเทนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน เรามักให้ความสนใจกับ Google SEO เป็นหลัก เพราะเป็นเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด

“If it isn’t on Google, it doesn’t exist” (ถ้ามันไม่อยู่บนกูเกิล มันก็ไม่มีอยู่เลย)

จิมมี่ เวลส์ (Jimmy Wales) หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างวิกิพิเดียถึงกับเคยกล่าวว่า If it isn’t on google, it doesn’t exist (ถ้ามันไม่อยู่บนกูเกิล มันก็ไม่มีอยู่เลย) นั่นเพราะใคร ๆ ก็ใช้ Google! Google มีผู้ใช้งานจากทั่วโลกกว่า 4.3 พันล้านคน เข้าใช้งานกว่า 8.5 พันล้านครั้งต่อวัน และเติบโตขึ้นทุกปี สำหรับในไทยก็มีการใช้งานมากกว่า 500 ล้านครั้งในปี 2021 ที่ผ่านมา

นั่นแปลว่าผู้คนจำนวนมหาศาลสามารถค้นพบธุรกิจมากมายได้ผ่าน Google เช่นกัน การทำ SEO ให้หน้าเว็บไซต์สามารถแข่งขันกับเว็บไซต์อื่นๆ และไต่ขึ้นไปติดอันดับบนหน้าแรกของ Google ได้ จึงเป็นการเปิดประตูบานแรกให้คนได้รู้จักกับธุรกิจของคุณ และเริ่มจดจำแบรนด์ของคุณได้ หรือเรียกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Brand Awareness นั่นเอง

ทำไมทุกแบรนด์ดัง ให้ความสำคัญกับการทำ SEO

ช่องทางการทำการตลาดดิจิทัลที่มีมากมาย เช่น การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย โฆษณาออนไลน์ อินฟลูเอนเซอร์ การทำไวรัลมาร์เก็ตติ้ง SEM ฯลฯ แล้วทำไมต้องทำ SEO? มาดูคำตอบกันเลย

1. ยกระดับ Brand ให้ค้นหาเจออยู่เสมอ

เมื่อคุณได้เป็นตัวเลือกแรกของ Google คนย่อมเห็นคุณมากขึ้น การรับรู้ตัวแบรนด์ (Brand Perception) จะตามมาทันที นอกจากนั้น คอนเทนต์ SEO ยังสร้างภาพลักษณ์ว่าแบรนด์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หากคอนเทนต์ที่ทำขึ้นมาสามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าจะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ จดจำแบรนด์ได้ จนอาจมัดใจลูกค้า หรือเรียกว่าทำให้ลูกค้ามี Brand Loyalty ได้ในที่สุด

“SEO จึงไม่ใช่เพียงการโฆษณา แต่เป็นกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ (Brand Building) ไปด้วยในตัว”


ยิ่งหากคุณทำธุรกิจท้องถิ่นเป็นแบรนด์เล็ก ๆ การทำ SEO สำหรับธุรกิจท้องถิ่นโดยเฉพาะที่เรียกว่า Local SEO จะทำให้คุณสามารถก้าวขึ้นมาเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในย่านของคุณได้

2. กระจายเข้าสู่ทุกการค้นหา ช่วยสร้างยอดขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

SEO มีค่าเฉลี่ยของยอดขายสินค้าจริงเทียบกับยอดคลิกเข้าชม (Conversion Rate) สูงกว่าการตลาดอื่น ๆ หรือแปลว่า ลูกค้าเข้ามาแล้วซื้อของจริงๆ มากกว่าคลิกเข้ามาดู แล้วคลิกออก เนื่องจาก

  • คนที่เข้ามาอ่านคอนเทนต์เป็นกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว เช่น คนที่จะมาเจอคอนเทนต์การเลือกกีตาร์สำหรับมือใหม่ในเว็บไซต์แบรนด์กีตาร์ของคุณ ก็คือคนที่กำลังค้นหาวิธีการเลือกกีตาร์สำหรับมือใหม่นั่นแหละ แปลว่าคุณกำลังได้โอกาสในการเสนอขายกีตาร์ให้กับคนที่สนใจเล่นกีตาร์นั่นเอง
  • SEO ต้องใช้การออกแบบเว็บไซต์ที่เป็นระบบ ทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับผู้ใช้งานไปด้วย เรียกว่าเป็นการสร้างเส้นทางประสบการณ์ผู้บริโภค (Customer Journey) ที่ดีโดยอัตโนมัติ จึงพาผู้ใช้งานไปสู่การตัดสินใจซื้อได้อย่างลื่นไหล

3. การติดอันดับนั้นจะไม่เสียค่าคลิก และหากทำถูกวิธีจะติดอันดับอย่างยั่งยืน

ความแตกต่างระหว่าง SEO กับ SEM คือ SEM เป็นการซื้อโฆษณาเพื่อให้ขึ้นอันดับแรก Google และจะมี Tag กำกับให้ผู้ใช้งานรู้ว่าเป็นโฆษณา และจะมีอันดับอยู่เพียงช่วงเวลาที่มีการซื้อโฆษณาเท่านั้น ในขณะที่ SEO ไม่จำเป็นต้องเสียเงินให้กับ Google หน้าเว็บไซต์ก็สามารถขึ้นอันดับได้เองฟรีๆ และค่อนข้างเสถียร เพียงแค่มีการดูแลเนื้อหาและโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี

ตำแหน่งในการขึ้นอันดับ SEO

การทำ SEO มีอีกหนึ่งข้อดีที่แตกต่างกับการทำการตลาดออนไลน์รูปแบบอื่น ๆ คือ เมื่อเว็บไซต์หรือเว็บเพจของเราติดอันดับบน Google ได้เยอะ ก็สามารถลดราคาต่อคลิก (CPA) ของโฆษณาในช่องทางอื่นๆ ของคุณไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG, หรือ Social Media ลงได้ด้วย เนื่องจากเกิด Brand Awareness มาจากการทำ SEO อยู่แล้วนั่นเอง

ตำแหน่งในการขึ้นอันดับ SEO นั้นมีช่องทางไหนบ้าง?

