Table of Contents

Categories

Recent Posts

Meta Tag

ไขข้อสงสัย Meta Tag คืออะไร? พร้อมเคล็ดลับการปรับให้ติดหน้าแรก

Table of Contents

KEY TAKEAWAYS

  • ก่อนจะปรับ Meta Tag ทุกครั้งให้ค้นหา Search Intent ใน keyword ที่เราต้องการก่อน เพื่อรู้ว่าคู่แข่งใช้คำโฆษณาอย่างไรบ้าง แล้วเราจะปรับ Meta Tag ยังไงให้ตอบโจทย์คนค้นหามากกว่าคู่แข่ง
  • Meta Tag อย่าง Meta Title หรือ Description นั้นมีข้อจำกัดในความยาว โดยใช้เป็นจำนวน Pixel แล้วในปัจจุบัน ไม่ได้ใช้เป็นจำนวน “คำ” เป็นหลัก โดย Minimice ได้ทำเครื่องมือตรวจสอบมาให้แล้ว กดได้เลยที่นี้
  • Meta Tag นั้นมีหลายแบบ คนทำ SEO ทุกคนควรจะแก้ไข ทุก Meta ให้ครบถ้วน เพื่อหวังผลสูงสุด แต่ถ้าไม่สามารถปรับได้จริงๆ Meta Title, Meta Description สำคัญสุดในการติดอันดับ Google

สำหรับนักการตลาดหรือใคร ก็ตามที่กำลังให้ความสนใจด้าน SEO หรือ Developer อาจเคยได้ยินคำว่า Meta Tag กันมาบ้าง ก็อาจสงสัยว่าเจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร? และเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำ SEO กันแน่

ในบทความนี้จะพาคุณมาเจาะลึกว่า Meta Tag คืออะไร? ทำไมจึงมีความจำเป็นสำหรับการทำ SEO พร้อมกับแชร์เคล็ดลับที่จะช่วยให้ Meta Tag ของคุณมีประสิทธิภาพจนพากันไต่ Ranking ขึ้นหน้าแรกของ Google! เรามาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

Meta Tag คือ

Meta Tag คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อ SEO

Meta Tag หรือ Google Snippet เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยนั้นการจัดอันดับโดย Google ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นตัวที่อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บนั้นๆ ให้ Search Engine และ Robot ที่เข้ามา Crawl ข้อมูลรู้ว่า “หน้าเว็บ (Web Page) ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร”

ซึ่งสามารถนำ Meta Tag ไปปรับแต่งที่หลังบ้านของเว็บไซต์บน Source Code หรืออาจเป็น Plugin ต่างๆ เช่น Yoast (สำหรับ WordPress) จากนั้น ข้อความใน Meta Tag จะถูกดึงออกมาแสดงให้เห็นบนหน้า SERP (Search Engine Result Page) หรือหน้าแสดงผลการค้นหาของ Search Engine และส่วนอื่นๆ ดังนี้

1. Meta Tag ที่แสดงอยู่บน SERPs

เป็นส่วนที่แสดงผลอยู่ที่หน้าการค้นหาของ Search Engine ซึ่งเมื่อมี User พิมพ์คำค้นหาเข้ามา ผลที่ปรากฎออกมาจะมีหลากหลายเว็บไซต์ที่เรียงกันลงมาตามอันดับ และ Meta Tag ที่แสดงอยู่จะมีลักษณะดังนี้

ตัวอย่าง Meta Tag ที่แสดงอยู่บน SERPs

2. Meta Tag ที่แสดงอยู่บน Browsers

เป็นส่วนที่แสดงผลอยู่บน Tab เหนือส่วนที่แสดง URLS ของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บเพจนั้นๆ ซึ่งเมื่อ User เข้ามายังเว็บไซต์ หรือเพจนั้นๆ ของเรา Meta Tag ส่วนที่เป็น Meta Title จะปรากฎในลักษณะดังนี้

ตัวอย่าง Meta Tag ที่แสดงอยู่บน SERPs

3. Meta Tag ที่แสดงอยู่บน Social Networks

เมื่อเว็บไซต์หรือเว็บเพจถูกนำไปแชร์ต่อบนโลกโซเชียล การที่เราได้ทำการปรับแต่ง Meta Tag ไว้จะช่วยให้ User สามารถพิจารณาดูหัวข้อและเนื้อหาคร่าวๆ ก่อนทำการคลิกเข้ามายังหน้านั้นๆ ได้