อันดับ SEO บนการค้นหา ( Search Result )

อันดับ SEO บนการค้นหา

อัตราการคลิก ของแต่ละอันดับบน Google

อัตราการคลิก

จากการวิเคราะห์ที่ได้อิงมาจาก Search Engine Journal นั้นการติดอันดับ 1 จะได้การคลิกมากกว่า 28.5% และอันดับ 2 นั้นลดลงมากถึง 50% หรือการคลิกเพียง 15.7% เท่านั้น บวกกับรูปภาพนั้น อันดับ 10 มีอัตราการคลิกเพียง 2.5% เท่านั้น ด้วยเหตุนั้นเองการติด Top 3 นั้นสามารถนำคลิกได้มากกว่า 50% แล้ว

อันดับ SEO บนรูปภาพ ( Google Image )

อันดับ SEO บนรูปภาพ

ในช่อง Image นั้นเราสามารถติดอันดับได้ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ้งการติดอันดับของ image นั้นจะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของเว็บไซต์เราพร้อมกับ alt tag ที่นำมาติดในรูปภาพด้วย ทั้งนี้การขึ้นอันดับของ Google Image นั้นมีนัยยะคนละแบบกับ Search หรือ อื่น ๆ การติดอันดับของรูปภาพนั้นเหมาะกับธุรกิจอะไรบ้าง?

การค้นหาใน Google Image นั้นจะโดดเด่นในธุรกิจดั่งนี้

  • ธุรกิจขายรูปภาพ (ตัวอย่าง Shutterstock)
  • ธุรกิจที่สร้างไอเดียให้กับลูกค้า
  • ธุรกิจที่ต้องดูรูป Before – After
  • ธุรกิจที่ให้ความรู้

การติด Google Image นั้นมีโอกาสที่จะมาแย่งพื้นที่บนหน้า Search ด้วยเช่นเดียวกัน เราสามารถที่จะเพิ่มยอดคลิก และการรับรู้แบรนด์ได้มากขึ้นด้วย

อันดับ SEO บนแผนที่ ( Google Map )

การติดอันดับ Google นั้นสามารถได้เปรียบคู่แข่งได้ในหลากหลายอย่าง หากคุณเป็นธุรกิจ Brick & Motor หรือธุรกิจที่มีหน้าร้านนั้นสามารถที่จะได้รับคลิกมากขึ้น และคลิกได้รวดเร็วกว่าการติดอันดับบน Search Result ได้มากก่า และหากคุณมีธุรกิจหลากหลายสาขานั้นยิ่งเหมาะแก่การติดอันดับบน Google Map

อันดับ SEO บนแผนที่
อันดับ SEO บนแผนที่

การติดอันดับบน Google ยังทำให้สามารถขึ้นอันดับบน Search Result ด้วยนะ

อันดับ SEO บน VDO ( YouTube )

อันดับ SEO บน VDO

การติดอันดับของ VDO นั้นจะสามารถเสริมให้ยอดิวของ YouTube นั้นเพิ่มได้อย่างมาก เหมาะกับหลากหลายธุรกิจที่ต้องการเติบโตด้วย VDO ส่วนมากนั้นจะเป็นธุรกิจที่สามารถให้ความรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียนต่างๆ ที่ความรู้ที่เป็นในเชิง How-To ด้วยเช่นเดียวกัน

อันดับ SEO บน VDO

พร้อมกับการติดอันดับบน YouTube ก็สามารถยึดพื้นที่บน Search result ได้เป็นส่วนใหญ่

SEO กับ SEM ต่างกันอย่างไร?

หากดูเผิน ๆ SEO และ SEM ก็ฟังดูจะคล้ายกันมาก แต่จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันในรายละเอียดที่นักการตลาดออนไลน์ไม่ควรพลาด

SEO นั้นคือการขึ้นอันดับบน Google โดยการขึ้นแบบธรรมชาติ หรือ Organic เป็นหลัก ซึ่งการทำนั้นจะมีหลากหลายส่วน แต่สุดท้ายแล้ว SEO คือการทำเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์เนื้อหาของ User ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการให้ความรู้ หรือในส่วนบริการเองก็ดี

SEM นั้นคือการขึ้นอันดับโดยการใช้เงิน หรือที่มีมาตฐานการคิดแบบ CPC (Cost Per Click) ที่จะสามารถขึ้นอันดับได้ในทันที และผู้คนสามารถเข้ามาหาเว็บไซต์เราได้โดยการใช้เงินเป็นหลัก

หากเป็นเช่นนั้น เราทำแค่ SEM ไปก่อนไหม เพราะ SEO นั้นใช้เวลานานกว่าเยอะ

ในส่วนนี้ทาง Minimice จะแนะนำให้ ทำ SEO และ SEM ควบคู่กัน เพื่อที่เราจะสามารถจับอันดับได้ทั้งคู่ ซึ่งเป็นหลักการดี และเหมาะสำหรับทุกธุรกิจที่สามารถกระตุ้นยอดขายด้วย Google

เรามาเข้าใจหลักการทำงานของ SEO กัน

SEO เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล ดังนั้นก่อนจะไปดูหลักการทำงานของ SEO เรามาแอบดูการทำงานของ Google กันก่อน

Google จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Google Bot ในการเก็บข้อมูล (Crawl) ว่าในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ กำลังพูดถึงเรื่องอะไร จากนั้นแยกหน้าเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ เมื่อผู้ใช้งานค้นหาอะไรบางอย่างในช่องค้นหา Google ก็จะกลับไปดูฐานข้อมูลของตนเอง และดึงข้อมูลออกมาตอบคำถามผู้ใช้งาน โดยมีปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการจัดอันดับผลการค้นหา เช่น

  • ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา
  • ความน่าเชื่อถือของโดเมน
  • ความเร็วของหน้าเว็บ
  • ความปลอดภัยของเว็บไซต์
  • เว็บไซต์มีการอัปเดตสม่ำเสมอ

หลักการทำ SEO จึงเป็นการสร้างหน้าเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ตอบคำถามผู้ใช้งาน และอำนวยความสะดวกให้ Bot เข้าใจเนื้อความบนหน้าเว็บไซต์ให้ได้มากที่สุด