โดยตัวอย่างที่ง่ายที่สุดในการดู Meta Tag ของ Social Networks นั้นจะเป็นในส่วน Open Graph ของ Facebook ดั่งนี้

ตัวอย่าง Meta Tag ที่แสดงอยู่บน Facebook Post

ตัวอย่าง Meta Tag ที่แสดงอยู่บน Facebook Opengraph

ยิ่งถ้าคุณเขียน Meta Tag ได้ดึงดูดใจและตอบโจทย์ User มากท่าไหร่
โอกาสที่พวกเขาจะคลิกเข้ามาใน Website ของคุณก็ยิ่งมากเท่านั้น!

Meta Tag มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง

Meta Tag นั้นมีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความสำคัญและมีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป อันดับแรก เรามาทำความรู้จักกับ 2 Meta Tag หลักๆ ที่มีการใช้งานบ่อยที่สุดและเป็นส่วนที่สำคัญมากในการทำ SEO กันก่อน นั่นก็คือ Meta Title และ Meta Description

ตัวอย่าง Meta Tag ที่แสดงอยู่บน Facebook Opengraph

• Meta Title

Meta Title หรือ Title Tag เป็นชื่อของหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาผ่านหน้าแสดงผลดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ทั้ง Web Crawlers และ User นั้นเห็นว่าหน้าเว็บนี้คืออะไร มีเนื้อหาโดยรวมประมาณไหน ตรงกับ Keyword ที่กำลังถูกค้นหาหรือไม่

ตัวอย่าง

หัวข้อของบทความ (Header)
รู้ก่อนได้เปรียบ SEO คืออะไร? พร้อม 5 หัวใจสำคัญช่วยดันเว็บไซต์

Meta Title
รู้ก่อนได้เปรียบ SEO คืออะไร? พร้อม 5 หัวใจสำคัญช่วยดันเว็บไซต์ | MNM

หากต้องการรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ Meta Title นั้น ทาง Minimice มีบทความนี้อยู่ด้วยเช่นเดียวกัน สามารถคลิกเข้าไปดูได้ตามลิงค์นี้เลย พร้อมเทคนิค เพื่อให้ โดดเด่นกว่าคนอื่น

Meta Title คืออะไร? 4 ขั้นตอนการเขียนติดอันดับ SEO ให้ปังกว่าใคร

• Meta Descriptions

สำหรับ Meta Description หรือ Description Tag จะเป็นข้อมูลโดยย่อของหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่งจะแสดงผลอยู่ด้านล่าง ถัดจาก Meta Title หรือ Title Tag ในหน้า SERPs มีส่วนเป็นอย่างมากในการดึงดูดให้ User คลิกเข้ามาภายในหน้าเว็บ เพราะฉะนั้น จึงควรเขียน Meta Description ให้น่าสนใจ โดยพยายามแจกแจงรายละเอียดของเนื้อหาด้านในหน้าเพจนั้นๆ ให้ครบครัน แต่ก็กระชับ และตรงกับสิ่งที่ User ต้องการ หรือ Search Intent มากที่สุด

ตัวอย่าง

หัวข้อของบทความ (Header): รู้ก่อนได้เปรียบ SEO คืออะไร? พร้อม 5 หัวใจสำคัญช่วยดันเว็บไซต์

Meta Description: หากคุณกำลังสนใจว่า SEO คืออะไร? ทำไมเว็บมากมายต้องทำการตลาดด้วย SEO? บทความนี้มีคำตอบพร้อมวิธีทำแบบเข้าใจง่ายที่จะช่วยผลักดันเว็บไซต์ของคุณอย่างยั่งยืน!

Meta Description เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยในการไต่อันดับของ Search Engine เพราะนอกจากเป็นตัวช่วยใช้สื่อสารกับ Search Engine Robots แล้ว ถ้าหากคุณสามารถเขียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนคลิกเข้ามาอ่านภายในหน้าเว็บนั้นๆ ได้ล่ะก็ คะแนนจาก CTR (Click Through Rate) จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณไต่อันดับขึ้นมาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

หากอยากรู้ เทคนิคการเขียน Meta Description ให้ปัง สามารถกดลิงค์นี้ได้เลย

Meta Description คืออะไร? 5 ขั้นตอนการเขียนที่ดีให้ ติดอันดับ SEO อย่างยั่งยืน

เทคนิคการเขียน Meta Tag สำหรับ SEO

เมื่อได้รู้จักกับ Meta Tag กันคร่าวๆ แล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าเทคนิคในการทำ Meta Tag ให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นเป็นอย่างไร! โดยเราจะโฟกัสไปที่ Title Tag และ Meta Description เป็นหลัก ซึ่งจะมีเทคนิคด้วยกัน ดังนี้

1. ใส่ Focus Keyword อย่างเป็นธรรมชาติ

ภายใน Meta Title และ Meta Description นั้นเป็นตัวบ่งบอกเนื้อหาภายในเว็บเพจหน้านั้นๆ แต่ก็จำเป็นจะต้องมี Focus Keyword อยู่ด้วย และควรเขียนลงไปแบบเป็นธรรมชาติ ไม่ยัดเยียดเนื้อหาจนเกินไป

ยกตัวอย่างเช่นบทความนี้ ทาง Minimice ได้เลือกใช้ Focus Keyword เป็น “Meta Tag คืออะไร” เพราะฉะนั้น ทางเราจึงเขียน Title Tag และ Meta Description ออกมาในลักษณะดังนี้

Title Tag

Meta Tag คืออะไร พร้อมเคล็ดลับการปรับ Meta ให้ติดหน้าแรก | MNM

Meta Description

พาทำความรู้จักกับ Meta Tags ว่าคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO? พร้อมแชร์เคล็ดลับการทำ Meta Tag ให้มีประสิทธิภาพทุกขั้นตอน!

จะสังเกตได้ว่าทางเราได้ทำการใส่ Focus Keyword ลงไปในตัว Meta Title และ Meta Description ให้มีความเป็นธรรมชาติ น่าอ่าน ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากจะดีต่อ SEO แล้ว ยังช่วยให้ User เข้าใจถึงเนื้อหาคร่าวๆ ว่าตรงกับสิ่งที่พวกเขา หรือก็คือตรงกับ Search Intent ของพวกเขาด้วยนั่นเอง

ทาง Minimice รวบรวมข้อมูลในส่วน Keyword เกี่ยวกับการหาคำที่เหมาะสมด้วย Search Volume มาได้ให้ด้วยนะ สามารถเข้าไปดูได้ในลิงค์นี้เลย

Keyword Search Volume คืออะไร? คู่มือ SEO ครบจบในที่เดียว พร้อมวิธีทำ Keyword Resarch สำหรับเว็บไซต์ใหม่

2. ความยาวตัวอักษรต้องพอดี

ภายใน Meta Title และ Meta Description นั้นเป็นตัวบ่งบอกเนื้อหาภายในเว็บเพจหน้านั้นๆ แต่ก็จำเป็นจะต้องมี Focus Keyword อยู่ด้วย และควรเขียนลงไปแบบเป็นธรรมชาติ ไม่ยัดเยียดเนื้อหาจนเกินไป

ยกตัวอย่างเช่นบทความนี้ ทาง Minimice ได้เลือกใช้ Focus Keyword เป็น “Meta Tag คืออะไร” เพราะฉะนั้น ทางเราจึงเขียน Title Tag และ Meta Description ออกมาในลักษณะดังนี้

ทั้งนี้ Google ไม่ได้ทำการนับจำนวน Meta Tag เหล่านี้เป็นจำนวนตัวอักษร
แต่นับเป็นจำนวน Pixel
ตั้งแต่ช่วง สิงหาคม ปี 2021

อ้างอิงจาก Moz

โดยที่ Meta Title ควรมีความยาวอยู่ที่ 580 px และ Meta Description ควรมีความยาวอยู่ที่ 990 px เพราะฉะนั้น เพื่อให้มั่นใจว่าความยาวในการเขียนนั้นเหมาะสมแล้ว เราขอแนะนำเครื่องมือ SERP Snippet Optimization จาก Minimice

ตัวอย่างการใช้งาน Serp Snippet Optimizer ฟรีจากทาง Minimice

โดยเครื่องมือนี้จะช่วยคำนวณ Pixel พร้อมแสดงตัวอย่างของ Meta Tag ที่คุณเขียนให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ต้องกลัวว่าจะยาวเกินไปจนกลายเป็นจุดไข่ปลา (…) ตามหลังอีกต่อไป