วิธีทำ SEO พร้อม 6 สิ่งที่คนอยากเริ่มต้นทำ SEO ต้องรู้จัก

SEO เริ่มต้นตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ที่ไว้ใช้ลงคอนเทนต์ จากนั้นจึงผลิตคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ใช้งาน โดยในเบื้องต้นมีวิธีเพิ่มโอกาสให้หน้าเว็บไซต์ขึ้นไปติดอันดับได้ ดังนี้

วิธีทำ SEO

1. Keywords กุญแจสำคัญสู่การค้นหาที่ตอบโจทย์

Keywords คือ คำ หรือ วลี ที่ผู้ใช้งานใช้ในการค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์ในการค้นหา หรือเรียกว่า Search Intent ที่แตกต่างกันไป เช่น ผู้ใช้งานอาจค้นหาคำว่า “น้ำปั่นสุขภาพ” เพื่อหาสูตรน้ำปั่นเพื่อสุขภาพ ซื้อน้ำปั่นสุขภาพ หาวิดีโอการทำน้ำปั่นสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งการสำรวจ Keywords และ Search Intent ของ Keywords จะช่วยให้รู้ว่าคนกำลังสนใจอะไร และสามารถนำ Keywords นั้นไปกำหนดทิศทางคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์คนส่วนใหญ่ได้

ซึ่งในการทำ SEO จะมีการสอดแทรก Keywords ลงไปในคอนเทนต์เพื่อช่วยให้ Bot รู้ว่าคอนเทนต์นี้กำลังพูดถึงอะไร เมื่อ Bot เห็นว่าสิ่งที่คุณผลิต กับสิ่งที่ผู้ใช้งานค้นหา มีความเกี่ยวข้องกัน ก็จะดันอับหน้าเว็บไซต์ของคุณขึ้นไปนั่นเอง

เข้าใจถึง Search Intent และหลักการติดอันดับของ Google

Search Intent นั้นเป็นเหมือนคำใหม่สำหรับใครหลาย ๆ คน ทั้งนี้หากเราสามารถวิเคราะห์ Search Intent ได้นั้นเราสามารถเขียนบทความ หรือเขียนเนื้อหา ให้ติดอันดับได้ไม่ยากเลย เรามาดูกันว่า Search Intent คืออะไร?

Search Intent คือ ความประสงค์หรือความตั้งใจในการค้นหาของผู้ใช้

โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ Google เคยแนะนำไว้อยู่ 2 ข้อ นั่นคือ E-E-A-T และ YMYL

“E-E-A-T” Expertise, Experience, Authority, Trust

“YMYL (Your Money Your Life)” เงินและชีวิตของคุณ

คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเงิน สุขภาพ และสิ่งที่ส่งผลกระทบกับชีวิตของผู้ใช้งาน เป็นคอนเทนต์ที่เป็นประโยชน์ คนให้ความสนใจ แต่ก็มีเงื่อนไขอีกมากมายที่ต้องพิจารณาประกอบ เช่น ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหากไม่ถึงมาตรฐานของ Google หรือเนื้อหาส่งผลต่อความคิด การตัดสินใจ และความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน การเขียนคอนเทนต์ประเภทนี้ก็อาจทำให้การติดอันดับต้นๆ เป็นไปได้ยาก

3 เทคนิคลับในการเลือก Keywords ที่ดีที่สุด

1. ใช้เครื่องมือในการช่วยหา Keyword ที่ต้องการ

การหา Keyword ที่ดีในช่วงขั้นตอนแรกนั้น เราต้องรู้ก่อนว่า keyword ของเรานั้นต้องการคำอะไรบ้าง ส่วนมากแล้วนั้นเราจะใช้ Keyword Planner ในการดูการค้นหาที่เหมาะที่สุด

หากคุณเป็นเว็บไซต์ใหม่
  • ทาง Minimice เราจะแนะนำ การใช้ Keyword ที่ค้นหา ไม่มากนัก ประมาณ 50 – 200 การค้นหาต่อเดือน มากสุดประมาณ 800 การค้นหา
  • เน้นการเก้บคำโดยรอบให้หมดก่อน ค่อยทำการเก็บคำหลัก
  • คำ Product เน้น keyword ที่มีจำนวน 2 – 5 คำก่อน
  • คำ Blog นั้นเน้นจำนวนการค้นหาน้อย

หากคุณเป็นเว็บไซต์ที่ทำมาสักระยะ
  • พยายามเก็บคำที่มีจำนวนการค้นหาต่อเดือนประมาณ 1,000 – 3,000 การค้นหา เต็มที่ประมาณ 5,000 การค้นหา
  • ในคำ Product นั้นเน้นการสร้าง On-Page ที่แข็งแรง และ Backlink ที่ตรงกับธุรกิจเราเท่านั้น
  • คำ Blog นั้นสามารถเน้นในจำนวนการค้นหาที่มากขึ้น และกว้างยิ่งขึ้น

2. เข้าใจถึง Search Intent ในแต่ละ keyword ให้ดี

Search Intent นั้นอาจจะเป็นคำศัพท์ที่นักการตลาด SEO จะได้ยินอยู่เสมอ เนื่องจาก Google นั้นเป็นแหล่งฐานข้อมูลที่มีคนค้นหาเข้ามาอยู่ตลอด Search Intent จึงเป็น “เจตจำนง การค้นหา” ของคำนั้น ๆ โดยคิดเป็นส่วนรวมทั้งหมด

เข้าใจถึง Search Intent

เรามาดูกันว่าการดู Search Intent นั้นควรจะทำอย่างไร?