3. ตั้งชื่อให้มีเอกลักษณ์ และดึงดูดผู้อ่าน

เพื่อให้หน้าเว็บ หรือบทความที่เราต้องการนั้นสามารถดึงดูดให้คน Click เข้ามาอ่านได้ แน่นอนว่าสิ่งที่คุณควรทำก็คือ การตั้งชื่อให้มีเอกลักษณ์ และกระตุ้นให้ User รู้สึกสนใจ โดยเทคนิคในการตั้งชื่อที่เราแนะนำ มีด้วยกันดังนี้

  • ชื่อบทความมีเอกลักษณ์ น่าอ่าน แต่ตรงกับ Search Intent
  • มีความดึงดูด แต่ไม่เวอร์เกินไปจนดูเหมือน Clickbait
  • เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและชัดเจน
  • มี Keyword ใน ช่วงแรกของ Meta Tag

หรือถ้าหากว่าคุณเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับหนึ่ง หรืออยากให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น แนะนำให้ทำการใส่ชื่อแบรนด์ต่อท้ายเอาไว้ ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

วิธีการเขียน Meta Tag บนเว็บไซต์

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนคงกำลังสงสัยว่า หลังจากรู้แล้วว่า Meta Tag คืออะไร แล้วเราจะเอาข้อมูลพวกนี้ไปใส่ไว้ในส่วนไหนล่ะ?

หลักๆ เราจะแบ่งวิธีปรับ Meta Tag ในส่วนของหลังบ้านออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. เขียน Meta Tag ลงบน Plugin หรือ Section เพื่อการปรับแต่ง SEO ที่หลังบ้าน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแค่คุณเข้าไปยังหน้าที่ต้องการจะแก้ไข Meta Tag แล้วเลือกส่วนที่เป็นการปรับแต่ง Meta Tag สำหรับการทำ SEO ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างส่วนที่ใช้ปรับแต่งจาก Plugin Yoast SEO

จากนั้นให้ปรับแต่งโดยใส่ข้อความลงไป และอย่าลืมรีเช็กความยาวของตัวอักษรทั้งในส่วนของ Meta Title และ Meta Description ตาม Tools ที่เราให้ไปด้วยนะ! เพราะเอาเข้าจริง จำนวนความยาวที่ปรากฎอยู่ในส่วนของหลังบ้าน อาจไม่ได้ตรงตามความยาวที่ทาง Google ต้องการแสดงเสมอไป

2. เขียน Meta Tag ลงบน Source Code ที่หลังบ้าน

สามารถทำได้โดยการเปิดไปที่ Source Code หรือ HTML ของหน้านั้นๆ และวาง Meta Tag ที่ปรับแต่งเรียบร้อยแล้วในรูปแบบของโค้ด ระหว่าง Head Tags ดังนี้


<head>
<title>Title of the page</title>
<meta name="title" content="Enter meta title here.">
<meta name="description" content="Enter meta description here.">
</head>

แต่สำหรับใครที่ได้ลองใช้ SERP Snippet Optimization จาก Minimice ก็หมดห่วงในการพิมพ์โค้ดขึ้นมาใหม่ในแต่ละรอบได้เลย เพราะเรามี Meta Tag Generator ให้คุณสามารถ copy และ paste ได้ง่ายๆ

ตัวอย่างการ generate โค้ดสำหรับ Meta Tag

ทั้งนี้ หลังบ้านแต่ละรูปแบบอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย หรือบางรูปแบบอาจไม่สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ แต่จะถือว่า Meta Title เป็นตัวเดียวกันกับ Header หรือ Title และ Meta Description อาจดึงเอาข้อมูลในย่อหน้าแรก หรืออาจเป็นบางส่วนที่ถูกกำหนดไว้ต่างหากขึ้นมาเอง

แต่คุณก็อย่าลืมปรับแต่งให้เหมาะสมตามที่เราแนะนำไว้ รับรองว่าส่งผลดีต่อการจัดอันดับโดย Google แน่นอน!

ข้อควรระวังในการเขียน Meta Tag

ทีนี้เรามาดูกันว่า ในการเขียน Meta Tag นั้น มีข้อควรระวังอย่างไร? และอาจส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO บ้าง เรามาดูกันเลย

1. ใช้ Keyword เยอะเกินไป

แม้ว่าการใส่ Focus Keyword ลงไปใน Meta Tag นั้นจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากว่าเราใส่ Keyword เยอะจนเกินไป อาจทำให้ Robot ของ Google นั้นเกิดความสับสนได้ว่าหน้าเว็บดังกล่าวนั้นโฟกัสไปที่ Keyword ใดกันแน่ และไม่ได้ไต่ Ranking แข่งกับ Keyword ที่ควรจะเป็น

2. จำนวนข้อความยาวเกินไป

หากเราเขียน Meta Tag ยาวจนเกินไป จะส่งผลให้ในท้าย Title Tag และ Meta Description นั้นกลายเป็นจุดไข่ปลา (…) ซึ่งจะทำให้เนื้อหาที่เราต้องการจะแสดงให้เห็นไม่ครบถ้วนนั่นเอง

3. ใช้ Meta Tag ซ้ำกันทุกหน้า

การใช้ Meta Tag แบบเดียวกันซ้ำกันในหลายๆ หน้า อาจทำให้ Robot นั้นเกิดความสับสนในการ Index ข้อมูลได้ ซึ่งทาง Google เองก็ได้ระบุว่าควรที่จะระบุ Meta Tag ให้แตกต่างกันในแต่ละหน้าจะดีที่สุด

Meta Tag ประเภทอื่นๆ

เมื่อได้ทำความรู้จักกับกับ Meta Tag หลักทั้ง 2 ประเภทไปแล้ว ทีนี้เรามาทำคามรู้จัก Meta Tag ประเภทอื่นๆ กันบ้าง แต่ละประเภทจะมีความสำคัญอย่างไร? และเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในรูปแบบไหน? เรามาดูกันเลย!

• Canonical Tag

หาก Website ของเรามีหลาย Page หรือหลาย URL อาจทำให้ Robot ที่เข้ามา Crawling ภายในเว็บของเราไม่สามารถเลือกได้ว่าจะ Index ข้อมูลที่หน้าไหนดี หรือเลือกผิดหน้า ทำให้หน้าเว็บที่เราต้องการนั้นไต่ Ranking ได้ช้าลง …เพราะฉะนั้น Canonical Tag จึงมีไว้เพื่อจัดการกับปัญหานี้นั่นเอง

Canonical Tag เป็น Meta Tag ที่จะช่วยระบุว่าหน้าเว็บใดที่เป็นต้นฉบับ (Original Source) เพื่อให้ Robot นั้นสามารถ Index ข้อมูลในหน้าเว็บที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง

โดย Best Practice นั้นเราจะตั้ง Canonical Tag ไปหา URL ของตัวเอง เช่น

URL : https://minimicegroup.co.th/seo

Canonical จะตั้งเป็น


<link rel="canonical" href="https://minimicegroup.com/seo/">

• Meta Robots

Meta Robots คือ Meta Tag ที่ทำงานร่วมกับ Search engines ช่วยให้รู้ว่า Robot นั้นควรจะทำการ Index ข้อมูลภายในเว็บไซต์อย่างไร ควรและไม่ควรไปหน้าเว็บใด ซึ่งจะมีคำสั่งให้ใช้งานตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยคำสั่งที่นิยมใช้งานมีด้วยกันคร่าวๆ ดังนี้

<meta name="robots"content="index">
<meta name="robots"content="noindex">
<meta name="robots"content="index, follow">
<meta name="robots"content="index, nofollow">

Copy

index >>> บอก Robot ว่าให้ทำการ Index หน้านี้

noindex >>> บอก Robot ว่าไม่ต้องทำการ Index หน้านี้

follow >>> บอก Robot ว่าให้ทำการ Crawling (สำรวจ) Link ที่เราทำการแนบไว้ (นิยมใช้สำหรับ Internal Link)

nofollow >>> บอก Robot ว่าไม่ต้องทำการ Crawling Link ที่เราทำการแนบไว้ (นิยมใช้สำหรับ External Link เพื่อเป็นการไม่เพิ่ม Traffic คะแนนให้กับเว็บภายนอก)