  • พิมพ์ Keyword ที่เราต้องการเล็งบน Google ได้เลย
  • เราจะเจอ Top 5 เป็นหลัก
  • ดูก่อนว่า Top 5 นั้นเขียนเกี่ยวกับเนื้อหาอะไร?
  • Top 5 นั้นเป็น เนื้อหาบทความ หรือเป็นหาการขาย
  • หลังจากนั้นเราเขียนเนื้อหา ที่เป็น บทความ หรือการขาย ที่ดีกว่า และตอบโจทย์กว่า
  • การเขียนที่จำนวนคำที่สูงขึ้นนั้น

3. การตรวจสอบ Keyword คู่แข่ง

การดูในส่วน Keyword ของคู่แข่งนั้นเป็นแผนการที่ดีมาก เนื่องจากเราจะสามารถเล็งคำที่เค้าสามารถสร้าง Traffic เข้ามาได้ทันที ส่วนมากแล้วนั้นเราจะใช้ในส่วน Ahrefs ที่จะดู Traffic จาก Keyword ไหนที่ได้รับเข้ามามากที่สุด และเราสามารถใช้หลักการข้างบน เพื่อที่จะสู้กับคู่แข่งได้เลย

ตรวจสอบ Keyword คู่แข่ง

2. On-Page SEO ปรับแต่งหน้าเว็บให้ปัง! ตอบโจทย์ Google และ User

On-Page SEO คือ การปรับแต่งเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และ Google Bot โดยมีเทคนิคหลักๆ ที่ขาดไม่ได้เลย คือ คอนเทนต์ และภาพประกอบ

Content หัวใจหลักของการทำ SEO

หนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับของ Google คือความเกี่ยวข้องและคุณภาพของคอนเทนต์ การสร้างคอนเทนต์ให้ตอบคำถามผู้ใช้งานอย่างชัดเจน และครอบคลุมจึงเป็นหัวใจหลักในการทำ SEO

คอนเทนต์ SEO มีหลากหลายประเภท เช่น บทความให้ความรู้ทั่วไป, บทความ How-to, บทความรวมไอเดีย, บทความแนะนำวิธีแก้ปัญหา และใครที่กำลังสงสัยว่า ในหนึ่งคอนเทนต์ควรจะมีอะไรบ้าง ตามไปดู Checklist กันเลย

การเขียนแบบเป็นระบบตาม SEO Structure

โครงสร้างคอนเทนต์ที่เป็นระบบ (HTML Structure) อาทิ บทความมีหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อยเป็นลำดับ จะช่วยให้ Bot เข้าใจว่าในคอนเทนต์กล่าวถึงอะไรบ้าง

การวาง Keyword

  • ความหนาแน่นของ Keywords: หากมากเกินไปอาจถูกมองเป็นสแปม หากน้อยเกินไป Bot อาจไม่รู้ว่าเป็นเนื้อหาหลัก โดยปกติแล้ว Keyword หลักหนึ่งตัวควรกระจายตัวอยู่ประมาณ 1-3% ของบทความ
  • ตำแหน่งการวาง Keywords: ควรอยู่ในหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หรือช่วงแรกๆ ของเนื้อหาเป็นหลัก และควรกระจายอยู่ทั่วทั้งหน้าด้วย ตามความเหมาะสม
  • การใช้ Keywords ที่ใกล้เคียง: ควรมีการใช้ Keywords ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Keyword หลัก หรือเรียกว่า Latent Semantic Indexing Keywords ( LSI Keywords ) ร่วมด้วย เพื่อเป็นการช่วยขยายความให้แก่ผู้ใช้งาน และส่งสัญญาณเพิ่มเติมให้ทาง Bot

การปรับแต่ง Meta Tag

Meta tag คือ องค์ประกอบที่อยู่ใน HTML ที่เป็นตัวอธิบายเนื้อหาของเว็บไซต์ และเป็นตัวที่เครื่องมือใช้ในการทำความเข้าใจว่าหน้าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวกับอะไร ประกอบไปด้วย

  • Meta title: Tag ที่อยู่ในส่วนหัวของบทความ เพื่อบอกว่าหัวข้อหลักของบทความคืออะไร
  • Meta description: Tag ที่อยู่ในส่วนถัดมาจากหัวข้อหลัก เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาโดยย่อของบทความ

โดยสามารถปรับ Meta tag ได้ในตัวเลือก Site Metadata ที่อยู่ใน Setting ของหลังบ้านแต่ละเว็บไซต์

การคิด Meta Tag สามารถอ้างอิงจากหัวข้อของบทความได้เลย ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงการวาง Keyword และความยาวของด้วย เนื่องจากหากยาวเกินไป ผู้ใช้งานอาจไม่เห็นข้อความทั้งหมด ทำให้พลาดข้อความที่คุณพยายามจะสื่อสารได้

แล้วหากคุณยังสงสัยว่า ต้องเขียนเท่าไหร่ถึงจะพอดีล่ะ? เราแนะนำให้คุณตรวจสอบง่ายๆ โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบ Meta Tag ฟรี จาก Minimice ได้เลย

การทำ Internal Link

การทำ Internal Link คือ การแทรกลิงก์ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในเว็บไซต์ของตัวเองลงไปในเนื้อหาของบทความ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านเพิ่มเติมได้สะดวก และเพิ่มผู้เยี่ยมชม (Traffic) ให้กับคอนเทนต์นั้น ๆ

ปรับแต่ง Schema

Schema (สคีมา) หรือ Schema Markup คือ โค้ดที่คอยบอกประเภทข้อมูล และย่อยข้อมูลเพื่อให้ Google เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าข้อมูลในเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร เช่น เป็นบทความทั่วไป หน้าขายผลิตภัณฑ์ ร้านอาหาร กิจกรรม รีวิว ฯลฯ ขณะเดียวกันผู้ใช้งานก็จะได้เห็นข้อมูลสรุปจากหน้าแสดงผล (SERPs) และเข้าใจทันทีว่าภายในหน้าเว็บไซต์นั้นเป็นข้อมูลที่กำลังตามหาอยู่หรือไม่ โดย Schema เป็นการจัดการทางเทคนิคเชิงลึกที่เจ้าของเว็บไซต์สามารถปรับแต่งเพื่อให้เพจของเราโดดเด่นได้

เพิ่มติดอันดับรูปด้วย Alt-Text ที่ไม่ซ้ำใคร

ในมุมมองของผู้ใช้งาน รูปภาพดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวอักษร และช่วยให้คอนเทนต์สวยงามน่าอ่านมากขึ้น ส่วนในมุมมองของ Bot นั้น เมื่อเราใส่ภาพ เราสามารถเพิ่มคำอธิบายภาพ หรือเรียกว่า Alt Text ลงไปในภาพได้ ซึ่งจะช่วยให้ Bot เข้าใจว่าภาพนี้คืออะไร นำไปจัดได้ถูกหมวดหมู่ และดึงรูปไปแสดงผลในผลการค้นหารูปภาพที่เกี่ยวข้องได้

แม้ว่าการใช้รูปภาพจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องเลือกให้ดีด้วย รูปที่ใช้ควรมีความแปลกใหม่ หากใช้รูปภาพฟรี หรือ Stock Image ที่มีการใช้ซ้ำ ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนองค์ประกอบใด ๆ เลย อาจทำให้ Google เห็นว่าเนื้อหานี้ซ้ำซ้อน และส่งผลทำให้อันดับไม่ดีได้

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงรู้สึกเหมือนว่ารูปภาพจะเป็นดาบสองคมใช่ไหม? แต่ถ้าคุณอยากมั่นใจว่ารูปที่ใช้จะปัง ไม่พังแน่นอน ก็สามารถตามไปอ่าน เคล็ดลับการใช้รูปภาพยังไงให้ถูกใจ Google เพิ่มเติมได้ และหากใครอยากเรียนรู้การเขียนคอนเทนต์ SEO ให้ปังยิ่งกว่านี้อีก ก็สามารถเข้าไปอ่านกลยุทธ์การเขียน Content SEO ได้เลย!

ปรับ URL Slug ให้อ่านง่าย และเข้าถึง

การปรับ URL Slug ให้มี Keyword ของเราด้วยนั้นก็จะสามารถช่วยในเชิง On-Page ของเราได้ดีมาก ๆ

ทั้งนี้นั้นในส่วน URL Slug นั้นเราจะแนะนำการใช้เป็น ภาษาอังกฤษ เท่านั้น

เนื่องจาก Google นั้นไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้สูงสุด อยากเราลอง Copy URL จาก Browser มานั้นจะเป็น ตัวอักษรแปลกๆ แต่หากเราใช้เป็น ภาษาอังกฤษ นั้น Google ก็ยังคงสามารถจับคำนั้น ๆได้อยู่ดี เราจึงแนะนำการใช้เป็นภาษาอังกฤษมากกว่า

3. Off-Page SEO คือการปรับแต่งข้างนอกเว็บไซต์ ได้แก่

Off-Page SEO เป็นการปรับแต่งข้างนอกเว็บไซต์ ได้แก่

Link Building

Link Building คือ Backlink คือ Link จากเว็บอื่น ๆ ที่อ้างอิงกลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ เมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลของคุณ หรือกล่าวถึงแบรนด์ของคุณ (ฺBrand Mentions)

Backlink มี 3 ประเภท คือ

  1. Natural-Editorial คือ Backlink ที่เกิดขึ้นจากการที่คอนเทนต์มีประโยชน์ เข้าตาผู้ใช้งานจนมีการนำไปแชร์ หรืออ้างอิง
  2. Manual Link Building คือ Backlink ที่เกิดจากการที่คุณทำเอง เช่น ทำเนื้อหาเดียวกันแต่เป็นวิดิโอ แล้วแปะลิงก์ฉบับบทความไว้ใต้วิดิโอ เชิญชวนให้คนไปอ่าน
  3. Non-Editorial คือ Backlink ที่เกิดจากการเอาลิงก์ไปแปะไว้ในเว็บบอร์ดที่เปิดให้แสดงความคิดเห็น เพื่อเชิญชวนให้คนไปอ่าน

Backlink เป็นสัญญาณที่บอกว่าแบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จัก Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือ และทำให้เว็บไซต์มีโอกาสเลื่อนอันดับขึ้นได้ แต่ใช่ว่ายิ่งมี Backlink เยอะจะยิ่งดีเสมอไป เพราะหาก Backlink จำนวนมากมาจากเว็บไซต์สแปม ก็ทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ และส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ของเราได้เช่นกัน

Anchor text

Anchor Text นั้นเราจะได้ยินในส่วนการทำ Backlink ในจำนวนหนึ่ง หากเราทำ backlink แล้วนั้นเราจะต้องมี Hyperlink กลับมาหาเรา ทั้งนี้ Anchor text นั้นเป็นเหมือนการ Highlight คำที่จะลิงค์กลับมาเว็บไซต์เรานั้นเอง เพื่อที่ Google นั้นสามารถที่จะรู้ได้ว่า Backlink ที่ไหลเข้ามานั้น เป็นการเล็งคำไหนเป็นหลัก ในส่วนนี้ก็จะสามารถแยกได้หลายส่วน ได้แก่

  • Brand
  • Naked URL
  • Exact match
  • Phrase match
  • Partial match
  • Random match

การนำใช้ Anchor Text นั้นก็จะกระทบการใช้คะแนนของเว็บไซต์ของเราอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ้งหากใช้ Anchor ซ้ำกันเยอะ ๆ นั้นก็จะมีโอกาสที่จะทำให้ อันดับเรานั้นโดย Penalize ได้ด้วย ซึ่งต้องระวังให้ดี

Local SEO

Local SEO คือ เทคนิคในการทำให้ตัวตนในโลกออนไลน์เป็นที่รู้จักในระดับชุมชนเล็ก ๆ โดยโฟกัสคีย์เวิร์ดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งใกล้ ๆ ธุรกิจของคุณ เช่น ร้านเบเกอรี ทองหล่อ

วิธีการทำ Local SEO นอกจากทำในเว็บไซต์ของตัวเองแล้วควรจะทำใน Google My Business คู่ไปด้วย โดย Google My Business คือ เครื่องมือจัดการธุรกิจที่ช่วยให้คุณมีตัวตนอยู่บนพื้นที่ออนไลน์ได้ เพียงแค่เข้าไปเพิ่มชื่อแบรนด์ รายละเอียดการให้บริการ และพื้นที่ที่ให้บริการของธุรกิจในเว็บไซต์ Google My Business

ข้อดีของ Google My Business คือ เมื่อมีคนค้นหาสินค้าและบริการในพื้นที่ให้บริการของคุณ คุณก็จะมีโอกาสปรากฎขึ้นมาบริเวณต้น ๆ ของหน้าเว็บไซต์ได้เลย

กิจกรรมอื่น

นอกจากการสร้างคอนเทนต์ในเว็บไซต์แล้ว การแชร์คอนเทนต์ผ่าน Social Media ของแบรนด์ หรือจัดกิจกรรมชวนให้คนมาร่วมสนุกก็เป็นผลดีกับ SEO เช่นกัน เนื่องจากช่วยให้มีจำนวนผู้เยี่ยมชม และการตอบโต้กับแบรนด์เพิ่มขึ้น รวมถึงอาจมีการแชร์คอนเทนต์ช่วยให้เกิด Natural-Editorial Backlink ได้