• Hreflang

Hreflang เป็น Meta Tag ที่ช่วยบอกให้ Google รู้ว่า ภาษาหลักของ Website นั้นเป็นภาษาอะไร ซึ่งเจ้า Hreflang นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการทำ SEO ของ

Website ที่มีหลายภาษา ซึ่งจะทำให้เมื่อถูกค้นหาด้วยภาษาหรือในพื้นที่ประเทศที่กำหนดไว้ จะทำให้หน้า Website แสดงผลของภาษาออกมาอย่างถูกต้องนั่นเอง


<?xml version="1.0"encoding=UTF-8"?>
<urlset xmlns="http://www.sitemaps.org/schemas/sitemap/9.0"
 xmlns:xhtml=http://www.w3.org/1999/xhtml">
 <url>
     <loc>https://www.minimicegroup.com/english/page.html</loc>
     <html:link
            rel="alternate"
            hreflang="de"
            href="https://www.minimicegroup.com/deutsch/page.html"/>
 <xhtml:link
            rel="alternate"
            hreflag="de-ch"
            href="https://www.minimicegroup.com/schweiz-deutsch/page.html"/>
 <xhtml:link
            rel="alternate"
            hreflang="en"
            href="https://www.minimicegroup.com/english/page.html"/>
<url>

• Alternative Text (ALT) Tag

Alternative Text หรือ Alt Text เป็น Meta Tag ที่บอกให้ Google นั้นรู้ว่า ภาพที่เรานำมาใช้ประกอบบทความนั้นเป็นภาพอะไร มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาอย่างไรนั่นเอง โดยตัว Alt Text นั้นควรมีความยาวอยู่ที่ 40-50 ตัวอักษร และมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword หรือเนื้อหา


<img class="lazy lazy-hidden" class="default_logo"src="//minimicegroup.com/wp-content/plugins/a3-lazy-load/assets/images/lazy_placeholder.gif" data-lazy-type="image" data-src="minimice-logo-new.webp"alt=minimice-logo-new"><noscript><img class="default_logo"src="minimice-logo-new.webp"alt=minimice-logo-new"></noscript>

Header Tags หรือ Nesting Structure

Header Tag หลายๆ คนอาจจะรู้จักกันในรูปแบบของ Heading 1, Heading 2, Heading 3 … เป็น Tag ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการทำ SEO ซึ่งจะช่วยให้ Google นั้นเห็นได้ว่าเนื้อหาของเรานั้นเกี่ยวกับอะไร และมีการลำดับความสำคัญก่อนหลังอย่างไรบ้าง

วิธีการเขียน Meta Tag บนเว็บไซต์

หลังจากเรียนรู้การปรับแต่ง Meta Tag กันไปเรียบร้อยแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่ามีเครื่องมือใดบ้าง ที่สามารถช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า สิ่งที่ปรับแต่งไปแล้ว สมบูรณ์เรียบร้อยดีหรือไม่

ตัวอย่างการ generate โค้ดสำหรับ Meta Tag

โดยเครื่องมือที่ใช้งานง่ายที่สุดที่เราอยากแนะนำก็คือ SEO Quake Analytics ซึ่งเป็น Extension ที่ช่วยให้คุณสามารถติดตั้งและตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่าเว็บเพจแต่ละหน้า มีการปรับแต่ง Meta Tag เรียบร้อยดีแล้วหรือไม่ และที่สำคัญ ฟรี! โดยเมื่อติดตั้งแล้ว จะมี 2 ส่วนหลักๆ ที่นิยมใช้ ได้แก่

1. Page Info

ใช้ตรวจสอบ Meta Title และ Meta Description

ตัวอย่างการใช้งาน SEO Quake ในส่วนของ Page Info

2. Diagnosis

ใช้ตรวจสอบ Canonical Tag, Title Tag, Header Tag, Alt Image และอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้งาน SEO Quake ในส่วนของ Diagnosis

นอกจาก SEOquake แล้วก็ยังมี SEO Tools อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Semrush Site Audit, On Page SEO Checker, Google Search Console, Screaming Frog ที่สามารถใช้ตรวจสอบ Meta Tags ได้

อย่างไรก็ตาม หากทำการตรวจสอบโดยการค้นหาใน Search Engine แล้วหน้าตาของ Meta Tag หรือ Snippet ที่แสดงผล ไม่เป็นไปตามที่ปรับแต่ง อาจมีผลมาจากการที่ Google คัดเลือกในส่วนที่คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด ต่อคำค้นหานั้นๆ เพื่อมาตอบปัญหาของ User ให้แม่นยำมากที่สุด

โดยอาจมีลักษณะในการแสดงผลต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลในเชิงการตอบคำถามโดยตรง การแสดงผลเป็นรูปภาพ การแสดงผลเป็นรีวิว ฯลฯ หรือที่เรามักเรียกกันว่า Rich Snippet นั่นเอง

ถ้าไม่ทำ Meta Tag จะเกิดอะไรขึ้น ?