4. Technical SEO ปรับแต่งเว็บไซต์ให้รุ่ง Google ปลื้มทุกเม็ด

Technical SEO เป็นการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ทางเทคนิค โดยมีปัจจัยดังนี้

ปรับ Page Speed ให้เร็วแรงทันใจ

หากเว็บไซต์ใช้เวลาในการโหลดนานเกินไป Google ก็จะเห็นว่าไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน เพราะนอกจากผู้ใช้งานจะต้องการคำตอบที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องการคำตอบที่รวดเร็วด้วย โดยสามารถเช็ก Page Speed ของเว็บไซต์ได้ง่าย ๆ ที่ Page Speed Insight

ปรับให้เป็น Mobile Friendly ใช้ง่าย ถูกใจ User

ผลการสำรวจจากปี 2021 พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจากโทรศัพท์มือถือมีมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันนี้ถ้าหากคุณทำเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องคำนึงว่าหน้าตาของเว็บไซต์จะเป็นอย่างไรหากใช้งานจากโทรศัพท์มือถือ Google เองก็ประเมินข้อนี้เหมือนกัน โดยสามารถเช็กว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมือถือไหมได้จากเว็บไซต์ Mobile-Friendly Test เลย!

ออกแบบ User Interface (UI) ให้น่าใช้

UI คือ การออกแบบหน้าตา และระบบตอบโต้ให้น่าใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอแสดงผล รูปแบบตัวอักษร แป้นพิมพ์ สัญลักษณ์ สี แสง เสียง รูปภาพ อาทิ เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแล้วเห็นสีพิ้นหลังและสีตัวอักษรที่จับคู่กันมาแล้วโดดเด่นสวยงาม หรือเมื่อพิมพ์สิ่งต่าง ๆ ก็อาจได้ยินเสียงต็อกแต็กจากแป้นพิมพ์ รายละเอียดเหล่านี้คือ UI

สร้างเสริม User Experience (UX) ที่ดี

UX คือ การออกแบบระบบให้ใช้งานง่าย สะดวก เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกดีต่อผลิตภัณฑ์ เวลาที่คุณอยากค้นหาอะไรบางอย่าง คุณมักมองหา สัญลักษณ์ แว่นขยาย และช่องค้นหาที่มุมใดมุมหนึ่งของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน นั่นแหละคือ UX

Technical SEO ทุกส่วนนี้สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ เพียงใช้ Google Search Console

ทุกสิ่งที่เราเขียนเรื่อง Technical SEO นั้นเราสามารถที่จะตรวจสอบได้ตรง และแม่นที่สุดนั้น ต้องเป็น Google Search Console เท่านั้น เนื่องจาก GSC นั้นจะแสดงผลในสิ่งที่ Google Bot นั้นเห็นจริงๆ ซึ้งปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Page speed, Mobile friendly, หรือ UX/UI และส่วนอื่น ๆ ที่มีปัญหาอยู่นั้นจะแสดงผลใน Google Search Console ทั้งหมด

หากต้องการเรียนรู้เรื่อง Google Search Console มากขึ้นก็สามารถกดลิงค์ในประโยค นี้ได้เลย

5. ใช้ SEO Tools ไม่มีพลาดทุกการทำ SEO

แม้ว่าขั้นตอนวิธีทำ SEO จะดูมีรายละเอียดมากมาย แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะต้องคลำทางเองคนเดียว เพราะปัจจุบันนี้มีเครื่องมือ SEO ให้เลือกสรรมากมาย เครื่องมือยอดนิยมจะมีอะไรบ้าง ตามมาดูกัน!

Google Keyword Planner

Google Keyword Planner เครื่องมือหลักที่ต้องใช้

เครื่องมือในการวางแผน Keywords ที่จะนำมาใช้ในการสร้างคอนเทนต์ เพื่อให้คุณมั่นใจว่าคุณกำลังตอบคำถามที่มีคนอยากรู้อยู่จริงๆ เครื่องมือวางแผน Keywords มีหลากหลายตัวเลือก หนึ่งในนั้นคือ Google Keyword Planner ที่ใช้งานได้ฟรี โดยที่มีเงื่อนไขคือ จะต้องเป็นบัญชีที่มีการทำ Google Ads อยู่แล้วเท่านั้น

แต่หากใครไม่ได้เสียเงินทำ Google Ads ก็สามารถตรวจสอบ Keyword คร่าวๆ ได้จาก Ubersuggest ได้เช่นเดียวกัน

Snippet Checker

Snippet Checker

Snippet Checker คือเครื่องมือจำลองหน้าตา Snippet ที่จะปรากฎในผลการค้นหาของ Google ซึ่งช่วยให้เห็นว่าข้อมูลในส่วน Meta Tag ปรากฎครบถ้วนหรือไม่ในการค้นหาจริง SEO Friendly หรือไม่ โดยคุณสามารถเข้าไปใช้เครื่องมือ Snippet Checker จาก Minimice ได้ฟรี

Seoquake

Seoquake

Seoquake เป็น Extension ฟรีบน Google ที่คอยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะการแสดงตัวชี้วัดของ SEO ไม่ว่าจะเป็น On-page หรือ Off-page ในแต่ละหน้าเว็บ ที่เรานิยมใช้จะเป็นการดู Meta Tag ที่ปรับแต่งแล้ว, การดูโครงสร้างหน้าเว็บคร่าว ๆ ตลอดจนการดูอันดับ (Ranking) บนหน้าผลการค้นหา

Google Search Console

Google Search Console

Google Search Console เป็นเครื่องมือฟรีจาก Google สำหรับใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพ และแก้ไขข้อบกพร่องเว็บไซต์ เช่น ทั้งยังนิยมใช้ในการดูจำนวนคลิก (Click) การมองเห็น (Impression) คำค้นหาที่มี Traffic เข้ามาจริง (Queries) ฯลฯ ซึ่งจำเป็นจะต้องเป็นเจ้าของเว็บไซต์นั้น ๆ หรือมี permission ในการเข้าถึงเท่านั้นจึงสามารถตรวจสอบข้อมูลหรือแก้ไขเพิ่มเติมเองได้

Semrush

Semrush

Semrush เป็นแพล็ตฟอร์มวิเคราะห์ค้นคว้า Keywords ข้อมูลการจัดอันดับ และตัวชี้วัดต่าง ๆ อาทิ ปริมาณการค้นหาคำ (Search Volume) โดยบางเครื่องมือสามารใช้งานได้ฟรี หรือคุณสามารถเลือกสมัครสมาชิกได้ในราคา Pro – $119.95 (≈ 4,116 THB) Guru – $229.95 (≈ 7,896 THB) และ Business – $449.95(≈ 15,451 THB) ต่อเดือน

Ahref

Ahref

Ahref เป็นโปรแกรมวิเคราะห์รายงานผล SEO เชิงลึก ที่มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับทำ SEO มากมาย เช่น การตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์, ค้นคว้า Keywords และ ตรวจสอบ Backlink เบื้องต้น ซึ่งบางเครื่องมือสามารถใช้งานได้ฟรี หรือสมัครสมาชิกได้ในราคา Lite $99(≈ 3,399 THB) Standard $199(≈ 6,831THB) Advance $399(≈ 13,696 THB) และ Enterprise $999(≈34,293 THB) ต่อเดือน

Moz

Moz

Moz เป็นเครื่องมือทำการตลาด ค้นหา Keywords ติดตามประสิทธิภาพละจัดการการสร้างลิ้งก์, Backlink, Spam score ฯลฯ สามารถใช้งานบางเครื่องมือได้ฟรี หรือสมัครสมาชิกได้ในราคา Standard $99(≈ 3,399 THB) Medium $179(≈ 6,144 THB) Large $299(≈ 10,264 THB) และ Premium $599(≈ 20,563 THB) ต่อเดือน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของการทำ SEO

เมื่อทำ SEO มาได้สักระยะแล้ว ก็ถึงเวลาสำรวจว่าได้ผลหรือเปล่า โดยสามารถดูได้จากตัวชี้วัดความสำเร็จหลัก ๆ ได้แก่ Ranking, Traffic, ฺBacklink และ Conversion เพื่อให้การทำ SEO ของคุณไม่หลงทาง !

Ranking

อันดับของเว็บไซต์ก็เปรียบเหมือนเกรดจาก Google ถ้าหากคอนเทนต์ของคุณมีคุณภาพ เลือกใช้ Keywords ได้เหมาะสม และโครงสร้างเว็บไซต์มีความสมบูรณ์ก็ควรติดอยู่ใน 1-9 อันดับแรก และได้ผู้เยี่ยมชม (Traffic) จำนวนมากตามมาเป็นรางวัล

วิธีการเช็กอันดับง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการนำ Focus Keyword ของคุณไปค้นหาบนหน้า google และนับลงมาได้เลยว่าเว็บไซต์ของคุณอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ (แต่อย่าลืมเคลียร์แคชหรือเปิดโหมดไม่ระบุตัวตนด้วยล่ะ)

หรือถ้าอยากให้แม่นยำขึ้นมาอีกหน่อยก็สามารถใช้ SEO Tools อย่าง SEO Quake หรือ SerpStat ช่วยอีกแรงก็ได้!

Traffic

Traffic คือ จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดว่าเนื้อหาหรือตัวแบรนด์เองมีความน่าสนใจ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนสำหรับผู้ใช้งาน สามารถดึงดูดให้คนคลิกเข้ามาอ่านได้หรือไม่

ซึ่งโดยส่วนมาก หากเว็บไซต์ของคุณติดเป็นอันดับแรก ๆ บนหน้าค้นหา หรืออย่างน้อยติดอยู่ในหน้าแรก ก็จะมีโอกาสทำ Traffic ได้มากตามไปด้วย

“หากหน้าเว็บของคุณติดอันดับที่ 1 บน Google

จะมี Traffic เข้ามาหน้านั้นๆ กว่า 30% เลยทีเดียว!”

Backlink

แน่นอนว่าคุณเองก็ต้องทำ Backlink ซึ่งก็คือ Off Page SEO ส่วนหนึ่งเพิ่มเติมด้วย แต่จะดีแค่ไหนถ้าคุณพบว่า คนอื่นก็กำลังอ้างอิงถึงคุณอยู่เหมือนกัน!

จำนวน Backlink ที่อ้างอิงกลับมายังเว็บไซต์ของคุณเป็นการชี้ว่า มีคนรู้จักแบรนด์ของคุณ (ฺBrand Awareness) และกำลังพูดถึงหรือตอบโต้กับแบรนด์ของคุณ (Brand Engagement) มากแค่ไหน

Conversion

Conversion คือ ลูกค้าได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการโน้มน้าวให้เขาทำหรือเปล่า เช่น สมัครสมาชิก กรอกฟอร์มขอคำปรึกษา ซื้อสินค้า

ข้อนี้ถือเป็นการวัดความสำเร็จระยะยาว และทำให้เกิดการเรียนรู้ว่าประสบการณ์ของผู้บริโภคตั้งแต่เริ่มรู้จักแบรนด์ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้า (Customer Journey) เป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถนำไปปรับเพื่อส่งโฆษณาติดตามลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Remarketing) ต่อได้

ดีขนาดนี้ ทำไมการทำ SEO ถึงยังถูกมองข้าม?