เนื่องจาก Meta Tag ทุกประเภท โดยเฉพาะ Meta Title และ Meta Description เป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้ Robots ของ Google เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ แม้สุดท้ายแล้ว Google อาจเลือกหยิบจุดอื่นๆ ไปแสดงผล

แต่การที่ไม่ได้บอกกับ Robots หรือ Search Engine โดยการไม่ปรับ Meta Tags จะส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจของ Robots และผลกระทบที่ตามมาก็คือ เว็บไซต์ หรือ เว็บเพจของเราไม่ได้ถูก Google ให้ค่า ไม่สามารถแข่งขันอันดับกับอีกหลากหลายเว็บไซต์ได้ สุดท้ายก็ไม่ถูกมองเห็นจาก User และไม่เกิด Brand Awareness หรือ Engagement ที่จะนำไปสู่ Conversion นั่นเอง

สรุป Meta Tag และภาพรวมทั้งหมด

เท่านี้ทุกคนก็น่าจะพอเข้าใจกันแล้วว่า Meta Tag นั้นคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO บ้าง! แต่จริงๆ แล้วในโลกของ SEO นั้นยังมีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยให้ Website ของคุณไต่ Ranking บน Search Engine ให้ขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ได้

เพราะฉะนั้น สำหรับใครที่กำลังสนใจลุยสาย SEO อย่างเต็มตัว หรือมีความสนใจที่จะผลักดันให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นล่ะก็ สามารถติดตาม Minimice Journal เพื่อรับข่าวสาร และ Trick ดีๆ เพื่อการไต่ SEO Ranking สำหรับ Website ของคุณ รับรองว่าเป็นประโยชน์สำหรับคุณในอนาคตอย่างแน่นอน! หรือหากคุณสนใจในการทำ SEO กับเรา ทีม SEO เราพร้อมให้คำปรึกษาฟรี!

Meta Title หรือ Title Tag เป็นชื่อของหน้าเว็บนั้นๆ ซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาผ่านหน้าแสดงผลดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อันเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ทั้ง Web Crawlers และ User นั้นเห็นว่าหน้าเว็บนี้คืออะไร มีเนื้อหาโดยรวมประมาณไหน ตรงกับ Keyword ที่กำลังถูกค้นหาหรือไม่

FAQ

Meta Tag คืออะไร?

Meta Tag หรือ Google Snippet เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยนั้นการจัดอันดับโดย Google ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นตัวที่อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บนั้นๆ ให้ Search Engine และ Robot ที่เข้ามา Crawl ข้อมูลรู้ว่า หน้าเว็บ (Web Page) ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร

Meta Tag มีกี่ประเภท?

Meta Tag นั้นมีด้วยกันหลายประเภท  แต่อันดับแรก เรามาทำความรู้จักกับ 2 Meta Tag หลักๆ ที่มีการใช้งานบ่อยที่สุดและเป็นส่วนที่สำคัญมากในการทำ SEO กันก่อน นั่นก็คือ Meta Title และ Meta Description

ส่วน Meta tag อื่นๆ ก็อย่างเช่น Canonical Tag, Meta Robots, Hreflang, ALT Tag    

ถ้าไม่ทำ Meta Tag จะเกิดอะไรขึ้น ?

การไม่ปรับ Meta Tags จะส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจของ Robots และผลกระทบที่ตามมาก็คือ เว็บไซต์ หรือ เว็บเพจของเราไม่ได้ถูก Google ให้ค่า ไม่สามารถแข่งขันอันดับกับอีกหลากหลายเว็บไซต์ได้

Related Articles

ให้ธุรกิจของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดดไปกับทีมการตลาดมืออาชีพ
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง
รับการตอบกลับภายใน 2 ชั่วโมง