สรุปแล้ว SEO ทั้งฟรี ทั้งทำให้แบรนด์น่าเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก และมีโอกาสได้ลูกค้าในระยะยาว ฟังดูแล้วดีไม่มีที่ติ แต่อันที่จริงแล้วก็มีความหินในตัวที่ทุกคนควรทำความเข้าใจไว้เนิ่น ๆ หากอยากทำ SEO

1. เป็นการแข่งขันแบบ Organic

SEO ดีขนาดนี้ ใคร ๆ จึงอยากจะขึ้นมาติดอันกับกันทั้งนั้น การแย่งชิงพื้นที่บน Google จึงมีคู่แข่งมหาศาล และไม่มีทางลัดในการชนะ ต่างกับโฆษณาที่ใช้เงินประมูลเอาได้ การทำ SEO เริ่มต้นที่ 0 บาทก็จริง แต่หลาย ๆ ครั้งก็ต้องตั้งต้นจาก 0 แล้วจึงค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปด้วยเช่นกัน

2. ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ชัดเจน

เนื่องจากจำนวนคอนเทนต์ใน Google มีมาก และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อเริ่มทำ SEO ใหม่ ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะทำให้น่าเชื่อถือ และโดดเด่นออกมาจากคู่แข่ง โดยขั้นต่ำอยู่ที่ 6-12 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ อายุและความพร้อมของเว็บไซต์ เป็นต้น

3. ไม่มีสูตรตายตัวเสมอไป ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ Google

Google มีการอัปเดตตัวเองให้สดใหม่ตลอดเวลา เพื่อให้ได้การค้นหาที่ตรงใจผู้ใช้งานมากที่สุด เงื่อนไข ความชอบใจต่อเนื้อหา และอัลกอริทึม (Algorithm) ของ Google จึงเปลี่ยนไป ส่งผลให้อันดับการค้นหาเปลี่ยนแปลงตาม วิธีทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทัน Google อยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า Google จะเปลี่ยนนโยบายอีกกี่ครั้ง หนึ่งสิ่งที่ยังคงเป็นหัวใจไม่มีวันเปลี่ยนก็คือ Google ต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงผู้ใช้งานที่เข้ามาอ่านเนื้อหา และอาจตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของคุณจริง ๆ ก็คือคน ดังนั้นเนื้อหาคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้คนค้นหาจึงยังเป็นปัจจัยหลักต่อไปแน่นอน

บทสรุป SEO คืออะไร?

จบไปแล้วสำหรับเบื้องต้นของ SEO! แต่ในขณะที่โลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา Google เองก็ปล่อยอัลกอริทึมใหม่ ๆ ออกมาปรับปรุงระบบการค้นหาให้มีประโยชน์มากขึ้นเช่นกัน หน้าที่ของเรา คือ พยายามเอาใจ Google ให้มากที่สุด โดยการปรับปรุงเว็บไซต์ และบทความอยู่ตลอดเวลานั่นเอง หากคุณอยากเริ่มการตลาดแบบ SEO ตอนนี้ก็ถือว่ายังไม่สายเกินไป เพราะยังมีโอกาสที่เว็บไซต์ของธุรกิจคุณจะสามารถเฉิดฉายอยู่บนหน้าแรกของ Google ได้

ดังนั้น อย่ารอช้า! ทีมมืออาชีพของเราพร้อมที่จะช่วยคุณเริ่มต้นลงมือทำ SEO เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีต่อธุรกิจ และช่วยคุณวิ่งไล่ตามให้ทัน Google คลิกที่นี่ เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลยทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย!

FAQ – คำถามที่พบบ่อย

SEO คืออะไร?

SEO นั้นคือการปรับปรุงเว็บไซต์ด้วย SEO ให้ Google Bot สามารถเข้าถึงได้ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่หลักๆแล้วจะรวมไปด้วย

  • การหา Keyword ที่เหมาะสม
  • จัดโครงสร้างเว็บไซต์ให้ตรง
  • ทำ On-Page ที่ถูกต้อง
  • เขียนบทความที่ดี
  • การทำ Backlink ที่ตรงกับธุรกิจคุณ

ทำไม SEO ถึงสำคัญ?

SEO นั้นสำคัญมากแยกเป็น 4 อย่างหลักๆ

  • ช่วยให้แบรนด์คุณโด่งดัง: การติดอันดับนั้นทำให้แบรนด์เราเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
  • ช่วยให้คนเจอบริการ/สินค้า: การติดอันดับนั้นจะเพิ่มโอกาสการขายใหเราได้มหาศาล และสามารถที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
  • ให้เว็บไซต์คุณเหมาะสมสำหรับทุกคน: SEO นั้นเป็นการปรับเว็บไซต์ใหม่ทั้งหมด ทำให้ user และ bot เข้าใจ และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มยอดขาย อย่างยั่งยืน: การติดอันดับของสินค้า หรือบริการเรานั้นจะสามารถเติบโตยอดขายได้ดี และให้ทุกบริการ หรือสินค้าเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

จ้าง SEO Agency จะคุ้มกว่า in-house ไหม?

การจ้าง SEO Agency นั้นจะทำให้สามารถลดรายจ่ายกับการทำ SEO ได้มากเนื่องจาก Agency นั้นรวบรวมทีมที่เจอการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และ Google นั้นปรับตัวอยู่เสมอ ทำให้ทำ SEO นั้นสามารถปรับได้อย่างรวดเร็ว

  • ค่าใช้จ่าย SEO Specialist in-house นั้นสูง
  • ค่าใช้จ่าย การเขียนบทความ
  • ค่าใช้จ่าย การซื้อ backlink
  • ค่าใช้จ่าย การปรับเว็บไซต์ให้ตรง

ถ้าสินค้า Niche มากๆ สามารถทำ SEO ได้ไหม?

หากสินค้าคุณเป็นสินค้าที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ยิ่งต้องทำ SEO อย่างมาก เนื่องจากการค้นหา keyword อาจจะไม่เยอะ แต่ทุกการค้นหาที่เข้ามาในเป็นการค้นหาที่มีคุณภาพมากๆ ทำให้คุณสามารถเพิ่มยอดขายได้ง่าย และเป็นที่รู้จักในวงการได้รวดเร็ว

เว็บไซต์ทั่วไปสามารถทำบทความที่มีเนื้อหา YMYL ได้หรือไม่ ?

สามารถทำได้ โดยควรมุ่งทำบทความที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริงที่อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัย ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ ทั้งนี้การจัดอันดับของ Google จะพิจารณาจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือสูงสุด หรือกลุ่มเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านขึ้นมาก่อน เช่น เว็บไซต์ของโรงพยาบาล เว็บไซต์ของสถาบันทางการเงิน ดังนั้น การที่ต้องการแข่งขันในกลุ่มคอนเทนต์เหล่านี้ จึงอาศัยเวลา และข้อมูลจำนวนมากที่เหมาะสมและดีที่สุด

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง